ปรับปรุงเมื่อ 7 กรกฎาคม 2562
ในตอนที่แล้วผมได้พูดถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับคนสายตายาว ซึ่งเป็นปัญหาสายตาที่มีคนรู้และเข้าใจอยู่น้อยและพบว่า ปัญหาเริ่มต้นมาจากความไม่เข้าใจ ซึ่งนำไปสู่การแก้ไขที่ผิดพลาดนั้น นำไปสู่ปัญหาต่างๆมากมาย เช่น ตาเหล่ ตาขี้เกียจ ปวดหัว เรียนไม่ได้ ไม่มีสมาธิ ทำให้สูญเสียโอกาสต่างๆในชีวิต
เรื่องราวของสายตายาวนั้นเป็นเรื่องที่บ้านเรายังมีความรู้ความเข้าใจแบบผิดๆอยู่เป็นจำนวนมาก รวมไปถึงผู้ที่ให้บริการทางด้านสายตาเองก็มีปัญหาเรื่องการจัดการกับปัญหาสายตายาว โดยเฉพาะสายตายาวที่เกิดขึ้นในเด็กเล็ก เด็กโต หรือวัยรุ่นวัย ส่วนผู้ใหญ่ที่มีอายุเกิน 40 ปี ที่จำเป็นต้องใช้โปรเกรสซีฟ เนื่องจากมีสายตาชราเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งต้องใช้เลนส์โปรเกรสซีฟในการแก้ไข สิ่งที่เกิดขึ้นคือ การ under corrected hyperopia ทำให้เกิดการ over addition ผลลัพธ์คือโครงสร้างแคบ จ่าย 100 ได้มาไม่ถึง 50 ซึ่งถ้าเราสามารถเข้าในสายตายาวและเข้าใจวิธีรีดเค้นสายตายาว ก็จะช่วยคนไข้ได้มาก และไม่รู้เป็นอะไร คนจ่ายแว่นบ้านเรากลัวที่จะจ่าย full correction plus ให้คนไข้ Hyperopia หนักกว่านั้นคือ ถ้าชัดดีก็อย่าไปแก้ ให้คนไข้เพ่งต่อไป เพราะว่าเขาชินกับการเพ่งมานาน ( เอาจริงๆ ถ้าจะคิดกันแบบนี้ ไม่ต้องไปเรียนหนังสือก็จ่ายได้มั้ง )
สายตายาวไม่ใช่เรื่องของคนแก่แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ในทุกเพศและทุกวัย เพียงแต่อาการของคนสายตายาวนั้นมักจะไม่มีอาการ หรือไม่คิดว่าปัญหาที่เป็นนั้นเป็นอาการสายตายาว (เพราะเข้าใจนิยามผิดที่พูดถึงในตอนที่แล้ว https://www.loftoptometry.com/90 % ยังเข้าใจผิดว่า "สายตายาว" กับ "สายตาชรา" เป็นเรื่องเดียวกัน ) จะพบว่าเด็กแรกเกิดนั้นเป็นสายตายาวกันทุกคน และค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ จนเป็นสายตาปกติ แต่บางคนสายตายาวลดลงจนกลายเป็นสายตาสั้น เด็กบางคนสายตายาวลดลงไม่หมด ก็เลยยังเหลือสายตายาวค้างอยู่
ดังนั้นเนื้อหาในตอนนี้จะว่าด้วยเรื่องสายตายาวโดยละเอียด ซึ่งจะประกอบไปด้วยสาเหตุ อาการ และทางแก้ไขสำหรับคนไข้ที่มีปัญหาสายตายาว เมื่อให้รู้และเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การรักษาและแก้ไขต่อไป
1.แบ่งตามลักษณะทางกายภาพ
I.) สายตายาวที่เกิดจากความยาวของกระบอกตา (axial hypermetropia)
• กระบอกตาสั้น
• กระบอกตาสั้น/ยาวเปลี่ยนไป 1 มม. ทำให้เกิดสายตาเปลี่ยน +/- 3.00 D
• เด็กทารกทุกคน ตัวเล็ก กะโหลกเล็ก กระบอกตาเล็ก จึงเป็นสายตายาวแบบ axial hypermetropia กันทุกคน
• เกิดจากโรคเช่น มีก้อนเนื้องอกภายในลูกตา หรือ มีจอประสาทตาบวมรุนแรง (1 มม.:3 D)
II) สายตาตายาวที่เกิดจากความโค้ง ( Curvature Hypermetropia)
• เกิดจากพื้นผิดหักเหแสงของกระจกตา(cornea) หรือ เลนส์แก้วตา (Crystalline Lens) มีรัศมีความโค้งมากกว่าปกติ (เลนส์จะโค้งน้อย)
• รัศมีความโค้งเพิ่มขึ้น 1 มม (เลนส์แบนลง) ทำให้เกิดสายตายาว +6.00 D
• พบได้มากในคนไข้ที่กระจกตาแบนๆ
III.) สายตายาวที่เกิดจากดัชนีหักเหของแสง (Index Hypermetropia)
• ดัชนีหักเหของแสงบริเวณ Lens cortex สูงกว่า Lens Nucleus ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ
VI.) สายตายาวจากไม่มีระบบหักเหแสง (Absence of Refractive Element)
• พบในคนที่ไม่มีเลนส์แก้วตา เพราะถูกเอาออกเพื่อรักษาโรคที่เกิดกับเลนส์ตา ( aphakia)
V.) สายตายาวจากมีการเคลื่อนที่ของระบบหักเหแสง (Displacement of Refractive Element)
• เลนส์แก้วตาเคลื่อนถอยหลัง
ปริมาณของสายตายาวทั้งหมดอาจแบ่งออกได้เป็น
คือสายตายาว (Hypermetropia) ที่ถูกปกปิดหรือซ่อนด้วยกำลังของเลนส์ตา (Accommodation) ทำให้ไม่สามารถตรวจพบด้วยการตรวจตาด้วยวิธีทั่วไป แต่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจตาแบบใช้ยาหยอด เพื่อให้เลนส์แก้วตาคลายตัว จึงจะสามารถตรวจหาสายตายาวแบบ Latent Hyperopia ได้
คือสายตายาวที่สามารถแก้ไขได้ด้วยเลนส์สายตาบวก(plus lens) ที่มีกำลังมากที่สุดที่ยังสามารถมองไกลดชัดอยู่ โดยสามารถวัดหาได้ในทางคลินิกแบบไม่ได้หยอดยา
visual acuity and ซึ่งแบ่งแยกย่อยเป็น 2 ชนิดคือ
2.1 Facultative hypermetropia เป็นส่วนหนึ่งของ Manifest Hyperopia ที่ถูกปิดหรือซ่อนด้วยกำลังเพ่งของระบบ Accommodation แต่ก็ยังสามารถรีดหาค่าได้แบบที่ไม่ต้องหยอดยา
2.2 Absolute hypermetropia เป็นอีกส่วนของ Manifest Hyperopia ที่ระบบ Accommodation ไม่สามารถเพ่งช่วยได้ ทำให้มองไกลไม่ชัด
ดังนั้น สายตายาวทั้งหมด (total Hyperopia) จะหาได้จาก
ในเด็กเราจะพบว่าเป็นสายตายาวแบบ Latent Hypermetropia (คือมีสายตายาวอยู่ แต่เลนส์สามารถเพ่งเพื่อโฟกัสภาพได้ ทำให้เด็กเห็นภาพคมชัด) แต่เมื่ออายุเริ่มเพิ่มขึ้น กำลังเพ่ง (Accommodation) จะลดลงไปเรื่อยๆ ทำให้เริ่มกลายมาเป็น Manifest Hypermetropia และเมื่อเริ่มแก่ตัวลงก็จะยิ่งเริ่มเห็นว่า เป็น Manifest Hyperopia มากขึ้น
เช่นเดียวกันกับ “หินโสโครกในน้ำทะเล” ถ้าเปรียบโสโครกคือปัญหาสายตาและเปรียบน้ำทะเลเหมือน Accommodation
เมื่อครั้งยังเด็กกำลังของ Accommodation นั้นสูงมาก ทำให้สามารถปิดบังหรือซ่อนปัญหาได้ทั้งหมด เฉกเช่นเดียวกับ “มีหินโสโครกก้อนใหญ่อยู่ แต่ทะเลหนุนสูงจึงไม่สามารถมองเห็นปัญหา”
เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น กำลัง Accommodation เริ่มต่ำลง ทำให้เริ่มมองเห็นปัญหาสายตา เฉกเช่นเดียวกับ “ มีหินโสโครกก้อนใหญ่อยู่ และน้ำทะเลเริ่มลดลง หินโสโครกจะเริ่มโผล่ให้เห็น”
และเมื่อแก่ชรา กำลัง Accommodation เหลือน้อยเต็มที ทำให้ปัญหาที่ถูกซ่อนอยู่นั้น โชว์หรา เฉกเช่นเดียวกับ “ น้ำทะเลแห้งขอด หินโสโครกก็จะโชว์มาให้เห็นทั้งก้อน”
ฉันได..ก็ฉันนั้น
ภาพแสดงอุปมาอุปมัย www.flickr.com
ถ้าเราอยากเห็นก้อนหินโสโครก ก็ต้องทำให้น้ำลด
1.ถ้าน้ำมากเกินไป วิดยังไงก็วิดไม่ออก จึงมองไม่เห็นหินในน้ำ เรียกว่า latent hyperopia
2.ถ้าวิดทัน สามารถเอาน้ำออกได้บางส่วน เราก็จะได้เห็นหินบางส่วนที่โผล่น้ำมา ส่วนที่โผล่มาให้เห็นเรียกว่า manifest hyperopia ส่วนที่ไม่โผล่มาให้เห็นเรียกว่า latent hyperopia
3.ถ้าวิดเก่งมาก สามารถเอาน้ำออกได้ทั้งหมด เราจะเห็นหินทั้งหมด total hyperopia หรืออาจใช้การเสกน้ำให้เหือดแห้งไปชั่วขณะโดยการใช้ยาทำให้เลนส์แก้วตาเป็นอัมพาตชั่วขณะก็ทำได้เช่นกัน เรียกว่าการทำ cycloplegic refraction
4.ถ้าน้ำทะเลลดเอง จนเห็นยอดหินที่โผล่ออกมา ส่วนที่โผล่โดยไม่ต้องออกแรงวิด เรียกว่า absolute hyperopia และส่วนที่ต้องออกแรงวิดแล้วจึงเห็น เรียกว่า facultative hyperopia
เวลาเราพูดถึงเรื่องสายตาสั้น สายตายาว ที่ทำให้แสงไม่ตกบนจอรับภาพนั้น เราอ้างอิงจากแสงเดินทางจากระยะอนันต์เสมอ เนื่องจากแสงที่วิ่งมาจากระยะอนันต์นั้น จะเป็นแสงที่เป็น parallel rays (แต่ถ้าไม่ใช่อนันต์แสงจะเป็นแบบ Diverge Ray)
ดังนั้นคนสายตายาว แสงที่เดินทางจากอนันต์ แล้วมาโฟกัสหลังจอรับภาพ ทำให้เกิดเป็นภาพที่ไม่คมชัด ดังนั้น ถ้าจะต้องการให้เกิดภาพที่คมชัดบนจอรับภาพ ก็จะต้องรวมแสง หรือ ดึงโฟกัสให้ใกล้เข้ามา ซึ่งมี 2 วิธีคือ
1.วิธีธรรมชาติ คือ ใช้กระบวนการ Accommodation System เข้ามาช่วย แต่กำลังเพ่งนี้จะลดลงเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น
2.วิธีทางฟิสิกส์ คือ ใช้เลนส์บวก (plus lens) ในการรวมหรือดึงแสงเข้ามา
อาการของคนสายตายาว (SYMPTOMS)
• ปวดเมื่อย หรือ เครียดๆ ที่ดวงตา (Eye strain) ซึ่งเกิดจากอาการ Astinopia ที่เกิดจากการ accommodation
• มองใกล้มัว (โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะดูใกล้) และมีอาการปวดหัวบริเวณหน้าฝากและต้นคอในบางครั้ง ซึ่งพบได้มากในคนที่ย่างเข้าวัย 40 ปี ซึ่งเริ่มเป็นสายตายาวในผู้สูงอายุ (presbyopia)
• ตาเหล่เข้าในเด็ก (Accommodative Esotropia)
• ตาเหล่ซ่อนเร้นในเด็กและผู้ใหญ่ (esophoria)
• สายตาสั้นเทียม(Pseudomyopia) ซึ่งเกิดจาก Accommodation ทำงานมากเกินไปจนกระทั่งเป็นตะคริว (ciliary muscle spasm) ทำให้เกิดสายตาสั้นมากขึ้น แต่เมื่อเลนส์ตาคลายตัว หรือใช้ยาหยอดเพื่อคลายเลนส์ตา สายตสั้นก็จะหายไป
• มุมระบายน้ำตาแคบ (Shallow anterior chamber depth ) และมีขนาดของลูกตาที่เล็กมากๆ
• ตาขี้เกียจ (Amblyopia) พบได้บ่อยในเด็กที่มีสายตายาวมากๆ (high hypermetropia)
• ขณะส่องดูขั้วจอประสาทตาด้วย ophthalmoscope แสงที่สะท้อนออกมาจะลักษณะเป็นคลื่นๆ วาวๆ (เหมือนแสงสะท้อนคลื่นๆ บนผ้าแพร) ขนาดของขั้วจอประสาทตาจะเล็ก ในบางครั้งจะพบว่า บริเวณขอบของ Optic Disc จะไม่ชัด
• ตาขี้เกียจ (Amblyopia)
• ต้อหินมุมเปิด (Primary Angle Closure Glaucoma (PACG)–พบได้บ่อยในคนจีนหรือเอเชีย ซึ่งมีลูกตาขนาดเล็ก
• ตาเหล่เข้า (Esotropia)
1. แว่นตา : เลนส์ชั้นเดียว เลนส์สองขั้น หรือ โปรเกรสซีฟ
2. ถ้าคนไข้เป็นเด็กเล็กซึ่งร่างกายกำลังเจริญเติบโต และไม่มีปัญหาเรื่องตาเหล่เข้าหรือเหล่ออก อาพิจารณาไม่จำเป็นต้องใส่แว่นก็ได้
3. ในผู้ใหญ่ที่มีปัญหาสายตายาว
-ใส่เลนส์บวกที่มากที่สุด ที่ยังสามารถทำให้มองเห็นตัวหนังสือแถวที่ 20/20 ที่ระยะ 6 เมตรได้ จะได้ค่า Manifest hypermetropia.
iii.การจ่ายแว่นตาเพื่อแก้สายตายาวในเด็ก สามารถพิจารณาได้หลังจากการหยอดยา (Cycloplegic Refraction) เพื่อแก้ไขปัญหาตาเหล่เข้า
1. ออนแทคเลนส์สามารถพิจารณาจ่ายได้ในคนที่สายตายาวมากๆ เช่นพวกที่ไม่มีเลนส์ตา (aphakia)
III. ผ่าตัด(Surgical)
1. ทำเลสิก (LASIK)
2. ใส่ IOL ในคนไข้ที่ไม่มีเลนส์ตา
Reference
Visual Science and Clinical Optometry by Bikas Bhattacharyya
สายตายาวนั้นเป็นปัญหาสายตาที่สร้างปัญหาปวดหัวให้ทั้งกับตัวคนไข้เองและกับผู้ที่ให้บริการ ซึ่งต้องใช้ความรู้ความสามารถในการหาค่าสายตายาวออกมา และต้องต่อสู้และจัดการกับระบบเลนส์ตาให้อยู่ในสภาวะที่คลายตัวมากที่สุด (Relax Acommodation) เพื่อให้ได้ค่าสายตาออกมาทั้งหมด สิ่งที่งานด้านคลินิกต้องเตรียมพร้อมคือ ห้องตรวจที่ได้ระยะ 6 เมตร เพื่อจำลองแสงให้เป็น parallel ray เพื่อลดการ Accommodation และในบางครั้ง ต้องหยอดยาลดการเพ่งขณะวัดสายตา (Cycloplegic Refracion) เพื่อขุดหาสายตายาวที่แท้จริงออกมา
ในการตรวจสายตาคนที่เป็นสายตายาวนั้นต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เพราะคนไข้สายตายาวไม่ได้มาหาเราด้วยปัญหาแค่มองไม่ชัด และโดยส่วนใหญ่แล้วมองเห็นชัดกันทุกคน(โดยเฉพาะในเด็ก) แต่คนไข้จะมาด้วยอาการปวดหัว ปวดเบ้าตา ปวดท้ายทอย และโฟกัสภาพลำบาก บางทีมาด้วยอาการตาเหล่ มีภาพซ้อนในบางครั้ง รู้สึกปวดล้าปวดเมื่อยที่ดวงตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีสายตายาวแล้วมีสายตาเอียงร่วมด้วยแล้ว ถ้าไม่สามารถหาค่าสายตายาวที่เป็น Sphere ได้แล้ว การหาร Cylinder ยิ่งลำบากไปกันใหญ่ เนื่องจากมีเรื่อง Sphero-Cylinder เข้ามารบกวนการตรวจ
และก็เคยเกิดเรื่องมาแล้วที่คนไข้สายตายาวไปวัดสายตา แต่ร้านแว่นทำสายตาสั้นมาให้ เพราะมีความเชื่อว่า เด็กคงไม่สายตายาว และเด็กบางคนมองไม่ชัดจึงไปใส่เลนส์ลบซึ่งไว้สำหรับแก้สายตาสั้น ซึ่งใส่แล้วกลับแย่หนักกว่าเดิม ดังนั้นต้องระมัดระวังให้มาก
สำหรับผู้ที่มีปัญหาปวดหัวไม่ทราบสาเหตุ โฟกัสภาพลำบาก เปลี่ยนระยะการมองลำบาก ปวดเมื่อยหรือปวดเครียดที่ลูกตา ดูเป็นคนคิ้วขมวดตลอดเวลา ต้องหยีตาหรี่ตาหรือเพ่งเมื่อต้องมองภาพ ให้หาโอกาสตรวจตาโดยละเอียด เพื่อหาความผิดปกติของการมองเห็น คุณอาจะมีปัญหาสายตา หรือปัญหากล้ามเนื้อตา ก็อย่านิ่งนอนใจ
578 ถ.วัชรพล ท่าแร้ง บางเขน กทม. 10220
โทร 090 553 6554 ,line : loftoptometry