ผมสร้าง Loft Optometry ขึ้นมา สิ่งแรกคือ ผมชอบงานทางด้านคลินิก ได้เจอเคสจริง คนไข้จริง ปัญหาจริง แล้วเราได้ใช้ความรู้ที่ตัวเองถนัดได้ช่วยดูแลคนที่มีปัญหาการมองเห็นนั้นได้รับการแก้ไขที่ถูกต้องเหมาะสม และ ทำให้ทัศนมาตรศาสตร์นั้นเป็นที่รู้จักตลอดจนเห็นความสำคัญและได้รับการยอมรับในวิชาชีพนี้และด้วยความที่ตนเองนั้นก็มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการมองเห็นมาตั้งแต่เด็กและไม่มีใครสามารถแก้ไขหรือให้คำตอบได้ ซึ่งต้องใช้เวลาร่วมสองทศวรรต กว่าจะรู้ว่าปัญหาของตัวเองคืออะไรและต้องแก้อย่างไร ทำให้ผมรู้สึกถึงความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับคนที่มีปัญหาได้จริง และ ผมมีความสุขทุกครั้งที่ได้ค้นพบต้นตอหรือสาเหตุของปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาให้กับคนไข้ได้ เพราะรู้ว่าการ shopping around โดยไร้ความหวังนั้นเป็นอย่างไร โดยเฉพาะเวลาที่เสียไปที่ไม่สามารถเอากลับมาได้
อนึ่ง ผมเชื่อว่า ปัญหาการมองเห็นที่ได้รับการแก้ไขได้ถูกต้องเหมาะสมนั้นจะช่วยให้คนไทยมีความสุขมากขึ้น มองโลกสวยงามขึ้น ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เรียนหนังสือดีขึ้น ปัญหาสังคมน้อยลง เพราะปัญหาการมองเห็นอาจทำให้เด็กไม่ชอบเรียนหนังสือ นำไปสู่ความไม่รู้ ตามมาด้วยปัญหาสังคมมากมาย หรือ แม้แต่อุบัติเหตุตามท้องถนนที่อาจสูญเสียถึงแก่ชีวิต อาจมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาการมองเห็นก็ได้ เพียงแต่ไม่เคยมีใครศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง เราจึงมักโยนไปที่การหลับใน
ปัจจุบัน บุคลากรทางด้านสาธารสุขที่ทำงานเกี่ยวข้องกับดวงตานั้นมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ "ทัศนมาตร" มีหน้าที่ในการดูแลปัญหาของระบบการมองเห็นอันไม่ได้มีสาเหตุมาจากพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นกับดวงตาเพื่อรีดเค้นระบบการมองเห็นให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยเลนส์และอุปกรณ์ทางทัศนมาตรศาสตร์ และ "จักษุแพทย์" ซึ่งมีหน้าที่รักษาโรคที่เกิดขึ้นกับตา รักษาด้วยยาหรือการผ่าตัด เพื่อให้การมองเห็นนั้นกลับคืนมา และยังมีอาชีพที่เกี่ยวข้องคือ "ช่างแว่นตา" ซึ่งประกอบอาชีพวัดสายตาประกอบแว่น ซึ่งเป็นอาชีพที่มีมายาวนาน ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 กลุ่มนี้มีทักษะความรู้และหน้าที่ความรับผิดชอบไม่เหมือนกัน แต่ด้วยกฎหมายที่ยังไม่ได้กำหนดหน้าที่ให้ทำหรือห้ามทำ จึงเกิดความสับสนในหน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบ และ ไม่มีบทลงโทษสำหรับการทำงานที่ผิดพลาด ทำให้ภาระตกไปอยู่ที่คนไข้ และผมทำ loft optometry เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับบริการทางทัศนมาตรคลินิกนั้น แตกต่างจากอาชีพ/วิชาชีพอื่นอย่างไร เพื่อให้กฎหมายนั้นเห็นความสำคัญของสุขภาพระบบการมองเห็นกว่าที่เป็นในปัจจุบัน
สิ่งสำคัญที่สุด ด้วยความที่ทัศนมาตรศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ใหม่ในสายตาคนไทย และ ทัศนมาตรที่ทำงานอยู่หลายคนก็ยังไม่ได้ทำหน้าที่อย่างที่ควรจะทำตามที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตร ทำให้ทัศนมาตรจบใหม่ ไม่รู้ตัวตนหรืออัตลักษณ์ของวิชาชีพของตัวเอง ก็เลยทำงานแค่ระดับวัดสายตาประกอบแว่น เหมือนร้านขายแว่นทั่วไป ดังนั้น ผมอยากทำงานเพื่อเป็นแบบอย่าง สำหรับทัศนมาตรรุ่นใหม่ๆ ให้เห็นว่า เส้นทางในวิชาชีพของเขาควรเป็นอย่างไร เราจะได้มีทัศนมาตรคลินิกใหม่ๆที่มีมาตรฐานสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เด็กรุ่นใหม่จะต้องเก่งกว่าเด็กรุ่นเก่า ไม่อย่างนั้น วิชาชีพพัฒนาได้ยาก
Loft Optometry ให้บริการทางทัศนมาตรคลินิกในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องปัญหาการมองเห็น อันมีสาเหตุจากความผิดปกติของระบบหักเหแสงของดวงตา ปัญหาภาพซ้อนทันเกิดจากระบบการรวมภาพหรือความผิดปกติของการทำงานร่วมกันของสองตา ด้วยเลนส์และอุปกรณ์ทางทัศนมาตร โดยทัศนมาตรวิชาชีพที่ได้รับหนังสือรับรองการประกอบโรคศิลปะจากกระทรวงสาธารณสุข โดยทัศนมาตรนั้นเป็นผู้ที่มีความรู้และชำนาญการเฉพาะด้านสายตาและระบบการมองเห็น ตั้งแต่ปัญหาสายตาพื้นฐานอย่างสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง สายตาชรา หรือปัญหาการมองเห็นที่ซับซ้อนอย่าง ปัญหาของการทำงานร่วมกันของสองตา เช่นตาเหล่ ตาเหล่ซ่อนเร้น ปัญหาภาพซ้อน รวมไปถึงปัญหาของการโฟกัสภาพขณะดูใกล้ ซึ่งเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของเลนส์แก้วตา ตลอดจนตรวจพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นกับดวงตาพื้นฐานเช่น ต้อกระจก ต้อหิน ต้อลม ต้อเนื้อ เบาหวานขึ้นตา เพื่อส่งต่อเพื่อรักษาให้ทันเวลาต่อไป
ผม ทัศนมาตร สมยศ เพ็งทวี O.D. (Dr.Loft) สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์บัณฑิต (ทศ.บ.) Doctor of Optometry O.D จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ตั้งแต่ปีพ.ศ.2554 เป็นทัศนมาตรรุ่นที่ 3 และสอบขึ้นทะเบียนรับหนังสืออนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะปี 2554 เลขที่หนังสืออนุญาต ทม.๔๓ (ทัศนมาตรคนที่ ๔๓ )
รูปหมู่ทัศนมาตรที่สอบขึ้นทะเบียนหนังสือให้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตร ปี 2554
หลังสำเร็จการศึกษา รุ่นพี่ผมคนหนึ่งได้ชวนผมไปช่วยงานที่ Rodenstock Asia ซึ่งเป็นบริษัทเลนส์เยอรมันที่เริ่มจะมาทำตลาดและสร้าง office ของตัวเองในประเทศไทย จากเดิมที่ทำตลาดผ่าน distributor และ ด้วยความที่บริษัทพึ่งเปิดใหม่ ทำให้อะไรๆก็ยังไม่พร้อม พนักงานก็น้อย มันเป็นโอกาสให้ผมได้เริ่มต้นเรียนรู้และทำทุกอย่างที่ตัวเองต้องรับผิดชอบซึ่งบางทีก็ไม่ใช่งานของตัวเองโดยตรง แต่ก็ต้องช่วยกัน เพราะคนของเรามีแค่นี้ ถึงแม้ว่าผมจะเข้าไปรับตำแหน่ง lens consultant แต่หน้าที่จริงผมคือ ตำแหน่ง supporting (for all) แผนกอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น support marketing ,sell ,customer service หรือ แม้แต่ช่วยเซลล์ขายเลนส์ (แต่ค่าคอมพ์เป็นของเซลล์) ก็ทำ ถือเป็นประสบการณ์
งานใน Rodenstock เป็นชีวิตการทำงานเป็นครั้งแรก แม้เงินเดือนจะน้อยกว่าเพื่อนๆรุ่นเดียวกันที่สตาร์ทเกือบๆครึ่ง แต่ความรับผิดชอบของงานนั้นมากและหลากหลายกว่าเพื่อนมากโดยผลตอบแทนนั้นมาในรูปแบบประสบการณ์ที่หลากหลายมากว่ารูปแบบของเงินเดือน ทั้งงาน supporting ใน office งานวิชาการที่ต้องอ่าน ต้องศึกษา white paper ที่ R&D ของบริษัทส่งมาให้อ่านและทำการย่อย แล้วทำเป็น powerpoint และฝึกพูดฝึกอธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุด ตลอดจนไปถึงบทความทางวิชาการที่ต้องเขียนให้กับบริษัทตามหนังสือนิตยสารเกี่ยวกับแแว่นตา ในนามปากกา “rod”
เมื่อออกจากบริษัท เราก็เดินทางไปเยี่ยมลูกค้าตามร้านแว่นต่างๆ เพื่อช่วยแนะนำผลิตภัณฑ์ของโรเด้นสต๊อก ซึ่งเราก็มีโอกาสรู้จักลูกค้าที่หลากหลาย มีทั้งลูกค้าที่มีอุดมการณ์ ที่อยากรู้เพื่อทำธุรกิจบริการให้ดียิ่งขึ้น และ ลูกค้าที่ไม่สนใจอะไรนอกจากส่วนลดหลังบิล มีทั้งลูกค้าที่เชื่อว่า ของดีแต่แพงจะขายได้ในตลาดของตัวเอง และ มีทั้งคนที่จ่ายของดีเป็นเรื่องปกติ ตลอดจนได้ความคิดว่าอะไรทำให้เจ้าของร้านแต่ละร้านนั้นคิดต่างกันโดยสิ้นเชิงในเรื่องเดียวกัน
ในระหว่างการเดินทาง ผมมีโอกาสได้รู้จักกับร้านแว่นตาตัวแทนจำหน่ายเลนส์โรเด้นสต๊อกมากมายทั่วเมืองไทย เพื่อออกไปเปิดตลาด ให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้า และลงไปช่วยแก้ไขปัญหาที่ร้านตัวแทนใช้ผลิตภัณฑ์แล้วเจอปัญหา ซึ่งผมมีหน้าที่ให้คำปรึกษาและลงไปแก้ปัญหาหน้างานให้และพบว่าปัญหาทั้งหมดที่พบของเลนส์โรเด้นสต๊อก ที่เป็นเหตุให้เคลมนั้นกลับไม่ใช่ปัญหาของผลิตภัณฑ์ แต่เกิดจากการจ่ายค่าสายตาที่ undcorrected กับปัญหาสายตาที่แท้จริงของลูกค้า รองลงมาก็เป็นเรื่องของการฝนประกอบเลนส์ที่ไม่ได้เซนเตอร์ และสุดท้ายก็เป็นเรื่องของการดัดแว่นที่ไม่ได้มุมที่เหมาะสม
เหตุของค่าสายตาที่ uncorrected นั้นก็มีอยู่หลายๆปัจจัย เริ่มตั้งแต่ความรู้หรือประสบการณ์ของผู้ตรวจสายตาไม่มากพอ ความไม่มาตรฐานของห้องตรวจที่น้อยร้านจะมีห้องทำงานที่ได้มาตรฐาน 6 เมตร รวมไปถึงครื่องมือที่ใช้ในการตรวจที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการเคลมเลนส์ที่ตามมานั่นเอง
ปัญหาเหล่านี้มีเหตุมาจาก ระบบสาธารณสุขในประเทศไทย ไม่ได้มองว่า สายตาเป็นเรื่องสุขภาพแต่มองเป็นเรื่องของสินค้าอุปโภคบริโภคและไม่ได้เข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้แว่นที่ไม่ตรงกับค่าสายตา นอกจากนี้ปัญหาของระบบการมองเห็นไม่ได้มีแค่ สั้น ยาว เอียง แต่มีเรื่องภาพซ้อน ปัญหาการเพ่ง ปัญหาการรวมภาพ และมาตรฐานทัศนมาตรไม่ได้ถูกบังคับให้ปฎิบัติด้วยกฎหมายยังไม่มี ทำให้ปัจจุบันมาตรฐานการให้บริการทางด้านสุขภาพสายตาในประเทศไทยยังคงล้าหลังอยู่มากเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
ระหว่างการเดินทางเพื่อทำงานในโรเด้นสต๊อก ผมคิดตลอดเวลาว่า ผมจะเปลี่ยนภาพลักษณ์ของวงการแว่นตาเพื่อยกระดับมาตรฐานขึ้นได้อย่างไร แต่ด้วยความเป็นเด็กน้องใหม่ในวงการนี้ เสียงก็ไม่ดังพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ผมจึงคิดจะออกมาสร้างมาตรฐานใหม่ที่เกิดจากความคิด เผื่อจะมีใครที่อยากเดินทางมาในสายนี้บ้าง
ผมจึงตัดสินใจลาออกจาก Rodenstock Asia ในปี 2557 และเริ่มทำตามความฝันของตัวเอง นั่นคือการสร้าง ลอฟท์ ออพโตเมทรี ขึ้นมาที่ ถ.วัชรพล ท่าแร้ง บางเขน กรุงเทพมหานคร ทำเลนั้นไม่ได้อยู่ในแผน เพียงแค่มีที่ทำงานขนาดใหญ่ มีที่จอดรถ คนไม่พลุกพล่าน ทำทีละคน ทีละเคสให้ดี และก็เติบโตอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ชีวิตของการเดินทางทำงานให้กับ rodenstock ผมได้อะไรหลายๆอย่าง ซึ่งผมมองว่าเป็นเรื่องของการเรียนรู้ และ มีค่าขนมให้ระหว่างเรียนด้วย จนกระทั่งผมทำงานครบ 4 ปี (2010-2014) ก็คือว่าผมได้สำเร็จหลักสูตร rodenstock แล้ว บริษัทก็เป็นรูปเป็นร่างแล้ว มีพนักงานมากขึ้น เป็นระบบมากขึ้น และงานหลายๆอย่างเช่น presentation slide หลักๆก็ทำจนเสร็จหมดแล้ว จะเพิ่มเติมก็ในส่วนของ updating technolgy การมีอยู่หรือไม่มีอยู่ของผมก็ไม่ได้จะทำให้เกิด big change อะไรมานัก และใจทำงานด้านทัศนมาตรคลินิกดีกว่า อยากเจอคนไข้จริง อยากเจอคนที่มีปัญหาจริง และ เราความรู้ของเราไปช่วยเขาได้ เพราะเราเคยมีประสบการณ์เลวร้ายกับตาของตัวเองมาหลายปี หากเราช่วยเขาได้ มันก็น่าจะดีกว่า เหตนี้เองจึงเกิด loft optometry เกิดขึ้นที่ ถ.วัชรพล ท่าแร้ง บางเขน กทม.
จุดยืนในการทำ ลอฟท์ ออพโตเมทรี ขึ้นมานั้น ผมมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ "ยืนหยัดทำงาน เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาสายตาและระบบการมองเห็นให้กับผู้ที่มีปัญหาและอยากให้ผมช่วยดูแลแก้ไขให้ เรื่องอื่นไม่ใช่สิ่งสำคัญ" และเป็นแบบอย่างในการทำงานของทัศนมาตรแบบมืออาชีพ และให้เห็นว่าการทำงานทางทัศนมาตรคลินิกนั้นเป็น Optometry service business ไม่ใช่ eyewear business
ดังนั้นเมื่อเริ่มต้นจากการที่จะสร้าง clinical service business ความมาตรฐานของห้องทำงานและอุปกรณ์ทางทัศนมาตรคลินิกจึงเป็น first priority ที่ต้องให้ความสำคัญอันดับแรก ไม่ใช่จำนวนกรอบแว่นตาที่อยู่ในร้าน ไม่ใช่ทำเลทอง ไม่ใช่ที่คนพลุกพล่าน ไม่ใช่ในห้าง แค่เป็นที่เงียบๆ มีที่จอดรถ มีห้องทำงานดี เครื่องมือถึง พื้นที่รับแขกเพียงพอสำหรับกลุ่มเล็กๆ และ เมื่อเอาเรื่องต้องดีเป็นที่ตั้ง อุปกรณ์ที่ใช้รักษาปัญหาของการมองเห็นจึงจำเป็นต้องคัดสรรคุณภาพเป็นหลัก นั่นเป็นเหตุว่า ทำไมต้อง Lindberg และเลนส์ต้องเป็น Rodenstock แต่ก็ไม่ได้มีปัญหาถ้าคนไข้มีแว่นอยู่แล้ว หรือ ชื่นชอบดีไซน์ของแบรนด์อื่นๆ ก็สามารถนำมาได้ไม่ขัดข้อง
เครื่องมือทางทัศนมาตรคลินิกนั้นมีคุณภาพค่อนข้างหลากหลายทำให้มูลค่าเครื่องมือและประสิทธิภาพของการตรวจนั้นแตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งในส่วนเครื่องมือนี้ผมใช้เวลาศึกษานานพอสมควรในการตัดสินใจนำเข้ามาใช้งาน และ โดยส่วนตัวผมยังไม่มั่นใจมาตรฐานของเครื่องมือจากจีนแดง และเชื่อมั่นกับทางยุโรป หรือ อเมริกา มากกว่า เนื่องจากศาสตร์ทางทัศนมาตรเขามีมานาน เขาน่าจะพบปัญหาและหาทางแก้ไขปัญหาได้ดีกว่าทางตะวันออกที่ทัศนมาตรพึ่งจะเกิดขึ้นไม่กี่ปีมานี้เอง
สาเหตุสำคัญที่ทุกอย่างต้องมาตรฐาน ก็ด้วยเหตุว่า ต้องการสร้าง standard reference เพื่อให้ผลการตรวจนั้นสามารถเชื่อถือหรือมั่นใจได้ หากเราทำงานบนสภาพที่ไม่ไ้ด้มาตรฐาน เราก็คงไม่สามารถที่จะพูดได้เต็มปากว่า ผลการตวรจที่เราตรวจได้นั้น ถูกต้องหรือไม่ นำไปสู่การตรวจรักษาที่มีโอกาสผิดพลาดสูงได้ด้วยเช่นกัน
อุปกรณ์ในห้องตรวจต้องได้มาตฐาน เริ่มตั้งแต่ห้องตรวจที่ลึกมากกว่า 6 เมตร ,Ophthalmic Unit (Topcon), phoropter (Reichert), slitlamp(Haag-Streit), chart projector(Nidek), trial lens set (corrected curve trial lens :Macro) ,trial frame (Oculus) ,keratometer (Topcon) ,fundus camera (Kowa) ,DNEye scan2 (Rodenstock) ,Retinoscope (Keeler ,Welch Allyn) etc.
Optometry equipment
การฝนประกอบเลนส์ให้ได้ทั้งความแม่นยำของเซนเตอร์และสวยงาม จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาจัดการ ดังนั้นการลงทุนเครื่องมือในการฝนประกอบเลนส์นั้นเป็นเรื่องที่ผมให้ความสำคัญไม่แพ้ห้องตรวจ ทุน 1.62 ล้าน เป็นทุนที่ไม่น้อยสำหรับคนที่ไม่ได้รวยอย่างผม แต่ความจำเป็นและความรักที่จะควบคุมงานเองทั้งหมด และ เพื่อให้เกิดความสบายใจในการทำงานของผม จึงจำเป็นต้องเป็นหนี้ก้อนใหญ่เพื่อเอาเครื่อง CNC Weco E.6 มาใช้งาน
WECO E6 CNC- Edging system
เพื่อให้การแก้ไขปัญหาสายตาและการมองเห็นได้ดีที่สุด หลังจากได้ correction ที่ดีที่สุดมาแล้ว การนำ product มาแก้ไขปัญหาให้ดีที่สุดนั้นจึงต้องคัดเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ผมศึกษามาเป็นอย่างดีแล้วดีจริง จึงเหลือหลักๆเพียง เลนส์จาก Rodenstock และ กรอบแว่นตาจาก LINBERG
ในอนาคต ก็คงไม่ต่างจากอดีตจนถึงปัจจุบันคือ "ทำให้ดีอย่างเดียว" ทำน้อยๆ ทำดีๆ ทำทีละอัน อ่านให้มาก เรียนให้มาก ฝึกให้มาก เพื่อให้แว่นหนึ่งอันที่เราตั้งใจทำออกจากเราไปนั้น เป็นแว่นตาที่เต็มไปด้วยความตั้งใจของผม และช่วยยกระดับการมองเห็นและคุณภาพชีวิตของคนไข้ให้ดียิ่งขึ้น และยังเป็นแบบอย่างให้กับทัศนมาตรรุ่นหลัง ว่าให้มุ่งสร้างงานที่ละเอียดปราณีตทีละชิ้นดีกว่า เพราะงานคุณภาพนั้นไม่สามารถสร้างเอาปริมาณได้ และก็เป็นไปไม่ได้ที่ทัศนมาตรจะสามารถทำงานเอาปริมาณไปพร้อมกับคุณภาพ
Dr.Loft
578 ถ.วัชพล ท่าแร้ง บางเขน กทม. 10220
mobile: 090-553-6554
line: loftoptometry
maps : https://maps.app.goo.gl/loftoptometry