update : 5 July 2023
แม้ว่าเลนส์โปรเกรสซีฟ เป็นเลนส์ที่สามารถใช้งานได้ทุกระยะแบบ universal มองไกล ขับรถ ดูจอคอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือ ดูมือถือ ได้อย่างสะดวกสบาย และ เทคโนโลยีเลนส์สมัยนี้ ก็สามารถแก้ไขเรื่องภาพบิดเบี้ยวด้านข้างอันเกิดมาจาก aberration ชนิดต่างๆได้อย่างดีแล้ว แต่กระนั้นก็ตาม มันก็ดีได้เท่าที่ limit ของเงื่อนไขของการออกแบบโครงสร้างโปรเกรสซีฟที่ต้องอาศัยการ varies curve เพื่อให้เกิด varies focus ซึ่งจะทำให้เกิด oblique astigmstism ขึ้นมา ตามกฎของ MinKwitz's theorem เป็นเหตุให้โครงสร้างโปรเกรสซีฟจะต้องมี periphery distortion ขึ้นมา และยิ่งมีค่า addition มากขึ้นก็จะยิ่งมี distortion เกิดขึ้นเป็นเงาตามตัว
ดังนั้นเลนส์โปรเกรสซีฟ เป็นเลนส์ที่ดี แต่ก็มีขีดจำกัดเรื่องภาพบิดเบี้ยวด้านข้าง ทำให้ในบาง lifestyle นั้นต้องการโครงสร้างที่จำเพาะกับตัวเอง เป็นเหตุให้โครงสร้างโปรเกรสซีฟแบบ balance ที่ออกแบบโครสร้างเป็นค่ากลางๆสำหรับคนบางกลุ่มนั้นไม่เหมาะสม จึงต้องมีการพัฒนาโครงสร้างเลนส์ที่ออกแบบตามพฤติกรรมของการใช้สายตาแต่ละบุคคลขึ้นมา ซึ่งเลนส์ที่ว่านั้นเราเรียกมันว่า individual visual demand technology ซึ่งเราจะได้พูดถึงต่อไปนี้
ก่อนอื่นเราต้องไปทำความเข้าใจกันอย่างนี้ก่อนว่า ในการออกแบบโครงสร้างโปรเกรสซีฟ จะต้องมีการนำ distortion หลบไปอยู่ในที่ที่ไม่รบกวนการมองเห็น (ซึ่งก็คือด้านข้าง) และจะต้องมีการคิดต่อไปว่า จะเกลี่ยภาพเบี้ยวเพื่อเปิดพื้นที่การมองเห็นสำหรับมองไกล กลาง ใกล้ อย่างละกี่เปอร์เซนต์ ซึ่งการออกแบบโครงสร้างแบบ balance นั้น จะไม่ได้ให้ความสำคัญกับระยะใดระยะหนึ่ง แต่จะถัวๆเฉลี่ยให้ใช้ได้พอๆกัน
แต่การทำอย่างนั้น เราก็จะได้สนามภาพที่ใช้งานหลักไม่กว้าง เพราะต้องไปเจียดให้กับระยะอื่นๆ แต่ถ้าหากเรารู้ว่า วันๆหนึ่งนั้นเราใช้สายตาทำอะไรเป็นหลัก เราก็สามารถบอกกับผู้ผลิตได้เลยว่า เราจะเอาเลนส์โปรเกรสซีฟนี้ไปใช้ทำอะไรเป็นสำคัญ เช่น
ถ้าผมเกษียรแล้ว ผมใช้ชีวิตในการท่องเที่ยวเป็นหลัก ขับรถ มองคอนโซล ถ่ายรูป ตอบไลน์บนมือถือนิดหน่อย ดังนั้นผมต้องการมองไกลเยอะ ขอกว้างๆ ระยะกลางขับรถมองกระจกข้างก็ขอให้กว้าง มองคอนโซลจัดเจน ส่วนดูใกล้เอาแค่อ่านไอแพดได้ก็พอ ไม่ต้องกว้างมาก เหลือบลึกหน่อยก็ไม่ซีเรียสเพราะไม่ได้ใช้งานต่อเนื่องนานๆ เราก็สามารถบอกกับผู้ผลิตว่า เราเน้นกลางและไกล ส่วนใกล้แคบหน่อยลึกหน่อยไม่เป็นไร
หรือผมเป็นสถาปนิก เป็นวิศวกร ต้องทำงานอยู่กับคอมพิวเตอร์ทั้งวัน เสร็จงานก็ขับรถกลับบ้าน ถึงบ้านก็ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ต่อ ดังนั้นผมต้องการระยะกลางและใกล้ที่กว้าง ไกลจะแคบหน่อยก็ไม่เป็นไร เราก็สามารถขอให้เขาเกลี่ยพื้นที่ใช้งานเพื่อเน้นระยะที่เราต้องการได้
ดังนั้น individual persoal visual demand technology คือ เทคโนโลยีการบริหารจัดการพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั่นเอง
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2000 ซึ่งเป็นปีเกิดของเลนส์ตระกูล Impression ILT ซึ่งเป็นครั้งแรกที่โลกเราได้มีเลนส์โปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคลขึ้นมา และ เริ่มได้ยินคำว่า ILT (Individual lens technology) ขึ้นมาเป็นครั้งแรก ซึ่งมีคอนเซปต์สำคัญคือ โครงสร้างโปรเกรสซีฟแต่ละคู่นั้นคำนวณโครงสร้างแบบคู่ต่อคู่หลังจากได้รับค่าออเดอร์ต่างๆมาแล้วเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นค่า refraction , individual parameter , monocular PD ,base curve , fitting data , lens shape / size เป็นต้น แต่กระนั้นก็ตาม การเกลี่ยโครงสร้างโปรเกรสซีฟนั้นยังใช้พื้นฐานของ perfect balance อยู่ นั่นหมายความถึงไม่ได้เน้นพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นสำคัญ ยังคงเกลี่ยให้ใช้งานทั่วๆไปได้
พอปี 2007 โรเด้นสต๊อกก็เริ่มค้นค้นเทคโนโลยีที่สามารถเกลี่ย distortion บนโปรเกรสซีฟ ให้ได้มุมมองตามความต้องการของแต่ละคนได้ แล้วเปิดตัวเลนส์รุ่นใหม่ชื่อว่า Impression FreeSign ซึ่งพัฒนาต่อเนื่องมาหลายปีเป็น FreeSign2 และ FredSign3 ตามลำดับ นับเป็นครั้งแรกที่เลนส์โปรเกรสซีฟนั้นสามารถออกแบบเฉพาะบุคคลได้ทั้งกับพารามิเตอร์ขณะสวมใส่ และ เฉพาะพฤติกรรมการใช้สายตาของแต่ละคน
แต่กระนั้นก็ตาม FreeSign ถือเป็นเลนส์ Hi-End ที่มีราคาค่าตัวที่สูงอยู่มาก เนื่องจาก cost ของเทคโนโลยี individual parameter + individual personal visual demand จึงมีการนำ personal visual demand มาใช้ในเลนส์กลุ่ม Multigresiv ซึ่งจากเลนส์กลุ่มนี้มีเทคโนโลยี Unique power customization อยู่แล้ว เพียงแต่ใช้พารามิเตอร์มาตรฐานในการออกแบบ ดังนั้นถ้ากรอบแว่นไม่ได้มีมุมพารามิเตอร์ที่หลุดมาตรฐานมากๆ เลนส์รุ่นนี้ก็มีโครงสร้างในระดับดีเยี่ยมเช่นกัน จึงเกิดเป็นเลนส์กลุ่มใหม่ ที่เป็น unique customize แบบ personal visual demand คือ Multigerssiv MyLife 2 ซึ่งแบ่งเป็น 3 แบบคือ Active ,Expert และ AllRound
Active Design : ถูกออกแบบมาสำหรับคนที่ให้ความสำคัญกับการมองไกลและกลาง รวมทั้งการมองแบบ dynamic vision คือเหลือบซ้ายขวา หรือ หันเร็วๆ เช่น การปั่นจักรยาน หรือ กิจกรรมท่องเที่ยว ขับรถ ถ่ายรูป แต่ดูใกล้จะแคบลงมาหน่อย เหลือบลึกหน่อยๆ ไม่เหมาะกับการนำไปใช้ทำงานบนโต๊ะทำงานที่ต้องอ่านเอกสารหรือทำคอมพิวเตอร์ทั้งวัน
Expert Design : ถูกออกแบบมาสำหรับคนที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์หรือดูใกล้นานๆ ซึ่งโครงสร้างจะเปิดพื้นที่สนามภาพกลางและใกล้มากกว่าปกติ ซึ่งจะไป compromise สนามภาพของระยะไกลที่ต้องแคบลงมาบ้าง แต่ก็ยังสามารถใช้งานอเนกประสงค์ทั่วไปได้
AllRound : ถูกออกแบบมาโดนเน้นการใช้งานกลางๆ ทั่วๆไป ไม่เน้นระยะใดระยะหนึ่งเป็นสำคัญ หรือ จะจัดอยู่ในกลุ่ม balance ก็ใช่ ซึ่งโครงสร้างกลุ่มนี้ ก็จะไปชนกับ Multigressiv MyView 2
ดังนั้นหลังจากเกิด Biologic Intelligence Glasses ,B.I.G. ขึ้นมาแล้ว จึงเกิดการยุบ Multigressiv MyLife และ Multigressiv MyView ควบรวมเป็นกลุ่มเดียวกันคือ Multigressiv B.I.G. Norm และ Multigressiv B.I.G. Exact (รายละเอียดเกี่ยวกับ B.I.G.Norm และ B.I.G. Exact นั้นผมได้เขียนไว้แล้วในบทความ B.I.G. technology ท่านที่สนใจลองไปศึกษาดู)
สรุปว่า กลุ่ม Multigressiv Mylife 2 เปลี่ยนเป็น Multigressiv B.I.G. Norm/Exact ; Active และ Expert และยก Multigressiv MyLife AllRound เป็น Multigressiv B.I.G. Norm/Exact ; AllRound และ ยกเลิกกลุ่ม Multigressiv MyView 2 ออกไป
ดังนั้นในการเลือกเลนส์ ปัจจุบันมีให้เลือกอยู่ 3 รุ่น คือ Progressiv B.I.G.NORM / EXACT , Multigrssiv B.I.G.NORM / EXACT และ Impression B.I.G. NORM / EXACT และ แต่ละรุ่นจะใช้เทคโนโลยีสำคัญตามตารางที่แนบมาด้านล่างนี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีเลนส์แต่ละรุ่นนั้นมีการ on-top technology ขึ้นไปเรื่อยๆ และ จุดสำคัญคือ power customization หรือ การคำนวณโครงสร้างขึ้นมาเฉพาะตามพารามิเตอร์ต่างๆที่สั่งมานั้น เริ่มมีตั้งแต่ Multigressiv B.I.G. ขึ้นไป
เลนส์.โรเด้นสต๊อก ในปัจจุบันได้รับการอัพเกรดเป็น B.I.G. technology ทั้งหมดแล้ว โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีตัวนี้คือการนำข้อมูลทางกายภาพดวงตาของแต่ละบุคคลไปร่วมในการคำนวณเพื่อออกแบบโครงสร้างเลนส์ ซึ่งจากการศึกษาเชิงสำรวจจากผู้ใช้งานโดย University of applied science , Munich Germany พบว่า
97% รู้สึกถึงภาพบิดเบือนด้านข้างที่ลดลง
94% รู้สึกสนามภาพของโปรเกรสซีฟกว้างขึ้น
91% รู้สึกถึงการลดลงของความวูบวาดของภาพ
97% รู้สึกถึง aberration ที่ลดลง ทำให้มองไกลชัดขึ้น
Multigressiv MyView®2 at a glance: (source : http://www.rodenstock.com/com/en/lenses/progressive-lenses/multigressiv-mylife-2.html)
Multigressiv® MyLife 2 lenses offer the demanding spectacle wearers an ideal visual experience: Enjoy 40% better vision in the near and intermediate range thanks to the revolutionary Rodenstock Eye Lens Technology. The adjustment of the lens to your individual lifestyle and your personal habits provides with the sharp and strain-free vision and minimizes the swimming effect.
เลนส์โปรเกรสซีฟมีคุณสมบัติที่สำคัญคือมีความเป็น “universal” หรือ “อเนกประสงค์” สามารถใช้งานได้ทุกระยะ โดยไม่ต้องถอดแว่นเข้าแว่นออกนั่นคือประโยชน์ที่เราจะได้รับจากเลนส์โปรเกรสซีฟ
แต่การที่จะออกแบบผิวเลนส์ให้มีหลายระยะในเลนส์เดียวและไม่มีรอยต่อนั้นจะต้องมีการ varied curve ตามแนว progressive zone length เพื่อให้ได้ power ในการใช้งานได้ทุกระยะ ซึ่งต้องมีของแถมที่ไม่ปรารถนาที่ติดตามมาจาก unwanted oblique astigmatism คือ ภาพมัวด้านข้าง (distortion) อ่านเพ่ิมเติมได้ที่ กำเนิดโปรเกรสซีฟตอนที่ 1
ในเมื่อเลนส์โปรเกรสซีฟ มีพื้นที่บางส่วนที่ใช้งานได้ และพื้นที่ distort ที่ใช้งานไม่ได้ ดังนั้นวิศวกรที่ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบ จึงจำเป็นต้องให้ priority ของสนามภาพในแต่ละระยะใช้งาน ว่าจะให้น้ำหนักในแต่ละระยะเท่าไหร่ถึงจะพอดี จึงเกิดเป็นโครงสร้างพื้นฐานขึ้นมาเป็น soft design ,hard design และ perfect balance principle
การออกแบบโครงสร้างถูกเน้นที่ความนุ่มของโครงสร้าง ปรับตัวง่าย ภาพวูบวาบน้อย แต่มีข้อเสียคือไม่ค่อยชัด สนามภาพในแต่ละระยะนั้นค่อนข้างแคบ ตัวอย่างเลนส์ที่มีลักษณะของ soft design ในอดีตคือ Hoyalux GP ซึ่งเป็นเลนส์ที่ออกแบบมาในทาง soft ทำให้ผู้ใช้งานนั้นปรับตัวเข้ากับเลนส์ได้ง่าย แต่ก็ต้องแลกมากับสนามภาพในแต่ละระยะที่แคบ
การออกแบบสนามภาพเน้นความกว้างของสนามภาพใช้งาน แต่มาพร้อมกับโครงสร้างที่ค่อนข้างแข็ง วูบวาบ ปรับตัวยาก ตัวอย่างเลนส์คลาสิกในอดีตคือ Hoyalux GP wide ซึ่งออกแบบมาแนว hard disign เพื่อให้สนามภาพในระยะกลางใกล้ที่กว้าง และผลัก distortion เข้าด้านข้างทั้งหมด ทำให้มีภาพบิดเบี้ยวสูง ปรับตัวลำบาก
จากรูป hard desing (รูปซ้าย) ออกแบบเน้นความกว้างของสนามภาพใช้งานไกลและใกล้ ทำให้มีภาพบิดเบี้ยวด้านข้างมาก วูบวาบมาก ปรับตัวยากกว่าแบบที่เป็น soft design (รูปขวา) แต่ soft เองก็มีปัญหาเรื่องมีภาพมัวที่มารบกวนบริเวณสนามภาพ ทำให้มีโครงสร้างโดยรวมแคบ
image : www.opticianonline.com
เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้กับการออกแบบโปรเกรสซีฟโรเด้นสต๊อกทุกรุ่น หลักคิดของเรื่องนี้คือ จริงๆแล้วคนโดยส่วนใหญ่ในปัจจบันมีพฤติกรรมการใช้สายตาเป็นอย่างไร ซึ่งต้องทำการศึกษาพฤติกรรมของ presbyopia ในเพศ วัย อาชีพ ที่แตกต่างกัน ว่าจริงๆแล้วคนส่วนใหญ่ต้องการความกว้างของสนามภาพ(ที่มีอยู่อย่างจำกัด) แค่ไหนถึงจะเพียงพอ ซึ่งสรุปความต้องการแท้จริงเกี่ยวกับโปรเกรสซีฟมีเน้นอยู่ 3 เรื่องคือ visual feld ในแต่ละระยะมีสนามภาพที่กว้างพอและใช้งานได้จริง , Dynamic Vision การใต่ระดับของภาพบิดเบี้ยวด้านข้างต้องค่อยๆเพิ่มขึ้น เพื่อลดอาการวูบวาบของภาพ ช่วยในการปรับตัวและการออกแบบโครงสร้างต้องคำนึงถึงการทำงานร่วมกันของสองตา หรือ binocular vision โดยในแต่ละตำแหน่งที่ทั้งสองตามองผ่านในเวลาเดียวกันจะต้องเป็นจุดคู่สม เพื่อให้ภาพที่ผ่านจุดคู่สมนั้นมีลักษณะของ Synchronized image ทำให้การรวมภาพของสองตาเกิดขึ้นโดยง่าย จากนั้นก็ออกแบบ prototype ออกมาให้กลุ่มตัวอย่างได้ลองใช้ และทำสถิติว่าคนส่วนใหญ่ต้องการเลนส์โครงสร้างแบบไหน และก็ได้เป็นโครงสร้างที่เรียกว่า perfect balance principle และนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการออกแบบเลนส์ทุกรุ่นตั้งแต่รุ่นพื้นฐานไปจนถึงรุ่นสูงสุด ดังนั้นเราจะเห็นว่า เลนส์โรเด้นสต๊อกไม่เคยมีปัญหาว่า ขยับไปใช้รุ่นที่สูงขึ้นแล้วจะมีประสิทธิภาพต่ำกว่าเลนส์เดิม แต่เกิดมากในเลนส์แบรนด์อื่น เพราะแต่ละรุ่นนั้นใช้โครงสร้างไม่เหมือนกันเลย เพราะไม่ได้พัฒนาต่อยอดมาจากรุ่นพื้นฐาน
image : rodenstock R&D ; perfect balance principle research
progressive lens เป็นเลนส์ที่มีการ varies power จากการเปลี่ยนแปลงความโค้งแบบ gradiant ดังนั้นการไล่ค่าความโค้งนั้นจึงมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด ซึ่งจุดที่เริ่มที่ตำแหน่งมองไกลเรียกว่าจุด DF (design point at far) ส่วนจุดที่สิ้นสุดของการเปลี่ยนแปลงความโค้งเรียกว่า DN (design point at near) ดังนั้นในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าสายตานี้เราเรียกว่า progressive zone lenghth ซึ่งโครงสร้างโปรเกรสซีฟส่วนใหญ่จะถูกกำหนดไว้ด้วย progressive zone lenght เพียง 3 ค่าคือ 14 ,16 และ 18 มม. (ซึ่งถ้าคิดเป็นคอริดอร์ก็คือ cor 11,13 ,15 และเลนส์หลายๆค่ายก็ยังคงมีเพียง 2 corridor : 11,14)
โดยการเลือกคอริดอร์นั้นก็มี เรื่องที่ต้องคิดอยู่ 2 เรื่องคือ จุดประสงค์ที่ต้องการใช้งานว่าเน้นการใช้งานแบบไหนและความสูงของ fitting hight ด้วยเหตุว่าแต่ละคอริดอร์ก็จะให้ feeling ที่ไม่เหมือนกันคือ ยิ่ง progressive zone length ยาว ( corridor ยาว) สนามภาพระยะกลางจะกว้าง ภาพบิดเบี้ยวด้านข้างจะน้อย โครงสร้างจะนุ่ม แต่มีข้อเสียเล็กน้อยคือบางคนอาจรู้สึกว่าต้องเหลือบลึกเวลาอ่านหนังสือ ส่วน corridor สั้น การเหลือบเจอระยะอ่านหนังสือก็จะเร็ว แต่ก็แลกกับระยะกลางที่ค่อนข้างแคบ และในบางครั้งความสูงของ fitting hight ก็เป็นตัวกำหนดว่าจะใช้คอริดอร์ไหนได้บ้าง ซึ่งผมจะไม่ขอลงลึกใน technical ในตอนนี้
มาถึงตอนนี้ ทำให้เราเห็นได้ว่า โปรเกรสซีฟพื้นฐานทั่วไปในตลาดนั้นมีโครงสร้างให้เลือก 2-3 โครงสร้างนี่แหล่ะ เพราะถูกกำหนดไว้เรียบด้วย progressive zone length ทำให้ผู้บริโภคต้องปรับตัวหาเลนส์ และการเกลี่ยสนามภาพใช้งานสำหรับเลนส์พื้นฐานนั้นจะใช้การ balance ไกล กลาง ใกล้ เท่าๆกัน แต่ในกิจวัตรประจำวันของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกันเช่นนักธุรกิจที่ต้องขับรถติดต่อประสานงานกับลูกค้าตลอดทั้งวันดูไลน์บ้าง อ่านข่าวในมือถือบ้าง ก็ต้องการโครงสร้างที่เน้นไกลเป็นหลัก หรือนักโปรแกรมเมอร์ก็ใช้ชีวิตอยู่กับคอมพิวเตอร์มากกว่าวันละ 10 ชม. ก็ต้องการระยะกลางที่มากกว่าระยะอื่นๆ หรือบางคนใช้ชีวิตอิสระ ชอบท่องเที่ยง มีกิจกรรมผาดโผนเยอะๆ ก็ต้องการสนามภาพมองไกลที่กว้าง ไม่ต้องการให้มีภาพบิดเบี้ยวด้านข้าง ซึ่งเลนส์ทั่วไปจะไม่สามารถตอบโจทก์พฤติกรรมที่เฉพาะแบบนี้
การออกแบบโครงสร้างให้เหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้สายตาของแต่ละคน หรือ Personal vision demand เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในอดีต เนื่องจากโครงสร้างโปรเกรสซีฟแบบโบราณนั้นยังใช้การหล่อโครงสร้างสำเร็จผ่านแม่พิมพ์อยู่ และโครงสร้างเฉพาะพฤติกรรมแต่ละคนนั้น พึ่งเริ่มมีในปี 2007 นี่เอง ซึ่งโรเด้นสต๊อกสามารถพัฒนา personal vision demand ใส่เข้าในในโครงสร้างเลนส์รุ่น Impression FreeSign® นับว่าเป็นครั้งแรกที่เลนส์โปรเกรสซีฟสามารถออกแบบมุมมองให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้ใช้งานได้ด้วยการปรับแต่งค่า DF ,DN ซึ่งในครั้งนั้น Impression FreeSign® สามารถออกแบบเลนส์ให้มีค่า progressive zone lenght ที่แตกต่างกันได้มากถึง 5,600 แบบที่แตกต่างกัน จนมาถึงรุ่นปัจจุบัน Impression FreeSign3 ที่ปรับแต่งได้มากถึง 989,901 แบบที่แตกต่างกัน ( probablity= (%ไกล)(%กลาง)(%ใกล้)=(99)(99)(99)= 989,901) ทำให้ Impression FreeSign® เป็นรุ่นที่สูงที่สุดและราคาสูงที่สุดในตลาดเลนส์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
Impression FreeSign 3 : สามารถปรับแต่งโครงสร้างสำหรับการมองเห็นเฉพาะพฤติกรรมแต่ละคนได้อย่างอิสระด้วย individual design
หลังจากที่ Rodenstock Asia เปิดตัวเลนส์ Multigressiv MyLife 2 (อย่างไม่เป็นทางการ) ออกมา ผมได้มีอากาสจ่ายไปแล้ว 5 คู่ ผลตอบรับดีมากและแว่นที่เอามาเป็นตัวอย่างให้ดูวันนี้นั้น เป็นโปรเกรสซีฟคู่แรกของคนไข้ และไม่รับรู้ถึง distortion ตั้งแต่ครั้งแรกที่ใส่ และไม่ได้รู้สึกว่าต้องปรับตัวอะไร
Multigressiv MyLife® 2 นั้น จะเรียกว่าเป็น Multigressiv FreeSign ก็คงไม่ผิดอะไร เพราะใช้ concept technology ของ FreeSign® มาอยู่ในกลุ่ม Multigresiv คือเป็นเลนส์กลุ่ม power optimised โดยใช้ค่าเฉพาะบุคคลคือค่า PD และ personal vision demand แต่ใช้ค่าพารามิเตอร์ของกรอบแว่นมาตรฐาน (ซึ่ง Impression FreeSign® จะใช้ค่าพารามิเตอร์กรอบแว่นเฉพาะคนด้วย )
ดังนั้น ประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับสำหรับเลนส์ Multigressiv MyLife® คือถ้ากรอบแว่นที่เราเลือกเป็นกรองแว่นที่มีค่าพารามิเตอร์มาตรฐานหรือสามารถดัดให้กรอบแว่นกลับมาสู่ค่ามาตรฐานได้ (std.parameter : FFA 5 ,PTA 8 ,CVD 13 ) และต้องการ option personal vision demand ที่มีอยู่ใน Impression FreeSing® เราก็สามารถมาใช้ Multigressiv MyLife® แทนได้ (ประหยัดเงินไป 2-3 หมื่นบาท)
Personal Vision Demand เลือกอย่างไร
สำหรับ Personal visual demand ใน Multigressiv MyLife® นั้นสามารถเลือก personal design type ได้ 3 แบบคือ Active ,Allaround ,Expert
เป็นโครงสร้างที่เน้นการใช้งานของสนามภาพมองไกลให้กว้างมากเป็นพิเศษ ออกแบบให้มี dynamic vision ที่ดี เพื่อไม่ให้มีภาพบิดเบี้ยวหรือภาพวูบวาบมากวนและในสนามภาพมองไกลนั้นเน้นให้มีความเสถียรภาพของภาพสูงสุด เหมาะกับผู้ที่มีกิจกรรมที่ต้องใช้สายตาเคลื่อนที่ตลอดเวลาเช่น เล่นกีฬา ปั่นจักรยาน ปีนเขา หรือขับรถเยอะ
เป็นโครงสร้างที่ออกแบบมาโดยเน้นพื้นที่ใช้งานสำหรับผู้บริโภคที่มีกิจกรรมในการใช้สายตาทั้ง 3 ทั้ง ไกล กลาง ใกล้ พอๆกัน ดังนั้นในการออกแบบจึงให้ความสำคัญทั้ง 3 ระยะเท่าๆกัน โดยออกแบบให้ทั้ง 3 พื้นที่ใช้งานนั้นมีประสิทธิภาพในทุกระยะให้ดีที่สุด
Allround เหมาะกับผู้ที่มีกิจกรรมหลากหลาย เช่น ทำอาหาร ขับรถ อ่านหนังสือ ดูทีวี และภาพที่เกิดขึ้นจาก Allround นั้นมีความคมชัดและเสถียรภาพกว่าเลนส์พื้นฐานทั่วไปมาก
โครงสร้างของ Expert นั้นถูกออกแบบให้มีสนามภาพในระยะกลาง (intermediat zone) เป็นหลัก ทำให้เหมาะกับคนที่มีอาชีพที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นหลักทั้ง PC และ Labtop และสามารถใส่ขับรถหรือใส่ท่องเที่ยวได้ปกติเหมือนเลนส์โปรเกรสซีฟทั่วไป แต่อย่างไรก็ตาม Expert นี้ไม่สามารถแทนประสิทธิภาพเลนส์ที่อยู่ในเลนส์ near vision comfort lens อย่าง ergo ได้ เพราะว่า Ergo นั้นนอกจากจะให้น้ำหนักในสนามภาพระยะกลางและระยะใกล้แล้ว สิ่งที่โปรเกรสซีฟให้ไม่ได้เลยคือ Ergonomic หรือ หลักสรีระศาสตร์ในขณะทำงาน แต่ก็มีดีกว่า Ergo คือเป็น Universal สามารถใช้งานทุกระยะ
เนื่องจาก Multigressiv MyLife® นั้นสามารถ varied progressive zone length ได้ ดังนั้น โครงสร้างจะไม่เรียกเป็น corridor เหมือนเลนส์ทั่วไป แต่จะเรียกเป็นค่า Design point คือค่า DF (design point at distant) และ DN (design point at near ) โดยกากบาทสีแดง (+) คือตำแหน่งของตาดำ (fittign cross)
โดยใน Multigressiv MyLife® 2 นั้นจะ fixed ค่า DF ของแต่ละ design type แต่จะให้สามารถปรับแต่งค่า DN ได้อิสระหรือจะให้ Rodenstock ทำการ Varies โครงสร้างให้พอดีกับกรอบแว่นก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยโรเด้นสต๊อกจะออกแบบให้ดีที่สุดเฉพาะกับกรอบแว่นนั้นๆ
Design type DF(mm) DN (mm)
Active -1.6 -14.6 to -20.0
Allround -0.6 -13.6 to -20.0
Expert +1.0 -13.00 to -20.0
ข้างต้นจะเห็นว่ารุ่น Multigressiv MyLife® 2 นั้นจะ fixed ค่า DF ส่วนค่า DN นั้นสามารถปรับแต่งในความละเอียดระดับ 0.1 mm/step ได้ ส่วน Impression FreeSingn® 3 นั้นจะเปิด option ให้สามารถปรับแต่งได้ทั้งค่า DF และ DN เรียกว่า individual design (รูปล่าง)
Multigressiv MyLife® 2 มีเทคโนโลยีสำคัญที่ใช้ในการออกแบบโครงสร้างอยู่หลายเทคโนโลยีได้แก่
ที่ได้กล่าวมาแล้วว่าเป็นโปรเกรสซีฟที่ออกแบบโครงสร้างให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้สวมใส่
ประโยชน์คือ เป็นโครงสร้างโปรเกรสซีฟปรับตัวเข้าหาผู้สวมใส่ ทำให้ลดเวลาการปรับตัว และเหมาะสมกับกิจวัตรประจำวัน
ซึ่งเป็นเทคโนยีการออกแบบโครงสร้างโปเกรสซีฟเฉพาะคน ที่ออกแบบแต่ละคู่สำหรับผู้สวมใส่แต่ละคน ซึ่งการคำนวณโครงสร้างจะเริ่มขึ้นหลังจากได้รับข้อมูลเฉพาะบุคคลมาแล้วเท่านั้น ได้แก่ ค่าสายตา ค่าแอดดิชั่น ค่าพีดี ค่าpersonal vision demand และข้อมูลของกรอบแว่น เพื่อหาโครงสร้างและปรับแต่งโครงสร้างให้ดีที่สุด ซึ่งในเลนส์แต่ละข้างนั้น มีการ optimized มากว่า 7,000 จุด และทุกจุดนั้นถูกต้องเหมาะสมที่สุดและเมื่อได้โครงสร้างที่ดีที่สุดเฉพาะคนแล้วจึงสั่งให้ 3D Freeform technology ที่มีความแม่นยำสูง ทำการขัดแบบ point by point
ประโยชน์ที่จะได้คือ lens ไม่มี compromise จากการผลิต โครงสร้างจึงเป็นโครงสร้างที่ดีที่สุด เท่าที่โครงสร้างโปรเกรสซีฟจะเป็นไปได้ ไม่่ว่าผู้สวมใส่จะมีความยากและซับซ้อนของสายตามากเพียงใดก็ตาม
จุดที่เป็นจุดแข็งจริงๆของโรเด้นสต๊อกคือ โครงสร้างเลนส์ทุกคู่ทุกรุ่น ไม่มีการหล่อโครงสร้างสำเร็จจากแม่พิมพ์ เลนส์แต่ละคู่จะผ่านการคำนวณตามตัวแปรเฉพาะบุคคลได้แก่ ค่าสายตา (สั้น/ยาว/เอียง) ค่า addition ค่า PD ค่าพารามิเตอร์เฉพาะบุคคลของกรอบแว่นขณะสวมใส่ ข้อมูลฟิตติ้ง รูปทรงและขนาดของกรอบ ไปจนถึงตัวแปรพฤติกรรมการใช้สายตาเฉพาะคน ซึ่งแต่รุ่นที่จะ limit เทคโนโลยีไว้ ยิ่งรุ่นที่สูงมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งจะเปิดให้ใส่ตัวแปรเฉพาะคนได้มากขึ้น และเนื่องราคามูลค่าเทคโนโลยีไม่เท่ากัน เลนส์แต่ละรุ่นจึงมีราคาไม่เท่ากัน และต้นทุนจากวัสดุหรือความหนาบาง ไม่ใช่สาระที่ทำให้เลนส์ราคาถูกหรือแพง แต่เป็นมูลค่าของซอฟแวร์ในการออกแบบโครงสร้าง ที่ต้องใช้ทีม reserch and development ในการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีการออกแบบและเทคโนโลยีการขัดรวมไปถึงเทคโนโลยีการเคลือบผิวเลนส์
การออกแบบการเยื้องของ inset progressive สำหรับดูใกล้นั้น Multigressiv MyLife® 2 นอกจะใช้ค่าจริงจาก ค่าสายตา ,ค่า Addition ,ค่า Monocular PD แล้ว สิ่งที่พิเศษไปกว่าเลนส์ conventional ทั่วไปคือ ระยะสำหรับอ่านหนังสือจริง ซึ่งเลนส์ทั่วไปจะออกแบบสำหรับการใช้งานที่ 40 ซม. แต่ MyLife 2 นั้นในตัวแปรจากระยะใช้งานจริงเข้าไปคำนวณ inset ด้วย ทำให้การใช้งานในระยะกลางและระยะใกล้กว้างและคมชัดขึ้นกว่าเลนส์ทั่วไป ที่ใช้การ fixed Inset
ประโยชน์ : ช่วยให้การวางโครงสร้างนั้นมีการเยื้องของ inset สอดคล้องกับคนที่มี PD ที่แคบกว่าปกติ หรือกว้างกว่าปกติ หรือ PD ซ้ายขวาต่างกันมากๆ หรือคนไข้ที่ชอบดูใกล้ ใกล้กว่า 40 ซม. หรือ ไกลกว่า 40 ซม. ก็จะได้ประโยชน์มาก คือสนามภาพกลางและใกล้นั้นคมชัดและกว้างขึ้น เนื่องจาก inset นั้นสอดคล้องกับการเหลือบของตา
techical term : inset คือการออกแบบให้สนามภาพที่สามารถใช้งานได้นั้น มีการเยื้องให้สอดกับการเหลือบของตาขณะดูใกล้ เนื่อจากเวลาเราดูใกล้หรืออ่านหนังสือนั้น ตาจะเหลือบเข้ามา คนที่ PD กว้างอ่านหนังสือที่ระยะเท่าๆกันตาจะเหลือบเข้ามากกว่าคน PD แคบ หรือคนที่มีค่า PD เท่าๆกัน คนที่อ่านหนังสือใกล้ ตาจะเหลือบตาเข้ามากกว่าคนที่อ่านหนังสือไกล ดังนั้นตัวแปรเหล่านี้ต้องนำไปคำนวนทั้งหมด เพื่อให้การใช้งานในชีวิตประจำวันนั้น ตาไม่ไปมองผ่านสนามภาพที่มีภาพบิดเบี้ยว (distortion)
Multigressiv MyLife® 2 ได้ผลพลอยได้จากเทคโนโลยี Unique Customization technology ทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกผิวโค้งของหน้าเลนส์ได้อิสระ ซึ่งช่วยในเรื่องของ cosmetic โดยไม่ต้องกังวลเรื่อง base curve effect
เท้าความกันสักนิดว่า มีกฏทาง physic optic ที่นักวิทยาศาสตร์พบมาตั้งแต่ในอดีตแล้วเกี่ยวกับ base curve effect ซึ่งนักฟิสิกส์สองคนที่เป็นคนค้นพบความสำพันธ์ของเรื่องนี้คือ Wollaston และ Tscherning' Ellipse ซึ่งพวกเขาได้ศึกษาและ plot กราฟเพื่อให้เห็นความสำพันธ์ของ base curve ที่ mathcing กับค่าสายตา และสรุปกฏนี้ว่่า "ในค่าสายตาหนึ่งๆนั้น จะมี base curve ที่ matching กับมันจริงๆ เพียงหนึ่งค่าสายตาเท่านั้น เมื่อ base curve ไม่ matchning กับค่าสายตา จะทำให้เกิด (induced) unwanted oblique astigmatism"
ซึ่งปัญหานี้ทำให้เกิดปัญหาอย่างมากในการออกแบบโครงสร้างโปรเกรสซีฟในอดีต เนื่องจากการทำผิวโปรเกรสซีฟนั้นจะใช้การสร้างโมลโปรเกรสซีฟที่มีค่า addition ต่างๆ แล้วหล่อเลนส์ออกมา เลนส์ที่ได้จะมีค่า Addition ต่างๆตามโมล เราเรียกกระบวนการทำเลนส์อย่างนี้ว่า conventional
ทีนี้ เนื่องจากแต่ละค่าแอดดิชั่นนั้น ต้องการ base curve ที่ไม่เหมือนกัน ทำให้ผู้ผลิตต้องเพ่ิมจำนวนโมลให้มี base curve มากขึ้น แต่ก็ด้วย cost ที่เพ่ิมมากขึ้น ทำให้การเพิ่ม base curve ให้ mold นั้นถูกจำกัดอยู่ 6-7 base curve ซึ่งคิดเป็นจำนวนโครงสร้างได้ 72 โครงสร้าง (คำนวณจาก (จำนวน addition)x(จำนวน base curve)) ปัจจุบันวิธีนี้ก็ยังถูกนำมาใช้งานอยู่ ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถเลือกโค้งเลนส์ได้อิสระ ตัวอย่างโครงสร้างโปรเกรสซีฟเดียวกัน ที่ได้ผลกระทบของ base curve effect จากค่าสายตาที่ต่างกัน (ภาพล่าง)
เลนส์ทั่วไปที่ใช้ 1 base curve คุมค่าสายตาเป็นช่วงๆ optic ที่ได้ดีที่สุดจะเกิดขึ้นเฉพาะค่าสายตาที่ maching กับ base curve พอดี ซึ่งเลนส์ในตลาดเกือบทั้งหมด ใช้ 6-8 base curve ในการคุมค่าสายตาตั้งแต่ -10.00D to +8.00D ผลที่ได้จะเป็นเหมือน graph ด้านล่าง
โรเด้นสต๊อกใช้เทคโนโลยีไปใช้ในผลิตภัณฑ์รุ่น Progressiv PureLife Free2 โดยการเพ่ิมจำนนวน base curve เป็น 20 bc และนำค่าสายตา sphere ไป optimized กับ base curve แต่ละโค้ง ทำให้สามารถจัด base curve effect ได้ทั้งหมดในช่วงค่าสายตา sphere แต่ก็จะแก้ไขไม่ได้ในค่าสายตาเอียงที่มากกว่า cyl -2.00D ขึ้นไป
Unique Customization technology นั้นเริ่มใช้กับเลนส์โปรเกรสซีฟในรุ่น Mulitgressiv MyView 2 ขึ้นไป ซึ่งจะทำการ optimized ตัวแปรเฉพาะบุคคลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสายตา sphere /cylinder prism ,Monoc-PD ctc. ทำให้ optic properties ที่ได้ในเลนส์กลุ่มนี้นั้นมีประสิทธิภาพสูงและคงที่ มีความเสถียรภาพของโครงสร้าง (ภาพล่าง)
นอกจากเรื่องความสวยงามเวลาเอาเลนส์เข้ากรอบแล้ว (เนื่องจากโค้งเลนส์จริง กับโค้ง demo lens นั้นมีความโค้งเท่ากัน ) ยังช่วยในเรื่อง Function ของแว่นได้ หมายความว่า แว่นตานั้น ถูกออกแบบให้มีฟังก์ชั่นที่ดีคือ เบา เกาะหน้า กระชัด ซึ่งลักษณะดังกล่าวนั้นถูกควบคุมด้วย ความโค้งของผิว demo lens ถ้านึกถึงกรอบเซาะร่องโลหะจะเห็นภาพเช่นกรอบ ic!Berlin ,Mykita, Lindberg Strip เป็นต้น ซึ่งถ้าเลนส์แบนกว่า เดโม ก็จะทำให้ขาแว่นนั้นกาง ใส่ไม่กระชับเหมือนตอนลอง ทำให้ไม่ได้ฟังก์ชั่นที่ควรจะเป็น
เทคโนโลยีฟรีฟอร์มนั้นเปรียบเหมือนเครื่องมือที่ช่วยให้การทำงานที่มีความละเอียดระดับ10 ไมครอน นั้นเป็นงานที่สามารถทำได้ถูกต้อง มีความแม่นยำ มีความเฉพาะ กว่าเทคโนโลยีเก่าที่ใช้กระบวนการขัดแบบ conventional ฟรีฟอร์มทำให้เราสามารถสร้างผิวโค้งเลนส์อย่างไรก็ได้ขึ้นอยู่กับเราเราจะออกแบบซอฟแวร์ให้มีความสามารถในการชดเชยตัวแปรต่างๆ ได้มากน้อยแค่ไหน
ฟรีฟอร์มเทคโนโลยีนั้น เป็นกระบวนการขัดประเภทหนึ่ง ที่ควบคุมรูปแบบงานด้วยดิจิทัล สามารถสร้างรูปแบบงานได้อิสระตามที่ซอฟท์แวร์ออกแบบได้ออกแบบมา แต่ฟรีฟอร์มนั้นเป็นรูปแบบการขัดอย่างหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น เลนส์ฟรีฟอร์มจึงไม่ได้บอกอะไรเรามากไปกว่าคำว่า "ขัดแบบฟรีฟอร์ม" แต่หัวใจสำคัญของฟรีฟอร์มนั้นอยู่ที่การออกแบบโครงสร้างให้ดีที่สุด เมื่อตัวแปรต่างๆเปลี่ยนไป เลนส์ฟรีฟอร์มแต่ละค่ายจึงมีความสามารถในการชดเชยไม่เหมือนกัน
โรเด้นสต๊อกเป็นผู้ผลิตรายแรกที่ใช้เทคโนโลยี ฟรีฟอร์มมาใช้ในการขัดเลนส์เฉพาะบุคคล ตั้งแต่ปี 1999 ในเลนส์รุ่น Multigressiv และสำเร็จในการนำมาใช้ผลิตเลนส์เฉพาะบุคคลครั้งแรกของโลกรุ่น Impresson ILT ในปี 2000 วันนั้นถึงวันนี้ 17 ปีแล้ว เทคโนโลยีปัจจุบันนั้น ก้าวหน้าไปไกลมาก เนื่องจากคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาให้ด