Optometry Lecture
by Dr.Loft ,O.D.
19 september 2019
Convergence insufficiency ,CI เป็นความผิดปกติของการทำงานของระบบกล้ามเนื้อตาส่งผลให้มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น ที่พบบ่อยเช่นเกิดภาพซ้อน ซึ่งพบได้บ่อยทั้งในเด็กเล็ก เด็กโตจนเริ่มเข้าสู่ผู้ใหญ่ ซึ่งมีลักษณะความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อตาในการบังคับลูกตาให้เหลือบเข้าใน หรือ convergence ขณะดูใกล้ ทำให้การใช้สายตาดูใกล้เช่นอ่านหนังสือนั้นทำได้ลำบาก
ดวงตาแต่ละข้างนั้นมีกล้ามเนื้อที่อยู่รอบนอกของดวงตาอยู่ 6 มัด เรียก extra ocular muscle ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนที่ของลูกตาของเรา ซึ่งกล้ามเนื้อมัดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะคุยกันในวันนี้เป็นกล้ามเนื้อมัดที่อยู่ติดกับจมูก เรียกว่า medial rectus,MR ซึ่งทำหน้าที่สำคัญในการเกิดการเหลือบตาเข้า ขณะดูใกล้ เรียกว่า convergence
Extra ocular muscle ,EOM เป็นกล้ามเนื้อตาที่อยู่รอบๆลูกตา ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนที่ของลูกตา ซึ่งควบคุมการทำงานโดยระบบประสาทอัตโนมัติจาก cranial nerve 3 ซึ่งกล้ามเนื้อตา 6 มัด จากตาทั้งสองข้างต้องทำงานร่วมกันอย่างสมบูรณ์ เพื่อจุดประสงค์สูงสุดคือ เห็นเป็นภาพเดียว ที่คมชัด และ มี binocular vision
และมีกล้ามเนื้อที่อยู่ภายในดวงตา (intra ocular muscle) คือ cilliary muscle ทำหน้าที่สำคัญในการการโฟกัสวัตถุขณะที่เราดูใกล้ให้คมชัด หรือ โฟกัสให้คนสายตายาว (hyperopia)มองชัดทั้งไกลและใกล้
ซึ่งกล้ามเนื้อภายนอกลูกตา medial rectus,MR และ ภายในลูกตา ciliary muscle ต่างก็ถูกควบคุมการทำงานด้วยระบบประสาทอัตโนมัติชุดเดียวกันคือ เส้นประสาทสมองชื่อว่า oculomoter ซึ่งเป็นประสาทสมองคู่ที่ 3
ดังนั้นเมื่อมีการถูกกระตุ้นให้ทำงาน จะมีความสัมพันธ์กัน หรือ ถ้าจะมีปัญหาก็จะมีปัญหาเชื่อมโยงกันอยู่
ดังนั้นในการหา รอยโรค หรือ sign นั้น ต้องดูควบคู่ บูรณาการกันไป
หลักการทำงานโดยปกติ เมื่อเราใช้สายตาในการอ่านหนังสือหรือโฟกัสเพื่อดูวัตถุที่อยู่ใกล้ๆ ให้ชัด กล้ามเนื้อตา MR ของคนปกติจะดึงลูกตาให้เหลือบเข้าหากัน เรียกว่าเกิดการ convergence ทำให้เกิดการรวมภาพจากตาขวาและตาซ้ายให้เป็นภาพเดียว (fusion) ได้ง่าย และเกิดการมองแบบ binocular vision เพื่อการมองเห็นของตานั้นสามารถ maintain ภาพให้เป็นภาพเดียวได้ ไม่เกิดเป็นภาพซ้อน เรียกว่าเกิด clear single and binocular vision
รูปแสดงการทำงานของกล้ามเนื้อตามัดที่อยู่ภายในดวงตาคือ ciliary muscle ซึ่งทำหน้าที่สำคัญในการโฟกัสวัตถุที่อยู่ใกล้ให้คมชัด ซึ่งควบคุมด้วยประสาทอัตโนมัติ cranial nerve 3 เช่นกัน
ในขณะเดียวกันกล้ามเนื้อภายในดวงตา ciliary muscle ก็จะเกิดการหัดตัว ส่งผลให้เลนส์ตาเกิดการเปลี่ยนความโค้ง ส่งผลให้กำลังหักเหเพิ่มมากขึ้น เราจึงเห็นใกล้ชัดได้
ถ้ากล้ามเนื้อตาของเราไม่มีแรงพอในการเหลือบตาเข้า ก็อาจจะทำให้เราอ่านหนังสือหรือดูใกล้ลำบาก และบางครั้งก็มีปัญหาเรื่องภาพซ้อนขึ้นมาด้วย ซึ่งในเคสของ CI นั้นเราจะ assume ว่า เลนส์แก้วตาของเรายังมีแรงเพ่งได้อยู่ แต่กล้ามเนื้อตา MR นั้นไม่มีแรงพอที่จะ maintain ภาพให้รวมเป็นหนึ่งได้
ลักษณะอาการของคนไข้ convergence insufficiency มักจะมีลักษณะอาการที่หลากหลายแตกต่างกันไป ซึ่งอาการที่พบบ่อย โดยเฉพาะเมื่อต้องอ่านหนังสือหรือดูใกล้เช่น
ล้าตา
ปวดศีรษะ
เห็นตัวหนังสือขี่ซ้อนทับกันหรือตัวหนังสือวิ่งไปวิ่งมาได้
ภาพซ้อน
ไม่มีสมาธิจดจ่อกับหนังสือ
ไม่สามารถอ่านหนังสือต่อเนื่องได้นาน
ต้องพยายามหรี่เพ่งตามอง หรือ ปิดตาข้างหนึ่งเพื่ออ่านหนังสือ
Convergence insufficiency,CI พบได้ในประชากรเด็ก 5% นั่นหมายความว่าในเด็กทุกๆ 20 คน จะมีเด็กที่เป็น CI จำนวน 1 คน พูดอีกนัยคือ ในห้องเรียน 1 ห้อง จะมีเด็กที่เป็น CI อย่างน้อย 1-2 คน และเด็กที่มีปัญหา CI มักจะมีลักษณะของการขี้เกียจเรียนหรือมีปัญหาในการเรียน รบกวนและสร้างความวุ่นวายในห้อง (เกรียน) กลายเป็นเด็กที่ไม่มีสมาธิจดจ่อในการเรียนและรู้สึกล้าหรือเมื่อยตาได้ง่ายเมื่อต้องอ่านหนังสือ
ในการตรวจวินิจฉัยนั้น ไม่สามารถทำได้โดยลำพังการตรวจความคมชัดด้วย VA chart ตามปกติ แต่ต้องตรวจกับผู้เชีี่ยวชาญเฉพาะด้านนี้กับทัศนมาตร หรือ จักษุแพทย์ จึงจะสามารถตรวจวิเคราะห์ได้
ลักษณะอาการแสดงของ convergence insufficiency นั้นมีค่าต่างๆที่ช่วยในการวิเคราะห์ความผิดปกตินี้ เช่น
สิ่งแรกที่เป็นข้อบ่งชี้ถึง CI คือคนไข้มีมุมเหล่ออกซ่อนเร้นมากกว่าปกติ โดยค่าปรกติของ phoria คือมองไกลเป็นตาตรง (ortho-phoria) หรือ exophoria 1 BI , และดูใกล้ exophoria 3 BI (+/-2) ถ้ามากกว่านี้ก็ถือว่า “มากผิดปกติ”
Phoria หรือ เหล่ซ่อนเร้น อย่างที่ได้เคยพูดถึงบ่อยๆนั้น หมายถึง resting positioning of the eye หรือตำแหน่งธรรมชาติที่เป็นที่พักของดวงตาของเรานั่นเอง หรือเป็นที่ชอบที่ชอบของดวงตานั่นเอง ดังนั้นจะเป็นตำแหน่งที่ดวงตาชอบหรืออยากหลบไปพัก
คนที่เหล่เข้าซ่อนเร้น หรือ esophorai ตาก็อยากจะหลบเข้าใน คนที่ตาเหล่ออกซ่อนเร้น หรือ exophorai ตาก็อยากจะหลบออกนอก คนที่ตาเหล่ซ่อนเร้นสูงต่ำ หรือ hyperphoria ตาที่ชอบอยู่สูง ก็อยากที่จะหลบไปอยู่ที่สูงกว่า
ที่ใช้คำว่า “อยาก” เนื่องจากได้แค่ “อยาก” แต่ไปไม่ได้ เนื่องจากมีระบบ binocular fusion กระตุ้นให้ตาตรงหรือทำงานร่วมกันอยู่ ดังนั้นเมื่อมีการ break fusion หรือ รู้สึกเหนื่อยล้าจากการตรากตรำทำงานหนัก ตาก็จะหนีไปสู่ที่ชอบที่ชอบ คือตำแหน่ง phoria
ส่วนคนที่เป็นตาเหล่ หรือ tropia นั้นเป็นตาที่ไม่สนโลก คือไม่สน binocular fusion แล้ว อยากไป ไปเลย เราจึงสามารถมองเห็นว่า คนตาเหล่นั้น จะมาตาข้างใดข้างหนึ่งที่มอง และข้างที่ไม่ได้ใช้งาน ก็จะหลบไปอยู่ที่ชอบๆ
ดังนั้นคนที่มีตาเหล่ออกซ่อนเร้น (exophoria) คือคนที่มีตำแหน่งพักของตานั้นอยู่ในตำแหน่งเหล่ออกมากเกินไปนั่นเอง ทำให้กล้ามเนื้อตาต้องพยายามออกแรงบังคับลูกที่ชอบอยู่ในตำแหน่งเหล่ออก ให้เหลือบเข้าไปมองวัตถุหรือสิ่งที่อยู่ใกล้นั่นเอง
คนไข้ที่มีปัญหา CI มักจะมี sign ที่มักจะเจอในการทำ preliminary eye exam คือค่า Near point of convergence, NPC ที่ต่ำกว่าเกณฑ์
NPC นั้นเป็นการทดสอบความสามารถของกำลังการรวมภาพของกล้ามเนื้อตา ว่าสามารถใช้กำลังในการรวมภาพ fixation target ได้ใกล้แค่ไหน โดยที่ target นั้นไม่แยกเป็นสองภาพ
cr.image : opticianonline.com
โดยในการตรวจ หมอทัศนมาตรจะทำการเลื่อน fixation target เข้าหาจมูกของคนไข้ หรือให้คนไข้เลื่อนเองแล้วหมอเป็นคนดูระยะ โดยขอให้คนไข้มองไปที่ target แล้วใช้กำลังของกล้ามเนื้อตาทั้งหมดที่มีในการรวมภาพให้เป็นหนึ่ง แล้ววัดระยะจุดที่คนไข้เริ่มเห็น target แยกเป็นสองภาพ หรือตำแหน่งที่ตาคนไข้หนีออกจากกัน
ในคนที่มี NPC ปกตินั้น จะสามารถดูใกล้ถึง 1 ซม. หรือใกล้ขนาดที่ target นั้นแต่ะจมูกก็ยังไม่เห็นแยก
คนทั่วไปส่วนใหญ่ ค่ามาตรฐานที่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติจะอยู่ที่ประมาณ 10 ซม. (ดูได้ใกล้กว่า 10 ซม.แล้วยังไม่แยก) ซึ่งถือว่าเป็นระยะปกติที่ยอมรับได้ ดังนั้นในคนที่มี NPC แย่กว่า 10 ซม. (ยังไม่ถึง 10 ซม. ภาพก็แยกแล้ว) นั้นจัดเข้าว่าเป็นกลุ่มที่มี NPC ต่ำ ซึ่งเป็น sing อย่างหนึ่งว่า อาจจะมี convergence insufficiency
แต่สิ่งที่ผู้ตรวจต้องระวังคือ ในเคสที่เกิด supression คนไข้อาจจะไม่เห็นว่า target แยกเป็น 2 ก็เลยไม่บอกว่า “แยก” แต่ผู้ตรวจต้องสังเกตุว่า ตาข้างใดข้างหนึ่งของคนไข้นั้น หลุดจาก fixation target หรือยัง ก็ให้บันทึกระยะที่ตาเริ่มไม่ fixate นั้นเป็นค่า NPC
คนไข้ที่เป็น CI มักจะมาด้วย sign ของ fusional vergence ที่ต่ำกว่ามาตรฐานด้วย ซึ่งในการตรวจนั้นเราจะดูแรงของ reserve ของกล้ามเนื้อในทุกแกน ได้แก่
Positive fusional vergence เพื่อดูว่าแรงของ fusional convergence นั้นมีขีดจำกัดได้แค่ไหน โดยการกระตุ้นด้วย BO prism จนภาพเกิด มัว/แยก/ รวม หรือ Blur / Break / Recovery
Negative fusional vergence เพื่อดูว่าแรงของ fusional divergence นั้นมีขีดจำกัดได้แค่ไหน โดยการกระตุ้นด้วย BI prism จนเกิดภาพ มัว /แยก /รวม หรือ Blur / Break / Recovery
Supra vergence /infra vergence เป็นการดูกล้ามเนื้อตาในการทำ fusion vergence ในแนวดิ่ง เมื่อกระตุ้นให้เกิด brake fusion ด้วยการใส่ base up /down ข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อดู vertical vergence ว่า balance หรือไม่ ซึ่งในคนไข้ที่ไม่มี vertical phoria มักจะให้ค่า vertical vergence ที่บาลานซ์ ในขณะคนที่มี vertical phoria ค่า vertical fusional vergence ฝั่ง supra กับ infra จะไม่เท่ากัน
ซึ่งสำหรับเคส CI นั้น เราจะให้ความสำคัญกับค่า postive fusional convergence หรือ base out vergence
โดยคนที่ปกติ หรือไม่มีปัญหาเรื่องนี้ จะมีค่า BO-reserve ค่อนข้างมาก แสดงถึงกำลังในการที่จะคงไว้ซึ่ง binocular fusion นั้นทำได้ดีมาก ตาทั้งสองนั้นสามารถวิ่งมาจับภาพแล้วรวมเป็นภาพเดียวได้อย่างรวดเร็ว
ส่วนคนที่มีปัญหา convergence insufficiency จะมีค่า BO-reserve ที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ก็จะไม่มีแรงมากพอที่จะบังคับกล้ามเนื้อตาให้รวมภาพได้ต่อเนื่องนานๆ ทำให้เกิดภาพซ้อน ซึ่งจะซ้อนเร็วซ้อนช้า หรือซ้อนแล้วกลับมารวมเร็วหรือช้า ก็ขึ้นอยู่กับว่า มี exophoria อยู่มากน้อยแค่ไหน และมี BO-reserve อยู่มากน้อยแค่ไหน
โดย phoria เหมือน demand ที่ตาต้องพยายามใช้กำลังของกล้ามเนื้อตาเป็นอย่างน้อย เพื่อที่จะรวมภาพเป็นหนึ่ง fusional vergence reserve เหมือน supply ของกำลังกล้ามเนื้อตาที่มีอยู่สำหรับใช้ในการบังคับกล้ามเนื้อตา
เด็กหรือผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีปัญหา convergence insufficeincy มักจะมาพร้อมกับปัญหากำเพ่งของเลนส์ตาไม่พอ ( accommodative insufficiency) ด้วยเหตุว่า ระบบประสาทตาที่บังคับการทำงานของ convergence กับ accommodation นั้นเป็นชุดเส้นประสาทเดียวกัน คือ cranial nerve iii (oculomotor nerve) ดั่งที่ได้เกริ่นไปแล้วข้างต้น
ระบบ accommodation คือระบบการเพ่งของเลนส์ตาในการที่จะโฟกัสภาพที่อยู่ใกล้ให้ชัด ซึ่งเป็นระบบอัตโนมัติ ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยจิตสำนึก ไม่ใช่การเพ่งหยี่หรี่จ้องมองอย่างที่เราเข้าใจกัน แต่เป็น auto-focus ที่ทำงานด้วยตัวเอง
โดยการการทำงานนั้น จะมีชุดกล้ามเนื้อตาเป็นแนววงกลม เรียกว่า ciliary muscle วิ่งอยู่รอบๆของเลนส์ตา ซึ่งการหดขยายของกล้ามเนื้อตามัดภายในลูกตานี้ทำให้เกิดการ activate accommodate เพื่อเพิ่มกำลังหักเห หรือ relax accommodation เพื่อลดกำลังหักเห ทำให้เรามีการมองเห็นวัดถุที่อยู่ในระยะแตกต่างกันได้ชัด
ดังนั้นคนไข้ที่เป็น CI มักจะมี sign คือค่าของ convergence ต่อการ accommodation ที่ต่ำ หรือที่เรียกันว่า AC/A ratio ต่ำนั่นเอง ศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติม
การรักษาที่ง่ายและประหยัดที่สุดที่หมอทัศนมาตรนิยมในการแก้ไขปัญหา Convergence insufficiency คือการฝึกบริหารกล้ามเนื้อตาด้วยวิธี “pencil push up”
credit ; wow vision therapy youtube chanel
ในการฝึก จะให้คนไข้ใช้ target ที่เป็นตัวหนังสือขนาดเล็กหรือปลายปากกาก็ได้ อาจจะใช้ไม้ไอศครีม แล้วแปะตัวหนังสือที่เรียงในแนวดิ่งเข้าไป (เวลาเห็นแยกจะได้เห็นง่ายๆ) ซึ่งขนาดตัวหนังสือต้องไม่ใหญ่จนเกินไป แต่ก็ไม่เล็กเสียจนไม่มีรายเอียด เรียกว่าเป็น accommodative fixation target เพราะสำคัญของเรื่องนี้คือการ accommodation จะต้องช่วยควบคุมกล้ามเนื้อตาด้วย
การฝึกทำได้โดย ให้คนไข้นั้น ค่อยๆ เลื่อน target เข้าหาจมูกตัวเอง โดยที่ตานั้นต้องพยายามเพ่งให้ชัดและรวมเป็นหนึ่ง เมื่อ target เลื่อนเข้ามา ตาก็จะเหลือบเข้าอัตโนมัติ ซึ่งเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อตามัดที่ติดกับจมูก (medial rectus,MR)
ขณะที่เลื่อนเข้ามานั้น ผู้ฝึกจะต้องพยายามมองให้ชัด และ รวมเป็นภาพเดียว และไม่แยกซ้อนเป็นสองภาพและพยายามเลื่อนให้เข้าใกล้จมูกให้ได้มากที่สุดที่ภาพยังไม่แยกเป็นสอง แล้วประคองระยะสุดท้ายก่อนที่จะแยกนั้นไว้เป็นเวลา 10-15 วินาทีแล้วค่อยถอย target ให้ห่างจากจมูก แล้วกลับไปทำซ้ำ โดยทำ 10-15 นาทีก่อนนอน เพราะถ้าทำก่อนทำงานหรือเรียนหนังสือ อาจะเมื่อยตา แล้วพาลง่ปวดหัวหรือวงนอนหรือขี้เกียจทำงานหรือขี้เกียจเรียน
ศึกษาวิธีการบริหารกล้ามเนื้อตาเพื่อรักษาอาการ CI ได้จากลิ้งค์ (English)
https://www.youtube.com/watch?v=XmjDtlqdHGE
คำถามต่อมาคือจะต้องฝึกนานแค่ไหนจึงจะทำให้อาการของ CI นั้นหายเป็นปกติ ซึ่งคำตอบของเรื่องนี้นั้นผูกกับเงื่อนไขของเวลา
การฝึกกล้ามเนื้อตานั้น ขึ้นกับวินัยโดยตรง ยิ่งฝึกมากเท่าไหร่ มีวินัยในการทำมากเท่าไหร่ อาการ CI ก็จะดีขึ้นแค่นั้น เหมือนการเข้ายิม อยากได้กล้ามเนื้อหน้าท้องเป็น 6 pack ก็ขึ้นอยู่กับวินัยของผู้ที่กำลัง training ว่าจริงจังกับเรื่องนี้แค่ไหน
จากรายงานการวิจัยโดย National Eye Institute เกี่ยวกับเรื่อง convergence insufficiency treatment trial (CITT) ได้มีการศึกษาโดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างคนไข้ CI ที่ใช้การบริหารกล้ามเนื้อตาด้วยวิธี pensil push ups โดยแบ่งกลุ่มที่ให้เข้ามาฝึกที่คลินิกร่ามกับกลับไปฝึกเองที่บ้าน กับกลุ่มที่กลับไปฝึกที่บ้านอย่างเดียวโดยไม่ฝึกที่คลินิก และทำการศึกษาเป็นเวลา 12 week พบว่า
คนไข้ที่มาฝึกบริหารที่คลินิกและกลับไปฝึกต่อที่บ้านนั้น 75% นั้นพบว่า หายจากอาการปวดหัว หรือ เมื่อยตา จาก CI เมื่ออ่านหนังสือหรือดูใกล้ ซึ่งได้ผลดีกว่าผู้ที่กลับไปฝึกทำที่บ้านเอง
เรื่องนี้ก็คล้ายกับคนที่ซื้อ ลู่วิ่ง ไปไว้ที่บ้าน และสุดท้ายก็ไม่เคยได้เสียบไฟใช้งานสักที ดังนั้น วินัยในการฝึกจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ในกรณีที่คนไช้มี exophoria ที่มองไกลมากๆ และมี AC/A ratio ที่ต่ำนั้น ต้องเริ่มจากการ full corrected refractive error ให้ได้เสียก่อน
จากนั้นค่อยพิจารณาการจ่ายปริซึมเพื่อแก้มุมเหล่ออกซ่อนเร้นในค่าที่เหมาะสม เพื่อลด demand ที่จะต้องพยายามรวมภาพ เพื่อให้แรงที่มีเหลืออยู่น้อยนั้นสามารถชดเชยไหว ซึ่งก็ต้องเพ่ิมแรงด้วยวิธีบริหารกล้ามเนื้อตาข้างต้นช่วยด้วย ก็จะสามารถลดปัญหาภาพซ้อนขณะมองไกลได้
ดังนั้นการจ่ายปริซึม ไม่ใช่การรักษา CI แต่เป็นการลด phoria เพื่อไม่ให้ CI ต้องทำงานหนัก เพื่อให้อาการที่เกิดจาก CI นั้นหายไป
แต่สิ่งที่จะต้องระวังก็คือ การจ่ายกำลังปริซึมที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิด prism adapt ทำให้มุม phoria เพ่ิมขึ้น และต้องเพ่ิมกำลังปริซึมเข้าไปอีก ซึ่งมักเกิดกับการจ่าย unwanted prism
การผ่าตัดเพื่อแก้ CI นั้นเป็นตัวเลือกสุดท้ายในการักษา เนื่องจากว่า การทำ Visual Training นั้นให้ผลที่ดี ทำได้ง่าย อยู่แล้ว
อย่าไปดูแคลนว่า ผลกระทบที่เกิดจากภาวะเหล่านี้ เช่น convergence insufficiency เนื่องจากจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสามารถในการอ่าน การมีสมาธิ การเรียน ประสิทธิผลในการทำงาน ของเด็ก หรือ ผู้ใหญ่ตอนต้น
ถ้าเด็กมีปัญหาชอบหนีเรียน ไม่ชอบเรียน ขี้เกียจเรียน ก็อาจะเป็นไปได้ว่า เด็กอาจะมีปัญหาเกี่ยวกับสายตาหรือปัญหาของระบบการมองเห็น ซึ่งเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งกว่า “ชัดหรือไม่ชัด” อย่างที่คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจ
ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการมองเห็นอีกมากมายที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ทำให้บั่นทอนคุณภาพชีวิต และ ประสิทธิภาพการทำงาน
โอกาสหน้าจะนำความรู้เกี่ยวกับปัญหาสายตาและระบบการมองเห็นมาเล่าให้ฟังใหม่
สำหรับวันนี้ ขอจบไปเท่านี้
ขอขอบคุณทุกท่านสำหรับกำลังใจในการติดตาม หวังว่าท่านจะได้ประโยชน์จากบทความนี้ ไม่มากก็น้อย และถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ก็ save link หรือ กดแชร์ให้เพื่อนๆได้ อ่านกันด้วยก็จะขอบคุณเป็นอย่างสูง
สวัสดีครับ
ดร.ลอฟท์
578 Wacharapol rd. Bangkhen ,BKK 10220
mobile : 090 553 6554
line id : loftoptometry
fb : www.facebook.com/loftoptometry