Case Study 41 : สายตายาวหลังทำเลสิก , Hyperopic post refractive Surgery


Case Study 41 : สายตายาวหลังทำเลสิก , Hyperopic   post refractive Surgery 

Case by : Dr.Loft ,O.D

public 21 August 2020


 

Case History 

คนไข้ชาย อายุ 27 ปี มาด้วยอาการเวียนหัวเป็นประจำทุกวัน เหนื่อยๆตา เป็นๆหายๆ เป็นมากว่าลานอนดึก หรือ ใช้สายตามากๆ  ช่วงเดือนที่ผ่านมานั้นใช้สายตาเยอะ อาการเริ่มออกมากขึ้น

 

ตาเปล่ามองชัดดีทั้งไกลและใกล้

 

มีประวัติ เริ่มใช้แว่นตั้งแต่สมัยประถม และเคยทำเลสิก เมื่อตอนอายุ 22 ปี ก่อนทำสายตาประมาณ -6.00D สองข้างใกล้เคียงกัน ทำแล้วก็ชัดดี แต่มีแสงฟุ้งเวลากลางคืน ถ้าขับรถบางครั้งต้องใช้ยาหดรูม่านตา เพื่อลดแสงฟุ้ง 

 

สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มียาที่ต้องทานประจำ

 

ใช้สายตาทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ มากกว่า 8 ชม./วัน

 

Preliminary Eye Exam

VAsc : OD20/20 ,OS 20/20 ,OU 20/20

Cover Test : XP,XP’

 

Aberrometry scan ,DNEye 2

 

 

Refraction

Retinnoscopy

OD +0.75 -1.00 x 90      ,20/20

OS +1.00 -0.50 x 90      ,20/20

 

Monocular Subjective

OD +1.00 -0.50 x 105      ,20/20

OS +1.25 -0.50 x 90        ,20/20

 

Binocular Subjective  (phoropter)

OD +1.00 -0.50 x 105      ,20/15

OS +1.75 -0.50 x 90        ,20/15

 

Trial Frame (fine tuning)

OD +1.00 -0.37 x 100     ,20/15

OS +1.75 -0.50 x 90       ,20/15

 

Functional : Vergence/Accommodation  @ 6 m.

Horz.phoria      : 2 BI ,exophoria

BI-reserve.       : X/8/4

BO-reserve.     : 4/12/4

Vertical Phoria : Ortho

 

Functional : Vergence/Accommodation  @ 40 cm

Horz.phoria : 6 BI ,exophoria

AC/A ratio     2:1

BI-reserve   : 18/24/16

BO-reserve : 20/36/4

BCC            :  +1.00 D

NRA            :  +2.25 ,rely BCC

PRA            : -4.00  ,rely BCC

 

Assessment

1.compound Hyperopic astigmatism post refraction surgery ,Lesik.

2.convergene insufficiency (mild)

3.Accommodative insufficiency (suspect)

 

Plan

1.Full Correction

OD +1.00 -0.37 x 100

OS +1.75 -0.50 x 90

2.  F/U  ,2 month after full correction

3. Plus addition 0.8D ,Atoric Design Single vision lens

 

Case Analysis

1.Hyperopic Post Refractive Surgery

เรื่องสายตายาวมองไกล,hyperopia,หลังทำเลสิกนั้นเป็นเรื่องปกติ และไม่ได้เสียหายอะไร เพราะจุดมุ่งหมายของการทำเลสิกนั้น เพื่อให้คนไข้สามารถมองไกลชัดโดยไม่ต้องใช้แว่น  คือ ถ้าชัดก็แปลว่าใช้ได้  ใช้ชีวิตได้ ส่วนจะชัดอยู่บนพื้นฐานของ emmetropia คือแสงรวมกันเป็นจุดแล้วโฟกัสพอดีบนจุดรับภาพโดยที่เลนส์ตาไม่ต้องออกแรงเพ่งหรือไม่นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งตัวแปรมันก็มีอยู่มาก เริ่มตั้งแต่ผู้ที่ทำการตรวจวัดค่าสายตาและตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงานของระบบการมองเห็นของตา ว่าทำออกมาได้ดีแค่ไหน ถ้าค่าที่ตรวจวัด+ตรวจสอบ ออกมาได้ดีและถูกต้อง การนำค่าไปคำนวนเพื่อตั้งเครื่องทำเลสิกก็จะมีความแม่นยำมากขึ้น ผลการทำก็จะใกล้เคียงคนปกติที่สุด และแน่นอนว่าค่าเหล่านี้ไม่สามารถหาได้จากการวัดสายตาด้วยระบบคอมพิวเตอร์วัดสายตาแน่นอน

 

แต่ถ้าพูดอีกนัยหนึ่ง การทำเลสิกแล้วเกิดเป็น hyperope หรือสายตายาวคนไข้ก็ยังสามารถใช้กำลังเพ่งของเลนส์ตา เพ่งให้ชัดได้  แต่ถ้าทำไปแล้วเกิดเป็น myope หรือสายตาสั้นแล้วมองไกลไม่ชัด อันนี้เรียกว่า ผิดวัตถุประสงค์ของการทำเลสิก เพราะคนไข้ต้องการชัดแบบไม่ต้องใส่แว่น แต่ถ้าคาดหวังว่าการทำเลสิกจะสามารถแก้สายตาได้เป๊ะแบบคนสายตาปกติแบบอุดมคติ อันนั้นก็เรียกว่า คาดหวังเกินเหตุ เพราะความจริงคือมันทำให้สายตาปกติ exactly ได้ยาก  ส่วนใหญ่ก็คำนวณให้ติด hyperopia เล็กน้อย คนไข้ก็สามารถชัด ใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องใส่แว่น

 

แต่อย่างไรก็ตาม คนไข้ควรได้ทราบสายตาที่เหลืออยู่หลังทำเลสิกของตัวเอง เพราะอาจจะเกิดเรื่องตามมาว่า ชัดแต่ปวดหัว เมื่อก่อนไม่ชัด แต่ไม่ปวดหัว แต่ทำไมหลังทำแล้วชัดแล้วถึงปวดหัว  ซึ่งอาจเกิดจากกรณี hyperopia ไป induce ให้เกิดเลนส์ตาต้องออกแรงเพ่งมากเกินไป หรือ ถ้าคนไข้เป็น High AC/A ratio ก็อาจจะไปทำให้เกิดเหล่เข้าแบบซ่อนเร้นได้เช่นกัน

 

ดังนั้น งานทัศนมาตร ต้องทำงานทั้งในส่วน ตรวจวัดเพื่อให้ได้ค่าสายตาที่ดีที่สุดออกมา และทำการตรวจสอบระบบการทำงานของเลนส์ตา กล้ามเนื้อตา และการทำงานร่วมกันของสองตา ทั้งก่อนทำเลสิก และ หลังทำเลสิก และบอกคนไข้ให้เข้าใจ จะได้ไม่ต้องกังวล  เพราะถ้ากลับไปถามทีไรก็บอกว่า ตาปกติทุกที ทำให้คนไข้กังวล กลายเป็นต้องไปทำ MRI ,CT Scan หาเนื้องอก หาเลือดกดทับในสมอง ดูมันจะวุ่นวายกันใหญ่

 

พอจะสรุปได้ว่า ในการทำเลสิกนั้น คนไข้ต้องเข้าใจจุดประสงค์ของการทำให้ดีเสียก่อน ว่าทำไปเพื่อะไร  เลสิกนั้นเพื่อหลักๆคือ ให้มองไกลชัด และใช้ชีวิตได้  ส่วนชัดจากสายตาปกติ หรือจากสายตายาวแล้วเพ่งเอานั้น ก็อีกเรื่องหนึ่ง หรือชัดแล้วกลายเป็นเหล่เข้าซ่อนเร้นจากการ induce ของ hyperopia นั้นก็คงอีกเรื่อง  แต่การแก้ไขก็ไม่ได้ยากอะไร  ขาดเหลือเท่าไหร่ก็แก้ไขได้ด้วยเลนส์  ให้แต่เข้าใจ แค่นี้ก็สบายใจแล้ว

 

ผมเคยเขียนเรื่องแล้วหลายครั้ง ลองตามเข้าไปอ่านตามลิ้งต่างๆดู

https://www.loftoptometry.com/Eyecare/viewcase/94/12

https://www.loftoptometry.com/Eyecare/viewcase/98/12

https://www.loftoptometry.com/whatnew/view/140

 

2. Convergence insufficiency ,CI   

จากการตรวจสอบการทำงานของระบบการทำงานของสองตา พบว่า คนไข้มีเหล่ออกซ่อนเร้นทั้งมองไกลและมองใกล้ (2BI XP ,6BI XP’)  ประกอบกับ low AC/A ratio (2:1) แต่ก็ไม่ได้มากนัก จึงวิเคราะห์ว่าเป็น convergence insifficiency  แต่ไม่ต้องจ่ายปริซึม เพราะ BO-reserve หรือแรงเหลือบเข้าขอคนไข้นั้นมีมหาศาลอยู่แล้ว , BO-reserve : 20/36/4 , และ Positve fusinal vergence ,PFV ของคนไข้ก็ดีจากค่า NRA +2.25D

 

3.Accommodative Insufficiency ,AI

จากการตรวจสอบ การทำงานของเลนส์ตา พบว่า ค่า lag of accommdation ของคนไข้นั้นค่อนข้างมาก BCC +1.00D  จึงจ่าย add plus ให้ที่ 0.8D โดยเลนส์ที่ใช้แก้นั้นเลือกใช้เทคโนโลยีของโรเด้นสต๊อกในรุ่น Multigressiv Mono Plus 2 ,add 0.80D  และไม่ได้สนใจว่าจะ induce ให้คนไข้มีเหล่ออกมากขึ้น เนื่องจาก low  AC/A 2:1

 

ก็จบไปสำหรับแว่นสวยน้อย แต่สวยนาน สำหรับสปิริตตัวนี้ ขออนุญาติคนไข้สำหรับการนำแว่นพร้อมเคสมีศึกษาในวันนี้

 

พบกันใหม่ตอนหน้า

 

ดร.ลอฟท์

 

ติดต่อรับบริการ 

Loft Optometry 

578 ถ.วัชรพล ท่าแร้ง บางเขน กทม. 10220

mobile : 090 553 6554

line id : loftoptometry 

fb : www.facebook.com/loftoptometry