Case Study 44 : การจัดการค่าสายตาเอียงปริมาณมาก  ร่วมกับสายตาชรา  ด้วยเลนส์โปรเกรสซีฟ


Case  Study 14

เรื่อง ; การจัดการค่าสายตาเอียงปริมาณมาก  ร่วมกับสายตาชรา  ด้วยเลนส์โปรเกรสซีฟ

By Dr.Chatchawee,O.D. ,BS.(RT)  

 

Intro 

เคสในวันนี้ เป็นเคสจากเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเคส Dr.Dear นำมา Discuss กันในไลน์กลุ่ม ซึ่งเรามีการแชร์เคสกันโดยปกติอยู่แล้วว่ามีเคสอะไรที่น่าสนใจบ้าง  ​ซึ่งผมมองว่าเคสนี้มีเรื่องที่น่าสนใจอยู่หลายจุดและคิดว่าเป็นประโยชน์ทั้งกับคนไข้ที่มีปัญหาและผู้ให้บริการด้านสายตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการจัดการกับเคส Anisometropia และ มีสายตาเอียงสองข้างที่ต่างกันมากๆ จึงขอให้ ดร.เดียร์ช่วยเขียน Brief Case มาให้เพื่อเป็นวิทยาทานต่อไป 

 

Case History 

คุณ  S.W.  เพศหญิง  อายุ  55  ปี  มาด้วยอาการ  แว่นโปรเกรสซีฟเดิม  เมื่อ  4  ปีที่แล้วใช้งานสายตามองใกล้  เช่น  อ่านหนังสือ  ดูมือถือ  ไม่ค่อยชัด  เป็นมาประมาณ  6  เดือน  ส่วนมองไกลขับรถ  ยังพอใช้งานได้อยู่  ไม่มีประวัติโรคทางตาใดๆ  ไม่มีอาการเห็นภาพซ้อน  จะมีอาการปวดศีรษะบ้าง  เมื่อต้องใช้งานสายตาในระยะใกล้  มีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง  ทานยาควบคุมอยู่

 

Preliminary Test 

แว่นเดิม

R. -0.50 -2.75 x 175  ระดับการมองเห็น @6m.  20/30
L.  -3.00                    ระดับการมองเห็น @6m. 20/25 -1

 

CoverTest ;  ปกติ

ค่าสายตาจากเรติโนสโคป

R. Plano -2.75 x 180

L. -2.00  -0.25 x 150

 

ค่าสายตาจากการตรวจ Subjective

R. Plano -3.25 x 180 ระดับการมองเห็น  20/20

L. -2.00 -0.50  x 135  ระดับการมองเห็น  20/20

 

ระบบการเพ่ง  Accommodation

BCC          ; +2.50  Diopter ( Addition )

NRA/PRA ; +0.75/-0.75 ( rely on BCC)

 

Vergence  การเหลือบของลูกตา   

Associated Phoria @ 6 m.  ; 1 Base In

Horizontal Phoria @ 6 m. ;  2  Base  In

Reserve BO ; 7/16/9

Vert.Phoria  : Ortho 

Horizontal Phoria @ 40 cm. ; 6 Base In

Reserve BO  ;  14/20/10

 

ค่าสายตาบน FreeSpace

R.  Plano -3.25 x2         ระดับการมองเห็น  20/20

L.  -2.00  -0.50  x  135   ระดับการมองเห็น  20/20

 

ประเมินผล 

1.  ชนิดสายตา

R.  Simple  Myopic  Astigmatism

L.  Compound  Myopic  Astigmatism

2.  Presbyopia  สายตาชราตามวัย

3.  ไม่มีความเสี่ยงโรคตาใดๆ

 

แนวทางแก้ไขปัญหาสายตา

1.  เลนส์โปรเกรสซีฟ  Progressive  with  addition  ( เลนส์มองได้ทุกระยะไม่มีรอยต่อ )

R.  Plano  -3.25  x 2

L. -2.00  -0.50  x 135

Add  +2.50  Diopters

2.  Lens Design  ;  MultigressivMyview2  index  1.50  X (Short)  Corridor

3.  ปรับสายตา  1  สัปดาห์

 

พิจารณาเคส

1.  ค่าสายตามองไกลจากแว่นเดิม  เมื่อ  4  ปีที่แล้ว  ภายหลังตรวจสายตาใหม่  ระดับการมองเห็นดีขึ้นอย่างมีนัยยะ  ในตาทั้ง  2  ข้าง

2. ค่าสายตาชรา  เปลี่ยนแปลงจาก  +2.00 D.  เป็น  +2.50 D.  และค่ากำลังยืดหยุ่นของเลนส์ตา  สมดุลกัน  ตามวัยที่มากขึ้น

3.  Meridional  Aniseikonia  เป็นสิ่งที่เกิดบนแว่น  ที่มีกำลังสายตาเอียงต่างกันในตา  2  ข้าง  มากกว่า  -1.00 D.  ซึ่งมีผลต่อการรับรู้  ระยะตื้นลึก  ระนาบของวัตถุ  ให้มีลักษณะผิดไปจากภาพธรรมชาติ  เมื่อร่วมกับความบิดเบือนในโครงสร้างโปรเกรสซีฟนั้น  ต้องใช้โครงสร้างที่เหมาะสม  เพื่อจัดการ  กับค่าสายตาประเภทนี้  เพื่อมิให้สมองประมวลผล  และตีความภาพที่ตามองเห็น  วัตถุ  ระนาบต่างๆ  ผิดปกติไป  เช่น  พื้นราบโค้งนูน  เส้นไม่ตรง  มองมือถือแล้วเห็นภาพโย้   

4.  การทำงานร่วมกันสองตา  ปกติ

 

สรุป

ภายหลัง  ส่งมอบแว่น  คุณ  S.W  ใช้งานแว่นตาได้ในทันที  ระยะไกล  คมชัด  และเมื่ออ่านหนังสือใกล้ๆ  รู้สึกว่าไม่ต้องเพ่งมอง  เหมือนแต่ก่อน

ค่าสายตาที่ถูกต้อง  โดยเฉพาะค่าสายตาเอียง  ที่มีค่าปริมาณมาก  ควรได้รับการตรวจที่แม่นยำ  สัดส่วน  ลักษณะกรอบแว่น  ที่เหมาะสม  และ  เลนส์ที่มีเทคโนโลยีในการจัดการปัญหาสายตาประเภทนี้ได้  รวมไปถึงการวาง  จุดศูนย์กลางตาดำ  ให้ตรงกับจุดศูนย์กลางเลนส์  ปัจจัยทั้งหมด  ช่วยให้คุณภาพการมองเห็น  ดีขึ้นได้

Chatchawee,O.D.,BS.(RT)

ติดต่อตรวจสายตา  และระบบการมองเห็น  โตเกียวโปรเกรสซีฟเชียงใหม่  064- 2976768    

https://www.facebook.com/Tokyoprogressive

 

คำนิยม...by dr.loft 

 

ในเคสข้างต้นนั้น  จริงๆเป็นเคสที่ยากในการตรวจและแก้ไขและมีเรื่องที่ต้องระมัดระวังในการจ่ายเลนส์ในหลายๆจุด  แต่ ดร.เดียร์ก็สามารถเขียนเคสที่อ่านแล้วลื่นไหล  ฟังไม่ซับซ้อน

 

จุดแรกนั้น  คนไข้เป็น anisometripia คือมี refractive error ของตาทั้งสองข้างที่ต่างกันมาก คือตาข้างหนึ่งนั้นสั้นมากแต่เอียงน้อย ส่วนอีกข้างนั้นสั้นน้อยแต่เอียงมาก ซึ่งสายตาลักษณะนี้เมื่อทำเป็นเลนส์ขึ้นมา  ก็จะมีกำลังขยายที่ต่างกันด้วย ส่งผลให้ภาพขยาย (retinal image) ของตาข้างหนึ่งกับอีกข้างนั้นต่างกัน ซึ่งจะต้อง concern เกี่ยวกับการรวมภาพเป็นภาพเดียวจากระบบการมองสองตาด้วย และในคนไข้บางรายนั้นอาจรวมภาพกันไม่ได้ เกิดเป็นภาพซ้อน หรือ เกิด asthenopia ทำให้คลื่นไส้ ปวดตา ปวดศรีษะ ตามมา  

 

เรื่องต่อมาคือ คนไข้มีสายตาเอียงมากอยู่ข้างเดียว ส่วนอีกข้างนั้นมีเพียงเล็กน้อย  ซึ่งลักษณะลำพังของสายตาเอียงนั้น ก็มีปัญหาอย่างมากต่อการคำนวณออกแบบโครงสร้างเลนส์กันมากอยู่แล้ว และในเคสนี้ยังมีสายตาเอียงของตาทั้งสองที่ต่างกันมาก  สำหรับท่านที่เคยศึกษามาก็จะรู้ว่า สายตาเอียงคือสายตาที่ค่ากำลังหักเหในแต่ละ meridian ที่ไม่เท่ากัน และมีการไล่ค่ากำลังแบบ gradient  ซึ่งย่อมทำให้เกิดกำลังขยายในแต่ละ meridian ที่ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดลักษณะขยายแบบภาพโย้ มี distortion เห็นเส้นตรงเป็นเส้นเบี้ยว เห็นสี่เหลี่ยมเป็นคางหมู  การเห็นภาพผิดเพี้ยนจากวัตถุจริง  

 

ซึ่งในเคสนี้ข้างหนึ่งสั้นน้อยแต่เอียงมาก  อีกข้างสั้นมากแต่เอียงน้อย ดังนั้นภาพจากตาทั้งสองข้างมีลักษณะการเกิด aberration ที่ต่างกันมาก การรวมสองภาพที่ต่างกันมาก ให้กลายเป็นภาพเดียวที่เป็น perfect retinal image นั้นจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความใส่ใจ  

 

อีกเรื่องที่ต้องคิดคือ ในเคสที่สายตาต่างกันมาก เมื่อเหลือบตาหลุดจากแนวเซนเตอร์ในแนวดิ่งตามแนวเหลือบตาบนโปรเกรสซีฟเลนส์เพื่อดูใกล้นั้น จะ induce ให้เกิด vertical prism imbalance ขึ้นมา ซึ่งจะให้ effect คล้ายกับคนไข้ที่มี vertical phoria   ซึ่งถ้าโครงสร้างโปรเกรสซีฟดีไม่พอ อาจมีปัญหาการปรับตัว หรือ ใช้งานไม่ได้  ซึ่งในเคสนี้ Multigresiv MyView 2 ถือว่า เอาตัวแปรที่ดร.เดียร์ อินพุตเข้าไปนั้นได้ทั้งหมด ทำให้คนไข้สามารถปรับตัวได้ทันทีโดยไม่ต้องปรับตัว 

 

ท้ายที่สุด ก็ขอขอบคุณความกรุณาของ ดร.เดียร์ ที่ช่วยแชร์ case ให้เพื่อนๆแฟนคอลัมป์ได้อ่านกัน   และหวังว่าจะได้รับความกรุณาในโอกาสหน้าๆ อีกต่อไป 
 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 

เรื่อง (อ)วิชชา "ศาสตร์แห่งการจัดค่าสายตา"

"ตลาดชัด" ตลาดนัดความชัดแห่งประเทศไทย

สายตาเอียง สาเหตุ อาการ และแนวทางการแก้ไข