เป็นตารางรูปสี่เหลี่ยมขนาด 0.5x0.5 cm. เรียงติดกัน 20 รูป เป็นภาพสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวด้านละ 10 cm. แต่ละด้านแบ่งเป็นสี่เหลี่ยมด้านเท่าขนาด 0.5x0.5 cm. ทั้งหมดเป็นตารางเล็กๆ 400 รูป ลักษณะอาจเป็นพื้นขาวเส้นดำ หรือ พื้นดำเส้นขาว ต้องมีจุดกลางให้คนไข้มอง
1. ใช้คัดกรองพื้นที่ จอประสาทตาในส่วน Macular (จุดรับภาพชัด) ตรวจในระยะประมาณ 1 ฟุต
2. ส่วนใหญ่ใช้คัดกรองโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงวัย ( Aged Macular Degeneration) ในคนอายุมากกว่า 60 ปี แต่อาจต้องใช้ในคนไข้บางราย ที่มีข้อบ่งชี้ว่าเป็นโรคของจุดรับภาพชัด (Macular diseases) เช่น เห็นเงาดำกลางภาพ เห็นสีภาพผิดเพี้ยน ภาพขาดหายไป หรือภาพเล็กลง อาจเป็นเฉพาะตรงกลางภาพ หรือลามไปสู่ ส่วนอื่นๆของภาพได้
- ตรวจตาทีละข้าง ถือ Chart ห่างตัวคนไข้ 1 ฟุต
- ให้คนไข้มองจุดกลางภาพและถามว่า
1. เส้นทุกเส้นตรงหรือไม่
2. มุมสี่เหลี่ยม ครบ สี่มุม หรือไม่
3. มีจุดใด หรือ บริเวณใด หายไปหรือไม่
เมื่อคนไข้ มองพื้นที่ตรงกลางแล้วภาพหายไป แสดงว่าเซลล์รับภาพบริเวณ Marcular ตายหมดแล้ว ซึ่งไม่สามารถซ่อมแซม หรือรักษาได้ การมองเห็นจะแย่ลง
คนไข้จะมองเห็นเส้น หรือ ภาพบวมๆ เกิดจาก Macular หดตัว cell แต่ละตัวเรียงตัวเบียดกันมาก Cell เพิ่มขนาด แต่อยู่ในพื้นที่เท่าเดิม สมองจะแปลผลว่าภาพใหญ่ขึ้น
คนไข้จะมองเห็นเส้นยุบ หรือ หดตัว เกิดจาก Macular บวม ( Macular edema ) สมองจะตีความภาพที่มองเห็นว่าเล็กลง
เมื่อมีการตายของเซลล์ รับภาพบริเวณ Macular มากขึ้น จะมองไม่เห็นเป็นตาราง เซลล์ที่ยังเหลืออยู่จะล้ม ภาพจะเริ่มบิดเบี้ยวไม่เป็นภาพ
เมื่อเซลล์ตายมากๆ จะเกิด Cental Scotoma จะมองเห็นได้แค่ภาพรอบๆ
ซึ่งในเบื้องต้นหากมีเครื่องมือคัดกรอง เพียงแค่ Amsler Grids แล้วพบความผิดปกติ ก็อาจสามารถส่งต่อจักษุแพทย์เฉพาะทางโรคจอประสาทตาเพื่อวินิจฉัย และรักษาต่อไปได้
จะตรวจพบสารน้ำเข้าไปสะสมอยู่ใต้ชั้น Neurosensory Retina บริเวณจุดรับภาพชัด
1. เบาหวาน
2. เส้นเลือดดำอุดตัน
3.จอประสาทตาเสื่อม
4.Retinitis pigmentosa
5. มีการดึงรั้งของจุดรับภาพชัด
6. ม่านตาอักเสบ
7.ได้รับสารพิษ
8. มีก้อนเนื้องอกที่ตา
9. อุบัติเหตุ
10. ผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดอื่นๆ บริเวณดวงตา
11. คนที่มีความเครียดง่าย
12. ไม่ทราบสาเหตุ
โดยมักตรวจระดับสายตาลดลง หรือเป็นปกติก็ได้ อยู่ระหว่าง 20/20 ถึง 20/200 เมื่อตรวจค่าสายตามักพบ สายตายาวระยะไกล ( Hyperopia ) เนื่องจากจุดรับภาพชัดนูนขึ้นใกล้เลนส์ตามากขึ้น โรคนี้อาจหายไปเองได้ ส่วนการรักษาขึ้นอยู่กับดุลพินิจของจักษุแพทย์ เช่น ยิงเลเซอร์ หรือการฉีดยาต่างๆ เป็นต้น ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ อาจเกิดการเสียหายของจุดรับภาพมากขึ้น จนกระทั่งสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้
ติดต่อตรวจสายตา และระบบการมองเห็น โตเกียวโปรเกรสซีฟเชียงใหม่ 064- 2976768
https://www.facebook.com/Tokyoprogressive
- จักษุจุฬา, อ.นพ. อดิศัย วราดิศัย ,ภาวะสายตามัวเฉียบพลัน ; พิมพ์ครั้งที่ 2 เดือน ก.ย. 2559
- เพจ Facebook สุขภาพตาโดยราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย All About Eye by RCOPT., ศ.พญ. สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต ,Amsler grid ( ตาราง Amsler ) ; 13 มี.ค. 2015
- www.asrs.org ( American Society of Retina Specialist)