Case Study 46 เรื่อง "ความผิดปกติ"...ที่ซ่อนอยู่ในความชัด


Case Study 46

เรื่อง "ความผิดปกติ"...ที่ซ่อนอยู่ในความชัด

โดย DR.DEAR O.D 

 

Case History 

คุณ  W.P  อายุ  43  ปี  แว่นเดิมเป็นแว่นสายตาโปรเกรสซีฟ  ใช้งานมา  2  ปี  มาด้วยอาการตาข้างซ้ายมองไม่ชัดมา  1  สัปดาห์  ทั้งระยะไกลและใกล้  ตาซ้ายจะมองเห็นแสงออกโทนเหลืองๆ  ไม่มีประวัติโรคทางตา  และไม่เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณดวงตา  มีโรคประจำตัวเป็นภูมิแพ้  ไม่มียาที่ต้องรับประทานเป็นประจำ  ใช้สายตาทำงานโน้ตบุ้ค  6-8 ชั่วโมง  ต่อวัน  และ  ดูมือถือบ้าง

 

แว่นเดิม  ( โปรเกรสซีฟเลนส์  )

ระดับการมองเห็น  ที่ระยะ  6  เมตร

R.  Plano  VA   20/20

L.  +0.25   VA  20/40 -1

ระดับการมองเห็นที่ระยะ  40 cm w/  ADD + 0.75

R. 20/20

L. 20/125

VA Pinhole @ 6 m.

L. 20/25

 

ค่าสายตาจากการตรวจ  Subjective  ระยะ  6  เมตร

R. +0.25                    ระดับการมองเห็น  20/20

L.  +1.00 -0.25 x 110 ระดับการมองเห็น  20/20

 

ตรวจระบบการเพ่ง  Accomodation ระยะ  40 เซนติเมตร

BCC  (ADDITION)  +1.25

NRA / PRA = +1.50 /-1.00  (แรงยืดหยุ่นเลนส์ตาอ้างอิงจากค่า  ADD )

 

ระบบการทำงานร่วมกันสองตา

Test @ 6 m.

Associate Phoria  : 0

Hoz. Phoria         : 2.5 BO

Reserve              : x/10/3

Vert. Phoria         : 0

Test @ 40 cm

Horz.Phoria         : 6 BI

Reserve               : 6/24/6

Vert. Phoria         :  0

 

สายตาที่ต้องใช้บนแว่นจริง

R. +0.25                   ระดับการมองเห็น  20/20

L. +1.25 -0.25 x110  ระดับการมองเห็น  20/20

 

Amsler Grid เมื่อสวมแว่น

R. ปกติ

L. เส้นตรงริมด้านซ้ายมีลักษณะเบี้ยว

 

ประเมินผล

1.  ชนิดสายตา

R.  Hyperopia  สายตายาวเมื่อมองไกล

L.  Compound  Hyperopic  Astigmatism  เมื่อมองไกลแสงผ่านระบบหักเหแสงของดวงตาแล้วโฟกัส  เป็นสองจุดตกหลัง  จอรับภาพทั้งสองจุด

2. Presbyopia  สายตาชราตามวัย  ส่วนการทำงานร่วมกันสองตา  ยังไม่ต้องจัดการอะไร

3.  สุขภาพตา

R.  ปกติ

 

pastedGraphic.png

 

L.  จากรูปถ่าย  Fundus  Camera  พบความน่าสงสัยว่าจะมีพยาธิสภาพ  ของจุดรับภาพชัด  บนจอประสาทตา   

 

pastedGraphic_1.png

 

วิเคราะห์เคส

1.  ค่าสายตา  ที่ตรวจใหม่ทั้งหมด  ระยะไกล  และใกล้  ระดับการมองเห็นดีขึ้น

2.  การทำงานร่วมกันสองตา  ยังไม่ต้อง Concern  เพราะมีสิ่งอื่นที่ต้องให้  Priority  ก่อน

"เคสนี้ คนไข้ให้ประวัติว่า  เห็นแสงออกโทนเหลืองๆ  ในตาด้านซ้าย  ส่วน  ข้างขวา สีปกติ  และ  ขณะ  ตรวจค่าสายตาเอียงในตาข้างซ้าย   เมื่อคนไข้มอง  Dial  Clock  เห็นเส้นนาฬิกาเบี้ยวๆ  ผมจึงสงสัยว่าอาจจะมีความผิดปกติของจุดรับภาพชัด  จึงใช้  Amsler  grid  คัดกรองในเบื้องต้น  และพบว่า  ตาซ้ายนั้นเห็นเส้นตรง  เบี้ยวๆ  กอรปกับ  ภาพที่ถ่ายจาก  Fundus  Camera  ประเมินเบื้องต้นแล้ว  น่าจะมีความผิดปกติของจุดรับภาพชัด"

 

แนวทางแก้ไข

เคสนี้สิ่งที่ควรให้ความสำคัญลำดับแรกและเร่งด่วนที่สุด  คือ  พยาธิสภาพของจอประสาทตา  ส่วนเรื่องค่าสายตาที่เห็นไม่ชัดจากแว่นเดิมนั้น  เป็นสิ่งที่รอได้  จึงพิจารณาส่งต่อจักษุแพทย์เฉพาะทางโรคจอประสาทตา  เพื่อวินิจฉัยต่อไป

 

สรุป

ภายหลัง  คนไข้ได้เข้าตรวจกับจักษุแพทย์แล้ว  แพทย์วินิจฉัยว่า  เป็นโรคจอประสาทตาบวมน้ำ ( Macula Edema)   และได้เข้ารับการรักษา  และติดตามผล  ตามคำแนะนำของแพทย์ต่อไป

 

การตรวจวัดสายตา  เพื่อหาค่าความคมชัดเพื่อให้ระดับการมองเห็นดีที่ดี  นั้นเป็นเรื่องที่ดี  *****แต่การ  พลาดรายละเอียดบางอย่างนั้น  อาจจะส่งผลเสียต่อคนไข้  ถึงขั้นสูญเสียการมองเห็น ตาบอดได้  ถ้าไม่ได้รับการตรวจที่ถูกต้อง  และส่งต่อให้แพทย์ได้ทันเวลา

 

สำหรับผู้สนใจ  ข้อมูลการตรวจทั้งหมด  และ Chart  Amsler Grid ที่ใช้คัดกรองเบื้องต้นโรคทางจอประสาทตา  ว่าคืออะไร  รวมไปถึงโรคจอตาบวมน้ำ  ( Macular edema)  มีรายละเอียดเป็นอย่างไร  ตามไปอ่านต่อได้ที่ลิ้งก์นี้ครับ >>> Amsler Grid :เครื่องมือตรวจสอบฟังก์ชั่นของจอประสาทตาอย่างง่าย

 

Chatchawee,O.D.,BS.(RT)

ติดต่อตรวจสายตา  และระบบการมองเห็น  โตเกียวโปรเกรสซีฟเชียงใหม่  064- 297-6768    

https://www.facebook.com/Tokyoprogressive