Case Study 58 : การแก้ไขปัญหาคนไข้สายตา mixed hyperopic astigmaism 


Case Study 58 : การแก้ไขปัญหาคนไข้สายตา mixed hyperopic astigmaism 

by Dr.Loft ,O.D.

public : 12 June 2022

 

Introduction 

สายตาเอียงก็เป็นอีกปัญหาสายตาประเภทหนึ่ง ที่มีความซับซ้อนไม่แพ้สายตายาวแต่กำเนิด เพราะสามารถเกิดเดี่ยวคนเดียวก็ได้ (simple myopic astigmatism) หรือเกิดกับสายตาสั้น (compound myopic astigmatism) หรือเกิดกับสายตายาวแต่กำเนิด (compound hyperopic astigmatism + mixed hyperopic astigmatism) ซึ่งเรื่องราวของสายตาเอียงโดยละเอียดนั้นผมเคยได้เขียนไปแล้วในเรื่อง การจัดการปัญหาสายตาเอียง 

 

ด้วยความ optic ของสายตาเอียงนั้น มีลักษณะที่กำลังหักเหของแสงในแต่ละแกนนั้น เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องแบบ smooth gradient จากแกนที่มีกำลังหักเหมากสุดไปสู่แกนที่มีกำลังหักเหน้อยที่สุด ดังนั้นเวลาเราพูดถึงแกนของสายตาเอียง หรือ axis เราจะพูดถึงเฉพาะแกนที่มีกำลังหักเหน้อยที่สุด แล้วรู้กันว่าห่างจาก axis นี้ไป 90 องศาก็จะเป็นแกนที่มีกำลังหักเหสูงที่สุด (แกนกำลังมากสุด กับแกนกำลังน้อยสุด จะตั้งฉากซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกับลูกรักบี้) เมื่อกำลังเลนส์มีการ varies เช่นนี้ ก็จะเกิด aberration ต่างๆขึ้นมามากน้อยขึ้นอยู่กับว่า สายตาเอียงมากหรือน้อยแค่ไหน 

 

ความยุ่งยากซับซ้อนนี้ ก็เลยนำไปสู่ "rule of thumb" ในการจัดสายตาให้กับคนสายตาเอียงเพื่อช่วยในการปรับตัว เช่นถ้าเขาชินกับค่าเอียงเก่า แม้รู้ว่ามันผิด ถ้าเขาไม่บ่นก็อย่าไปแก้ไข (if it don't broke ,don't fix it)  หรือ ถ้ารู้ว่าเขามีสายตาเอียงอยู่ แล้วเขาไม่บ่น ก็อย่าไปพยายามแก้ไขให้ หรือแก้ก็แก้แต่น้อย ให้พยายามเลี่ยง (cylinder is in a car ,not in a glasses ; เป็นการเหน็บเล่นๆว่า เลนส์สายตาเอียง มีชื่อว่า cylinder ซึ่งพ้องกับคำว่า กระบอกสูบรถยนต์ ดังนั้น cylinder ให้เป็นเรื่องของรถยนต์ไป อย่าเอามายุ่งกับแว่น) เป็นต้น 

 

"rule of thumb" เหล่านี้ ทำให้คนที่มีความรู้ไม่พอ และ หลงเชื่อ นำไปสู่ความกลัว (กลัวเพราะไม่รู้) เหมือนเด็กกลัวความมืด เพราะไม่รู้ว่าในความมืดนั้นมีอะไร แต่ถ้ามีปัญญาเปิดสวิตช์ไฟสักหน่อย ความกลัวนั้นก็หายไป เพราะได้รู้แล้ว ดังนั้นตลอดระยะเวลาการทำงานแบบ full correction ที่ผมทำตลอดมาตั้งแต่ต้น ก็ prove ได้ว่า rule of thumb เหล่านั้นเป็นเรื่อง bullshit ผมจึงพยายามขยี้ความเชื่อเหล่านี้ด้วยความจริง ไม่งั้น rule of thumb เหล่านี้จะฉุดวิชาชีพไม่ใช่ไปไหนสักที เหมือน "ควายจมปลัก"

 

Case Story 

คนไข้หญิง อายุ 52 ปี มองไกลมัวในลักษณะเงาซ้อน (แต่พออยู่ได้ด้วยความเคยชินโดยไม่ต้องใส่แว่น) ดูใกล้ด้วยตาเปล่าก็พอเห็น แต่รู้สึกว่าต้องเพ่ง และแสบตาเวลาทำงานหน้าคอมพ์ และแพ้แสงเวลาออกแดด

 

สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มียาที่ต้องทานประจำ

 

ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือ ไอแพด เป็นหลัก

 

ความคมชัดด้วยตาเปล่า

VAsc ;  OD 20/40 ,OS 20/30

 

Refraction

Keratometry

OD 44.38@108/45.25@18 …corneal astig  -0.94x108 DC

OS 43.50@62  /44.75@152…corneal astig -1.21x62   DC

 

Retinoscopy

OD +0.75-2.25x100 VA 20/20

OS +0.75-1.75x80   VA 20/20

 

Monocular Subjective

OD +0.50-2.25x85  VA 20/20

OS +0.25-1.50x90   VA 20/20

 

BVA (on phoropter)

OD +0.75-2.25x85  VA 20/20

OS +0.50-1.50x90   VA 20/20

 

BCVA (fine tuning on trial frame)

OD +0.75-2.00x90  VA 20/15

OS +0.75-1.75x87   VA 20/15

 

Functional : at Distant 6 m

Horz.phoria : Ortho

Vertical Phoria : Ortho

 

Functional : at near 40 cm

BCC           : +2.00

NRA/PRA  : +0.75/-0.75 (rely BCC)

 

Additional Data

Pupil size : OD 6mm /3.7mm ,OS 6.5mm/3.5mm

IOPc : OD 11.6 mmHg /OS 11.4 mmHg (27/5/2022 :12:00)…AirPuff method

Anterior Chamber Depth : OD 2.95 mm/ OS 3.00 mm

Axial Length : OD 23.31 mm / OS 23.37 mm

 

Assessment

1.mixed hyperopic astigmatism ,OD and OS

2.Presbyopia

 

Plan

1.Full Correction

OD +0.75-2.00x90 VA 20/15

OS +0.75-1.75x87   VA 20/15

2.Progressive additional lens Rx ,Add +2.00

 

Discussion

 

“ปรับตัว” ปรับให้เข้ากับอะไร

 

เคสก็ไม่มีอะไร เป็นเคส mixed hyperopic astigmatism (คือมีสายตาเอียงที่มี fical line แกนหนึ่งของสายตาเอียงตกก่อนจุดรับภาพ และ fical line ของสายตายาวแต่กำเนิดตกหลังจุดรับภาพ) และเป็น presbyopia ซึ่งต้องแก้ในส่วนของค่าสายตามองไกล และ addition  ส่วนปัญหากล้ามเนื้อตาไม่มีอะไร ฟังก์ชั่นดีปกติ

 

ดังนั้น point กันในวันนี้ เรามาคุยกันในเรื่องของ การปรับตัวกับเลนส์สายตาเอียง ว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับสายตาเอียง ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงกลัวที่จะจ่ายสายตาเอียง และ เลือกที่จะจัดสายตามากกว่าจ่ายแบบตรงไปตรงมา 

 

ว่าด้วยเรื่อง "การปรับตัวกับแว่นใหม่" เป็นคำที่มนุษย์แว่นทุกคนต้องได้ยินมาบ้างไม่มากก็น้อย และก็ยังได้ยินมาหรือประสบการณ์ตรง ว่าบางคนก็ปรับได้ บางคนก็ปรับไม่ได้ และเมื่อมีเคสที่ปรับไม่ได้ ก็จะมีกระบวนท่าในการจัดสายตาให้ปรับตัวได้ ใส่ได้ และ แนวทางที่จะช่วยให้คนไข้ปรับตัวได้ง่ายที่สุดคือการ compromise เช่น ตัดเอียงทิ้ง จัดองศาเข้าแกนหลัก ถ้าไม่ชัดให้ปัดเพิ่มเข้าไปที่สายตาสั้น (เป็นตุเป็นตะ) ราวกับว่าการเสียเวลาเป็นชั่วโมงในห้องตรวจนั้นไม่มีค่าอะไร เพราะได้มาก็เอามาตัด มาขีด มาฆ่าทิ้ง เป็นตกกะปิ(ปกติ) เหมือนไม่มีอะไรต้องสงสัยว่าทำไมถึงทำเช่นนั้น รู้แต่ว่าทำแล้วมันรอด ก็เลยทำๆและบอกต่อๆ กันมา 

 

วันนี้ผมจึงขอพูดถึงเรื่องนี้สักเล็กน้อย ว่าเหตุผลของเรื่องนี้คืออะไร การจัดสายตานั้นมีมูลมาจากอะไร แล้วเราจะเลี่ยงเรื่องจัดสายตานี้ได้อย่างไร และที่ต้องพูด(ว่าแด..ก)เรื่องจัดสายตาบ่อย เพราะมันเป็นการฉุดไม่ให้วิชาชีพเกิดการพัฒนา เพราะถ้าจัดสายตาเมื่อไหร่ แสดงว่าเรากำลังไม่ concern เรื่อง binocular function โดยอัตโนมัติ หรือถ้าพูดให้เจ็บกว่านั้นคือโดยปกติก็ไม่ค่อยจะได้ค่อยตรวจ binoc กันอยู่แล้วโดยส่วนใหญ่ (ไม่ต้องให้บอก)  ศาสตร์จัดสายตาเลยกลายเป็นธรรมเป็นเครื่องอยู่(ค้าขาย)ของใครหลายๆคน

 

ทำไมเลนส์ sphere (เลนส์บวก/ลบ ล้วนๆ โดยไม่มีเอียงปน) ทำไมจึงใส่ง่ายกว่าเลนส์สายตาสั้นยาวธรรมดา 

 

เลนส์สายตาที่เป็นบวก หรือ เป็นลบ หรือที่เราเรียกว่าเลนส์สเฟียร์นั้น เกิดจากส่วนโค้งของทรงกลม คือทุกแกนบนผิวเลนส์นั้นโค้งเท่ากันหมด ดังนั้น แสงที่วิ่งผ่านเลนส์ไม่ว่าจะผ่าน meridian ไหนก็ตามทุกจุดบนผิวเลนส์ จะเกิดการเบนแล้วไปรวมเป็นจุดโฟกัสเดียวกัน

 

แต่นอกจากในเรื่องของกำลังหักเหแล้ว กำลังเลนส์ยังส่งผลในส่วนของกำลังขยายที่เกิดขึ้นเป็นเงาตามตัว เลนส์บวกทำให้ภาพวัตถุมีการขยาย(magnification) และ เลนส์ลบทำให้ภาพนั้นหด (minification) ดังนั้น ถ้าทุกแกนนั้นหด หรือ ขยาย เท่ากันทุกแกน การรับรูปภาพของเราก็จะดูแล้วทรงของวัตถุยังเหมือนๆเดิม ไม่มีการบิดเบี้ยว การรับรู้ของสมองนั้น (visual perception) จะนำภาพที่ได้รับมาใหม่เทียบกับความจำเก่าที่อยู่เก็บไว้สมอง เพื่อทำการเปรียบเทียบว่าเป็นภาพของวัตถุสิ่งของอะไร ถ้าเหมือนกัน สมองก็จะไม่งง เช่น เราจำได้ว่าจอต้องเป็นสี่เหลี่ยม แต่ถ้าการมองผ่านเลนส์ทำให้จอเป็นคางหมู สัญญาณใหม่ก็จะขัดแย้งกับความจำเก่า ทำให้เกิดอาการงงขึ้นมา 

 

แต่พอเป็นเลนส์สายตาเอียง (cylinder lens) เลนส์จะมีลักษะเหมือนกระบอกลูกสูบ คือมีส่วนที่โค้งมากสุดและโค้งน้อยสุด นึกถึงลูกรักบี้จะเห็นภาพ ดังนั้นเวลาเขียนเป็นสายตาเอียงขึ้นมา เราจะสนใจเพียงว่า ส่วนผิวเลนส์ที่โค้งมากสุดอยู่ที่แกนไหน(แล้วคิดเป็นกำลังหักเหเท่าไหร่) และ ส่วนที่โค้งน้อยสุดอยู่ที่แกนไหน(แล้วคิดเป็นกำลังหักเหเท่าไหร่)  แล้วนำกำลัง(มากสุดกับน้อยสุด)ของทั้งสองแกนมาหักลบกัน เกิดผลต่างขึ้นมา เราเรียกผลต่างของกำลังจากสองแกนหลักนั้นว่า “กำลังของสายตาเอียง” หรือ "cylinder power"

 

แต่สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นกับเลนส์สายตาเอียงคือ ความโค้งที่เกิดขึ้นระหว่างสองแกนหลักนั้น ก็มีการเปลี่ยนแปลง (vaires) แบบ smooth gradient จากโค้งมากสุดไปหาโค้งน้อยสุด ทำให้แต่ละแกนระหว่างนั้น เกิดกำลังหักเหที่ไม่เท่ากันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆจนไปหยุดที่อีกแกนหนึ่ง พอเลยจุดนั้นก็เปลี่ยนกลับไปสู่จุดเดิมที่อีกแกนหนึ่ง ดังนั้นองศาของสายตาเอียงจึงเริ่มจาก 0  องศา ไปจบที่ 180 องศา 

 

ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า "กำลังไม่เท่ากัน ย่อมเกิดกำลังขยายไม่เท่ากัน" ดังนั้น เวลาเรามองผ่านเลนส์สายตาเอียง แสงที่วิ่งผ่านเลนส์ที่มีกำลังขยายไม่เท่ากันในแต่ละแกนแล้ววิ่งเข้ารูม่านตาเราในเวลาพร้อมๆกัน ด้วยกำลังขยายที่ไม่เท่ากัน จึงทำให้เรารับรู้ว่า ภาพนั้นเกิดการบิดเบี้ยว เราเรียกว่า "spatial disortion"

 

ยิ่งสายตาเอียงมาก (ความแตกต่างของกำลังของแกนหลักมีมาก) ก็จะยิ่งทำให้เกิดกำลังขยายในแต่ละแกนต่างกันมาก คนไข้ก็เลยรู้สึกเวียนหัว เพราะสมองสับสนกับภาพบิดเบี้ยวที่เกิดขึ้น ให้เราลองนึกถึงว่าเรากำลังประตู แล้วแสงของภาพประตูทั้งบานวิ่งผ่านเลนส์ที่มีกำลังขายในแต่ละส่วนของประตูไม่เท่ากัน เราจึงเห็นว่าวงกบประตูเบี้ยว หรือ จอมือถือเบี้ยวเป็นคางหมู

 

และนี่คือเหตุผลว่า ทำไมศาสต์จัดสายตาถึงพยายามเลี่ยงที่จะแก้สายตาเอียงแบบ full corrected ก็เพื่อลด distortion ที่จะเกิดขึ้นจากเลนส์สายตาเอียงนี้ เพราะเลนส์เทคโนโลยีโบราณที่ขัดเลนส์แบบหัวทูล (conventional tools) นั้น ไม่สามารถที่จะคุมแกนสายตาเอียงระหว่างสองแกนหลักนั้นได้ เพราะหัวขัดมีขนาดใหญ่ และ เป็นการขัดแบบกลไก ไม่สามารถชดเชยอะไรได้ ทูลมันโค้งเท่าไหร่เลนส์มันก็โค้งเท่านั้น (เหมือนแม่พิมพ์เป็นยังไง ชิ้นงานพิมพ์ที่ออกมาก็หน้าตาเป็นอย่างนั้น) จึงให้ภาพที่พอใช้ได้เพียงแค่ตรงกลางเลนส์​ ยิ่งมองผ่านขอบเลนส์ยิ่งมัว บิดเบี้ยวและเมาแว่นในที่สุด

 

ในขณะที่เลนส์เทคโนโลยีปัจจุบันนั้น ใช้ cnc-freeform ในการกัดเลนส์นั้นและหัวกัดเลนส์นั้นมีขนาดเล็กระดับไมครอนและสามารถกัดเลนส์แบบ poin by point ทำให้สามารถ optimized ได้ทั่วทั้งแผ่นเลนส์​ด้วยการบังคับผ่านซอฟท์แวร์ ปัญหาการปรับตัวกับเลนส์ประเภทนี้จึงไม่ค่อยมีปัญหา เราเรียกเลนส์ประเภทนี้ว่า atoric lens แต่ก็ขึ้นอยู่กับซอฟแวร์ใครเหนือกว่าใครด้วย "ถ้าซอฟแวร์เป็นสากกระเบือ กัดชิ้นงานยังไงก็ได้สากกระเบือ"

 

การจ่าย atoric lens จึงไม่ต้องจัดสายตา แต่ถ้าใครจ่ายเลนส์ประเภทนี้แล้วยังจัดสายตากันอยู่ก็เรียกว่า “เสียของ” เหมือนเอาปลาแซลมอนมาทำกะปิปลาร้า เพราะของดีต้องกินสดๆ ไม่ใช่เอาไปทำให้เน่าแล้วค่อยกิน

 

แต่เบื้องต้นนี้ ก็พูดถึงเรามองตรงผ่านเซนเตอร์ในลักษณะที่ตั้งฉาก แต่ชีวิตจริงแว่นมีความโค้ง แว่นมีมุมเท และตาเราก็ไม่ได้มองกลางเลนส์อยู่ตลอดเวลา ไม่เหมือนกล้องถ่ายรูปที่ล๊อคตำแหน่งเลนส์ (optical axis)ให้อยู่ในแนวฉากกับเซนเซอร์รบภาพอยู่ตลอดเวลา จะถ่ายอะไรก็อาศัยการ pan กล้องเอา แต่แว่นตาไม่ใช่ เพราะเราจะใช้การกลอกตาเอา 

 

เมื่อมีการกลอกตาไปยังตำแหน่งต่างๆบนผิวเลนส์ ก็จะเกิดการมองผ่านเลนส์แบบไม่ตั้งฉาก หรือ off-axis  แสงที่วิ่งผ่านเลนส์แบบไม่ตั้งฉาก จะทำให้เกิด oblique astigmatism ขึ้นมา ซึ่งทำให้ค่าสายตา(สั้น/ยาว/เอียง) เป็นอย่างอื่น (ไม่ได้สั่งก็แถมมา ที่สั่งไปก็เพี้ยนเป็นอย่างอื่น) เกิด prism effect และมี distortion ขึ้นมา ซึ่ง aberration เหล่านี้ ทำให้เกิดการรับรู้ภาพที่เพี้ยนไปจากความเป็นจริง ภาพที่เกิดในสมองกับภาพวัตถุจริงจึงต่างกัน แล้วสมองเกิดความสับสน เกิดเป็นอาการ asthenopia ขึ้นมา ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น เพราะแขนงของรากประสาทบางส่วนของตานั้นมีบางส่วนลากเกี่ยวข้องกันไปยันลำไส้และระบบทางเดินอาหาร ถ้าตาเครียด ลำไส้ก็เครียดด้วยเช่นกัน

 

นี่คือเหตุผลว่าทำไม เราเอาแว่นโค้งไปทำเลนส์ ที่ไม่มีการชดเชย oblique astigmatism ที่เกิดจากแสงที่ off-axis เราถึงเมา เพราะว่าแว่นที่โค้งนั้น แม้เพียงเรามองตรงๆ มันก็เกิดมุมแล้ว ยิ่งมองด้านข้างยิ่งไปกันใหญ่ แว่นหน้าตรงจึงไม่ค่อยรู้สึกเพราะมุมมันน้อย ก็เท่านั้น

 

เลนส์เขาจึงต้องมีเทคโนโลยีที่มีรองรับการเหลือบตาแบบ off-axis เพื่อให้สามารถให้ optic ดีเหมือนแว่นหน้าแว่นปกติ

 

เลนส์เราดูใสๆ จึงไม่เหมือนกัน เพียงแต่มันมองไม่เห็นด้วยตา และ มีแต่คนใส่เท่านั้นที่จะรู้สึกได้เองว่า มันต่างกันอย่างไร 

 

ดังนั้น เทคโนโลยีไปไกลแล้ว เลนส์ปัจจุบัน ทำให้เราไม่ต้องจัดสายตามานานกว่า 20 ปีแล้ว แต่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ยังน้อย เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นเลยดูเหมือนไม่มีอะไร และ คนก็ยังจัดสายตากันเหมือนเดิม พอใครๆก็ทำกัน มันก็กลายเป็นเรื่องถูกต้องตาม "ปลักประชาธิปไตย"

 

aberration นี้ไม่ใช่เป็นแค่เลนส์แว่นตา เลนส์กล้องถ่ายรูปก็เป็น เช่น เอากล้อง iphone ถ่ายตึกสูงๆด้วยเลนส์ wide field  แล้วเห็นตึกเบี้ยว แต่เราดูในจอมือถือมันไม่งง เพราะเรารู้ว่ามันเป็นแค่รูปที่เบี้ยว แต่ในทางกลับกันถ้าเอาเลนส์ wide นั้นเป็นแว่นตาโดยตรง รับประกันว่าต้องมีอาเจียน(อ๊วก) แน่นอน

 

ดังนั้นเลนส์ที่ดี นอกจากจะต้องทำในส่วน สายตา สั้น ยาว เอียง ให้ถูกต้องแล้ว ก็ต้อง concern ในส่วน aberration ต่างๆ ด้วย จึงจะชัดและไม่เมา ง่ายๆแบบนี้ (แต่ความจริงมันทำยาก มันต้องมี knowhow ที่ดีพอ ไม่อย่างนั้นเลนส์อะไรก็คงเหมือนๆกัน)

 

เลนส์จึงเป็นเหมือนยา  เลนส์ดีเหมือนยาดี เพราะผลข้างเคียงต่ำ แต่ถ้าวินิจฉัยโรคผิด ยาดีคงไม่ได้ดีอะไร นั่นเป็นเหตุผลว่า ทำไมจ่ายเลนส์แพงๆแล้วยังใส่กันไม่ได้อยู่  เพราะการวิเคราะห์หรือวินิจฉัยปัญหาสายตาและระบบการมองเห็นในประเทศที่กำลังพัฒนา ไม่มีขื่อมีแปในการควบคุมมาตรฐานมันมีปัญหา คุณภาพชีวิตของคนสำคัญน้อยกว่าปากท้องของระบบทุน มันก็เป็นอย่างนี้ ก็ดูแลกันเองต่อไป

 

สรุป

การพัฒนาเทคโนโลยีเลนส์นั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อลด aberration ที่เกิดจากปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของเลนส์ เพื่อให้ภาพจากวัตถุที่วิ่งผ่านเลนส์นั้นมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด สัญญาณภาพที่ส่งไปแปรผลที่สมองจึงคมชัด คลาดเคลื่อนน้อย บิดเบือนน้อย ดูสมจริงเป็นธรรมชาติ ลดภาระการเครียดของระบบที่ต้องพยายามแปรผลภาพที่เกิดขึ้น ผู้สวมใส่จึงรู้สึกสบาย ปรับตัวง่าย เรียนรู้ง่าย

 

ดังนั้นสิ่งที่ผู้ให้บริการพึงกระทำคือ แก้ refractive error อย่างตรงไปตรงมา แล้วรู้ต่อไปว่าสายตาลักษณะใดจะสร้าง aberration อย่างไร แล้วใช้เทคโนโลยีเลนส์ที่เหมาะสมกับปัญหาสายตานั้นๆ  แล้วอธิบายให้คนไข้เข้าใจว่าเขาจะต้องรู้สึกอย่างไรในช่วงแรกของการใส่ ประเมินเวลาว่ากี่วันจะปรับตัวเสร็จสมบูรณ์ และ เล่า worse case ให้คนไข้เข้าใจ เพื่อจะได้เตรียมตัว และ เลนส์แต่ละรุ่นก็มีเทคโนโลยีไม่เท่ากัน  ถ้าคนไข้ concern เรื่องราคามาก ก็ต้องเข้าใจเช่นกันว่า จะต้องอดทนกับการปรับตัวมากกว่าสักหน่อย ถ้าอยากลดระยะเวลาการปรับตัว ก็ต้องยอมจ่ายเลนส์รุ่นที่มีเทคโนโลยีที่ดีกว่า ก็เป็นธรรมดา ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขอให้คนไข้ได้รับรู้และทำความเข้าใจ แต่แน่นอนว่า การ compromise ด้วยการจัดสายตานั้น ไม่ใช่ทางออกด้วยประการทั้งปวง เพราะสิ่งที่เราต้อง concern กว่าความชัดไม่ชัดคือ binocular function และ accommodation ของคนไข้

 

ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับท่านที่สนใจ ไม่มากก็น้อย

 

สวัสดีครับ

ดร.ลอฟท์​


Lens : Impression B.I.G. Extract 1.6 ,Individual Design w/ Solitaire Protect Pro 2 x-clean

Frame : LINDBERG rim titanium (custom spec) ; ARNOLD  size 55#18 ,temple Basic 145 mm. Color PinkGold col.60/60