Case Study 60 : Blur and Diplopia  cause of compound myopic astigmatism with Right Hyperphoria and e


Case Study

Topic : Blur and Diplopia  cause of compound myopic astigmatism with Right Hyperphoria and exophoria.

Story by :  dr.loft,O.D.

Public : 14 October 2023

for English please click link : https://www.loftoptometry.com/blog/view/17


 

Preview Case

เคสที่จะนำมาเล่าให้ฟังในวันนี้ ผมตั้งชื่อเคสว่า Blur and Diplopia  cause of compound myopic astigmatism with Right Hyperphoria and exophoria. ในความหมายของภาษาไทยก็คือ "คนไข้เห็นภาพมัวจากปัญหา สายตาสั้น + เอียง ปัญหาดูใกล้ไม่ชัดจากสายตาชราและเห็นภาพซ้อนจากเหล่ซ่อนเร้น"

 

เรื่องราวย่อๆก็มีอยู่ว่า... 

 

คนไข้เป็นผู้ชายอายุ 50 ปี มาด้วยอาการแว่นปัจจุบันที่ใช้อยู่นั้น มองไกลและใกล้ชัดแต่เห็นเป็นภาพซ้อน ต้องเอามือปิดตาข้างหนึ่งภาพซ้อนจึงจะหายไป  เวลาจะมองอะไรถ้าไม่ให้เห็นภาพซ้อนก็ต้องตั้งใจมากๆ แต่รวมภาพได้ไม่นานก็จะกลับไปซ้อนอีกเหมือนเดิม แต่ถ้ามองไปไกลๆมากๆจะไม่รู้สึกว่าซ้อน (ซึ่งเกิดจากการ suppress ของสมอง แล้วใช้ตาข้างเดียวมอง ซึ่งเป็นกลไกที่ร่างกายใช้ในการปรับตัวเพื่อยู่กับปัญหา) ปัญหาดังกล่าวนั้นเป็นมาตั้งแต่เด็ก

 

จากการตรวจ พบความผิดปกติของระบบการมองเห็นที่เกี่ยวข้องคือ มองไกลมีสายตาสั้นร่วมกับสายตาเอียงเป็นเหตุให้มองไกลไม่ชัด(ถ้าไม่ใส่แว่น) แต่ที่เห็นเป็นภาพซ้อน(ขณะใส่แว่นเดิม) เนื่องจากว่าเลนส์โปรเกรสซีฟเดิมที่ใช้งานอยู่นั้นไม่ได้แก้ในส่วนของปัญหากล้ามเนื้อตา ซึ่งคนไข้มีเหล่ซ่อนเร้นค่อนข้างมาก ทั้งมุมเหล่ในแนว vertical และ horizontal

 

การแก้ไขปัญหาทั้งหมดนี้ที่เป็นมาตั้งแต่จำความได้นั้น ทำได้ด้วยเลนส์คู่เดียว คนไข้ก็สามารถรวมภาพได้ทันทีตั้งแต่ครั้งแรกที่ใส่ เห็นมิติ เห็นความลึก และ ความคมชัดด้วยการมองสองตานั้นเห็นได้ถึง 20/15+2 ซึ่งจัดว่าดีกว่ามาตรฐาน ที่ไม่เคยสามารถทำได้เลยตั้งแต่เด็ก และไม่ได้รู้สึกว่า aberration ที่มีอยู่บนเลนส์โปรเกรสซีฟที่จ่ายไปนั้น จะสร้างปัญหาหรือรบกวนอะไรเกี่ยวกับการมองเห็น ก็คือว่าเป็นเคสที่น่าสนใจในระดับหนึ่งจึงอยากจะมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้

 

Case History

คนไข้ชาย อายุ 50ปี มาด้วยอาการ “ตาเปล่ามองไกลไม่ชัดเพราะเป็นสายตาสั้น แต่พอใส่แว่น(ที่ใช้อยู่)จะเห็นภาพซ้อนทั้งมองไกลและดูใกล้ เป็นมาตั้งแต่เด็ก  ปัจจุบันใส่แว่นสายตาโปรเกรสซีฟ ทำมา 3 ปี มีภาพซ้อนเวลาดูใกล้ต้องหลับตาข้างหนึ่งภาพจึงไม่ซ้อน เวลามองไกลไม่ซ้อน (เนื่องจาก suppression)

 

สุขภาพแข็งแรง ไม่มียาที่ต้องทานประจำ มีเพียงไวตามินทั่วไป

 

ใช้สายตาทั่วไป มือถือ แทปเล็ต ขับรถ

 

Preliminary eye exam

VAsc :OD: 20/200 ,OS 20/200 ,OU: Diplopia

VAcc :OD: 20/20 ,OS 20/20 ,OU: Diplopia 

Cover Test (w/ habitual rx) : R-Hyper and High Exo deviate both distant and near.

 

Refraction

Retinoscopy

OD -2.75 -0.75 x100 VA 20/20

OD -2.50 -0.50 x70   VA 20/20

 

Monocular Subjective

OD -2.00 -0.75 x93 VA 20/20

OD -2.50 -0.75 x80 VA 20/20


ขณะกำลังเข้าทำ BVA ซึ่งเป็นขั้นตอนการ balance accommodation ของสองตา เพื่อหา visual acuity,VA ขณะมองสองตา แต่คนไข้ไม่สามารถรวมภาพได้ และ เห็นเป็นภาพซ้อน จึงต้องข้ามไปทำ binocular funciton ก่อน แล้วจึงค่อยกลับมาทำ BVA...


 

Functional ; (Vergence and accommodation) at distant 6 m.

Worht-4-dot       : Diplopia (R-hyper and exo deviate)

Horz.phoria       : 6.5 BI (exophoria)….., w/ VonGrafe’s technique

                           : 5 BI ,Exophoria …..,w/ Associate phoria

 

Vertical Phoria : 6.5 BDOD ,Right Hyperphoria ….., w/ VonGrafe’s technique

                          : 8.0 BDOD ,R-hyperphoria …. ,w/ Maddox rod

                          : 6.5 BDOD ,R-hyperphoria …. ,w/ Associate phoria

                          : 6.5 BDOD ,R-hyperphoria …. ,w/ Maddox in free-space trial


หลังจากได้ค่ากำลังปริซึมที่ทำให้คนไข้สามารถรวมภาพได้แล้ว คือ 6.5 BDOD(r-hyper) และ 6.5BI (exophoria) ก็คาปริซึมเอาไว้บน phoropter จากนั้นก็เช็คด้วย Worth-4-dot เพื่อมั่นใจว่าคนไข้สามารถ fusion ได้ จากนั้นจึงค่อยกลับไปทำ BVA


BVA : w/ prism correction  6.5BDOD / 6 BI

OD -2.00 -0.50 x108

OS -2.00 -1.25 x60

VAOU : 20/15+2

 

Functional at Near 40 cm

Horizontal phoria  : 12 BI ,exophora

Vertical Phoria      : 7 BDOD ,Right-hyperphoria

BCC                       : +2.00D ( w/ prism correction  6.5BDOD / 6 BI)

NRA/PRA              : +0.75D/-0.75D ( w/ prism correction  6.5BDOD / 6 BI)


หมายเหตุ : อาจมีน้องบางคนสงสัยว่าไมทำ BI,BO reserve หรือ ก็อยากจะบอกว่า ไม่จำเป็นสำหรับเคสนี้ เพราะคนไข้ไม่สามารถ fusion ได้ตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว ก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไรในการทำเอาเวลาไปโฟกัสเรื่องอื่นจะดีกว่า ในการทำงานทางด้านคลินิก ต้องเลยคำว่า "ทำอย่างไร" (ซึ่งก็ไม่ผิดอะไรหากยังเรียนอยู่ปี 3) แต่ถ้าชั้นคลินิกไปแล้วเข้าใจว่า "ทำ/ไม่ทำ...ทำไม??"  เช่น ตรวจแล้ว  consult clinic ถามว่าทำไมไม่เหมือนค่า norm ก็ต้องสวนไปทันทีว่า "ทำไมต้องเหมือนหรือไม่เหมือน norm " การเรียนรู้จึงจะเกิดขึ้น  เพราะการทำงานคลินิกจะมาท่องเป็นนกแก้วนกขุนทองไม่ได้  

คนไข้ไม่ได้สนใจว่า เราจำได้แค่ไหน คนไข้สนใจว่า เราจะแก้ไขปัญหาให้คนไข้ได้หรือไม่ ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมไม่ได้ช่วยอะไร หากยังใช้ auto-refractometer กันอยู่และไม่เคยหยิบโรติโนสโคปขึ้นมาทำงานจริง (ไม่ใช่แค่ยกมาแอ๊คเพื่อถ่ายรูปลงเฟส แล้วไปนั่งเฝ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เหมือนเดิม)..


Assessment

1.compound myopic astigmatism OD and OS

2.Right Hyperphoria

3.Exophoria

4.Presbyopia

 

Plan

1.Full Rx

OD -2.00 -0.50 x108

OS -2.00 -1.25 x60

2. Vertical prism rx      : 3.125BDOD /3.125BUOS

3. Horizontal prism rx : 3.25BIOD /3.25BIOS

4.Addition Rx : +2.00D

5.Vergence facility training  : 6BI/12BO vergence facility training

 

Optical Treatment 


Lens   : Rodenstock Impression B.I.G. Norm 1.6 CMIQ BlueGray ,plus2 x-clean

Frame : Lindberg titanium rim ,Max custom spec

 

Analysis

 

เคสนี้ถ้าน้องๆคนไหนทำ binocular function อยู่เป็นปกติแล้วก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไร แต่ก็มีปัญหาต่อไปอีกว่า limit ในการสั่งเลนส์ที่มีปริซึมนั้น ทางผู้ผลิตเลนส์ไม่สามารถสั่งปริซึมเกิน 10 prism diopter ได้  ทำให้ต้องลำดับความสำคัญ​ ซึ่งความสำคัญสูงสุดคือ vertical prism เพราะร่างกายมนุษย์ไม่ได้ออกแบบมาให้สามารถชดเชยมุมเหล่ในแนว vertical ได้มากนัก จึงต้องจัดการมุม hyperphoria ให้หมด แล้วที่เหลือ ซึ่งต้องอาศัย BI-prism ในการแก้มุมเหล่แนว horizontal ซึ่งก็ต้องใส่ไปให้เต็มขีดจำกัด และ ปริซึมที่ว่าไม่เกิน 10 prism นั้น เป็นการรวมกำลังแบบ vector ดังนั้นค่าที่ใส่ได้ในแต่ละแกน H/V นั้นดูจะมากกว่า 10 pd แต่ถ้าเราทำเป็น vector แล้วเราจะเห็นว่ามันได้ไม่เกิน 10 pd และนั่นคือขีดจำกัดของเลนส์แล้ว จากนั้น ที่เหลือก็ให้คนไข้ฝึกกล้ามเนื้อตาร่วมด้วย ซึ่งยังมีความโชคดีอยู่ที่คนไข้เป็น exophoria ซึ่งการฝึกก็ไม่ได้ยากหรือลำบากอะไร โดยให้ไปซื้อ Vergence facitity flipper (6BI/12BO) จากเว็บต่างประเทศร่วมด้วย เพื่อให้กล้ามเนื้อตานั้นมี skill และเพิ่ม strenght muscle ในการ  fusion ได้ต่อเนื่องนานขึ้น  คำถามบางคนก็มีต่ออีกว่า ฝึกมากเกินไปแล้วจะอันตรายไหม ผมก็ต้องตอบว่า การเข้าฟิตเนสเพื่อยกเวทบ่อยๆนั้นอันตรายไหม หรือ six-pack ใหญ่เกินไปจะอันตรายไหม ฉันไดก็ฉันนั้น 

 

ต่อมาคือ "ปริซึมนั้นสร้างความหนาให้กับเลนส์มาก ดังนั้นก็ต้องหากรอบที่ไม่ใช่ เจาะ หรือ เซาะร่อง เพราะมันจะต้องทำให้เราต้องมาเผื่อความหนาเลนส์สำหรับเจาะหรือเซาะร่อง ดังนั้นต้องหนีไปกรอบ full-frame อย่างเดียว เพื่อที่จะไม่ต้องห่วงเรื่องบางเกินไป และเลือกอันที่เล็กที่สุดเท่าที่คนไข้จะชอบได้  เคสนี้จึงไปพอดีที่ rim max titanium 

 

1.Refraction and addition

ในส่วนของปัญหายตานั้นไม่ได้ถือว่ายาก เพราะเป็นสายตาสั้นทั่วไปร่วมกับสายตาเอียง และ มีสายตาชราร่วมด้วยตามอายุ แต่ถ้าทำได้เพียงเท่านี้แล้วก็เชียร์ขายกรอบแว่นขายเลนส์เหมือนร้านแว่นตาพาณิชย์ก็คงจะไม่สามารถช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนไข้ดีขึ้นได้ เพราะ chief complain ของคนไข้คือ ภาพซ้อน 

 

2.Binocular Dysfunction and Stereopsis

มนุษย์ซึ่งจัดอยู่ในสัตว์นักล่า (hunter) ซึ่งธรรมชาติต้องออกแบบระบบการมองเห็นให้มีดวงตาทั้งสองข้างอยู่ที่ส่วนหน้าของกระโหลก เพื่อให้เกิดการมองเห็นแบบ binocular vision เกิดความสามารถของการการรับรู้การมองเห็นแบบมี depth perception หรือ stereopsis ซึ่งการมองเห็นแบบนี้ต่างจากสัตว์กินพืช ที่ตาทั้งสองข้างนั้นอยู่ด้านข้างของกระโหลก ซึ่งมองได้ 360 องศา เอาไว้ระวังเสือมากินตัวเองขณะเล็มหญ้า ซึ่งการเล็มหญ้าก็เล็มไปเรื่อยๆ คงไม่ต้องการรู้ว่าหญ้าที่จะเล็มนั้นอยู่ลึกไปเท่าไหร่ ก็ใช้ปากไถๆไปยังไงหญ้าก็เข้าปากแล้วก็เคี้ยวเอื้องไป แต่สัตว์นักล่า ที่ต้องวิ่งไล่และตัดสินใจกระโดดตะครุบเหยื่อ จะต้องรู้ระยะลึกของเหยื่อจึงจะสามารถตะครุบได้แม่นยำ ไม่งั้นการกระโดดนั้นอาจสูญเปล่า ดังนั้นมนุษย์จึงจำเป็นต้องมีการมองเห็นแบบ binocular vision ซึ่งประโยชน์ของการมองเห็นแบบนี้ ตัวอย่างเช่น

 

การรับรู้ความลึก (Depth Perception) 


Stereopsis คือความสามารถในการรับรู้ความลึกโดยเกิดขึ้นจากการที่สมองเปรียบเทียบลานภาพที่แตกต่างกันเล็กน้อยจากตาแต่ละข้าง แล้วตีตวาม visual angle ที่ต่างกันนั้นเป็น dept perception หรือ steropsis ซึ่งสิ่งนี้เราลองหลับตาแล้วมองทีละตาดู เราจะเห็นว่า ภาพกว้างๆภาพเดียวที่เรามองเห็นพร้อมๆกันจากสองตานั้น เกิดจากภาพของแต่ละตาที่มีลานสายตาบางที่มีลักษะที่ต่างกัน (กว้างเท่ากันแต่คนละลานสายตา) โดยลานตาฝั่งหู (temporal field) จะเห็นกว้างกว่าฝั่งจมูก (nasal field)  แต่ก็มีโซนของ nasal field ที่หน้าตาคล้ายกัน และ สมองเชื่อว่าภาพที่เห็นนั้นเป็นภาพเดียวกัน สมองก็จะสั่งกล้ามเนื้อตาเพื่อบังคับดวงตาให้มองไปยังภาพเดียวกัน เกิดการนำภาพทั้งสองนั้นมาซ้อนทับกัน (overlap) เกิด fusion กันเกิดขึ้น และมุมของลานตาที่ต่างกันเล็กๆน้อยๆนี่เองทำให้สมองตีความเป็นความลึกขึ้นมา เราเรียกการมองเห็นแบบนี้ว่า stereopsis 

เราอาจจะลองฟังลำโพงจากหูฟังข้างเดียว กับ ใส่หูฟังทั้งสองข้าง เราจะรู้ว่ามิติเสียแบบเสตอรีโอนั้น ต่างจากเสียงโมโน เพราะมันจะแบนๆ ไม่มีมีติ ไม่มีความลึกของเสียง ไม่ให้ image ของเสียงดนตรี

ดวงตาก็เช่นเดียวกัน ซึ่งการมองเห็นแบบ stereopsis นี้จำเป็นสำหรับกิจกรรมประจำวันหลายๆ อย่าง เช่น การขับรถ การเดินลงบันได การหยิบจับ การเล่นกีฬา แม้แต่การทำกิจกรรมง่ายๆอย่างตักข้าวเข้าปาก ไม่เชื่อลองตักข้าวเข้าปากด้วยการปิดตาข้างหนึ่งดูจะรู้ว่ามันยาก

 

การมองเห็นที่ดีขึ้น (improve visual Acuity )

การทำงานสองตายังช่วยเพิ่มความคมชัดของการมองเห็นหรือความคมชัดของภาพ  เนื่องจากดวงตาสองข้างสามารถทำงานร่วมกันเพื่อกรอง visual noise ออก ทำให้สามารถปรับปรุงคุณภาพโดยรวมของภาพได้  ไม่เชื่อลองมองทีละตากับมองพร้อมๆกันของทั้งสองตาดูว่าเป็นจริงไหม เพราะต้องไม่ลืมว่า ภาพที่เข้าดวงตาถ้าแสงไม่เป็นระเบียบเช่น มี uncorrected refractive error อยู่ ก็ย่อมทำให้แสงไม่เป็นระเบียบ ซึ่งเราเรียกสิ่งนี้ว่า visual noise หรือแม้แต่ แสงที่ผ่าน optic แย่ๆ(เลนส์ห่วย) ก็ย่อมสร้าง visual noise ได้เช่นกัน ดังนั้นการมองพร้อมๆกันทั้งสองตา สมองจะเลือกเอาภาพส่วนที่ดีที่สุดขณะมองพร้อมกันทั้งสองตานั้นมาประมวลผล เพื่อหาภาพที่ดีที่สุดนั่นเอง

 

ลดอาการเมื่อยล้าของดวงตา (reduce eyestrain)

การทำงานสองตาช่วยลดอาการเมื่อยล้าของดวงตาโดยช่วยให้ดวงตาทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สิ่งนี้สำคัญอย่างยิ่งเมื่อทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิในการมองนานๆ เช่น การอ่านหนังสือหรือการทำงานบนคอมพิวเตอร์ ( ลองหลับตาข้างหนึ่งแล้วใช้ชีวิตดูสัก 15 นาทีดูแล้วจะเข้าใจ feeling ของความล้าที่เกิดขึ้น )

 

การประสานงานระหว่างมือและตาที่ดีขึ้น (Improved hand-eye coordination)

การทำงานสองตาก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการประสานงานระหว่างมือและตาที่ดี สิ่งนี้สำคัญสำหรับกิจกรรมต่างๆ เช่น กีฬา การเล่นวิดีโอเกม และการผ่าตัด เหล่านี้เป็นต้น (ลองเล่นโยนรับส่งลูกบอลเล็กๆ ด้วยการหลับตาข้างหนึ่งดู แล้วจะรู้ว่ามันยากกว่าใช้สองตามาก)

 

นอกจากนี้แล้ว ระบบการมองเห็นแบบนสองตามีความสำคัญอย่างยิ่งกับบางงานหรือบางวิชาชีพเฉพาะทางอย่างมาก เช่น นักบิน ศัลยแพทย์ และนักกีฬา ซึ่งทั้งหมดต้องพึ่งพาการมองเห็นแบบสองตาที่ดีเพื่อให้สามารถทำงานได้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ นึกถึงหมอที่กำลังผ่าตัดแล้วไม่รู้จะลงมีดลึกแค่ไหนเพราะไม่สามารถมองเห็นแบบ stereo ได้ คนไข้จะต้องรับความเสี่ยงความผิดพลาดมากขนาดไหน หรือ คนขับเครื่องบินที่หอบชีวิตผู้คนหลายร้อยคนที่ไม่สามารถรู้ความลึกของระยะบินได้จะอันตรายแค่ไหน

 

คนที่มีปัญหาการทำงานสองตาบกพร่อง (binocular dysfunction) อาจประสบปัญหาหลายประการ เช่น การตัดสินระยะทางยากลำบาก ชนกับสิ่งของ และมีปัญหาเมื่อยล้าของดวงตา และในบางกรณี อาจนำไปสู่โรค amblyopia หรือตาขี้เกียจ (ถ้าระบบการมองสองตาถูก disrupt ตั้งแต่ยังเด็ก)

 

ตัวอย่างหนึ่งของความไม่เข้าใจระบบการมองสองตาในบ้านเรานั่นคือการทำ lasik แบบ mono vision เพียงเพราะไม่อยากใส่แว่น แล้วงานแก้ก็มา เหล่านี้เป็นความไม่รู้เรื่องหรือไม่สนใจเรื่อง  binocular vision เพราะถ้าเข้าใจก็คงไม่ทำ  ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่มาแก้คือมีปัญหาแล้วค่อยหาข้อมูล แต่ตอนอยากทำนั้นก็ตื่นเต้นกับโปรโมชั่น เห็นเขาบอกเขาบอกว่าเป็นเทคโนโลยีเลเซอร์ใหม่ บอกลาแว่นตา เห็นชัดทั้งไกลและใกล้ ในราคาจับต้องได้ ก็ขาดสติแล้วตั้งความคาดหวังไว้จนเกินเหตุ คนที่มีหน้าที่ก็ไม่ได้ให้ความรู้ให้รอบด้าน พูดแต่ส่วนดีๆ (ซึ่งมีอยู่บ้างแต่ไม่คุ้มสิ่งที่เสียไป)”

 

ดังนั้น ท่านทั้งหลายที่พยายามจะหนีแว่นด้วยการผ่าตัด อันนี้ก็อยากจะเตือนเอาไว้สำหรับการทำ mono vision เพราะท่านจะเสีย stereopsis ไป ซึ่งเป็นสิ่งสูงสุดสำหรับการเกิดมาแล้วมีดวงตาดูส่วนหน้าของกระโหลก ซึ่งต่างจากวัว ควาย ที่มีตาอยู่ด้านข้างซึ่งไม่สามารถมองเห็นภาพแบบชัดลึกหรือ depth perception ได้

 

การทำ mono vision ก็เหมือนกับการลดระดับการมองเห็นจากกลุ่มสัตว์นักล่าไปอยู่แบบเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่กินพืช (วัวควาย) เพียงเพื่อแลกกับปัญหาว่าไม่อยากใส่แว่น ซึ่งเป็นเรื่อง "พิมเสนแลกขี้เถ้า" ชัดๆ ก็อยากจะเตือนสติ แต่ ถ้าใจมันอยากจะลอง mono vision มากก็ให้ซื้อคอนแทคเลนส์ ข้างหนึ่งเอาไว้มองไกล อีกข้างไว้อ่านหนังสือ  แล้วลองใช้ชีวิตดูสิ ว่ามันรอดไหม ถ้ารอดและอยากทำก็เอา แต่ถ้าไม่รอดก็อย่าตะแบง  เพราะการแก้งานแบบนี้มันยาก เพราะการทำ monovision ด้วยการผ่าตัดด้วยเลเซอร์ ไม่สามารถจะทำแบบ full addition ได้ เพราะจะทำให้สายตาสองข้างต่างกันมากเกินไป ใช้ชีวิตจริงยาก เมื่อ addition ไม่พอ สุดท้ายก็หนีไม่พ้นแว่นอยู่ดี แต่ที่แย่กว่าคือ micro-scar ที่เกิดขึ้นจากแผลผ่าตัดด้วยเลเซอร์ ยังไงเสีย optic ที่ได้ย่อมไม่สามารถทำให้ดีได้เท่ากับกระจกตาธรรมชาติ เพราะจะต้องเจอกับ higher order aberration แน่นอน

 

ดังนั้น เรื่องการทำงานร่วมกันของระบบสองตานี้ เป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน และ มันไม่ได้ง่ายเหมือนมีปีกแมลงทิ่มตาแล้วคีบออก เพราะเราสามารถมองเห็นปีกแมลงได้ แต่งาน binocular function เป็นงานที่มองไม่เห็นตัว ต้องใช้ทักษะ เทคนิค และ เครื่องมือ ในการวัดฟังก์ชั่นการทำงาน ซึ่งให้ค่าออกมาเป็นตัวเลข และ เราต้องตีความตัวเลขออกมาให้เห็นภาพของปัญหา จากนั้นก็ต้องคำนวณโดสที่เหมาะสม ถ้าขาดก็ไม่ได้แก้ปัญหา ถ้าเกิน (over dose) ก็จะไปสร้างปัญหาใหม่ ไหนยังต้องมี aberration ซึ่งเป็น side effect ที่เกิดจากการจ่ายปริซึมที่ต้องปรับตัวในช่วงแรก มากน้อยตามปัญหาและเทคโนโลยีเลนส์ในการออกแบบ

 

ด้วยความที่มันมองไม่เห็นตัวแต่สร้างปัญหาได้มาก คนที่ไม่มีความรู้จึงกลัวที่จะทำ แต่ถ้ามีความรู้พอความเข้าใจจริงๆ มันก็ไม่ได้ยากเกินไป และ เราสามาถช่วยเหลือคนไข้ให้มีชีวิตที่ดีขึ้นได้ enjyo living ได้มากขึ้นและมุมเหล่ในระดับ phoria นั้นเป็นมุมขนาดเล็ก และ ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดกล้ามเนื้อตา เพราะคำนวณขนาดที่จะผ่าตัดเพื่อลดแรง(recession)หรือเพิ่มแรง(resection)ได้ยาก หลายๆคนที่มีปัญหาเหล่านี้จึงมักจะถูกทอดทิ้งระบบสาธารณะสุข แล้วยกให้เป็นโรคเวรโรคกรรม ประหนึ่งว่าต้องรับชะตาชีวิตแบบนี้ไป

 

ทั้งที่ในความเป็นจริงปัญหาระบบการมองสองตานี้สามารถรักษาได้ (ถ้ามีความรู้และทักษะพอ)  กระนั้นก็ตาม ศาสตร์ที่มีความสำคัญขนาดนี้ ก็ยังไม่ได้ถูกยกให้เป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ ทัศนมาตรที่มีความรู้ความสามารถก็ไม่สามารถทำงานได้เต็มความสามารถ ปัญหาก็เลยตกไปอยู่ที่ประชาชนที่มีปัญหาเหล่านี้

 

แต่ก็เอาเถอะ  เรื่องการเมืองและผลประโยชน์นั้นพอจะเข้าใจได้ เพราะเค้กขายแว่นนี้เป็นเค้กก้อนใหญ่ ในเมื่อ “แว่นผิดไม่ได้ทำให้ใครตาย (ถ้ามองไม่เห็นแล้วขับรถชนอุบัติเหตุตายก็โยนคี่ให้หลับใน) ใส่ไม่ได้ แก้ปัญหาไม่ได้ ก็ไปหาร้านใหม่ ” ประชาชนก็คงต้องดูแลตัวเองต่อไป

 

The last

 

ฝากถึงน้องๆทัศนมาตรทั้งหลาย ถ้าเรายังทำงานอยู่เพียง สั้น ยาว เอียง แล้วเชียร์ขายแว่น แล้วเรียกร้องหาความแตกต่างจากช่างที่ทำงานอยู่เดิม ก็ย่อมผิดหวังเป็นธรรมดา เพราะมีแต่คนบ้าเท่านั้นที่คิดว่าจะทำหยาบๆเหมือนคนอื่นแล้วคิดว่าว่าตัวเองสำคัญกว่าคนอื่นเพียงเพราะมีกระดาษแปะข้างฝา

 

แต่ถ้าอยากอยู่แบบสง่างามในสาขาวิชาชีทัศนมาตรจริงๆ เราต้องลงลึกไปในระดับ binocular function จึงจะมีคุณค่ากับชีวิตคนไข้ได้จริงๆ เพราะเราต่างรู้ว่า สายตาที่ผิดย่อมทำให้ฟังก์ชั่นของสองตาและระบบเพ่งทำงานผิดปกติ  เราจะไม่กล้าจัดสายตา เราจะไม่กล้าตรวจสายตาผิด งานเราจะต้องไม่หยาบ แต่ถ้าเราไม่รู้เรื่อง binocular  เราก็รีบทำหยาบๆ 10-20 นาทีตรวจเสร็จ รีบขายรีบปิดบิล เพื่อรับเคสใหม่ (ร้านแว่นที่จ้างทัศนมาตรไปทำงานมักทำเช่นนี้ รีบตรวจ รีบปิดการขาย เพื่อเปิดรับลูกค้าใหม่ บอกไว้ตรงนี้เลยว่า “งานทันมาตร เร็วเมื่อไหร่ ผิดเมื่อนั้น”)

 

การทำงานหยาบๆ แม้ไม่ผิดในเชิงกฎหมาย(เพราะกฎหมายยังไม่มี) แต่ถ้ามองในเรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพแล้วถือว่าผิด และ ต้องไม่ลืมว่า “กฎหมาย” คือกฎพื้นฐานหยาบที่สุดที่คนทั่วไปพึงจะมีเพราะความดีชั่วจริงๆมันก็ common sense นะแต่กิเลสคนมันเยอะมันจึงแกล้งไม่รู้ว่าอันไหนถูกหรือผิด จึงจะเป็นต้องมีกฎหมายขึ้นมาควบคุมพวกกิเลสหนา  แต่จรรยาบรรณนั้นเป็นกฎสำหรับจิตใจที่สูงกว่า เช่น กินแอลกอฮอล์(อยู่บ้าน)ไม่ได้ผิดกฎหมาย แต่ดื่มแล้วขับถือว่าผิดกฎหมาย แต่ถ้ามองในเรื่องของศีล(จรรยาบรรณ) ก็ถือว่าผิดตั้งแต่ดื่มแล้ว แม้จะขับหรือไม่ขับก็ตาม

 

ดังนั้นทัศนมาตรผู้ถือใบปริญญา 6 ปี จะมาทำงานเท่ากับช่าง ก็เหมือนกับพระที่ขึ้นชื่อว่าผู้ทรงศีลแล้วจะทำตัวเท่ากับศีลของฆารวาสก็คงจะไม่ถูกต้องและถ้าเราครองศีล 5 ก็ยังไม่ได้ ก็หาสาระไม่ได้กับการถือหนังสือสุทธิแล้วอ้างว่าตนเป็นผู้ทรงศีล การปฎิบัติดีปฎิบัติชอบจึงไม่จำเป็นต้องแหกปากโวยวาย ไม่ต้องประดิษฐ์คำทางการตลาดเรียกร้องความสนใจจากใคร เพราะศีล(จรรยาบรรณ) มันอยู่ที่การประพฤติปฎิบัติไม่ได้อยู่ที่หนังสือสุทธิ(ประกาศนียบัตร) เพราะคุณค่ามันเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่งานที่เราทำ

 

ก็ฝากเอาไว้ให้คิด

ขอให้ทุกท่านมีความสุข

ดร.ลอฟท์​ O.D.

 

ทำนัดเพื่อเข้ารับบริการ

578 ถ.วัชรพล ท่าแร้ง บางเขน กทม 10220

Mobile : 090-553-6554

Line id : loftoptometry

maps : LOFT OPTOMETRY MAPs

 

Product :

LINDBERG :  rim Max, 48/23. Colour: 10 Temples: Wide, 145 mm, 10. Inner rim: K160

Rodenstock : Impression B.I.G. Norm 1.6 AllRound CMIQ3 ,w/ Solitare Protect Plus 2