Case Study 61 : Mixed hyperopic astigmatism with Normal Binocular Function



Case History

คนไข้ หญิง อายุ 66 ปี มาด้วย Routine Check (first visit) ปัญหาปัจจุบัน ดูใกล้ไม่ชัด  มองไกลก็พออยู่ได้ เพียงแต่ไม่เห็นรายละเอียดที่ชัดเจน  ไม่เคยใส่แว่นมองไกล ใช้เฉพาะแว่นอ่านหนังสือ

 

สุขภาพดวงตาดี ไม่มีประวัติพบแพทย์ด้านตามาก่อน / สุขภาพแข็งแรง / แพ้อาหารทะเล

 

ใช้สายตาทั่วไป ทำครัว ดูทีวี มือถือ อ่านหนังสือทั่วๆไป

 

Preliminary eye exam

VAsc : OD 20/40 ,OS 20/30

 

Refraction

Retinoscopy

OD +3.75-0.75x45 VA 20/20

OD +3.00-0.25x60 VA 20/25

 

Monocular Subjective

OD +3.75-0.75x45 VA 20/20

OD +2.75-0.25x60 VA 20/20

 

BVA

OD +3.75-0.62x70 VA 20/20

OD +2.75-0.25x47 VA 20/20

OU 20/15

 

Binocular function @ distant 6 m.

Horz.phoria      : Ortho

Vertical phoria  : Ortho

 

Functional @ Near 40 cm

BCC  +2.00D

NRA /PRA +0.75/-0.75 (rely BCC)

 

Assessment

1.Compound Hyperopic Astigmatism

2.Normal Binocular Function

3.Presbyopic

 

Plan

1.Full Rx

OD +3.75-0.62x70

OD +2.75-0.25x47

2.Progressive additional lens ,PALs Rx : Add +2.00

 

Discussion

 

เคสนี้มองไกลมีปัญหาสายตายาว ร่วมกับสายตาเอียง ส่วนดูใกล้ก็เป็น presbyopia ทั่วไป การแก้ไขก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร ตรวจเจออะไร องศาอย่างไร ก็แก้ตรงๆไปอย่างนั้น ไม่ต้องจัดสายตา

 

แต่ที่ต้อง concern สำหรับคนไข้ hyperope มากๆ ก็คงจะเป็นเรื่อง center thickness เพราะตาเป็นบวก เลนส์จะหนาตรงกลาง หากใช้วงเลนส์ใหญ่ก็จะยิ่งทำให้กลางเลนส์นั้นป่องหนามากขึ้น หรือ กรอบบางประเภทเช่น เซาะร่อง จะต้องมีความหนาขอบที่หนามากพอที่จะเซาะร่องเพื่อฝังเอ็นหรือโลหะเข้าไปในร่อง ก็จะส่งบางมากไม่ได้

 

ในเคสนี้ จึงเลือกเป็นกรอบเจาะ ขนาดไม่ใหญ่นัก เนื่องจากเราสามารถคำนวณออกมาได้เลยว่า จุดที่บางที่สุดอยู่ตำแหน่งเจาะหรือไม่ ถ้าอยู่ตำแหน่งอื่นที่ไม่ใช่ตำแหน่งเจาะ ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรที่จะเลือกใช้กรอบเจาะ ซึ่งจะต้องคำนวณแบบ case by case และ ไม่ใช่ว่าวิธีนี้จะเหมาะกับทุกคน

 

ผลการรักษาปัญหาการมองด้วยเลนส์โปรเกรสซีฟสำหรับเคสนี้ถือว่าประสบความสำเร็จได้เร็วกว่าที่คาดคิด เพราะคนไข้ไม่เคยมีประสบการณ์การใช้เลนส์โปรเกรสซีฟมาก่อน และ สามารถปรับตัวได้ทันทีตั้งแต่ครั้งแรกที่ใส่ ด้วยเลนส์รุ่นกลางๆไม่ได้ไฮเทคมาก  และ ด้วยปัญหาสายตาที่มองไกลเป็นบวกมากขนาดนี้  ซึ่งต้องเจอ aberration ที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น ตาที่เป็นบวกมากๆ ค่าแอดดิชั่นสูง(สำหรับผู้เริ่มใส่ครั้งแรก)  หรือแม้แต่ aberration ที่เกิดจากโครงสร้างโปรเกรสซีฟเอง ไปจนถึงความหนาของเลนส์ ล้วนแต่สร้าง aberration ได้ทั้งสิ้น

 

สรุปว่า case ที่ตาบวกมากๆ และไม่เคยใช้แว่นมาก่อน ไม่น่ากลัวที่เราจะจ่าย full correction ให้กับคนไข้  เลนส์สมัยนี้เทคโนโลยีดีมากแล้ว ไม่ต้องจัดสายตา ไม่ต้อง under plus แล้วไป over add ซึ่งการทำอย่างนั้น จะทำให้ visual field ของ progressive lens นั้นแคบลง ภาพวูบวาบ ปรับตัวยาก

 

อนึ่ง ค่า addition ควรเป็นค่าที่เกิดจากการตรวจ BCC และไม่ควรจะเป็นค่าที่กะๆ เอาตามอายุ ซึ่งในเคสนี้แม้คนไข้จะมีอาย 66 ปี ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็น full add +2.50D แต่มี add เพียง +2.00D แต่ถ้าเรา under plus ก็ต้องแลกกับการขยับเพิ่ม add อยู่ดี สุดท้ายก็พัง

ก็ขอเอาเรื่องเคสเบาๆมาเล่าสู่กันฟังเพียงเท่านี้

ขอบคุณทุกท่านสำหรับการติดตาม 

ดร.ลอฟท์ ,O.D.

 

ทำนัดเพื่อเข้ารับบริการ 

578 ถ.วัชรพล ท่าแร้ง บางเขน กทม 10220

Mobile : 090-553-6554

Line id : loftoptometry

maps : LOFT OPTOMETRY MAPs

 

Product

Frame : Lindberg Spirit

Temple : Basic , color 10 : raw-titanium , length 135 mm

Bridge : M ,flat ,clip-length 3.5 mm

Temple clip : col.10 / length 3.5 mm

Lens : Rodenstock Multigressive B.I.G. Norm 1.6 w/ Solitaire Protect Pro-2 x-clean