Case Study 62 : mixed hyperopic astigmatism w/ mild hyperphoria.


Topic : mixed hyperopic astigmatism w/ mild hyperphoria.

By dr.loft ,O.D.

Public : 21 Nov 2023

read in English : https://www.loftoptometry.com/casestudy62

Intro

วันนี้ลมหนาวยังคงแวะเวียนมาเยี่ยมเยียนคนกรุงเทพฯ กันอยู่ทุกเช้าแต่ไม่รู้จะอยู่ด้วยกันอีกนานแค่ไหน แต่ที่แน่ๆที่จะตามกันมาติดๆ ก็คงจะไม่พ้นตัวตึงสายป่วน PM 2.5 ช่วงนี้อากาศดียังมีให้สูดอยู่ ก็ขอให้จัดให้เต็มปอด ก่อนที่จะโหมดช่วงโปร ส่วนโปรกรอบพร้อมเลนส์คงไม่น่าห่วงเพราะเราคงจะเห็นโปรแนวนี้ตลอดช่วงชีวิตของเรา (ฮา...หยอกๆ) เข้าเรื่องดีกว่า

 

Preview Case

เคสวันนี้ เป็นเรื่องราวคนไข้ชาย อายุ 46 ปี มาด้วยอาการ แว่นเดิมซึ่งเป็นเลนส์โปรเกรสซีฟที่ใช้อยู่ใช้งานมา 3 ปี มองไกลยังรู้สึกว่าชัดอยู่ แต่ดูใกล้ไม่ค่อยดีแล้ว ต้องเงยหน้ามองผ่านส่วนล่างของแว่นมาก ทำให้ปวดต้นคอลามไปที่ไหล่

สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มียาทานประจำ

ใช้สายตาหน้าคอมพิวเตอร์วันละ 6 ชั่วโมง

 

Clinical Findings

Habitual rx :  OD -0.50 -2.00 x 90  ,VAcc 20/25

                     OS  -0.50 -2.00 x 90 ,VAcc 20/30

Acuity (VAsc):   OD 20/100    OS 20/150

 

Retinoscopy:

OD +0.25 -3.00 x 90 ,VA 20/20

OS +0.25 -3.00 x 90 ,VA 20/20

 

Monoc. Subjective Refraction

OD +0.25 -2.50 x 83 ,VA 20/20

OS +0.00 -3.50 x 93 ,VA 20/20

 

BVA Subjective Refraction

OD +0.25 -2.50 x 90

OS +0.25 -3.50 x 90

VAcc : OU 20/15+2

 

Binoc function    6 m        40cm

Phoria                     1.5 EP         5XP’

Base-in (BI)            X/5/2              -

Base-out (BO)         -                    -

Vertical Phoria      0.5 BDOD     w/ Vongrafe’ 

                               0.5 BDOD     w/ Maddox 

Associate phoria  Horz-Ortho

BCC                        -                  +1.50D

NRA/PRA (rely bcc)               +0.75/-0.75D

 

Fine tune on trial frame

refraction 

OD +0.25 -2.25 x 83

OS +0.25 -3.12 x 87

vertical phoria : 1.00 BDOD -right hyperphoria (with Maddox rod method)

 

Ocular Health : normal

Trial Frame: D.P. felt comfortable at all viewing distances with the subjective refraction data.

 

Assessment

1. Mixed hyperopic astigmatism OD and OS

2. Right hyperphoria

3.presbyopia

 

Treatment Plan

1. Rx:  OD +0.25 -2.25 x 83

           OS +0.25 -3.12 x 87

2.prism Rx : slits vertical prism : 0.5BDOD/0.5BUOS

3.Rx  : progressive additional lens w/ Add +1.50D

 

Discussion 

เคสนี้ ไม่จัดว่ายาก ความรู้ที่ใช้หลักๆคือความแม่นยำในการทำ refraction กับการเก็บสเกลเล็กๆน้อยๆ ของระบบ binocular funciton เพราะถ้าไม่ตรวจก็ไม่รู้ พอไม่รู้ก็ไม่แก้ และ บางครั้งคนไข้ก็ไม่รู้ว่าเป็นปัญหาเพราะความเคยชิน ตัวอย่างเช่นการชอบเอียงคอมอง เป็นต้น

 

Refraction

ในส่วนของค่าสายตาที่อยู่บนแว่นเดิมก็ไม่มีอะไรให้พูดถึง เพราะแค่ดูก็รู้ว่า ผ่านการจัดสายตามา เพราะนักจัดสายตาชอบทำอะไรให้มันเท่าๆกัน แล้วใช้ความเชื่อนำทาง(ลงคลอง) ก็ไม่เป็นไร พูดไปอีกสิบปี ถ้ายังอิงค่าแว่นเก่า อิงค่าจากคอมพิวเตอร์ แล้วอ้างเรื่องจัดสายตาเอาสบาย เราก็คงจะเห็นเรื่องนี้อยู่คู่คนไทยไปอีกนานแสนนาน แล้วรู้ได้อย่างไรว่าที่ทำถูกต้องแบบตรงไปตรงมามันไม่สบาย

 

ก่อนที่จะเข้าในส่วนของเนื้อหา

 

ในวันมารับแว่น คนไข้ถามผมว่า “ปกติหมอตรวจเสร็จแล้ว ไม่ให้คนไข้ลองใส่เดินหน่อยหรือ”

 

ผมถามกลับว่า “ทำไมต้องเดินหรือ”

 

คนไข้ตอบว่า “ก็โดยปกติเขาจะให้ลองใส่เดิน แล้วปรับค่านุ่นนี่นั่น”

 

ผมตอบว่า “ ต่อให้พี่ใส่แล้วมี complain ผมก็ไม่จัดค่าสายตาใหม่ให้อยู่ดี เรื่องอะไรที่ผมตรวจร่วมสองชั่วโมง ผมก็เหนื่อย พี่ก็เหนื่อย แล้วเรามาตัดทุกอย่างทิ้งตอนใส่เดิน ผมไม่มีทางทำแบบนั้นแน่นอน  ดังนั้น งานที่ผมทำ ผมมั่นใจว่าไม่มีอะไรที่ดีกว่านี้อีกแล้ว ดังนั้นเราจะทำตรงๆแบบนี้ ไม่จัดสายตา” “แล้วแว่นมันเป็นอะไรไหมเล่า” ผมถาม

 

คนไข้ตอบว่า “ ก็ไม่นะครับ  ชัดสบายดี ไม่รู้สึกว่ามันต้องปรับตัว แต่แค่สงสัยว่า ทำไมตอนตรวจเสร็จไม่ลองให้ใส่เดิน เพราะเห็นใครๆเขาก็ทำกัน”

 

สรุปคือ  ผมมั่นใจงานที่ผมทำ ว่าผมไม่ได้พลาดอะไรไป ทุกการตรวจมีการตรวจอย่างอื่นเพื่อ back up ผลการตรวจเสมอ ผมจึงค่อนข้างมั่นใจทุกงานที่ออกมา

 

มาต่อเรื่องเนื้อหาดีกว่า

 

Mild hyperopia

ในส่วนของสายตานั้น มองไกลพบว่ามียาวแต่กำเนิด(hyperopia) เล็กน้อยทั้งสองข้าง แต่แม้จะเล็กน้อย ก็ต้องแก้ไข ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วมันจะไปเป็นภาระให้ระบบเพ่ง ส่งผลต่อเลนส์แก้วตาถูกกระตุ้นให้เพ่งอยู่ตลอดเวลา เมื่อแรงเพ่งเหลือน้อยลงจากการต้องเอาไปชดเชยมองไกล  ทำให้แรงเพ่งดูใกล้นั้นน้อยลง นำไปสู่การ over addition เพื่อให้ดูใกล้ชัด และ ก็อย่างที่ทราบๆกันว่า add ยิ่งมาก distortion ยิ่งเยอะ โครงสร้างยิ่งแคบ  นอกจากนี้แล้ว dynamic ของระบบเพ่ง/คลาย ก็จะน้อยลง ทำให้ไม่สามารถคลายหรือเพ่งเพื่อเปลี่ยนระยะชัดด้วยตัวเอง ทำให้ต้องก้มๆ เงยๆ หาระยะชัดบนโปรเกรสซีฟเลนส์แทน  ทำให้ egonomic ในการใช้ชีวิตต่ำลง เมื่อยต้นคอ ปวดใหญ่ ดังนี้แล...

 

High astigmatism

ในส่วนของสายตาเอียงนั้น คนไข้มีสายตาเอียงค่อนข้างมาก ซึ่งจากแสกนด้วย DNEye เพื่อดูลักษณะความโค้งของเลนส์ตานั้นก็พบว่า  มีสายตาเอียงเกิดที่กระจกตา.....และ ที่เลนส์แก้วตา....

 

แต่ point ของสายตาเอียงนั้น อย่าไปกลัวที่จะ full correction และ อย่าไปเชื่อในเรื่องจัดสายตา เพราะมันคือนิทานหลอกเด็ก แต่ต้องมั่นใจว่ากำลังสายตาเอียงที่เราเจอนั้น มันเท่านั้นจริงๆไหม หรือ มโนคิดไปเองว่าใช่  และ ถ้าไม่ได้ใช้ retinoscope ก็อย่าได้มั่นใจว่าตัวเองหาค่ากำลังสายตาเอียงได้ใกล้เคียง เพราะ sphere ที่ไม่ได้แก้ไข 0.25D ก็ทำให้ สายตาเอียงเปลี่ยนไปแล้ว 0.50DC ดังนั้นจะมาเชื่อ subjective แล้ว โมเมว่าใช่ อันนั้นก็หยาบเกินไปสำหรับการทำงานในระดับทัศนมาตรคลินิก

 

อนึ่ง อย่างที่ผมได้พูดถึงบ่อยๆว่า distortion ที่เกิดขึ้นบนเลนส์โปรเกรสซีฟ แท้จริงมันก็คือกำลังสายตาเอียงที่เราใส่เข้าไปเพื่อสมานชั้นของเลนส์โปรเกรสซีฟให้เป็นเนื้อเดียวกัน(unwanted oblique astigmatism) ซึ่งเขาออกแบบไว้ดีแล้วว่าส่วนไหนใช้ได้(visual field) และส่วนใหนใช้ไม่ได้ (distortion)

 

เมื่อเรา under/over astigmatism correction มันก็จะทำให้กำลังสายตาเอียงที่เกิดจากการที่เราตรวจวัดมาผิดนี้ ไม่ว่าจะด้วยเรื่องของการตบองศาเข้าแกนหลัก (แกน 180/90) หรือ ว่าการเปลี่ยนกำลังเลนส์สายตาเอียงเป็นอย่างอื่น (เช่นไปลอกค่าบนแว่นเก่ามา) มันก็จะไปรวมกับ unwante obliq astig ซึ่งมีทั้งรวมแบบเสริมกันและหักล้างกัน  มันจะไปทำลายรูปแบบโครงสร้างเดิมที่ออกแบบไว้ให้เป็นอย่างอื่น  เมื่อช่องมอง (visual field) ในแต่ละข้างมันก็จะไม่สมมาตรกัน  เมื่อเราเอาช่องมองที่ไม่สมมาตรกันมาซ้อนทับกัน มันก็ไม่มีทางที่จะ overlap กันได้สนิทพอดี  มันก็จะยิ่งทำให้ visual field แคบคงไปอีก ใช้งานจริงก็ยาก และ นี่แหล่ะเป็นสาเหตุหลักๆของโครงสร้างโปรเกรสซีฟมันแคบ

 

สำหรับผู้ที่มีหน้าที่สอน ก็อย่าได้สอนเรื่องจัดสายตาให้เด็ก อย่าได้มีวลีเช่นว่า  “คนไข้เขาไม่เคยใส่เอียงมาเขาจะใส่ได้เหรอ” “เอียงเยอะขนาดนี้เช็คดูค่าสายตาเอียงเดิมของคนไข้หรือยัง”  “องศามุมเอียงแบบนี้เขาจะใส่ได้เหรอ ลองปัดเข้าแกนหลักหรือยัง (180/90)” “สายตาเอียงต่างกันแบบนี้มันใส่ยาก ลองทำให้มันเท่าๆกันหรือยัง” “ถ้าลดเอียงข้างไหนไม่ชัดก็เติมลบหรือลดบวกเข้าไป” เหล่านี้คืออวิชชาศาสตร์จัดสายตา และ อย่าไปส่งต่อความไม่รู้แบบนั้น (อายเขา)

 

แต่บางคนก็บอกว่าลอง full แล้ว คนไข้เดินไม่ได้ ก็กลับไปที่ย่อหน้าก่อนหน้าว่า มั่นใจรึยังว่าใช่ ได้ใช้ retinoscope ไปทำ over refraction ดูหรือยัง เพื่อได้แสง nutral แล้ว ได้เอา handheld JCC ไป finetuning เก็บค่าสายตาเอียงให้เกลี้ยง แล้วค่อยพูดว่า full ถ้ายังมาไม่ถึงขั้นตอนนี้อย่าพึ่งมั่นใจว่า full

 

Trial lens set 

ถ้าทำไปแล้ว ให้ลองเดินแล้ว คนไข้เดินไม่ได้ พื้นเป็นหลุมเป็นบ่อ โคลงเคลง ให้กลับไปดูว่า trial frame / trial lens เป็นแบบไหน  trial lens set อยู่ 2 แบบ คือ biconcave/biconvex (โค้งสองด้านหรือนูนสองด้าน)  กับอีกแบบคือ corrected curve trial lens set หรือ meniscus lens (ด้านหน้านูนเสมอ ด้านหลังเว้าเสมอ)

(รูปซ้าย) เป็น meniscus corrected curve trial lens set  ราคาอยู่ที่ 3,390 $ หรือ ประมาณ 120,000 บาทไทย (ยังไม่รวมภาษีนำเข้า ) และขายแยกชิ้นละ 53 $ ประมาณชิ้นละ 2,000 บาทไทย  ขณะที่ รูปขวาเป็น biconcave/biconvex trial lens set 266 ชิ้น ราคาบน shoppee อยู่ที่ 5,000 กว่าบาท รวมส่งถึงที่ ไม่ต้องเสียภาษีเพิ่มเติม เหตุใด ของที่มีหน้าที่เหมือนกัน ราคาจึงได้ต่างกันขนาดนี้  และ ถ้าคุณให้คุณไข้ใส่เลนส์แบบรูปขวาเดินในคนไข้ที่มีปัญหาสายตามากๆ แล้วเขาจะเดินได้ไหม  แล้วคุณเลือกที่จะแก้ค่าให้อ่อนลง ลดเอียงลง ปัดองศาเอียงทิ้ง เพื่อจะลด aberration  เพียงเพราะเครื่องมือคุณไม่ได้มาตรฐาน  อย่างงั้นหรือ  แล้วยังจะเอาไปบอกไปสอนต่อให้ลูกหลานจัดสายตาให้ใส่ได้  ผมว่าเรื่องนี้มันเรื่องตลกที่เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา   

 

แบบแรก (biconcave/biconvex) (รูปบนขวาจาก shoppee) มีตั้งแต่ระดับจีนเซินเจินเซตละ 4,000 บาท จนถึงญี่ปุ่น 27,000 บาท  ซึ่งต่างกันแค่เนื้อเลนส์กระจก แต่การควบคุม aberration จัดว่าแย่พอๆกัน โดยเฉพาะในสายตามากๆคนไข้จะมองได้ที่เซนเตอร์อย่างเดียว และ ถ้า trial frame ไม่มี คุมเซนเตอร์ไม่ได้ แล้วใส่เดิน ซึ่งแสงเข้ามาทุกทิศทาง ก็มีหวังที่จะหัวขมำได้

 

ให้ลองคิดนิดหนึ่งว่า เคยเห็นเลนส์สายตาอะไรที่มันนูนสองด้านหรือโค้งสองด้านไหม  คำตอบคือไม่มี แล้วถ้ามีแล้วคิดว่าจะใส่ได้ไหม ร้อยหนึ่งเอาบาทเดียว มันใส่ไม่ได้อยู่แล้ว แล้ว trial lens set ทำออกมาได้ไง คำตอบคือเขาทำเอามาไว้ตรวจวัดสายตา ไม่ได้ให้ใส่ชีวิตจริง มันจึงไม่แปลกที่คนส่วนใหญ่ที่ใช้เลนส์เซตประเภทนี้ จะมีเรื่องคนไข้ลองใส่เดินไม่ได้ โดยเฉพาะกับเลนส์กาบกล้วย (cylinder lens ) เพราะมันเว้าสองด้าน เดินแล้วเมา  ก็เลยนำไปสู่การจัดสายตาคือใช้กำลังเลนส์สายตาเอียงน้อยลง มันจะได้เดินได้ (เพราะ aberration มันลดลง) แต่พอลดก็ไม่ชัด ไปจบที่ over minus นี่แหล่ะสูตรสำเร็จศาสตร์จัดสายตา (พูดเรื่องนี้(กาก)แล้วนึกอยากนำ้พริกหนุ่ม)

 

อีกแบบคือ meniscus trial lens  เลนส์เซตประเภทนี้ เลนส์แต่ละชิ้นจะถูกขัดค่าสายตาให้ตรงกับ base curve ของมัน เพราะกฎฟิสิกส์เกี่ยวกับ base curve effect อย่างที่ทราบๆกัน (หรือถ้ายังไม่ทราบก็ไปหาอ่านดูในเว็บไซต์) ว่าสายตาหนึ่งๆ จะมี base curve ที่เหมาะกับมันเพียงหนึ่ง ถ้า base ไม่ match จะ induced base curve effect เกิดเป็น unwanted obliqe astigmatism  ฟังคุ้นๆไหม เหมือนที่เกิดบนเลนส์โปรเกรสซีฟเลย  เพราะมันก็เครือญาติเดียวกัน

Meniscus corrected curve traial lens set  : Macro corrected curve trial lens set + Oculus UB4 and UB6

 

ดังนั้นเลนส์ประเภทนี้ มันก็คือเลนส์ที่ทำออกมาให้ตรงค่าสายตานั้นจริงๆ ผิวหน้าจะนูนเสมอไม่ว่าจะเป็นสายตาอะไร  ส่วนผิวหลังจะเว้าเสมอไม่ว่าจะเป็นสายตาอะไร ดังนั้น aberration มันจะน้อย ใส่เดินแล้วไม่เมา เพราะแสงที่มาจากทิศทางต่างๆ มาโฟกัสที่เดียวกัน ไม่เกิด distortion  คนไข้จึงใส่แล้วไม่รู้มีปัญหา แม้ trial จะคุมเซนเตอร์ไม่อยู่บ้าง มันก็ยังคงประสิทธฺภาพเดิมได้ดีอยู่ คนไข้จึงไม่งง และ ไม่ต้องจัดสายตา  ซึ่งราคาก็อยู่ที่ประมาณ 3,500 $ เงินไทยก็ประมาณ 150,000 บาท (แต่มาถึงตัวแทนไทยก็คงต้องบวกไปอีกแสน)  ถ้าใช้ตัวเทพของ oculus ก็จะอยู่ราว 245,000 บาท เช็คราคาได้กับบริษัท Rx ประเทศไทย

 

trial frame 

Trial frame ก็เช่นกัน มีให้ใช้จากเซินเจิน ตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักเกือบแสน ซึ่งตัวที่ผมใช้อยู่ก็ประมาณ oculus ub4 ราคา 850$ คิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 30,000 บาท (ถ้าเมืองไทยขายอยู่ประมาณ 45,000-84,000)  ราคาอาจจะแพง แต่มันก็จำเป็นถ้าจะทำงานในสเกลละเอียด

Oculus trial frame มีราคาที่สูงกว่า trial shoppee ถึง 338x  นั่นต้องถามคำถามว่าทำไม ?  คุ้มค่าแก่การลงทุนหรือไม่  ก็แล้วแต่ว่าใครจะให้คุณค่ากับอะไร  บางคนซื้อเครื่องมือแพงๆทำใจไม่ได้ แม้ว่าจะเป็นอุปกรณ์สำหรับประกอบวิชาชีพ  แต่ซื้อ iphone 15 pro max ได้อย่างไม่รู้สึกอะไร  นั่นแหล่ะความต่าง

 

สมมติว่า ตรวจละเอียดแล้ว เครื่องมือดีแล้ว trial lens set / trial frame ดีที่สุดแล้ว คนไข้ใส่เดินได้ดีแล้ว แต่จ่ายจริงแล้วคนไข้ใส่ไม่ได้  ก็ขอพูดไว้ตรงนี้ว่า “เลนส์ที่จ่ายออกไปนั้น คุณภาพมันไม่ถึง”  ดังนั้นนอกจากความรู้ทางด้านทัศนมาตรแล้ว ความรู้เรื่องเลนส์เทคโนโลยีก็ควรจะมี ไม่ใช่มาเหมาว่าเลนส์ใสๆค่ายไหนก็เหมือนกันหมด

 

ดังนั้น ตลอดเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ผมไม่เคยจัดสายตา และ ไม่เคยมีปัญหา  ดังนั้นศาสตร์ความ(ไม่)รู้นี้ จึงไม่เคยจริง แต่แปลกว่ายังมีการสอนบอกต่อๆกันมาอยู่  แต่ก็ไม่ยอมลงมือทำสเกลที่ละเอียด เรติโนสโคปก็ไม่หยิบมาใช้  ยิงออโต้แล้วเอาเลนส์เซตจีนแดงเสียบกันอยู่ แล้วก็มาบอกว่า full correction ทำไม่ได้จริง

 

เรื่องนี้ผมจึงไม่มีปัญหากับคนที่กำลังเรียนกำลังศึกษา แต่ผมมีปัญหากับคนสอนว่าทำไมไม่เอาความจริงมาสอน  เด็กจะได้เอาความจริงไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริง  ผมจึงย้ำอยู่บ่อยๆว่า ศาสตร์จัดสายตา มันทำให้วิชาชีพทัศนมาตรไม่เจริญ  เพราะตามี ยายมา ก็ทำกันแบบนี้ และ ไม่ต้องเรียนหนักกัน 6 ปีด้วย แล้วเราเรียน 6 ปี ถามจริง จะลอกตามี ยายมา อย่างนั้นหรือ แล้วจะยังมาเสี้ยมเด็กว่า ลอฟท์ ชอบสอนผิดๆ ฮึๆ (เจริญทำใจ)

 

สรุป full correction เท่านั้น ที่จะทำให้ค่าเลนส์ทุกบาททุกสตางค์ที่คนไข้จ่ายไปนั้น ก่อประโยชน์สูงสุด  และ จะขาดทุนมากขึ้นเมื่อจัดสายตามากขึ้น และยังไม่รวมถึงการฟิตติ้ง การวางเซนเตอร์​ การฝนประกอบ การดัดเลนส์ รวมๆแล้วคนไข้คนหนึ่งจ่ายเลนส์ออกไปอาจขาดทุนจนถึงขั้น พอร์ตแตก (ใช้งานไม่ได้) ก็ได้

 

 

Vertical phoria

จากการตรวจระบบการทำงานร่วมกันของสองตา พบตามีมุมเหล่เข้าแบบซ่อนเร้นเล็กน้อย (1.5BO) จากการตรวจด้วยวิธี vongrafe’s technique  มีแรงสู้ BI-reserve : x/5/2 แต่พบเป็น orthophoria ด้วยเทคนิคการตรวจ associate phoria ผมมองว่า เป็นไปได้ว่าคนไข้ใส่ over minus มาเพราะเลนส์เดิมที่ใช้อยู่่นั้นเป็นเลนส์สายตาสั้น เลนส์ตาถูก over stimulate ต่อเนื่องมานาน อาจเป็นเหตุให้ binoc function อาจรวนไปบ้าง และ เชื่อว่า หลังจาก corrected ดีแล้ว น่าจะทำให้ระบบต่างๆกลับมาทำงานปกติ

 

ในส่วนของ vertical phoria พบว่ามีมุมเหล่ซ่อนเร้นแบบตาขวาลอยสู่กว่าตาซ้าย แกว่งอยู่ที่ 0.5 prism บน phoropter ซึ่ง confirmation ทั้งด้วย vongrafe’s technique ,maddox rod และ associate phoria และ เมื่อทดสอบ free space บน trial frame ก็ได้ค่ามาที่ 1.00 prism (R-hyper) จากนั้น ได้ลองปล่อยให้คนไข้มอง VA ผ่าน correction ที่มีปริซึม กับดึงปริซึมออก เพื่อดูความแตกต่าง คนไข้รายงานว่า ถ้าไม่ใส่ตัวหนังสือจะซ้อนๆขี่ๆกันอยู่ ทำให้แยกตัวหนังสือเล็กๆ ไม่ได้ ก็เป็นอันจบสำหรับการแก้มุมเหล่ซ่อนเร้น ซึ่งเทคนิคการทำก็ไม่ได้ยากอะไร เพียงแต่ต้องเข้าใจว่า กำลังหาอะไร ทำทำไม และ ทำอย่างไร

 

Lens : เลนส์ที่ใช้เลือกเป็น Rodenstock Multigrssiv B.I.G. Norm 1.6 w/ special color gradient chestnut brown (40%-10%) จัดเป็นเลนส์รุ่นกลางที่คุณภาพสูงเกินราคาไปไกลมาก ซึ่งถ้าเทียบกับคุณภาพเลนส์ตลาดทั่วไปแล้ว เทคโนโลยีที่มีจัดว่าเหนือรุ่นทอปของทุกค่าย และ รุ่นนี้จากประสบการณ์นั้น ไม่มี reject ถ้าใครจ่ายแล้ว reject ให้ไปไล่ตั้งแต่เรื่องสายตาที่ตรวจได้  ฟิตติ้ง เซนเตอร์ และ parameter และ เลนส์รุ่นนี้ไม่ต้องการค่าสายตาที่ผ่านการจัดมา ถ้าจัดมาเสีย ก็ไม่ควรจะโทษว่าเลนส์ไม่ดี

 

ทิ้งท้าย

การเลือกที่จะเดินบนเส้นทางทัศนมาตร แล้วไม่ควรกลัวหรือสร้างความกลัวเรื่องปริซึม  แต่ควรสอนให้รู้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ตั้งแต่เข้าใจลักษณะทางกายภาพและการทำงานของระบบการมองเห็น ตลอดไปจนถึงความผิดปกติของระบบต่างๆ อย่างเข้าใจ ไม่ใช่ท่องจำเอาไปสอบแล้วก็ทิ้งทั้งหมด เหลือแต่ refraction  แต่ refraction ก็กลับทำไม่ดีอีก เพราะยังจัดสายตาอยู่ ถ้าเป็นแบบนี้แล้วทัศนมาตรจะเหลืออาวุธอะไรให้สู้กับเขา โปรโมชั่นรึ  จะถูกเท่าไหร่ดี จะฟัดเจ้าใหญ่สองพันสาขาได้ไหม ไม้ซีกงัดไม้ซุงชัดๆ อย่าไปทำเลย

 

ดังนั้นดาบที่อยู่ในมือก็หมั่นลับให้คม เริ่มจากผู้สอนเอาให้ตัวเองเข้าใจก่อน อาวุธทุกอย่างมันมีวิธีใช้ รู้ข้อดีข้อด้วย ข้อบ่งใช้ ข้อระมัดระวัง ถ้าไม่รู้หรือรู้ไม่กระจ่างก็กลับไปดูคู่มือ ไม่ใช่ว่าไม่รู้เองแล้วก็กลัวเอง แล้วก็ไปสอนให้คนอื่นกลัว เหมือนกลัวเสือ ก็เลยวาดเสือให้ตัวเองกลัว แล้วก็เล่าขานให้ลูกหลานกลัวเสือกระดาษ แบบนี้ใช้ไม่ได้

 

ทัศนมาตรเป็นวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดังนั้นทุกสิ่งอย่างพิสูจน์ได้ ตรวจสอบได้ ทำ backup check หรือ cross check ได้ เพราะความจริงนั้นมีจริงเดียว จริงเพียงจริง จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ ต่างจากศิลปะซึ่งเป็นอะไรก็ได้ จะเป็นศิลปินวาดภาพระดับโลกอย่าง อ.เฉลิมชัย หรือ จะโลโซแบบ อ.ไม้ร่ม  ก็เรียกได้ว่าศิลปินที่สร้างงานศิลปะ ต่างกันที่ศิลปะแบบไหนที่โลกให้การยอมรับ แบบไหนที่โลกไม่รับรอง ศิลป์ในทางทัศนมาตร จึงควรเป็นในเรื่องการให้ความรู้ความเข้าใจถึงผลข้างเคียงในการรักษาด้วยเลนส์แต่ละรุ่นที่จ่ายออกไป สอนวิธีการรับมือและปรับตัว กำหนดเวลาการเรียนรู้ปรับตัวที่ชัดเจน  มีเป้าหมายการรักษาที่ชัดเจน ไม่ใช่เอะอะๆ อัพรุ่นๆ  ถ้าอัพไปจนถึงยอดแล้วยังไม่ได้  จะทำยังไง  ย้ายค่ายเลนส์ รึ? ถ้าย้ายจนหมดทุกค่ายแล้วจะย้ายไปไหนต่อ ซึ่งมีอยู่สองทางคือ ทำเลนส์เอง กับ ย้ายร้านไปหาลูกค้าใหม่  วนๆไปเป็นหมูกินหาง

 

ฝากไว้เพียงเท่านี้

 

ขอบคุณทุกท่านที่อยู่ด้วยกันมาจนถึงตอนจบ

 

สวัสดีครับ

ดร.ลอฟท์

 

ทำนัดเพื่อเข้ารับบริการ 

578 ถ.วัชรพล ท่าแร้ง บางเขน กทม 10220

Mobile : 090-553-6554

Line id : loftoptometry

maps : LOFT OPTOMETRY MAPs

facebook : www.facebook.com/loftoptometry 

facebook : www.facebook.com/loftoptometry.eng 

 

Recomend Shop ( หวังว่าวันหนึ่ง ผมจะได้ recomend ยาวเป็นหางว่าว)

 

SPOD  Optic Design 

100 ซอย พิทักษ์สันติราฎร์ อำเภอเมืองมุกดาหาร มุกดาหาร 49000

Mobile : 0626942616

maps : https://maps.app.goo.gl/SPOD 

 

Khunyai Optometry 

345/51 หมู่บ้านไวซ์ซิกเนเจอร์ ถ. รอบเมืองเชียงใหม่ ตำบล สันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด เชียงใหม่ 50220

mobile : 0621252601

Maps : https://maps.app.goo.gl/KhunyaiOptometry

 

Suthon Optomery Care 

9/38-39, ถ. ศรีมาลา ในเมือง, เมือง, พิจิตร 66000

tel. 056611435

maps : https://maps.app.goo.gl/SuthonOptomeryCare

Product

Lindberg : thintanium 5504, 51/23, Colour 10, Temples: 850, 140 mm, Colour 10. Groove colour: 77

Lens : Rodenstock Multigressive B.I.G. Norm 1.6 + Special gradient brown 40-20 tint +Solitaire Protect Pro-2 x-clean