Case Study 66 : The perfection treat of compound myopic astigmatism.


Case Study 66

The perfection treat of compound myopic astigmatism.

By dr.loft ,O.D.

 

Preview case

 

เคสในวันนี้ เป็นเคสคนไข้ชายอายุ 20 ปี กำลังศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่ The University of Auckland,NZ  มีโอกาสกลับเมืองไทย มีเวลา 20 วัน แม่จึงอยากให้มาตรวจตาโดยละเอียด เพราะน้องไม่เคยใส่แว่นติดตา เพราะรู้สึกไม่สบาย พังก็เลยทิ้งไปและเลือกที่จะใช้ชีวิตแบบมัวๆ มาโดยตลอด

 

วันที่น้องนัดเข้ามาตรวจ น้องเข้ามาโดยไม่ต้องใส่แว่น ทำให้เราคิดว่า ปัญหาสายตาก็คงไม่มากจึงสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องใส่แว่น แต่หลังค่าสายตาที่ตรวจออกมาได้ ก็ยิ่งทำให้แปลกใจว่า น้องอยู่กับโลกมัวๆนี้ได้อย่างไร

 

Refraction

Auto-refraction ( DNEye Scan2)

OD -3.67 -1.90x15

OS -2.39-1.31x170

 

Keratometry

OD  +42.93@8 /+45.45@98…corneal astig : -2.50DC with the rule

OS +42.45@174/+44.50@84…corneal astig : -2.05DC with the rule

 

retinoscopy

OD -3.50 -1.75 x 10  ,VA 20/20

OS -2.00 -1.25 x 180 ,VA 20/20

 

Monocular Subjective

OD -3.00 -1.37x10  ,VA 20/20

OS -2.25 -1.00x170 ,VA 20/20

 

BVA (on phoropter)

OD -3.50 -1.37x10  ,VA 20/20

OS -2.00 -1.37x170 ,VA 20/20

 

BCVA (on trial frame)

OD -3.00 -1.50 x 12  ,VA 20/15

OS -1.87 -0.50 x 167 ,VA 20/15

 

Binocular Function

Horz.phoria : 1 BI ,exophoria (norm)

Vertical phoria : 3 BUOS ( R-Hyperphoria) … Fals Positive

Worth-4-dot : Fusion

Maddox Rod : No vertical phoria

 

Binocular Function @ 40 cm

Horz.phoria : 4 BI ,exophoria (norm)

Vertical phoria : ortho

BCC 0.00 (normal)

NRA /PRA +2.00/-2.25 (normal)

 

Assessment

1.compound myopic astigmatism ,OD and OS

2.Normal Binocular Function

3.Normal Accommodation

 

Plan

1.Full Rx : Single vision lens ,Rodenstock  IPR B.I.G. Exact Mono plus +0.5D

OD -3.00 -1.50 x 12  ,VA 20/15

OS -1.87 -0.50 x 167 ,VA 20/15

 

2.-3. N/A

 

Discussion

 

Refraction

ในส่วนของส่วนของสายตานั้น ค่าที่ได้จาก DNEye Scan 2 นั้นให้ค่าที่ Over Minus มาพอสมควร ทั้งในส่วนของค่า sphere และ cylinder ซึ่งเป็นเครื่องปรกติของฟังก์ชั่นวัดสายตาด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งผมก็ไม่ได้เอามา reference อยู่แล้ว แต่นั่นไม่ใช่แก่นสารของ DNEeye Scan2 เพราะสาระจริงๆคือการเก็บข้อมูล Biometric ไปใช้ในการออกแบบเลนส์กลุ่ม B.I.G. Exact

ถัดมาจะเห็นว่า BVA บน phoropter นั้นให้ค่าสายตาออกมาที่... 

BVA (on phoropter)

OD -3.50 -1.37x10  ,VA 20/20

OS -2.00 -1.37x170 ,VA 20/20

ซึ่งค่าข้างต้นนี้ก็ทำให้คนไข้เห็นได้ถึงบรรทัด 20/20 แต่เมื่อทำการ over refract ด้วยการใช้ retinocope กวาดทับแว่นที่กำลังลองอยู่นั้นก็เห็นว่า ค่าสายตาฝั่งขวานั้นเกินไปมาก และ สายตาเอียงฝั่งซ้ายก็เกินไปมาก จากนั้นก็ค่อยๆจูนโดยละเอียดด้วยวิธี hand-held Jacson cross cylidner จนเสร็จ และเช็ค sphere ของขวาและซ้ายจนเห็นเท่ากัน ก็ได้ค่าใหม่ดังนี้ 

BCVA (on trial frame)

OD -3.00 -1.50 x 12  ,VA 20/15

OS -1.87 -0.50 x 167 ,VA 20/15

ณ จุดตรงนี้ สิ่งที่อยากจะบอกน้องๆทัศนมาตรก็คือ อย่าเชื่อ subjective refraction ทั้งหมด ที่ได้จาก phoropter ให้เราเห็นด้วยตัวเอง ด้วยการทำ Over-refraction เพื่อให้เราเห็น nutral reflect จาก retinoscopy ด้วยตัวของเราเอง จากนั้นก็ใช้ hand-held JCC ในการเก็บรายละเอียดสายตาเอียงทั้งองศาและกำลังสายตา เมื่อทำครบได้ดังนี้แล้ว เราจึงจะเรียกว่า Full Correction

 

ดังนั้นคำว่า Full Correction ที่ผมหมายถึง ไม่ใช่เพียงแค่ตรวจเจออะไรก็จ่ายไปอย่างนั้น แต่ต้องมั่นใจด้วยว่า สิ่งที่เราเจอและจะจ่ายออกไปนั้นเป็นค่าที่ถูกต้องแท้จริง ที่ผ่านการ fine tuning ด้วยหลายๆเทส เพื่อเป็นการ back up แล้วเท่านั้น 

 

Corneal Astigmatism and Lenticual astigmatism 

จากค่า K จะเห็นว่า คนไข้มีสายตาเอียงที่เกิดขึ้นที่กระจกตาค่อนข้างสูง คือ OD-2.50DC/OS -2.00DC ซึ่งเป็นสายตาเอียงแบบ with the rule ,WTR  แต่เมื่อทำ Subjective Refraction แล้ว กลับพบว่า total refractive error นั้น สายตาเอียงหายไปมากพอควรเหลือเพียง -1.50DC ที่ตาขวา และ -0.50DC ที่ตาข้างซ้าย นั่นแสดงว่าคนไข้มีสายตาเอียงที่เลนส์แก้วตาอยู่ค่าหนึ่งในองศาที่ตรงกันข้าม ทำให้เกิดการรวมกันแบบหักล้าง จึงทำให้เอียงทั้งหมดนั้นน้อยกว่าเอียงที่เกิดขึ้นที่กระจกตา

 

ในเคสลักษณะนี้ ส่ิงที่มักจะเกิดขึ้นกับคนไข้ก็คือ เมื่อคนไข้เพ่งเพื่ออ่านหนังสือ เลนส์ตาจะสามารถ induced สายตาเอียขึ้นมาได้ เกิด lenticular astigmatism ขึ้นมา ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น อาการของคนไข้จะเห็นภาพเงาซ้อนหลังจากดูใกล้ไปสักระยะหนึ่ง แล้วเมื่อละสายตาไปมองไกล ก็จะเห็นเป็นเงาซ้อนค้าง (จากเลนส์ spasm) ซึ่งต้องพักสายตาไปสักระยะหนึ่งจึงจะทำให้สายตาเอียงที่เกิดจากเลนส์ตานั้นค่อยๆลดลง อาการดังกล่าวจะเกิดหนักขึ้นหากดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮออล์ ซึ่งจะสามาตรตกค้างในกระแสเลือดได้เป็นวันๆ  ดังนั้นต้องระวังคนไข้ที่ดื่มแล้วมาตรวจตา เพราะจะทำให้ได้ค่าที่คลาดเคลื่อนได้ 

 

ในเคสที่เกิดการเหนี่ยวนำสายตาเอียงที่เกิดจากการเพ่งของเลนส์ตานั้น(lenticular astigmatism) เราสามารถช่วยได้ด้วยการใช้เลนส์ลดเพ่ง เพื่อให้เลนส์แก้วตาไม่ต้องเพ่งมาก ทำให้การเหนี่ยวนำสายตาเอียงก็ไม่สูงมาก ทำให้ลดปัญหาดังกล่าวได้  ซึ่งเป็นวิธีที่ผมใช้แก้ปัญหาของตัวเองมาหลายปีแล้ว ซึ่งก็ได้ผลดีในระดับหนึ่ง 

 

Fals Positive , Hyperphoria

Fals Positive เป็นคำที่ใช้ใช้แทน การตรวจที่พบว่ามีความผิดปกติแต่ความจริงไม่มี ซึ่งเคสนี้  เราพบว่า ขณะตรวจ Vertical Phoria ด้วยวิธี VonGrafe’s technique นั้น ได้ค่าเป็นตาเหล่ลอยแบบ Righ-Hyperphoria 3 prism BDOD , แต่กลับไม่พบบน Trial frame ด้วยวิธี Maddox Rod และ คนไข้สามารถ Fusion ได้ด้วย Wort-4-dot test นั่นแสดงว่า hyperphoria ที่เป็นวิธีการตรวจแบบ Subjective นั้นให้ค่าที่ผิดพลาดมา ซึ่งในความเป็นจริงนั้นไม่ได้มีความผิดปกติ

 

สาเหตุดังกล่าวที่พบได้บ่อยคือ ขณะที่คนไข้นั่งอยู่หลัง phoropter นั้น เซนเตอร์ของเลนส์ในเครื่อง phoropter นั้นไม่ได้อยู่ตรงกลางรูม่านตาของคนไข้ ทำให้เกิด  induced ค่าผิดปกติขึ้นมาดังกล่าว สาเหตุที่พบบ่อยนั้นก็คือ คนไข้อาจจะเอียงคอมอง อาจด้วยความเมื่อยล้าหรือเก้าอี้ไม่มีพนักพิงศีรษะ หรือ ตาของคนไข้สูงต่ำไม่เท่ากัน ก็ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนขึ้นมาได้ ผู้ตรวจต้องระวังเรื่อง positioning ของคนไข้ขณะทำการตรวจอยู่เสมอ การตรวจให้เร็วแต่ต้องแม่นยำจึงเป็นทักษะที่จำเป็นในการทำงานทางทัศนมาตรคลินิก และ ไม่มีวิธีอื่นใดนอกจากการฝึกฝน จนเข้าใจทั้งหมดว่าคนไข้กำลังเห็นอย่างไรขณะที่เรากำลังทำ subjective refraction 

 

ดังนั้น หากพบความผิดปกติของ phoria ในแนว vertical โดยเฉพาะกับคนไข้ที่มีค่าสายตาสูงๆ  จะต้องทำการ re-check ด้วยวิธีอื่นๆเพื่อเป็นการ backup ด้วย วิธีที่ง่ายที่สุดและสามารถเชื่อถือได้ก็คือ maddox-rod โดยทำบน trial frame เนื่องจากเราสามารถคุมเซนเตอร์ของคนไข้ได้ดีกว่าที่คนไข้นั่งหลัง phoropter ไม่อย่างนั้นแล้ว เราอาจจะคิดไปเองว่าคนไข้มีปัญหา แล้วเกิดไปจ่ายปริซึม ทีนี้ก็พากันลงคลอง เดี๋ยวจะโวยวายว่า “เห็นไหม จ่ายปริซึมแล้วคนไข้ใส่ไม่ได้” คือถ้าจ่ายผิด คำนวณโดสพลาด หรือ เลนส์ไม่มีเทคโนยีมารองรับ aberration ที่จะเกิดขึ้น มันก็ใส่ไม่ได้อยู่แล้ว (ป๊ะ)

 

Lens selection

ในส่วนของการเลือกเลนส์นั้น ด้วยความที่น้องอยากจะได้เลนส์ที่ดี aberration ต่ำๆ ไม่ต้องการปรับตัว ไม่อยากเรียนรู้อะไร อยากใส่แล้วดีเลยตั้งแต่ครั้งแรก มีความคมชัดที่เต็มแผ่นเลนส์ไม่ว่าจะมองมุมไหน และ ภาพไม่หลอกตา Impression B.I.G. Exact Mono 1.6 Plus จึงถูกนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาให้กับเคสนี้ (เนื่องจากเลนส์ในโลกปัจจุบันนั้นดีได้แค่นี้) ซึ่งผลก็ไม่ได้เกินคาด น้องแค่รู้สึกชัดแบบไม่เคยเห็นมาก่อน เรียนรู้ได้ทันที แม้ไม่เคยใส่แว่นมาหลายปี ไม่มีอาการพื้นเป็นหลุมเป็นบ่อหรือโหวงๆเหวงๆ แบบครั้งก่อนๆที่เคยทำแล้วทิ้งไป ใส่แล้วยิ้ม จบ.

ศึกษาเรื่อง B.I.G. Technology เพิ่มเติม ได้จากล้ิง

B.I.G. Vision For All: Rodenstock's New AI Technology (part 1)

B.I.G. Vision For All: Rodenstock's New AI Technology (part 2)

B.I.G. Vision For All: Part 3 : Rodenstock’s New AI Technology

B.I.G. FOR ALL ; PROGRESSIVE LENSES, POWERED BY ARTIFICIAL INTELLIGENCE,AI.

B.I.G. Vision Technology The A PARADIGM SHIFT IN INDIVIDUAL PROGRESSIVE LENS

Frame Selection

สำหรับกรอบแว่นนั้น นอกชอบดีไซน์เท่ๆแต่คลาสิก กรอบแว่นที่ถูกเลือกมาใช้งานคือ rim titanium ARNOLD สีทองเงา PGT ซึ่งเป็นดีไซน์ที่คล้ายกับทรงนักบินสุดคลาสิกแบบ Aviator แต่มีลักษณะการทำมุมของทรงที่แตกต่างออกไป ให้มีความเป็นสันมุมและมีคานที่ทำให้คิดถึงช่วงสุดแสนคลาสิกในอดีต ซึ่งงานที่ออกมาก็คือว่า ดีงามตามท้องเรื่อง

ศึกษากรอบแว่นเพิ่มเติม www.lindberg.com

Lindberg collection part 2 the air titanium rim

ทำไมผู้บริหารระดับสูง นิยมเลือกกรอบแว่นตาลินด์เบิร์ก

 

ทิ้งท้าย

 

น้องคนไข้ท่านนี้  เป็นคล้ายๆกันกับผม คือไม่เคยรู้ว่าตัวเองมีปัญหาสายตา มองอะไรก็มัว แต่ก็คิดว่า คนก็คงเห็นกันอย่างนี้ จนกระทั่งเห็นเพื่อนใส่แว่น ก็เลยอยากรู้ว่า เพื่อนใส่ทำไม ก็เลยขอยืมลองสวมดู ซึ่งก็ได้เห็นโลกอีกใบหนึ่งที่ตัวเองไม่เคยเห็นมาเป็นสิบปี และ เริ่มรู้ว่าสิ่งที่ตัวเองรู้สึกว่าชัดปกติ ในความจริงนั้น การมองเห็นแย่มากๆ  จึงเริ่มไปวัดแว่นทั่วๆไป ที่ให้มองบอลลูนแล้วก็เอาเลนส์มาเสียบๆแล้วให้เลือกอันที่ชอบ ซึ่งก็ชัด แต่ใส่นานไม่ได้ เพราะไม่สบายตา จึงเลือกที่จะใช้ชีวิตมัวๆแบบเดิม และไม่ได้ใส่อยู่พักใหญ่ๆ จนกระทั่งเมื่อไม่กี่วันนี้ ก็ได้ correction ที่ถูกใจตัวเองสักที ก็หวังว่าน้องจะถนอมและรักษาให้สามารถใช้งานมันได้นานๆ

 

ขอบคุณแฟนคอลัมน์ทุกท่านสำหรับการติดตาม พบกันใหม่ตอนหน้า 

สวัสดีครับ

ดร.ลอฟท์ ,O.D.

ดร.ลอฟท์​ O.D.

 

Contact : : ทำนัดทุกครั้งก่อนเข้ารับบริการ 

Loft Optometry ,578 ถ.วัชรพล ท่าแร้ง บางเขน กทม.10220

Mobile : 090-553-6554

lineID ; loftoptometry

www.loftoptometry.com


Additional Data