คนไข้หญิง อายุ 42 ปี เข้ามาตรวจด้วย Routine Check มองไกลชัดด้วยตาเปล่า อ่านหนังสือเริ่มมีอาการต้องเพ่ง เกร็งตา ทำให้การทำงานดูใกล้เริ่มมีปัญหา
ไม่เคยใส่แว่นมาก่อน
ปวดหัวทุกวัน เป็นหนักๆช่างหลังเที่ยง หรือ หลังใช้งานคอมพิวเตอร์ไปสักระยะ แต่ด้วยงานไม่สามารถเลี่ยงคอมพิวเตอร์ได้ โดยทำงานหน้าคอมพิวเตอร์วันละ 4-6 ชม.
สุขภาพแข็งแรง ตรวจสุขภาพประจำทุกปี ไม่มียาที่ต้องทานประจำ
VAsc : OD 20/20 ,OS 20/20
OD +0.50 -0.50 x 180 , VA 20/20
OS +0.25 , VA 20/20
OD +0.50 -0.25 x 180 , VA 20/20
OS -0.25 , VA 20/20
OD +0.50 -0.25 x 180 , VA 20/20
OS +0.12 , VA 20/20
OD +0.50 -0.12 x 180 , VA 20/20
OS +0.00 , VA 20/20
Horz.phoria : ortho
Vertical phoria : ortho
BCC +1.00
NRA + 2.25 (rely BVA)
PRA -1.00 (rely BVA)
1.simple hyperopia OD and OS
2.Pre-Presbyopia
3.normal binocular function
1.Full RX
OD +0.50-0.12 x 180
OS 0.00
2.Plus Add Single vision lens : RX_Add + 1.1 (Rodenstock cosmolit B.I.G. Norm 1.6 P+1.1)
3.N/A
สำหรับเคสนี้ ถ้าเราดูจากปัญหาสายตาที่ตรวจแล้ว ดูเหมือนจะน้อยนิด แต่ความน้อยนิดนี้ก็สร้างปัญหาปวดหัวให้กับคนไข้ได้ทุกวัน ด้วยงานดูใกล้ที่เลี่ยงไม่ได้ และ ยิ่งความคมชัดของคนไข้ในการมองไกลอยู่ในเกณฑ์ที่ดีด้วยแล้ว เกณฑ์ที่จะได้รับวินิจฉัยว่ามาจากปัญหาสายตาก็คงจะน้อย และ ส่วนใหญ่น่าจะโยนบาปไปให้ "แพะสีฟ้า" (ดีว่าหลังๆคนเริ่มมีความรู้มากขึ้น แสงสีฟ้าเลยพ้นจากการตราบาปของนักการตลาดไปได้บางส่วน)
คำถามต่อมาคือ "สายตาเล็กน้อยเพียงเท่านี้ ทำไมถึงสร้างความปวดหัวได้ทุกวัน"
ผลที่ได้จากการตรวจแสดงให้เห็นว่า อาการปวดหัวดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นจากปัญหาการทำงานร่วมกันของตาแน่ๆ (เพราะผลเป็น Ortho) จะเหลือก็เพียงแต่ความล้า (fatique) ของระบบเพ่งของเลนส์แก้วตา ( accommodative insufficiency) ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นของการเข้าสู่ภาวะสายตาคนแก่ ( pre-presbyopia) ทำให้เลนส์ตาต้องออกแรงที่มี (อยู่น้อยนิด) ในการสู้กับงานคอมพิวเตอร์แบบมาราทอนหลายชั่วโมงในทุกๆวันให้ได้ ผลที่ตามมาคือความเครียดของระบบเพ่ง นำไปสู่อาการปวดหัวในที่สุด นั่นเอง
คำถามต่อมา “ในเมื่อคนไข้สามารถมองไกลชัดด้วยตาเปล่าทั้งสองตา” แต่ผลตรวจพบว่า ข้างหนึ่งมีสายตายาวเล็กน้อย (+0.50D) อีกฝั่ง 0.00 เราจะจ่าย 0.00 ทั้งสองข้างจะดีกว่าหรือไม่ ?
เรื่องนี้ถ้าใครจบจากโรงเรียนจัดสายตามา เขามีกฎเหล็ก (ข้ออ้าง) ที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจก็คือ “if it don’t broke ,don’t fix it !!!” - ถ้าไม่พังก็อย่าไปซ่อม - ถ้าเขายังชัดอยู่ก็อย่าไปแก้ไข เหล่านี้เป็นประโยคที่ถูกกรอกใส่สมองส่วนเมดัลลา จนกำหนดพฤติกรรมใครหลายๆคนให้ติดวังวนอยู่กับการจัดสายตาและหาข้ออ้างในการไม่ต้องเรียนรู้ที่จะทำ full correction ซึ่งต้องอาศัยปัญญาและ skill มากกว่าความเชื่อ
แต่ถ้าเรามองระบบการมองเห็นอย่างเข้าใจ ว่ามนุษย์ไม่ได้มีตาเพียงข้างเดียว การดูแลตามนุษย์จึงต้องมองเป็นระบบสองตา (binocular vision) คิดง่ายๆก็เหมือนรถยนต์ที่มีล้อหน้า 2 ล้อ เลี้ยวก็เลี้ยวพร้อมกันสองล้อไปในทิศทางเดียวกัน แต่คันชักเลี้ยวหรืออะไรหักไปข้างหนึ่ง การเลี้ยวของสองล้อย่อมไม่สมบูรณ์ และ การขับรถไปในทิศทางที่ต้องการนั้นย่อมสร้างความยากลำบากมากเช่นกัน ดังนั้น การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ เปลี่ยนลูกหมาก จึงต้องทำทุกล้อ และ บาลานซ์ให้ได้ทุกล้อ ประสิทธิภาพการยึดเกาะและขับขี่จึงดีได้
การตรวจวัดสายตาก็เช่นเดียวกัน เราจะต้องบาลานซ์การทำงานของระบบเพ่งให้มีการตอบสนองเท่าๆกันของสองตา ซึ่งวิธีก็คือทำให้โฟกัสของทั้งสองตารวมกันเป็นจุด (แก้สายตาเอียงให้หมด) แล้วทำให้จุดโฟกัสห่างจากจุดรับภาพเท่าๆกัน เวลาหลุดจากจุดรับภาพก็หลุดเท่าๆกัน เวลาจะเพ่งก็เพ่งเท่าๆกัน ซึ่งแบบนี้เขาเรียกวิธีการบาลานซ์ค่าสายตา (ให้กระตุ้นการเพ่งเท่าๆกัน)
แต่หลายคนไปเข้าใจผิดว่า การบาลานซ์คือการทำเลนส์สองเข้าให้มีกำลังเลนส์เท่าๆกัน ก็เลยพยายามปัดนู่นนี่นั่นหาเรื่องให้มันเท่ากันให้ได้ แล้วมาอ้างเรื่อง Anisometropia ทำให้เกิด Aniseikonia คนไข้เห็นภาพใหญ่ข้างเล็กข้าง รวมภาพไม่ได้และเกิดภาพซ้อน ซึ่งจากประสบการณ์ full Rx มาหลายๆปี ผมรู้สึกว่า Aniseikonia นี้เป็นเรื่องไม่ถึงกับไร้สาระซะทีเดียว แต่มันไม่ได้ส่งผลขนาดที่เราจะมานั่งปัดสายตาสองข้างให้มันเท่าๆกัน
การทำ Binocular Balancing ตอนทำ BVA ก็เพื่อให้ balanced accommodation ของตาทั้งสองนั้นเกิด respond ต่อระยะกระตุ้นที่เท่าๆกัน ไม่ใช่การทำเลนส์สองข้างให้มีกำลังเท่าๆกัน เพราะเลนส์ตาเป็นระบบเข้าหนึ่งออกสอง ดังนั้นการกระตุ้นเพียงข้างใดข้างหนึ่ง ตาทั้งสองข้างก็ต้อง resopond เท่าๆกัน จะแยกการ accommodate อิสระต่อกันไม่ได้ และ ถ้าเราบาลานซ์ไม่ได้ผลที่ตามมากคือ มันจะเกิดการกลับไปกลับมาของเพ่งเพื่อที่จะหาจุดชัด แต่มันชัดพร้อมกันทั้งสองตาไม่ได้ เพราะเลนส์มันบาลานซ์ไม่ดี พอฝั่งหนึ่งชัดอีกฝั่งก็มัว สลับไปสลับมา เราเรียกว่า fluctuation of accommodation ผลก็คือเลนส์ไม่ได้พักเลย สุดท้ายก็เครียดและปวดหัวในที่สุด
เมื่อเข้าใจดังนี้แล้ว เราก็จะเข้าใจเหตุผลว่าทำไมไม่ควรจัดสายตาแต่ควรที่จะ full correction แบบตรงไปตรงมา แม้คนไข้จะมีปัญหาสายตาน้อยๆก็ตาม
สำหรับเคสนี้ ทันทีที่ใส่คนไข้รู้สึกแปลกเล็กน้อยกับโครงสร้างโปรเกรสซีฟ plus-addition +1.1D แต่มองไกลรู้สึกเบาตา ไม่ใส่ก็เห็นชัด แต่ถ้าใส่รู้สึกเห็นชัดและเบาตา ไม่ค่อยเกร็ง ส่วนดูใกล้ชัดแจ๋ว ไม่ต้องเพ่งแล้ว จะมีก็แต่ aberration ด้านข้างที่เป็นเรื่องปกติของการใส่โปรเกรสซีฟครั้งแรก แต่หลังจากคุยกันไปครึ่งชั่วโมง อาการก็ดีขึ้นเกือบเป็นปกติ ผมประเมินคนไข้ไว้ว่าอีก 2 วัน อาการแปลกๆ กับโปรเกรสซีฟน่าจะหายไป
เรื่องราวสำหรับเคสนี้ก็คงมีเรื่องที่น่าสนใจเพียงเท่านี้ ขอบคุณทุกท่านสำหรับการติดตาม พบกันใหม่ตอนหน้า
สวัสดีครับ
DR.LOFT ,O.D.
Product :
Lens : Rodenstock Cosmolit B.I.G. Norm Plus +1.1
Frame : Lindberg Spirit 2528 : Color P10/P10
ศึกษา Plus Add Single vision lens : https://www.loftoptometry.com/whatnew/view/64
Loft Optometry ,578 Wacharapol Rd, Tharang ,Bangkhen ,BKK 10220
Mobile : 090-553-655
lineID : loftoptometry
Product image