คนไข้ชายอายุ 56 ปี อายุ มาด้วยอาการ เลนส์โปรเกรสซีฟเดิมที่ใช้อยู่นั้น เวลามองไกลรู้สึกว่าต้องพยายาม เพ่งๆ เบิ่งๆตา ถึงจะชัด ทำงานเอกสารและจอคอมพิวเตอร์นั้นไม่สบายและ,มักมีอาการน้ำตาไหลตลอดเวลาต้องคอยเช็ดอยู่เรื่อยๆ คล้ายกับว่าท่อระบายน้ำตาตัน แต่ไปหาหมอแต่ก็ไม่มพบความผิดปกติอะไร จึงต้องการเข้ามาเพื่อตรวจสายตาและสุขภาพตา รวมถึงทำเลนส์โปรเกรสซีฟใหม่
คนไข้เร่ิมใช้แว่นครั้งแรก อายุ 40 ปี โดยเริ่มใช้จากแว่นอ่านหนังสือและมาทำเป็นโปรเกรสซีฟเลนส์ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน ซึ่งใช้มา 3-4 ปี ส่วน ส่วนสายตาที่เริ่มมองไกลที่เริ่มมัวนั้นพึ่งจะมาเป็นตอนอายุมากแล้ว
สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ดูแลสุขภาพตัวเองดี
ใช้สายตาทั่วไป ดูบิล ดูเอกสาร เซ็นต์เอกสาร ดูมือถือ ส่งไลนส์ เล่นเฟสบุ๊คทั่วไป ออกไซต์เพื่อตรวจงานบ้าง ต้องการเลนส์ที่ ใช้งานได้ดีเท่าที่จะเป็นไปได้ ตอบโจทก์การใช้งานได้เหมาะสมในทุกระยะ โดยเน้นสนามภาพมองไกลให้กว้างเป็นพิเศษเพราะใช้มากกว่าระยะอื่นๆ และออกแดดแล้วเข้มโดยไม่ต้องสลับแว่นไปมา
VAsc : OD 20/40 ,OS 20/40
VAsc w/pinhole : OS 20/20 , OS 20/20
EOM : SAFE ,no pain ,no constriction
Cover Test : Ortho ,XP’
Doc Comment : ในขั้นตอนการตรวจเบื้องต้นนั้น พบว่าตาเปล่ามองไกลนั้นคมชัดน้อยกว่ามาตรฐาน 3 บรรทัด ทั้งสองข้าง และการมองเห็นคมชัดเท่าคนปกติเมื่อทดสอบด้วย pinhole test ซึ่งเป็นตัว Differnciate ได้ว่าการมองเห็นไม่ชัดนั้นเกิดจากปัญหาสายตา (refrative error) และไม่ได้เกิดจากพยาธิสภาพ (non-oculuar disease) ความผิดปกติอย่างอื่นก็ไม่ได้มีอะไรที่น่ากังวล
OD +2.25 -0.25 x 75 ,VA 20/10-2 @ 6 m
OS +2.12 ,VA 20/10-2 @ 6 m
Doc Comment : ปัญหาสายตานั้นพบว่ามองไกลคนไข้เป็นสายตายาว hyperopia ซึ่งตรวจออกมาได้ค่า +2.25D /+2.25D มีสายตาเอียงเล็กน้อย ไม่มีนัยสำคัญเท่ไหร่นัก และ VA ที่ได้นั้นถือว่าคมชัดดี แสดงถึง ocular health ของคนไข้ที่ยัง function ได้ดีมาก
3 BI exophoria at 6 m.
1.5 BDOS left - Hyperphoria w/ VonGrafe’ Technique ,confirm w/ Red Maddox Rod.
Supra Vergence : 3/2 (Base Down reserve of Left Eye)
Infra Vergence : -1/-2 (Base Up reserve of Left Eye)
Doc comment : เรื่องเริ่มน่าสนใจตอนการตรวจ visual function เพราะแม้ว่าเรา corrected ค่าสายตาจะคนไข้สามารถอ่าน 20/10+ ได้แล้ว ก็ถ้าไม่คิดอะไรก็ปล่อยให้จบๆไป แต่เอะใจลองมาไล่ดี visual function พบว่า มองไกลคนไข้มีเขออกซ่อนเร้นเล็กน้อย ซึ่งก็ยังถือว่ายังอยู่ในค่าปกติ แต่พอดูมุมเหล่ในแนวดิ่ง พบว่า คนไข้มีเหล่ซ่อนเร้นในแนวดิ่ง หรือ vertical phoria โดย พบว่า เป็น left-hyperphoria อยู่ 1.5 prism ซึ่งเช็คทั้งสองวิธีคือ VonGrafe' technique และ Maddox Rod ได้ค่าพ้องกันมา
และเมื่อเช็ค supra/infra vergence เพื่อเช็ดู balance ของ reserve ในแนวดิ่ง พบว่าสัมพันธ์กับ left hyperphoria ที่ตรวจพบ คือ ผลการตรวจ reserve นั้นพบว่า ตาซ้ายมี supra vergence ที่ได้ค่าปกติ ในขณะที่ทำ Infra vergence ด้วยการเพ่ิม BU ที่ตาข้างซ้าย นั้นคนไข้เห็นภาพแยกตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มใส่ BUด้วยซ้ำไป ทำให้ต้องหมุนปริซึมไปอีกฝั่งคือ BD (คล้ายกับการทำ supra vergence) และได้ค่ามาที่ Infra Vergence : -1/-2 (Base Up reserve of Left Eye)
Addition (BCC) +2.00
NRA/PRA (base BCC) +0.75/-0.75
doc comment : คนไข้เป็นสายตาคนแก่ หรือ presbyopia โดยมีค่า addition =+2.00D และเป็นค่า add ที่บาลานซ์พอดี ซึ่งพ้องด้วยค่า NRA/PRA ที่บาลานซ์พอดี
1.Simple Hyperopia (มองไกลเป็นสายตายาว)
2.left Hyperopia (มีเหล่ซ่อนเร้นแนวดิ่ง หรือ vertical phoria โดยซ้ายอยู่สูงกว่าขวา 1.5 ปริซึม)
3.Presbyopia (มีสายตาคนแก่ จากการเสื่อมถอยของกำลังเพ่งของเลนส์แก้วตาที่ฟังก์ชั่นได้น้อยลงี)
Plan
OD +2.25 -0.25 x 75
OS +2.12
เคสนี้ไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่ายซะทีเดียว ซึ่งถ้าไม่ประมาทก็คงจะไม่พลาด แค่เคสลักษณะนี้เองที่พลาดกันเยอะ เนื่องจากคนไข้ hyperope นั้นง่ายที่จะผิด ผมถึงได้พูดซ้ำๆ ให้ค่อยๆซึม ทีละน้อยๆ จนกว่าจะเบื่อกันไปข้างหนึ่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคนไข้เป็น hyperope ที่ตาเปล่าสามารถอ่าน VA 20/20 ได้ ก็มีแนวโน้มว่าจะได้ค่าสายตามองไกลมา 0.00 D + Over Addition มาให้เห็นเสมอๆ (และเข้ามาแก้อยู่เสมอๆ) เช่นเดียวกับเคสนี้ ที่แว่นเดิมนั้นใช้มา 5 ปี มาเปลี่ยนเลนส์ โดยหลักแล้ว ใช้งานมาตั้ง 5 ปี ค่า add ต้องเพิ่มขึ้นจากค่าเดิม แต่ตรงข้าม คือค่า add ลดลง พร้อมกับสายตามองไกลที่มี hyperopia มากขึ้น เพียงเพราะเมื่อ 5 ปีที่แล้ว VA มองไกลคนไข้ดีกว่าปัจจุบัน ก็เลยไปคิดว่าคนไข้ไม่มีสายตามองไกล หรือไปจำใครมาก็ไม่รู้ว่า “ของไม่เสีย...ก็อย่าไปซ่อม” “คนไข้ไม่ complain ก็ไม่ต้องไปแก้”
คำถามคือ “จะดีกว่าไหม ถ้าเรารู้ปัญหาแล้วไม่ต้องให้เขาทนใช้ชีวิตอยู่กับระบบการทำงานที่ผิดปกติ หรือจะดีกว่าไหม ถ้ารู้ว่ามีก้อนเนื้อที่อาจจะกลายเป็นเนื้อร้าย แล้วเอามันออกเสียแต่เนิ่นๆ ไม่เห็นต้องรอคนไข้ complain ว่าปวดแล้วค่อยผ่า”
สิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการทำงานด้านคลินิกทัศนมาตรก็คือ “การที่คนไข้มองเห็น 20/20 ที่ระยะ 6 เมตร นั้น ไม่ได้บอกอะไรที่มากไปกว่า อ่านได้เท่ากับมาตรฐานที่ถูกกำหนดขึ้นว่าคนปกติควรจะอ่านได้ แต่ไม่ได้บอกว่า ณ ขณะที่คนไข้อ่าน 20/20 ได้นั้นปัญหาสายตาได้แก้ไปจนหมดแล้ว แต่อาจจะมีปัญหาสายตาที่ยังแก้ไขไม่หมด หรือปัญหากล้ามเนื้อตาถูกซุกซ่อนไว้ภายใต้ VA 20/20 ก็เป็นได้”
ดังนั้น ท่องไว้ว่า 20/20 ไม่ได้หมายความว่า visiual function จะปกติด้วย พูดอีกนัยหนึ่งก็คือว่า คนไข้มาวัดสายตา ก็อย่าทำเพียงแค่วัดสายตาเอาแต่ค่าชัด เพราะวัดให้ชัดไม่ยาก จ่ายค่าสายตาให้ติด over minus เข้าไปเดี๋ยวชัดเอง แต่การทำงานของ functional อื่นๆจะเป็นอย่างไรนั้น ก็เป็นเรื่องของกรรมของเวรกันไป ซึ่งอย่าไปทำอย่างนั้น มันเป็นเวรเป็นกรรมกันเปล่าๆ ดังนั้นสิ่งที่ต้องการคือ นอกจากตรวจสายตาเสร็จแล้ว ก็ขอให้ตรวจ visual function อื่นๆที่เกี่ยวข้องให้รอบด้านด้วย
เป็นปัญหาโลกแตกเหมือนกันสำหรับคนไข้ที่เป็น Hyperope เพราะคนวัดตามือใหม่/มือเก่าส่วนใหญ่ไม่กล้าที่จะ full correct เพราะกลัวจะจ่าย over plus หรือบวกมากเกินไป โดยอาศัยความเชื่อว่า ก็คนไข้เขาอ่านได้ 20/20 แล้วจะไปแก้ทำไม เขาติดเพ่งมา เขาชินกับการเพ่งมา ก็ปล่อยให้มองไกลเขาเพ่งไป ความเชื่อนี้ฝังรากแน่นมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ คนไข้ hyperope เปลี่ยนแว่นปีละ 2 ครั้ง ใช้งานได้ไม่นานก็กลับมามัวอีก ทั้งๆที่แว่น 1 อันควรใช้งานได้อย่างน้อย 3-4 ปี หรือเขาอาจจะฉลาดในการทำธุรกิจก็เป็นได้ เพื่อให้เกิด repete order บ่อยๆ ก็เป็นได้ แต่ถ้าฉลาดแบบนี้ ผมมองว่าเป็นมลทินของวงการนะ เพราะเคยได้ยินเรื่องนี้อยู่ ว่า ชอบจ่าย Add อ่อนกว่าค่าจริง เพื่อที่ลูกค้าจะได้มาเปลี่ยนเลนส์กันบ่อยๆ ซึ่งได้ยินแล้วไม่ค่อยสบายใจเท่าไหร่
ดังนั้นการไม่ full corrected hyperope นั้นแม้จะทำให้คนไข้มองไกลยังชัดอยู่จากการเพ่งช่วย แต่อย่าลืมว่าขยะ hyperope ที่ฝังลึกอยู่ภายใต้ accommodation system นั้นไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่ถูกอมไว้ด้วยการเพ่งเท่านั้น และมันจะฟ้องมาด้วยการ Over Addition
นี่ก็อีกหนึ่งความเชื่อที่ลบได้ยาก ซึ่งเป็นความเชื่อที่เกิดขึ้นและฝังรากมานานก่อนที่ศาสตร์ทัศนมาตรจะเกิดขึ้น ซึ่งคนในยุคหนึ่งจะไม่กล้าจ่าย full correct แต่จะหลงเหลือค่าสายตาให้คนไข้เพ่งเอาเอง เพราะเชื่อว่าคนไข้ชินกับการเพ่ง เลยไม่อยากไปช่วยให้คนไข้ลดการเพ่ง เพราะเกรงว่าไปเปลี่ยนพฤติกรรมการเพ่งของคนไข้ ได้แต่รอให้เขาอยากให้ช่วยก่อนถึงค่อยเข้าไปแก้ ก็ถ้าคนไข้ชินกับพฤิตกรรมที่ไม่ถูกต้อง ... เราก็ควรจะไปแก้ให้คนไข้ชินกับพฤติกรรมใหม่ที่ถูกต้องมิใช่หรือ รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี รักคนไข้ให้แก้ฟังก์ชั่นเขาให้ทำงานปกติ เพราะสายตายาวที่ไม่ได้แก้ จะไปรวมกันกับค่าแอดดิชั่นขณะดูใกล้ สุดท้ายก็หนีไม่พ้นการจ่ายค่า addition ที่ over จากความเป็นจริง
SO....What's ? “Over Add แล้วไง ก็คนไข้เห็นชัด” ...(ยังไม่เลิก)
การจัดค่าสายตาที่ได้จากการ over addition ในห้องตรวจด้วยการทดสอบด้วย trial frame นั้น มันไม่เป็นไรหรอก เพราะมันเป็น single vision ซึ่งมันก็คือ reading glasse นั่นแหล่ะ ซึ่งใส่แล้วก็อ่านหนังสือชัดดี 20/20 แต่เคยไหมว่า แว่นลองนี่ชัดกริ๊ก... พอเป็นเลนส์โปรเกรสซีฟแล้วเละเป็นโจ๊ก
ทำไมนะหรือ...
เพราะการ over add เมื่อไปอยู่บนโปเกรสซีฟแล้ว มันคนละเรื่องกันกับแว่นลอง ปัญหาที่เกิดขึ้นเลยกับการ over add คือโครงสร้างโปรเกรสซีฟแคบลงเห็นๆ โดยอัตราการเพ่ิมขึ้นของ distortion (จาก unwanted oblique astigmatis ที่เกิดโดยธรรมชาติของโปรเกรสซีฟตามค่า addition ที่เพิ่มขึ้น ) ย่ิง add เพ่ิม distortion ก็ยิ่งเพิ่ม โดย retio ของการเพ่ิมขึ้นของ add/oblique astig นั้นคือ 1 add unit : 3 distort unit ซึ่งแน่นอนว่า ถ้า over add มากขึ้นกี่หน่วย obliqe astig ที่เพ่ิมขึ้นก็ x3 เข้าไป ซึ่งเยอะนะ จ่ายค่าเลนส์โปรเกรสซีฟแสนแพง แถม distortion มาเพียบเลย เอาไหม...
ใครงงเรื่องที่มาของ distortion ของโปรเกรสซีฟว่ามาจากไหน ไปหาอ่านเพ่ิมเติมเรื่องนี้ได้ที่ลิ้ง เปิดโลกโปรเกรสซีฟตอนที่ 4 หลักพื้นฐานในการออกแบบเลนส์โปรเกรสซีฟนะครับ http://www.loftoptometry.com/whatnew/view/basic pals design
เช่น คนไข้ Hyperope +2.00D Add 1.00 แต่เนื่องจากตาเปล่าคนไข้มองไกลชัด VA 20/10 ก็เลยจ่ายพอแก้เขินก็เลยจ่าย +0.50 ทำให้ค่า Add จะกลายเป็น +2.50 ทันที ซึ่งไม่เถียงว่าตอนลองนั้น มองไกลชัด อ่านหนังสือชัดทั้งคู่ เพราะเป็น single vision แต่เลนส์มาจริง เชื่อไหมว่า ต่อให้ของ Impression FreeSign 3 ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งเลนส์โปรเกรสซีฟ ที่ Add +2.50 นั้นมีโครงสร้างแย่กว่า Add +1.00 อย่างเทียบกันไม่ได้เลย ทีนี้เข้าใจได้หรือยังว่า เลนส์รุ่นเดียวกัน ที่ไม่เหมือนกัน เพราะการ correction ไม่เหมือนกัน
สรุปผลจากการ over add คือ มุมมองแคบลง ภาพบิดเบี้ยวมากขึ้น แต่มองไกลชัด (แบบเพ่งๆ) อ่านหนังสือชัด (แบบเพ่งๆ) แนว corridor เวลาเลื่อนตาลงต่ำแล้วมีพื้นที่ที่มี stabilized power ที่ค่อนข้างน้อย power เปลี่ยนเร็ว วูบวาบ แค่อ่านหน้าจอสูง 1 ฟุต ยังต้องก้มๆเงยๆ กว่าจะอ่านแถวบนสุดมาถึงแถวล่างสุด และยังมีอาการข้างเคียงคือ แสบตา น้ำตาไหล ตาแดงก่ำๆ ช้ำๆ ดูพักผ่อนไม่พอ ไม่สดใส
แล้วให้คนไข้ทนปรับตัวไป พอปรับไม่ไหว กลับมาแก้ทำไง...อัพเกรดรุ่นเลนส์ให้แพงขึ้น แล้วไงต่อ ร่วง! แล้วก็ด่าว่าเลนส์มันห่วย แต่เชื่อเถิดว่า โลกปัจจุบันเลนส์ส่วนใหญ่ใช้งานได้ ไม่ถึงเลวขนาดที่ใส่ไม่ได้หรอก มันต้องมีเหตุ และเหตุส่วนใหญ่ก็อยู่ที่สายตาที่เราวัดนี่แหล่ะ
ดังนั้นวันนี้ case hyperopia ส่วนใหญ่ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดก็คือเรื่อง under plus เหตุเพราะเชื่อว่าคนไข้ชอบเพ่ง จ่ายแล้วกลัวคนไม่ชัด ลงท้ายด้วยการ over add และเกิดปัญหาตามมา ซึ่งเราจะมาศึกษากันดูว่า สายตาที่เราตรวจได้นั้น ได้ค่าที่ถูกต้องแล้วหรือยัง ซึ่งก็จะมี conformation test ต่างๆ ที่จะมาเล่าสู่กันฟัง
คนไข้ที่เป็น hyperopia คือมองไกลสายตาเป็นบวกซึ่งเลนส์ตาต้องเพ่งให้ชัด แต่ถ้าเพ่งไม่ไหวก็ต้องใส่เลนส์บวก (plus power) เพื่อให้มองไกลชัด ซึ่งคนที่มีปัญหานี้มักจะไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา ด้วยเหตุว่า ตาเปล่าไม่ใส่เลนส์ก็มองไกลชัด เนื่องจากเลนส์ตาสามารถเพ่งให้ชัดได้ โดยเฉพาะ hyperopia น้อยกว่า +1.00D หรือ มองไกลเป็นบวกมากแต่มีสายตาเอียงแบบ againt the rule ร่วมด้วย ก็มักจะ VA ดีเช่นกัน เช่น สายตา +2.00 -1.50x90 เป็นต้น ทำให้คนไข้กลุ่มนี้ มักไม่ได้รับการแก้ไขค่าสายตาที่ถูกต้อง
ถ้าเปรียบตอไม้เป็น hyperopia เปรียบน้ำเป็นกำลังของ accommodation การไม่จ่าย full correction ก็เหมือนการตัดปัญหาท้ิงเฉพาะส่วนที่พ้นน้ำ หรือปริ่มๆน้ำ ส่วนที่อยู่ลึกไปในน้ำ กลับไม่ค่อยได้แก้ไข เพราะคนส่วนใหญ่นั้นสนใจเฉพาะปัญหาที่มองเห็น แต่ไม่สนใจที่จะแก้ปัญหาที่มองไม่เห็น อาจจะด้วยความจงใจหรือไม่รู้ก็แล้วแต่ แต่ก็มักจะมีปัญหาเรื่องนี้กันมาก เพราะทุกคนไม่อยากจะยุ่งกับปัญหาที่คนไข้ยังไม่ complain และส่ิงหนึ่งที่คนส่วนใหญ่กลัวคือถ้าคนไข้เป็น hyperope แล้วเราจ่าย over plus แล้วจะทำให้คนไข้มองไกลไม่ชัด แล้วเราจะแก้ปัญหานี้กันอย่างไร
การ over plus คือการจ่ายบวกมากเกินค่าสายตายาวที่มีอยู่จริง ค่าบวกที่เกินค่าสายตาจริงจะทำให้โฟกัสนั้นถูกดึงจนไปตกก่อนจุดรับภาพ ทำให้อาการคล้ายสายตาสั้นคือมองไกลไม่ชัด แน่นอนว่า ถ้าจ่าย over plus จริง คนไข้จะต้องมองไกลมัว นั่นหมายความว่าไม่สามารถอ่าน 20/20 ได้ แต่ก็ไม่แน่่อีกเช่นกันเพราะโฟกัสอาจจะตกก่อนจุดรับภาพจริงแต่คนไข้ยังสามารถอ่าน 20/20 ได้ จาก depth of focus ทำให้คนไข้ยังคงมองไกลเห็นชัดได้ แต่ถ้าคนไข้อ่านได้ 20/20+ หรือ 20/10 แล้วจะยังกลัว over plus อยู่ไหม แน่นอนว่าถ้าเห็นเล็กขนาดนั้นได้ อย่าไม่มีทาง over plus แน่นอน ดังนั้น ไม่ต้องกลัวเรื่อง over plus ถ้าบวกที่เราจ่ายเต็มไปแล้ว คนไข้เห็น 20/20 หรือดีกว่า แต่ให้กลัวเรื่อง over minus หรือ under plus เมื่อคนไข้อ่านได้ 20/20 และต่อไปนี้คือการตรวจเพื่อเป็น confirmation test ว่าค่าสายตาที่จ่ายนั้นไม่ Over minus หรือ Under plus
สำคัญที่สุดเราจะต้องเข้าใจนิยามของสายตาที่ปกติ หรือ emmetropia ก่อน คนสายตาปกติคือมองไกลชัด จากแสงที่วิ่งมาจากระยะไกล หักเหผ่านกระจกตา เลนส์ตา แล้วไปโฟกัสบนจุดรับภาพพอดี โดยที่เลนส์ตาไม่มีการเพ่ง อ่านเพ่ิมเติมเรื่องนี้โดยละเอียดได้ที่ลิ้งค์ http://www.loftoptometry.com/ปัญหาสายตายาวที่ถูกละเลย ตอน1 , http://www.loftoptometry.com/ปัญหาสายตายาวที่ถูกละเลยตอน2
ซึ่ง keyword อยู่ตรงนี้คือ “ชัดโดยไม่มีการเพ่ง” แต่ถ้าชัดด้วยระบบเพ่ง นั่นไม่ใช่ emmetrop แต่เป็น hyperope แล้วเพ่งให้ชัด ทีนี้เมื่อมีการเพ่ง มันก็จะฟ้องด้วยค่าต่างๆ ซึ่งเราสามารถนำไปตรวจสอบได้ว่า ค่าสายตาที่เราวัดได้ออกมานั้น ให้ความคมชัดแบบ relax accommodation หรือ activated accommodation ซึ่งในการทดสอบ ก็จะมีทั้งวิธีที่เป็น objective คือ retinoscope และ subjective ได้แก่การทำ BI-reseve , NRA , RED/Green
BI-reserve ขณะมองไกล ( ด้วยการตรวจ Blur / Break / Recovery ) ก็เป็น confirmation test ที่ดีอีกตัวหนึ่ง ที่นอกจากจะใช้ในการดู negative fusional vergence แล้ว แล้วยังสามารถใช้ในการ back up check ว่าสายตามองไกลนั้น over minus หรือ Under plus อยู่หรือเปล่า
คือถ้าคนไข้เป็นสายตาสั้น (ตาลบ) แล้วค่าสายตาลบที่จ่ายไปนั้นเป็นค่าที่เกินจริง (over plus) หรือ คนไข้เป็นสายตายาว (ตาบวก) บวกที่เราจ่ายไปนั้น มันยังมีค่าบวก เหลืออยู่ (under plus) คนไข้จะเห็น blur ขณะทำ BI-reserve ในขณะที่ full corrected จะไม่ทันเห็น blur แต่จู่ๆจะเห็นเป็น Break และ Recovery เลย
ทั้ง 2 แบบนี้ ไม่ว่าคนไข้เป็นตาลบแล้วเราจ่ายค่าลบมากเกินจริงหรือคนไข้เป็นตาบวกแล้วเราจ่ายค่าบวกไม่หมด อาจทำให้คนไข้มองไกลเห็น VA 20/20 ได้ แต่การเห็นนั้นเกิดขึ้นภายใต้ระบบการเพ่งหรือระบบ accommodation ซึ่งถูกกระตุ้นให้ทำงาน จากแสงที่ไปโฟกัสหลังจุดรับภาพ แต่ไม่ใช่เป็นสายตา emmetropia ที่ถูกต้อง เพราะ emmetropia นั้นเป็นสายตามองไกลทีี่คมชัดปกติ โดย accommodation อยู่ในสภาวะ relax (ดังที่เน้นแล้วเน้นอีก)
ซึ่งเราจะทำ back up check ว่าเป็น emmetropia ไหมด้วย การทำ BI-reserve ซึ่งค่อยๆดู (ผมก็ค่อยๆพิมพ์ กลัวตกหล่นเหมือนกัน)
ถ้าสายตามองไกลเป็นสายตาที่่ corrected (accommodation=0) ดังนั้นขณะทำ blur / break /recovery คนไข้จะไม่เห็น blur คือจู่ๆ break ไปเลย เนื่องจากสายตาที่ corrected เลนส์แก้วตาจะไม่ได้ accommodate ดังนั้น ระบบที่ควบคุมการรวมภาพ (fusion) จะต้องเกิดจาก fushional vergence อย่างเดียวโดยไม่่มี accommodative convergence (AC) เข้ามาเกี่ยวข้อง
ดังนั้นเมื่อเราเพ่ิม BI เข้าไปเรื่อยๆ โดยหลักตาจะต้องเคลื่อนที่ออกจากกัน (diverge) แต่ระบบต้องประคองให้เกิดการ fusion เพื่อให้ยังคงเห็นภาพเดียวและคมชัดอยู่บนเรตินา ดังนั้นระบบที่จะเข้ามาจัดการเรื่องนี้คือ negative fusional vergene (NFV) ล้วนๆ (ไม่มี AC มาช่วย) เมื่อเราใส่ BI เรื่อยๆ NFV ก็ทำงานหนักไปเรื่อยๆ จนกระทั่งหมดแรง ภาพก็จะแยกไปในทันที โดยไม่มี Blur
ในกรณี over minus คนไข้จะเห็น blur เนื่องจาก การ over minus ทำให้ accommodation ถูกกระตุ้นเพื่อให้มองไกลชัด , พูดอีกนัยหนึ่งก็คือว่า ถ้าเลนส์ตาไม่เพ่ง แสงก็จะโฟกัสหลังจุดรับภาพ นั่นแสดงว่า ขณะที่มองไกลชัดนั้น มีทั้งการทำงานของทั้ง fusional vergence ,accommodative convergence ทำงานร่วมกันอยู่เพื่อประคองให้เกิด fusion (ในขณะที่สายตา corrected นั้นมี fusional vergnce ทำงานอย่างเดียว)
ทีนี้ เมื่อเราค่อยๆเพ่ิม BI ตาก็จะเริ่มเกิด divergence มันก็จะไปบังคับ accommodation ให้ relax ทำให้โฟกัสเริ่มถอยหลังทีละน้อยๆจากการทำงานของ AC แต่คนไข้ก็จะยังคงเห็นชัดอยู่จากการประคองของ accommodative convergence และเมื่อ accommodative convergnce หมด คนไข้จะเร่ิมบอกว่า blur เพราะแสงตกหลังจอเรียบร้อยแล้ว แต่ภาพยังไม่แยกเพราะ fusional vergence ยังคงทำงานไหวอยู่ จากนั้นเราก็ใส่ BI จนกระทั่ง fusional vergnce หมดคนไข้ก็จะเห็นภาพแยกเป็นสองภาพ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่หมดพลังทั้งสอง
งงไหม ไม่งงนะ ค่อยๆคิดตาม ส่วนท่านที่เป็นผู้บริโภค ไม่เข้าใจยังไม่เป็นไร ข้ามๆไป เพราะเรียนด้วยกันมายังจะเข้าใจไม่เหมือนกัน ค่อยๆแกะ พอเข้าใจแล้ว จะได้ไม่ต้องจำ
สรุปว่า จำเอาไปใช้เลยก็ได้ว่า “ถ้าทำ BI-reserve แล้วคนไข้ เห็น break / recovery แต่ไม่เห็น blur และ VA มองไกลก็ดี 20/20 หรือดีกว่า ก็สบายใจได้ว่า ไม่มี over minus หรือ under plus ซ่อนอยู่”
Back up check อีกตัวหนึ่งก็คือ ดูจากค่า NRA หรือ Negative Relative of Accommodation คือ ค่า NRA ที่ตรวจได้นั้น ต้องมีค่าไม่เกิน +2.50D ที่ระยะ 40 ซม.
NRA = Negative relative of Accommodation ตรวจโดยให้คนไข้มองไปที่ Accommodative target แล้วเพิ่มบวกจนกระทั่งคนไข้รู้สึกว่ามัว (plus to blur)
สมมติว่า เราวัดค่าสายตามองไกลออกมาได้ถูกต้อง เมื่อทดสอบ NRA โดยให้คนไข้ดู near chart ที่ 40 ซม. ซึ่งระยะนั้น จะกระตุ้นให้เลนส์ตา accommodate +2.50D หรืออาจจะน้อยกว่าเนื่องจาก depth of focus ช่วยให้เราไม่ต้อง accommodate เต็มที่ ก็ยังสามารถเห็นชัดได้
การทำ NRA เราจะค่อยๆเพิ่มกำลัง + (ในกรณีตาบวก) หรือลด - ไปเรื่อยๆ (ในกรณีตาลบ) ขณะที่เราเพ่ิมค่าบวก เลนส์ตาจะค่อยๆคลายตัว เมื่อเลนส์ตาเริ่มคลายตัว ตาจะเริ่ม diverge ออกจากกันด้วยระบบ Accommodative convergence (คือมี accom จะเกิด vergence) ดังนั้นส่ิงที่เกิดขึ้นพร้อมกันเพื่อดึงลูกตากลับมาก็คือแรง positive fusional vergene เพื่อประคองให้ภาพมี fusion อยู่ตลอดเวลา
จุด end point คือ “just remain blur” คือรู้สึกว่าชัดน้อยลงและกระพิบตาก็ยังมัวอยู่ ก็ให้ถือว่าจุดนั้นเป็นตำแหน่งของ NRA หรือจุดที่ accommodative convergence และ Accommdation ไม่่สามารถบังคับโฟกัสให้ตกบนจุดรับภาพได้แล้ว
ดังนั้น "ถ้ามองไกล Accom เป็น 0 ,และมองใกล้ 40 ซม. กระตุ้น Accom =2.50D เมื่อเราเพ่ิมบวกเพื่อให้ Accom คลายนั้น accom ก็ไม่ควรที่จะคลายเกิน stimulus คือ +2.50D ถ้าเกินนี้ แสดงว่ามีปัจจัยอื่นมา stimulus มากกว่าเรื่องของ target ที่ 40 ซม. ซึ่งก็มักจะมาจากสายตามองไกลที่ Over minus หรือ Under Plus นั่นเอง"
ดังนั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ NRA จะมากกว่า +2.50 D ถ้าเกินแสดงกว่า Over minus หรือ under plus แน่นอน และถ้าเป็นอย่างนั้น มักจะมาพร้อมกับ over addition เพื่อให้คนไข้เห็นชัดด้วยเช่นกัน
สรุปว่า ถ้าตรวจ NRA มาแล้วได้มากกว่า +2.50D ให้คิดก่อนเลยว่า ค่าสายตามองไกลนั้นมี Over minus หรือ Under plus อยู่ แต่ถ้าน้อยเกินไป เช่น NRA <1.50D แสดงว่า positive fusional vergence ของคนไข้ไม่ดี ซึ่งอาจจะเกิดจากมี exophoria at near อยู่มากก็เป็นไปได้ ไว้ค่อยว่ากันเดี๋ยวจะฟุ้งไปกันใหญ่
วิธีนี้ไม่ค่อยนิยมในการเช็คว่า over minus หรือไม่ เพราะส่วนใหญ่แล้วถ้าจะเทสให้คนให้คนไข้เห็น เขียวกับแดงชัดเท่ากัน มักจะได้ค่าที่ over minus เสียส่วนใหญ่ และมีตัวแปรหลายอย่างที่ไม่ควรนำ Red/Green test มาเป็น final prescription แต่เป็นตัวเอาไว้ concern มากกว่า
อ่านเพ่ิมเติม...http://www.loftoptometry.com/RedGreenTest
วิธีที่ง่ายที่สุด และ แม่นยำทีสุด ก็คือ retinoscope นี่หล่ะ โดยทำ over refraction retinoscope ทับแว่นที่ใส่อยู่ ก็จะสามารถเห็นได้ด้วยตาคนตรวจเองว่า แว่นที่คนไข้ใส่อยู่นั้น โฟกัสตกบนจุดรับภาพแบบ emmetropia หรือเปล่า ซึ่งก็จะฟ้องด้วย reflect เลยว่า แสงที่สะท้อนออกมาจากรูม่านตานั้นเป็นแสง with , againt หรือ nutral ซึ่ง receck ดูได้ง่ายแต่ฝึกดูให้เป็นนั้นยาก ย่ิงไปเจอแสงแปลก จากการวัดสายตาที่ผิดแล้วอาจเจอแสงหลอก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตาบวกที่แก้ไม่หมดแล้วมีสายตาเอียงปนอยู่ ที่พอทำ spherical equivalent แล้ว ดูเป็น nutral พอดี สรุปก็ต้องดูหลายๆเรื่องประกอบกัน
ทั้งหมดนี้บอกเราว่า การวัดแว่นกับการตรวจสายตานั้นไม่เหมือนกัน การตรวจสายตานั้นไม่ใช่เพียงแค่ค่าเอาคางวางหน้าผากชิดบนเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วลองเอาค่าที่ได้จากเครื่องปริ้นมาลองด้วยเลนส์เสียบแล้วถามว่า ชัดไหมๆ ถ้าชัด อ่านได้ 20/20 แปลว่า ใช้ได้ โดยไม่ได้ประเมินเรื่องอื่นๆเลยว่า ชัดปกติ หรือชัดด้วยระบบเพ่ง แล้ว visual function อื่นๆเป็นอย่างไรบ้าง
ดังนั้นVA 20/20 ไม่ได้บอกว่าระบการมองเห็นปกติเสมอไป พูดอีกนัยหนึ่งก็คือว่า ตาเปล่า VA 20/20 นั้นไม่ได้หมายความว่า ฉันมองเห็นชัดแล้ว ชีวิตนี้ไม่ต้องตรวจสายตาแล้ว เพราะมีเยอะแยะไป ที่ 20/20 แล้วเมื่อยตา ปวดหัวคิ้ว ปวดเบ้าตา คลื่นไส้ อยากอาเจียน ทำงานหน้าคอมพ์นานไม่ได้ มึนๆ ไม่สดชื่น แสบตา น้ำตาไหล ระคายเคืองตาตลอดเวลา ไปหาหมอตา บอกตาปกติไม่มีโรค ไปหาคนทำแว่น แว่นก็ชัดดี เพราะอ่านได้ 20/20 เฮ่อ...ชีวิตเหมือนต้องคำสาบ ซึ่งปัญหาอาจจะเล็กน้อยเพียงแค่เค้นสายตาออกมาให้มันถูกต้อง ปัญหาทั้งหมดก็อาจจะหายไปเลยก็ได้
การพยายามเชียร์ว่า เลนส์มันไฮเอนด์ จะกว้างอย่างนู้น กว้างอย่างนี้ กว้างอย่างนั้น เพื่อโน้มน้าวให้ลูกค้าซื้อเลนส์แพงๆ มา แต่พอใช้งานจริง แล้วลูกค้าไม่ได้รู้สึกถึงความไฮด์เอนด์อย่างที่ตอนเชียร์ขายก็มีเยอะ ซึ่งปัญหาเรื่องนี้มันมาจากเราไม่สนใจปัญหาต้นเหตุ
หลายคนชอบเอาไปเทียบเลนส์โปรเกรสซีฟไปเทียบกับรถยนต์ เพราะถูก lens consult หรือเซลล์ขายเลนส์ สมัยเป็น consult ให้ Rodenstock ก็พูดแบบนี้แหล่ะ ง่ายดี เข้าใจง่าย ทั้งๆที่รู้ว่ารายละเอียดมันมี แต่ก็ทำอย่างไรได้ เพราะเวลามันจำกัด คือ ชอบเอาเลนส์ไปเปรียบกับรถยนต์ ว่า “เลนส์มันก็เหมือนกันกับรถยนต์ รถยนต์ยุโรป มันแพง แต่มันนั่งสบาย เดินทางไกลๆแล้วไม่เหนื่อย ส่วนรถญี่ปุ่นมันก็นั่งได้ ถึงปลายทางเหมือนกัน แต่ถึงแล้วเหนื่อยหน่อย เมื่อยหน่อย เลนส์แพงๆก็เหมือนกัน มันสบาย ใช้งานนานๆ มันไม่ค่อยเมื่อย ส่วนเลนส์ไม่ดี ใช้ไม่นานก็เหนื่อย ก็ล้า”....ก็มีส่วนจริงบ้าง...แต่ไม่เสมอไปถ้า factor ไม่เหมือนกัน
แต่สิ่งที่พบจริงๆ คือ มีคนจำนวนมาก ที่ใช้เลนส์หลักแสน แต่ก็ใช้งานนานไม่ได้อยู่ดี บางคนว่าดี บางคนว่าไม่ดี ทั้งๆที่เลนส์รุ่นเดียวกันทุกอย่าง แต่กับเรื่องรถยนต์ คนขับเบนซ์ บีเอ็มดับเบิ้ลยู ทุกคนพูดเป็นเอกฉันท์ว่า “ดี” แต่ทำไมกับเลนส์ถึงได้มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย แบ่งค่ายเลนส์ แล้วมารบกันว่าเลนส์ค่ายนี้ก็บอกนี้ีดีกว่า
เพราะว่า รถเบนซ์นั้น เป็นสินค้าสำเร็จรูป มาตรฐานออกจากโรงงาน มีการให้ test drive ทุกอย่างมีรูปธรรมที่จับต้องได้ว่า งานตกแต่งแต่ละชิ้นนั้นปราณีตเรียบร้อยแค่ไหน มีฟังก์ชั่นอะไรให้บ้าง หรูหราแค่ไหน ลองขับให้ฉ่ำอุรา ขับมันทุกค่าย พอใจสมรรถะคันไหนก็จ่ายเงินแล้วเอารถกลับบ้าน
แต่แว่นตาไม่ใช่ของสำเร็จ แต่มันเป็นวัตถุดิบ ที่ต้องอาศัยการปรุง การปรับแต่ง จากหมอที่ตรวจหาค่าสายตาที่ถูกต้อง ช่างแว่นตาที่ฟิตติ้งให้ได้เซนเตอร์ถูกต้องรวมถึงค่าพารามิเตอร์ต่างๆที่จะเป็นในการออกแบบเลนส์ เพื่อส่งสเป็คให้ผู้ผลิตเขาออกแบบเลนส์ตามค่าที่เราตรวจได้ ได้เลนส์มาแล้วก็ต้องมาประกอบเลนส์เข้ากรอบให้ได้เซนเตอร์ และดัดให้ได้มุมที่ถูกต้อง ถึงจะเกิดเป็นแว่นโปรเกรสซีฟดีๆ 1 คู่
พูดอีกนัยก็คือว่า เลนส์รุ่นเดียวกัน ชื่อเดียวกัน เทคโนโลยีเดียวกัน ผลิตพร้อมกัน แต่ใส่ไม่เห็นสบายเหมือนกัน เพียงเพราะว่าตัวแปรที่ input เข้าไปนั้นไม่เหมือนกัน ซึ่งบ่อยครั้งที่ผมแก้ปัญหาการมองเห็นให้คนไข้้ด้วยเลนส์รุ่นพื้นฐานราคาไม่แพง กลับได้ประสิทธิภาพกว่าเลนส์เลนส์เดิมที่ทำมาเป็นแสน (หรือหลายแสน) เพียงเพราะค่าสายตาเดิมที่อยู่บนเลนส์ราคาแสนแพงนั้นไม่ใช่ค่าสายตาที่ถูกต้องเท่านั้นเอง ได้ยินแล้วน่าตกใจเพราะทุกคนก็ต้องคิดว่า แพงแล้วต้องดีสิ ! ใช่ครับสำหรับรถยนต์หรือสินค้าสำเร็จ แต่ไม่ใช่กับเลนส์ที่ต้องอาศัยการตรวจวัดสายตาที่แม่นยำ ซึ่งเรื่องนี้คนที่เชี่ยวชาญจริงๆ จะรู้ว่าการตรวจสายตานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่คนที่คิดว่าง่ายส่วนใหญ่พูดเพราะไม่รู้ ก็เลยคิดว่าง่าย
ดังนั้นเลนส์ดีไม่ดี อย่าพึ่งไปโฟกัสที่รุ่นของเลนส์ หรือ แบรนด์ของเลนส์ แต่ให้โฟกัสที่ เรารีดเค้นประสิทธิภาพของเลนส์ในแต่ละรุ่นออกมาให้เต็มที่ได้มากน้อยแค่ไหน
ผู้บริโภคที่จ่ายค่าเลนส์ไปนั้น เขาอาศัยความเชื่อใจล้วนๆว่า เราคงจะทำดีให้เขา บางคนแพงขนาดไหนก็จ่าย เพราะความเชื่อใจ บางคนต้องเขย่งจ่ายเพื่อหวังว่าให้ได้ของดี บ้างนึกว่าเลนส์ที่มีชื่อเสียงดีแล้วคงจะดี โดยก็ไม่มีทางรู้ว่าเป็นการคาดหวังที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงและไม่มีทางรู้ได้เลยว่าตนจะได้รับประสิทธิภาพจากมันเต็มที่แค่ไหน จ่าย 100 แล้วได้เท่าไหร่ไม่มีทางรู้เลย
เคยถามตัวเองไหมว่า เลนส์โปรเกรสซีฟที่ใช้งานอยู่ทุกวัน เราได้ประสิทธิภาพการใช้งานจากมันมากี่เปอร์เซนต์
นี่แหล่ะคือสิ่งที่ผมอยากจะบอกว่า รถไฮเอนด์กับเลนส์ไฮเอนด์นั้น เปรียบเทียบกันยาก เพราะมันคือการเปรียบเทียบส่งของสมบูรณ์แบบสำเร็จรูป ซื้อมาใช้งานได้เลย กับของไฮเอนด์ที่ต้องอาศัยศักยภาพของมนุษย์ในการ input ตัวแปรเข้าไปแล้วสร้างมันขึ้นมา ก็อยู่ที่ว่า human ที่ทำงานนั้น มีความเป็น professional มากน้อยแค่ไหน
"แต่คนส่วนใหญ่มองไม่เห็นเรื่องนี้ เพราะมัวแต่เทียบราคาจาก lens pricelist ว่าใครจะลด % มากกว่ากัน"
แว่นที่ทำให้คนไข้ใส่อยู่นั้น จะมั่นใจได้อย่างไรว่า คนไข้ได้ประสิทธิภาพจากเลนส์ที่เขาใช้อยู่อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย แล้วจะมีเครื่องมืออะไรบ้างที่สามารถเช็คว่าคนไข้เขาได้รับประสิทธิภาพเต็มร้อย ตามที่ผู้ผลิตตั้งใจออกแบบมา หรือ claim มาว่ามันดีอย่างนั้นอย่างนี้
คอมพิวเตอร์วัดสายตาที่เคลมว่าละเอียดได้ถึง 0.01D ใช่ครับ ผมคงไม่ได้เถียงว่ามันไม่ละเอียด แต่มันไม่ได้เคลมว่ามันถูกต้องนะ แค่ละเอียดเฉยๆ ขอให้เข้าใจให้ตรงกัน จะได้ไม่ไปโกรธเครื่องคอมพิวเตอร์ราคาแพงที่อุตส่าห์ลุงทุนมา ว่าทำไมวัดได้ละเอียดถึง 0.001D แล้วพอใช้งานจริงกลับใช้ไม่ได้
เพราะคอมพิวเตอร์ทำงาน subjective test ไม่ได้ ให้รอว่าเมื่อไหร่ที่ AI อ่านใจมนุษย์ได้ ค่อยว่ากัน ถ้าความละเอียด 0.001D แปลว่าถูกต้อง งั้นทดลองวัดค่าที่ได้ออกมาแล้วสั่งเลนส์เลยครับ ไม่ต้องไปแก้ไข จะได้เข้าใจสิ่งที่ผมกำลังหมายถึง คือให้กลับไปพึ่งพาการตรวจสายตาด้วยตัวเองให้เชี่ยวชาญก่อนที่จะไปพึ่งพาอาศัยเครื่องช่วย อย่าพึ่งเครื่องทั้งที่ยืนด้วยสองขาตนเองยังไม่มั่นคง
การเคลมเลนส์โปรเกรสซีฟ เมื่อคนไข้ใช้งานแล้วมีปัญหา ด้วยการอัพเกรดรุ่นเลนส์ให้สูงขึ้น โดยที่ยังไม่มั่นใจเลยว่าค่าสายตาที่ตัวจ่ายไปนั้น ถูกต้องหรือไม่ เป็นความเสี่ยง เพราะนอกจากมันอาจจะไม่ช่วยแล้ว ยังทำความคาดหวังของผู้บริโภคนั้นเพ่ิมขึ้น
ดังนั้นการขายฝันว่า โครงสร้างที่แพงแล้วมันจะกว้างเพิ่มขึ้นในสัดส่วนอย่างที่คิด เช่นจ่ายเพ่ิมเท่าหนึ่ง โครสร้างก็ต้องดีขึ้นเท่าหนึ่งสิ ความจริงมันไม่เป็นอย่างนั้น เช่น Impression FreeSign 3 ราคาสูงกว่า Progressiv PureLife Free ถึง 7 เท่า นั่นไม่ได้หมายความว่า โครงสร้างของ FreeSign3 จะกว้างกว่า 7 เท่า แต่มันเป็นเรื่องของสุนทรียะในการใช้งานมากกว่า
เหมือนรถสปอร์ต 4 ล้านบาท ทำความเร็วได้ 280 กม./ชม. อย่าไปคิดว่า ซื้อ La Ferrari ราคา 150 ล้าน แพงกว่า 37.5 เท่า แล้วมันจะวิ่งได้ 9,375 กม./ชม. เต็มที่ก็ 360 กม./ชม. คิดเป็นความเร็วเพ่ิมขึ้นเพียง 22% ทั้งๆที่จ่ายแพงกว่า 37.5 เท่า แต่จริงๆเขาซื้อสมรรถนะครับไม่ใช่ความเร็ว เพราะรถบุโรทั่ง วางเครื่องใหม่ ว่ิงได้ 300 กม./ชม. สบายๆ แต่มันไม่มีความสเถียรภาพและไม่มีความสุนทรียะ
เช่นเดียวกันกับเลนส์ดีๆนั้นเขาซื้อเอาสุนทรียะในการสวมใส่ ไม่ใช่แค่ใส่เอาชัดเพียงอย่างเดียว แต่ถ้าสายตาที่มันไม่ถูกต้องแล้วจะเอาความกว้าง ความสบายมาจากไหน ความสุนทรียะมาจากไหน ดังนั้นอย่าไปเพ้อเจอตามลมปาก supplier ว่า รุ่นนี้มันจะกว้างอย่างนี้อย่างนั้น สบายตาอย่างนี้อย่างนั้น ถ้าคิดแบบนี้ก็จะเจ็บตัวไม่ช้าก็เร็ว
ดังนั้น value ของเลนส์นั้นไม่ได้อยู่ที่ใช้เลนส์รุ่นอะไร แต่ value นั้นอยู่ที่ แก้ปัญหาสายตาและระบบการมองเห็นอย่างไรดูจะถูกต้องกว่า
ดังนั้นในการทำงานด้านคลินิก เราต้องมุ่งสู่การเพิ่มศักยภาพในการตรวจมากกว่าไปมุ่งเพิ่มเทคนิคการเชียร์ขายเลนส์เพื่อปิดยอดรายเดือน
ซึ่งผมเห็นมาก็มากกับร้านใหญ่ที่ทุ่มงบมหาศาลกับการแต่งร้านและทำเลร้าน แต่พอจะซื้อ slit lamp สักตัว เอามาช่วยวินิจฉัยความผิดปกติของดวงตานั้น ทำไมทำใจซื้อกันไม่ได้ จริงๆนะ จริงๆก็ไม่ได้มีอะไรเพียงแค่ตั้งข้อสังเกต ว่าเรากำลังหลงทางกันอยู่หรือเปล่า ว่า "เราเปิดร้านแว่นตาขึ้นเพื่ออะไร" เพื่อตรวจตาให้ดี ให้สุขภาพตาของประชาชนได้รับการบริการที่ดี จริงหรือเปล่า ถามใจตัวเองดู
อันนี้ติเพื่อก่อนะ...โกรธในใจได้ แต่เอาไปขบคิดด้วยก็ดีครับ ยาวเลยวันนี้ นานๆโพสต์สักที บางคนบอก “ปากหมาเหมือนเดิม” ฮา...น้อมรับโดยสดุดีครับ เพื่อให้เรื่องสายตาเป็นเรื่องสุขภาพ ก็ต้องยอมให้นักธุรกิจด่าครับ
~ดร.ลอฟท์~