เรื่องโดย ทัศนมาตร สมยศ เพ็งทวี ทม.,(O.D.)
เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2561
คนไข้ชาย อายุ 41 ปี มาด้วยอาการแว่นที่ใส่อยู่ปัจจุบันซึ่งเป็นเลนส์ระยะเดียวรู้สึกมึนๆ ไม่ค่อยชัด แสบตากลางวัน และมีแสงฟุ้งเวลากลางคืน ส่วนดูใกล้พอมองเห็น มีเงาซ้อนๆและถ้าใช้ไปสักระยะจะเริ่มปวดศีรษะด้านขวา มักเป็นช่วงบ่ายๆ เย็น ๆ เป็นหนักๆมา 4-5 เดือน ความปวดเกรดให้ 4/10 มักปล่อยให้หายเอง ไม่ทานยา
ใช้แว่นสายตาตั้งแต่เรียนเรียนมัธยม แว่นปัจจุบันที่ใช้อยู่ ใช้งานมา 2 ปี เป็นแว่นสายตาสั้น สำหรับมองไกล ปัจจุบันมองไกลเริิ่มมัว อ่านหนังสือรู้สึกว่าเริ่มต้องเพ่ง และปวดตาหลังจากดูใกล้ไปสักระยะหนึ่ง ส่วนใหญ่ก็จะถอดแว่นเวลาดูใกล้ สบายตากว่า
สุขภาพแข็งแรง ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
ใช้สายตาทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นหลักมากกว่า 12 ชั่วโมง/วัน
Preliminary eye exam
PD 34.5/33.5
VAsc : OD 20/150 ,OS 20/150
OD -2.25 - 0.75 x 115 VA 20/20
OS -2.00 -1.25 x 75 VA 20/20
OD -1.75 - 1.00 x 97 VA 20/15+2
OS -1.75 - 1.37 x 73 VA 20/15+2
OD -1.75 - 1.12 x 97 VA 20/10
OS -1.75 - 1.37 x 67 VA 20/10
Distant 6 m.
horz.phoria : 1 BI exophoria w/ VonGrafe technique
BI-reserve : 4 / 8 / 2
Vertical Phoria : no - vertical phoria
Near 40 cm
Horz.phoria : 3 BO esophoria
BCC +1.25
NRA/PRA : +1.00 /-1.00
OD -1.75 - 1.12 x 97 VA 20/10
OS -1.75 - 1.37 x 67 VA 20/10
2. progressive additional lens :
Rx Add +1.25
3. คิดว่าไม่จำเป็นต้องแก้มุมเหล่เข้าซ่อนเร้นขณะดูใกล้ และเชื่อว่า ระบบ binocular จะกลับมาทำงานสมดุลเป็นปกติ ใน 2 เดือน นัดให้คนไข้มาตรวจ ถ้ามีเวลา
เรื่องเคสสำหรับเคสนี้ไม่ได้มีอะไรที่ซับซ้อนมากนัก คนไข้มีสายตาสั้น สายตาเอียง และด้วยอายุเลนส์ตาก็จะเริ่มศูนย์เสียกำลังเพ่งตามอายุ ไม่มีปัญหากล้ามเนื้อตา เพียงจ่ายโปรเกรสซีฟก็แก้ปัญหาการมองเห็นได้ไม่ยาก ทั้งความคมชัดระดับ VA 20/10 ชาร์ตผมก็ไม่ได้มีเล็กกว่านี้ และก็ไม่ได้ over minus ซึ่งเช็คทั้งจาก retinoscope / NRA/BI-reserve เชื่อได้ว่าปัญหาที่คนไข้เป็นทั้งหมดจะหายไป
แต่มีอยู่นิดเดียวที่น่าสนใจสำหรับเคสนี้ เวลาที่เราเจอตาเหล่เข้าซ่อนเร้นเฉพาะขณะดูใกล้ ในคนไข้ prepresbyopia หรือพึ่งจะเริ่มเข้าสู่ภาวะสายตาคนแก่นั้น ไม่ต้องตื่นเต้น เพราะพบได้อยู่เรื่อยๆ
ธรรมชาติของคนที่เริ่มเข้าสู่ภาวะ presbyopia ซึ่งเป็นช่วงที่ accommodation อยู่ในสภาวะกระวนกระวาย ว่าจะพอแหล่ไม่พอแหล่ ทำให้ Accommodative convergence /Convergene (AC/A) เริ่มรวม (นึกถึงคนจะจมน้ำ มักจะใช้แรงในการดันตัวเองให้พ้นน้ำเกินความจำเป็น) ดังนั้น Accommodation ที่ยังเหลืออยู่ช่วงนั้น ถ้าถูกกระตุ้นให้ทำงาน ก็มีแนวโน้้มว่า accommodative convergence จะ over responds ทำให้มีแนวโน้มว่าจะมี esophoria @ near อยู่ในช่วงสั้นๆ จากนั้นก็จะ shift ไปทาง exophoria และหลังจากนั้น ความสัมพันธ์ของ AC/A ratio จะขาดลง ทำให้ AC กับ A นั้นอิสระต่อกัน เราจึงไม่ค่อยสนใจจะตรวจ AC/A ratio ในคนไข้ที่เป็น presbyopia
อ่าน AC/A ratio เพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์ที่แนบมาครับ : http://www.loftoptometry.com/AC/A ratio สะพานเชื่อมการทะงานระหว่างเลนส์แก้วตากับกล้ามเนื้อตา
อีกเรื่องก็คือเนื้อเลนส์ที่ใช้คือเนื้อ trivex
Trivex เนื้อ trivex นั้นเป็นเนื้อที่คิดค้นด้วย บริษัท PPG ซึ่งเป็นผู้คิดค้นเนื้อ CR-39® index 1.5 ซึ่งเป็นเนื้อพลาสติกในตำนาน ที่เป็นมาตรฐานเนื้อพลาสติก index 1.498 (1.5) ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเลนส์สายตา ด้วยคุณสมบัติที่ดีคือมีค่าความใส หรือ abbe’ value สูงเท่ากับกระจกคือ abbe’ 59.3 และมีค่า density 1.31 g/cm3
ดังนั้นเนื้อพลาสติก 1.5 แท้ๆที่เป็น CR-39 นั้น ยังมีราคาสูง เพราะมีค่าของลิขสิทธ์ จึงมีเนื้อใหม่เรียกว่าเลนส์ middle index ซึ่งพบในเลนส์จีนที่มีราคาถูก และนำไปใช้กับเลนส์กลุ่ม budget ทั้งหลาย
Trivex® เป็นอีกผลิตภัณฑ์เรือธงหนึ่ง ของ PPG มีลักษณะที่ดีทุกประการ มี index 1.53 ซึ่งให้ความบางที่มากพอสำหรับค่าสายตาที่ไม่เกิน +/-3.00D , Abbe’ 45 ซึ่งจัดว่าเป็นเลนส์เหนียวที่มีค่าความใสสูงกว่าเลนส์เหนียวชนิดอื่นๆ , UV400 ที่มีมาตั้งแต่เกิด โดยไม่ต้องย้อมยูวี เพราะตัวเนื้อเลนส์สามารถ absorb UV400 ได้ด้วยตัวเอง ทำให้เลนส์ไม่เหลืองจากการย้อมสารกันยูวีเหมือนเนื้อชนิดอื่น , ทนต่อตัวทำละลาย เช่น alcohol หรือ acetone ต่างจาก polycarnonate ที่เดือดเป็นฟองเมื่อเจอ acetone เหมือนแผลเจอ hydrogenperoxide ,และมีความเหนียวในระดับ sefty lens และด้วยความเหนียวพิเศษนี้เอง ที่แม้ Tvx จะมี index เพียง 1.53 แต่สามารถทำเลนส์ให้บางใกล้เคียง 1.6 เนื่องจากสามารถ ยอมให้ center thickness บางลงได้มากกว่าเลนส์ชนิดอื่น
จากโปรแกรมคำนวณความหนาบางเลนส์ จากค่าสายตาเดียวกัน ขนาดกรอบเดียวกัน ระหว่าง trivex index 1.53 กับ MR-8 1.6 จะเห็นได้ว่า trivex นั้นทำ center thickness บางลงได้ถึง 1.4 มม ในขณะที่ MR8 นั้นได้บางสุดแค่ 1.6 มม เพราะเป็นเรื่องของ sefty ทำให้น้ำหนักโดยรวมของเลนส์นั้น Tvx เบากว่า ถึง 20% ในขณะที่ความหนานั้นแทบไม่ต่างกัน
ข้อเสียนั้นมีอยู่เรื่องเดียว ด้วยความที่ trivex นั้นเป็นเลนส์ที่ติดลิขสิทธิ์ของ PPG ดังนั้น ผู้ผลิตเลนส์จากค่ายเลนส์ต่างๆ ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับ PPG by product แต่เนื่องจากเลนส์แต่ละรุ่นนั้นให้ margin ไม่เหมือนกัน ดังนั้น PPG จะเก็บค่าลิขสิทธิ์ในระดับคงที่ไม่ได้ เรื่องอะไรที่จะเอาวัตถุดิบไปเพ่ิมมูลค่าโดยไม่แบ่ง ดังนั้นถ้าเลนส์รุ่นที่จะนำไปทำมีราคาสูง PPG ก็ต้องคิดสูงตาม
ผลก็เลยมีให้สั่งได้อยู่รุ่นเดียวคือ Rodenstock Progressiv PureLife Free 2 ซึ่งเป็นเลนส์รุ่นที่ใช้งานได้ดีในระดับหนึ่งสำหรับผู้เริ่มต้นใช้โปรเกรสซีฟ และมีอยู่ในเลนส์ชั้นเดียวคือ Perfalit Trivex 1.53 แต่เนื่องจากมีราคาที่สูงกว่าเนื้อ 1.60 ทำให้ไม่มีโอกาสได้จ่ายมากนั้น เว้นแต่ต้องการได้เลนส์ sefty จริงๆ ค่ายเลนส์ที่มีจำหน่ายในบ้านเรา เห็นจะมีแค่ Rodenstock และ TOG (thai optical group)
ก็เลยนำมาเล่าสู่กันฟัง
~Dr.Loft~
PRODUCT
Lens : Rodenstock Progressiv PureLife Free2 ,Trivex 1.53 w/ Solitair protect plus 2
Frame : Lindberg Spirit 2344