case study 13 ที่นำมาเล่าให้ฟังกันในวันนี้ เป็นเคสที่น่าสนใจเกี่ยวกับการติดตามการเพ่ิมขึ้นของสายตาสั้นในเด็กคนหนึ่งซึ่งผมได้มีโอกาสได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปี และอยากจะนำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ และจากเคสนี้ทำให้ผมต้องไปหาข้อมูลงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงของสายตาในแต่ละวัย ซึ่งผมได้เขียนไปแล้วในบทความตามลิ้งที่แนบมาซึ่งเป็นตอนที่ 1 ซึ่งท่านที่สนใจก็กดคลิ๊กลิ้งเข้าไปอ่านได้นะครับ
เมื่อต้นปี 62 ที่ผ่านมา คนไข้ เด็กหญิง อายุ 14 ปี มาด้วยอาการแว่นเดิมเริ่มไม่ค่อยชัด คุณแม่พามาทำแว่นสำรอง
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2560 คุณแม่พาลูกสาว วัย 12 ปี มาตรวจสายตา เพราะทางโรงเรียนสังเกตเห็นเด็กต้องหยีตาเวลามองกระดานดำ จึงบอกผู้ปกครองให้พาเด็กไปตรวจสายตาดูว่า เด็กมีสายตาสั้นหรือเปล่า
เนื่องจากเด็กไม่เคยใส่แว่นมาก่อน คนในบ้านก็ไม่มีใครมีความผิดปกติของสายตาสั้นจึงไม่ได้คิดสงสัยว่าเด็กจะสายตาสั้น พอได้ทราบเรื่องจากทางโรงเรียน ก็พาไปตรวจสายตา แต่เนื่องจากอยู่ต่างจังหวัด ไม่่ค่อยมีร้านให้เลือกมากนัก แวะตรวจสายตามา 4 ร้าน ในวันเดียวกัน ใช้ระบบวัดสายตาด้วยคอมพิวเตอร์เหมือนกันแต่ละที่ได้ค่าสายตามาไม่เหมือนกัน ทำให้คุณแม่ยิ่งกังวลไปกันใหญ่ เพราะนอกจะเป็นแว่นครั้งแรกของลูกแล้ว แต่ละที่ก็บอกค่าสายตาไม่เหมือนกัน จึงเริ่มหาข้อมูลและตัดสินใจพาลูกสาวขึ้นมากรุงเทพ
Cover Test : XP ,Ortho’
OD -4.00 -0.50 x180 VA 20/20
OS -4.25 -0.50 x 180 VA 20/20
OD -4.25 -0.75 x175 VA 20/20
OS -4.50 -0.37 x 10 VA 20/20
OD -4.00 - 0.50 x 175 VA 20/20
OS -4.25 - 0.37 x 10 VA 20/20
Assessment (ครั้งที่ 1)
Compound myopic astigmatism
Full Correction : single vision lens (Rodenstock Perfalit 1.6)
OD -4.00 - 0.50 x 175 VA 20/20
OS -4.25 - 0.37 x 10 VA 20/20
OD -4.25 -0.75 x180
OS -4.75 -0.75 x 180
OD -4.50 -0.75 x170
OS -4.75 -0.50 x 10
OD -4.25 -0.62 x 170
OS -4.75-0.37 x 5
Plan : Full Correction with Single vision lens
OD -4.25 -0.62 x 170
OS -4.75 -0.37 x 5
Discussion
ผ่านไป 6 เดือน สายตาสั้นเพ่ิ่มขึ้น -0.25 สำหรับตาขวา และซ้ายเพ่ิมขึ้น -0.50D ส่วน Cylinder นั้นเกือบคงที่ มีเพียงองศาเอียงที่ขยับเล็กน้อย คิดว่าเกิดจากเด็กเริ่มเข้าใจการตรวจ ไม่ตื่นเต้นกับห้องตรวจ ทำให้การลงในรายละเอียดสเกลทำได้ละเอียดขึ้น
Subjective Refraction
OD -4.75 -0.87 x 175 VA 20/20
OS -5.50 -0.50 x 10 VA 20/20
BVA (on phoropter )
OD -4.75 -0.87 x 170 VA 20/20
OS -5.00 -0.50 x 10 VA 20/20
BVA (trial frame )
OD -4.75 - 0.62 x 175 VA 20/20
OS -5.00 - 0.50 x 10 VA 20/20
Discussion
หลังจากผ่านไป 1 ปี จากครั้งที่สองพบว่าสายตาสั้นเพ่ิมขึ้น -0.50D สำหรับตาขวาและ -0.25D สำหรับตาซ้าย ส่วนสายตาเอียงนั้นถือว่าเกือบคงที่ มีขยับขึ้นเพียงเล็กน้อย และถ้าดูจากการเพ่ิมขึ้นจากครั้งแรก ซึ่งคิดเป็น 1.5ปี พบว่า สายตาสั้นเพ่ิมขึ้น -0.75D ทั้งข้างขวาและซ้าย และสายตาเอียงค่อนข้างคงที่
ตรวจครั้งที่สี่ 27 /1/2562
Subjective Refraction (Monocular)
OD -5.75 -1.25 x 175 VA 20/20
OS -6.25 -1.00 x 10 VA 20/20
Subjective Refraction (Binocular ,BVA on phoropter)
OD -5.50 -1.25 x 175 VA 20/20
OS -6.00 -1.00 x 10 VA 20/20
BVA (Over refraction on trial frame w/ Retinoscope)
OD -5.50 -1.00 x 175 VA 20/20
OS -5.75 -0.75 x 15 VA 20/20
Assessment
Compound myopic astigmatism
Plan
Full Correction with single vision lens
OD -5.50 -1.00 x 175
OS -5.75 -0.75 x 15
Discussion
ผ่านไป 1 ปี (จากครั้งที่สาม) เด็สายตาสั้นเพ่ิมขึ้นอีก 3 step คือ สั้นเพ่ิม -0.75D และสายตาเอียงมีการขยับขึ้น -0.25DC ทั้งสองข้าง ซึ่งพบว่าการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นในช่วงอายุ 13 -14 ของน้องนั้นขยับค่อนข้างเร็ว แต่ร่างกายน้องก็โตขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกันเมื่อเทียบกับครั้งแรกที่มี แต่สายตาเอียงนั้น ตลอด 2.5 ปีที่ผ่านมานั้น ขยับขึ้นทั้งหมดเพียง -0.37DC จะมีเพียงองศาของสายตาเอียงที่มีการขยับไปมาเล็กน้อย เนื่องจากเป็นการตรวจแบบ subjective ยิ่งคนไข้เข้าใจการตรวจมากเท่าไหร่ ก็จะสามารถหาค่าที่ลงได้ละเอียดมากขึ้นเท่านั้น
Case Discussion Summary
เรื่องที่น่าสนใจสำหรับเคสนี้ก็คือจะเป็นเรื่องของการเพ่ิมขึ้นของสายตาสั้นในเด็กที่ผมมีโอกาสได้ตรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพบการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นและสายตาเอียงในอัตราส่วนที่แตกต่างกันไป
โดยภายในระยะเวลา 2 ปี อายุ 12 -14 ปี มีสายตาเพ่ิมขึ้น -1.50D (เฉลี่ย -0.75D/ปี) และมีสายตาเอียงเพ่ิมขึ้น -0.50D (เฉลี่ย -0.25D/ปี)
ซึ่งต้องขอชื่นชมพี่แอน คุณแม่ของน้องเมเบล ที่เอาใจใส่คุณภาพชีวิตของน้องเมเบลมากๆ ไกลแค่ไหน เดินทางลำบากแค่ไหนก็ต้องมาตรวจความเปลี่ยนแปลงของปัญหาสายตาของลูกอยู่เสมอ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของลูก
มีสิ่งถึงที่คุณแม่ของน้องถามมาคือ “อยากจะทำ LESIK” ให้ลูก ทำได้ไหม ? โดยวัย 14 ปีนี้ แพทย์คงไม่ทำให้ด้วยประการทั้งปวง เพราะเหตุว่า ร่างกายของเด็กนั้นอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงทางสรีระร่างกาย และอัตราการเปลี่ยนแปลงในช่วงนี้ถือว่าสูงสุด แน่นนอว่า ดวงตาก็เป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกายที่ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยเช่นกัน อวัยวะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสายตาในวัยที่กำลังเจริญเติบโต มีอยู่ 3 จุด คือ ความโค้งของกระจกตาเปลี่ยน ความโค้งของเลนส์ตาเปลี่ยน และระยะความยาวของกระบอกตาเปลี่ยน ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้ส่งผลมากต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าสายตา
ดังนั้นในช่วงที่ร่างกายเปลี่ยนแปลงเร็วสุดในช่วงนี้ คงไม่เสี่ยงที่จะทำ Lesik เพราะทำไปแล้ว อาจจะช่วยให้มองไกลชัดไปไม่กี่เดือน แล้วสายตาก็กลับมาสั้นต่อ และปัญหาที่มากไปกว่านั้นก็คือ กระจกตาที่เราใช้เลเซอร์เจียนัยออกไปนั้นไม่สามารถงอกใหม่ได้ บางแล้วบางเลย ทำซ้ำไม่ได้ สรุปก็คือ เลสิก ทำได้หนเดียว ทำรอบสองไม่ได้ ดังนั้นระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดก็คือค่าสายตาของเด็กนิ่งแล้ว นั่นก็คือวัยที่ร่างกายนั้นเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ประมาณ 20-22 ปี และเป็นเวลาที่เหมาะสมกับการทำเลสิกมากที่สุด
ดังนั้นเนื้อหาในวันนี้ จะเขียนควบเกี่ยวกับงานวิจัยที่ทำมาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของค่าสายตาในแต่ละวัย ซึ่งผมตัดมาเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในเด็กแรกเกิด ไปจนถึงวัยเรียน ซึ่งพยายามคงความดั้งเดิมของงานวิจัยไว้ จะได้สามารถนำไปอ้างอิงและประเมินความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลงค่าสายตาของบุตรหลานของท่าน
จริงๆผมยอมไปหาข้อมูลมาเพื่อคุณแม่ของน้องเมเบลครับ เพราะคุณแม่่นั้นกังวลเรื่องการเปลี่ยนแปลงค่าสายตาของน้องมากๆ จึงไปหาข้อมูลที่เชื่อถือได้ เป็นงานวิจัยที่รวมงานวิจัยต่างๆเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงค่าสายตาในแต่ละช่วงอายุ ทำมาเมื่อปี 2015 นี่เอง ซึ่งคิดว่าน่าจะมีประโยชน์พอสมควรกับท่านที่สนใจ
ท่านที่สนใจอ่านงานแปลงานวิจัย ผมได้เขียนมาให้แล้ว ในลิ้งที่แนบมา หวังว่าจะให้คุณแม่ของน้องมีความสบายใจ และมีประโยชน์กับคุณแม่ที่มีลูกเล็กและสายตาสั้นว่าลูกจะมีแนวโน้มที่สายตาจะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร
ท่านที่สนใจไปอ่านต่อในลิ้งด้านที่แนบมานี้ http://www.loftoptometry.com/Myopia-progressiion-relaitve-to-age
ท่านไหนที่มีบุตรหลานที่มีปัญหาสายตาอยู่แล้ว หรือ สงสัยว่าจะมี หรืออยากจะตรวจตาดีๆให้ลูกสักครั้งหนึ่ง เรียนเชิญเข้ามาตรวจวิเคราะห์ปัญหาสายตาและระบบการมองเห็นได้ที่ ลอฟท์ ออพโตเมทรีครับ สำหรับคนไข้เด็กผมตรวจวิเคราะห์ให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพราะอยากให้เด็กได้มีพัฒนาการด้านการมองเห็น และนำไปสู่การพัฒนาสมองที่ดี เรียนรู้ดู และเติบใหญ่เป็นผู้ใหญ่ที่ดีในภายหน้า
578 ถ.วัชรพล ท่าแร้ง บางเขน กทม.10220
เวลาทำการ
อังคาร - อาทิตย์ เวลา 9:00 - 18:00 น.
โทร 090 553 6554
line : loftoptometry