เรื่องวันนี้เป็นเรื่องราวของน้องผู้หญิงคนหนึ่ง น้องเป็น Programmer เขียนโปรแกรมสร้างเกมส์ฝึกสมองเด็ก ซึ่งในแต่ละวันนั้นต้องใช้สายตาในการเขียนโค้ตบนคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวันมากกว่า 10 ชม. น้องมาด้วยอาการ ภาพซ้อนทั้งมองไกลและมองใกล้ ซึ่งเป็นตลอดเวลาตั้งแต่ลืมตาตื่นจนเข้านอนตลอดเวลา 5 ปีที่ผ่านมา แต่ด้วยความรักและความสนุกกับงาน ทำให้น้องยังสามารถทนอยู่กับปัญหาภาพซ้อนของตัวเองได้ทุกวัน แต่ด้วยงานที่มากขึ้นจึงเริ่มทนอยู่กับสภาวะภาพซ้อนไม่ได้จึงเริ่มมองหาแนวทางการแก้ไขปัญหาสายตาให้ตัวเองในอินเตอร์เนต จนมาเจอบทความเกี่ยวกับภาพซ้อน ที่ผมเขียนไว้ในเว็บไซต์ loftoptometry.com จนได้มาเจอกันที่ ลอฟท์ วัชรพล
อาการที่น่าสนใจคือ น้องบอกว่า เวลาใส่แว่นเดิมที่ทำมานั้น ชัดแต่ก็เห็นภาพซ้อนชัดขึ้นด้วยเช่นกัน ปิดตาข้างหนึ่งแล้วใช้ตาเดียวมองไม่ซ้อน และถ้าถอดแว่นจะรู้สึกว่าไม่ซ้อนและสบายตากว่า ดังนั้นในการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์จึงเลือกที่จะถอดแว่นออกมากกว่า แต่เวลาออกไปข้างนอกก็จะหยิบแว่นมาใส่ ชึ่งแม้จะทรมานจากภาพซ้อน แต่ก็ดีกว่ามองอะไรไม่เห็น
ปัญหาหลักเกี่ยวกับใช้ชีวิตจริงๆเลยคือ น้องไม่สามารถขับรถเองได้เลย เพราะถ้าเหลือบไปมองด้านข้างจะเห็นรถคันเดียวมีสองคัน เห็นคนคนเดียวมีสองคน เห็นถนนเลนเดียวมีสองเลนซ้อนกันอยู่ โดยเฉพาะเวลาเหลือบไปทางขวาสุดหรือซ้ายสุด ทำให้ไม่มีความมั่นใจในการขับรถ
ปัญหาทั้งหมดของน้องก็หมดไปง่ายๆ ด้วยการ corrected ค่าสายตาให้ถูกต้อง โดยเฉพาะตาด้านขวาที่ค่าบนเลนส์เดิมที่ใช้มานั้นเกินกว่าค่าจริงสูงถึง -2.25D และจ่ายเลนส์ ปริซึม เพื่อแก้มุมเหล่ที่เกิดขึ้น ภาพซ้อนน้องหายไป ตาของน้องชัดทั้งตาซ้ายและตาขวา น้องรวมภาพได้ น้องเห็นความลึกจริงขึ้นมา
สิ่งที่ทำให้ผมประหลาดใจมากที่สุดก็คือ ก่อนแก้ปัญหาด้วยเลนส์ปริซึมนั้น Stereo ของน้องขณะเทส Stereo Fly Test ซึ่งเป็นเทสสำหรับทดสอบการมองเห็นสามมิตินั้น ขณะมอง Fly Test ซึ่งเป็นรูปแมลงวันตัวใหญ่ มีปีกขนาด 4,800 second of arc น้องยังไม่สามารถเห็นเป็น 3 มิติ ได้เลย แต่น้องกลับเห็นเป็นแมลงวัน 2 ตัวซ้อนกันอยู่แบนๆ แต่หลังรับแว่นไปแล้ว น้องสามารถเห็น randot stero test ได้ถึง 20 second of arc เลยทีเดียว (ซึ่งเป็น scale ที่เล็กที่สุดใน Stereo Fly test chart และในทางคลินิกนั้น 40 sec or arc ก็คือว่า ผ่านเกณฑ์ทางคลินิกแล้ว ดังนั้นเลนส์ปริซึมคู่นี้ ช่วยให้คุณภาพชีวิตของน้องดีขึ้น ดีจนผมอยากจะนำมาเล่าให้ฟังในวันนี้ ยากจะทราบกันแล้วใช่ไหม
คนไข้หญิง วัย 27 ปี มาด้วยอาการภาพซ้อน ซึ่งรูปแบบในการซ้อนนั้นเป็นลักษณะที่ซ้อนบนล่างแบบเฉียงๆ ซึ่งเป็นมา 5 ปี
ไม่เคยไปพบจักษุแพทย์มาก่อน เคยไปวัดสายตากับร้านแว่นตามาเมื่อ 1 ปีก่อน ซึ่งเป็นแว่นที่ใส่อยู่ปัจจุบัน ซึ่งมีปัญหาคือใส่มองไกลชัดแต่เป็นภาพซ้อน ส่วนดูใกล้ก็ซ้อนอยู่ ปัจจุบันจึงใส่เฉพาะมองไกล แต่ส่วนตัวก็ยังรู้สึกว่า ตาเปล่าก็ยังมองไกลเห็น และไม่ใส่แว่นก็มองใกล้เห็น แต่แค่รู้สึกว่าใส่แว่นแล้วชัดกว่าจึงใส่มองไกลทุกวัน และเรื่องภาพซ้อนนั้น ถ้าถอดแว่นกลับรู้สึกว่าซ้อนน้อยกว่าด้วย แต่ก็ไม่ค่อยชัด
เริ่มใส่แว่นครั้งแรกตอนอายุ 17 ปี แว่นที่ใส่อยู่ปัจจุบันทำมาจากร้านแว่นตาเมื่อ 2 ปีก่อน นำไปเช็คค่าด้วย lensometer ได้ค่ามา
R -2.50 VA 20/40
L -2.50 VA 20/25
ไม่มีประวัติอุบัติเหตุทางศีรษะหรือดวงตา หรือ โรคต่างๆที่เกิดขึ้นกับดวงตา
สุขภาพแข็งแรง ตรวจสุขภาพประจำทุกปี ไม่มียาที่ทานประจำ
เป็นโปรแกรมเมอร์ ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์วันละมากกว่า 10 ชม.
PD 27/28
VAsc (w/o correction)
OD 20/40-2
OS 20/200
VAcc (w/ habitual correction)
R -2.50 VA 20/40
L -2.50 VA 20/25
Version : SAFE but Diplopia w/o pain all gaze esp. at lateral gaze left & right.
Cover/Uncover test : no tropia
Alt.CT : large Esophoria both far & Near ; 16 BO@ distant / 10 BO@near (by prism bar on habitual correction)
OD -4.00 -0.50 x 141
OS -5.12 -0.38 x 176
OD -0.50 - 0.50 x 90 VA 20/20
OS -2.75 -0.25 x 90 VA 20/20
OD -1.00 -0.62 x 105 VA 20/20
OS -3.00 -0.50 x 90 VA 20/20
Binocular Diplopia : ขณะที่ทำ monocular subjective ของตาแต่ละข้างเสร็จแล้ว โดยทั่วไปแล้วขั้นตอนต่อไปคือการทำ Binocular Balancing แต่ในเคสนี้ไม่สามารถทำตามขั้นตอนปกติได้เนื่องจากคนไข้เห็นเป็นภาพซ้อน จึงต้องหามุมเหล่ และแก้มุมเหล่เพื่อให้คนไข้สามารถรวมภาพเป็นภาพเดียวกันได้ก่อนแล้วจะค่อยกลับมาทำ Balancing
ซึ่งวิธีทดสอบที่ง่ายและสะดวกที่สุดก็คือ Von Graefe’s technique และ confirmation test ด้วย maddox rod ซ้ำอีกที และทดสอบการรวมภาพด้วย worth-4-dot test ซึ่งได้ค่าที่ทำให้ภาพไม่ซ้อนสำหรับการทำ Binocular balancing คือ 12 BO + 1.5BUOS
เมื่อภาพไม่ซ้อนแล้ว จึงกลับมาทำ BVA ซึ่งขณะทำ BVA ก็ใส่ปริซึม 12 BO + 1.5BUOS คาเอาไว้บน phoropter ด้วย ได้ BVA ออกมาบน phoropter ที่
OD -0.50 -0.62 x 105 VA 20/15
OS -2.50 -0.50 x 90 VA 20/15
และทำ Fine tuning บน trial frame ออกมาได้ที่
OD -0.25 -0.75 x 105 VA 20/15
OS -2.50 -0.50 x 90 VA 20/15
Horz.Phoria ; 11.5 prism base out esophoria w/ Von Graefe’s technique (มุมเหล่เข้าซ่อนเร้นขณะมองไกล 11.5 ปริซึม ในขณะที่ค่า norm นั้นเป็น “ศูนย์”)
BI - vergence = -/-6/-7 ; Double vision (diplopia) Recovery @ 7 prism base out and start brake again @ 6 base out
Vertical Phoria : 1.5 BUOS (Right Hyperphoria)
Worth 4 dot : Diplopia and Fusion @ 12 BO + 1.5BUOS
Maddox Rod : 12 BO / 1.5 BUOS
Horz.phoria : 7 prism base out esohphoria
AC/A ratio ; 2:1
ศึกษา AC/A ratio เพิ่มเติมได้จาก link : https://www.loftoptometry.com/whatnew/AC/A ratio
Vert. Phoria : 2 BUOS
เหล่ซ่อนเร้นในแนว vertical ก็ยังมีให้เห็นแม้มองใกล้
BCC +0.25
BCC ต่ำ แสดงถึงฟังก์ชั่นการทำงานของระบบเพ่งของคนไข้นั้นยังทำงานได้สมบูรณ์ดีอยู่
NRA/PRA : +2.50 /-2.00
1.compound myopic astigmatism
2.Divergence Insufficiency
3.Hyperphoria (Right-hyper)
OD -0.25 -0.75 x 1050
OS -2.50 -0.50 x 90
Rx 7 prism base out ( 3.5BOOD/3.5BOOS)
Rx : 1.5 prism (0.75 BDOD/ 0.75 BUOS)
เดิมทีผมยังรู้สึกกังวลเล็กๆกับ full correction ครั้งนี้ เพราะรู้สึกว่า เต็มทั้งสายตาสั้น / เอียง และปริซึมทั้งแนว vertical และ Horizontal ที่หนักเอาเรื่อง จะทำให้คนไข้รู้สึกไม่สบายตา ปวดตา หรือต้องปรับอะไรหรือไม่
แต่เมื่อรับแว่นจริง เราไม่ได้พูดถึงเรื่องที่กังวลนั้นเลย เพราะคนไข้ได้แต่ยิ้ม และพูดว่าชัดจัง ไม่เคยเห็นต้นไม้มีใบไม้ที่เรียงลึกแบบนี้มาก่อน เพราะเดิมเห็นก็เหมือนภาพแบนๆ เหมือนรูปต้นไม้ในกระดาษ แต่ไม่มีความลึก เหลือบขวาสุดซ้ายสุดภาพซ้อนก็ไม่เกิดแล้ว อ่านหนังสือชัดเจน ไม่ว่ามองด้วยตาแต่ละข้างหรือมองพร้อมกันทั้งสองตา
แต่ที่น่าสนใจกว่าอะไรก็คือ คนไข้สามารถทำเทส Fly Stereo Test ซึ่งเป็น stereo test นั้นสามารถเห็นได้เล็กสุดถึง 20 second of arc ด้วยแว่นใหม่นี้ ซึ่งถ้า retinal image ไม่ prefect , binocular function ไม่ perfect และ sensory system ไม่ perfect แล้ว เป็นไปไม่ได้เลยที่จะสามารถเห็น stereo ที่มีมุมเล็กขนาดนี้ได้
แน่นอนว่าผมรู้สึก proud ในเคสนี้มากมาย มันเป็นความสุขที่เป็นเหมือนพลังหล่อเลี้ยง passion ในการทำงานด้านทัศนมาตรให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการวัดสายตา ดังที่ได้เขียนไว้ในบทความที่แล้วที่ว่า 30 ปี เครื่องคอมพิวเตอร์วัดสายตาไปได้ไกลแค่ไหน ใครอยากทราบคำตอบก็ไปอ่านต่อได้ที่ลิ้ง https://www.loftoptometry.com/whatnew/view/138 ซึ่งจากเคสนี้ค่าจากคอมพิวเตอร์นั้น ผิดไปจากค่าจริงมาก คือ
OD -4.00 -0.50 x 141
OS -5.12 -0.38 x 176
ขณะที่ค่าจริงได้ตรวจออกมาได้เพียง
OD -0.25 -0.75 x 105 VA 20/15
OS -2.50 -0.50 x 90 VA 20/15
ซึ่งแทบไม่ต่างจากค่าที่ได้จาก retinoscope ซึ่งเป็นค่าเริ่มต้น คือ
OD -0.50 - 0.50 x 90 VA 20/20
OS -2.75 -0.25 x 90 VA 20/20
คำถามว่า ทำไมคอมพิวเตอร์วัดสายตาถึงประเมินได้ผิดพลาดมากมายขนาดนั้น ความมคิดส่วนตัวของเรื่องนี้ผมได้เขียนไว้ละเอียดแล้วในลิ้งที่แนบมาข้างต้น ดังนั้นผมจึงไม่ได้โทษเครื่อง เพราะโรงเรียนทัศนมาตรศาสตร์รามคำแหงที่ผมเรียนนั้น คงทราบเรื่องนี้ดี จึงไม่ให้เด็กใช้เครื่องวัดสายตาคอมพิวเตอร์ตรวจขณะที่ยังฝึกตรวจในคลินิกของมหาวิทยาลัย แต่จะสามารถใช้ได้ ก็ต่อเมื่อสามารถใช้วิธีที่เป็น Gold standard อย่างเรติโนสโคปได้อย่างคล่องแคล่วแล้วเท่านั้น และในการออกค่ายบริการสายตาประชาชนนั้น เด็กๆทุกคนใช้เรติโนสโคปเป็นเรื่องปกติ เราจึงไม่ได้รู้สึกว่าชีวิตต้องพึ่งพาคอมพิวเตอร์อะไร แต่บางคนที่จบออกมาแล้ว บางทีก็ด้วยความเร่งรีบในการทำธุรกิจ ก็ละเลยที่จะหยิบออกมาใช้ เพราะเห็นว่า guideline ที่ได้จาก Auto-Refraction นั้นใช้ได้ ทำให้ทักษะในการทำ retinoscope ค่อยๆลดลง จนเกิดความไม่มั่นใจในการทำ retinoscope ของตัวเอง
แต่น่าสังเกตอย่างหนึ่งสำหรับเคสนี้ขณะทำ Auto-ref คือ ขณะที่คนไข้มอง บอลลูน ซึ่งเป็นรูปที่อยู่ในเครื่องซึ่งเป็นภาพที่หลอกสมองว่ามีความลึกอยู่ คนไข้บอกว่า เขาไม่เห็นว่ามันจะลึกตรงไหน มันก็คือภาพๆหนึ่งแบนๆเท่านั้นเอง และขณะที่บอลลูนเลื่อนเข้ามาใกล้ เขาก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันเข้ามาใกล้ เพราะว่ามันก็แค่มัวๆ เพ่งๆแล้วรูปก็ยังมัวๆ เท่านั้น ไม่ได้รู้สึกว่ามันลึกเป็นสามมิติอะไรอย่างที่ผมบอก ซึ่งเป็นลักษณะที่ perspective ในคอมพิวเตอร์วัดสายตานั้น หลอกคนไข้คนนี้ให้เลนส์ตาคลายตัวไม่ได้ ค่าจึงเกินมามากดังกล่าว ดังนั้นเรื่องนี้ให้ระวัง เพราะ perspective image ที่สร้างเป็นความลึกหลอกขึ้นมานั้น อาจจะหลอกคนไข้ไม่ได้ทุกคน ทำให้ค่าที่ได้มานั้น อาจจะใช้ไม่ได้เลย
ดังนั้นในความเห็นส่วนตัว Auto-refractor ควรนำไปวางให้ห่างมือเด็ก ทั้งเด็กที่เป็นคนไข้และเด็กที่กำลังศึกษาศาสตร์ของทัศนมาตรอยู่ ยิ่งเครื่องดีและแพงมากเท่าไหร่ ย่ิงต้องระวัง เนื่องจากใครๆก็ต้องคิดว่า “แพงแล้วต้องดี” แต่ไม่เสมอไปสำหรับ “สายตาของมนุษย์” ที่มีความยุ่งยากและมีปัจจัยซับซ้อนเกินกว่าที่คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ค่าที่ได้ถูกต้องทุกเคส (จริงๆไม่มีเรื่องนี้และไม่มีเรื่องที่จำเป็นต้องกล่าวถึงตั้งแต่ต้น)
แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลยสำหรับการตรวจสายตาก็คือ การตรวจ VA เพื่อหาความคมชัดของตาเปล่าคนไข้ ก่อนตรวจจริง จะช่วยลดความผิดพลาดลงได้ เช่นในตัวอย่างเคสนี้ คนไข้มี VA ตาเปล่าอ่านได้
OD 20/40-2
OS 20/200
แต่แว่นเดิมที่ทำมานั้น วัดกำลังค่าสายตาได้ค่าท่ากันทั้งสองข้างคือ -2.50D ซึ่งถ้าเราตรวจ VA คนไข้ตั้งแต่ต้น เราจะไม่จ่ายค่าแบบนี้แน่นอน เพราะก็เห็นอยู่ว่า ข้างหนึ่งมันแย่กว่าข้างหนึ่งมากๆ แล้วสายตาจะเท่ากันได้อย่างไร แต่ถ้าเราใช้ retinoscope ได้ปัญหานี้จะหมดไป
ตาเหล่(เห็นๆ)หรือ tropia กับตาเหล่ซ่อนเร้นหรือ phorai มีสิ่งที่เหมือนกันคือ ถ้าตาเขาไม่ตรง (หรือ ไม่อยากที่จะตรง) แสดงว่าตำแหน่งจริงๆของตานั้นไม่ใช่ตำแหน่งมองตรง หรือศูนย์ของตานั้นไม่ใช่ตำแหน่งมองตรง ดังนั้นตาจึงพยายามหลบหนีศูนย์เข้าสู่ตำแหน่งที่ตนเองอยากจะอยู่ตลอดเวลา ในขณะเดียวกันกล้ามเนื้อตาด้านหางตา ( lateral rectus) ก็ต้องพยายามดึงตาออกมาด้วยแรง negative fusional vergence (NFV)
ถ้ามุมเหล่มากกว่าแรงดึงกลับมากๆ (Demand >>> Supply) สมองก็จะเลือกที่ตัดสัญญาณจากตาข้างที่มีปัญหามากที่สุดทิ้ง (Suppression) ทำให้เกิดเป็นตาเหล่ขึ้นมา ซึ่งเป็นเหล่ที่เราสามารถมองเห็นได้ตาเปล่าในสภาวะปกติ เรียกกว่า tropia
แต่ถ้ามีมุมเหล่ แต่มุมเหล่นั้นยังไม่เกินแรงที่พอจะทำได้ (Demand < Supply) เราจะไม่สามารถมองเห็นคนไข้ว่าเป็นตาเหล่ในสภาวะปกติที่ระบบสองตาถูกกระตุ้นให้รวมภาพตลอดเวลา เราจึงเห็นคนตาเหล่ซ่อนเร้นนั้นดูภายนอกแล้วดูเป็นคนตาตรงปกติ แต่เมื่อ break fusion เมื่อไหร่เราก็จะเห็นว่าคนไข้มีเหล่ซ่อนอยู่ เราจึงเรียกว่าเหล่ซ่อนเร้น หรือ phoria
การ break fusion นั้นมีหลายวิธี เช่นการปิด/เปิด ตาสลับไปมา เช่นการทำ cover test (Alternate Cover Test) เพื่อดูว่าตานั้นหลบไปไหนตอนที่ตาถูกปิด หรือการใช้ filer ให้ตาขวาและตาซ้ายเห็นคนละภาพ โดยการใช้ filter เข้าไปรวบกวนตาข้างหนึ่งเช่นวิธี maddox rod test หรือจะใช้วิธี VonGraefe’s technique ก็จะใช้ปริซึมรบกวน binocular ให้เกิดมุมมากพอที่ break fusion และเมื่อได้ค่ามาแล้วก็ทดสอบการ fusion ของระบบ binocular ด้วย Word-4-dot test อีกครั้ง
ดังนั้น การตรวจตานั้น ไม่ใช่เอาแค่ชัด แต่ต้องชัดและสองตาทำงานร่วมกันได้อย่างสมดุลและสมบูรณ์ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม จะไม่มีประโยชน์อะไรเลยในการตรวจ binocular vision ทั้งๆที่ refractive error ยังไม่ได้ corected ให้ถูกต้องเสียก่อน เพราะทั้งสองระบบนี้ผูกกันอยู่ การเปลี่ยนแปลงของระบบหนึ่งจะไปรบกวนอีกระบบหนึ่ง โดยมี AC/A ratio เป็นเครื่องผูก ศึกษา AC/A ratio เพิ่มเติมได้ที่ลิ้งที่แนบมาข้างต้น
ดังนั้น คนที่ยังจ่ายสายตาให้กับคนไข้ ด้วยอ้างว่าที่จ่ายให้ผิดๆคนไข้ชินกับสายตาเก่าที่ผิดๆอยู่นั้น ไม่จำเป็นต้องพูดถึง binocular เพราะคงไม่มีประโยชน์ที่พูดถึง binoc ขณะโฟกัสยังไม่ on กับ retina ในสภาวะที่ lens ตานั้น relax
การวัดสายตาด้วยระบบคอมพิวเตอร์นั้นเป็นความเสี่ยงชนิดหนึ่งที่จะได้แว่นตาออกมามีค่าไม่ตรงกับความผิดปกติของสายตาจริง ซึ่งความคลาดเคลื่อนนั้นมักจะเคลื่อนไปในทิศทางสายตาสั้นที่มากกว่าค่าจริง (over minus) หรือสายตายาวที่น้อยกว่าค่าจริง ( under plus) และความคลาดเคลื่อนนี้จะมากยิ่งขึ้นในเด็กเล็กและเด็กโตที่กำลังเพ่งยังมีสูงอยู่ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อตา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อตาก็ย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเลนส์ตาด้วยเช่นกัน ทำให้คอมพิวเตอร์วัดสายตานั้นวิเคราะห์ค่าคาดเคลื่อนไปจากค่าจริงมาก และ วิธีที่เป็น Gold Standard ในการวิเคราะห์สายตาทางทัศนมาตรคือการทำ Retinoscopy และ Subjectve Refraction
เป็นสิ่งที่ต้องยกเครื่องกันใหม่ว่าเรื่องของการมองเห็น หรือ vision นั้นมันเป็นเรื่องที่ไปไกลกว่า ชัด หรือ ไม่ชัด เพราะชัดไม่ได้แปลว่าถูกต้องหรือปกติเสมอไป ดังนั้นการวัดสายตาเอาแค่ชัดโดยไม่สนใจระบบอื่นๆนั้น เป็นความเสี่ยงชนิดหนึ่งที่จะสร้างปัญหาหรือสร้างกรรมให้กับคนไข้ที่มารับบริการ
เรื่องที่อยากจะฝากปิดท้ายสำหรับเคสนี้ก็คงมีเท่านี้ สำหรับท่านที่อยากจะอ่านเคส Divergence Insufficiency เพิ่มเติมจาก content ที่ ดร.เดียร์ ได้เขียนเคส DI ไว้ได้อย่างน่าสนใจ ตามลิ้งที่แนบมานี้ https://www.loftoptometry.com/Eyecare/viewcase/87/12
ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่าน และ ขอให้มีพลังในการกลับไปพัฒนาอาชีพและวิชาชีพทัศนมาตรให้สามารถเป็นที่พึ่งพิงให้กับประชาชนคนไทยต่อไป
ปรึกษาปัญหาสายตาและปัญหาการมองเห็นกับ ดร.ลอฟท์
ลอฟท์ ออพโตเมทรี ถ.วัชรพล ท่าแร้ง บางเขน กทม. 10220
โทร 090 553 6554
Line id : loftoptometry
www.facebook.com/loftoptometry