บทความในวันนี้ เป็นเรื่องราวของเคสสายตายาวร่วมกับสายตาเอียงหลังการทำเลสิก ซึ่งอยากจะนำมาเล่าให้ฟัง เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ และความคาดหวัง ของสายตาหลังจากการทำเลสิกว่า เราสามารถหวังความสมบูรณ์แบบของสายตาหรือไม่มีความผิดปกติของสายตาหลงเหลืออยู่เลยหลังทำเลสิกได้มากน้อยแค่ไหน
เหตุของเรื่องนี้เกิดขึ้นมาจาก คนไข้มีประวัติทำเลสิกมาเมื่อ 5 ปีก่อน มีปัญหาหลังทำเลสิกคือ ตาขวาไม่ค่อยชัด เห็นภาพมีเงา และแสงฟุ้งในเวลากลางคืน ส่วนตาซ้ายก็มีอาการแต่น้อยกว่า ผมจึงนัดเข้ามาตรวจสายตา หลังจากตรวจละเอียดแล้วพบว่าคนไข้เป็นสายตายาวร่วมกับสายตาเอียง และแสงฟุ้ง ตัวหนังสือไม่ชัด มีเงา และแสงฟุ้งในเวลากลางคืน ก็เกิดเนื่องจากสายตาเอียงที่กลืนอยู่ในสายตายาว จริงๆก็ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่เรื่องนี้เกิดคำถามมาจากคนไข้ว่า
"ก่อนทำเลสิกเป็นสายตาสั้น แล้วทำไมหลังทำเลสิก คนไข้ถึงเป็นสายตายาว "
ซึ่งเป็นคำถามที่เกิดจากความคิดของคนไข้ว่า การทำเลสิก ผลหลังการผ่าตัดจะต้องสมบูรณ์แบบ ต้องคมชัดเป๊ะโดยไม่ต้องใส่แว่น ต้องไม่มีสายตาหลงเหลืออยู่ แต่นั่นเป็นสิ่งที่เราคิด แต่ความเป็นจริงนั้นเป็นเรื่องธรรมดาของการผ่าตัด ไม่ว่าจะผ่าตัดอะไรก็ตาม หรือแม้แต่การตรวจหาค่าสายตาเพื่อทำแว่นก็ตาม ว่าอาจมีความผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนได้ ตาม ความรู้ ประสบการณ์ และความมาตรฐานของเครื่องมือว่าจะสามารถลดความผิดพลาดได้มากน้อยแค่ไหน
และที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้ท่านที่มีแผนที่จะทำเลสิก หรือทำเลสิกมาแล้ว เข้าใจว่าการทำเลสิกกับการทำแว่นสายตานั้น หัวใจแท้จริงนั้นคือสิ่งเดียวกันคือ การแก้ไขปัญหาสายตาโดยการเจียรนัยความโค้งของพื้นผิวหักเหแสง เพื่อรวมโฟกัสให้เป็นจุดแล้วให้จุดนั้นไปตกบนจุดรับภาพพอดี(ในอุดมคติ) ต่างกันที่ เลสิกนั้นเจียรนัยเข้าไปโดยตรงที่กระจกตาด้วยเลเซอร์ ส่วนเลนส์แว่นตานั้นใช้เครื่องกัด cnc-free form แก้ไขที่ผิวของเนื้อเลนส์พลาสติกซึ่งเป็นวัสดุทำเลนส์ แล้วนำเลนส์ไปประกอบบนแว่นตา และขึ้นตอนที่สำคัญที่สุดก็คือ "ใครเป็นผู้ตรวจสายตา มีความรู้ ประสบการณ์ มากน้อยแค่ไหนในการตรวจสายตา หรือสามารถรีดสายตาออกมาได้ถูกต้องมากน้อยแค่ไหน" เพื่อนำค่านั้นไปคำนวณเพื่อตั้งเลเซอร์ หรือ เพื่อตั้งเครื่อง cnc-freeform ให้เจรียรนัยเลนส์
มันไม่ได้ง่ายแค่ว่า ก็ทำกระจกตาให้เป็น spheric surface จะได้ไม่มีสายตาเอียง เพราะอย่าลืมว่า พื้นที่หักเหแสงนั้นมีทั้งส่วนที่เป็นกระจกตา (external factor) และ เลนส์ตา ( inernal factor) และสายตาที่วัดได้คือ total (external + internal) ดังนั้น การทำเลสิกนั้นเป็นการกระทำที่ external factor ที่เมื่อ combind กับ internal แล้ว total refractive error เป็นศูนย์ ซึ่งถ้าเรามองเห็นภาพทั้งหมด เราจะรู้ได้ว่า เหตุของ error นั้นมีอยู่มากมาย และก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่จะต้องตื่นตระหนก ถ้าหลังทำเลสิกมาแล้วมีสายตาหลงเหลืออยู่บ้างในระดับที่ยอมรับกันได้ และ VA ไม่ต่ำกว่าปกติมากมายนัก
มาเข้าเรื่องเคสกันดีกว่า
คนไข้หญิง อายุ 32 ปี มาด้วยอาการ
ตาขวามองไกลไม่ชัด เห็นเป็นเงาซ้อนๆ ฟุ้งๆ กันอยู่ กลับไปวัดสายตาอยู่หลายครั้ง ก็ยังไม่สามารถทำให้ภาพซ้อนจากตาข้างขวานั้นหายไปและผู้ที่ตรวจให้แจ้งว่า อาจจะเป็นตาขี้เกียจ จึงกังวลเรื่องนี้ และอยากจะมาทราบปัญหาว่าตัวเองเป็นตาขี้เกียจจริงหรือไม่ หรือมีเหตุจากอะไรที่ทำให้คนไข้นั้นเห็นภาพมีเงาซ้อน และเกิดแสงฟุ้งในเวลากลางคืน
ตาแห้ง บางครั้งต้องหยอดน้ำตาเทียม
ตั้งแต่ทำ lesik เมื่อ 3 ปีที่แล้ว พบหมอตามนัด จนหมอบอกว่าหายปกติแล้ว ก็ไม่ได้ไปตรวจสุขภาพตาอีกเลย
+Glasses : เริ่มใช้แว่นตาครั้งแรกตอนอายุ 18 ปี ซึ่งขณะที่เริ่มใช้แว่นนั้นสายตาสั้นไม่มาก ประมาณ -0.50D แล้วก็สั้นขึ้นมาเรื่อยๆ จนกระทั่งก่อนทำ lesik นั้นสั้นประมาณ -2.00 / -3.25
+Surgery : คนไข้เคยเข้ารับการผ่าตัด lesik เพื่อแก้ไขปัญหาสายตาสั้นเมื่อปี 2014 (5 ปีที่แล้ว) หลังผ่าตัดมา แผลหายดี ก็ชัดขึ้น ไม่ต้องใส่แว่น แต่มีตาขวาที่รู้สึกว่ามองไกลยังไม่ค่อยชัดเมื่อเทียบกับตาซ้าย ต่อพอมองพร้อมกันสองตา ก็เห็นตัวหนังสือมีเงาๆ แสงไฟก็จะฟุ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลากลางคืน ตรวจสายตาดูแล้ว พยายามแก้ไขสายตาแล้วก็ยังพบว่าอาการดังกล่าวก็ยังไม่หาย และมีปัญหาตาแห้ง
+Inflammation : ตาขวานั้นอักเสบบ่อย ตาแดงง่าย เป็นตากุ้งยิงบ่อย
-infection ไม่เคยมีประวัติตาติดเชื้อ
-flash : ไม่มีฟ้าแล๊บ
-floator : ไม่มีจุดดำ หยักไย่ลอยไปมา
-trauma / injury : ไม่มีประวัติอุบัติเหตุหรือกระทบกระเทือนทางศีรษะหรือดวงตา
-HA/Diplopia : ไม่มีอาการปวดหัว หรือ ภาพซ้อนเป็นสองภาพ
สุขภาพแข็งแรง
ใช้สายตาทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน
PD 30.8/30.3
VAsc OD 20/25
OS 20/20
CT : Ortho XP’
OD +1.25 - 1.25 x 180 VA 20/20
OS +0.75 - 0.75 x 180 VA 20/20
OD +0.75 - 0.75 x 10 VA 20/20
OS +0.75 - 0.50 x 180 VA 20/20
OD +1.25 - 0.75 x 7 VA 20/20
OS +1.00 - 0.50 x 180 VA 20/20
OD +1.00 - 0.75 x 7 VA 20/20
OS +0.75 - 0.50 x 180 VA 20/20
Horz phoria : 1 Base-out (esohporia)
BI-vergence : x6/12/2
Vert.phoria : oath
Supr-vergence : 3/0
Infr.-vergece : 3/0
Horz.phoria : 6 BI (exophoria)
AC/A ratio : 4/1
BCC : +0.25
NRA / PRA : +1.75 / -2.50 (w/BCVA)
IOPc OD 11.6 mmHg (CCT 507 µ)
OD 12.6 mmHg (CCT 508 µ)
Angle OD : IAT 43ํ/IAN39ํ (grade4)
OD : IAT 38/IAN42ํ (grade4)
1.คนไข้ไม่ได้เป็นตาขี้เกียจอย่างที่คนไข้กังวล แต่เกิดปัญหาสายตาอีกรูปแบบหนึ่งเกิดขึ้นหลังทำเลสิกนั้น คือเป็นสายตายาวร่วมกับสายตาเอียง ซึ่งเมื่อทำเป็น Spherical equivlent (S.E.) แล้วจะได้ค่าสายตาออกมาที่
OD +1.00 - 0.75 x 7 S.E. +0.62
OS +0.75 - 0.50 x 180 S.E. +0.50
ด้วย hyperopia จาก S.E. เท่านี้ คนไข้จึงสามารถมองไกลได้เห็นชัดอยู่ได้โดยไม่ต้องใส่แว่นตลอดเวลา แต่ด้วยการเป็นสายตายาวที่เลนส์ตาต้อง stress จากการต้องเพ่งให้ชัด และจากสายตาเอียงที่ทำให้โฟกัสไม่รวมกันเป็นจุด จึงทำให้คนไข้มองแล้วมีเงาซ้อนเกิดขึ้นมา และเมื่อแก้สายตาให้ถูกต้องก็สามารถคมชัดได้จนเห็น VA 20/15+2 ได้ทั้งสองข้าง
2.Binocular Vision มองไกลมี esophoria อยู่เล็กน้อย ส่วนดูใกล้มี exophoria อยู่ 6 BI ซึ่งผมเชื่อว่า phoria ที่เกิดขึ้นนี้เกิดมาจาก refractive error ที่ไม่เคยได้แก้ไขมานาน จึงไม่ได้จ่ายปริซึมให้ จ่ายเพียง full corrected เท่านั้น ส่วนเลนส์ตานั้นก็ฟังก์ชั่นดี จึงไม่จำเป็นต้องจ่าย plus technology
3.ocular health ส่วนเรื่องอื่นๆ อย่างเช่น ความดันตาดูปกติดี มุมระบายน้ำในช่องลูกตาเปิดกว้างดี
4.จากข้อมูล DNEye Scan พบว่า คนไข้มีปริมาณของความคลาดเคลือนของโฟกัสในระดับละเอียดอยู่มาก (มี Higer order aberation ,HOA) ที่เกิดขึ้นจากระบบหักเหแสงภายในลูกตาอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเวลากลางคืนที่ขนาดของรูม่านตากว้าง ทำให้แม้ว่าเราจะแก้สายตายาวและสายตาเอียงซึ่งเป็น lower order avberration, LOA ไปแล้ว ซึ่งคนไข้ก็สามารถเห็นความคมชัดในระดับ 20/15+ แต่ก็ยังมี aberration ปริมาณเล็กๆ ซึ่งเป็นสาเหตุให้แสงฟุ้ง ซึ่ง DNEye Technology เคลมว่าสามารถช่วยลดแสงฟุ้งจาก HOA ที่เกิดภายในระบบหักเหแสงของตาได้
OD +1.00 - 0.75 x 7
OS +0.75 - 0.50 x 180
lens : Rodenstock Impression Mono 2 1.6 w/ DNEye technology
Frame : Lindberg Elvis rim titanium
lesik เป็นการแก้ปัญหาสายตาด้วยการผ่าตัดโดยใช้เลเซอร์เข้าไปเจียร์กระจกตาเพื่อเปลี่ยนทรงกระจกตาให้แบนลง ทีนี้ถ้าแบนลงในแต่ละแกน เพื่อให้แสงแต่ละแกนที่วิ่งผ่านกระจกตาไปแล้วเกิดการรวมกำลังกันกับแกนที่เลนส์ตา ในทุกๆแกนนั้นไปรวมกันเป็นจุดเดียวกันที่จุดรับภาพของตา ก็จะไม่เกิดเป็นสายตายาว
แต่ถ้าเจียร์ไปแล้วเกิดผลรวมแต่ละแกนนั้น สร้างกำลังหักเหไม่เท่ากัน โฟกัสก็จะไม่รวมเป็นจุด แต่โฟกัสเป็นแนวเส้น (focal line) เรียกว่าสายตาเอียง ทำให้คนไข้เห็นเป็นเงาซ้อน และ มีแสงฟุ้งเวลากลางคืน แต่ถ้าผลรวมแล้ว กระจกตาแบนมากไป โฟกัสก็จะตกเลยไปตกหลังจอรับภาพ ทำให้เกิดเป็นสายตายาว ทำให้คนไข้ต้องเพ่งเพื่อให้คมชัด
ซึ่งเคสนี้นั้น เจียร์ไปแล้วผลรวมกำลังหักเหแต่ละแกนโค้งไม่เท่ากัน และกระจกตาแบนมากไป ก็เลยเกิดทั้งสายตายาวและสายตาเอียงดังกล่าว แต่อย่างน้อยก็ยังทำให้คนไข้ยังสามารถใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องพึ่งพาแว่นตลอดเวลา ไม่ว่าจะดูไกลหรือดูใกล้ แม้จะไม่คมชัดเป๊ะมากนักก็ตาม แต่ก็แนะนำให้คนไข้ใช้แว่นตาตลอดเวลาถ้าต้องการความคมชัดหรือประสิทธิภาพการมองเห็นที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการดูใกล้ แต่ถ้าในระหว่างกิจกรรมที่ไม่ต้องเน้นความคมชัดมากแต่ต้องการความคล่องตัวในกิจกรรม ก็สามารถถอดแว่นได้
อาจมีคำถามขึ้นมาในใจว่า ตกลง ทำเลสิก ดีหรือไม่ดี อายุแค่ไหนควรทำ อายุแค่ไหนไม่ควรทำ และใครบ้างที่ไม่ควรทำ และเราสามารถคาดหวังผลสัมฤทธิ์ของการทำเลสิกได้มากน้อยแค่ไหน
อันนี้ก็คงต้องดูจุดประสงค์ของการทำเลสิกว่า อยากทำเพื่ออะไร บางคนอยากเป็นนักบิน บางคนอยากสอบนายร้อย บางคนเป็นนักกีฬา บางคนอยากเป็นแอร์ บางคนสายตาสั้นมากแว่นหนักมากและเลือกแว่นได้ไม่หลากหลาย อยากมีอิสระในการเลือกแว่นมากขึ้น เหล่านี้ต่างก็เป็นเหตุผลในการทำเลสิก เดี๋ยวเก็บไว้คุยเรื่องนี้กันในเรื่องหน้าก็แล้วกัน
Google Maps: https://goo.gl/maps/PQpXxquxYiS2
fb : www.facebook.com/loftoptometry
line id : loftoptometry
090 553 6554
DNEye Scan 2