Case Study 24 : แก้ compound myopic astig. + basic esophoria ด้วย prism + plus technology


Loft Optometry Case Study 

topic : แก้ compound myopic astig. + basic esophoria ด้วย plus technology 

author :Dr.LOFT,O.D 

28 July 2019

 

CASE HISTORY

คนไข้หญิง อายุ 34 ปี มาด้วย

1st CC : Routine Check เพื่อดูความผิดปกติสายตาของตัวเอง เนื่องจากแว่นเดิมที่ใช้อยู่หล่นแล้วร้าว และก็ไม่ทราบว่า สายตาของแว่นเก่าที่ใช้อยู่นั้นเป็นค่าที่ถูกต้องจริงหรือไม่ จึงต้องการตรวจเพื่อทราบค่าจริงเพื่อนำไปทำเลนส์ใหม่ 

 

2nd CC : มีปัญหา มองไกลมัวหลังจากดูมือถือไปสักระยะหนึ่ง  ซึ่งต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งในการทำให้ไกลกลับมามองชัดเหมือนเดิม  และ มีอาการตากระตุกตลอด 1-2 วันที่ผ่านมา

 

-ไม่เคยพบจักษุแพทย์มาก่อน

 

+ใช้คอนแทคเลนส์ /เป็นรายเดือน /ใช้แล้วไม่ค่อยชัด  /ตาแห้ง ไม่สบายตาหลังใช้งานต่อเนื่อง 6 ชม.  /ใช้รายเดือน /ไม่ใส่นอน/ ล้างทำความสะอาด เปลี่ยนน้ำยาตลอด 

 

+ใช้แว่นตา ครั้งแรก ตอนอายุ 18 ปี  แว่นปัจจุบันใช้มา 6 เดือน  ใช้งานปรกติ ไม่มีปัญหาการใช้งาน  ชัดกว่าตาเปล่า แต่ก็ไม่ทราบว่าแม้ไม่ได้รู้สึกว่ามีปัญหา แต่แท้จริงแล้วค่าสายตาเก่าบนแว่นเดิมนั้นถูกต้องหรือไม่หรือมีดีกว่า 

-ไม่มีความผิดปกติที่เป็นสัญญาณความผิดปกติทางโรคตา หรือ ญาติพี่น้องที่มีโรคติดต่อทางตาที่ต้อง concern 

-สุขภาพแข็งแรง

-ไม่มีปัญหาปวดหัว

-ไม่มีภาพซ้อน

+ใช้สายตามือถือเป็นหลัก

 

Preliminary eye exam

PD 30/31

VAcc : 20/30 OD , 20/20OS

Cover test : EP ,EP’ w/ Correction 

 

Refractive Error

Auto-refraction

OD -4.63 -0.38 x10     ,20/20

OS -4.88 -0.50 x 167  ,20//20

Retinoscope

OD -3.75 -0.75 x 180 , 20/20

OS -4.50 -0.75 x 170 , 20/20

 

Monocular Sub (SRx)

OD -3.50  -0.50 x 20  , 20/15

OS -4.25  -0.25 x 150 , 20/15

BCVA

OD -3.50 -0.50 x 20  VA 20/15

OS -4.25 -0.25 x 150 VA 20/15

 

Functional (6m)

Horz.phoria          : 4 Base out  (esophoria)

BI-vergence         : x/12/0

BO-vergence       : x/6/0

Vertical Phoria    : Ortho

Supra-vergence : 3/1

Infra-vergence  :  3/1

 

Functional (40cm)

Horz.phoria     : 4 BO

BI-vergence    : 18/24/10

BO-vergence  : 18/24/10

AC/A ratio          4:1

NRA/PRA         : +2.00 /-2.50

BCC                  : +0.75

 

DNEye Data

Auto-refraction

OD -4.63 -0.38 x10

OS -4.88 -0.50 x 167

 

Keratometry

OD 41.63@176 / 42.75@86

      Cornal-astig : -1.13 x 176DC

OS 41.88@3 / 43.00@93

      Corneal astig . : -1.13x3 DC

CCT    : 533 micron/ 539 micron

IOPc  : 17 mmHg/18 mmHg

Angle : Grade4 / Grade 4

 

Assessment

1.Compound myopic astigmatism OU : คนไข้มีสายตาสั้นร่วมกับสายตาเอียง โดย focal line นั้นตกก่อนจุดรับภาพทั้งคู่

2.Basic Esophoria : มีเหล่เข้าซ่อนเร้นทั้งมองไกลและมองใกล้  โดยมีมุมเหล่ขณะมองไกลเท่ากับใกล้

3.สุขภาพตาส่วนอื่นๆปกติ

 

Plans

1.Full Correction

   OD -3.50 -0.50 x 20

   OS -4.25 -0.25 x 150

2. Mild  Addition Rx : +0.80D  เพื่อแก้ accommodative insufficiency และ เพื่อลด esophoria @ near  จาก AC/A ratio 4:1  จึงสามารถลด esophoria @ near ลงได้ 3.2 prism

3. Prism Correction esophoria : 2 BO esophoria

 

Case Analysis

สิ่งที่ได้จากเคสนี้

1.จ่าย add (plus technology) ซึ่งเป็น option ที่มีอยู่ในเลนส์ชั้นเดียวของ Rodenstock ตั้งแต่รุ่น Perfalit Mono Plus 2 ขึ้นไป  ซึ่งวัตถุประสงค์ของการออกแบบเลนส์ชนิดนี้ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องกำลังเพ่งอ่อนแรงหรือ accommodative insufficiency  เพื่อช่วยลดกำลังเพ่งของเลนส์ตาในคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องการเพ่งดูใกล้  และช่วยให้การเปลี่ยนระยะมองสลับไปมาระหว่างไกลใกล้นั้นทำได้เร็วขึ้น 

 

แต่เราก็ยังคงสามารถใช้เลนส์ประเภทนี้ได้ในกลุ่มคนไข้ที่เป็น accommodative esophoria คือมี ตาเหล่เข้าขณะดูใกล้อันมีสาเหตุมาจากการเพ่งของเลนส์ตา ถ้าเราสามารถลดการเพ่งได้ เหล่เข้าขณะดูใกล้ก็จะลดลง  ซึ่งจะลด eso ได้มากได้น้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับ AC/A retio  

 

และก็ยังมีงานวิจัยออกมาบ้างเหมือนกันว่า การใช้ add plus ให้เด็กใช้ขณะดูใกล้สามารถช่วยลดการ progress ของสายตาสั้นได้ในเด็ก (แต่การจ่าย plus สำหรับเคสนี้ ไม่ได้คาดหวังผลของการทำ myopia control)

 

แต่ก็ยังมีสิ่งที่ต้องระวังในการจ่ายเลนส์กลุ่มนี้ ในเด็กที่ดูใกล้เป็น  high exophoria @ near และมี AC/A raio สูงๆ  เพราะจะยิ่งทำให้คนไข้มีเหล่ออกขณะดูใกล้มากขึ้น

 

ดังนั้นในการจ่าย plus technology 0.8D ในเคสนี้นั้นเพื่อแก้ accommodative spasm ที่เป็นเหตุให้คนไข้มองไกลมัวหลังจากดูใกล้มาเป็นเวลาหนึ่ง เพื่อให้คนไข้สลับตามองไกล/ใกล้ ได้เร็ว โฟกัสได้เร็ว  และ ใช้เพื่อลด esophoria ที่ใกล้ด้วย

 

2.จ่าย prism เพื่อแก้ basic esophoria

ในเคสนี้ เมื่อจารณาเหล่เข้าซ่อนเร้นของคนไข้ที่มีอยู่ 4 prism base out แล้ว ได้ค่าที่เหมาะสมมา 2 pd BO ให้กล้ามเนื้อตา compensate เอง 2 pd และใช้ add 0.8 ลด eso ใกล้ที่เหลือ

 

ลิ้งสำหรับศึกษาเพิ่มเติม

ศึกษาเรื่อง Plus Technology ได้ที่ลิ้ง https://www.loftoptometry.com/Rodenstock/plus-technology

ศึกษาเลนส์ single vision เพิ่มเติมได้ที่ลิ้ง ​: https://www.loftoptometry.com/rodenstock/SingleVisionLens

ศึกษาเลนส์ PRO410 + Solitaire Protect PRO2 : https://www.loftoptometry.com/Rodenstock/Pro410

ศึกษาเรื่อง AC/A ratio ได้ที่ล้ิงค์​ : https://www.loftoptometry.com/AC/A ratio

ศึกษาสายตาเอียงได้ที่ลิ้ง https://loftoptometry.com/index.php/Eyecare/Astigmatism

 

สรุป 

สำหรับเคสนี้แล้วไม่ได้ยาก แต่ก็มีเรื่องให้พิจารณาอยู่ 2 เรื่องหลักๆ

 

เรื่องแรก :

ยังไงผมก็ยังยืนยันว่า คอมพิวเตอร์วัดสายตาที่เราเคยเชื่อๆกันว่ามันใช้แทน skill ของมนุษย์ได้   แม้ว่าจะผ่านมาหลายสิบปี  และมีการพัฒนาเครื่องมือประเภทนี้มาแล้วมากมายขนาดไหน  แม้ว่าจะออกแบบให้ target ที่ให้คนไข้มองนั้นเป็นระยะไกล โดยจำลองสถานการณ์เหมือนการทำ retinoscope  แต่จากการได้ใช้งานเครื่องที่(เขาว่า)ดีและแพงที่สุด หรือ เครื่องที่ใช้ real distant target  แต่ผลก็ยังไม่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือตรวจสายตาแทน Optometrist ได้อยู่ได้  

ส่วนวิธีการตรวจที่ใกล้เคียงและให้ค่าที่เชื่อถือได้มากที่สุด ทำซ้ำได้ดีที่สุด ขีดจำกัดในการตรวจน้อยที่สุด กลับเป็นวิธีพื้นฐานที่ใช้กันมามากกว่า 150 ปี คือ retinoscope ซึ่งให้ค่าสำหรับเป็นค่าเริ่มต้นสู่การทำ subjective test ได้ดีและใกล้เคียงกับค่าจริงได้ดีกว่า  ดังนั้นคนไทยควรเปลี่ยนความเชื่อใหม่เรื่อง "การวัดสายตาด้วยระบบคอมพิวเตอร์" ว่าในเรื่องการตรวจสายตาแล้ว มันไม่ได้เก่งกว่าทักษะการเรติโนสโคปโดยมนุษย์   

 

แต่อย่างน้อยที่สุด ในบางเคสที่รูม่านตาของคนไข้เล็กๆมาก จนส่อง retinoscope ได้ยาก การใช้ค่า auto-refract ช่วยเป็น guideline  ก็ดูจะมีประโยชน์อยู่บ้างเหมือนกัน  แต่อย่างไรก็ตาม สารที่ต้องการจะสื่อก็คือ  "ในเมื่อ คอมพิวเตอร์ ไม่สามารถนำมาแทนทักษะการวัดสายตาของมนุษย์" นั่นหมายความว่า "การตรวจสายตาเป็นเรื่องความเชี่ยวชาญในระดับวิชาชีพ  ไม่ใช่คิดแค่เพียงว่า  แค่มีคอมพิวเตอร์แล้วจะวัดสายตาได้ จะเอาใครมานั่งกดเครื่องคอมพ์ก็ได้ จะขายสาขา เปิดกี่สาขา หลายพันสาขา แล้วก็ทำได้ง่ายๆโดยไม่มีการควบคุมอย่างในปัจจุบัน  

 

ส่วนตัวผมเชื่อว่า ในยุคที่คน educated อย่างในปัจจุบันและจะมากขึ้นอย่างทวีคูณในอนาคต   เริ่มเป็นเรื่องยากที่จะใช้โปรโมชั่นลด แลก แจก แถม เพื่อให้ผู้บริโภคลืมเรื่องปัญหาสุขภาพตาเสียแล้ววิ่งเอาเอาของแถม กันอย่างในอดีต  

 

เรื่องที่สอง : 

การแก้เหล่ซ่อนเร้นนั้นมี วิธีในการแก้ไขนั้นมีอยู่ 3 อย่างหลักๆ คือ การบริหารกล้ามเนื้อตา  การจ่ายปริซึม และ การจ่าย plus addition   และ เหล่ซ่อนเร้นในแต่ละชนิดก็มี criteria ในการจ่ายว่า  คนไข้เหล่มุมไหน (เหล่เข้า/ออก/สูง/ต่ำ) เหล่เท่าไหร่ ควรแก้ด้วยวิธีการอย่างไรก่อนหลัง  และ  จ่ายด้วยกำลังเท่าไหร่  ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อนและต้องประเมินกันอยู่หลายๆเรื่อง  เรื่องหลักๆที่นำมาประเมินคือ  กำลังของมุมเหล่ (phoria)  ซึ่งเหมือนกับ demand  , fusional Vegence reserve (BI/BO vergence) : ซึ่งเหมือนกับ supply  , และ AC/A ratio ซึ่งเป็นอัตราส่วนของการทำงานระหว่างผลของ accommodation ที่ไป drive convergence ว่ามีมากหรือน้อยแค่ไหน

ซึ่งในบางเคส อาจต้องใช้ทั้ง prism และ add ช่วยกันอย่างในเคสนี้  เพื่อให้การทำงานของตา ตั้งแต่การหักเหแสง การเพ่ง การทำงานของกล้ามเนื้อตา ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ลดความเมื่อยล้าเมื่อต้องใช้สายตาหนักๆ 

 

ทิ้งท้าย 

ผมไม่เจอบทความหนึ่งที่เว็บไซต์ Marketeer ได้เคยเขียนเรื่อง  ตลาดแว่นตา “เกมราคา” ที่ไม่มีวันสิ้นสุด ใครไม่เดินตามก็ต้อง “แตกต่าง”

ผมตัดมาเฉพาะบางส่วนที่อ่านแล้วอยากจะนำมุมมองมาให้อ่าน 

Date: 14/03/2017Author: Marketeer Team

 

โปรโมชั่นปลอม ๆ ของร้านแว่นตา  

ความคุ้นชินที่เห็นกันบ่อยครั้งในตลาดร้านแว่นตาในบ้านเรา นั่นคือ ทุกร้านต่างติดป้ายสารพัดโปรโมชั่นไม่ว่าจะเป็นลดราคา 50% ซื้อ 1 แถม 1 และอีกสารพัดโปรฯ แรงอีกมากมาย เพื่อใช้เป็น “แม่เหล็ก” ดึงดูดให้ลูกค้าเดินเข้าร้าน

 

แต่การทำโปรโมชั่นแบบ “ถี่ยิบ รัว ๆ” แน่นอนว่า ย่อมได้มาเพียงยอดขายในช่วงเริ่มต้น แต่พอเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่ง ผลร้ายที่ตามมาคือ บริโภคจำนวนมากเริ่มรู้สึกเฉย ๆ กับ โปรโมชั่นราคาของร้านแว่นตา พร้อมกับคิดว่าจะเข้าร้านเมื่อไรก็ได้เพราะถึงอย่างไร โปรโมชั่นก็ปูพรมตลอดแทบทั้งปี

 

“อีกหนึ่งปัญหาที่พบเจอคือ เมื่อลูกค้าเข้าร้านแว่นตาดูราคาโปรโมชั่นแล้วนำมาเปรียบเทียบ สรุปว่า ราคาหรือสิ่งที่ได้รับ ไม่ได้ถูกหรือคุ้มค่าเงินที่จ่ายเหมือนอย่างที่คิดเอาไว้”  (Mr.Sensor) รักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท (sensor) จำกัด ถอดรหัส โปรโมชั่นร้านแว่นตาที่ใช้ไม่ค่อยได้ผลเหมือนอย่างในอดีต เมื่อผู้บริโภคเริ่มจับทางได้

 

...ตัดมาที่ท้ายๆเรื่อง...

 

มีการสร้างเกมส์การตลาด โดยการเปิดร้านแว่นเป็น 2 แบรนด์แข่งกันเองโดยเป้าหมาย เพื่อให้แข่งขันแย่งชิงยอดขายกันเอง โดยมีเหตุผลว่า ที่ต้องมีสองร้านนั้นคือ หากเขาไม่ทำคนอื่นก็ทำอยู่ดี และที่น่าสนใจคือการมี 2 ร้าน 2 โมเดลแข่งกันทำให้รู้ “จุดอ่อน จุดแข็ง” ของแต่ละแบรนด์ที่สามารถนำมาปรับปรุงแก้ไขด้ดีกว่ามีร้านเพียงร้านเดียว รวมไปถึงลูกค้าของทั้ง 2 ร้านยังสามารถใช้บริการหลังการขายร่วมกันได้ด้วย แต่พอเวลาผ่านมาสักพักใหญ่ ๆ ก็ประกาศชัดเจนให้สาธารณะชนรับรู้ว่า 2 แบรนด์นี้มีเจ้าของเดียวกัน จึงไม่ต้องแปลกใจหากจะเห็นร้านแว่นตา 2 ร้านนี้ในบางทำเลอยู่ใกล้กันชนิดแค่ฝั่งตรงข้ามถนน

 

ที่มา https://marketeeronline.co/archives/20911 

 

ความคิดส่วนตัว 

ผมอ่านแล้วรู้สึกได้อย่างหนึ่งว่า "นักธุรกิจ ไม่เคยสนใจอะไรมากไปกว่า "ผลประกอบการ" ทำทุกอย่าง ไม่ว่าจะด้วยการ สับขาหลอก อำพราง ทุกวิถีทางเพื่อให้ชนะในเกมส์ธุรกิจ โดยไม่เคยให้ความสำคัญว่า สายตาของประชาชนนั้นสำคัญอย่างไร  เพราะผมไม่เคยได้ยินในเรื่องการพัฒนาศักยภาพในการบุคลากรผู้ให้บริการ หรือยากจะยกระดับผู้ให้บริการด้านสายตาเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทัศนมาตร  มีเพียงแค่โปรโมชั่น ประหนึ่งว่า สายตาไม่ใช่เรื่องสุขภาพ แต่เป็นสินค้าที่ซื้อมาขายไป  แม้รัฐฐะเองก็ยังคงหลับหูหลับตาปล่อยให้มันเป็นไป เพราะว่า เค้กมูลค่าการตลาดกว่า  10,000,000 ล้านนี้ มันอาจเป็นสาเหตุให้คนตาบอดกันหมด

 

สุดท้ายจะเป็นอย่างไร  ไม่มีใครทราบ  รู้แต่เพียงว่า ทำวันนี้ให้ดี วันหน้าก็คงจะดีเอง 

 

สวัสดีครับ 


ดร.ลอฟท์ 

 


 

578 Wacharapol Rd, Bangken ,BKK ,10220

Google Maps: https://goo.gl/maps/PQpXxquxYiS2

fb : www.facebook.com/loftoptometry

line id : loftoptometry

090 553 6554

 

 

Lindberg  Story image