Case Study 25
31 กรกฎาคม 2562
ใน case study 25 นี้เป็นเคสที่มีเรื่องน่าสนใจอยู่หลายจุด แต่จุดที่เป็น point จริงๆก็คงจะเป็นเรื่องของ "ภาพซ้อน" ที่เกิดจาก "เหล่ซ่อนเร้นในแนวสูง/ต่ำ" หรือ Hyperphoria ค่อนข้างมาก เบื้องต้นผมเลือกที่จะไม่จ่ายปริซึมให้คนไข้ก่อน เนื่องจากว่า มุมเหล่ที่คนไข้เป็นนั้น เกินกว่าที่เลนส์จะทำได้ จึงแนะนำให้ไปปรึกษาหมอเพื่อผ่าตัดกล้ามเนื้อตาลดมุมเหล่ แล้วขาดเหลือเท่าไหร่ค่อยมาแก้ด้วยปริซึม แต่ผลหลังผ่าตัดนั้น ไม่สามารถช่วยให้มุมเหล่ลดลงอย่างที่หวัง และคนไข้ไม่กล้าที่จำผ่าตัดซ้ำ จึงเลือกที่จะแก้ด้วยปริซึมแทนการผ่าตัด และเป็นที่มาของเคสที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้
คนไข้ชาย อายุ 45 ปี เป็นคนไข้เก่าแวะเข้ามาที่คลินิกด้วยเรื่องแว่นหักจากอุบัติเหตุและต้องการทำเลนส์ใหม่
ย้อนกลับไปเมื่อสองปีที่แล้ว 26 ธ.ค.2559 คนไข้เข้ามาที่ ลอฟท์ ออพโตเมทรี ครั้งแรกด้วยอาการ “อ่านหนังสือไม่เห็น อยากได้แว่นตาสำหรับอ่านหนังสือและมองไกลด้วย”
ขณะที่สนทนากันอยู่ ผมสังเกตุเห็นว่า คนไข้เอียงคอตลอดเวลา ผมจึงถามว่า “คอไปเป็นอะไรมา ตกหมอนหรือว่าอะไร ทำไมถึงคอเอียงแบบนี้”
“ เป็นมานาน ถ้านับที่รู้ตัวก็ประมาณ 5 ปีก่อน”...คนไข้ตอบ
“พี่ลองตั้งศีรษะตรงๆดูซิว่ามันจะเป็นยังไง”...ผมถาม
จากนั้นก็ให้คนไข้ตั้งศีรษะให้ตรง ปรากฎว่า ภาพซ้อนเป็นสองอัน เห็นผมมี 2 ร่าง อยู่สูงต่ำไม่เท่ากัน จากนั้นก็ให้คนไข้ปิดตาดูทีละข้างและภาพไม่ซ้อนถ้ามองข้างเดียว เพื่อให้ที่จะอธิบายให้คนไข้เข้าใจว่า ภาพซ้อนที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากระบบการมองสองตาที่ผิดปกติ รวมภาพไม่ได้จริงเกิดภาพซ้อน พอปิดตาดูทีละข้างจึงไม่ซ้อน ผมก็เลยซักประวัติไล่ละเอียดถึงสุขภาพตาและประวัติการรักษาเกี่ยวกับดวงตา ได้ข้อมูลมาว่า
คนเคยมีประวัติไปพบหมอ ด้วยอาการ แสบตา แพ้แสง อ่านหนังสือไม่ชัดและถือโอกาสตรวจสุขภาพตาประจำปี หมอท่านแรกบอกว่าเป็น ตาแห้ง แล้วจ่ายน้ำตาเทียม ไม่รู้สึกว่าดีขึ้น เลยไปพบหมอท่านที่สอง
คุณหมอท่านที่สองพบว่าคนไข้มีปัญหาของกล้ามเนื้อตา คือพบว่าเป็นตาเหล่ซ่อนเร้นแบบสูงต่ำ (Hyperphoia) และหมอได้จ่ายแว่นมา 2 อัน สำหรับมองไกล/ใกล้ อย่างละอัน โดยเป็นแว่นมองไกลใส่ปริซึม 8 ปริซึม ไม่มีค่าสายตามองไกล และทำแว่นอ่านหนังสืออีกอันหนึ่ง (reading glasses) ใส่ปริซึม 8 ปริซึม ในแนว up/donw เช่นกัน แต่จากการใช้งานแว่นตาที่ทำมา คนไข้เล่าให้ฟังว่า แว่นปริซึมมองไกล ถ้ามองตรงๆพอมองได้ แต่การมองไปรอบๆนั้นไม่สามารถใช้งานได้ มีอาการเวียนหัว ปวดศีรษะ ก็เลยไม่ค่อยได้ใส่ จึงเริ่มหาความรู้เกี่ยวกับอาการที่ตนเองเป็นและแวะมาปรึกษาที่ ลอฟท์ ก็เลยเป็นที่มาของเรื่องในวันนี้
สมัยเด็กๆคนไข้ไม่เคยต้องใส่แว่น แต่มีเมื่อ 2 ปีก่อน ตอนอายุประมาณ 40 ปี คนไข้เคยทำโปรเกรสซีฟเลนส์แต่ไม่สามารถใช้งานได้ เพราะมีอาการอ่านหนังสือไม่ชัด ก็เลยไม่อดทนใส่ต่อ และเริ่มหาแว่นที่มองอ่านหนังสือระยะเดียว ที่สามารถใช้ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ได้ แต่ก็ยังหาที่ใช้งานได้ไม่ได้
ไม่มีประวัติอุบัติเหตุ ทั้งทางร่างกาย หรือทางสมอง ศรีษะ หรือดวงตา
Headace / Diplpopia
-HA : ไม่มี complain เรื่องปวดหัว
+Diplopia : มีภาพซ้อนขณะมองพร้อมกันทั้ง 2 ตา, โดยเห็นภาพข้างหนึ่งอยู่สูงกว่าอีกข้าง,อาการจะเป็นหนักขึ้นถ้าทำคอตรง เอียงคอแล้วอาการดีขึ้น
สุขภาพ (PHx)
แข็งแรงดี ตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มียาที่ต้องทานประจำ
การใช้ชีวิตSHx : ประวัติการใช้ชีวิต
คนไข้เป็นโปรแกรมเมอร์ ต้องใช้ชีวิตอยู่กับคอมพิวเตอร์แทบจะตลอดเวลา ถ้ารวมมือถือแล้วมากกว่าวันละ 10 ชั่วโมง
Clinical Point
สิ่งที่ได้จากการซักประวัตินั้น เห็นได้ชัดเจนว่า คนไข้มีปัญหาการทำงานร่วมกันของทั้งสองตาอย่างแน่นอน และความคมชัดนั้นไม่ใช่ปัญหาหลักของคนไข้ แต่กลายเป็นปัญหาที่ตาไม่สามารถรวมภาพได้เหมือนคนปกติ จึงทำให้เกิดเป็นภาพซ้อน และคนไข้เองก็เริ่มรู้ตัวมานานพอสมควร ร่างกายก็เริ่มปรับคอตัวเองให้เอียงไปตามตาที่เหล่ซ่อนเร้นอยู่ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันต่อไปได้
แต่ด้วยลักษณะสรีะที่ต้องปรับคอให้เอียง ก็จะตามมาด้วยอาการปวดเมื่อยเกร็งที่ต้นคอ และพอเข้าถึงวัยที่ไม่สามารถเพ่งให้สามารถดูใกล้ได้ชัด เนื่องจากเป็นสายตาคนแก่แล้ว ก็ยิ่งเกิดปัญหาหนักขึ้น เพราะการแก้ไขครั้งนี้ จะต้องแก้ปัญหาทั้งในเรื่อง สายตามองไกล กำลังเพ่งของเลนส์ตา และการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อตา ซึ่งเป็นสมการหลายตัวแปร และเราต้องจัดการแต่ละตัวแปรให้ถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้แต่ละตัวแปรนั้นกลายเป็นตัวแปรควบคุมทั้งหมด จึงจะได้ผลลัพธิ์ที่คงที่ออกมา และตัวแปรที่ยากทีสุดของเคสนี้คงจะเป็นตัวแปรของกล้ามเนื้อตาที่มีปัญหาค่อนข้างมาก
“คอเอียงเป็นอาการบ่งชี้อย่างหนึ่งของ ตาเหล่ซ่อนเร้นแบบสูงต่ำ หรือ vertical phoria คนไข้เอียงคอเพื่อลดอาการภาพซ้อน”
PD 34.5/33.5
VA : 20/20-2 OD , 20/20 OS, Diplopia OU
(ความคมชัดตาตาเปล่าแต่ละข้างนั้นดี แต่เมื่อให้มองพร้อมกันทั้งสองตา ในตำแหน่งศีรษะตรง กลับมองไม่ชัด อ่านตัวเล็กๆไม่เห็น เพราะมีภาพซ้อน)
Version : SAFE
ในการทดสอบกล้ามเนื้อตาทั้ง 6 มัดนั้น พบว่าทำงานได้ดี สามารถ tracking ตาม target ได้ดี ไม่ปวด และไปได้สุดในทุก meridian แต่เกิดภาพซ้อนทุกตำแหน่ง ซึ่งเป็นรูปแบบการซ้อนแบบสูงต่ำไม่เท่ากัน)
Cover Test : Esophoria w/ Left Hyperphoria 15 BDOS with prism bar @ 6 m.
ทั้งมองไกล และมองใกล้ ( พบว่ามีเหล่เข้าและเหล่ในแนวดิ่งทั้งขณะมองไกลและมองใกล้)
ตครึ
ผลจากการประเมินเบื้องต้นนั้น ขณะที่ทำ cover test จะเห็นได้ชัดเจนว่า ตาของคนไข้นั้น เวี่ยงขึ้นลงตามจังหวะการปิดตาสลับไปมา (alternate cover test) แต่เมื่อดูขณะปิด/เปิด ตาข้างเดียว (cover/uncover) พบว่าคนไข้ยังสามารถล๊อคภาพได้ แต่ก็ความพยายามที่จะมองแบบคอเอียงๆอยู่ตลอดเวลา ซึ่งแสดงว่าคนไข้มีเหล่ซ่อนเร้น(phoria) แต่ไม่ใช่ตาเหล่(tropia)
ความคมชัด (visual acuity,VA) ของตาเปล่าแต่ละข้าง ขณะมองไกลนั้นมองได้คมชัดดี แต่พอให้ลืมตามองพร้อมๆกัน แล้วบังคับศีรษะให้ตรงนั้น คนไข้มองเห็นเป็นภาพชัดซ้อนกันบนล่าง
และสิ่งที่ต้องคิดต่อไปคือ เมื่อคนไข้รวมภาพกันไม่ได้แบบนี้ จะวางลำดับการตรวจโดยละเอียดต่อไปอย่างไร
OD +0.75 -1.00x180 ,VA 20/20
OS +0.25 ,VA 20/20
Monocular Subjective (SRx)
OD +0.75 -1.00x180 ,VA 20/20
OS +0.25 ,VA 20/20
BVA (Binoc.Balancing)
ในขั้นตอนการทำ BVA นี้ ขั้นตอนปกติจะต้องเปิดตาทั้งสองข้างให้คนไข้ดูพร้อมกันทั้งสองตาโดยใส่ปริซึมข้างหนึ่ง 3 base up ข้างหนึ่ง 3 base down เพื่อ induce ให้คนไข้เห็นเป็น 2 ภาพ จากตาสองข้าง เพื่อจะบาลานซ์ตาทั้งสองข้างให้เห็นชัดเท่าๆกัน แต่ในเคสนี้นั้น คนไข้เห็นภาพซ้อนตั้งแต่ยังไม่ได้ใส่ 3 prism up/down ทำให้ต้องข้ามขั้นตอนไปตรวจ phoria ก่อน
Test Distant 6 m.
Vertical Phoria = 12 BD OS (Left-Hyperphoria)
Horizontal Phoria = 6 BO (Esophorai)
Test Distance 40 cm
BCC +1.25
NRA/PRA : +1.00/-0.75
1.คนไข้มองไกลเป็นสายตายาว+เอียง (mixed hyperopic astigmatism
2.เหล่ซ่อนเร้น hyperphoria +Esophoria
3.สายตาคนแก่ presbyopia
ผมเลือกที่จะไม่ทำแว่นให้คนไข้ก่อน เนื่องจากกังวลถึงสิ่งที่เกิดขึ้นภายในสมอง ว่ามีเหตุผลใดที่ทำให้คนไข้มีมุมเหล่ในแนวดิ่งมากมายขนาดนี้ จึงแนะนำให้คนไข้ไปหาจักษุแพทย์เพื่อหา ruleout หาสาเหตุ และหาทางแก้ไขต่อไป ซึ่งก็ได้บอกคนไข้ไปว่า ถ้าไม่มีพยาธิสภาพอย่างอื่นก็ให้แพทย์ทำการผ่าตัดกล้ามเนื้อหาเพื่อลดมุมเหล่ แล้วขาดเหลือเท่าไหร่ก็มาแก้ด้วยแว่นปริซึม
ปลายปี 2559 คนไข้ถือใบ refer ที่ผมเขียนไปให้ คนไข้ก็ไปพบแพทย์ตามคำแนะนำ แพทย์เห็นว่ามีมุมเหล่เยอะจริงและแนะนำให้ผ่าตัดกล้ามเนื้อตา
เสร็จสิ้นการผ่าตัด คนไข้ก็โทรเข้ามา ว่าผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้ปิดตาอยู่ จะสามารถเข้าไปทำแว่นได้เมื่อไหร่ ผมก็แจ้งไปว่าให้รอให้แผลหายดีก่อน ซึ่งหมอนัดดูแผลประมาณ 1 เดือน ผมก็เลยบอกว่า เดี๋ยวก่อนไปพบหมอ เข้ามาที่คลินิกหน่อย จะได้นำผลที่วัดได้ไปให้หมอช่วยดูเผื่อจะได้ไปวิเคราะห์ต่อด้วย
ปลายเดือน มกราคม 2560 คนไข้มาที่คลินิก เพื่อตรวจก่อนไปพบแพทย์
ผมตรวจมุมเหล่พบว่า
ผมก็เลยให้ความเห็นว่า แผลอาจจะยังไม่ดี แรงของกล้ามเนื้อตาเลยอาจจะยังไม่ดี รอบนี้ให้ไปหาหมอตามที่นัดไว้ก่อน หมอว่าอย่างไรค่อยว่ากัน ซึ่งเราคงต้องรอกันอีกสัก 1-2 เดือน
คนไข้ไปพบหมอตามที่นัด หมอก็เห็นว่า มุมเหล่ไม่ลดจริงๆ นัดดูอาการเพิ่มเติมอีก 1 เดือน
ปลายเดือน กุมภาพันธ์ 2560 ครบกำหนดพบแพทย์ คนไข้แวะเข้ามาที่คลินิก ก่อนที่จะไปหาหมอในวันถัดไป
ผลการตรวจมุมเหล่พบว่า มุมเหล่ยังคงที่ ไม่ได้ลดลง ทุกอย่างเหมือนเดิมตั้งแต่ก่อนผ่าตัดจนกระทั่งผ่าไปแล้ว 2 เดือน ซึ่งผมก็ให้คำตอบไม่ได้ว่าทำไม คงจะต้องเป็นหมอเจ้าของคนไข้ที่ผ่าตัดให้
คนไข้ไปพบหมอตามนัด หมอพบว่าการผ่าตัดครั้งนี้ไม่ได้ช่วยลดมุมเหล่จริงๆ และแนะนำให้คนไข้ผ่าตัดเป็นครั้งที่สอง แต่หมอไม่สามารถให้ความมั่นใจว่า ผ่าตัดไปแล้วจะช่วยให้ดีขึ้นได้หรือไม่ คนไข้จึงเลือกที่หาออพชั่นอื่นและนัดเวลาเพื่อตรวจสายตาทำแว่น
หลังจากผ่านไป 5 เดือนหลังผ่าตัด 31 พฤษภาคม 2560 คนไข้เข้ามาที่คลินิกเพื่อทำแว่น ได้ผลจากการตรวจดังนี้
OD +0.75 - 1.00 x 150
OS +0.25
Add. +1.25
11 BD OS (left-hyper)
6 BO (esophoria)
OD +0.75 - 1.00 x 150 , 2.5 PDBU + 2 BO
OS +0.25 ,2.5 PDBD + 2 BO
Add. +1.25
วันมารับแว่น ก็ไม่ได้มีอาการอะไร ไม่ได้รู้สึกใส่ลำบากอะไร ภาพไม่ซ้อน คอยังเอียงอยู่บ้าง แต่น้อยลงกว่ายังไม่ใส่ ใช้งานได้ปกติ และผมแนะนำว่า เลนส์โปรเกรสซีฟนั้นสามารถปรับเปลี่ยนค่าสายตาได้ภายใน 3 เดือน และแนะนำให้คนไข้ใช้คู่นี้ไป 2 เดือน แล้วจากนั้นเราจะขยับปริซึมเป็น 9 ซึ่งใกล้กับ full correction
คนไข้เข้ามาเพื่อวัดมุมเหล่ เพื่อจะลอง Full correction
พบว่ายังมี Hyperphoria 10 prism ตาซ้าย เหมือนเดิม ค่าสายตาคงที่ จึงสั่งเคลมเลนส์เป็น
OD +0.75 - 1.00 x 150 , 4.5 PDBU + 2 BO
OS +0.25 ,4.5 PDBD + 2 BO
Add. +1.25
ภาพไม่ซ้อน คอเอียงน้อยลงมากแทบจะเป็นคนปกติ จึงให้คนไข้เอาไปลองใช้งานดู คนไข้บอกว่าเวลาหันซ้ายขวาเร็วๆ นั้ภาพมีไหลอยู่บ้าง แต่นั่งทำงานตรงๆบนโต๊ะนั้นสบายดี และจะฝึกใช้งานในชีวิตจริง
ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่าง 2-3 วันแรก ที่คนไข้เล่าให้ฟังคือ เวลาขับรถถอยเข้าซองนั้น ทำยากกว่าแว่นตัวเดิม และเวลาถอดแว่นออกนั้น ตาเปล่าจะปวดหัวมาก ชีวิตลำบาก เพราะถอดแว่นแทบไม่ได้เลย ซึ่งจริงๆก็เป็นเรื่องที่ดีที่เป็นอย่างนั้น คนไข้ฝึกใส่อยู่ 1 เดือน รู้สึกว่าไม่คล่องตัวเหมือนปริซึม 5 จึงนำมาเปลี่ยนเลนส์ใส่ตัว 5 ปริซึม
ผ่านไป 1 ปี 3 เดือน
คนไข้เกิด Accident เลนส์แตกไปข้างหนึ่งขณะไปทำธุระที่พิษณุโลก ทรมานมาก ขับรถกลับบ้านเองไม่ได้ ดีว่าแฟนขับรถได้จึงรีบมาที่ร้านเพราะไม่มีแว่นสำรอง บังเอิญที่ผมยังไม่คืนเลนส์ 9 prism ให้ Rodenstock ก็เลยเอาเลนส์คู่นั้นมาประกอบให้คนไข้ เอาไปใช้งานระหว่างรอจะสั่งเลนส์ใหม่
คนไข้บอกว่า เออ! ดี มันไม่เป็นไรแล้ว ใส่ได้เลย สงสัยจะชินหลังจาก ให้ใส่เล่นอยู่ 1 สัปดาห์ คนไข้กลับมาขอทำเพิ่มอีก 1 อัน เอา 9 prism ทำเป็น Multigressiv MyLife 2
ค่าสายตาล่าสุดสำหรับแว่นตัวใหม่
OD +0.75 -0.75 x160 ,4.5 prism base90 , 1.50 prism base180 (4.74@108)
OS +0.50 -0.25x5 ,4.5 prism base270 , 1.50 prism base 0 (4.74@288)
Add +1.25
แม้ว่าจะอยาก correction มุมเหล่ทั้งหมดที่มี แต่ก็เป็นขีดจำกัดของการผลิตเลนส์ว่าไม่สามารถขัดปริซึมเข้าโครงสร้างเลนส์ได้รวมแล้วไม่เกิน 10 ปริซึม (ข้างละ5) ทำให้ Final Rx ต้องประเมิน priority ว่าจะให้นำหนักกับ Hyperphoria แค่ไหน และ esophoria แค่ไหน
1.compound hyperopic astigmatism ,OU
2.Left -Hyperphoria
3.Esophoria
4.Presbyopia
1.Full Correction
OD +0.75 -0.75 x160 OS +0.50 -0.25x5
2.prism correction
OD ,4.5 prism base 90
OS ,4.5 prism base 270
3.prism correction
OD 1.50 prism base180
OS 1.50 prism base 0
Possible prism correction
OD 4.74 pd base@108
OS 4.74 pd base@288
4.progressive additional lens : Rodenstock Multigressiv MyLife 2 ,type Expert.
เคสนี้มีเรื่องให้มองหลายจุด
1.คนไข้บางคน คิดว่าปัญหาคือสิ่งที่คนทั่วๆไปเขาก็เป็นกัน เลยสามารถทนอยู่กับปัญหาได้ เช่น อาการเมื่อยคอ ปวดต้นคอ จาก heat tilt ที่มีเหตุจาก hyperphoria ดังนั้นการสังเกตุลักษณะท่าทางของคนไข้ว่า body posture นั้นปกติไหม สมมาตรไหม เป็นเรื่องสำคัญเช่นกันในการนำไปตั้งคำถาม ตั้งสมมติฐาน เพื่อนำไปสู่การตรวจวินิจฉัยต่อไป
2.Vertical Phoria เป็นมุมเหล่ที่ร่างกายของเรานั้นมี tolerance ต่ำ ทำให้แม้มุมเหล่ไม่มาก แต่สามารถสร้างปัญหาได้มาก เทสที่ง่ายที่สุดเพื่อเช็คก็คือ maddox rod และค่าที่ได้จาก maddox นั้นเป็นค่าที่มีความน่าเชื่อถือและนำไปจ่ายปริซึมได้ แต่ก็ต้องระวังในกรณีคนไข้สายตามากๆ และกายภาพของตำแหน่งดวงตาขวา/ซ้าย สูงไม่เท่ากัน อาจจะทำให้การวินิจฉัยพลาดเป็น fales positive ได้ และลักษณะสำคัญของคนไข้ hyperphorai คือมี head tilt
3.เคสนี้ คนไข้ไม่ได้มาด้วย complain ปวดหัว หรือเห็นภาพซ้อน แต่กลับมาด้วย อยากได้แว่นอ่านหนังสือ ดังนั้น ความคิดที่ว่า “if it don’t broke ,don’t fix it” หรือ ถ้าไม่มี complain ก็ไม่ต้องไปแก้ ผมกลับเชื่อว่า ทำไมต้องรอให้พัง ทำไมต้องรอให้มีอาการ ถ้าเห็นว่ามีปัญหา แล้วการแก้ปัญหา มันทำให้ระบบต่างๆของคนไข้ สุขภาพของคนไข้กลับมาเป็นปกติ ก็ควรจะแก้ไข เพราะบางครั้ง คนไข้แค่ทนหรือชินหรือปรับตัวกับความทุกข์ได้เท่านั้นเอง คือยอมจำนนกับร่างกายตัวเอง เพราะมองเป็นโรคกรรมมากกว่าเป็นโรคที่ต้องรักษาทางการแพทย์
ดังนั้นการใช้คำว่า “คนไข้เขาชินอย่างไรก็จ่ายอย่างนั้น” ผมว่าไม่สมควรออกมาจากปากคนของคนที่คนไข้เรียกว่าหมอ หรือ บางอาการที่คนไข้ไม่ได้เล่าให้ฟัง เขาอาจจะประเมินผู้ตรวจต่ำ หรือคิดว่าผู้ตรวจไม่น่าจะรู้ปัญหาเขาก็เป็นไปได้
4.การปรับตัวกับปริซึม ก็เป็นสิ่งที่ต้องเข้าใจหัวอกหัวใจของคนไข้ว่า มันมีความทรมานขนาดไหน ยาบางชนิดต้องค่อยๆไต่ระดับ ค่อยๆเพิ่มโดส ไม่อย่างนั้นร่างกายช๊อค สมองก็เช่นกัน การที่รับภาพใหม่ที่ต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิงก็มีเวลาที่ต้องปรับตัว เคสนี้เริ่มใช้งานด้วย 5 prism แก้ hyper และ 4BO เพื่อแก้ eso จากนั้นค่อย full corrected เท่าที่จะเป็นไปได้คือ ข้างละ 4.74 prism OU
ครับ พอหอมปากหอมคอ หวังว่า content เรื่องนี้ พอจะเป็นไอเดีย ในการทำงานด้านทัศนมาตรสำหรับน้องๆโอดีที่กำลังทำงานด้านนี้อยู่ หากมีข้อสงสัยประการใดหรืออยากให้เพิ่มเติมที่จุดไหน comment เพื่อ discussion กันได้นะครับ
Google Maps: https://goo.gl/maps/PQpXxquxYiS2
fb : www.facebook.com/loftoptometry
line id : loftoptometry
090 553 6554