By Dr.Loft ,13/08/2019
เรื่องย่อของเคสนี้คือ คนไข้ชาย อายุ 42 ปี อาชีพเป็นแพทย์เชี่ยวชาญด้านกระดูก มาด้วยอาการ ปวดตึงๆบริเวณกระบอกตา เมื่อยตา เป็นมา 5 วัน ซึ่งอยู่ๆก็เป็นขึ้นมา ดูใกล้ไม่ค่อยชัด ต้องเพ่ง และโปรเกรสซีฟที่ใช้อยู่รู้สึกว่าต้องเงยหน้าเยอะ ทำให้เมื่อยตา จึงเข้ามาตรวจเพื่อหาความผิดปกติ
ในเบื้องต้น คนไข้คิดว่าเป็นเรื่องของแว่นเบี้ยว ซึ่งเมื่อนำแว่นมาให้ผมดูก็พบว่าเบี้ยวจริงโดยมุมเท (panto angle) ขวา/ซ้าย นั้นมีมุมเทไม่เท่ากัน จึงคิดว่าเกิดจากแว่นเบี้ยวจริงๆ และได้ทำการดัดและ calibrate ซึ่งคนไข้รู้สึกว่าดีขึ้น และไปลองใช้ดูเผื่อว่าอาการจะหาย วันถัดมาคนไข้แจ้งว่าดีขึ้นแต่อาการก็ยังไม่หาย อาการต้องเพ่งเวลาดูใกล้ยังมีอยู่ ผมจึงนัดคุณหมอให้เข้ามาตรวจในวันถัดไป
หลังจากที่ตรวจสายตาและระบบการทำงานของสองตาทุกระบบแล้ว พบว่า สายตามองไกลนั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากเดิม แต่สิ่งที่ผิดปกติอย่างเห็นได้ชัดคือ ค่า BCC หรือค่า addition ของคนไข้นั้นสูงขึ้นผิดปกติ จาก BCC+1.00D เมื่อปีที่แล้ว กลายเป็น +2.00D ในวันที่เข้ามาตรวจ (อายุ 41ปี) ซึ่งเป็นการ progress ของค่า addition ที่ไม่ปกติ ซึ่งแสดงถึงความล้าของเลนส์ตาที่ผิดธรรมชาติมากๆ ซึ่งการที่ค่า add จะเพิ่มถึง 1.00D นั้นปกติจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 8-10 ปี (อายุประมาณ 50 ปี) แต่เวลาพึ่งผ่านมา 1 ปี ไม่น่าจะเป็นไปได้
ผมถามคนไข้ว่า ช่วงก่อนที่จะมีอาการปวดกระบอกตานี้ มีกิจกรรมอะไรที่ผิดไปจากเดิมไหม เช่นดูใกล้มาก หรือ ใช้สายตาดูใกล้มากๆ กว่าช่วงอื่นไหม เพราะถ้าเป็นความล้าของกำลังเพ่งที่ลดลงตามอายุหรือสายตาคนแก่นั้น เป็นความอ่อนแรงที่ค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลานานหลายปี คนไข้จะจำช่วงเวลาไม่ได้ชัดเจนว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ แต่ถ้าอาการเกิดขึ้นแบบ Suddenly นั้นต้องมีเหตุบางอย่างมากระตุ้น
คุณหมอแจ้งว่า ช่วงก่อนจะมีอาการนั้น ต้องเข้าเวรเพิ่ม ครึ่งเข้าเข้า OPD ใช้คอมพิวเตอร์เยอะ ช่วงบ่ายก็เข้าผ่าตัดต่อเนื่องทั้งวัน 2-3 วันติดก่อนมีอาการ ผมจึงขอให้คุณหมอหาเวลามาใหม่ ให้พักตาหรือทำงานดูใกล้ให้น้อย แล้วหาวันสบายๆ นอนพักผ่อนเพียงพอแล้วเข้ามาตรวจอีกครั้ง ซึ่งคุณหมอก็พักงานไป 3 วัน เมื่อร่างกายพร้อมแล้วก็นัดเวลาเข้ามาตรวจใหม่
หลังจากตรวจสายตาใหม่พบว่า ค่าสายตามองไกลยังคงเหมือนเดิม phoria ที่มีก็ยังคงเหมือนเดิม และที่น่าสนใจคือ Addition กลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ BCC+1.25 ซึ่งก็ makesens ว่ามี add ขยับขึ้น +0.25 ในเวลา 1 ปี ก็ถือว่าปกติ
ซึ่งผม accessement เคสนี้ว่า เป็น Accommodation Fatique หรือกล้ามเนื้อตาล้าจากการหักโหมใช้สายตาดูใกล้หนักและต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้เลนส์ตาเกิดการล้าและแสดงอาการให้เห็นดังกล่าว แต่ก็เป็นความล้าที่เกิดขึ้นชั่วคราว เมื่อได้พัก เลนส์ตาก็กลับมามีแรงเพ่งเพิ่มขึ้นเป็นปกติ
หัวใจของเรื่องนี้ อยู่ที่การให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อนตรวจเข้ารับบริการทางคลินิกทัศนมาตร เพื่อให้ผลในการตรวจนั้นเป็นค่าที่ถูกต้องแท้จริง ไม่ใช่ค่าที่เกิดจากความผิดพลาดเนื่องจากร่างกายไม่ได้อยุ่ในภาวะที่ปกติ และผมเห็นว่ามีประโยชน์จึงนำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้
แต่ก่อนที่จะเข้าไปสู่รายละเอียด เรามาดูเคสตั้งแต่ต้นกันดีกว่า
คนไข้ชาย อายุ 40 ปี อาชีพแพทย์เชี่ยวชาญด้านกระดูก มาด้วยอาการปวดศีรษะมึนๆหลังจากใส่แว่นซึ่งเป็นเลนส์ single vision ที่เคลมว่ามีเทคโนโลยีช่วยลดกำลังเพ่งในคนเริ่มมีปัญหากำลังเพ่งอ่อนแรงในวัยเริ่มเป็นสายตาคนแก่ ซึ่งแว่นก็พึ่งทํามาไม่นาน ถอดแว่นแล้วอาการปวดตึงตาดีขึ้น ซึ่งมีอาการนั้นมีตั้งแต่วันไปรับแว่นมาจนถึงวันที่แวะมาที่ลอฟท์ประมาณ 1 เดือน เดิมคนไข้คิดว่าเป็นเรื่องปรับตัวกับแว่น แต่ผ่านไปหลายวันแล้วอาการก็ยังคงเป็นอยู่ จึงอยากจะเข้ามาเพื่อค้นหาปัญหา
(ผมหยิบเลนส์มาดูเป็นเลนส์ระยะเดียวตระกูล anti-fatique ค่ายหนึ่งซึ่งเคลือบผิวด้วยเลนส์ BlueBlock อยู่ และผมได้เขียนเรื่องในเพจว่า "เหตุผลของการจ่ายBlueBlockคืออะไร" ซึ่งผมอยากจะ promote ads แต่ทำไม่ได้เพราะโดน report ว่าสร้างความทะเลาะขัดแย้ง ทำนองนั้น ซึ่งเนื้อหาเป็นอย่างไรลองไปอ่านกันดูครับ http://bit.ly/2KB9PBG ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ก็ช่วยแชร์ต่อก็ดีครับเพราะว่าผม promote ไม่ได้ )
- ไม่เคยรับการตรวจสุขภาพตาจากจักษุแพทย์มาก่อน
- CL ; ไม่เคยใช้คอนแทคเลนส์
+ Glasses : คนไข้เริ่มใช้แว่นครั้งแรกตั้งแต่อายุ 15 ปี แว่นปัจจุบันที่ใส่อยู่อายุ 1 เดือน เป็นเลนส์ชั้นเดียวแบบลดกำลังเพ่งเคลือบตัดแสงสีน้ำเงิน (anti-fatique single vision lens ) ใส่แล้วรู้สึกปวดตึงบริเวณลูกตา
-ไม่มีประวัติอุบัติเหตุทางตาหรือศีรษะ ไม่มีประวัติผ่าตัด บาดเจ็บ ติดเชื้อที่เกิดขึ้นกับดวงตา สุขภาพตาโดยรวมแล้วไม่เคยมีปัญหามาก่อน
HA/Diplopia
+HA : ปวดศีรษะทุกครั้งที่ใส่แว่น ถอดแล้วดีขึ้น ระดับความปวด 4/10 พักแว่นแล้ว อาการดีขึ้น
-Diplopia : ภาพมีเงา แต่ไม่ซ้อนเป็นสองภาพ
สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจําตัว มีภูมิแพ้ฝุ่น จาม น้ํามูกไหล
ไม่มีโรคอย่างอื่น หรือความผิดปกติทางสุขภาพร่างกายหรือญาติพี่น้องที่ต้อง concern
ใช้สายตา ผ่าตัด คอมพิวเตอร์ มือถือ ตลอดทั้งวัน
VAcc 20/100 OD , 20/70 OS ( เห็น VAcc ไม่ดี จึงไม่ได้สนใจค่ากําลังของเลนส์เดิม)
Alt.Cover Test : Ortho ,EP’
Retinoscope
OD -1.50 - 0.75 x 150 VA 20/20
OS -2.25 - 1.00 x 50 VA 20/25
Subjective Refraction (SRx)
OD -1.25 - 0.62 x 152 VA 20/15
OS -2.75 - 0.62 x 52 VA 20/15
Binocular function 6m 40 cm
Horz.Phoria 1BO -
BI-vergence x/6/2 -
BO-vergence 6/12/4 -
Vertical Phoria 1 BUOS (R-hyperphorai)
Supra Vergence 2/1 (LE)
Infra Vergence 4/2 (LE)
BCC - +1.25D
NRA/PRA - +1.00/-1.00
1.compound myopic astigmatism : ปัญหาสายตาที่คนไข้เป็นนั้น มองไกลมีสายตาสั้น ร่วมกับสายตาเอียง โดยโฟกัสของ sphere /cylinder นั้นตกก่อนจอกรับภาพทั้งคู่ และเป็น anisometropia คือสายตาสองข้างนั้นต่างกัน > 1.00D ซึ่งเป็น criterior ที่ต้องเริ่ม concern เรื่อง binocular vision
2.มองไกลมีเขเข้าซ่อนเร้น (esophoria)
3.มองไกลมีเหล่ซ่อนเร้นในแนวดิ่งหรือตาสูงต่ำ โดยมีมุมเหล่ตาขวานั้นอยู่สูงกว่าตาซ้าย 1 prism (right -hyperphoria)
4.มีสายตาชราตามวัย (presbyopia) ทำให้ดูใกล้ไม่ชัด
OD -1.25 - 0.62 x 152
OS -2.75 - 0.62 x 52
2. prism Rx : 0.5BOOD/0.5BOOS
3. Pris Rx : 0.5BDOD/0.5BUOS
4.progressive additional lens ; Add+1.25
อาการที่มานั้น เช่นปวดตึงบริเวณเบ้าตา เมื่อยล้าตาเวลาทำงานนั้น หายไปทั้งหมด ใช้ชีวิตปกติ จากนั้นคนไข้ก็หายไปร่วมๆปี จนกระทั่งล่าสุดเมื่อกลางเดือนที่แล้ว ( 13/7/62 ) คนไข้กลับเข้ามาอีกครั้งด้วยอาการ ปวดตึงๆบริเวณกระบอกตา เมื่อยตา แต่พึ่งเป็นมา 5 วัน ซึ่งอยู่ๆก็เป็นขึ้นมา ดูใกล้ไม่ค่อยชัด ต้องเพ่ง และโปรเกรสซีฟที่ใช้อยู่รู้สึกว่าต้องเงยหน้าเยอะ ทำให้เมื่อยตา
เบื้องต้นคิดว่ามีสาเหตุจากแว่นเบี้ยว เนื่องจากพบว่าแว่นเบี้ยวจริง จึงทำการ calibrate แล้ว adjust ให้พารามิเตอร์ถูกต้อง แล้วให้คนไข้กลับไปลองใช้ พบว่าปัญหาก็ยังคงมีอยู่ จึงได้นัดคนไข้เข้ามาตรวจอีกครั้ง
คนไข้ Complain ปวดๆ ตึงๆตาบริเวณรอบๆดวงตา เป็นมา 5 วัน แบบ sudden และ ช่วงเวลานั้นมีงานผ่าตัดต่อเนื่อง 2 วัน ใช้สายตาหนัก แล้วก็เร่ิมมีอาการ พักผ่อนตื่นเช้า มาก็ยังไม่หาย
Keratometry
OD 40.75@165 /42.25@75 (corneal astig. -1.50 x 165)
OS 41.00@20 / 42.25@110 (corneal astig. -1.25 x 20)
Retinoscope
OD -1.50 - 1.00 x 160 VA 20/20
OS -2.75 -1.25 x 50 VA 20/20
Subjective Refraction
OD -1.25 - 1.00 x 150 VA 2015
OS -2.75 - 0.75 x 45 VA 2015
Horz.Phoria 1 BO (eso) 14 BI (exophoria)
BI-vergence x/6/0 -
BO-vergence 6/10/4 -
Vertical Phoria 0.5 BUOS ( R-Hyperphoria)
Supra Vergence 2/1 (LE) -
Infra Vergence 3/2 (LE) -
BCC - +1.75D
NRA/PRA - +0.75/-0.75
Antr.segment. : Normal / Normal
Pupil : PERRLA w/o RAPD+
Meso 5.4 /4.9 mm
Photo 3.1/3.1 mm
IOPc : OD 11.7 mmHg (CCT 551 micron)
OS 12.4 mmHg (CCT 562 micron)
Angle : IAT IAN
OD 44ํ 42ํ
OS 43ํ 44ํ
C/D ratio : 0.7 OD/OS (** Suspect Glaucoma Tilting disc ,OD, OS)
Ground look normal
AV ratio ; 2/3
ALR ratio : 1/3
1. Add ที่พุ่งสูงขึ้นมานี้ ยังไม่ได้ปักใจเชื่อว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ แต่อาจจะเกิดจาก ภาวะบางอย่างในร่างกายที่ยังฟังก์ชั่นผิดปกติ จึงแนะนําให้คนไข้ไปพบจักษุแพทย์ เพื่อประเมินเพิ่มเติม
2-4 F/U
5. Refer Ophthalmologist เพื่อทําการตรวจวินิจฉัยต้อหินต่อไป
หลังจากให้คนไข้ไปพบจักษุแพทย์เพิ่มเติม ซึ่งแพทย์ได้ทำการตรวจลานสายตาและตรวจความดันตาเพิ่มเติม รวมทั้งทำ OCT ก็พบว่า ขั้วตานั้นใหญ่จริง C/D ratio 0.7/0.7 ส่วนความดันตานั้นยังไม่ได้สูงมาก และลานสายตาจาการทดสอบนั้นเสียไปบางจุด แต่แพทย์ไม่ได้คิดว่าเกิดจากการเสียจริง แต่น่าจะเกิดจาก error ที่เกิดจากการผิดพลาดจากตรวจมากกว่า คุณหมอเลยยัง Suspect Glaucoma ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังไปก่อน ให้ผ่านไปอีกสัก 1-2 เดือนค่อยมา monitor ดูลานสายตากันอีกรอบ
หลังจากคุณหมอหาเวลาได้ หลังจากหยุดงานไม่ทำงานที่ต้องใช้สายตาดูใกล้มาก ๆ ต่อเนื่องกันประมาณ 3 วัน ผมก็ได้โทรนัดหมอให้เข้ามาตรวจอีกครั้ง
Refraction
OD -1.25 -0.75 x 152 VA 20/15+2
OS +2.75 -0.75 x 52 VA 20/15+2
BCC +1.25
NRA/PRA +1.00/-1.00
Binocular Function กับมาเป็นค่าเดิม
1. Acommodation Fatigue (tempolary) เป็นอาการล้อของกำลังเพ่งของเลนส์ภายในลูกตา แบบชั่วคราว จากการใช้สายตาดูใกล้อย่างหนักและต่อเนื่อง
1.Full Coreectoin
OD -1.25 -0.75 x 152
OS +2.75 -0.75 x 52
2.Ergonomic progressive lens
อีกปัญหาหนึ่งของคนไข้คือ ขณะนี้ใส่แว่นโปรเกรสซีฟเดิมที่ทำไปเมื่อปีที่แล้ว (Multigressiv MyLife PRO410 ,type Expert.) ยังชัดเจนปกติ ปัญหาปวดหัวหายไปแล้ว แต่คนไข้ยังรู้สึกว่า progressive lens อย่างไรก็ตามยังคงต้องเงยหน้าเล็กน้อยเพื่อให้มอง PC ที่อยู่ตรงหน้า ทำให้เวลากรอกข้อมูลบนคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานนั้นรู้สึกว่าเมื่อยต้นคอ ผมจึงแนะนำให้ใช้เลนส์ Ergonomic หรือเลนส์ office แทนเลนส์โปรเกรสซีฟเมื่อต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ซึ่งผมแนะนำให้ใช้ Progressiv Erogo PC ก็เป็นอันจบปัญหาไป
1.Blue Control หรือ Blue Block นั้น เป็น Option สำหรับคนที่รู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับแสงสีน้ำเงินจากหน้าจอเท่านั้น เพราะจากรายงานการแพทย์ปัจจุบันของผลกระทบแสงสีน้ำเงินต่อดวงตามนุษย์จริงนั้นยังไม่มี ดังนั้น ถ้าท่านรู้สึกเหนื่อยล้า ปวดเบ้าตา แพ้แสง เมื่อยตา ปวดศีรษะเวลาดูหน้าจอหรือมือถือ สาเหตุมากกว่า 99 % นั้นเกิดจาก ท่านมีปัญหาสายตาที่ยังไม่ได้แก้ไขอยู่ หรือแว่นที่ท่านใส่อยู่นั้นไม่ตรงกับค่าสายตาจริง หรือเซนเตอร์หรือมุมแว่นของท่านไม่ถูกต้อง หรือคุณภาพของเลนส์ที่ท่านใช้อยู่นั้นไม่รองรับปัญหาสายตาของท่าน หรือไม่ก็ใช้งานต่อเนื่องยาวนานเกินไปซื้อถ้าจะใช้นานมากๆขนาดนั้น อ่านหนังสือไม่มีแสงสีน้ำเงินก็ปวดหัวอยู่ดี
ส่วนที่จะมีสาเหตุมาจากแสงสีน้ำเงินนั้นน้อยกว่า 0.01% และถ้าจะกลัวว่า จอประสาทตาจะเสื่อมจากแสงสีนำ้เงิน ก็ให้ทำใจได้ ถ้าท่านจอประสาทตาเสื่อมจากแสงสีนำเงิน ท่านจะเป็นผู้ที่โชคร้ายที่สุดในโลก เพราะปัจจุบันยังไม่มีรายงานทางการแพทย์เรื่องนี้ ส่วนท่านที่เป็นจอประสาทตาเสื่อมปัจจุบันนี้ ล้วนแต่ไม่ได้เป็นผู้ที่อยู่หน้าจอหรือดูหมือถือทั้งวัน แต่กลับเป็นผู้สูงอายุที่เกิดก่อนดิจิทัลจะเกิดเกือบทั้งสิ้น ซึ่งสาเหตุแพทย์ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่า บุหรี่นั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ แต่ยังไม่มีการระบุว่า แสงสีน้ำเงินเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ
Blue is not Evil , ผมไม่เคยทำร้ายใคร https://www.loftoptometry.com/whatnew/BlueBlock
ดังนั้น จากข้อนี้สรุปได้ว่า เลนส์กรองแสงนำ้เงินนั้น เพื่อรักษาอาการทางใจ ให้คลายกังวลได้เท่านั้น และอย่าไปโฆษณาว่ามันจะทำให้ท่านไม่เมื่อยตา ไม่ล้าตา ไม่ปวดศีรษะ หากค่าสายตาที่ตรวจอยู่ก็ยังทำกันไม่ค่อยจะถูก แล้วจะคิดว่าเลนส์กันบลูจะช่วยกลบเกลื่อนค่าสายตาที่ uncorrected ก็คงจะไม่มีเรื่องนั้น แต่ถ้าการห้อยพระทำให้ท่านรู้สึกสบายใจขึ้น มั่นใจขึ้น ก็คงไม่ได้ผิดอะไร เช่นเดียวกัน ถ้าการใส่ blue block ทำให้ท่านรู้สึกสบายใจขึ้น ก็คงไม่ผิดเช่นกัน ดังนั้น ผู้ขายขายได้ถ้าอยากขาย ส่วนผู้ซื้อก็ซื้อได้ถ้าสบายใจ แต่อย่าไปคาดหวังมันจนเกิดเหตุว่ามันจะช่วยอะไรได้มากกว่าความสบายใจ ถ้าสายตายังแก้กันไม่ค่อยจะถูกต้อง เพราะเท่าที่สังเกตมา คนไทยจำนวนมาก เราแยกระหว่างคำจริงกับคำโฆษณาไม่ค่อยออก
2.Acommodation Problem
ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบการเพ่งของเลนส์ตานั้นมีอยู่หลายอย่างซึ่งมีอาการแสดงแตกต่างกัน เช่น
Accommodative Insufficiency คือกำลังเพ่งของเลนส์แก้วตาไม่พอต่อระยะที่ต้องการจะดู ตัวอย่างเช่น สายตาคนแก่ ที่ดูใกล้ไม่เห็นนั้นเป็น Accom insuf. จากการเสื่อมตามอายุที่เห็นได้ชัด แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในเด็กได้ด้วยเช่นกัน
ill-sustain accommodation คือคนไข้ที่ไม่สามารถที่จะเพ่งดูใกล้เพื่อดูหรืออ่านต่อเนื่องได้ ซึ่งอาจจะเกิดจากกำลังเพ่งที่ลดลง อาจจะด้วยวัย หรือด้วยปัญหาสุขภาพบางอย่าง หรือแม้แต่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อตา
Accommodative Infacility คือคนไข้มีความยืดหยุ่นของการโฟกัสไม่ดี ทำให้มีปัญหาในการเปลี่ยนระยะการมองเช่น ใช้เวลาในการโฟกัสนานเมื่อเปลี่ยนระยะการมองจากไกลมาดูใกล้ หรือจากใกล้ไปดูไกล
Accommodation Fatigue คือคนไข้ที่กำลังเพ่งเกิดอาการล้า จากการใช้งานหนักต่อเนื่องเป็นเวลานาน
Accommodative Spasm คือคนไข้ที่มีปัญหาเลนส์ตาเกร็งค้าง ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อควบคุมเลนส์ตานั้นล๊อกตัวแล้วไม่ยอมคลาย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุ ให้เกิดสายตาสั้นเทียมขึ้นมา โดยเฉพาะกับเด็กๆ ที่มีกำลังเพ่งสูงๆ และชอบดูใกล้ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ
3.ความพร้อมเป็นสิ่งจำเป็น
ประเด็นของเคสนี้ที่สำคัญก็คงจะเป็น "ความพร้อม" ทั้งห้องตรวจ ทั้งผู้ตรวจ และ คนไข้ ที่ต้องพร้อมทั้ง ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ ในการเข้ารับการตรวจสายตาในคลินิกทัศนมาตร ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกันเสียใหม่ของการบริการด้านสายตาในบ้านเรา
3.1 ความพร้อมของคนไข้
เคสนี้เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่า จะเกิดความผิดพลาดอย่างไรถ้าหากตรวจสายตาและฟังก์ชั่นของคนไข้ในภาวะที่ร่างกายนั้นไม่ปกติ และจะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากว่าเคสนี้เป็นเคสใหม่ที่ไม่เคยมีประวัติไว้อ้างอิง ซึ่งผมเชื่อว่า ผู้ตรวจที่เข้าใจไม่มีทางที่จะจ่ายเลนส์ในวันที่ภาวะร่างกายไม่พร้อมอย่างนี้ ส่วนผู้ที่ไม่เข้าใจ หรือ ไม่รู้ ก็คงเรียบร้อยไปเรียบแล้วก็ค่อยตามแก้เอา จริงๆก็เรื่องเดียวกันถ้าต้องกลับมาแก้ไข
3.2 ความพร้อมของผู้ตรวจ
การตรวจ comprehensive eye exam ในทางคลินิกทัศนมาตร หรือที่จะเรียกว่า Routine Eye Exam นั้น เป็นการตรวจสกรีนดูดวงตาและระบบการมองเห็นทั้งหมด ตั้งแต่ความผิดปกติของระบบการหักเหแสง (refractive examination) ระบบกล้ามเนื้อตาและการทำงานร่วมกันของสองตา (extra ocular muscle / binocular vision) และสุขภาพตา ซึ่งก็ต้องดูกันตั้งแต่ขนตา เปลือกตา น้ำตา กระจกตา เลนส์ตา วุ้นตา จอประสาทตา และการตอบสนองของระบบประสาทอัตโนมัติที่ทำงานเกี่ยวกับตา
ดังนั้นการตรวจทางทัศนมาตร จึงไม่ใช่เรื่องการมาแข่งขันกันในเรื่อง volum ของการตรวจ แต่เป็นเรื่องการใส่ใจใน Quality ขอบการตรวจ ไม่ใช่เรื่องของการตรวจให้เร็วเพียง 5 นาทีแล้ว ขายแว่นรอรับได้ใน 45 นาที อย่างที่คนไทยคุ้นเคย เพราะ Speed กับ Quality นั้นสวนทางกันเสมอ ยิ่งขับรถเร็วยิ่งอันตรายและพลาดชมสิ่งต่างๆเรี่ยรายทาง ยิ่งขับช้ายิ่งปลอดภัยและได้รายละเอียดรอบทางได้ดีกว่า เฉกเช่นเดียวกัน การเร่งตรวจย่อมนำไปสู่ความผิดพลาดในการตรวจและพลาดการพบความผิดปกติเล็กๆน้อยๆไป "ช้าๆย่อมได้พร้าหลายเล่มงาม"
กระบวนการตรวจทั้งหมดนี้ เป็นจริยธรรมของทัศนมาตรพึงปฏิบัติให้ครบถ้วน ดังนั้น ในขั้นตอนการตรวจทางทัศนมาตรนั้น แม้จะตรวจตาม complain ก็คงต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ชม.ดังนั้น ทั้งผู้ตรวจและคนไข้จึงต้องมีความพร้อมทั้งทางร่างกาย และ จิตใจ และสำคัญทีสุดก็คงจะเป็น ตั้งใจตรวจของผู้ตรวจ และตั้งใจที่จะให้ความร่วมมือในการรับการตรวจ ผลที่ได้จึงจะเป็นค่าที่ดีที่สุด
3.3 ความพร้อมของห้องตรวจ
ห้องตรวจทัศนมาตรนั้น เป็นห้องที่ต้องควบคุมความมืดสว่างของไฟในห้องตรวจ บางเทสต้องการความมืดสนิท เพื่อให้ม่านตาขยาเต็มที่ เพื่อให้ aberration ทั้งหมดได้คายออกมาทั้งหมด แต่ในบางเทสก็ต้องการความสลัวเพื่อให้รูม่านตาเปิดใหญ่ เพื่อป้องกัน depth of focus จากรูม่านตาใหญ่ที่ไปรบกวนการตรวจ และในบางเทสก็ต้องใช้ความสว่างปกติ เพื่อให้การตอบสนองของรูม่านตานั้นเหมาะสมกับภาพในชีวิตประจำวัน เพราะความเล็กใหญ่ของรูม่านตานั้น ส่งผลต่อค่าความคลาดเคลื่อนของสายตาโดยตรง
ดังนั้นความสำคัญจึงต้องเริ่มตั้งแต่ห้องตรวจมาตรฐาน 6 เมตร มีขอบเขตชัดเจน สะอาด ปลอดภัย และคุมความมืดสว่างของไฟได้ และถ้าพื้นฐานเหล่านี้ยังไม่ได้ ก็คงไม่ต้องไปพูดถึงมาตรฐานของการตรวจต่อ ในเมื่อการตรวจไม่ได้อยู่ใน standard reference ค่าที่ได้ก็คงจะไม่สามารถนำไป reference ได้เช่นกัน
สิ่งที่อยากจะบอกทุกท่านก็คือ ถ้าท่านเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับการมองเห็นของตัวเองจริง รักสุขภาพของตนเองจริง และอยากให้การแก้ไขป้ญหาของตนเองนั้นถูกต้องที่สุดจริง ท่านต้องให้ความสำคัญในการตรวจสายตากับทัศนมาตร ให้เวลา ให้ความสำคัญ ทั้งในการพักผ่อนเพียงพอ ไม่เข้ามาตรวจขณะที่ร่างกายไม่พร้อมหรือล้ามากๆ ซึ่งเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือช่วงเช้าหลังจากที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่นอนดึก
เวลาที่ไม่เหมาะสมคือ หลังจากหักโหมใช้สายตามาอย่างหนักอย่างต่อเนื่องแล้วเข้ามาตรวจสายตา เวลาหลังบ่าย 3 โมงเย็น หรือหลังเลิกงานนั้น ต้องมั่นใจว่า ในวันนั้นท่านไม่ได้หักโหมใช้สายตาหนักมา และสิ่งที่ไม่ควรที่สุดคือมาตรวจสายตาหลังเลิกงาน เนื่องจากจะทำให้ค่าที่ได้จากการตรวจนั้น เกิดความคลาดเคลื่อนจนถึงอาจสร้างปัญหาชีวิตให้ท่านได้ ทั้งเสียเงิน เสียเวลามาแก้ไข เสียความรู้สึก และเสียคุณภาพชีวิต เพราะว่าเลนส์สายตานั้น ไม่ว่าสายตาที่อยู่บนแว่นที่เราใส่อยู่นั้นจะเป็นค่าที่ถูกหรือผิด ใส่ได้หรือใส่ไม่ได้ ใส่ได้เต็มประสิทธิภาพหรือไม่เต็มประสิทธิภาพ แต่ราคาเลนส์ย่อมเท่ากัน เพราะผู้ผลิตเลนส์ทำโครงสร้างที่ดีที่สุดให้ท่านได้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ผู้ผลิตไม่มีทางทราบได้เลยก็คือ ค่าสายตาที่สั่งให้ทำนั้นถูกต้องมากน้อยแค่ไหน ก็อยากจะฝากไว้ให้เข้าใจ
Google Maps: https://goo.gl/maps/PQpXxquxYiS2
fb : www.facebook.com/loftoptometry
line id : loftoptometry
090 553 6554