Post By Panuwat Job » 2022-07-19 00:50:51
เบื้องต้นต้องขอขอบคุณสำหรับคำถามนะครับ
รูม่านตานั้น เป็นเรื่อง scale ขนาดเล็กมากๆ เล็กจนบางที่ก็ลืมที่จะให้ความสำคัญของมันไป เพราะ scale อยาบๆอย่างค่าสายตา สั้น ยาว เอียงก็ยังจะทำกันไม่ค่อยจะถูก ยังคงมีการจัดสายตา ปรับ แต่ง ลด ปัดทิ้ง รวมๆก็ยังหาค่าจริงไม่ค่อยจะถูกกัน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างบ้านเรา) ทำให้การนึกภาพความสำคัญของรูม่านตานั้นยังเป็นเรื่องอุดมคติเกินไป
ดังนั้นเมื่อพูดถึงรูม่านตา เรากำลังพูดถึงหลังจากที่ scale อยาบนั้นได้แก้ไขอย่างถูกต้องและตรงไปตรงมาแล้ว (full correction)
อย่างแรกที่เราต้องทำความเข้าใจก็คือ โฟกัสที่เกิดขึ้นบนจุดรับภาพ (focal point) ถ้าพูดถึงความรู้สึกของคนทั่วไปก็คงคิดว่ามันเป็นจุดจริงๆแบบ pin point sharp image ชนิดที่ว่าไม่มีการแตกแยกหรือกระเจิงของแสงใดๆ ซึ่งนั่นมันอุดมคติเกินไปแบบที่เราเรียนใน geometrical optic ลากเส้นตัดเป็นจุดบนจอรับภาพ
แต่ความจริงที่เกิดขึ้นบนจุดรับภาพนั้นมันเป็นจุดของ “จุดมัวน้อยสุด” ซึ่งก็คือจุดของ “best sphere” หรือ "spherical equivalent” หรือ “จุดของ circle of least confusion” ซึ่งเวลาเราพูดถึง circle of least confusion เรามักจะนึกถึง scale อยาบๆ ของค่า sphere ที่ดีที่สุดของสายตาเอียง (เด็ก O.D. จะเข้าใจคำนี้ดี)
เช่น ถ้าเรามีสายตา 0.00 DS เอียง -0.50x180 DC ค่า best sphere หรือ S.E. ของเราจะมีค่าเท่ากับ -0..25 DS ดังนั้น ถ้าเราใส่แว่นค่า -0.25 DS มันจะให้ค่าความคมชัดใกล้เคียงกับแว่นที่ที่มีค่า 0.00 -0.50x180 ซึ่งมุกนี้เรามักจะใช้กับการจ่ายค่า contact lens เวลาไม่อยากจ่ายคอนแทคเลนส์แบบสายตาเอียงซึ่งก็ชัดใกล้เคียงค่าแว่นที่ถูกต้อง ซึ่งค่าความคลาดเคลื่อนระดับหยาบเหล่านี้เราเรียกว่า lower order aberration หรือ LOA
แต่สมมติว่าเราจ่ายค่าสายตาตามจริง 0.00 -0.50x180 หรือเรียกได้ว่าเราแก้ LOA จนหมดแล้ว ซึ่งก็สามารถทำให้คนไข้สามารถอ่าน VA บรรทัดที่ 20/20 ได้เท่ากับคนสายตาปกติแล้ว ก็ยังมี aberration ที่ละเอียดลงไปอีกที่เราเรียกว่า Higher Order Aberration หรือ HOA
HOA นั้นไม่ได้ไปรบกวนความคมชัดของ VA แต่ทำให้เกิดการฟุ้งกระจายของแสงในสเกลเล็กๆ เช่นเรามองดวงจันทร์ในเวลากลางคืน เราเห็นรายละเอียดของกระต่ายในดวงจันทร์ แต่ขณะเดียวกันเราก็เห็นแสงของดวงจันทร์นั้นฟุ้งๆ ยืดๆ หรือไม่ก็เห็นเงาแสงซ้อนๆของดวงจันทร์ ซึ่งนั่นแสดงถึง aberration ในระดับละเอียดหรือ Higher order aberration
ดังนั้น HOA ก็มีความคลาดเคลื่อนของโฟกัสที่ไม่รวมเป็นจุด แต่เกิดโฟกัสหลายๆจุดเล็กๆ ซึ่งก็มีชื่อเรียกสายตาเอียงขนาดเล็กๆนี้เป็นชื่อต่างๆเช่น spherical aberration , coma, trefoil ,tetrafoil ,2nd ,3th ,4th astigmatism ซึ่งการที่เราจะลงไปแก้ในแต่ละจุดที่มีสเกลเล็กขนาดนี้ มันทำได้วิธีเดียวคือ หรือ spherical equivalent ของค่า HOA เหล่านั้น เพื่อทำให้ aberration ลดลงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ด้วยการใช้ S.E.เข้าไปแก้นั่นเอง
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการนำไปคำนวณค่า S.E. โดยตรงก็คือ ขนาด aperture ของรูม่านตานั่นเอง เพราะการบีบหดขยายของรูม่านตานั้นส่งผลกับ S.E. โดยตรง รูม่านตาจึงถูกนำไปคำนวณว่าจะต้องใช้ S.E.เท่าไหร่ในการแก้ Higer Order Aberration
อีกเรื่องหนึ่งคือการนำไปคำนวณออกแบบขนาดของช่องมองบนเลนส์โปรเรสซีฟ
อย่างที่เราทราบดีว่า เลนส์โปรเกรสซีฟเป็นเลนส์ที่มีการไล่กำลังค่าสายตา เป็นช่องมองที่มีกำลังโฟกัสแตกต่างกัน ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดก็คือการออกแบบให้ช่องมองในแต่ละกำลังหักเหนั้นมีขนาดพอดีกับขนาดของรูม่านตาให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ขณะที่กวาดตาลงมามองในแต่ละระยะนั้น ให้แสงเข้ามาผ่านช่องเดียว โดยที่ไม่ไปค่อมกับช่องของกำลังอื่นๆ เพื่อไม่ไห้แสงของโฟกัสไม่มารบกวนกัน
ถ้าพูดให้เห็นภาพก็คือ เวลาเราเดินขึ้นลงบันได ก็จะได้เหยียบเต็มเท้าบนพื้นบันได แต่ถ้าเหยียบบนขอบบันได ก็อันตรายที่ตกพลาดตกได้ ฉันไดก็ฉันนั้น
รูม่านตาของแต่ละคนนั้นก็มีขนาดไม่เท่ากันในแต่ละสภาวะแสง เด็กผู้ใหญ่ก็เล็กใหญ่ไม่เท่ากัน มองไกลมองใกล้ก็เล็กใหญ่ไม่เท่ากัน การคำนวณชดเชยจึงไม่เหมือนกัน
พอจะสรุปได้ว่า ขนาดของรูม่านตา เรากำลังพูดถึงสเกลเล็กอย่าง HOA แต่ถ้าเรายังมั่วนิ่มกันในเรื่องของ LOA แล้ว HOA ก็ไม่ได้ส่งผลอะไร เพราะผิดตั้งแต่สเกลอยาบ สเกลเล็กก็ไม่ต้องพูดถึง
LOA เหมือนการปั้นช้างให้ได้สัดส่วน ถูกต้อง เหมาะสม สวยงาม ส่วน HOA เหมือนการปัดเงาชิ้นงาน ถ้าขึ้นรูปมาก็ขี้เหร่เป็นสากกระเบือ การปัดเงาด้วย HOA ก็คงได้งานปฎิมากรรมของสากกระเบือปัดเงา ฉันไดก็ฉันนั้น
ขอบคุณสำหรับคำถามอีกครั้งนะครับ ก็หวังว่าจะตอบคำถามได้ตรงใจบ้าง แต่ถ้าไม่ตรงบ้างก็ต้องขออภัย และ สามารถถามเพิ่มเติมได้หน่ะครับ
ดร.ลอฟท์
ศึกษาเพิ่มเติม
https://www.loftoptometry.com/how the aberration effect vision?
บันทึกข้อมูล
กรุณาล๊อคอิน facebook เพื่อเข้าใช้งาน Webboard@Loftoptometry.com