ราคาเลนส์แบ่งเป็น 2 เรื่องหลักๆคือ material และ technology
1.material
คือเนื้อวัสดุที่นำมาใช้ในการผลิตเลนส์ ซึ่งเนื้อวัสดุหลักๆ ที่มีอยู่ในตลาดตอนนี้คือ
Crown Glasses (index 1.52 ,abbe’ 59)
TR-39 (index 1.5 ,abbe 58) ,
MR-8 (index 1.6 , abbe 41) ,
MR-7 (index 1.67,abbe 31) ,
MR-174 (index 1.74,abbe 32) ,
Trivex (index 1.53,abbe 45) ,
Polycarbonate (1.599 ,abbe 28)
Lens Index :
lens index หรือ ดัชนีหักเหของแสงซึ่งเป็นค่าคงที่เฉพาะสำหรับเนื้อวัสดุนั้นๆ ซึ่งส่งผลต่อความเร็วของแสงเมื่อวิ่งผ่านตัวกลางวัสดุนั้นๆ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดกำลังเลนส์ ดังนั้นเลนส์ที่มี index ยิ่งสูง ย่อมสามารถทำให้แสงเกิดการเบนได้เร็วว่าเลนส์ที่มี index ที่ต่ำกว่า ทำให้เลนส์ high index จะให้ความบางที่มากกว่าในกำลังเลนส์ที่เท่ากัน ดังนั้น high index ย่อมมีราคาที่สูงกว่า lower index ด้วยเหตุนี้
Abbe' Number :
Abbe' number คือค่าความใสของตัวกลาง เลนส์ที่มี abbe' สูง ย่อมทำให้แสงนั้นเกิดการจัดระเบียบได้ดีกว่า ส่วนเลนส์ที่ abbe' ต่ำ จะทำให้การจะเจิงของแสงสีนั้นเป็นระเบียบน้อยกว่า โดยค่า abbe' เป็นค่าจำเพาะของวัสดุทำเลนส์ในแต่ละเนื้อ
โดยเลนส์ที่มี index ยิ่งสูง จะต้องแลกมากับ abbe' ที่ต่ำ เรียกได้ว่า ต้องเลือกระหว่าง cosmetic กับ optical properties ยกเว้น polycarbonate ที่ index ต่ำ และ abbe' ยังต่ำอีกด้วย ซึ่งเนื้อชนิดนี้ มักใช้อยู่ในเลนส์ safty เนื่องจากมีความเหนียว กันแรงกระแทกได้ดี แต่ก็พอจะมีค่าความใสพอพี่จะเอามาทำเลนส์สายตา
2.Technology
ในเนื้อเลนส์ชนิดเดียวกัน คุณสมบัติเช่นเดียวกัน เมื่อนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตเลนส์ขึ้นมา ทำให้ value ของเลนส์นั้นๆมีมูลค่าที่ต่างกัน ตามเทคนิคหรือกระบวนการผลิต โดยการผลิตนั้นแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ conventional และ free form
conventional :
conventional process เป็นเทคนิคการขัดเลนส์ให้ได้ค่าสายตาแบบคลาสิก (โบราณ) ซึ่งไม่ได้มีความซับซ้อนในการคำนวณอะไรมากมาย เพราะขีดจำกัดทางการผลิต ที่พึ่งพาอาศัยแบบจากแม่พิมพ์ทำให้การชดเชยค่าความคลาดเคลื่อนต่างๆนั้นทำได้ไม่มากนัก และทำได้ดีเฉพาะพื้นที่เล็กๆบริเวณเซนเตอร์ของเลนส์ ซึ่งเลนส์ประเภทนี้มีทั้งเลนส์ที่เป็น single vision , progressive lens , near vision comfort lens
ตัวอย่างเช่น
ถ้าหยาบที่สุด ก็ขัดค่าความโค้งลงไปที่แม่พิมพ์(หน้า-หลัง) แล้วนำมาประกบกันแล้วหยอดน้ำยาเลนส์เข้าไป เมื่อแข็งตัวก็แค่แกะออกมาจากแม่พิมพ์ เอาไปชุบแข็ง ทำผิวโค้ต ก็ได้เลนส์หล่อสำเร็จ สามารถพบเลนส์ประเภทนี้ได้ตามแว่นตาโปรโมชั่นกรอบพร้อมเลนส์หลักร้อยทั่วไป
ถ้าดีขึ้นมาหน่อย ก็หล่อผิวหน้าเลนส์อย่างเดียว ว่าจะเอาเลนส์ที่มีผิวหน้าโค้งเท่าไหร่ ส่วนผิวหลังนั้นรอสายตา(สั้น/ยาว-เอียง) แล้วจึงนำเลนส์กึ่งสำเร็จนั้นมาขัดด้วยหัวทูล ซึ่งเป็นหัวเหล็กที่มีความโค้งตามค่าสายตาที่จะทำ ก็สามารถทำได้เช่นกัน เลนส์โปรเกรสซีฟก็เช่นเดียวกัน ปัจจุบันก็ยังมีบางค่ายที่ยังใช้การหล่อโครงสร้างผ่านทางแม่พิมพ์ แล้วรอขัดค่าสายตา (สั้น/ยาว-เอียง) ไว้ทางด้านหลัง ส่วนโครงสร้างที่มีค่า addition ก็ทำรอไว้แบบกึ่งสำเร็จ (semi-finished lens )
การขัดด้วยเทคนิคแบบเดิมนี้ ต้นทุนจะอยู่ที่การหล่อเลนส์กึ่งสำเร็จและ สต๊อคค่าสายตาไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อให้ครอบคลุมทุกค่าสายตา เก็บไว้นานๆเข้าเลนส์ก็เหลือง ซึ่งก็เอาไปทำเลนส์กันแสงสีฟ้าไ้ด้อีกต่างหาก เพราะการจะไปตัดแสงสีฟ้าได้ ต้องทำให้เกิดฟิลเตอร์สีเหลืองๆ เลนส์พวกนี้เก่าจนเหลือง จึงนำไป recycle เพิ่ม value ให้ของเหลือใช้ได้อีก ก็ถือว่าเป็นไอเดียที่เจ๋ง ดังนั้นถ้าคุณกลัวแสงสีฟ้า คุณเอาความกลัวไปให้ความสำคัญกับสายตาที่ตรวจวัดมาผิด ดูจะมีสาระมากว่าสติแตกกับแสงสีฟ้า
Free Form Technology
เลนส์ฟรีฟอร์ม นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในปัจจุบัน แต่แก่นสารก็ไม่ได้อยู่ที่ cnc-machine แต่อยู่ที่ software ที่ควบคุมแขนกลกัดเลนส์ให้ได้กำลังเลนส์ในแต่ละจุดทั่วทั้งแผ่นเลนส์มากกว่า ถ้า software มันโง่ แขนกลมันก็โง่ โครงสร้างที่ cnc วาดออกมามันก็สากกระเบือ และ เลนส์แต่ละค่ายก็พัฒนา software ได้ดีไม่เหมือนกัน ดังนั้น free form lens ชื่อเหมือนกันแค่คุณสมบัติไม่เหมือนกัน ราคาเลนส์ฟรีฟอร์มจึงมีตั้งแต่ระดับพันต้น ไปจนถึงแสนต้น
free form ดีอย่างไร
คำว่า free form ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่า free-form คือจะสร้างเป็นรูปอะไรก็ได้ จะเจียรนัยรายละเอียดระดับไมโคร หรือ จะกลึงสากกระเบือโง่ๆขึ้นมาสักชิ้นหนึ่งก็ได้ แล้วแต่ปัญญาของคนเขียน software ดังนั้น free-form technology จึงเป็นเทคโนโลยีที่เปิดไปสู่ความอิสระในการออกแบบหรือพัฒนาคุณสมบัติเชิงแสงของเลนส์ให้ดียิ่งๆขึ้นไปได้อีกเรื่อยๆไม่รู้จบ และ software ที่คิดค้นขึ้นมานั้นเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของแต่ละบริษัท ดังนั้นจึงไม่มีทางที่จะแบ่งกันหรือให้ลอกกันง่ายๆ
เช่น
เมื่อก่อน(ก่อนปี 2000) cnc-free form นั้นเราทำได้แค่นำไปขัดแม่พิมพ์ของโปรเกรสซีฟ (mold) แล้วหล่อโครงสร้างมันออกมาเพื่อรอการนำไปขัดค่าสายตาด้วยหัวทูลแบบ conventioal (แบบโหล) ไม่สามารถที่จะคำนวณโครงสร้างสดๆขึ้นมาแล้วขัดขึ้นรูปใหม่ได้โดยตรง แบบ indivisula (โครงสร้างจำเพาะบุคคล)
ทีนี้สิ่งที่คนส่วนใหญ่สงสัยก็คือ การเป็นเฉพาะบุคคลที่เกี่ยวกับการทำแว่นขึ้นมาสักอันหนึ่งนั้น มันมีอะไรที่ต้องจำเพาะ แล้วจำเพาะจะได้อะไรที่ดีกว่าเดิม
Refractive Error vs Aberration
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น ถ้าให้แยกหลักๆ จะมีด้วยกันอยู่ 2 เรื่องคือ refractive error และ aberration
Refraction data หรือ ค่าสายตา ซึ่งเป็นค่าที่เรารู้จักกันอยู่แล้ว เข่น สายตา สั้น ยาว เอียง ซึ่งถ้าได้ค่าที่ถูกต้องเราก็จะเห็นคมชัด ถ้าตรวจมาผิดก็จะไม่ชัด (หรืออาจจะชัดแต่ต้องเพ่งเอา) แต่สมมติว่าชัดและถูกต้องก่อนก็แล้วกัน
ค่าสายตาแม้จะเป็นค่าที่ถูกต้องดีแล้ว แต่เมื่อไปขัดค่าสายตาลงบนเลนส์เพื่อนำไปประกอบเป็นแว่นนั้น มันมีเรื่องที่ต้อง concern ตามมาอีกมากมาย เพราะปัจจัยที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของกำลังเลนส์นั้นมีอยู่มากมายนัก เช่น
ความโค้งของผิวหน้าเลนส์ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการขัดความโค้งที่ผิวหน้าเลนส์ เพราะโค้งหน้าแต่ละโค้งนั้น สามารถนำไปทำค่าสายตาที่ดีที่สุดได้เพียงค่าสายตาเดียวเท่านั้น ถ้าใช้ไม่ตรง ก็จะทำให้เกิด aberration ด้านข้างขึ้นมา ( base curve effect)
พารามิเตอร์ของแว่น (ความโค้ง มุมเท ระยะห่าง) ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ตาของเราแม้เมื่อมองตรง ก็ทำให้เกิด aberration เกิดขึ้น เนื่องจากแนวเลนส์ไม่ได้กระทำเป็นมุมฉากกับการมองของเรา ตัวอย่างเห็นได้ชัด คือการเอาแว่นโค้งๆมาทำเลนส์สายตา ถ้าเลนส์ไม่ได้มีเทคโนโลยีชดเชยมุมเหล่านี้ จะทำให้เราใส่แว่นโค้งแล้วเมา คลื่นไส้ อาเจียน จากภาพที่ชัดแต่บิดเบี้ยว ปวดเกร็งกระบอกตา (อาการ asthenopia symptom)
หรือแม้แต่แว่นหน้าตรง แต่เราเหลือบมองไปยังตำแหน่งต่างๆบนตัวเลนส์ ก็จะทำให้แนวตากับเลนส์นั้นเกิดมุมที่ไม่ฉากเกิดขึ้น ก็จะเกิด aberration ตามมาเช่นกัน (ผลของการมองแบบ off-axis จะ induced unwated oblique astigmatism)
ดังนั้นอาการชัดแค่ตรงกลางเซนเตอร์ของเลนส์แต่เหลือบมองด้านข้างแล้วมัว หรือ อาการชัดแต่ปวดหัว หรือ อาการเดินโคลงเคลงเหมือนเดินอยู่บนเรือก็ดี เหล่านี้เป็นอาการของ aberration ที่ถูก induce จาก factor ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่มีสายตาเอียงมากๆ หรือ เลนส์ที่ต้องใส่ปริซึม หรือ แว่นที่โค้งมากๆ เป็นต้น
เลนส์ที่เทคโนโลยีสูงนั้นหมายความว่า เลนส์มีการคำนวณเพื่อชดเชยไม่ให้ optic ที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น หรือเกิดก็เกิดน้อย ทำให้ภาพบริเวณตรงกลางกับขอบเลนส์นั้น ให้ภาพที่เหมือนหรือคล้ายกันและเป้นธรรมชาติ การตีความของสมองก็จะทำได้ง่ายกว่า ปรับตัวง่าย เป็นต้น
เทคโนโลยีเลนส์ที่ดี ช่วยในเรื่องเหล่านี้ ดังนั้นผู้ที่กำลังตัดสินใจทำเลนส์ ก็คงต้องดูหลายๆตัวแปร ว่าเราเหมาะกับแบบไหน แล้วเลือกใช้ให้ถูกต้อง ก็จะช่วยทั้งในเรื่องไม่ต้องจ่ายเกินความจำเป็น หรือ ถ้ามันจำเป็นต้องใช้ก็ต้องใช้
คร่าวๆประมาณนี้ คงพอจะได้ไอเดียเกี่ยวกับการพิจารณาทำเลนส์สายตาสักคู่หนึ่ง