สวัสดีครับ วันนี้มีเคสเบาๆ มาเล่าให้ฟัง เรื่องราวนั้นไม่มีอะไรซับซ้อนมากนัก แต่ก็มีเรื่องที่น่าสนใจอยู่ที่ตัวแปรของกรอบแว่นที่โค้งกว่ากรอบแว่นปกติทั่วไป และคนไข้มีปัญหาสายตาสั้น สายตาเอียง และสายตาคนแก่ครบเลย อยากได้แว่นที่มองชัดทั้งไกลและใกล้ และแว่นที่ต้องการนั้นต้องการแว่นที่โค้ง แต่ต้องสามารถใช้งานได้สบายเหมือนหน้าแว่นตรงปกติ ขออนุญาตพี่เฉิน เจ้าของ บริษัท Gview ประเทศไทยสำหรับเรื่องราวในวันนี้
CC : คนไข้ชาย อายุ 47 ปี มาด้วยอาการ มองไกลไม่ชัด เจ้าตัวรู้ว่าตัวเองนั้นสายตาสั้น แต่ก็ไม่เคยใส่แว่น เพราะเชื่อว่าถ้าสายตาสั้น ยิ่งไปใส่แว่นก็ยิ่งสั้น ก็เลยไม่ใส่แว่น แต่ดูใกล้ปกติดี ไม่มีปัญหาอะไรเวลาดูใกล้
สุขภาพตาดี สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ทุกอย่างดูดีทั้งหมด
ทำงานใช้สายตาในการดูมือถือบ้าง คอมพิวเตอร์บ้าง เซ็นเอกสารบ้าง ซึ่งเป็นงานบริหารทั่วไป
OD -1.75 -0.63x170 VA 20/15
OS -1.75 -0.37x5 VA 20/15
3 prism base out (esophoria) @ 6 m.
base In reserve : x/6/4
Vertical phoria : 1 prism Right Hyperphoria
Add +1.75
1.compound myopia astigmatism
2.Basic Esophoria
3.Right Hyperphoria
1.Full Corrected Prescription
2.prism correction
ในเคสนี้ความจริงในส่วนของสายตาก็ไม่ได้มีปัญหามากนัก แต่กรอบแว่นที่เลือกนั้น เป็นกรอบ ic! Berlin ซึ่งมีความโค้งค่อนข้างมากกว่าแว่นปกติทั่วๆไป ซึ่งแว่นที่มีลักษณะโค้งมาก เมื่อมองผ่านเลนส์ แนวการมองผ่านของตา (line of sight) จะเกิดการทำมุมกับเลนส์ ทำให้เกิดการ induce ให้เกิด unwanted oblique astigmatism ผลคือ เกิดความคลาดเคลื่อนของสายตา สั้น เอียง และปริซึม ทำให้เกิดปัญหาต่อการใช้งาน (เมาแว่น)
ดังนั้นเลนส์โปรเกรสซีฟที่ตอบโจทก์สำหรับคนสายตาสั้น และต้องการมองไกลและใกล้ชัด บนกรอบแว่นทุกแบบนั้น เลนส์ในตลาดนั้นไม่มี choice ให้เลือกมากนัก ดังนั้นคำตอบจึงไปอยู่กับเลนส์โปรเกรสซีฟค่ายเยอรมัน แบรนด์โรเด้นสต๊อก (Rodenstock) รุ่น Impression EyeLT2
ซึ่งความสามารถของเลนส์รุ่นนี้จะมีเทคโนโลยีที่สำคัญคือ Individual Parameter ที่ออกแบบโครงสร้างให้เหมาะสมกับเฉพาะแต่ละกรอบแว่นขณะที่เราสวมใส่อยู่บนใบหน้า ซึ่งมุมที่ใช้ในการคำนวณได้แก่ ความโค้งหน้าแว่น(FFA) มุมเทของหน้แว่น(PTA) และระยะห่างระหว่างเลนส์ตาถึงผิวหลังของเลนส์แว่นตา(CVD) และระยะห่างจากกึ่งกลางจมูกถึงกลางรูม่านตาดำของแต่ละข้าง(Monocular PD) และความสูงจากของล่างเลนส์ถึงรูม่านตา (FH) นำไปคำนวณโครงสร้างร่วมกับค่าสายตาจริง
ดังนั้น ไม่ว่าพารามิเตอร์จะโค้ง หรือมุมจะเป็นอย่างไร Rodenstock สามารถประเมินความคาดเคลื่อนต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น และทำการออกแบบชดเชย เฉพาะกรอบแว่นตาละบุคคล เพื่อให้ได้ค่าโครงสร้างที่จำเพราะ ซึ่งเราเรียกเลนส์ประเภทนี้ว่า "เลนส์เฉพาะบุคคล" หรือ "individual progressive lens"
ผลจาการส่งมอบ
แม่คนไข้ไม่เคยใส่เลนส์โปรเกรสซีฟมาก่อน แต่คนไข้ก็สามารถเรียนรู้โครงสร้างได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ครั้งแรกที่ใส่ เราใส่และนั่งคุยกันสักพัก คนไข้ก็ไม่รู้สึกว่ามีภาพบิดเบี้ยวมากวน สามารถมองไกลชัด ดูใกล้ชัด และสามารถใส่ขับรถกลับบ้านได้เลย ชีวิตดีขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก
อ่านเพ่ิมเติมเกี่ยวกับแว่นกรอบโค้งได้ตามลิ้งค์ที่แนบมาครับ
http://www.loftoptometry.com/whatnew/view/65
ขอบคุณสำหรับการติดตาม
สมยศ เพ็งทวี O.D. (Dr.Loft)