สวัสดีทุกท่านยามเช้าของวันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม 2560 วันนี้ลุกขึ้นมาเขียนเรื่องที่ร่างไว้เมื่อหัวค่ำให้เสร็จ
เนื้อหาวันนี้ขอเป็นเช้าแบบเบาๆ อ่านเล่นๆกันเพลินๆก็แล้วกัน ขออนุญาตพี่เจี๊ยบเจ้าของเรื่องวันนี้ด้วยนะครับ พึ่งรับแว่นไปเมื่อหัวค่ำนี่เอง แต่มั่นใจว่าคนไข้ปรับตัวได้ตั้งแต่วินาทีแรกอยู่แล้วก็เลยหยิบมาเขียน เพราะว่ามีเรื่องสนุกเล็กๆ มาเล่าให้ฟัง
คนไข้ท่านหนึ่ง เป็นผู้ชาย อายุเกือบ 60 ปี มาหาผมด้วยอากา "แสบตา" ใช่แล้ว “แสบตา” ใส่แว่นก็แสบตา ไม่ใส่ก็แสบตา แว่นที่ใช้อยู่เป็นโปรเกรสซีฟ ทำมาแล้วก็เก็บซะส่วนใหญ่เพราะใช้งานไม่ได้ มีความกลัวโปรเกรสซีฟก็เลยขอศึกษาให้ดีก่อนที่จะทำแว่นใหม่ ก็ใช้เวลาเกือบ 2 ปี จนพร้อมที่จะเสี่ยงทำแว่นใหม่
คนไข้บอกว่า "เมื่อก่อนมองไกลชัดแจ๋ว แต่เดี๋ยวนี้มองอะไรก็มัวไปหมด มองไกลก็มัว มองใกล้ก็มัว และพึ่งมาเป็นหลังๆนี่ มองไกลมัวหนักมาก"
คนไข้ตรวจตาเป็นประจำทุกปี ครั้งสุดท้ายเมื่อ 6 เดือนก่อน คุณหมอบอกสุขภาพตาปกติดี ไม่เจ็บไม่ไข้ และไม่มีประวัติเกี่ยวกับโรคทางตาที่ต้องเฝ้าระวัง โดยรวมนั้นคนไข้รู้สึกพึงพอใจกับสุขภาพตัวเองมากทีเดียว ติดแค่มองอะไรไม่ชัดเฉยๆ (ผมก็รู้สึกอย่างนั้นนะ แม้อายุจะเกษียรแล้วผม ยังรู้สึกว่าคนไข้ดูอายุน้อยกว่าที่ผมคิดไว้ 10 ปี )
ไม่มีปัญหาเรื่องปวดหัวหรือเห็นภาพซ้อน
สุขภาพร่างกายแข็งแรงดี
ไม่มีประวัติแพ้ยา หรือมีภูมิแพ้ใดๆ
ใช้สายตาหลากหลายมาก ทั้งกิจกรรมกลางแจ้ง ปั่นจักรยาน ตีกอล์ฟ และพักผ่อน ดูทีวี เล่นอินเตอร์เนต และอ่านข่าวในไอแพด
แต่มีกิจกรรมหนึ่งที่คนไข้เล่าให้ฟัง ถึงลักษณะการใช้สายตาในห้องทำงานที่ผมฟังแล้วตกใจ คนไข้เล่าให้ฟังว่า ห้องทำงานมันจะต้องดูแผลควบคุม ทั้งมองตรง มองล่าง เหลือบมองซ้ายขวา และด้านบน คือมองรอบตัวเลย
ผมก็คิดอยู่ในใจว่า #งานอะไรที่ต้องมองขนาดนั้น
คนไข้ก็ตอบว่า #อ๋อมันเป็นcockpitห้องขับเรื่องบิน
ด้วยความอยากรู้ก็เลยถามต่อว่า #เครื่องบินพานิชย์หรือพี่?
คนไข้ตอบ..... "เปล่า F-16”!!!! พร้อมกับโชว์รูปห้องทำงานบนเครื่องบินรบ F-16 ให้ผมได้ชม (โอ้ว..แม่จ้าวว)
อดถามต่อไม่ได้ ผมก็เลยถามต่อว่า “#มันไหมพี่” คนไข้บอก “#โคตรมันส์” ฟังแล้วอยากลองโดยสารดูสักครั้ง อยากสัมผัสแรง G ผมเคยแต่ไปยืนน้ำลายสอ ที่สนามบินดอนเมือง ในงานวันเด็ก (พาหลานไปดู) ดูแล้วก็น่ามันส์มากๆ ก็เป็นอันถึงบางอ้อ ว่าอ้อ “เครื่องบินรบ”
เอาหล่ะ สรวลเสเฮฮา พอเป็นกระสัย มาเข้าเรื่องกันดีกว่า
การมองเห็นไกล เริ่มไม่ค่อยดีแล้ว วัดค่าความคมชัดได้มา
VA : OD 20/30 ,OS 20/40
ถ้านึกไม่ออก คล้ายกับคนสายตาสั้น -1.00 แล้วไม่ได้ใส่แว่น ประมาณนั้น
OD +1.25 -1.25 x 97 VA 20/15
OS +2.25 -1.75 x 90 VA 20/15
BCC +2.00
NRA +1.25D
PRA -1.00D
ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับภาวะเหล่ซ่อนเร้น กล้ามเนื้อตาทำงานปกติ การรวมภาพปกติ ฟังก์ชั่นระบบสองตาดีทั้งหมด ไม่มีอะต้องเป็นห่วง
1.คนไข้เป็น Mixed Hyperopic Astigmatism
2.คนไข้เป็นสายตาคนแก่ (Presbyopia)
#Checkpoint
ในเคสนี้แม้จะดูเหมือนง่าย แต่มีเรื่องที่น่าเรียนรู้อยู่หลายจุด ผมจะเล่าให้ฟังเป็นจุดๆ
1.แสบตา
อาการแสบตา นั้นเป็น common sign อย่างหนึ่งของคนไข้ที่เป็นสายตายาวมองไกล (hyperopia)แล้วไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาสายตา ทำให้เลนส์แก้วตาต้องเพ่ง(accommodate)ตลอดเวลา ซึ่งระบบที่ stress ตลอดเวลาเช่นนี้ เราจะรู้สึกว่าแสบตา ถ้าคงจำกันได้ในเคสก่อนหน้าที่คนไข้ แสบตาน้ำตาไหลตลอดเวลา นั่นแหล่ะคล้ายๆกัน
2.มองไกลไม่ชัดไม่ได้เกิดกับคนสายตาสั้นเสมอไป
เรื่องนี้เรามีปัญหากันทั้งประเทศ เกี่ยวกับการสอนคำศัพท์ เราถูกสอนกันมาผิดๆ (หรือไม่เราก็เข้าใจผิดไปเอง)ว่า คนสายตายาวต้องเป็นในคนแก่ ส่วนเด็กต้องสายตาสั้นเท่านั้นตายาวไม่ได้ และสายตาสั้นคือมองไกลมัวใกล้ชัด ส่วนคนสายตายาวคือมองไกลชัดมองใกล้ไม่ชัด ซึ่งผิดหมดเลย หนักๆเข้าไปเข้าใจว่า ถ้าคนสายตาสั้นอยู่ แก่ตัวจะเป็นสายตายาว แล้วสั้นกับยาว ก็จะเจ๊ากันกลายเป็นสายตาปกติ เคยไปถามคนสายตาสั้นที่อายุมากกว่า 40 ปีไหม ว่าสายตาเขากลับกันหรือเปล่า หรือปัจจุบันต้องยกแว่นเวลาอ่านหนังสือ หรือมองลอดแว่น ไม่มีหรอกฮะเรื่องนั้น เราไปนิยามให้มันผิด ซึ่งผมพูดหลายที ไปหาอ่านดูเล่นๆนะ
เรื่องจริงก็คือ “คนสายตายาว” มองไกลอาจจะชัด ถ้าเลนส์ตาเพ่งไหว แต่ถ้าเพ่งไม่ไหว ไกลจะเริ่มมัว ดังนั้นคนสายตายาวจะมองไกลมัวตอนอายุมาก เพราะเลนส์ตามันเพ่งไม่ไหว ในขณะที่คนสายตาสั้นนั้นมองไกลมัวตั้งแต่เด็ก และเคสนี้ก็เป็นตัวอย่างให้เห็นว่า เป็นสายตายาวมองไกลเยอะมาก เลนส์ตาเพ่งไม่ไหว มองไกลก็เลยมัว พอแก้ไขก็ชัดเปะ เหมือน 14 อีกครั้ง
ดังนั้นทางตำราทางทัศนมาตร เราจะต้องหาค่าสายตาที่ตำแหน่งของ maximum plus ,maximum visual acuity หรือ MPMVAให้เจอ
คือถ้าคนไข้เป็นสายตาบวก(สายตายาว) เราต้องรีดค่าตาบวกออกมาให้หมด เพื่อให้ได้ "#บวกมากสุดที่ยังทำให้การมองเห็นแถว 20/20ชัดอยู่" แต่ถ้าเป็นตาลบ(สายตาสั้น) จะต้องหาค่าลบน้อยที่สุดที่ยังทำให้การมองเห็นแถว 20/20 ชัดอยู่" เพื่อให้คนไข้มองเห็นไกลชัดโดยที่เลนส์ตาไม่มีการเพ่ง (relax accommodation)
เช่นใน case นี้ ถ้าเราไม่ corrected ค่าสายตา
OD +1.25 -1.25 x 97
OS +2.25 -1.75 x 90
จะทำให้คนไข้ต้องใช้เลนส์ตาตัวเองเพ่ง ถึง 1.25 สำหรับตาขวา เพ่งมากถึง 2.25 เพื่อให้มองไกลชัด แต่ด้วยอายุแล้วเลนส์ตาไม่เหลือแรงแล้ว เพ่งไม่ได้แล้ว ก็เลยมองไกลมัว
ดังนั้นต้องระมัดระวัง ไม่ใช่ว่ามองไกลมัวแล้วจะเหมาว่าสายตาสั้นเสมอไป
3.สายตาเอียงแบบ Againt The Rule คือมีองศาเอียงในแนวดิ่ง นั้นเป็นลักษณะที่พบได้บ่อยในคนไข้ที่อายุมากขึ้น
คือในวัยเด็กถ้ามีสายตาเอียงอยู่ มีแนวโน้มว่าสายตาเอียงจะวางในแนวนอน และเมื่ออายุมากขึ้น จะเกิด axis shift ไปในแกนตั้งมากขึ้น ซึ่งทำไมเป็นแบบนั้นไม่ทราบ แต่มักเป็นแบบนั้น ซึ่งเอียงในแกนนี้ในคนไข้สายตายาว จะทำให้เขาพอจะมองเห็นไกลได้บ้าง และอ่านหนังสือดูใกล้ได้บ้าง
ดังนั้นเราอาจจะแปลกใจที่เห็นคนสูงอายุนั้น อ่านหนังสือได้โดยที่ไม่ต้องใส่แว่น เพราะสายตายาวมีเครื่องหมายเป็นบวก สายตาเอียงมีเครื่องหมายเป็นลบ (mixed hyperopic astigmatism) มันจะทำให้มีช่วงชัดที่มากขึ้น ทำให้พอมองได้ทั้งไกลและใกล้ แต่ก็ไม่ได้ช้ดมาก เป็นความชัดแบบมีเงาซ้อน ๆ
4.ค่า Addition น้อยกว่าอายุ เป็นสัญญาณเร่ิมต้นอย่างหนึ่งของการเป็นต้อกระจก
บางครั้งเราเรียกว่า #สายตากลับ คือสามารถกลับมาอ่านหนังสือใกล้ๆได้ ทั้งๆที่เมื่อก่อนนั้นอ่านไม่ได้เลย เนื่องจากสัณนิษฐานว่า เลนส์แก้วตาเมื่อเราอายุมากๆจะมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ (physical) ทำให้ดัชนีหักเหของแสงและทรงของเลนส์เปลี่ยนไป ซึ่งเมื่อเลนส์มีการเพ่งเล็กน้อย ก็สามารถสร้างค่ากำลังหักเหได้มากกว่าในเลนส์ปกติ ทำให้เลนส์ตาสามารถเพ่งดูใกล้ได้ชัด
ซึ่งถ้าเรามีอาการตากลับ แสดงว่าเลนส์ตาเราเริ่มเข้าสู่ภาวะต้อกระจกแล้ว แต่ก็อาจใช้เวลามากว่า 5 ปี ถึงจะสร้างปัญหาการใช้สายตาให้กับเรา
และสังเกตุอีกอย่างหนึ่งคือ ค่าอ่านหนังสือหรือค่า addition จะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยตามอายุ เนื่องจากเลนส์นั้นมีลักษณะทางกายภาพเปลี่ยนไป ดังนั้นการหาค่า Addition เราจะประเมินตามอายุอย่างเดียวไม่ได้ ทำแบบนั้นมันไม่มีหลัก เราต้องทำ BCC ทุกครั้งในการหา Add และค่า NRA และ PRA ก็จะเป็นตัว monitor ว่า Add นั้นเหมาะสมหรือไม่ (ไว้คราวหน้าจะมาเล่าให้ฟัง)
5. เลนส์เทพ (Impression FreeSign3 ALLAROUND )
คนไข้ต้องการเลนส์แว่นตาที่ใช้งานทุกรูปแบบ ตั้งแต่นั่งเล่นเฟสบนมือถือ ดูหนังชิวๆในทีวี slow life ตีกอล์ฟบน Green เขียวๆ หรือรีดเหงื่อเล็กน้อยบนเบาะจักรยาน ไปจนถึงผาดโผนกระโจนทะยานบนเครื่องบินรบขับไล่บน F16
ถ้าจะเอาครบทุกอย่างแบบนี้ คงหนีไม่พ้น Impression FreeSign3 แบบ ALLAROUND ที่โครงสร้างจะออกแบบมาแบบ บาลานซ์ให้กว้างทุกระยะใช้งาน ทั้งไกลกลางใกล้ ซึ่งเหมาะกับคนที่มีกิจกรรมมากมายหลายอย่างในแต่ละวัน ผู้ที่รักและชอบและลองทำในสิ่งใหม่ๆอยู่เป็นประจำ และค้นหาสิ่งที่แปลกๆใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา จึงมาจบที่ตัวนี้
พึ่งส่งมอบเมื่อหัวค่ำ มองไกลชัด ใกล้ชัด แว่นเบา สบาย เป็นอันจบและเสร็จพิธี
ขอขอบคุณพี่เจี๊ยบและรวมถึงลูกค้าทุกท่าน ทุกท่านสำคัญกับผมหมด แต่ผมไม่สามารถเขียน case ของทุกท่านได้ ถ้าทำกันขนาดนั้น ผมคงไม่ได้ตรวจตา เอาเป็นสุ่มหยิบขึ้นมาก็แล้วกันนะครับ และขอบคุณทุกท่าน ที่มั่นใจในตัวผม และให้หน้าที่ผมดูแลอวัยวะที่สำคัญที่สุดของท่าน
ผมจะตั้งใจทำงานและส่งงานให้ดีที่สุด เท่าที่สติปัญญา และเครื่องมือ จะมีได้ ซึ่งตอนนี้ถือว่าห้องตรวจเข้าใกล้คำว่า “ห้องตรวจในฝัน” ติดนิดเดียว ห้องมันเล็กเกินที่จะเอาเครื่องมือทุกชิ้นไปอยู่ในห้องเดียว ต้องรอ project ใหม่ที่สถาปนิกมือหนึ่งกำลังเขียนแบบอยู่ครับ บอกได้คำเดียวว่าพอเห็นแล้วจะต้องร้อง
“โอ้ว...แม่จ้าววววว...” รอชมกันนะครับ
ขอบคุณสำหรับการติดตามครับผม
ดร.ลอฟท์
090 553 6554
Line : loftoptometry
สเป็คแว่น
กรอบ : LINDBERG spirit titanium
Engraved Name: SPECTER
Lens : Rodenstock Impression FreeSign3 (ALLAROUND)