แวะเอากันแดดสวยๆมาให้ชมกัน 

กันแดดตัวนี้ เป็น Lindberg Sun โมเดล 8205 จัดว่าเป็นตัวที่คนส่วนใหญ่หยิบติดมือแล้ววางไม่ลง เพราะด้วยความเบาที่เชื่อเหลือเกินว่า กันแดดที่ทำได้เบาขนาดนี้นั้นยากมาก แต่ความโดดเด่นนั้นอยู่ที่ดีไซน์ที่ไม่เหมือนกันแดดที่เราพบบ่อยในตลาดกันแดดทั่วๆไป และส่วนตัวผมก็ชอบมากๆ 

จบกันแดดไป ไปดูเรื่องเคสบ้าง เป็นเคส สตั๊ดดี้ 8 แล้วกัน 

Case study 8 : compound myopic astigmatism with presbyopia 

คนไข้ชาย อายุ 42 ปี มาด้วยแว่นเดิมที่ใช้อยู่ เป็นแว่นสายตาสั้น สำหรับมองไกล ซึ่งมองไกลยังคงชัด และไม่ได้มีปัญหาอะไร เพียงแต่ว่า เริ่มมีปัญหาว่าแว่นที่ใช้อยู่ ใส่อ่านหนังสือไม่ชัด ต้องถอดแว่นถึงจะชัด ต้องการแว่นที่ไม่ต้องถอดแว่นเข้าแว่นออก (ซึ่งเป็นอาการปกติของคนสายตาสั้นเมื่ออายุ 40 ปี)

#ประวัติเกี่ยวกับสุขภาพตา

(+)แว่นตา : เริ่มใช้แว่นครั้งแรกตอนอายุ 30 ปี เป็นเลนส์ระยะเดียวเพราะสายตาสั้น มองไกลไม่ชัด 

ไม่มีปัญหาสุขภาพตาอย่างอื่น ไม่เคยตรวจกับทัศนมาตรหรือจักษุแพทย์​ 

(-)Headache / Diplopia : ไม่มีปัญหาปวดหัวหรือมองภาพซ้อน 

#สุขภาพ

คนไข้สุขภาพแข็งแรง ตรวจสุขภาพเป็นประจำ แต่มีความดันสูง ล่าสุดที่ตรวจนั้นวัดได้ 130/80 ทานยาอยู่ หมอนัดตรวจทุก 3 เดือน 

#ไลฟ์สไตล์

อาชีพ โปรแกรมเมอร์ ดู system ใช้สายตาทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นหลัก 

#ผลการตรวจทางคลินิก

Preliminary eye exam 

PD 34/34.5

VAsc (ตาเปล่า) : OD 20/200 ,OS 20/200 “เห็นภาพมีเงาซ้อนๆ แต่เดาได้ ” 

#Retinoscope

OD -0.75 - 0.50 x 90 VA 20/20
OS -1.00 VA 20/20

#Monocular Subjective 
OD -0.62 - 0.37 x 95 VA 20/15
OS -1.00 - 0.25 x 160 VA 20/15

#BVA (on trial frame)
OD -0.62 - 0.37 x 95 VA 20/15
OS -1.00 - 0.25 x 160 VA 20/15

#Functional : vergence and accommodation 
Distant 6 m.

horz.phoria : 3 BO esophoria w/ VonGrafe technique

BI-reserve : x / 6 / 3

BO-reserve : x/18/12

Vertical Phoria : 1.5 BDOD w/ VonGrafe technique
1 BDOD w/ Maddox Rod

Supra vergence (LE) = 0/-2

Infravergence (LE) = 3/1 

Near 40 cm 

Horz.phoria : 3 BI exophoria 

BCC +1.50 

NRA/PRA : +0.75 /-0.50

#Assessment 
1.Compound myopic astigmatism
2.Presbyopia 
3.Vertical phoria : Right Hyperphoria
4.Horizontal phoria : esophoria 

#Plans

1.Full correction 
OD -0.62 - 0.37 x 95  
OS -1.00 - 0.25 x 160  
2.progressive additional lens :  
Rx Add +1.50

3.Prism rx : 
split prism 0.5BDOD /0.5BUOS ,0.75 BOOD/0.75BOOS

F/U 5 Days 

หลังจากติดตามผลได้ 5 วัน คนไข้สามารถปรับตัวกับโครงสร้างโปรเกรสซีฟได้อย่างดี ไม่มีปัญหากับการปรับตัวกับภาพบิดเบี้ยวบนเลนส์โปรเกรสซีฟ แต่มี complain ว่ามองไกลยังไม่รู้สึกว่าติดมัวๆอยู่ ผมจึงนัดคนไข้เข้ามา recheck อีกครั้ง 

Over Refraction 

ผมเริ่มทำ Over refraction โดยให้คนไข้ใส่แว่นที่มีค่าสายตาที่ทำไป

OD -0.62 - 0.37 x 95 VA 20/10
OS -1.00 - 0.25 x 160 VA 20/10

โดยส่งเรติโนสโคปเพื่อดูแสงที่สะท้อนออกมาจากรูม่านตาว่า nutral หรือไม่ ก็พบว่า nutral ดี และ VA ที่อ่านได้บนเลนส์โปเกรสซีฟ ก็จัดว่าดีกว่ามาตรฐาน 2 บรรทัด คือ 20/10 (ในขณะที่มาตรฐานนั้น VA20/20 ที่ระยะ 6 เมตร ถือว่าปกติ) 

จากนั้นก็เลยลอง trial โดย over minus ให้คนไข้ไป 1 สเตป (-0.25D) เป็น 

OD -0.87 - 0.37 x 95 VA 20/10
OS -1.25 - 0.25 x 160 VA 20/10

แม้ว่าจะ VA มองไกลเท่าเดิม แต่คนไข้บอกว่าแสงฟุ้งนั้นหายไปทั้งหมด และบอกจะเอาแบบนี้ ผมก็ยังไม่ตามใจคนไข้เสียทีเดียว หยิบ retinoscope มาทำ over refraction ก็เห็นได้ชัดว่าแสงนั้นติด with อยู่หน่อยหนึ่ง ซึ่งแสดงถึงแสงที่ตกหลังจุดรับภาพ แสดงถึงค่าสั้นที่มากกว่าสายตาจริงเล็กน้อย 

แต่คนไข้จะเอา หน้าที่ของเราก็ต้องจ่าย แต่ก็อธิบายให้คนไข้ฟังว่า สายตาใหม่นี้เป็นค่าสายตาที่ over correct ไปเบอร์หนึ่ง อาจด้วยคนไข้ชินกับค่าสายตาที่ over minus มานาน ทำให้เลนส์ตาติดเพ่ง ก็จะจ่ายตามที่ต้องการให้ เพื่อให้มีความสุขกับการใช้สายตาต่อไป 

คำถามคือ “#สายตาที่ถูกต้องคืออะไร” 

ยากที่จะตอบคำถามนี้ว่า สายตาที่เป็นสายตาที่ถูกต้องจริงๆนั้นคืออะไร เหมือนกับการตั้งคำถามว่า #ผู้หญิงที่สวยที่สุดนั้นหน้าตาเป็นอย่างไร และแม้จะมีการประกวดนางงามจักรวาล เพื่อให้ผู้หญิงที่(เขาเชื่อว่า)งามที่สุดในจักรวาล แต่เราๆ ท่านๆ หรือคนในประเทศอื่น ก็อาจจะรู้สึกขัดแย้งในใจว่า ไม่เห็นสวยเลย คนนั้นสวยกว่า คนนี้สวยกว่า หรือ คนที่ได้รองน่าจะได้กว่านะ เป็นต้น 

เพราะอะไร....เพราะความสวยนั้นเป็นเรื่องของ “subjective” เป็นเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก ความพึ่งพอใจ ที่เกิดขึ้นกับเรื่องๆหนึ่งเฉพาะคนนั้นๆ

แต่ถ้าการตัดสินความงามของนามงามจักรวาลด้วยความรู้สึก หรือ ด้วยอารมณ์ มันก็ลำบากอีกนั่นแหล่ะ จึงต้องมีกฎมีเกณฑ์ขึ้นมาว่า ความงามแบบไหนถึงจะได้คะแนน และปิดท้ายด้วย สติปัญญา และ ไหวพริบในการตอบคำถามแทน ใครสมบูรณ์พร้อมทั้งรูปร่าง หน้าตา และสติปัญญา ก็จะได้รางวัลนี้ไปครอง 

กลับมาที่เลนส์ ค่าสายตาที่ถูกต้องนั้นเป็นค่าทางวิทยาศาสตร์ คือเราสามารถวัดค่ากำลังหักเหของเลนส์ที่ทำให้โฟกัสตกบนจุดรับภาพได้ ด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น การทำ retinoscope เป็นต้น 

เมื่อโฟกัสตกบนจุดรับภาพพอดี เราก็จะเห็นว่าแสงมันวาว แสงไม่วิ่งทวน หรือวิ่งตามแนวของการกวาดไฟเรติโนสโคป ได้ค่าออกมาเป็นค่าสายตาเป็น ลบ เป็น บวก หรือมีเอียง รวมไปถึงแกนขององศาเอียงออกมา เป็นค่าทาง objective ซึ่งเป็นค่าทาง วิทยาศาสตร์ 

แต่แม้ว่าค่าทางวิทยาศาสตร์จะเป็นค่าที่เราคิดว่าถูกต้อง แต่ไม่ได้หมายความว่า คนไข้จะชอบค่าวิทยาศาสตร์นี้ ก็เลยเกิดเป็น #คณิตวิทยศิลปาศาสตร์​ คือการตรวจ subjective ขึ้นมา คือผู้ตรวจกับคนไข้ต้องหาจุดร่วมกัน ระหว่างค่าที่ถูกต้องและคนไข้พึงพอใจร่วมกัน และต้องเป็นค่าที่ยังอยู่ในค่าที่ยอมรับได้ทางวิทยาศาสตร์ด้วยเช่นกัน ไม่ใช่ว่า over minus เป็น dioptor นั่นก็เกินไป ซึ่งปกติไม่ควรเกิน +/-0.37DS,DC 

ซึ่งในเคสนี้ ผมต้องจำจ่ายค่าที่ over minus ไปหนึ่งสเตป และแม้ว่าจะเห็นได้ชัดว่าแสงจากเรติโนสโคป นั้นเป็นแสง with แต่ก็ต้องทำ เพราะการมองเห็นเป็นเรื่องของ subjecitve 

ครับ! 

ดร.ลอฟท์

__________________________________________

LINDBERG sun titanium 8200
MODEL: 8205
SIZE: 50/21
COLOUR: 10/10-K25
TEMPLES: Basic - 145 mm
LENSES: Rodenstock PureLife Free Polarizing Gray w/ Solitaire Protect Plus2
Engraved Name: JIRAPAN@ZENALYSE

tags : #LindbergThailand #RodenstockThailand #LoftOptometry