เคสนี้เป็นเคสคนไข้เดิมเมื่อ 4 ปีที่แล้ว มาด้วยแว่นเก่าเริ่มลายมีรอยเยอะและเริ่มมัว สายตาที่ตรวจใหม่ก็คล้ายๆเดิม สั้นมากขึ้นเล็กน้อย เอียงมากเหมือนเดิม มีเหล่ซ่อนเร้นในแนว vertical
คนไข้ชาย อายุ 34 ปี เป็นวิศวกร มาด้วยเรื่อง ต้องการทำแว่นใหม่ และ อยากจะตรวจสายตาใหม่ เนื่องจากไม่ได้ตรวจมานานแล้ว (Routine Check)
สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว
ทำงานอยู่กับคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา
PD 32.5/32.5
VAsc: OD 20/400 ,OS 20/400 @ 2 m
VAcc: @ 6 m
OD -6.75 -3.25 x 15 20/40-2
OS -7.75 -2.75 x 160 20/30-1
Retinoscope
OD -8.00 -3.75 x 10 ,VA20/20
OS -8.50 -3.50 x 165 ,VA20/20
Monocular Subjective (MPMVA)
OD -8.50 -3.25 x 12 ,VA20/20
OS -9.00 -3.50 x 160 ,VA20/20
Best Visual Acuity (BVA,) on phoropter
OD -8.25 - 3.25 x 12 ,VA20/20
OS -8.50 - 3.50 x 160 ,VA20/20
BVA ,over refraction w/ retinoscope and fine tuning w/ JCC
OD -8.00 -3.50 x18 ,VA20/20
OS -8.25 -2.87 x165 ,VA20/20
Binocular Vision at 6 m.
Horizontal phoria : Ortho
BI-reserve : x/10/3
Vertical Phoria : 3 BUOS ,Right-Hyperphoria (VonGrafe Technique)
Vertical Phoria : 1.5 BUOS R-hyper
(Maddox rod on trial frame)
Supra vergence (OS) : 0/-3
Infra vergence (OS) : 9/6
#Assessment
1.compound myopic astigmatism OD,OS
2.Righ Hyperphoria
#Plan
1.Full Correction
OD -8.00 -3.50 x18
OS -8.25 -2.87 x165
2.Prism Correction
0.75BDOD / 0.75BUOS
Lens : Aspheric Single Vision lens , Cosmolit 1.74.
Frame : LINDBERG rim titanium ,Max.
เคสนี้แม้ไม่ได้มาด้วยอาการภาพซ้อน แต่ขณะที่ตรวจและคุยกันนั้นคนไข้จะมีอาการของคอเอียงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งต้องคอยจับคอให้ตรงอยู่เรื่อยๆ เนื่องจากคนไข้ที่มีเหล่ซ่อนเร้นในแนวดิ่งนั้นจะต้องอาศัยเอียงคอช่วยเพื่อให้รวมภาพได้ง่ายขึ้น
เห็นได้ชัดว่าขณะที่ทำบน phoropter นั้นได้ค่า vertical phoria ด้วยวิธี VonGrafe's techniqe ถึง 3 pd R-Hyperphoria และพอทำ Supra/Infra Vergence ก็ฟ้องออกมาว่า มี hyper ข้างขวาอยู่มาก
แต่เมื่อนำคนไข้ออกจาก phoropter มากทำบน free space โดยให้คนไข้ใส่ full correction แล้วหา vertical phoria ด้วยวิธี Maddox Rod และจัดศีรษะของคนไข้ให้ตรง กลับพบว่า Hyperphoria นั้นลดลงครึ่งหนึ่งเหลือ 1.5 pd R-hyperphoria อ่านเรื่อง maddox rod เพิ่มเติม
ซึ่งจากจุดนี้ เป็นจุดที่เราต้องระวัง head tilt ในคนไข้ที่มี สายตามากๆ เพราะการมี head tilt จะ induce vertical prism มามาก ทำให้เราอาจเข้าใจผิดว่าคนไข้มีอยู่มาก และถ้าไปเผลอจ่ายตาที่เข้าใจผิดนั้น ก็จะเป็นการสร้างปัญหาตาเหล่ซ่อนเร้นขึ้นมาใหม่
และสำหรับเคสนี้ก็ corrected ไป 1.5 prism โดย split ไปฝั่งละครึ่งเป็น 0.75BDOD และ 0.75BUOS ซึ่งโดยปกติการจ่ายปริซึมเราจะไม่จ่ายข้างเดียว แต่จะแบ่งจ่ายทั้งสองข้างอย่างละครึ่ง เลนส์จะได้มีน้ำหนักเท่าๆกัน มีความบาลานซ์กัน และอีกอย่างหนึ่ง ปริซึมนั้นจะรบกวนคุณสมบัติเชิงแสงของเลนส์(optic) อย่างมาก การใส่ข้างเดียว ก็จะทำให้เลนส์ข้างนั้นมีคุณสมบัติเชิง optic ไม่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการเห็นตัวหนังสือมีขอบรุ้งจาก chromatic aberration
เรื่องอื่นก็ไม่น่ามีอะไร จะมีก็แต่ trick เล็กน้อยจากการ mix and match กรอบกับเลนส์ เพราะสายตาค่อนมากทั้งสั้นเยอะและเอียงเยอะ จะทำอย่างไรให้เลนส์ไม่หนา
การเลือก high index ก็ส่วนหนึ่ง ซึ่งเลือกใช้ 1.74 และใช้โครงสร้างเป็น Aspheric ก็จะช่วยเรื่องความบางบริเวณขอบเลนส์ได้อีกส่วนหนึ่งและที่สำคัญกก็คงจะต้องเลือกกรอบที่ขนาดไม่ใหญ่มาก แต่คนไข้เนื้อขมับเยอะ ก็ห่วงว่าขาแว่นจะกาง
ดังนั้นความพอดีจึงอยู่ที่ Lindberg rim max ขนาด 48 มม. ซึ่งเป็น rim titanium ที่มี ring acetante อยู่บริเวณรอบๆเลนส์ ขนาดของ ring acetate จะช่วยเพิ่มความกว้างของหน้าแว่นโดยรวมได้อีก 8 มม. โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดเลนส์ และใช้ดีไซน์ขาแว่นแบบ new wide ที่ช่วยหลบขมับได้อีกหน่อย ทำให้แว่นตาตัวนี้โดยรวมแล้ว ไม่ได้รู้สึกว่าหนา เพราะความหนานั้นล้น ring acetate มาเล็กน้อยเท่านั้น และแทบดูไม่ออกว่าสายตาสั้นรวมเอียงนั้นมากกว่า -10.00D ก็เป็นไอเดียสำหรับท่านที่มีสายตามากๆ อยากได้แว่น เบา ทน ใส่สบาย ดูไม่หนา และหล่อ
สวัสดีครับ
ดร.ลอฟท์ O.D.
LOFT OPTOMETRY
578 Wacharapol rd. Bangkhen ,Tharang ,BKK 10220
mobile: 090 553 6554 ; lineID: loftoptometry
tags : #LoftOptometry #Optometrist #ทัศนมาตร #สายตาสั้น#สายตาเอียง #ตาเหล่ซ่อนเร้น #hyperphoria
#LindbergThailand #RodenstockThailand