#รอดด้วยRetinoscopeบนfreeSpace

ว่างๆมาเล่าเคสให้ฟังพอแก้เหงา เคสนี้ถ้าแค่ดูแค่ผลลัพธ์ก็คงไม่มีอะไรเร้าใจมากนัก แต่ถ้าได้มาอยู่ด้วยกันในห้องตรวจแล้วจะรู้สึกได้ถึงความเหวอ 

คนไข้คนหนึ่ง เป็นหญิง อายุ 46 ปี มาด้วยอาการ มองใกล้ไม่ชัด (คิดทื่อๆแบบ common sense ก็ต้องคิดว่าสายตาสูงอายุ) 

ใช้แว่นครั้งแรกตั้งแต่ป.5 แว่นที่ใส่อยู่ปัจจุบัน มองใกล้มัว 

สุขภาพแข็งแรง ไม่มียาที่ทานประจำ ไม่มีประวัติภูมิแพ้หรืออะไร ทำงานดูบัญชี ดูบิล ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์บ้างไรบ้าง สุขภาพตาหรือสุขภาพร่างกายไม่มีอะไรน่าห่วง 

#ตรวจเบื้องต้น 
VA มองไกล(ใส่แว่นเดิม) 
R 20/30 
L 20/30-2

VA ตาเปล่า <20/400 OU

#Retinoscope 
R -3.00-3.25x180 VA 20/20
L -3.00-3.75x180 VA 20/20

#monocular subjective 
R -3.00-3.00x175 VA 20/20
L -3.25-3.75x180 VA 20/20

ถ้ามองแค่การวัดตาบน phoropter นึกปลื้มตัวเองว่าทำ retino ได้แม่มาก subjective แล้วก็แทบไม่หนีที่เรติโนได้ (พรายกระซิบมาว่า ยิ่งเอียงเยอะยิ่งดูง่าย เอียงน้อยๆต่างหากที่ดูยาก ฮิๆ) คือขณะวัดก็คิดว่าหมู เรติโนก็ได้ วัดแบบถามตอบ(subjective) ก็ใกล้เคียง คงไม่น่ามีปัญหาอะไรทำพร้ิวๆไป 

เคสนี้ไม่ได้ทำ Function จริงๆ ผมตรวจตามอาการ และดูผลการตรวจเบื้องต้น ถ้าไม่มีอาการบ่งบอกว่ามีปัญหากล้ามเนื้อตาผมก็จะผ่าน เพื่อให้มีเวลาไปมุ่งส่ิงที่น่าสนใจกว่า 

#PEAK on Trial frame 
หลังจากได้สายตาจากขั้นตอน subjective บน phoropter แล้วก็ทำการ Trial บน trial frame บน free space 

คนไข้บอก..."มองไม่เห็นเลย..มัวมาก" คิดในใจตอนแรก คนไข้โกหกหรือเปล่า แต่โดยสัญชาติญาณถ้าคนไข้บอกมัว เราจะไม่เชื่อแล้วต้องหยิบโรติโนมากวาดขณะคนไข้ใส่แว่นลองอยู่ ปรากฏว่า "แสง with มากๆ " ในทางคลินิกคือเบอร์สายตาที่ได้บน phoropter นั้นเกินไปเยอะมากๆ ก็เลยเร่ิมไล่ใหม่บนเลนส์ลอง โดยใ้ช้ retino กวาดหา sphere ที่แท้จริง แล้วหาสายตาเอียงด้วยวิธี hand held Jackson Cross Cylinder (JCC) บน trial frame ปรากฏว่าค่าสายตาเหลือ

R -2.50 -3.00x160. VA 20/15. Add +1.00
L -2.75 -3.50x180. VA 20/15 Add +1.00

สายตา Over Minus ถึง -0.50D จากค่าที่ได้บน phoropter 

#เคสนี้ ทำให้ผมนึกถึงคำสอนของ prof. Norman Beiley ว่า ไม่ว่าจะมีเครื่องมือ เครื่องอำนวยความสะดวกแค่ไหน you อย่าทิ้งการทำงานบน Free Space คือการทำงานที่ยุ่งกับเครื่องมือน้อยที่สุด คือมีแต่ แว่นลองกับเลนส์เสียบ ที่เหลือจะเป็น skill ของผู้ตรวจทั้งหมด ซึ่งการทำงานบน free space นั้นจะช่วยลดอาการตื่นตระหนกกับคนไข้บางคนได้ (ลด panic) ซึ่งถ้าคนไข้ตื่นเต้น เลนส์ตาอาจมีการเพ่ง ทำให้ผลการตรวจนั้นคลาดเคลื่อนได้ 

ดังนั้นอยากให้ช่วยกันสร้างค่านิยมให้มันถูกต้องกันสักหน่อย ไม่ใช่แข่งกันว่า ฉันวัดสายตาด้วยระบบ 3มิติ 4มิติ อะไรนั่น เอามิติเดียว มิติที่มันถูกต้อง ทำให้มัน basic ที่สุด อย่าเที่ยวหาที่พึ่ง ที่ไม่สามารถพึ่งได้อย่างเครื่องคอมพิวเตอร์กันอยู่เลย แล้วลงแรงเรียนรู้ retinoscope แล้วทำงานกันบน Free Space ให้คล่องก็น่าจะช่วยให้การทำงานมีความเสถียรภาพมากขึ้น 

ดังนั้น อาวุธรอบตัว ต้องใช้ให้ครบ ในสนามรบ บางครั้งเมื่อยุทโธปกรณ์มันไม่ได้ผล การรบด้วยมีดและคมดาบ อาจจะ work ก็ได้ อย่าได้ลืม basic ที่ครูบาอาจารย์พร่ำสอนมา 

#มีศัพท์ทางเทคนิค2คำที่อยากให้รู้จักเกี่ยวกับการตรวจ

การตรวจมี 2 ชนิด คือ 

1.Objective Test 

คือการตรวจโดยไม่ต้องพึ่งพาคนไข้เพื่อให้ได้ผลทางการตรวจ คือให้คนไข้อยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร ผลที่ได้จากการตรวจจะขึ้นอยู่กับผู้ตรวจแต่ผู้เดียว 

เช่น การทำ retinoscope เพื่อให้ได้ค่าสายตานั้น คนไข้ไม่ต้องทำอะไร เพียงแค่มองชาร์จที่อยู่ห่างออกไปที่ 6 เมตร แล้วปล่อยให้คนตรวจใช้ retinosope ส่องเข้าไปในรูม่านตา เพื่อดูแสงที่สะท้อนออกจากรูม่านตา และผู้ตรวจจะเป็นคนประเมินเองว่า ลักษณะแสงที่สะท้อนออกมานี้ สั้น ยาว เอียงเท่าไหร่ ที่องศาเท่าไหร่ โดยความแม่นยำของผลการตรวจจะขึ้นอยู่กับทักษะของผู้ตรวจโดยตรง หลอกไม่ได้ ถ้าเกิดความผิดขึ้นมา ความผิดนั้นจะขึ้นอยู่กับผู้ตรวจแต่เพียงผู้เดียว

และอีกการตรวจที่ถือเป็น objective test แต่เชื่อถือไม่ค่อยได้ แต่กลับใช้กันเป็นหลักคือ วัดสายตาด้วยระบบคอมพิวเตอร์ คนไข้ไม่ต้องทำอะไร เพียงเอาคางวาง หน้าผากชิด เครื่องก็จะสุ่มค่าสายตามาให้ แล้วให้เรามาลองเลือกเสียบๆเลนส์ดู 

2.Subjecive Test 

คือการตรวจ โดยคนไข้มีส่วนร่วม หรือมีการถามตอบระหว่างคนไข้กับผู้ตรวจ ซึ่งก็จะมีลำดับขั้นตอนต่างๆ ด้วยการยิงคำถาม และฟังคำตอบจากคนไข้ แล้วตีความสิ่งที่คนไข้มองเห็น ว่าถ้าคนไข้พูดแบบนี้แปลว่าเขาเห็นอะไร ผู้ตรวจต้องรู้ว่าคนไ้ข้กำลังเห็นอะไรอยู่ แสงที่เกิดขึ้นบนจอรับภาพของคนไข้นั้นเป็นอย่างไร และจะปรับอย่างไร ซึ่งการทำงานจะมีระบบระเบียบลำดับขั้นตอนอย่างเด่นชัด ซึ่งในการวัดสายตาส่วนใหญ่จะทำบน phoropter หรือกระโหลกวัดตา 

แต่ด้วยความที่บางทีกระโหลกวัดตาก็ดูอลังการ ปุ่มอะไรเยอะแยะไปหมด คนไข้เกิดความตื่นตระหนก หรือต้องมองผ่านรูอะไรก็ไม่รู้ อาจเกิดการเพ่งของเลนส์ตาและนำมาซึ่งสายตาที่ไม่ถูกต้องก็เป็นไปได้ 

อะ วันนี้รู้จักการตรวจ 2 วิธี ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร การมาซึ่งค่าสายตาจะต้องใช้ทั้ง 2 วิธี จะใช้อย่างหนึ่งไม่ได้ เว้นในเด็กที่ไม่สามารถตอบสนองได้ จะต้องใช้การตรวจแบบ Objective แบบ pure เพราะเด็กเล็กเชื่อไม่ได้ ซึ่งต้องอาศัย skill ของผู้ตรวจมากอยู่พอสมควร 

#reference

Progressive Lens spect
#Rodenstock Multigressiv MyView 1.6 ,solitaire protect plus2 

Frame Customized Spec
#LINDBERG spirit titanium
BRIDGE: Basic, Flat, M , 3.5 mm clips, colour PGT
TEMPLES: Temple 611, 135 mm, colour PU12
CLIPS: R:5.5 mm, L:5.5 mm, colour PGT
Engraved Name: NONG YANISA
LINDBERG case T4631
T4540 polishing cloth 

tag : #rodensock #lindbergthailand #optometry #ทัศนมาตร #ทัศนมาตรคือทัศนมาตรมีเกียรติมีศักดิ์ศรีในวิชาชีพไม่ใช่หมอสายตาเข้าใจตรงกันนะถ้าเราไม่เรียกชื่อวิชาชีพเราแล้วเมื่อไหร่คนทั่วไปจะเรียกถูกยิ่งเรียกยากๆอยู่