"Perfectionism"
ผมเป็นคนที่เชื่อในความเป็น "Perfectionism" หรือเชื่อในความสมบูรณ์แบบ โดยไม่อะลุ่มอะหล่วยกับความคลาดเคลื่อนแม้เพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำงานแว่นตา
เพราะผมเชื่อว่า ระบบประสาททั้ง 5 ของมนุษย์ ได้แต่ ตา หู จมูก ลิ้นสัมผัส กายสัมผัส นั้น ต้องการการเรียนรู้ในสิ่งที่ละเอียดที่สุด จึงจะสามารถพัฒนาระบบประสาทให้ไปถึงขีดสุดได้ แม้ว่าเราจะเห็นทุกวัน ได้ยินเสียงทุกวัน กินอาหารทุกวัน สัมผัสของนุ่มอ่อนหยาบแข็งทุกวัน ดมกลิ่นทุกวัน แต่บางทีบางคนระบบประสาทของเขาอาจไม่เคยได้สัมผัสสิ่งที่ละเอียดปราณีตที่สุดก็เป็นได้
ประบบประสาทหูของคนบางคน อาจแยกไม่ได้แม้แต่เสียง mono หรือ stereo หรือแยกไม่ออกว่า เครื่องเสียงคลองถมตามงานวัดกับเครื่องเสียไฮเอนด์ชุดเป็นล้านต่างกันยังไง...เพราะหูไม่เคยได้ถูกสอนว่าเสียงที่ดีเป็นอย่างไร คลื่นเสียงทุกย่านความถี่เป็นอย่างไร จึงทำให้เกิดมีอาชีพ "#รีวิวเครื่องเสียง หรือ #วิจารณ์เครื่องเสียง อาชีพ sound engineer, หรือนักจัดวางตำแหน่งลำโพงของเครื่องเสียง เป็นต้น เพราะคนเหล่านั้นนั้น หูขอเขาได้ผ่านการอบรมมาอย่างดี จนสามารถจับรายละเอียดเสียงทุกความถี่
อาหารที่ลิ้นเราได้ลิ้มรสทุกวัน ที่เราคิดว่าอร่อยทุกวัน มันอาจจะยังเป็นแค่เสี้ยวนิดเดียวของศักยภาพรสเลิศของอาหารที่เราจะสัมผัสได้ ซึงเชฟกระทะเหล็กระดับพระกาฬนั้นเขามีต่อมรับรส ที่ผ่านการอบรมมาอย่างดี มีความอ่อนไหวต่อรสชาติที่เปลี่ยนไปแม้เพียงเล็กน้อย ต่างกับบางคนที่มีลิ้นยังกับจระเข้ โยนอะไรเข้าไปก็กลืนหมด ไม่ได้เสพหรือดื่มดำกับรสชาติอาหารที่อยู่ตรงหน้าเลย
นักดมกลิ่น เป็นอาชีพที่ทรงคุณค่าด้วยเช่นกัน เขาไม่ได้ให้ไปแย่งหมาหาระเบิด แต่เขาเอาไปให้ดมน้ำหอม ว่านำหอมแบรนด์เนมที่เขาจะผลิตนั้น มันดีพอแล้วหรือยัง ซึ่งคนพวกนี้ก็จะมีจมูกที่ยิ่งกว่าจมูกมด (เพราะมดดมหาแต่น้ำตาล) เพราะเซลล์ประสาทเขาเขานั้นผ่านการฝึกฝนจนกระทั่งสามารถ จับทุกกลิ่นแม้เพียงน้อยนิดได้
การเรียนรู้ของมนุษย์นั้น อันดับ 1 นั้นเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการมองเห็น และรองลงมาคือประสาทการได้ยิน
และช่วงนอกเวลาการเรียนรู้นั้น เราใช้ประสาทตาเกือบ 100% ในการท่องเที่ยว เดินทางชมนกชมไม้ ชมความงามของโลกใบนี้ ก็ด้วยประสาทการมองเห็น
ประสาทตาที่ดีนั้น ต้องการสัญญาณที่มากระตุ้นจอประสาทตาที่ดี จึงจะทำให้เรามีสมาธิในการมองได้ดี ตัวอย่างเช่น
สังเกตไหมว่า คนที่มองไม่ชัด (คนสายตาสั้น) เราจะไม่ค่อยอยากจะมองใครสักเท่าไหร่ เราจะเพิกเฉยต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เราจะสนใจเฉพาะสิ่งที่อยู่ใกล้ๆเรา และถ้าเกิดว่าเรากำลังเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม นั่นแปลว่าคุณสอบตกวิชานี้แน่นอน เพราะคุณเล่นไม่สนใจสิ่งรอบตัวเลย
หรือเคยดูหนังซูมไหม ดูแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร บางคนบอกทนดูไม่ได้ แต่บางคนบอกก็ดูได้นะ ซึ่งเกิดอะไรขึ้นทำไมมีทั้งคนทนดูไม่ได้ ทนดูได้ และดูได้สบายๆสนุกดี ก็เป็นเพราะระบบประสาทตาของแต่ละคนนั้น ได้รับการอบรม ได้รับการพัฒนามา ไม่เหมือนกัน คนที่เคยเห็นภาพที่คมชัด มองไกลชัด ใกล้ชัด และชัดในระดับ 4K จะกลับไปดูหนังซูมย่อมดูไม่ได้ ส่วนคนที่ระบบประสาทตาไม่ได้เคยเห็นภาพที่ดีเลย เขาก็จะมีความทนทานต่อภาพที่เบลอแระเสียงที่รบกวนได้มากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม เขาย่อมไม่สามารถรับรู้อรรถรสที่แท้จริงของของเรื่องนั้นได้อย่างแน่นอน พูดอีกนัยหนึ่งว่า ประสิทธิภาพในการดูหนังเนื่องนั้น ประสบความสำเร็จจากที่ผู้กำกับเขาหวังไว้เพียง 10-15 % เท่านั้นเอง
#ประสาทตากับจานรับสัญญาณดาวเทียม
หลักการทำงานของจานดาวเทียม คือจะมีจาน มีสายสัญญาณ มีกล่องรับ แล้วก็มีจอทีวี
สัญญาณภาพมาในรูปแบบคลื่น มาตกกระทบจาน ซึ่งจานนั้นต้องหันให้ตำแหน่งนั้นสามารถรับคลื่นได้เต็มที่ และที่มันเป็นเหมือนชามก็เพื่อให้มันโฟกัสลงที่ตัวรับที่อยู่ตรงก้นมัน ซึ่งคลื่นที่ว่าจะกลายเป็นสัญญาณไฟฟ้า ส่งไปยังกล่องรับซึ่งทำหน้าที่แปลสัญญาณคลื่นให้กลายเป็นสัญญาณภาพ แล้วไปแปรผลที่จอ
คุณภาพของจานรับทำหน้าที่เบอร์สายตาที่ดี
มุมองศาของจาน เหมือนกล้ามเนื้อตา
จุดรับสัญญาณตรงก้นกระทะ เหมือนเซลล์รับภาพ
สายสัญญาณไปกล่องรับ เหมือนกับ เส้นประสาทตาไปสมอง
กล่องรับเหมือนสมอง
และทีวีคือการแสดงผล
ทีวีจะชัดเมื่อ จานรับดี องศาดี สายสัญญาณดี กล่องรับดี ทีวีดี จึงจะให้ภาพที่เป็น Hi-Def
#ถ้าจานรับไม่ดี..ต่อให้กล่องดี สายสัญญาณดี จอภาพดี ...ภาพก็ไม่ดี เหมือนกับ สายตาไม่ถูกต้อง ต่อให้ระบบต่างๆของตาดียังไง ก็ไม่สามารถเห็นภาพที่ดีได้
#มุมองศาไม่ดี...แต่จานดี สายสัญญาณดี กล่องดี จอภาพดี ภาพก็ไม่ดี เหมือนกับ สายตาดี แต่กล้ามเนื้อตาไม่ดี (มี phoria tropia ) ก็ไม่สามารถเห็นดีได้
#กล่องรับสัญญาณไม่ดี ...ต่อให้จานดี สายดี จอดี ก็ไม่สามารถเห็นดีได้ เช่นเดียวกับ สายตาดี กล้ามเนื้อตาดี แต่สมองไม่ดี (เป็นตาขี้เกียจ) ภาพก็ไม่ดี
ดังนั้นการมองเห็นของมนุษย์จะให้สามารถทำงานและเรียนรู้ได้เต็มประสิทธิภาพนั้น ต้องครบองค์ประกอบทั้งเรื่องสายตาที่ถูกต้อง กล้ามเนื้อตาที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และสมองการประมวลผลที่ดี เราจึงจะสามารถพัฒนาศักยภาพของการมองเห็นได้เต็มประสิทธิภาพได้
เมื่อผมเชื่อว่า ทุกจุดนั้นสำคัญ ผมจึงต้องทำในแต่ละจุดให้สมบูรณ์แบบที่สุด ให้มีความคลาดเคลื่อนให้น้อยที่สุด จะทำยังไงที่จะรวมโฟกัสที่วิ่งผ่านชั้นน้ำตา ชั้นกระจกตา ผ่านเลนส์ตาแล้วมารวมกันเป็นจุดแล้วเอาไปวางไว้บนจุดรับภาพอย่างพอดี
ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ยากมากๆ เพราะการทำงานกับคนไข้ เป็นการทำแบบ subjective มันมีตัวแปรมากมายที่จะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนอยู่ตลอดเวลา ผมจึงต้องพยายามหาตัวช่วยลดความคลาดเคลื่อน ด้วยการใช้เครื่องมือที่ดีที่สุด อ่านหนังสือให้มากที่สุด ฝึกให้ได้มากที่สุด
ตัวอย่างเช่นสิ่งที่ผมทำเพื่อคุมความคลาดเคลื่อนที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น ห้องตรวจผม 6 เมตร เครืองมือต้อง The best of The Best
-Reichert Illuminated Phoroptor® (US)
-Reichert Chart Projector AP-250 (US) / Nidek CP 770 (Japan)
-Ophtahlmic chair unit : Topcon (Japan)
-Keratometer : topcon (Japan)
-Retinoscope : Keeler (England) / Welch Allyn(USA)
-Autorefractometer : Canon (japan)
-Slitlamp : Haag-Streit BQ900 (Swiss)
-Trial Frame : Oculus UB-4 (Germany)
-Trial lens : Macro Correced Curve ( US)
CNC Edging System : Weco E.6 (Germany)
งานในแลปฝนเลนส์ ก็ใช้เครื่องที่ดีที่สุดเท่าที่โลกจะหามาได้ เพื่อให้งานฝนเลนส์นั้นออกมาได้แม่นยำที่สุด ซึ่งตอนนี้ความละเอียดสูงสุดที่เครื่องตัวนี้ทำได้ คือ คลาดเคลื่อนน้อยกว่า 0.02 มม. ซึ่งทุ่มทุนสร้าง ร่วมสองล้านบาท คือ เครื่อง CNC Edging Machine : WECO E.6 และคีมทุกตัวที่ผมใช้ในแลปฝน เพื่อดัดแว่นนั้น ใช้ของ Lindberg ทุกตัว เพื่อดัดในแต่ละจุด และถนอมแว่นให้บอบช้ำน้อยที่สุด
เหล่านี้คือสิ่งที่เราทำ ทำเพื่อให้ได้ optic ที่ดีที่สุด ซึ่งไม่ต้องถามว่าเท่าไหร่ ราคาสูงจนผมไม่อยากจะคิดว่าเมื่อไหร่จะคืนทุน เพราะมันคืนไม่ได้อยู่แล้ว เพราะถ้าคิดอย่างนั้นป่านนี้ของจีนผมคงเต็มร้าน
ดังนั้นถ้าจะวิ่งหาความเป็น Perfectionism ต้องเลิกคิดเรื่องกำไรขาดทุน แต่ต้องคิดว่า "ดีสุดแล้วหรือยัง ดีมากกว่านี้ได้ไหม" และตอนนี้ผมว่าผมสุดแล้ว แต่การเรียนรู้ยังคงต้องเรียนต่อไป
ทั้งนี้ก็เพื่อให้แว่นที่ออกไปแต่ละคู่จากมือของผมนั้น เป็นแว่นที่ช่วยให้เซลล์ประสาทตาของคนไข้แต่ละคนนั้น สามารถรับรู้ถึงความคมชัด และเป็นโฟกัสที่บริสุทธิ์มากเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้เขานั้นสามารถเห็นโลกได้สวยขึ้น งดงามขึ้น เรียนรู้ได้ดีขึ้น และ "Enjoy their life" ได้มากขึั้น
สิ่งที่มีไว้บริการที่ลอฟท์ ผมจึงคัดสรรมาเฉพาะ สินค้าที่เป็นเลิศเท่านั้น ซึ่งในมุมมองของผม ถ้าพูดถึง optic ที่เป็นเลิศผมยกให้ Rodenstcok เพราะมีเทคโนโลยีจัดการความคลาดเคลื่อนของ optic ได้มากที่สุด และถ้าเลิศในด้าน Eyewear ผมจึงยกให้ Lindberg เนื่องจากสามารถออกแบบกรอบแว่นเฉพาะคนได้ เพราะให้ optic ที่อยู่ตรงหน้า ที่เรามองผ่านเลนส์ทุกวันนั้น ได้ตำแหน่งที่มีความเสถียรภาพมากที่สุด
"ตอนเปิดร้านแว่นตาใหม่ๆ...กัลยาณมิตร ผมถามผมว่า
"เฮียเปิดร้านแว่นตาเพื่ออะไร"
วันนี้ผมตอบตัวเองได้ชัดเจนว่า "เพื่อทำแว่นตา 1 อันให้ดีที่สุด เท่าที่สมองผมจะมี เท่าที่เครื่องมือผมจะอำนวย และผมก็ไม่เคยหยุดอ่านหนังสือ เพื่อนำความรู้มาทำงานที่ผมรัก ให้ดีที่สุด"
ขอบพระคุณครับที่อ่านจนจบ
เขียนไปเขียนมาหาที่ลงไม่ได้ เอาจบไว้ที่ตรงนี้ก็แล้วกัน ดูแว่นไปพลางๆก่อน เพราะแว่นที่เอามาให้ดูนั้น มีเรื่องที่น่าสนใจว่า สายตาขนาดนี้ เลนส์ค่ายอื่นๆ Base Curve จะมาแบนๆ แต่ Rodenstcok นั้นสามารถสั่ง Base Curve ให้โค้งเท่ากับ Demo ได้ โดยไม่กระทบกับ optic ทำให้แว่นที่ได้มานั้น โค้งสวยเหมือน Original และเลนส์ตัวนี้ใช้ index 1.6 เท่านั้น (ลอฟท์ไม่เคยบ้า High index)
ColorMatic IQ 2 SunContrast นั้นเป็นกันแดดเปลี่ยสี คืออยู่ในร่มจะติดสีอยู่ 50% แล้วเข้มเป้น 85% เวลาออกแดด ซึงตัวนี้เน้นความคมชัดเป็นพิเศษสำหรับออกรอบตีกอลฟ์ ซึงต้องการให้เข้มมากเวลาออกแดดยามเที่ยง แต่ช่วงเช้าๆ ไม่อยากให้มืดมาก ก็จบที่ตัวนี้ เอามาเล่าให้ฟัง
แล้วค่อยๆไล่ดูรูปงานฝนด้วย เครื่องฝนระดับพระกาฬ E.6 เขาทำได้เนียบขนาดไหน เห็นกรอบเต็มแบบนี้ จริงๆ Lindberg Now เป็นเซาะร่องนะครัช ถ้าฝนเล็กหรือใหญ่กว่านี้นิดเดียว ยัดไม่เข้าแน่นอน ยกเครดิตความงามให้ช่างแว่นระดับพระกาฬในการคุมบังเหียนเจ้า E.6 ตัวนี้ ให้รีดงานออกมาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
จบ..สวัสดีครับ พรุ่งนี้ร้านหยุดตามปกตินะครับ
Dr.Loft
Reference
สายตาสั้น
R -4.75-0.75x20 prism 0.5 BU 20/20
L -4.63-0.75x175 prism 0.5 BD 20/20
Face form angle : 7.5 degree
Base Curve : 5
Lens : Perfalit Sport 2 Extra-curve 1.6 ColorMatic IQ2 Contrast Green
Frame : LINDBERG n.o.w
MODEL: 6533
Size: 54/18
Colour: C01
TEMPLES
Type: n.o.w. temple 802
Colour: 10
Length: 140 mm
Engraved Name: BHAKORN V.