คนไข้ เพศหญิง อายุ 45 ปี มาด้วยอาการ ปวดตาขวาเมื่ออ่านหนังสือ ดูใกล้ และเล่นมือถือ
คนไข้ไม่เคยใช้เลนส์โปรเกรสซีฟมาก่อน (เพราะเพื่อนๆและคนใกล้ชิดที่รู้จัก มีทัศนคติไม่ดีกับโปรเกรสซีฟ เพราะทำแพงแล้วใช้งานไม่ได้จริง จึงใช้แว่นมองไกล และถอดแว่นเมื่อต้องอ่านหนังสือ)
ไม่เคยพบแพทย์หรือวัดสายตากับนักทัศนมาตร์มาก่อน สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว และไม่มียาที่ต้องทานประจำ
ทำงานใช้งานคอมพิวเตอร์วันละ 3-4 ชม. และเล่นมือถือช่วงเย็น
จากอาการข้างต้น ก็ไม่มีอะไรซับซ้อนมาก แต่ผมสังเกตุเห็นความผิดปกติตำแหน่งศีรษะขณะพูดคุย
คนไข้จะติดเอียงคอคุยกับผมตลอดเวลา (ซึ่งผมก็คิดในใจ) ก็เลยถามว่า "รู้ตัวไหมว่าคนไข้ชอบเอียงคอ" "รูปเก่าๆสมัยเด็ก คอเอียงไหม"
คนไข้ตอบว่ารู้ตัวอยู่เหมือนกัน เวลาไปถ่ายรูป ช่างถ่ายรูปมักจะบังคับให้เอียงคอมาอีกด้าน แต่คนไข้คิดว่าท่าทางที่ทำอยู่ประจำนั้น เป็นตำแหน่งที่ศีรษะตรงแล้ว ซึ่งผมก็คิดอยู่ในใจว่าน่าจะมี ตาเหล่ซ่อนเร้นแบบ Hyperphoria
VA (ตาเปล่า) ที่ 6 เมตร 20/200,20/200
CoverTest (ขณะใส่แว่นเดิม)
Exophoria @ 6 m
Esophoria @ 40 cm
Retinoscopy
OD -2.50-1.00x180
OS -3.25-1.25x180
BVA
OD -2.75-0.87x20 20/20+2
OS -3.25-0.75x173 20/20+2
ที่ระยะ 6 เมตร
2 BI exophoria
2 BD Left-Hyperphoria ***
ที่ระยะ 40 ซม.
BCC +1.50 D (Addition)
6 BI exophoria (w/ correction)
#Analysis
เป็นไปอย่างที่คาดเอาไว้ คือคนไข้ มี Left-Hyperphoria หรือมีตาเหล่ซ่อนเร้นแบบตาสูงข้างหนึ่ง โดยตาข้างซ้ายนั้นมีมุมเหล่สูงกว่าตาขวาอยู่ 2 prism ทำให้คนไข้มักจะเอียงคอเพื่อชดเชยมุมเหล่ดังกล่าว
ส่วนเรื่องปวดหัวเวลาต้องอ่านหนังสือตอนใส่แว่น เนื่องจากคนไข้มีเขเข้าซ่อนเร้นด้วยถ้าใส่แว่นมองไกล การถอดแว่นอ่านหนังสือ สือใส่แว่นอ่านหนังสือ ทำให้การ accommodation ลดลง จึงทำให้เปลี่ยนจาก เขเข้า เป็นเขออก ซึ่งทำให้ผลที่ดีกว่า เพราะมนุษย์มีกำลังในการเหลือบตาเข้าสูงอยู่แล้ว
#Rx
Frame :Lindberg Spirit (custom made)
BRIDGE: Basic, Flat, M , 3.5 mm clips, colour 10
TEMPLES: Plate 600, 130 mm, colour 10
CLIPS: R:5.5 mm, L:5.5 mm, colour 10
Lens : Rodenstock Multigressiv MyView 1.6 w/ solitaire protect plus 2
#FollowUp
มีอาการภาพไหวเล็กน้อยในตอนแรกที่ใส่เลนส์โปรเกรสซีฟ แต่ไม่ได้รู้สึกเป็นปัญหาอะไร และอีกวันก็สามารถปรับตัวได้และสมบูรณ์ในวันที่3 และที่สำคญคอไม่เอียงคอแล้ว
#comment
มีคนไข้จำนวนมากมักถามผมหลังจากส่งมอบแว่นว่า.." แล้วคนที่เขาบอกว่าใส่เลนส์โปรเกรสซีฟแล้วเขาปวดหัว เวียนหัว คลื่นใส้อยากอ๊วก นั้นเขาเป็นยังไงเหรอ"
ผมก็ตอบว่า "ผมเองก็ไม่ทราบ เพราะผมเองก็ยังไม่เคยเห็นเคสแบบนั้น และ ยังไม่เคยเห็นใครที่ใส่ไม่ได้ซะที ซึ่งอย่างช้าก็สัก 3 วันก็ไม่รู้สึกอะไรแล้ว และ 100% นั้นใส่แว่นกลับบ้านได้ ตั้งแต่ครั้งแรก"
ถ้าถามว่าอะไรคือสูตรลับ..."ไม่มีสูตรลับอะไรทั้งสิ้น" ขอให้วัดสายตาให้ถูกต้อง รีดออกมาให้บริสุทธิ์ที่สุด (ถ้าสายตาถูกต้องวัดซ้ำกี่ครั้งต้องได้ค่าเดิม ถ้าไม่มีโรคประจำตัว และไม่มีปัญหาสายตาเปลี่ยนบ่อย (เพราะการวัดสายตาแล้วผิด กับสายตาเปลี่ยนนั้นไม่เหมือนกัน เช่น การวัดสายตาวันเดียวกัน 10 ครั้ง ได้มา 10 ค่าสายตา ไม่ได้แปลว่าสายตาเราเปลี่ยนทุกครั้งที่วัด )
เมื่อได้ค่าสายตาที่ดีแล้ว ก็เลือกเลนส์ที่เหมาะสมกับปัญหาสายตา กับลักษณะ pd และลักษณะของกรอบแว่นที่เลือก เพราะเลนส์แต่ละรุ่นนั้นใช้ตัวแปรต่างๆในการคำนวณไม่เหมือนกัน และที่สำคัญ ไม่จำเป็นต้องแพง ถ้าค่าต่างๆ ไม่ได้พิศดารมาก
fitting ให้ถูกต้องและแม่นยำ เพราะเลนส์โปรเกรสซีฟนั้น มีความทนทานต่อความคลาดเคลื่อน (tolerance) ที่ต่ำมาก ,ความคลาดเคลื่อนเพียง 1 มม. สำหรับเลนส์โปรเกรสซีฟแล้วถือเป็นเรื่องใหญ่
ดังนั้น การฟิตติ้ง ที่ดี เพื่อนำไปสู่การฝนประกอบที่ดี ซึ่งบางครั้งก็จำเป็นที่ต้องใช้เครื่องตัดเลนส์ เครื่องเจาะเลนส์ที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้การวัดสายตา การฟิตติ้ง การเลือกเลนส์ นั้นไม่เสียเวลาเปล่าเพียงเพราะเกิดความคาดเคลื่อนจากการฝนประกอบ
สุดท้ายก็เรื่องดัดแว่น "ช่างแว่นที่เก่งนั้น ดัดแว่นไม่กี่กริ๊ก ให้ผลดีจากหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะเลนส์โปรเกรสซีฟนั้น ต้องการความโค้ง มุมเท และระยะห่างจากเลนส์ถึงกระจกตาที่จำเพาะ
ถ้าทำได้..."ไม่มีหรอกครับ..คนที่ใส่โปรเกรสซีฟไม่ได้" ผมเองไม่เคยแก้ปัญหาโปรเกรสซีฟ โดยบังคับให้คนไข้ขยับรุ่นเลนส์ที่สูงขึ้นไป เพราะนั่นเรากำลังโทษเลนส์ และไม่ยอมโทษตัวเอง ถ้าตัวแปรข้างบนที่เล่ามานั้น 100% ทั้งหมด ก็เชื่อได้ว่า "คนไข้จะสามารถมีความสุขกับโปรเกรสซีฟได้ทุกคน โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายเกินความจำเป็น
ขอบพระคุณทุกท่านสำหรับการติดตามครับ
dr.loft