Single-vision lens By Rodenstock 

Rodenstcok Single-vision Portfolio and Feature 

by Dr.Loft ,O.D

update : 1 July 2023

 

Introduction 

เลนส์ชั้นเดียว หรือ Single vision lens นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเลนส์ที่เกิดขึ้นมาบนโลกตั้งแต่โบราณกาลนานมาแล้ว คิดว่ามากกว่า 200 ปี เพราะลำพังนับตั้งแต่ Rodenstcok ก่อตั้งบริษัทขึ้นมาในปี 1877 มาถึงวันนี้ก็กว่า 146 ปีแล้ว และสิ่งที่น่าสนใจก็ คือ เลนส์ชั้นเดียวที่มีอยู่ในตลาดในประเทศและจ่ายออกไปนั้นมากกว่า 97% ก็ยังคงเป็นเลนส์ที่ใช้เทคโนโลยีการขัดโครงสร้างแบบที่ทำเมื่อ 200 ปีก่อนอยู่ คือใช้โครงสร้างเป็น Spheric และ Aspheric ส่วนการพัฒนาเทคโนโลยีส่วนใหญ่จะมุ่งสู่การพัฒนาเทคโนโลยีของผิวโค้ต (Coating) และเนื้อเลนส์ (Lens material)  คือ ทำผิวโค้ตให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้น เช่น กันรอย กันน้ำจับ กันฝุ่นเกาะ กันไขมันจับ กันรอยนิ้วมือ โค้ตลื่น เช็ดง่าย กันยูวี รวมถึงแสงสีน้ำเงินอะไรทำนองนั้นหรือไม่ก็ว่ากันที่เนื้อเลนส์เช่นเลนส์เหนียวไหม เอาแบบย่อบางไหม เอาเลนส์ Hight index ไหม คำเหล่านี้เป็นคำที่เราได้ยินบ่อยๆเมื่อเข้าไปซื้อเลนส์ในร้านแว่นตา ซึ่งเราจะไม่ค่อยได้ยินเขาพูดถึงเลนส์ชั้นเดียวในแง่ของเทคโนโลยีในการออกแบบโครงสร้างสักเท่าไหร่ เพราะโครงสร้างของเลนส์ทั้งสองโครงสร้างนี้ไม่มีอะไรที่ซับซ้อนให้พูดถึงหรืออธิบาย เพราะมันคือโครงสร้างที่ใช้การขัดแบบกลไกธรรมดา (Conventional) ชดเชยความคลาดเคลื่อนอะไรได้ไม่มากมายนัก โครงสร้างเลนส์ชั้นเดียวที่ผมพูดถึงข้างต้นนี้ ได้แก่ 2 โครงสร้าง ซึ่งเป็นโครงสร้างคลาสิกใช้การขัดเลนส์แบบ Conventional ธรรมดาได้แก่ Spheric lens และ Aspheric lens  

 

 

ถ้าถามว่าเลนส์ทั้ง 2 โครงสร้างนี้ใช้ได้ไหม...ก็ใช้ได้  ชัดไหม... ก็ชัดอยู่นะ  แล้วจบไหม...ก็ (อาจจะ) จบก็ได้ถ้าต้องการเพียงแค่มองตรงชัดหรืออ่านได้แล้วพอ หรือสายตาน้อยๆ ไม่มีสายตาเอียง เลือกแว่นไม่โค้ง เป็นต้น  แต่เลนส์จำพวกนี้จะให้ภาพที่ดีที่สุด (Optical properties) เฉ​พาะที่ตำแหน่ง Reference point ซึ่งเป็นตำแหน่งที่แนวการมอง (Line of sight) วิ่งผ่านศูนย์กลางเลนส์ (Optical center) แล้ววิ่งไปตัดผ่านศูนย์กลางจุดหมุนของดวงตา (Centor of rotation) จึงจะให้ Optic ที่ดีที่สุด และนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมแว่นต้องมีมุม Pantoscopic tilt angle  และเมื่อเราประกอบเลนส์ชั้นเดียวทำไมต้องให้ Optical center อยู่ต่ำกว่าตำแหน่งมองไกลจริง  ที่เราต้องประกอบเลนส์แบบนี้เพื่อทำให้ Optical center และ Line of sight วิ่งไปตัดกันที่ Center of rotation กันพอดี (เอาไว้คุยรายละเอียดกันในกรอบหน้า)

มาต่อกัน..ในเลนส์ 2 โครงสร้างนี้ภาพจะเริ่มมัวเมื่อมองหลุดจาก Reference point ยิ่งมองหลุดเซนเตอร์มากขึ้นก็จะเริ่มมัวมากขึ้น ยิ่งไปถึงบริเวณขอบนอกจากจะเห็นภาพมัวแล้ว ภาพยังมีการบิดเบี้ยวอีกด้วย โดยเฉพาะกับผู้ที่สายตามากๆ เช่น สั้น ยาว เอียง มากๆ หรือเลนส์มีปริซึม ก็จะเห็นได้ชัดว่ามันมีพื้นที่ใช้งานคมชัดแค่บริเวณโซนกลางๆเลนส์เท่านั้นและถ้านำแว่นพวกนี้ไปใส่บนแว่นโค้งแล้ว  ใส่ไม่ได้เลย เมา คลื่นไส้ อยากอาเจียน นี่คือเลนส์เทคโนโลยีเก่าที่ไม่สามารถชดเชยอะไรไม่ได้เลยนอกจากขัดค่าสายตาบริเวณตรงกลางให้ตรงกับค่าสายตาที่สั่งไป 

 

สำหรับบางคนนที่ใช้อยู่ก็บอกว่าใช้ได้ ไม่ได้เดือดร้อนอะไร ที่แท้จริงแล้วแค่เราทนได้เฉยๆ เพราะเรายังไม่เคยรู้ว่าเราสามารถมองโลกให้สวยกว่าที่เคยเห็นได้ แต่ถ้าได้สัมผัสเทคโนโลยีสมัยใหม่แล้ว เราจะรู้สึกว่าสิ่งที่เราเคยทนใช้อยู่นั้น จะไม่สามารถทนได้อีกต่อไป ซึ่งเป็นประสบการณ์ตรงของผมเอง จึงกล้าพูดเพราะแว่นที่ใ่ช้อยู่ประจำเกิดหัก แล้วใช้เลนส์ธรรมดาสำรองระหว่างรอเลนส์ใหม่  มันคือนรกดีๆนี่เอง ถามว่าชัดไหมก็ชัดนะ เห็น อ่านได้ แต่ลานสายตาที่เราเคยเห็นเต็มใบ มันถูกบังคับให้เราต้องมองตรง และเคลื่อนศีรษะตาม แม้ภาพชะเห็นชัด แต่ชัดแบบหลอกๆ หลอนๆ และเวลาดูใกล้ก็ต้องใช้เวลาในการโฟกัส ปวดหัว ตึงตา ปวดเบ้าตาทั้งวัน  ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่เคยเกิดกับผมมา 2 ปีแล้ว ก็เลยมั่นใจกล้าที่จะพูดออกมา และมีแรงที่จะเขียนเรื่องราวของเลนส์ชั้นเดียวขึ้นมา เผื่อจะมีใครที่อยากได้การมองเห็นที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ 

 

Modern lens technology 

เลนส์เทคโนโลยีใหม่ที่ผมจะพูดถึงนี้ มีชื่อโครงสร้างทางสากลว่า Atoric Design (บางทีอาจได้ยิน เรียกว่า Multi-Aspheric Design ก็ได้เช่นกัน) ซึ่งเทคโนโลยีนี้พึ่งเกิดขึ้นสักสิบกว่าปีนี้เอง หลังจากเทคโนโลยีการขัดเปลี่ยนไปจาก Conventional มาเป็น CNC-Free form ทำให้เราสามารถ Optimized โครงสร้างได้มากขึ้น คำนวณตัวแปรได้มากขึ้น ชดเชยความคลาดเคลื่อนได้ดีขึ้น ปัจจุบันถ้าจะใช้คำว่า PERFECTION ก็ไม่ผิดอะไร  ตอนนี้เทคโนโลยีมีให้เราใช้สมบูรณ์แบบแล้ว คงเหลือแต่ทางผู้ที่ทำการตรวจวัดสายตาว่าสามารถทำได้ถูกต้องแม่นยำขนาดไหน ถ้าทำได้เลนส์พวกนี้ไม่มีข้อให้ตำหนิได้เลย (มั่นใจขนาดนั้น)

 

Technology and Feature 

โครงสร้างเลนส์นั้นเป็นเรื่องของการจัดการผิวโค้งของเลนส์ เพราะผิวโค้งทำให้เกิดค่ากำลังการหักเห (Power) ดังนั้น เทคโนโลยีทั้งหลายที่ออกแบบมาก็เพื่อจัดการกับความโค้งให้ได้ค่ากำลังที่มีความแม่นยำในทุกจุดและมีความคลาดเคลื่อนในแต่ละจุดให้น้อยที่สุด ในแต่ละค่าสายตา กรอบแว่นขณะสวมใส่เท่าที่จะเป็นไปได้  ซึ่งในการคำนวณชดเชยความคลาดเคลื่อนนั้น จะชดเชยได้มากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับเครื่องมือหรือเทคโนโลยีในการขัด ยกตัวอย่าง งานปักด้ายเป็นโลโก้ หรือรูปบนเสื้อ หรือหมวก กระเป๋า ระหว่างใช้คนปักกับใช้คอมพิวเตอร์ในการปักชื่อนั้น ย่อมได้งานที่ไม่เหมือนกัน ความรวดเร็วไม่เหมือนกัน ซึ่งคอมพิวเตอร์ย่อมทำงานที่ละเอียดซับซ้อนได้ดีกว่าและเร็วกว่า แต่ต้นทุนเครื่องมือในการปักก็จะสูงกว่างานทำมือที่มีแค่ด้ายกับเข็มก็ทำได้แล้ว เลนส์ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งเราจะมาดูกันแต่ละเทคโนโลยีว่ามีขีดจำกัดอะไรที่น่าสนใจบ้าง 

 

I. Spheric lens

Spheric Design : เป็นเลนส์ที่เกิดจากส่วนโค้งของทรงกลมที่รัศมีความโค้งในทุกๆ Meridian เท่ากันหมดทุกแกน เลนส์เลยออกมาเป็นโค้งลักษณะส่วนของทรงกลม ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ Basic ที่สุด การออกแบบนั้นไม่มีความซับซ้อน ผิวหน้าเป็น Sphere ผิวหลังขัดค่าสายตาสายตาสั้น ยาว หรือเอียง แต่สิ่งที่เป็นจุดอ่อนของเลนส์พวกนี้คือความคลาดเคลื่อนของกำลังหักเหบริเวณขอบของเลนส์จาก Sperical aberration เหมือนดังในรูปบน ทำให้มีปัญหาภาพมัวด้านข้างในค่าสายตาที่มากๆ โดยเฉพาะกับผู้ที่สายตาเอียงมากๆนั้นจะเห็นปัญหาชัดเจนขึ้น และสำหรับค่าสายตาของเลนส์บวกนั้นจะมีกำลังขยายมากกว่าเลนส์ชนิดอื่นๆ ทำให้การรับรู้ภาพผิดเพี้ยนไป ทำให้ใส่ไม่สบายตา อาจมีอาการปวดหัว เวียนหัวได้  

 

II. Aspheric lens

สำหรับโครงสร้างแบบ Aspheric นั้นพัฒนาขึ้นมาเพื่อลดปัญหาหลัก 2 เรื่อง คือ Spherical aberration และ Base curve effect สำหรับเลนส์บวก (Plus lens)  โดยการออกแบบความโค้งนั้น ใช้หลักการค่อยๆให้เกิดเปลี่ยนแปลงความโค้งความโค้งจากบริเวณเซนเตอร์เลนส์ไปที่ขอบเลนส์ โดยออกแบบให้มีรัศมีความโค้งที่เพิ่มขึ้นรอบทิศทางจากศูนย์กลางออกไปที่ขอบเลนส์  เลนส์ที่ออกมาจะเป็นทรงของกราฟบน (ภาพจากหนังสือ Systemic of ophthalmic dispensing) ซึ่งเป็นพาราโบลารอบทิศทาง (นึกถึงระฆังคว่ำ หรือไม่ก็ฉาบ) โดยมีผิวที่เป็น Sphere อยู่ที่บริเวณเซ็นเตอร์่ซึ่งทำหน้าที่เป็น Base curve ของ Aspheric  ซึ่งการออกแบบลักษณะนี้ สามารถช่วยลดปัญหา Base curve effect ในสายตา Plus -sphere ลงได้บ้าง (แต่ช่วยไม่ไหวในสายตาเอียงมากๆ เนื่องจากไม่สามารถใช้ 2 Base curve คุมแต่ละแกนได้) และลด Spherical aberration ที่ทำให้ขอบเลนส์มัวลงมาได้บ้าง  ซึ่งให้ Optic ได้ขึ้นใน Plus lens เพราะช่วยลดกำลังขยายจากเลนส์บอกได้มากกว่า Spheric มาก 

 

ขยายความกันอีกสักเล็กน้อยว่า "ทำไมต้องตาบวก"  สาเหตุสำคัญก็คือว่า จาก base curve effect ทำให้คนที่ตาบวกนั้นถูกบังคับให้ต้องใช้ base curve lens ที่โค้งมาก ยิ่งบวกมาก ก็ต้องใช้ BC สูงๆ ตรงกลางเลนส์ก็จะหนา ครั้นจะลด base ให้แบนลง ก็ต้องแลกกับ aberration ที่จะเกิดขึ้น แต่ถ้าฝืนดันทุรังไปก็เจอ center thickness หนาๆ เกิด magnify มาก บิดเบี้ยวจากกลำขยายไปอีก ในขณะที่ตาลบ(เลนส์สายตาสั้น) ผิวหน้าเลนส์แบนอยู่แล้ว กลางเลนส์เป็นจุดที่บางอยู่แล้ว และ base curve แบนๆ มันก็ matching กับสายตาสั้นอยู่แล้ว ดังนั้น aspheric จึงไม่ได้ช่วยเรื่อง optic สักเท่าไหร่ แม้จะให้ขอบที่ดูบางกว่า spheric เล็กน้อย  แต่การเลือกขนาดวงเลนส์ที่เล็กลง จะได้ประโยชน์ของความบางมากกว่า 

 

III. Toric lens 

Toric lens ไม่ได้ถือว่าเป็นดีไซน์เฉพาะ แต่เป็นเลนส์โครงสร้างที่มีผิวหน้าเลนส์เป็น Spheric ขัดค่าสายตาเอียงไว้ทางด้านหลัง คือ ขัดสายตาที่ผิวหลังให้มีผิวโค้งเป็น 2 โค้ง ซึ่งแกนในการขัดของทั้งสองแกนนั้นจะตั้งฉากกัน ดังนั้น เลนส์สายตาเอียง (Toric lens) คือ เลนส์ที่มีผิวหน้าแบบสเฟียริกที่ขัดแบบสายตาเอียงนั่นหล่ะ เช่น สายตาสั้น -2.00-2.00@180  จะมี power -2.00D อยู่ในแนว 90 องศา และมี power -4.00D อยู่ในแนว 180 องศา ปัญหาก็คือ power ที่อยู่ระหว่าง 2 แกนนี้หล่ะจะเป็น power อะไร อันนี้ไม่สามารถบอกใน Toric lens ธรรมดาได้ เพราะเทคโนโลยี Machanic ธรรมดา ไม่สามารถ Monitor ทุกจุดได้  ดังนั้น เลนส์ Toric จะมีปัญหาการใช้มาก โดยเฉพาะกับผู้ที่เอียงมากๆนั้น ทำให้ต้องใช้เวลาในการปรับตัวนานพอสมควร  นึกถึง Toric lens นึกถึง ลูกรักบี้ ซึ่งจะมีโค้งแบบนั้น  

 

แต่เรามักจะคิดผิดไปว่า เลนส์สายตาเอียง นั้นมีแค่สองกำลังหักเห คืออยู่ที่แกนหลักทั้งสอง กำลังหักเออันหนึ่งอยู่ที่แกนสเฟียร์ ส่วนอีกอันอยู่แกนสายตาเอียง  แต่ไม่เคยคิดต่อว่า ระหว่างแกนทั้งสองนั้นมีการเปลี่ยนแปลงกำลังหักเหจาก sphere-power ไป cylinder-power และจากความรู้เดิมคือ มีกำลังหักเหย่อมมีกำลังขยาย  ถ้ากำลังไม่เหมือนกัน ก็ย่อมให้กำลังขยายไม่เหมือนกัน และ กำลังขยายไม่เหมือนกันนี่แหล่ะที่เราเรียกว่า spatial distortion เป็นเหตุให้คนปรับตัวกับเลนส์สายตาเอียงได้ยาก นำไปสู่ ไสยศาสตร์จัดสายตา  ด้วยการจ่ายลดเอียง แล้วเพิ่มสเฟียร์ลบ  จนลืมเรื่อง binocular function 

 

อ่านสายตาเอียงเพิ่มเติม https://www.loftoptometry.com/astigmatism

 

 

IV. Atoric lens

Atoric Freeform นั้นเป็นเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งมีความซับซ้อนของเทคโนโลยีอยู่มาก สามารถชดเชยค่าต่างๆได้ทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันเลนส์ชนิดนี้ถือเป็นกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีสูงที่สุด Atoric นั้นมาจากคำว่า "A" ซึ่งแปลว่า "ไม่"  ส่วน toric ก็คือ โค้งแบบลูกรักบี้ คือมี 2 แกนที่ตั้งฉากกันอยู่เหมือนที่พูดไปข้างต้น ดังนั้น atoric design จึงแปลได้ว่าการออกแบบที่ทำให้ “ไม่มีแกน” คือไม่มีช่องว่างของแกนระหว่างแกน toric ทั้งสองนั้น ซึ่งการขัดแบบนี้ทำได้โดย ในแต่ละจุดจะต้องสร้างพื้นผิวที่มีโค้งได้อิสระ  ซึ่งในการออกแบบผิวเลนส์เช่นนี้ได้ ต้องลดขนาดของหัวขัดเป็นหัวเข็มที่เล็กมากๆ แล้วสามารถกัดผิวเลนส์ได้อิสระ  ส่วนจะกัดเลนส์ให้เกิดโค้งเท่าไหร่นั้น คอมพิวเตอร์จะเป็นตัวคำนวณชดเชยความคลาดเคลื่อนต่างๆ  รูปล่างนั้นเป็นรูปจาก Dr.Becken วิศกรออกแบบโครงสร้างของทีม R&D ของโรเด้นสต๊อก ซึ่งแสดงถึงการออกแบบโครงสร้างของผิวโค้งตามแต่ละดีไซน์ให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น

 

แน่นอนว่าผมกำลังพูดถึงเลนส์ที่ใช้เทคโนโลยีการขัดแบบ 3D Freeform Technology  แต่ไม่ได้หมายความว่า Freeform ทุกตัวจะเป็น Atoric Freeform Design เพราะเครื่องฟรีฟอร์มนั้นเป็นเครื่องมือตัวหนึ่งที่เราสามารถใช้ Freeform สร้างโครงสร้าง Sphere ก็ได้ Asphreic ก็ได้เช่นกัน เพราะมันขัดอะไรก็ได้ (คือทำได้ตั้งแต่สากกระเบือยันเรือรบ) พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่ใช่ว่าเอาเลนส์อะไรไปขัดด้วยเครื่องฟรีฟอร์มแล้วจะดีทั้งหมด เพราะหัวใจสำคัญอยู่ที่การออกแบบโครงสร้างก่อนการขัดจริง ซึ่งเรื่องเหล่านี้ วิศวกรหรือนักโปรแกรมเมอร์จะเข้าใจได้ดี ว่า CNC-Freeform นั้นแบ่งเป็นส่วนที่เป็นเครื่องกลกับซอฟแวร์ ซึ่งการออกแบบโครงสร้างเป็นเรื่องในส่วนของซอฟแวร์ และ Knowhow ของซอฟแวร์แต่ละแบรนด์นั้นมีไม่เท่ากัน  ถ้าเทคโนโลยีสูงเลนส์ก็จะสามารถออกแบบได้ดี ชดเชยตัวแปรต่างๆ หรือคลาดคลาดเคลื่อนที่จะเกิดต่างๆได้ดี แต่ถ้ามีน้อย เรื่องง่ายๆ เช่น แว่นกรอบโค้งมากหน่อย หรือต้องการผิวโค้งหน้าเลนส์ที่โค้งให้เข้ากับกรอบก็ไม่สามารถทำได้แล้ว ด้านล่างเป็นตัวอย่างการออกแบบซอฟแวร์เพื่อสั่งงานให้ CNC ทำงาน ซึ่ง CNC สำหรับการทำเลนส์นั้นต้องทำงานในสเกลที่เล็กและละเอียดมากเพราะแสงนั้นเดินทางเป็นนาโนเมตร ดังนั้นหาเกิดความผิดพลาดก็จะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนไปไกลได้เช่นกัน 

 

 

Rodenstock Single-vision Catagories

ตารางด้านล่างเป็นตารางที่แสดงเทคโนโลยีและคุณสมบัติทางเทคโนโลยีที่มีอยู่ในเลนส์ชั้นเดียวของโรเด้นสต๊อกในแต่ละรุ่น  ซึ่งจะบอกว่าพื้นฐานการออกแบบเลนส์ในแต่ละรุ่นนั้น ออกแบบอย่างไร 

Rodenstock นั้น แบ่งเลนส์ออกเป็น 3 กลุ่ม ตามเทคโนโลยี่ที่ใช้ในการออกแบบ คือ Superior, Excellence และ Perfection 

Superior เป็นกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีพื้นฐาน ใช้ค่าค่ามาตรฐานหรือค่ากลางเป็นหลักในการออกแบบ เลนส์กลุ่มนี้ชดเชยอะไรได้ไม่มากนัก เพราะยังใช้การขัดแบบ conventional อยู่ ซึ่งมี 2 โครงสร้างในกลุ่มนี้คือ Speric ได้แก่เลนส์รุ่น Perfalit  และโครงสร้างที่เป็น Aspheiric ได้แก่ Cosmolit 

Excellence : ใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้นมาเป็นดีไซน์แบบ Atoric Freeform ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่ใช้ในปัจจุบัน จัดเป็นเลนส์กลุ่ม Individually power-optimized โดยคำนวณโครงสร้างแบบคู่ต่อคู่หลังจากได้รับออเดอร์ตัวแปรค่าสายตา ค่าฟิตติ้ง ค่าพีดี และ Base curve แล้วเท่านั้นไม่มีการสร้างโครงสร้างสำเร็จ ดังนั้น แต่ละจุดบนผิวเลนส์นั้นถูก Optimized และ มีความ Unique สูงมาก แต่กลุ่มนี้ก็ยังออกแบบบนค่าพารามิเตอร์กรอบแว่นมาตรฐาน ยังไม่สามารถทำบนแว่นกรอบแว่นที่โค้งมากๆได้  เลนส์กลุ่มนี้ ได้แก่ Multigressiv Mono 2, Multigressiv Mono Plus2

Perfection : เป็นกลุ่มเลนส์ที่ออกแบบมาเฉพาะคนและเฉพาะกรอบแว่นขณะสวมใส่ การออกแบบนั้นใช้โครงสร้างเป็น Atoric freeform ใช้เทคโนโลยี EyeLT แบบที่ใช้ในโปรเกรสซีฟไฮเอนด์รุ่น Impression 2  จุดเด่นในเลนส์รุ่นนี้ที่โดดเด่นกว่ากลุ่ม Excellence คือ ใช้ค่าพารามิเตอร์กรอบแว่นขณะสวมใส่เฉพาะบุคคลเข้าไปคำนวณด้วย รวมถึงตัวแปรเฉพาะอื่นๆ ทำให้การคำนวณมุมตกกระทบของ Line of sight กระทำกับเลนส์ในแต่ละจุดนั้นได้องศาที่แน่นนอน ทำให้สามารถคำนวณความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากแสงผ่านเลนส์แบบทำมุมได้แม่นยำ และสามารถขัดชดเชยเป็นจุดต่อจุดได้ถูกต้องกว่า เลนส์กลุ่มนี้จึงมีประสิทธิภาพสูงสุดใน Portfolio ของโรเด้นสต๊อก เลนส์กลุ่มนี้ ได้แก่  Impression Mono 2, Impression Mono Plus2 

 

Product Feature

Impression B.I.G. NormTM / ExactTM Mono2

Impression B.I.G. NormTM / ExactTM Plus 2

หลังจาก Rodenstock ได้เปิดตัวเลนส์โปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคล (Individual progressive lens) ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2000 ในเลนส์รุ่น Impression ILT ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมเลนส์ที่สามารถออกแบบโครงสร้างเฉพาะคนเฉพาะกรอบแว่นขณะสวมใส่ และทำให้ ILT หรือ Individual Lens Technology นั้นเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก และก็โด่งดังมากในประเทศไทย เพราะในขณะที่ Rodenstock มีเทคโนโลยีีที่ออกแบบโครงสร้างเฉพาะกรอบแว่นขณะสวมใส่ได้แล้ว เลนส์ที่มีอยู่ในท้องตลาดขณะนั้น ยังใช้การหล่อโครงสร้างผ่านแม่พิมพ์และใช้หัวทูลในการขัดค่าสายตากันอยู่เลย ดังนั้น ในยุคนั้นจะมีคำหนึ่งที่ติดปากกัน ก็คือ "เลนส์ฟรีฟอร์ม" คือ ใช้กระบวนการขัดด้วยเทคโนโลยี Computer Numeric Control (CNC) ที่สามารถใช้ในการขัดผิวเลนส์สร้างรูปแบบความโค้งได้อิสระ ก็เลยเป็นที่มีของคำว่า "Free Form" หรือ "รูปแบบที่อิสระ"นั่นเอง และปัจจุบันการผลิตด้วยกระบวนการนี้ กลายเป็นมาตรฐานในการผลิตเลนส์สมัยใหม่ไปแล้ว

หลัังจากเปิดตัว Impression ILT ได้ 5 ปี โรเด้นสต๊อกก็ได้เปิดตัวชั้นเดียวเฉพาะบุคคลคู่แรกของโลกให้เป็นที่รู้จักในปี 2005 ในเลนส์รุ่น Impression Mono  ซึ่งใช้เทคโนโลยี ILT เช่นเดียวกับ Impression และคอนเซปต์เหมือนกันคือ ออกแบบมาเฉพาะกรอบแว่นขณะสวมใส่บนใบหน้าของแต่ละคน  และก็ประสบความสำเร็จสูงมาก และเป็นที่ฮือฮาอีกครั้งในครั้นนั้นเนื่องจากค่ายเลนส์แบรนด์อื่นยังมีแต่โครงสร้างพื้นฐานอย่าง Sphereic และ Aspheric และขัดแบบ Conventional แต่โรเด้นสต๊อกใช้ CNC-Freeform ลงมาขัดในเลนส์ชั้นเดียวด้วย และจากนั้นก็มีการพัฒนาต่อยอดต่อเนื่องขึ้นมาเรื่อยๆจนปัจจุบัน สามารถทำให้ Optical properties ดีมากขึ้นไปได้อีก ด้วย Eye Lens Technolgy ซึ่งออกแบบเลนส์โดยใช้ Eye Model และ DNEye และแก้ไขความคลาดเคลื่อนในระดับละเอียด (High Order Aberration,HOA) จากขนาดของรูม่านตาของแต่ละบุคคล (จากเครื่อง DNEye Scan) มาใช้ในการ  Optimized ทำให้ Optic ที่ได้ในแต่ละจุดนั้นถูกต้องแม่นยำ ภาพทุกจดบนตัวเลนส์จึงคมชัดจรดขอบของเลนส์  โดยไม่มีเงื่อนไขเรื่องกรอบแว่นหรือลักษณะการใส่ที่เฉพาะคนมากๆ  ปัจจุบันแว่นโค้งระดับ 30 องศาก็สามารถทำ Optic ที่คมได้ยันขอบเลนส์ โดยไม่ไม่รู้สึกถึงอาการมึนเมาเหมือนเลนส์ทั่วไป

 

 

Impression Mono Plus 2

เป็นเลนส์ชั้นเดียวเฉพาะคน ที่ออกแบบให้มีโครงสร้างของค่า Addition อ่อนๆ 0.5D และ 0.8D เพื่อลดกำลังเพ่งของเลนส์ตา เหมาะสำหรับผู้ที่อายุน้อยกว่า 45 ปี ที่ต้องการความสบายตาขณะดูใกล้ เพราะในกลุ่มคนที่เริ่มเข้าสู่ภาวะสายตาสูงอายุนั้น เลนส์ตาจะเริ่มอ่อนแรง แม้จะสามารถเพ่งให้ชัดได้ แต่ก็ใช้พลังงานมาก ทำให้เกิดอาการตาล้า เมื่อยตา ปวดเบ้าตา เครียด ปวดศีรษะ ปวดท้ายอย ซึ่งการมีค่า Addition ไปช่วยหน่อยๆนั้น สามารถทำให้ดูใกล้ได้นานขึ้น สบายขึ้น ลดอาการตึงเครียดของลูกตาได้ (อ่าน plus technology เพ่ิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์..http://www.loftoptometry.com/whatnew/view/64)

การใช้ EyeModel ช่วยในการออกแบบนั้น จะช่วยให้ได้สายตาที่แม่นยำมากขึ้นโดยเฉพาะกับผู้ที่มีปัญหาสายตาเอียง เพราะในช่วงวัย 37-43 ปี เป็นช่วงที่เริ่มเข้าสู่วัยสายตาผู้สูงอายุ (ซึ่งค่า Addition ยังไม่สูงมาก กำลังเพ่งยังพอมีอยู่) จะเป็นวัยที่จะได้ประโยชน์จาก EyeModel มากที่สุด เพราะในขณะดูใกล้ เลนส์ตาของคนวัยนี้ยังสามารถทำงานได้มากอยู่ ทำให้การเปลี่ยนโค้งของผิวเลนส์แก้วตายังมีอยู่มาก ผลคือทำให้กำลังสายตาเอียงมีการเปลี่ยนแปลงจากผลของ Effective near astigmatism และ EyeModel ยังช่วยให้แกนขององศาเอียงมีความแม่นยำมากขึ้น โดยการชดเชยองศาเคลื่อนด้วย Listing’s Law ทั้งขณะมองไกลไปยังตำแหน่งต่างๆ และชดเชย Listing's law ขณะดูใกล้มาใช้ในการออกแบบเลนส์ด้วย ซึ่ง EyeModel จะช่วยให้การมองเห็นในระยะกลางและใกล้นั้นดีขึ้น 25%

 

MULTIGRESSIV B.I.G. NormTM/ExactTM MONO

MULTIGRESSIV B.I.G. NormTM/ExactTM MONO PLUS 2

 

Multigressiv Mono 2 เป็นเลนส์ชั้นเดียวใช้โครงสร้างเป็น Atoric Freeform  เช่นเดียวกับ Impression Mono 2 ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม Excellence  ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเลนส์พรีเมี่ยมเทคโนโลยีใหม่ การออกแบบโครงสร้างจะใช้การคำนวณเฉพาะค่าสายตาแต่ละคู่ (Individually power-optomised) โดยการคำนวณโครงสร้างนั้นใช้ค่าสายตาจริงและค่าพีดีจริง แต่ต่างจาก ​impression Mono2 คือ ใส่ค่าพารามิเตอร์กรอบแว่นเป็นค่ามาตรฐาน (FFA 5 ,CVD 13 ,PT 8)  ดังนั้น จึงไม่สามารถทำได้บนแว่นกรอบที่โค้งมากๆเหมือนอย่างรุ่น Impression Mono 2 แต่ถ้าเป็นกรอบแว่นโค้งมาตรฐานทั่วไป (ประมาณ 5 องศา) ก็ถือว่าสามารถแสดงประสิทธิภาพออกมาได้เต็มร้อยไม่ด้อยไปว่า Impression Mono 2 ซึ่งสามารถให้ภาพที่คมชัดได้จรดขอบของเลนส์แม้ในค่าสายตาที่สูงๆ สายตาต่างกันมากๆ หรือสายตาเอียงมากๆ ก็ยังสามารถคุมคุณภาพของภาพได้ดี ซึ่งต่างกับเลนส์แบบ  Conventional ที่ให้ค่าสายตาที่แม่นยำได้เฉพาะจุด Referecnce point ดังที่ได้พูดมาข้างต้น 

 

Cosmolit B.I.G. NORM / EXACT MONO 

Cosmolit B.I.G. NORM / EXACT MONO PLUS 2

 

 

 

COSMOLIT / COSMOLUX

Cosmolit –ใช้เนื้อเลนส์เป็นพลาสติก ส่วน Cosmolux เป็นเนื้อกระจก โดยโครงสร้างที่ใช้กับ Cosmolit นี้ใช้ผิวหน้าเป็นแบบ Aspheric และใช้ผิวหลังขัดค่าสายตาเป็นโค้ง Sphere ในกรณีที่ค่าสายตาเป็นสั้นยาวอย่างเดียวไม่มีเอียง  ขัดแบบ Toric ในกรณีที่มีค่าสายตาเอียง และใช้กระบวนการขัดค่าสายตาเป็นแบบ Conventional 

ประโยชน์ของโครงสร้างของ Aspheric สำหรับตาบวกนั้น จะช่วยลดกำลังขยายของเลนส์ลงได้ 30% เมื่อเทียบกับเลนส์แบบ Spheric ธรรมดา และให้ภาพที่ดีกว่า Spheric เพราะช่วยลดในเรื่อง Base curve effect ได้บ้างในเลนส์ที่ไม่มีสายตาเอียง แต่ถ้ามีสายตาเอียงมากๆ ก็คุมสายตาไม่อยู่เช่นกัน  และข้อดีที่ถือว่าเป็นผลพลอยได้ คือช่วยให้เลนส์บางและดูสวยกว่าผิว Spheric แต่การเป็นผิวที่แบนนั้น ก็มีข้อเสียคือประกอบเลนส์แล้วไม่ค่อยสวย เพราะแว่นทั่วไปนั้นต้องการผิวโค้งหน้าเลนส์ประมาณ BC 5 จึงจะดูสวย ดังนั้น ถ้าเอาเลนส์แบนพวกนี้ไปประกอบแว่น จะต้องขึ้นสันเลนส์ หรือ เซาะร่องตาม Base curve ของ Lens demo  หน้าแว่นถึงจะโค้งได้รูปเหมือนตอนลองแว่น 

 

PERFALIT / PERFALUX / PERFALIT MONO PLUS*

Perfalit นั้นเป็นเลนส์สเฟียริกที่เป็นเนื้อพลาสติก ส่วน Perfalux เป็นเนื้อกระจก โครงสร้างของ Perfalit จะใช้โครงสร้างผิวหน้าเป็น Spheric และขัดค่าสายตาที่ผิวหลังแบบ Spheric / Toric ด้วยกระบวนการ Conventional เป็นเลนส์เบสิก  เป็นเลนส์ชั้นเดียวที่ทำสายตาได้ครอบคลุมทุกช่วงค่าสายตา และมีเนื้อเลนส์ครบทุกชนิด สำหรับสายตาง่ายๆ ตัวแปรไม่ซับซ้อนมาก ก็เป็นเลนส์มาตรฐานที่ใช้งานได้ดี  ถ้าถามว่าจุดเด่นของ perfalit เมื่อเทียบกับเลนส์ Spheric ค่ายอื่นๆ คงจะอยู่ที่เนื้อเลนส์ที่มีเทคโนโลยี Homogenious technologoy ซึ่งเป็นเทคนิคที่จะทำให้โมเลกุลของเนื้อเลนส์นั้นละเอียดมากแล้วเข้ากระบวนการกรองเนื้อโพลีเมอร์ที่เล็กมาก แล้วเซตตัวให้เกิดการสร้างพันธะที่หลอมเป็นเนื้อเดียวกันแบบบริสุทธิ์  ทำให้แสงที่วิ่งผ่านเนื้อเลนส์แล้วไม่เกิดการกระเจิงของแสงภายในเหมือนเลนส์ทั่วไป  ทำให้เลนส์โรเด้นสต๊อกทุกตัวนั้น มีความใสมาก และช่วยให้ลดแสงฟุ้งในเวลากลางคืนได้ดี  ซึ่งถ้าท่านที่เคยใช้เลนส์โรเด้นสต๊อกอยู่ จะเข้าใจสิ่งที่ผมกำลังพูดถึง แต่ถ้าเกิดว่าไม่เคยใช้อาจจะนึกไม่ออก ว่าความคมชัด ใส ที่ผมหมายถึงนั้นเป็นอย่างไร และด้วยกระบวนการนี้ทำให้ spheric lens ของโรเด้นสต๊อกนั้นราคาสูงกว่าเลนส์ตลาดทั่วไป (แต่ใช้แล้วคุ้ม)

ส่วน perfalit mono plus2 เป็นรุ่นที่มีค่า Addition 0.5D อยู่ที่ผิวส่วนล่างของเลนส์เพื่อลดกำลังเพ่งของเลนส์ตาขณะดูใกล้เช่นเดียวกับ Multigressiv Mono Plus2 และ Impression Mono Plus2  เหมาะกับผู้ที่ต้องการความสบายขณะทำงานดูใกล้ 

 

The Performance Comparison of Rodenstcok Single-vision Lens 

เลนส์ Single vision ของโรเด้นสต๊อกนั้น แบ่งออกเป็น 4 รุ่น ตามคุณภาพและเทคโนโลยีที่ใช้ในการขัด ซึ่งการที่จะเลือกใช้เลนส์รุ่นไหนให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคนนั้น จะต้องประเมินจากความผิดปกติของสายตาที่พบและจุดประสงค์ของการใช้งานให้ชัดเจน เพื่อให้คนไข้ได้เลนส์ที่ตรงตามจุดประสงค์ตัวเองมากที่สุด 

 

ถ้าคนไข้ต้องการเพียงแค่แว่นอ่านหนังสือ (reading glasses) โดยปกติเราจะเลือกเลนส์ที่เรียบง่ายที่สุด ราคาถูกที่สุด เพราะเอาไว้ใช้เป็นเพียงแค่เลนส์สำรอง ซึ่งวิธีคิดนี้ก็ไม่ผิดอะไรถ้าหากว่าทำไปแล้ว อ่านหนังสือสบาย ไม่เวียนหัว ไม่เมื่อยตา  แต่ถ้าเป็นไปได้ ลองขยับไปใช้โครงสร้างแบบ Aspheric ที่โดดเด่นสำหรับค่าสายตาที่เป็นตาบวก เพราะแว่นอ่านหนังสือส่วนใหญ่เป็นเลนส์บวก ซึ่งผู้ใช้งานจะได้มองมองและการมองเห็นที่ดีกว่าเลนส์ Spheric ธรรมดามากอยู่เหมือนกัน เพราะนอกจากจะสามารถลดภาพมัวบริเวณขอบเลนส์ได้ดีกว่า spheric แล้ว เลนส์ยังดูบางกว่า Spheirc มาก และยังช่วยลดกำลังขยายที่เกิดขึ้นกับตาบวกได้ดีอีกด้วย  ดังนั้น ถ้าผู้ใช้งานนั้นต้องใช้เลนส์บวกสูงๆ การขยับมาใช้เลนส์แบบ Aspheric ก็จะช่วยให้การมองเห็นและควาามสวยงามนั้นมากขึ้นทีเดียว

 

แต่สำหรับคนที่มีปัญหาสายตาที่มีความซับซ้อนมากๆ เช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงมากๆ หรือมีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อตาที่ต้องใช้ปริซึมในการแก้ไข หรือสายตาสองข้างนั้นต่างกันมากๆ ซึ่งความซับซ้อนของปัญหาเหล่านี้ จำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างบนผิวเลนส์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้น การใช้เทคโนโลยีที่เป็น Individually power-optimization อย่าง Multigressiv B.I.G. Norm / B.I.G. Exact Mono 2 หรือ Impression B.I.G. Norm / B.I.G. Exact Mono 2 จะสามารถให้ภาพที่คมชัดได้ดีกว่า มีลานสายตาที่มองภาพคมชัดได้กว้างกว่า ภาพบิดเบี้ยวน้อยกว่า เนื่องจากเลนส์ทั้ง 2 รุ่นนี้ ออกแบบโครงสร้างตามเฉพาะแต่ละค่าสายตาและตัวแปรเฉพาะคนอื่นๆที่จำเป็นในการออกแบบ ดังนั้น แต่ละจุดบนตัวเลนส์นั้นจะถูกคำนวณออกมาอย่างแม่นยำ และนำโครงสร้างที่ออกแบบมาไปขัดด้วยด้วยเครื่องฟรีฟอร์มที่มีความแม่นยำสูงซึ่งเป็นเทคโนโนโลยีที่โรเด้นสต๊อกพัฒนาเครื่องขัดขึ้นมาเฉพาะตัวเองต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2000 

 

ถ้าว่ากันด้วยความคลาดเคลื่อนที่บริเวณด้านข้างของเลนส์แล้ว เลนส์ทั้ง 2 รุ่นนี้มีความคลาดเคลื่อนที่ต่ำกว่าแบบ Spheric และ Aspheric มาก  และ Impression B.I.G. Norm / B.I.G. Exact Mono 2 ยังคงเป็นเลนส์ที่มี Optic ที่ดีที่สุด เนื่องจากมีเทคโนโลยีการคำนวณตำแหน่งขณะสวมใส่จริงเข้าไปด้วย (Position of wear) โดยการใส่ตัวแปรพารามิเตอร์เฉพาะกรอบแว่นเข้าไปด้วย ทำให้ภาพที่เกิดขึ้นนั้นแทบจะไม่มีความคลาดเคลื่อนของกำลังหักเหเลย เลนส์รุ่นนี้จึงให้ Optic ที่ดีที่สุดโดยไม่จำกัดกรอบแว่น

 

ยิ่งสายตามีความยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีระดับสูงก็จะยิ่งเห็นผลได้ชัดมากขึ้น  ทำให้ผู้ใช้นั้นได้คุณภาพของการมองเห็นที่ดี คมชัด สบายตา และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ต่อไปเป็น Performance ระหว่างเลนส์แต่ละรุ่น โดยให้ตัวแปรสายตาและกรอบแว่นที่ใส่เข้าไปเป็นตัวแปรเดียวกัน คือ  sph +4.00 D cyl +2.00 D A 45Å, PD 32 mm, CVD 10 mm,FFA 10Å

 

 

Impression B.I.G. Norm / B.I.G. Exact Mono  : Sph +4.00 D Cyl +2.00 D A 45Å, PD 32 mm, CVD 10 mm, FFA 10Å

Impression Mono 2 นั้นให้ภาพที่ดีที่สุดแม้ค่าสายตาจะมาก มีสายตาเอียงมาก ที่องศาที่ยาก และกรอบแว่นที่โค้ง ซึ่งตัวแปรที่ยากและซับซ้อนขนาดนี้ก็ไม่ได้สร้างปัญหาให้กับตัว Impression B.I.G. Mono  เนื่องจากเลนส์รุ่นนี้ใช้การคำนวณเฉพาะค่าสายตา และใส่ตัวแปรพารามิเตอร์ขณะสวมใส่เข้าไปได้ด้วย ทำให้สามารถขัดสายตาได้แม่นยำ ภาพที่ได้จึงคมชัดจรดขอบเลนส์ 

.

Multigressiv B.I.G. Norm / B.I.G. Exact Mono Plus2 : Sph +4.00 D Cyl +2.00 D A 45Å, PD 32 mm, CVD 10 mm, FFA 10Å

Multigressiv B.I.G. Mono 2 นั้น แม้จะเป็นเลนส์ที่เป็นดีไซน์แบบ  Individulaly power-power optimized แต่ที่เห็นว่าเริ่มมีภาพบิดเบี้ยวด้านข้างอยู่บ้าง เนื่องจากตัวแปรที่สร้างปัญหาให้กับโครงสร้างนี้ คือ ความโค้งหน้าแว่นที่โค้งมากกว่าแว่นทั่วไป ซึ่งในเลนส์รุ่นนี้ใช้ค่ากรอบแว่นมาตรฐานในการออกแบบโครงสร้าง ดังนั้น จึงทำให้มีปัญหาความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง