เคยคิดกันไหมว่า ทำไมเวลามีดบาดแล้วไม่ทำความสะอาดแผลด้วยการเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ สักพักก็จะเกิดการอักเสบเป็นหนอง แต่ดวงตาเรา ที่ไม่มีเกราะป้องกันอะไรเลย ตา expose กับ enviroment โดยตรง เช่นนั่งเรือคลองแสนแสบที่อุดมไปด้วยแบคทีเรียและสารพัดเชื้อโรคที่อยู่ในน้ำ บางครั้งก็มีน้ำกระเซ็นเข้าตา ซึ่งเชื่อได้ว่ามันต้องมีเชื้อโรคอยู่ภายในน้ำไม่น้อย แต่ทำไมตาเราไม่ติดเชื้อหรือเป็นหนอง ทั้งๆที่ดวงตานั้นสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมโดยตรง ทั้งๆที่มันไม่มีผิวหนังคอยปกป้อง ทำมันยังอยู่รอดปลอดภัยได้อย่างดี คือถ้าไม่ไปรังแกมันมากๆ ประเภทที่ว่า ซื้อคอนแทคเลนส์ที่ไม่ได้มาตรฐาน แล้วยังไม่ยอมทำความสกะอาด หนำซ้ำยังแลกคอนแทคเลนส์สีสลับกับเพื่อนอีกต่างหาก หนักไปกว่านั้น นอกจากไม่ล้างแล้วยังใส่นอนอีกด้วย ต้องขนาดนั้นจริงๆ ตาถึงจะเกิดการติดเชื้อ แต่ถ้าไม่หนักขนาดนั้น ดวงตาของเรานั้น ไม่ค่อยเจ็บป่วยง่ายๆสักเท่าไหร่
ดังนั้นเรื่องราววันนี้ ผมจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักเกี่ยวกับกลไกการป้องกันตัวมันเองของดวงตาของเรา ว่ามันทำงานได้มหัศจรรย์ขนาดไหน และเห็นมันทำงานหนักขนาดนี้ มันไม่เคยปริปากบ่นให้เราฟังเลยสักนิดเดียว มันก็ทำงานของมันไป เรามีหน้าที่ใช้งานมันอย่างเดียวก็ใช้ไป จนกระทั่งลืมไปด้วยซ้ำว่ามีมันอยู่ คนโบราณเลยเรียกว่า “ลืมตา”
บทความเรื่องนี้ จึงเขียนขึ้นมาเพื่อให้ เรามีสติทุกขณะที่ลืมตา คิดถึงมันบ้าง รักมันบ้าง ถนอมมันบ้าง หาสิ่งดีๆให้มันบ้าง ไม่ใช่เห็นว่ามันทนได้ ก็เลยเอาอะไรไม่รู้ไปใส่ให้มัน วันหนึ่งมันป่วยขึ้นมา ก็ดิ้นสักทีนึง ดีไม่ดีรักษาไม่ทัน บอดไปเสียอีก จะร้องห่มร้องไห้เวลานั้นก็คงช่วยอะไรได้ไม่มาก และหวังว่า แฟนคอลัมน์ทุกท่านคงไม่ใช่คนแบบนั้นนะครับ
เอาหล่ะมาเข้าเรื่องกัน เรื่องวันนี้ว่าด้วย กลไกธรรมชาติในการปกต้องดวงตาด้วยตัวมันเอง ซึ่งบังเอิญผมได้ texbook มาเล่มหนึ่งชื่อว่า Ocular and vision Physiology ,clinical application เขียนโดย Simon E.Skalicky เห็นเนื้อหาน่าสนใจก็เลยเอามาเล่าสู่กันฟังต่อ
ดวงตาของคนเรานั้นมีกลไลการป้องกันตัวเองอยู่หลายอย่างแต่มีหลักๆอยู่ 4 แบบได้แก่
กลไกแรกนี้เป็นรูปแบบการป้องกันอันตรายให้ดวงตาจาก สิ่งที่จะเข้ามาทำอันตราย เช่น อุบัติเหตุ ฝุ่น หิน ดิน ทราย ไม้ หรืออะไรที่จะทำให้ดวงตาได้รับการบาดเจ็บ ก็จะมีระบบที่เข้าใจช่วยป้องกันอันตรายจากสิ่งเหล่านี้ ได้แก่
1.เบ้าตา (Orbit) เบ้าตาซึ่งเป็นบ้านของดวงตานั้น ทำหน้าที่สำคัญหลายๆอย่างเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายได้แก่
2.เปลือกตา (eyelid) เปลือกตานั้นมีหน้าทีสำคัญหลายอย่างเช่นกันในการปกป้องดวงตา ได้แก่ ความพิเศษที่สุดของเปลือกตานั้นคือ สามารถปิดหรือเปิดได้ในเวลาฉับพลันทันที และสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งจากการบังคับด้วยจิตสำนึกและการทำงานได้อัตโนมัติแบบ reflex เมื่อมีสิ่งที่อาจจะเกิดอันตรายกับดวงตา มันจะถูกกระตุ้นให้ทำงานทันที
ที่เปลือกตาของเราจะมีขนเล็กๆอยู่ทั่วทั้งผิว (ไม่ใช่ขนตา) แต่เป็น cillia ซึ่งขนเล็กๆเหล่านี้จะมีความไวต่อสิ่งแปลกปลอมในบรรยากาศมากๆ หากเจออะไรที่มากระทบมันก็จะกระตุ้นให้เกิดการกระพริบตา
3. กระจกตาและตาขาว (corneoscleral shell) กระจกตา (cornea) และตาขาว(sclera) มีโครงสร้างที่เชื่อมต่อเป็นเนื้อเดียวกัน แต่กระจกตากับตาขาว มีรูป แบบการถักทอโครงสร้างที่แตกต่างกัน ทำให้กระจกตานั้นมีความใส และ ตาขาวซึ่งมีความแข็งแรงและยืดหยุ่นเป็นสีขาว และทั้งสองโครงสร้างนี้ทำหน้าที่สำคัญได้แก่
ตาขาว (sclera) มีโครงสร้างที่แข็งแรง เหนียว และยืดหยุ่น มันคงรูปเป็นทรงกลมได้ดี ไม่ยุบตัวหรือเสียรูปง่าย ทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะที่สำคัญภายในลูกตาทั้งหมด
กระจกตา (cornea) มีโครงสร้างที่เต็มไปด้วยมัดของปลายประสาทที่ไวต่อความรู้สึก ทำให้เรารับรู้สัมผัสได้ไวต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา และกระตุ้นให้เกิดการกะพริบตา สั่งน้ำตาให้ไหล เพื่อชะล้างสิ่งแปลกปลอมให้เจือจางและขับออกไปในที่สุด
มัดปลายประสาที่กระจกตายังทำหน้าที่สำคัญคือ เป็นตัวกระตุ้นระบบซ่อมแซมเซลล์ใหม่ ในกรณีที่กระจกตามีการขูดขีดหรือถลอก (corneal erosion) และเซลล์ชั้นนอกของกระจกตานั้น สามารถซอมแซมตัวเองเสร็จภายใน 24 ชม. ซึ่งถือเป็นเรื่องที่มหัศจรรย์
สารเคมีนั้นเป็นสิ่งอันตรายต่อดวงตา เพราะจะไปรบกวนการทำงานภายในเซลล์ ทำให้เซลล์ไม่สามารถทำฟังก์ชั่นได้ตามปกติ สารเคมีฤทธิ์รุนแรงสามารถทำลายเซลล์ของตาได้ในเสี้ยววินาที ดังนั้นร่างกายจึงออกแบบระบบป้องกันให้ดวงตาให้รอดพ้นจากอันตรายจากสารเคมี ซึ่งมีอยู่หลายอย่างที่ดวงตาสามารถป้องกันตัวเองได้ ได้แก่
Tight Junction ทำหน้าที่คล้าย desmosome แต่จะเป็นรูปแบบการยึดระหว่างเซลล์เหมือน “ซิปล๊อค” ทำให้ของเหลวไม่สามารถซึมผ่านเข้าไปได้ ดังนั้นพวกสารน้ำ สารโปรตีน หรือจะอะไรที่เป็นน้ำๆ จะผ่านช่องระห่างเซลล์กระจกตาไปไม่ได้ จึงไม่แปลกใจที่ น้ำในคลองแสนแสบกระเซ็นเข้าตา ตาเราจึงไม่ติดเชื้อง่ายๆ เนื่องมันซึมเข้าไปไม่ได้ มีการชะล้างจากการหลั่งน้ำตาออกมา และตัวน้ำตาเองก็มีสารฆ่าเชื้อตามธรรมชาติซึ่งจะกล่าวต่อไป
“microbes are everywhere” นั้นเป็นสิ่งที่คนถ้าเรียนเกี่ยวกับสาย Bio มาจะรู้ว่ามันจริงว่า "ทุกที่มีเชื้อจุลินทรีย์" ทุกสิ่งทุกส่วน ตรงไหนก็มีเชื้อจุลินทรีย์ เพียงแต่นานๆมันจะก่อโรคให้เราเห็นสักทีหนึ่งและร่างกายเรานั้นมีผิวหนังคอยป้องกันอยู่ เราจึงไม่ติดเชื้อได้ง่าย เว้นแต่มีบาดแผล เราจึงต้องทาด้วยแอลกอฮอล์เพื่อฆ่าเชื้อ ถ้าไม่ทา เราก็จะเกิดการอักเสบเป็นหนอง ติดเชื้อ ตามมา แต่ดวงตาของเรานั้น ไม่มีผิวหนัง มันสามารถป้องกันการติดเชื้อด้วยตัวมันเองได้อย่างไร มาดูกัน
2.corneal epithelium & Bowman’s layer เป็นเนื้อเยื่อของกระจกตาขั้นแรกและชั้นที่สอง ทำหน้าเป็นเหมือนกำแพงกั้นไม่ให้เชื้อโรคเจาะทะลุเข้าไปในกระจกตา
3.Descemet’s membrane เป็นชั้นของกระจกตาชั้นที่ 4 ซึ่งเป็นชั้นที่มีขนาดบางที่สุดเมื่อเทียบกับชั้น อื่นๆ เป็นชั้นที่มีระบบป้องกันการย่อยสลายโปรตีน (proteolysis) เมื่อมีการติดเชื้อรุ่นแรงที่กระจกตา
หน้าที่ของดวงตานั้นคือ dectect พลังงานที่อยู่ในแสงในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งก็จะมีความยาวของคลื่นไม่เหมือนกัน และเซลล์ในจอรับภาพของเรานั้น สามารถรับรู้คลื่นแสงเพียงบางช่วงความยาวคลื่นเท่านั้น คือช่วง 400-700 nm ถ้าสั้นกว่า 400 nm เราเรียกว่าแสงเหนือม่วง หรือ ultra-violet ,UV ซึ่งเป็นช่วงที่มีพลังงานสูง มีอำนาจทะลุทะลวงสูง และสามารถทำอันตรายกับอวัยวะภายในดวงตาได้ ในขณะที่ช่วงคลื่นแสงที่ยาวกว่า 700 nm เราเรียกว่าแสงใต้แดง หรือ Infrared ,IR ซึ่งพลังงานจะต่ำกว่า แต่ก็สามารถทำอันตรายต่อดวงได้เช่นกัน
ดังนั้นดวงตาจะมีระบบป้องกันพลังงานแสงส่วนเกินเหล่านี้ในหลายกระบวรการ ได้แก่
1. Eyeid closer เมื่อมีพลังานแสงปริมาณสูง เส้นแสงจ้า วาบขึ้นมา ระบบตาจะมีการป้องกันตัวเอง โดยการกะพริบอัตโนมัติ
2. Pupil construction เมื่อเจอแสงปริมาณความเข้มสูงๆ รูม่านตาจะเกิดการหดทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้อวัยวะภายในที่อยู่หลังม่านตานั้นได้รับอันตราย จากปริมาณแสงที่มากเกินไป
3. Light absorption by ocular tissue หมายความว่า เนื้อเยื่อของเซลล์ของตานั้นทำหน้าที่ใ่นการดูดซับแสงพลังงานสูงส่วนเกินเอาไว้ไม่ให้มันผ่านเข้าไปข้างใน
ทั้งหมดนี้เป็นกลไกลการปกป้องตัวเองของดวงตา จึงทำให้เราไม่ค่อยมีปัญหาสุขภาพดวงตากันสักเท่าไหร่ มันทำงานดีมากและไม่เคยงอแงจนบางทีเราก็ลืมว่ามีมันอยู่ด้วยซ้ำ และเพียงเพราะว่ามันมีระบบการดูแลปกป้องตัวเองที่ดีมาก เราเลยคิดว่าจะใช้งานมันอย่างไรก็ได้ ไม่เคยคิดที่จะดูแลปกป้องหรือช่วยป้องกันมันบ้าง จนบางครั้ง กว่าจะรู้ตัวก็สายเสียแล้ว มันพังและไม่สามารถซ่อมกลับมาใช้งานได้ เช่นคนไข้ที่เป็นต้อหินจนสูญเสียการมองเห็นถาวรเป็นต้น หรือคนที่ต้องทำงานเกี่ยวกับงานตัดเชื่อมเหล็ก ตัดไม้หรืออะไร ก็ไม่เคยคิดจะใช้เครื่องป้องกันดวงตา และบ่อยครั้งที่อุบัติเหตุก็ทำให้เสียดวงตาคู่รักไป
เรื่องแสงสีน้ำเงินจากมือถือหรือ smart devices ต่างๆนั้น จนป่านนี้ผมก็ยังไม่มี case report ออกมาจริงๆว่า 6 พันกว่าล้านคนนี้ จะเกิดตาบอด หรือเกิดโรคตาจากแสงสีน้ำเงิน ความจริงเลนส์ประเภทนี้ ขายได้เฉพาะโซนเอเชีย แต่กลับไม่ได้ถูกให้ความสำคัญในประเทศที่เจริญแล้วอย่างในอเมริกา และนักวิจัยก็ไม่ค่อยให้ความสนใจกับเรื่องนี้เท่าไหร่นัก จะมีก็แต่งานวิจัยที่มีบริษัทเป็น back up และงานวิจัยเกี่ยวกับบลูที่ผ่านมา การทดลองนั้นใช้แสงบลูยิงเข้าเนื้อเยื่อโดยตรงโดยไม่ผ่านการกรองด้วยระบบธรรมชาติ ทำให้ผลการทดลองนั้นผมดูแล้วไม่ค่อยน่าเชื่อเท่าไหร่
ที่ต้องการจะสื่อสารก็คือว่า จริงๆ blue blocker มันก็คงไม่ได้ส่งผลเสียอะไร ใช้งานได้ มองเห็น สีเพี้ยนนิดหน่อย สามารถซื้อเพื่อความสบายใจได้ เข้าทำนองกันไว้ดีกว่าแก้ แต่ก็อย่าไปคาดหวังว่า ใช้บลูแล้วมันจะไม่ปวดตา มันจะไม่เป็นจอตาเสื่อม อย่าไปฝันขนาดนั้น เพราะคนที่เป็น AMD กันอยู่ปัจจุบันนี้ ก็ไม่ได้ relate อะไรกับการใช้ blue
บ่อยครั้งที่ผมเห็นว่าการแนะนำ blue ให้คนไข้ ด้วยเหตุว่าเขาแพ้แสง ทำงานหน้าคอมพ์ไม่ได้ ปวดตัว แต่จริงๆแล้ว เขาอาจจะมีปัญหาาสายตาที่ยังไม่แก้หรือแก้ไม่หมดหรือเปล่า หรืออาจจะมีปัญหากล้ามเนื้อตาที่รอการแก้ไข ซึ่งจะดีกว่าไหมถ้าเราจะมุ่งสู่การทำงานทางคลิินิกมากกว่าที่จะขายฝัน ที่อาจจะไม่ได้มีอยู่จริง แต่ถ้าจะใส่ blue control เพราะมีปัญหานอนไม่ค่อยหลับจากปริมาณ blue ที่มากเกินไป ทำให้ไปรบกวนการหลังฮอร์โมน melatonin ที่ช่วยให้นอนหลับ ทำให้นาฬิกาชีวิตเปลี่ยน เกิดการนอนไม่หลับขึ้นมาก็คงจะมีส่วน แต่คงไม่ได้เป็นอะไรที่มากกว่านั้น
เอาหล่ะ พอหอมปากหอมคอ เนื้อหาวันนี้จะติดวิชาการไปหน่อย ก็เอาไว้อ้างอิงก็แล้วกันเวลาอยากหาความรู้ก็แล้วกัน ขอบคุณทุกท่านสำหรับการติดตาม พบกันใม่ตอนหน้า
Reference :
Ocular and visual physiology ,simon E.Skalicky
clinical anatomy of the visual system ,Lee Ann Remington