ชื่อหลักสูตร

         ภาษาไทย       หลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต 

         ภาษาอังกฤษ    Doctor of Optometry Program

ชื่อปริญญา

         ภาษาไทย        ทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต

         ภาษาอังกฤษ    Doctor of Optometry         

         อักษรย่อ        ภาษาไทย        ทศ.บ. 

         อักษรย่อ        ภาษาอังกฤษ    O.D.

รูปแบบของหลักสูตร

         รูปแบบ             หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 6 ปี

         ภาษาที่ใช้           ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการจัดการเรียนการสอน

         การรับเข้าศึกษา   รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่สามารถพูด อ่าน เขียน ภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี

ความร่วมมือกับสถาบันอื่น ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างประเทศ คือ  The Indiana University School of Optometry

สถานที่จัดการเรียนการสอน

คณะทัศนมาตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ปรัชญาของหลักสูตร

         เป็นไปตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง “ส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม”

ความสำคัญของหลักสูตร

         เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการระดับมาตรฐานสากล สามารถประกอบวิชาชีพทางทัศนมาตรศาสตร์ (Optometry) ทัศนศาสตร์-เลนส์สายตาและทัศนศาสตร์เชิงอุตสาหกรรม (Ophthalmic and Optical Industries) และ ทัศนวิทยาศาสตร์ (Vision Science) สามารถดูแล แก้ไขและฟื้นฟู รวมถึงการป้องกันสุขภาพทางสายตาแก่ประชาชนทั่วไป โดยไม่เลือกชั้นวรรณะและฐานะได้ทั่วโลก และเปิดโอกาสให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสายตาได้พัฒนาความรู้ มีความสามารถในการพัฒนาระบบงานต่างๆ ทางสายตาแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นระบบในขอบเขตที่สามารถเชื่อมต่อกับต่างประเทศได้ มีความคิดริเริ่มและพัฒนางานวิจัยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำธุรกรรมทางด้านนี้ให้กับบุคลากรและวิสาหกิจในประเทศไทยต่อไป

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถ

  1. ตรวจวินิจฉัยและแก้ปัญหาสายตาของประชาชนทั่วไป ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน
  2. ให้คำแนะนำและการปรึกษาปัญหาสายตาตามหลักทัศนมาตรศาสตร์
  3. ศึกษาค้นคว้าวิจัยองค์ความรู้ทัศนมาตรศาสตร์
  4. ร่วมวางแผนระบบการให้บริการสาธารณสุขเพื่อแก้ปัญหาทางสายตาในทุกระดับ ได้แก่ ระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้านระบาดวิทยา สังคม การเมือง เศรษฐกิจ และการศึกษา
  5. บริหารองค์กรและสถานพยาบาลทางด้านสายตา โดยปฏิบัติหน้าที่ต่อไปนี้ได้
  • จัดระบบบริการด้านทัศนมาตรศาสตร์แก่ผู้รับบริการในสถานพยาบาล
  • ให้บริการส่งเสริมสุขภาพสายตาแก่ประชาชน
  • จัดระบบรับมอบ-ส่งต่อผู้รับบริการ เพื่อรับการตรวจรักษาต่อให้มีประสิทธิภาพ
  • สนับสนุน และ/หรือนิเทศงานทางด้านวิชาการตามแผนงานสาธารณสุขด้าน
    ทัศนมาตรศาสตร์
  • วางระบบจัดเก็บ วิเคราะห์ข้อมูล และเวชระเบียน
  • ประเมินผลงานและเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  1. วางแผนและจัดการศึกษาให้ความรู้ด้านทัศนมาตรศาสตร์แก่บุคคล ครอบครัวและชุมชนได้
  2. แก้ปัญหาสายตาระดับบุคคลได้ โดยสามารถ
  • อธิบายสภาพสายตาปกติและผิดปกติได้
  • รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของสภาพสายตาที่ผิดปกติเพื่อหาสาเหตุด้วยวิธีทางด้านทัศนมาตรศาสตร์
  • ให้การวินิจฉัยปัญหาสายตาได้
  • ให้การแก้ไขความผิดปกติของสายตาด้วยวิธีต่างๆ และติดตามผลการ
  • ดำเนินการตามมาตรฐานด้านทัศนมาตรศาสตร์
  1. การพัฒนาวิชาชีพ
  • ให้มีความรู้ความสามารถสูงขึ้น ทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ ศึกษาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ให้รอบรู้และเชี่ยวชาญทางด้านวิชาการเพื่อก่อประโยชน์ต่อการพัฒนาการด้านทัศนมาตรศาสตร์
  • รู้จักตนเอง เห็นคุณค่าของตนเอง ใฝ่รู้ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรมและเสียสละเพื่อส่วนรวม

2.การวิจัย

  • มีความริเริ่มการหาความรู้เพิ่มเติมโดยการวิจัย เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
  • สามารถบริหารจัดการโครงการวิจัยที่ถูกต้องและได้มาตรฐาน

ระบบการจัดการศึกษา ระบบทวิภาค แบบเข้าชั้นเรียน

วัน-เวลา ในการดำเนินการเรียนการสอน

         ภาคการศึกษาที่ 1   เดือน มิถุนายน ถึง เดือน กันยายน

         ภาคการศึกษาที่ 2   เดือน พฤศจิกายน ถึง เดือน กุมภาพันธ์

         ภาคฤดูร้อน          ไม่มี

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา 

  1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า สายวิทย์-คณิต จากสถาบันการศึกษาที่ได้รับรองวิทยฐานะจากหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายรับรอง หรือ
  2. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยรามคำแหงว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี
    คณะทัศนมาตรศาสตร์ พ.ศ. 2555 ข้อ 5 และข้อ 6 

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

  1. นักทัศนมาตร (คลินิกทัศนมาตรทั่วไป), นักทัศนมาตร (คลินิกเลนส์สายตาทั่วไปและระบบการเห็น), นักทัศนมาตร (เลนส์สัมผัสและระบบการเห็น), นักทัศนมาตร (คลินิกการฟื้นฟูและสายตาเลือนลาง), นักทัศนมาตร (สายตาเด็กและระบบสองตา), นักทัศนมาตร (โรคตาและการแพทย์ปฐมภูมิ)
  2. นักวิชาการด้านทัศนมาตรศาสตร์ (ทัศนวิทยาศาสตร์)
  3. นักวิชาการสาธารณสุข (เครื่องมือพิเศษ) และเจ้าหน้าที่สาธาณสุข (เครื่องมือพิเศษ)
  4. นักวิชาการด้านเลนส์สายตาและเลนส์สัมผัส
  5. นักวิชาการด้านสายตาเด็กและระบบประสานงานสายตา
  6. นักวิชาการด้านสายตาผู้สูงอายุและการฟื้นฟูสภาพการเห็น
  7. ผู้เชี่ยวชาญคลินิกทัศนมาตรศาสตร์เฉพาะทาง (เลนส์สายตาทั่วไปและระบบการเห็น)
  8. ผู้เชี่ยวชาญคลินิกทัศนมาตรศาสตร์เฉพาะทาง (เลนส์สัมผัสและระบบการเห็น)
  9. ผู้เชี่ยวชาญคลินิกทัศนมาตรศาสตร์เฉพาะทาง (การฟื้นฟูและสายตาเลือนลาง)
  10. ผู้เชี่ยวชาญคลินิกทัศนมาตรศาสตร์เฉพาะทาง (สายตาเด็กและระบบสองตา)
  11. ผู้เชี่ยวชาญคลินิกทัศนมาตรศาสตร์เฉพาะทาง (โรคตาและการแพทย์ปฐมภูมิ)

โครงสร้างหลักสูตรทัศนมาตรศาสตร์

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร    238  หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                     44  หน่วยกิต

กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์   22  หน่วยกิต

    • กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์  4  หน่วยกิต
    • กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์    6  หน่วยกิต
    • กลุ่มวิชาภาษา           12  หน่วยกิต
    • กลุ่มวิชาความรู้คู่คุณธรรม (บังคับ)  (3)  ไม่นับหน่วยกิต

หมวดวิชาเฉพาะด้าน               188  หน่วยกิต

  • กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ    3  หน่วยกิต
  • กลุ่มวิชาชีพ                 95  หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือกเสรี                 6  หน่วยกิต

รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร

รายวิชา  (ระบุรหัส/ชื่อวิชาภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ/จำนวนหน่วยกิต/จำนวนชั่วโมงบรรยาย/จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ และจำนวนชั่วโมงศึกษาด้วยตนเอง)

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                44  หน่วยกิต

กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  22  หน่วยกิต ดังนี้

หลักชีววิทยา                         3 (3-0-9)

Principles of Biology

ปฏิบัติการชีววิทยา                 (0-3-2)

Biology Laboratory

เคมีทั่วไป 1                          3 (3-0-9)

General Chemistry I

ปฏิบัติการเคมีทั่วไป 1             1 (0-3-2)

General Chemistry Laboratory I

เรขาคณิตวิเคราะห์และแคลคูลัส   3 (3-0-9)

Analytic Geometry and Calculus

ฟิสิกส์ทั่วไป 1                        3 (3-0-9)

General Physics I

ฟิสิกส์ทั่วไป 2                       3 (3-0-9)

General Physics II

ปฏิบัติการฟิสิกส์ 1                 1 (0-3-2)

Physics Laboratory I

ปฏิบัติการฟิสิกส์ 2                 1 (0-3-2)

Physics Laboratory II

หลักสถิติ                             3 (3-0-9)

Principle of Statistics

กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์              4  หน่วยกิต ดังนี้

การใช้ห้องสมุด                       1 (1-0-3)

Using the Library

ลักษณะการใช้ภาษาไทย            3 (3-0-9)

Structure of Thai and Its Usage

กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์                6  หน่วยกิต ดังนี้

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป     3 (3-0-9)

Introduction to Law

จิตวิทยาทั่วไป                          3 (3-0-9)

General Psychology

กลุ่มวิชาภาษา                        12  หน่วยกิต ดังนี้

ประโยคพื้นฐานและศัพท์จำเป็นในชีวิตประจำวัน   3 (3-0-9)

Basic Sentences and Essential Vocabulary in Daily Life

ประโยคและศัพท์ทั่วไป                       3 (3-0-9)

Sentences and Vocabulary in General Use

การอ่านเอาความ                              3 (3-0-9)

Reading for Comprehension

การอ่านตีความ                                3 (3-0-9)

Interpretative  Reading

กลุ่มวิชาความรู้คู่คุณธรรม                   บังคับไม่นับหน่วยกิต ดังนี้

ความรู้คู่คุณธรรม (บังคับ) 3 (3-0-9)       (ไม่นับหน่วยกิต)

Knowledge and Morality

หมวดวิชาเฉพาะด้าน                188  หน่วยกิต

กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ                   93  หน่วยกิต ดังนี้

เคมีอินทรีย์ 1                               3 (3-0-9)

Organic Chemistry I

ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ 1                   1 (0-3-2)             

Organic Chemistry Laboratory I

ออปโตเมตทรีเบื้องต้น                      1 (1-0-3)

Introduction to Optometry

พื้นฐานปฏิบัติงานทางสายตาเบื้องต้น     3 (2-3-8)

Basic Optometric Practice

พื้นฐานชีววิทยาของเซลล์และชีวเคมี       3 (3-0-9)

Introduction to Cell Biology and Biochemistry

ชีววิทยาของเซลล์และโมเลกุลชีวภาพ      3 (3-0-9)

Cell and Molecular Biology

ระบาดวิทยาและสาธารณสุขพื้นฐาน       2 (2-0-6)

Basic Epidemiology and Public Health

พื้นฐานคัพภวิทยาของมนุษย์     3 (3-0-9)

Basic Human Embryology

มหกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์   4 (2-6-10)

Human Gross Anatomy

ประสาทวิทยาศาสตร์              2 (2-0-6)

Neuroscience

จุลกายวิภาคศาสตร์                3 (2-3-8)

Histology

สรีรวิทยาทั่วไป                      4 (4-0-12)

General Physiology

พยาธิวิทยาทั่วไป                     5 (3-6-13)

General Pathology

ชีวเคมีทางจักษุ                        4 (4-0-12)

Medical and Ocular Biochemistry

จุลชีววิทยาทางจักษุ 1                 2 (2-0-6)

Ocular Microbiology I

กายวิภาคศาสตร์ทางจักษุ             2 (2-0-6) 

 Ocular Anatomy

 สรีรวิทยาทางจักษุ                     3 (3-0-9) 

Ocular Physiology

ทัศนศาสตร์เชิงเรขาคณิต 1            3 (2-3-8) 

Geometrical Optics I

ทัศนศาสตร์เชิงเรขาคณิต 2             3 (2-3-8) 

Geometrical Optics II

ทฤษฎีการตรวจสายตา 1               2 (2-0-6) 

Theoretical Optometry I

นโยบายด้านสาธารณสุขและวิชาชีพ  2 (2-0-6)

Public Health Policy and the Optometric Profession

เภสัชวิทยาทั่วไป                         5 (5-0-15)

General Pharmacology

พื้นฐานเภสัชวิทยาทางจักษุ            3 (3-0-9)

ประสาทสรีรวิทยาทางสายตา          1 (1-0-3)

Neurophysiology of Vision

ทัศนศาสตร์เชิงสรีรวิทยา 1: ตาและการเห็นภาพ             3 (2-3-8)

Physiolgical Optics I: Visual Optics

ทัศนศาสตร์เชิงสรีรวิทยา 2: กลไกการมองเห็น                3 (3-0-9)

Physiological Optics II: Visual Function

ทัศนศาสตร์เชิงสรีรวิทยา 3: การเคลื่อนไหวของลูกตา        3 (2-3-8)

Physiological Optics III: Ocular Motility

ทัศนศาสตร์เชิงสรีรวิทยา 4: กลไกการมองเห็นภาพ 3 มิติ    2 (2-0-6)

Physiological Optics IV: Binocular Function

ทัศนศาสตร์ด้านเลนส์สายตา 1        3 (2-3-8)

Opthalmic Optics I

ทัศนศาสตร์ด้านเลนส์สายตา 2        3 (2-3-8)

Opthalmic Optics II

ทฤษฎีการตรวจสายตา 2               2 (2-0-6)

Theoretical Optometry II

ระบาดวิทยาและชีวสถิติในวิชาชีพ    1 (1-0-3)

Epidemiology and Biostatistics in Optometry

จุลชีววิทยาทางจักษุ 2                   2 (2-0-6)

Ocular Microbiology II

กฎหมายและจรรยาบรรณในวิชาชีพ  2 (2-0-6)

Legal and Professional Aspects of Optometry

ศรษฐสังคมในวิชาชีพ                    2 (2-0-6)

Socioeconomic Aspects of Optometry

กลุ่มวิชาชีพ                            95  หน่วยกิต ดังนี้

หลักการซักประวัติผู้ป่วยทางสายตา   1 (1-0-3)

The Clinical Interview and Health History Taking

หลักปฏิบัติการตรวจสายตา 1          3 (2-3-8)

Diagnostic Procedures I

คอนแทคเลนส์ 1                         3 (2-3-8)

Contact lenses I

หลักปฏิบัติการตรวจสายตา 2          4 (2-6-10)

Diagnostic Procedures II

หลักปฏิบัติการตรวจสายตา 3          2 (2-0-6)

Diagnostic Procedures III

โรคตา 1: โรคของตาส่วนหน้า          3 (3-0-9)

Ocular Disease I: Anterior Segments

ปฏิบัติการเบื้องต้นในคลินิกสายตา    3 (1-6-7)

Introduction to Clinic

คอนแทคเลนส์ 2                         3 (2-3-8)

Contact lenses II

โรคตา 2: โรคของตาส่วนหลัง          3 (3-0-9)

Ocular Disease II: Posterior Segments

โรคตา 3: โรคของระบบประสาทตา   2 (2-0-6)

Ocular Disease III: Neuro-Optometry

หลักและวิธีการตรวจร่างกายขั้นต้น   3 (3-0-9)

Principles and Methods of Physical Assessment

หลักการวินิจฉัยทางสายตา 1          2 (2-0-6)

Clinical Assessment I

หลักการวินิจฉัยทางสายตา 2          1 (1-0-3)

Clinical Assessment II

ปฏิบัติงานคลินิกสายตา 1              2 (0-100 ชั่วโมง)

Optometry Clinic I

ปฏิบัติงานคลินิกสายตา 2              2 (0-100 ชั่วโมง)

Optometry Clinic II

ปฏิบัติงานคลินิกสายตา 3              2 (0-100 ชั่วโมง)

Optometry Clinic III

ปฏิบัติงานคลินิกสายตา 4              2 (0-100 ชั่วโมง)

Optometry Clinic IV

กุมารทัศนมาตรศาสตร์                  2 (2-0-6)

Pediatric Optometry

ความผิดปกติในการเรียนรู้              2 (2-0-6)

Visual Perception and Learning Disabilities

สายตาเลือนรางและสายตาผู้สูงอายุ   2 (2-0-6)

Low Vision and Geriatric Optometry

ทัศนบำบัดพื้นฐาน                       3 (2-3-8)

Basic Visual Therapy

ทัศนบำบัดประยุกต์                      3 (3-0-9)

Applied Ocular Therapeutics

โครงงานวิจัย                              2 (2-0-6)

Special Project

ปฏิบัติงานคลินิกสายตา 5               10 (0-500 ชั่วโมง)

Optometry Clinic V

ปฏิบัติงานคลินิกสายตาเสริม           10 (0-500 ชั่วโมง)

Extension Clinic

ปฏิบัติงานคลินิกภายนอก 1            10 (0-500 ชั่วโมง)

External Clinic I

ปฏิบัติงานคลินิกภายนอก 2            10 (0-500 ชั่วโมง)

External Clinic II


หมวดวิชาเลือกเสรี  เลือก 6     หน่วยกิต จากกระบวนวิชาต่อไปนี้

พลศึกษา                                  1 (0-3-1)

Physical Education

สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเบื้องต้น 3 (3-0-9)

Introduction to Sociology and Anthropology

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจ           3 (3-0-9)

Introduction to Business

การจัดองค์การและการบริหาร         3 (3-0-9)

Business Organization and Management

อารยธรรมโลก                           3 (3-0-9)

World Civilization

 

ทิ้งท้าย 

หลักสูตรที่ได้ยกมาข้างต้นนั้น เป็นหลักสูตรของ คณะทัศนมาตรศาสตร์​ มหาวิทยาลัยรามคำแหง  มหาลัยอื่นๆ อาจะมีความแตกต่างกันไปจากนี้บ้าง 

ขอบคุณทุกท่านสำหรับการติดตาม 
ดร.ลอฟท์​