ทำไม Rodnestock Impression FreeSign 3 ถึงได้ชื่อว่า "เลนส์โปรเกรสซีฟที่ดีที่สุด" ตลอดกาล 

โดย ทัศนมาตร สมยศ เพ็งทวี ทม.,(O.D.)

เขียนเมื่อ 16.10.2018


บทนำ 

ถ้าว่ากันไปแล้ว Rodenstock Impression FreeSign 3  นั้นถือเป็นเลนส์โปรเกรสซีฟที่กลายเป็น mile stone ในการให้คำนิยามของคำว่า โปรเกรสซีฟระดับไฮเอนด์ ที่ใช้เทคโนโลยีการออกแบบโครงสร้างที่มีความเฉพาะบุคคลได้ดีที่สุดในปัจจุบัน และเป็นที่ยอมรับกับผู้ที่ใช้งานหรือผู้ที่ให้บริการว่านี่คือที่สุดของเลนส์โปรเกรสซีฟในยุคปัจจุบัน

 

การทำตัวเป็นดาวฤกษ์ของ FreeSign3 ทำให้ เมื่อมีการ launch ผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ๆของเลนส์ค่ายเลนส์จากดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ใหญ่ต่างๆ  Impression FreeSign 3 ก็จะถูกหยิบยกขึ้นไปเป็นตัวเทียบรุ่นอยู่เสมอๆหรือเลนส์บางค่ายก็บอกว่าได้สำเนาเทคโนโลยีโรเด้นสต๊อกมา เป็นเทคโนโลยีเยอรมัน โครงสร้างเหมือนกัน แต่ทำราคาได้ถูกกว่า แต่มีแต่ผู้ที่เคยใช้งาน Impression FreeSign3 เท่านั้นที่จะรู้ว่าต่างกลับเลนส์ทั่วไปอย่างไรและยังคงเป็น Impression FreeSign3 ที่ยังยืนหยัดยืนยงอยู่เป็นเลนส์ระดับทอปเอนด์ตั้งแต่ปี 2007 มาจนถึงปัจจุบัน และระว่างนั้นก็มีการพัฒนาอัพเดตเทคโนโลยีไปเรื่อยๆ มีการเปลี่ยนรุ่นถึง 4 generation คือ Impression FreeSign ,Impression FreeSign 2 ,Impression FreeSign3 และ Iimpression FreeSign PRO (option) ในปัจจุบัน 

 

หลายคนคงสงสัยว่า ในยุคที่โลกขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลในปัจจุบัน  ทำไมถึงเป็น FreeSign3 ที่ยังโดดเด่น เป็นดาวฤกษ์อยู่อย่างโดดเดี่ยวตัวเดียว ซึ่งมันควรจะทันกันได้แล้ว หรือ copy โครงสร้างกันได้แล้ว เพราะถ้าดูเฉพาะกายภาพเลนส์ มันก็เหมือนกัน เป็นเลนส์พลาสติกเหมือนๆกัน  คำตอบก็คือ โครงสร้างเลนส์ในปัจจุบัน นั้นอยู่ในรูปของ ซอฟแวร์ ไม่ได้อยู่ใน mold หรือแม่พิมพ์ ที่จะสามารถยืมไปหล่อโครงสร้างกันได้แบบเมื่อก่อน และซอฟแวร์ก็มีความลับสุดยอด และ มีลิขสิทธิ์ในการวิจัยผลิตภัณฑ์​  ไม่ใช่ของจะมาคัดสำเนากันได้ง่ายๆ 

 

หัวใจของ Impression FreeSign 3 

ไม่ว่า FreeSign 3 จะพัฒนาไปขนาดไหน หรือ กี่รุ่นต่อกี่รุ่น แต่สิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นแกนหลัก หรือ เป็นหัวใจสำคัญของผลิตภัณฑ์ ก็คือเทคโนโลยีที่ชื่อว่า Individual Design Technology ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ให้ผู้ใช้นั้นสามารถปรับแต่งโครงสร้างโปรเกรสซีฟได้อย่างอิสระตามลักษณะของการใช้สายตาในชีวิตประจำวันจริงๆ 

 

ความเป็นที่สุดของเลนส์โปรเกรสซีฟรุ่นนี้ไม่ได้อยู่ที่ว่ามันกว้างที่สุดในสากลโลก สุดขอบจักรวาลอะไรขนาดนั้น และมันก็ไม่ใช่เรื่องของการปรับตัวในเสี้ยววินาทีอะไรขนาดนั้น (แม้ว่าเขาจะเคลมว่า no adaptation time ก็ตาม) เพราะก็มีคนมากมายที่สามารถปรับตัวในเสี้ยวนาทีแม้กับเลนส์รุ่นพื้นฐานอย่าง PureLife Free และก็มีไม่น้อยที่ต้องใช้เวลาปรับตัวกับ Impression FreeSign3 อยู่บ้าง   

 

เพราะโปรเกรสซีฟก็ยังคือโปรเกรสซีฟ ที่จำเป็นต้องมีภาพบิดเบี้ยวด้านข้าง หรือ periphery distortion  ซึ่งก็มี factor ต่างๆที่ทำให้มัน distortion มากหรือน้อย  ถ้าเรายังอยู่บนโลกที่อยู่ภายใต้กฎของฟิสิกส์  เราก็ต้องยอมรับกฎของฟิสิกส์  เพียงแต่เราจะทำอย่างไร ให้มนุษย์ซึ่งมีความเฉลียวฉลาดในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมนั้น สามารถปรับตัวเข้ากับเลนส์ได้ง่ายที่สุด 

 

ในเมื่อ Impression FreeSign 3 ก็ยังมี periphery distorion , ยังต้องมีการปรับตัวอยู่บ้างในบางคน และก็ไม่ได้มีความกว้างจรดขอบอย่างที่เราจินตนาการว่าจ่ายแพงแล้วมันจะต้องกว้างอะไรขนาดนั้น  แต่สิ่งที่ทำให้ FreeSign ยังคงความเป็นเลนส์โปรเกรสซีฟที่ดีที่สุด นั้นคือเรื่องอะไรกัน ซึ่งวันนี้เราจะไปทำความเข้าใจ และรู้จักกับเลนส์รุ่นนี้ให้มากขึ้น 

 

พื้นฐานที่เราต้องเข้าใจและยอมรับเกี่ยวกับเลนส์โปรกรสซีฟคือ 

  1. เลนส์โปรเกรสซีฟเป็นเลนส์ที่ใช้การ progression ของ power จากจุดศูนย์กลางมองไกล (DF) ไปยังจุดศูนย์กลางดูใกล้ที่ Full addition (DN) ด้วยการเปลี่ยนค่าความโค้งแบบ gradient ที่ผิวเลนส์ 
  2. มีเส้นทางที่มีการ progression ของ power ที่เชื่อมระหว่าง DF และ DN  เราเรียกว่า คอริดอร์ (corridor)
  3. การเปลี่ยนแปลงความโค้งตามแนวคอริดอร์ แบบ gradient โดยไม่ให้เกิดรอยต่อ ทำให้ต้องอาศัยการขัด unwated cylinder เข้าไปในแนว obliqe บริเวณรอบข้างของเลนส์ เกิดเป็นภาพบิดเบี้ยวที่ไม่ต้องการจาก unwanted cylinder กลายเป็นขีดจำกัดว่าเลนส์โปรเกรสซีฟ ต้องมี ภาพบิดเบี้ยวเสมอ หรือ distortion เกิดขึ้นมา
  4. มี factor มากมาย ที่ทำให้ distortion นั้นเพิ่มขึ้น  โดยตัวตัวแปรที่สำคัญที่สุดที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างโปรเกรสซีฟคือ 

i ) base curve ที่จะต้องใช้ base ที่ matching กับค่าสายตา  ซึ่งเกี่ยวข้องกับค่าสายตาโดยตรง แต่กับสายตาเอียงที่มีมากว่า 2 ค่าสายตาในเลนส์เดียว แต่เลนส์หนึ่งข้าง เป็นไปได้แค่ base เดียว ทำให้เลนส์โปรเกรสซีฟเทคโนโลเก่าในอดีตนั้น มีปัญหามากับสายตาเอียงมากๆ  เกิดเป็นเทคโนโลยีต่างๆเช่น spherical optimization ,zero base curve effect ,unique customizatoin เพื่อนำไปสู่ free base curve selection คือผู้บริโภคสามารถเลือกผิวโค้งหน้าเลนส์ให้เท่ากับ demo เพื่อความสวยงามในงานประกอบเลนส์และยังคงให้ฟังก์ชั่นที่ดีในการสวมใส่ 

ii ) position of wear : หรือตำแหน่งหรือมุมของเลนส์ที่กระทำกับแนวการมอง ก็เป็นอีกหนึ่งตัวแปรที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของ distortion  นำไปสู่การออกแบบแว่นที่สามารถดัด ปรับ แต่ง ให้เกิดความโค้ง เกิดมุมเท มีระยะห่างระหว่างผิวเลนส์กับกระจกตาที่เหมาะสม  เลนส์โปรเกรสซีฟจึงจะสามารถแสดงประสิทธิภาพออกมาได้สูงที่สุด  ทำให้แว่นสปอร์ตกรอบโค้งนั้น ต้องสั่ง individual paramter คือความโค้งหน้าแว่น มุมเทหน้าแว่น และระยะห่างจากเลนส์ถึงกระจกตา ขณะสวมใส่แต่ละบุคคล  เพื่อออกแบบโครงสร้างเลนส์ชดเชยมุมที่ผิดธรรมชาติเหล่านั้น และแน่อน ต้องมากับ cost ของ technology ที่สูงขึ้น ซึ่งเราจะพบเลนส์กลุ่มนี้ที่มีชื่อนำว่า Impression เช่น Impression FreeSign3 ,Impression EyeLT 2 ,  Impression Mono 2 , Impression Ergo 2 เป็นต้น

iii ) PD หรือระยะห่างระหว่างกึ่งกลางจมูก ไปยังกึ่งกลางตาดำของแต่ละข้าง  ไม่ได้ไปเกี่ยวข้องกับความแคบกว้างของโครงสร้าง แต่เป็นตัวแปรที่จะไปทำให้ การเยื้องของโครงสร้าง inset นั้นเหมาะสมกับการเหลือบของลูกตา  เพราะแต่ละคนมี PD แคบกว้างไม่เท่ากัน มุมเหลือบย่อมไม่เท่ากัน การเยื้องของ inset ก็ควรจะออกแบบเฉพาะแต่ละคน 

ดังนั้นเราจะเห็นว่าในการสั่งเลนส์ ส่วนใหญ่ก็ใช้ 3 ค่านี่แหล่ะ คือค่าสายตา เพื่อเอาไปคำนวณโครงสร้างบน base curve ที่เหมาะสม  ใช้ PD เอาไปออกแบบ inset และ แว่นมาแล้วต้องอาศัยการดัดให้ได้มุมที่เหมาะสมกับที่ออกแบบมา และ fit พอดีหน้า เพื่อล๊อคเซนเตอร์ ซึ่งตัวแปรหลักๆ ก็มีกันอยู่เท่านี้ ที่เหลือก็เป็น เครื่องเคียง ที่ทำให้อาหารดูอร่อยขึ้น 

ดังนั้นเราจะเห็นว่า  ตัวแปรที่จะส่งให้ผู้ผลิตเลนส์นั้นส่วนใหญ่นั้นมี แค่ค่าสายตา สั้น ยาว เอียง แอดดิชั่นเท่านั้น บ้างจับ PD รวมหารครึ่งก็มี  การจะวัดพารามิเตอร์กรอบแว่น ยังเป็นเรื่องใหม่กันอยู่เลย แม้จะเริ่มมีเทคโนโลยี individual parameter ตั้งแต่ 18 ปีที่แล้ว (ปี 2000) ก็ตามแต่  แต่ปัจจุบัน การวัดพารามิเตอร์กรอบแว่นขณะสวมใส่ก็ยังคงเป็นเรื่องใหม่สำหรับบ้านเรา เพราะเลนส์ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยมีผลิตภัณฑ์ที่ออกมารองรับเรื่องนี้  และตัวแปรที่กล่าวมาทั้งหมดนี้นั้น สิ้นสุดตั้งแต่เลนส์โปรเกรสซีฟรุ่นรองอย่าง Impression EyeLT  , แล้ว Impression FreeSign 3 เหลือดีอะไร 

ความสุดของ FreeSign 3 นั้นไปอยู่ที่เรื่องคอริดอร์  คือโดยปกติ โครงสร้างเลนส์โปรเกรสในอดีตนั้นใช้การหล่อโครงสร้างจากแม่พิมพ์ ทำให้ต้องมีการกำหนดโครงสร้างสำเร็จรูปขึ้นมาและคอริดอร์คือหนึ่งในตัวแปรที่ต้องควบคุม เพื่อไม่ให้โครงสร้างนั้นมีความหลากหลายมากเกินไป เพื่อจุดประสงค์ในการควบคุมต้นทุนการผลิตแบบ mass production ดังนั้นต้องลดตัวแปรที่ vaires ให้ได้มากที่สุด 

ดังนั้นตัวแปรที่ล๊อคได้ตายตัวได้แก่ PD 32 มม., L/R , โค้ง 5 องศา ,มุมเท 9 องศา ,ห่างตา 13 มม. ,corridor 11,14 ,Addition 0.75-3.50D , base curve 5 unit cover all range ,material, ซึ่งลำพังตัวแปรที่ fixed เหล่านี้ คิดเป็น mold ที่ต้องสร้างขึ้นมา ถ้าคิดเป็นความน่าจะเป็นก็หลายพันแบบที่แตกต่างกัน 

 

คิดค้นเทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่

Rodenstock คิดต่างออกไปว่า ถ้าเราไม่ต้องอาศัยแม่พิมพ์ในการหล่อโครงสร้าง เราจะมีวิธีไหนบ้างที่สามารถ generate โครงสร้างขึ้นมาเฉพาะแต่ละ factor ที่ input เข้าไปได้บ้าง  เกิดเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตใหม่ขึ้นมา คือ individula 3D Free Form Technology ซึ่งใช้ขัด Impression ILT ซึ่งเป็นโปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคลขึ้นครั้งแรกในปี 2000 หลังจากนั้นก็เกิดการเปลี่ยนโฉมอุตสาหรรมการผลิตเลนส์ที่ย้ายจากการผลิตแบบ conventional มาเป็นแบบผลิตคู่ต่อคู่ ด้วย freeform technology เฉกเช่นปัจจุบัน แต่กระนั้นก็ตามแต่ Freeform นั้นก็เป็นเพียงแค่ชื่อ  แต่ไส้ในนั้นอยู่ที softwear ในการคำนวณโครงสร้างที่มี knowhow ไม่เหมือนกัน ทำให้เลนส์ฟรีฟอร์มที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้น ยังมีประสิทธิภาพยังต่างกันอยู่มาก ,พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ "ฟรีฟอร์มเลนส์เหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน"

 

Impression ILT (ปี2000) แม้จะพัฒนา software ที่สามารถ input ค่า individual parameter ทำให้โปรเกรสซีฟนั้นสามารถประกอบบนแว่นกรอบโค้งได้แล้ว แต่สิ่งที่ Impression ILT ยังติดอยู่คือการ fixed  progressive zone length อยู่เพียง 3 ค่าคือ 14 , 16 ,18 มม ( เกิดเป็น คอริดอร์ xs 11 มม., M 13 มม. , L 15 มม.) ซึ่งทำให้ ผู้ที่สวมใส่ Impression ILT ก็ยังคงต้องปรับตัวเข้ากับโครงสร้างคอริดอร์สำเร็จอยู่ ที่มีการกำหนด ความกว้างและตำแหน่งของพื้นที่ใช้งาน ไกล กลาง ใกล้ ไว้เรียบร้อย 

 

ปี 2007 ในที่สุดทีมพัฒนาโรเด้นสต๊อก ก็สามารถพัฒนาซอฟแวร์ที่สามารถใส่ personal visual demand factor เข้าไปในคำนวณการออกแบบโครงสร้าง ให้เหมาะกับพฤติกรรมการใช้สายตาของแต่ละคน ทำให้ผู้ใช้งานนั้นสามารถได้เลนส์ที่ออกแบบมาเฉพาะพฤติกรรมเฉพาะคนจริงๆ  ลดระยะเวลาในการปรับตัวกับโปรเกรสซีฟลง และข้ามเรื่องการ lock spec คอริดอร์ไปได้ 

 

แต่ Rodenstock ไม่ได้สนใจเรื่อง head / eye movement เพราะพฤติกรรมเหล่านี้เอาแน่เอานอนไม่ได้และสามารถเปลี่ยนไปตามสภาวะของสิ่งแวดล้อม  ซึ่งวัดออกมาในสภาวะธรรมชาติได้ยาก  แต่อาชีพ หรือ ไลฟ์สไตล์เปลี่ยนแปลงได้ยาก เช่น คนเป็นวิศกร ก็คงต้องทำงานและใช้สายตาแบบวิศวกร  หรือ หมอผ่าตัดก็คงต้องทำอาชีพนี้ตลอดไป แต่ head / eye movement ดูเป็นอะไรที่ abstract มากไปหน่อย จับต้องได้ยาก แม้จะมีเครื่องมื่อมาจับพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของศีรษะหรือดวงตา ก็ยังไม่แน่ไม่นอนว่า ในวิถีธรรมชาตินั้น เขาเคลื่อนที่อย่างไร 

 

Concept design 

เนื่องจาก เลนส์โปรเกรสซีฟนั้นมีพื้นที่ใช้สอยอย่างจำกัด  ดังนั้นเราก็ควรที่จะสามารถออกแบบโครงสร้างที่มีพื้นที่ใช้สอยอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก็จะทำให้เนื้อที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้นสามารถนำไปใช้งานได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย 

 

เช่น สมมติว่า ผมเป็นนักวาดรูป แบบอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์  (เรื่องสมมติครับ) ชีวิตผมวันๆหนึ่งก็คงจะอยู่กับ"พู่กันระบายสี"  สายตามองไกลเอาไว้ขับรถกลับบ้าน ดูมือถือนิดหน่อย ผมก็ต้องการเลนส์โปรเกรสซีฟที่มีระยะกลางมากพิเศษ  รองลงมาเป็นขับรถ ส่วนดูใกล้ไม่ต้องกว้างมากเอาแค่จอ tablet ก็พอ เพราะจอมือถือ ผมไม่ได้ใหญ่มาก  ซึ่งแน่นอนว่า เลนส์คู่นี้มันต้องเหมาะสมกับศิลปินนักวาดอย่างผมมาก 

 

สมมติอีกว่าผมเป็นนักแข่งรถทางเรียบ (สมมติๆ) ชีวิตผมอยู่บนหลังพวงมาลัย ผมต้องการมองไกลที่กว้างสุดขีด และระยะกลางรองลงมาเพื่อดูเกจต่างๆใน cockpit  และตามกดไลค์ในเฟสบุ๊คบ้าง ก็ต้องการเลนส์ที่ไกลกว้างสุด กลางรองลงมา และใกล้แคบสุด  แน่นอนว่าเลนส์คู่นี้มันต้องดีกับผมมาก 

 

ดังนั้น Impression FreeSign 3 เป็นเลนส์ที่สามารถบริหารจัดการภาพบิดเบี้ยวให้มีประโยชน์ใช้งานสูงสุดได้ ไม่ใช่มันแพงเพราะมันกว้างกว่าชาวบ้าน เพราะนั่นมันเป็นเรื่องกระพี้ ดังนั้นจุดขายของ FreeSign ไม่ใช่เรื่องความกว้าง ไม่ใช่เรื่องของเสี้ยววินาที แต่เป็นเรื่องของเลนส์ที่เหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้สายตาของแต่ละบุคคล

 

Various Corridor by Tuning DF,DN

FreeSign นั้นสามารถเกลี่ย distortion ไปยังพื้นที่ที่ไม่ค่อยได้ใช้งานได้ โดยการปรับแต่งค่า DF และ DN โดยเราสามารถเปิดพื้นที่สำหรับมองไกลให้กว้างขึ้นโดยปรับ DF ให้อยู่ต่ำกว่าตำแหน่ง fitting cross  ซึ่งสามารถปรับให้ต่ำได้มากสุดได้ -4.00 มม. จากตำแหน่ง fitting cross  หรือ จะเพ่ิมพื้นที่อ่านหนังสือและลดปัญหาการเหลือบต่ำด้วยการยกโซนอ่านหนังสือขึ้นไป ด้วยการปรับลดค่า DF  ซึ่งความละเอียดในการปรับนั้นอยู่ที่ 7 มม. ด้วยความละเอียด 0.1 มม./step  ซึ่งวันนี้เราจะมารู้จักกับความหมายของค่า DF / DN ใน impression FreeSign กัน 

 

สัญลักษณ์สำคัญบนเลนส์โปรเกรสซีฟ 

i. ) DF หรือ Design point at Far  ก็คือศูนย์กลางของ power สำหรับมองไกล ซึ่งเป็นสายตามองไกลที่วัดได้จากห้องตรวจที่ผ่านการคำนวณตาม position of wear ที่ line of sight ไม่ได้ตั้งฉากกับเลนส์ ดังนั้นการวัดค่า DF บน lensometer ที่เป็นการวัดแบบตั้งฉาก อาจจะได้ค่ามาไม่เหมือนกับค่าตอนสั่ง เนื่องจากเป็นค่าที่ผ่านการชดเชยพารามิเตอร์แว่นแล้ว  

 

ii.) Fitting Cross สัญลักษณ์ +  ก็คือเซนเตอร์ของตำแหน่งวางศูนย์กลางรูม่านตา ซึ่งเป็นตำแหน่งของ จุด reference point ที่เกิดจากการคำนวณโครงสร้างเลนส์จากตัวแปรทั้งหมดทั้งหมด ซึ่งจะเริ่มอ้างอิงจากจุดนี้ ซึ่งคำนวณจากแนวของ line of sight ที่กระทำกับเลนส์ เมื่อแว่นมีความโค้ง มีมุมเท ทำให้แนวการมองนั้นเกิดการทำมุมกับเลนส์ (ไม่ฉาก) ​และการทำมุมก็ย่อมทำให้เกิด error เกิดขึ้นบนผิวเลนส์​

ซึ่งการออกแบบโครงสร้างเลนส์เฉพาะบุคคล จะต้องชดเชยกำลังหักเหที่คลาดเคลื่อนนั้น โดยเร่ิมจาก reference piont นี่เอง และเมื่อแนวการมองหลุดจาก refererence point ออกไปกี่องศา เกิดความคลาดเคลื่อนจากการทำมุมเท่าไหร่ จะต้องแก้ไขกำลังหักเหเท่าไหร่ ซอฟแวร์ก็จะทำการคำนวณและจัดการแก้ไข  

พูดอีกนัยหนึ่งก็คือว่า การประกอบเลนส์ที่ผิดพลาด ทำให้ refernce point นั้นไม่ได้อยู่ในตำแหน่งศูนย์กลางตาดำ  ทำให้การคำนวณที่ชดเชยมานั้น ผิดพลาดไปทั้งหมด  ถ้าพูดให้เห็นภาพ ก็เหมือนกับการติดกระดุมเม็ดแรกที่ผิดพลาด จากนั้น เม็ดอื่นๆก็จะพลาดตามกันไปหมด  นั่นคือความสำคัญของตำแหน่ง fitting cross   โดยตำแหน่ง Fitting Cross ไม่จำเป็นจะต้องออกแบบให้อยู่ตำแหน่งเดียวกันกับตำแหน่ง DF ก็ได้ โดยส่วนใหญ่เลนส์โปรเกรสซีฟทั่วไปจะวางตำแหน่ง + ไว้ต่ำกว่าตำแหน่งมองไกล 4 มม.  ในขณะที่รุ่นพื้นฐานของโรเด้นสต๊อกจะวางไว้ที่ตำแหน่งเดียวกันกับ DF  แต่ FreeSign นั้นสามารถ varies ได้

 

iii.) PRP หรือ prism reference point เป็นจุดที่เอาไว้วัด vertical prism balancing ระหว่างเลนส์ข้างซ้ายกับข้างขวา บางคนสงสัยว่า ตนเองไม่ได้มีปัญหากล้ามเนื้อตา ทำไมต้องมี verical prism ซึ่งจริงๆแล้ว prism ที่ขัดเข้าไปนี้ เป็นการขัดเข้าไปแบบบาลานซ์ในแนวดิ่ง โดยขัดเข้าไปเป็น prism base down  (เพื่อจุดประสงค์ในการทำเลนส์โปรเกรสซีฟให้บางลง และมีเนื้อเท่าๆกัน สวยงาม) แต่เป็นการขัดเข้าทั้งซ้ายและขวาในปริมาณที่เท่าๆกัน ทำให้เกิดการหักล้างกันพอดี และไม่รบกวนการมองเห็นของผู้ใช้งาน  พูดอีกนัยหนึ่งคือ ถ้าคนไข้มีตาเหล่ซ่อนเร้นที่ต้องแก้ไขในแนวดิ่ง  กำลังของ vertical prism ที่วัดได้ที่จุด PRP จากเลนส์ซ้ายและขวาจะไม่เท่ากัน แต่นั่นเป็นการตั้งใจ imbalance เพื่อการจัดการกับมุมเหล่ซ่อนเร้นที่เกิดขึ้น 

 

iv.) DN หรือ Design point at near  หรือศูนย์กลางการมองเห็นในการดูใกล้ หรือ ตำแหน่ง Full addition นั่นเอง ซึ่งจะอยู่ตรงกลางวงกลมเหลืองๆด้านล่างนั่นเอง 

 

Progressive Zone length คือระยะทั้งหมด ที่มีการ progression ของ power ซึ่งเริ่มตั้งแต่จุด DF ไปจนถึงจุด DN  ซึ่งเลนส์รุ่นพื้นฐานนั้น  จะล๊อกอยู่ 3 ระยะ ให้เลือกคือ ระยะ DF ถึง DN  14 มม. 16 มม. และ 18 มม.  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า progressive zone lenght บนเลนส์โปรเกรสซีฟรุ่นพื้นฐาน เท่ากันแล้วจะได้โครงสร้างที่เหมือนกัน เนื่องจากจุดเริ่มต้นของตำแหน่ง DF ของเลนส์พืื้นฐานกับ FreeSign นั้นอาจไม่เหมือนกัน

 

ผลของการปรับ DF/DN

ในการสั่งเลนส์โปรเกรสซีฟพื้นฐานทั่วไปนั้น เราจะสั่งเฉพาะคอริดอร์ที่ต้องการ เพราะมีไม่เกิน 4 คอริดอร์ คือ 11 ,13, 14, 15 มม. สำหรับเลนส์รุ่นพื้นฐานของโรเด้นสต๊อกมักจะวางตำแหน่งของ fitting cross ไว้ที่ตำแหน่งเดียวกันกับตำแหน่ง DF เสมอ ดังนั้นเราก็เลยอาจจะเข้าใจไปว่า เลนส์โปรเกรสซีฟทุกรุ่นทำอย่างนั้นและมักจะเข้าใจว่า เลนส์มันมีแต่ fixed corridor เพราะเลนส์ทุกค่ายจะเป็น fixed corridor ทั้งหมด แต่จริงๆ มันคือโครงสร้างที่ลูกล๊อคค่าเอาไว้ ให้ง่ายต่อการคำนวณโครงสร้าง ทำให้เราไม่ได้สนใจว่ามีรุ่นเลนส์ที่สามารถปรับแต่งคอริดอร์ได้อิสระ อย่าง Impression FreeSign ที่สามารถปรับแต่ง coridor ได้มากถึง 5,600 แบบที่แตกต่างกัน 

 

โดยค่าของ DF ของ FreeSign นั้นสามารถปรับแต่งให้สูงหรือต่ำกว่าตำแหน่ง fitting cross ได้แตกต่างกันถึง 80 แบบ  เช่น Impression EyeLT  กับ Impression FreeSign 3 ที่มีความยาวของ progressive zone length 18 มม.เท่ากันนั้น Impression EyeLT จะใช้คอริดอร์ 15 มม. โดยลักษณะการวางตำแหน่ง Fitting cross ไว้ตำแหน่งเดียวกับจุด DF และวาง DN ต่ำลงมา 18 มม. (จบ)

แต่ Impression FreeSign3 เราสามารถวางโครงสร้างได้อิสระ เช่น อาจจะวาง DF +4 , DN -14 (มี PALs length 18 มม แต่คล้ายคอริดอร์ 14)  หรือ DF +2 , DN -16 (มี PALs length 18 มม แต่คล้ายคอริดอร์ 16) หรือ DF =0 , DN -18 (มี PALs length 18 มม แต่คล้ายคอริดอร์ 18) หรือ DF -2 , DN -20 (มี PALs length 18 มม แต่คล้ายคอริดอร์ 20)  **หมายเหตุ ความยาวคอริดอร์นั้นวัดจาก ตำแหน่ง fitting cross ถัง ขอบบนของวงอ่านหนังสือ

ดังนั้น  probability ที่จะเกิดโครงสร้างที่แตกต่างกันของ corridor ใน Impression FreeSign3 คือ Pn = (DFn)(DNn)=(80)(70)=5,600 คอริดอร์ที่แตกต่างกัน 

โดย DFn คือจำนวนของการวางตำแหน่ง DF ที่เป็นไปได้ทั้งหมด 80 แบบที่แตกต่างกัน (ซึ่งได้จากการปรับขึ้น/ลงได้ 8 มม. สเตปละ 0.1มม.) และ DFn คือความเป็นไปได้ในการวางตำแหน่งของสูง/ต่ำของ DN ซึ่งเป็นไปได้ทั้งหมด 70 แบบ (ซึ่งได้จากการปรับ DN ขึ้น/ลงได้ 7 มม. สเตปละ 0.1มม.)  ในขณะที่เลนส์โปรเกรสซีฟพื้นฐานนั้นมีคอริดอร์เพียง 2-3 คอริดอร์เท่านั้น  

ตัวอย่าง stamp engraving บนผิวเลนส์ และค่า DF,DN บนซองเลนส์ของ Impression FreeSign3
 

ดังนั้น การรีดประสิทธิภาพโครงสร้าง เพื่อให้พื้นที่ใช้งานที่มีอยู่อย่างจำกัดบนโครงสร้างโปรเกรสซีฟนั้น สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพตามลักษณะการใช้งานของแต่ละบุคคล เป็นหัวใจหลักของเลนส์โปรเกรสซีฟรุ่นนี้  ไม่ใช่มันแพงเพราะว่ามันกว้าง แล้วก็สั่งโครงสร้างโดยใช้ค่ากลางๆ ทั้งหมด และไม่ให้ข้อมูลเฉพาะบุคคลอะไรเพ่ิมเติมในการสั่งเลนส์ สุดท้ายได้เลนส์กลางๆมาคู่หนึ่ง ที่ไม่มีความโดดเด่นหรือพิเศษอะไรเลย แล้วไปคิดเอาเองว่า FreeSign เป็นสินค้าน้ำลาย ซึ่งถ้ามีดีแค่น้ำลาย ไม่น่าจะสามารถขึ้นแท่นเป็นเบอร์หนึ่งได้ยาวนานขนาดนี้  แม้จะมีเลนส์ไฮเอนด์แบรนด์ต่างๆพยายามขึ้นมาท้าชน ก็ได้แต่พยายามแล้วก็ถูกปัดให้ตกไป เปลี่ยนชื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาตีอยู่เรื่อยๆ ก็รอกันต่อไปว่าจะมีใครมาชิงเข็มขัดแชมป์นี้ได้ไหม

 

ทิ้งท้าย 

แต่อย่างที่บอกไปตอนต้น Impression  FreeSign3 นั้นโครงสร้างมันดีอยู่แล้ว อยู่ที่ว่าคนวัดนั้นมีความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ในการหาตัวแปรต่างๆได้แม่นยำและละเอียดแค่ไหน  ทำได้ถูกต้องเลนส์ก็ดี ทำไม่ถูกต้องเลนส์ก็ไม่ดี  เท่านั้นเอง  เหมือนกับ sound system ระดับ Hi-End เราเอาไฟล์อะไรไปเปิด ก็ได้เสียงอย่างนั้นแหล่ะ  ยิ่งต้นฉบับบันทึกเสียงออกมาได้ดีมากเท่าไหร่  ก็จะยิ่งสามารถถ่ายทอดเสียงได้ละเอียดสมจริงทุกรายละเอียด ราวกับนั่งฟังสดอยู่ในห้องอัด ถ้าไฟล์ห่วยๆ เปิดยังไงก็ห่วย และก็คงจะว่าไม่ได้ว่าเครื่องเสียงมันห่วย  เลนส์ก็เช่นเดียวกัน เขาออกแบบมาดีอยู่แล้ว อยู่ที่เราจะสามารถหาค่าสายตาได้ดีแค่ไหน 

 

เอาไว้เท่านี้ก่อน เดี๋ยวครั้งหน้าจะมีเรื่องมาพูดต่อเกี่ยวกับเลนส์รุ่นนี้ เพราะมีรายละเอียดยิบย่อยที่น่าสนใจอีหลายอย่างอยู่เหมือน  และเหมือนเดิม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ก็คือ จะทำอย่างไร ให้ค่าสายตาที่ได้จากการตรวจนั้น ผิดพลาดน้อยที่สุด เพื่อให้ค่าที่จะ input เข้าไปนั้น เป็นค่าที่ถูกต้องจริงๆ เพื่อให้การออกแบบเลนส์นั้น ออกมาได้ถูกต้องแม่นยำ และผู้ใช้สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มประสิทธิภาพสูงสุด 

ศึกษา Impression FreeSign3 เพิ่ิมเติมได้ที่ลิ้ง 

Imp.FS3 Part 1 : wavefront กุญแจสำคัญของความสำเร็จของ FreeSign3

 

 

พบกันใหม่ตอนหน้า 

สวัสดีครับ 

~DR.LOFT~