BLUE - shit ! เขาหาว่าผมเป็นตัวร้าย 

เรื่องโดย ดร.ลอฟท์ , 6 มีนาคม 2562

 

อารัมภบท

ประการแรก ผมต้องขอขอบคุณสำหรับความกล้าหาญของคุณ อ.ฮิม ที่ได้ตีแผ่เรื่องจริงเกี่ยวกับแสงสีน้ำเงินว่าไม่ได้เป็นอันตรายอย่างที่คนทั่วไปกลัว และนอกจากแสงสีน้ำเงินไม่ได้เป็นอันตรายแล้วยังมีประโยชน์อีกหลายๆเรื่องเกี่ยวกับสมดุลของร่างกาย  ซึ่งการออกมีตีแผ่เรื่องนี้ ถือเป็นการคว่ำหม้อข้าวของคนที่ทำการค้ากับแสงสีน้ำเงินเลยก็ว่าได้  แต่อย่างน้อยที่สุด ก็เป็นการให้ปัญญากับประชาชน ถือเป็นสิ่งที่สมควรทำและถูกต้อง 

 

หมอฮิม หรือ พ.ท. นพ. ศีตธัช วงศ์กุลศิริ หมอเรตินาของ รพ.พระมงกุฎเกล้า  ที่เป็นที่เคารพรักของนักศึกษาเด๊นซ์จักษุและนศ.ทัศนมาตรที่มีโอกาสได้ไปฝึกงานที่ รพ.พระมงกุฎ ผมเสียดายที่ไม่ได้ไปฝึกที่นั่น เห็นเพื่อนๆและรุ่นน้องๆเล่าให้ฟังว่า อ.ฮิม เป็นหมอ Retinal ที่หล่อ เก่ง ทัศนคติดี และใจดีมากๆ  ดร.แจ๊ค กับ ดร.เดียร์ เล่าให้ฟังมาว่าอย่างนั้น แม้ว่าตอนปี 6 ผมไม่ได้ไปฝึกงานกับ อ.ฮิม แต่ผมก็เชื่อว่าอาจารย์หมอเป็นหมอดีมีอุดมการณ์และมี Attitude ที่ดี  

 

การแชร์ระหว่างเรื่อง Fack news กับ Fake news นั้น  คนมักจะแชร์ Fake news มากกว่า ขณะที่เรื่องที่เป็นประโยชน์นั้นมักแชร์ออกไปน้อยกและเรื่องนี้ก็เช่นกัน ขณะที่ fake news ว่าแสงบลูทำให้คนตาบอกคนแชร์ออกไปเป็นแสน  ขณะที่หมอบอกว่า blue นั้นเป็นเรื่องเพ้อฝัน เป็นเรื่องอิทธิปาฏิหารย์มากกว่าเรื่องจริงกลับมีการแชร์ออกไปไม่มาก ดังนั้นผมคิดว่าผมควรทำหน้าที่เป็น Amplifier สำหรับเรื่องนี้ที่ อ.ฮิม ได้พูดถึงเกี่ยวกับเลนส์ตัดแสงสีน้ำเงิน 

 

ความไม่รู้ทำให้เกิดความกลัว ( อวิชา ปัจจยา  scare )

ความกลัวมักเกิดจากความไม่รู้ เหมือนในอดีตที่เรากลัวฟ้าผ่าเพราะเราไม่รู้ว่าฟ้าแล๊บฟ้าผ่าเกิดจากอะไร เราก็คิดนั่นเป็นเพราะว่า ฟ้าแล๊บจากประกายแว๊บๆจากแก้วนางเมขลา ส่วนฟ้าร้องเกิดจากขวานเพชรรามสูร เวี้ยงใส่นางเมขลา 

 

 

Blue light หรือแสงสีน้ำเงิน ก็มีลักษณะใกล้เคียงกัน คือเราก็ไม่รู้ ว่ามันอันตรายหรือไม่อันตราย แต่มือถือหน่ะ มันไม่ดูไม่ได้ แสงบลูจึงถูกปั่นให้เกิดความกลัว จนนำไปสู่การสร้างวัตถุมงคล ออกมาเพื่อทำให้สบายใจและก็ได้ผล (แม้ช่วงนี้จะซาไปบ้างก็ตาม) ขายดีด้วยความคิดว่า “กันไว้ดีกว่าแก้” ยังไงก็ต้องป้องกันเอาไว้ก่อนด้วยการใช้เลนส์ตัดแสงสีน้ำเงินหรือว่า Blue block หรือว่า blue control  ดังนั้นเลนส์ตัดแสงสีน้ำเงินนี้เป็นอู่ข้าว อู่น้ำ สำหรับบริษัทขายเลนส์และร้านแว่นตามาสักพักใหญ่ๆ  (เดชบุญว่าหม้อข้าวร้านลอฟท์ ไม่ได้ทำจากแสงบลู)

 

คนจริง 2019 ยกให้อ.ฮิม

ดังนั้นสิ่งที่ อ.ฮิม ออกมาพูดความจริงให้เลิกงมงายนั้น  คล้ายๆกับสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสต่อ ชฎิลทั้ง 3 พี่น้องให้เลิกบูชาไฟ เพียงแต่คนละมิติกัน แต่ที่เหมือนกันคือ ให้เชื่อด้วยการไตร่ตรองด้วยปัญญาอันแยบคายก่อนแล้วค่อยเชื่อ ไม่่ใช่เชื่อเพียงเพราะบอกต่อกันมา  รางวัลคนจริงในใจผมปี 2019 จึงยกให้กับ อ.ฮิม ที่กล้าคว่ำหม้อข้าวของบริษัทเลนส์และตัวแทนจำหน่ายบลู ประเภทเทกระจาดกันเลยทีเดียว แต่ลึกๆผมก็เชื่อว่า เมืองไทย เมืองพุทธบูชาผี นั้นยากที่จะทำให้ผีนั้นหายไปจากใจคนไทยนั้นไม่ของง่าย  ขนาดโคลนผุดยังตักขึ้นมากินกันเลย พอเจ็บไข้ก็นิมนต์พระมาสวดขอขมาเจ้าที่ (ไปกันใหญ่)

 

ไม่ใช่ของง่ายที่จะเปลี่ยนความคิดคนที่เชื่อเรื่องผีไม่ให้เชื่อว่าผีมีอยู่จริง เพราะความเชื่อที่ไม่ประกอบด้วยโยนิโสมนสิการหรือความเชื่อที่เกิดจากการใช้ตรรกะที่วิบัติหรือแม้แต่สร้างตรรกกะประเภทจับแพะชนแกะนั้น การจะอธิบายคนเหล่านี้ด้วยการให้เหตุผลหรืออรรถาธิบายว่าผีไม่มีจริงหรือผีไม่สำคัญต่อการดำรงชีวิตมันยาก เพราะเรื่องผีอยู่เหนือตรรกะพื้นฐาน คนที่เชื่อก็ลากเอาแม้กระทั่งจากพระไตรปิฎกครั้งสมัยพุทธกาลมาเสริมความเชื่อว่ามีผี ว่าเป็นผี (อาจจะเป็นผ้าตากไว้ในที่มืดๆแกว่่งไป แกว่งมาก็ได้นะ)  

 

ผีอาจจะมีหรือไม่มีอยู่จริงนั้น ปัจจุบันก็มีทั้งคนที่เชื่อและไม่เชื่อ  คนที่เชื่อก็จะมีเรื่องราวต่างๆที่สนับสนุนความเชื่อ เกิดเป็นรายการล่าท้าผี รายการเดอะช๊อค จนกระทั่งเริ่มมีกลุ่ม เฟ้ดเฟ่  ออกมา รายการผีต่างๆก็ลางๆหายไปพร้อมกับ iPhone xs max 512 GB ที่ launch ออกมาพร้อมกับ face id มาพร้อมกับ 4G ชีวิตมีเรื่องให้ทำเยอะ ทำให้คนสนใจเรื่องผีลดลง  (ผีอาจจะยังมี แต่ฉันไม่มีเวลามาแคร์ผี กดไลค์แป๊บ) 

 

ส่วนคนที่ไม่เชื่อเรื่องผีส่วนใหญ่ก็เป็นคนฝั่งวิทยาศาสตร์ที่ยึดว่าอะไรเชื่อได้ อะไรเชื่อไม่ได้ด้วยการทดลองทางวิทยาศาสตร์  ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ก็ให้ถือว่ายังไม่มีไปก่อน และใช้ทฤฎีในการอธิบายปรากฎการณ์ผีที่เกิดขึ้นและทฤษฎีใหม่ก็จะเกิดมาแทนที่ถ้าหากว่าของใหม่นั้นอธิบายได้ดีกว่าหรือมีหลักฐานใหม่ที่ดีกว่าในการอธิบาย  เช่น ทำไมผีกระหังต้องใช้กระด้ง  เพราะตอนนี้เขามีโดรนแล้ว    ทำไมปอบต้องกินเครื่องใน ทำไมไม่กินส่วนอื่นๆที่อร่อยกว่านั้น ถ้าชอบดิบๆ ทำไมไม่กินเนื้อ Dry aged mediam rare หรือไม่เห็นต้องไล่กินใส้คนเลย ไปตลาดถนอมมิตร ก็มีขายอยู่หลายเขียง  ดังนั้น ผีปอบ ผีกระหัง ไม่น่าจะมีอยู่จริง

 

จากผีกระหังมาสู่ผีบลู

ทีนี้ก็มีการสร้างผีขึ้นมาในวงการพาณิชวิทยาศาสตร์ หมายถึงวิทยาศาสตร์เพื่อการทำพานิชย์  โดยใช้โมเดลของการขายประกัน 

พื้นฐานของธุรกิจประกัน

การขายประกันนั้นเป็นการขายความกลัวซึ่งมีอยู่ใน DNA ของมนุษย์ทุกคน  ทุกคนมีความกลัวที่เหมือนกันคือ กลัวการพลัดพราก  มีความห่วงหน้าห่วงหลังเป็นธรรมดา และมนุษย์ก็มีความเสี่ยงต่อสิ่งที่จะทำให้เกิดการพลัดพรากอยู่ตลอดเวลา  เลยเกิดเป็นการประกันความพลัดพรากขึ้นมาก  เช่นประกันชีวิต ว่าถ้าเสียชีวิตไปแล้วจะมีเงินเอาไว้ให้คนข้างหลังจะได้หมดห่วง  ประกันสุขภาพเผื่อเจ็บไข้ได้ป่วยได้หาเงินมาจ่ายค่าหยูกค่ายา ประกันอุบัติเหตุซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  ประกันรถยนต์เผื่อไปเฉี่ยวชนจะได้มีเงินซ่อม  ซื้อประกัน Apple care เผื่อ macbook พังแล้วจะได้เปลี่ยนใหม่ได้ เป็นต้น 

 

ความกลัวทำให้เกิดสินค้าคือ “ความกลัว” และ “ความกลัว” นั้นก็สามารถขายได้ เรียกว่า “ขายความเสี่ยง” หรือ “ขายประกัน”  ซึ่งฟังดูแล้วก็สมเหตุสมผล เพราะชีวิตเป็นของไม่แน่นอน  อุบัติเหตุเป็นของไม่แน่นอน สุขภาพเป็นของไม่แน่นอน  iPAD iPhone iMac Macbook เป็นของไม่แน่นอน “ชีวิตนี้น้องจากความไม่แน่นอนแล้ว จะมีอะไรหนอที่แน่นอน” ทำให้ต้องซื้อประกันเพื่อป้องกันความเสี่ยง 

 

Comercial Science

Comercial Science หรือ วิทยาศาสตร์เพื่อการพานิชย์ ก็เห็นโอกาสตรงนี้  คือต้องการขายความกลัว ก็ต้องสร้างผีขึ้นมาก่อนและสร้างเหตุผลรองรับว่าผีนั้นมีอยู่จริ๊งงงงงงงงงง (ทำไมเสียงสูง)  เห็นไหมนี่มีงานวิจัย (อันมีบริษัทพาณิชย์เป็นแบ๊คอัพ) เพียบเลยที่ยืนยันว่าผีมีจริง จริ๊งงงงงงงงงง

 

เขาก็มองเห็นพฤติกรรมที่มันเลี่ยงไม่ได้ในยุค 4.0 นี้ก็คือ “หน้าจอ” มนุษย์ 4.0 คือมนุษย์ที่หน้าจอกลายเป็นปัจจัยที่ 5 ที่ทำให้เกิดปัจจัย 4 ตามมา คือ อาหาร บ้าน เสื้อผ้า และยารักษาโรค (ซึ่งผมก็กำลังใช้หน้าจอเขียนบทความนี้เพื่อให้เกิดปัจจัย 4 ด้วยเช่นกัน) 

 

เมื่อจอมันเป็นปัจจัย 5  จะทำอย่างไรให้ปัจจัย 5 ซึ่งเป็นของใหม่ และทำให้มันเป็นเรื่อง “ดาบสองคม” (อ่านว่า ดาบ-สอง-คม ไม่ใช่ ดา-บส-อง-คม ,) เสียก็เลยหาเหตุผลเพื่อมาสร้างผีขึ้นมาให้คนกลัว 

 

ดังนั้นสิ่งที่ “คนกลัวแต่ขาดไม่ได้” มันจะต้อง matching กันพอดี 

 

มนุษย์ทุกคนรักสุขภาพตัวเองไม่อยากเจ็บไข้ได้ป่วย แม้ว่าคนที่กินเหล้าหรือสูบบุหรี่ทุกวันก็ตามแต่ ก็ไม่อยากเจ็บไข้ได้ป่วย   

 

ตาที่ใช้มองก็เช่นกัน แม้การสำรวจจะออกมาตรงกันว่า  ดวงตาเป็นอวัยวะประสาทสัมผัสที่มนุษย์มองว่าสำคัญที่สุด  แต่เวลาหาแว่นมาตัวเองใส่ ก็เอาที่มันถูกที่สุด มองหาที่มันลดสูงสุดเป็นอันดับแรกเช่นกัน ( มีใครให้ลดสูงสุดกว่า 90% ไหม  ผมแนะนำให้เปิดร้านเองครับ จะ markup เท่าไหร่ แล้ว discount เท่าไหร่ก็เอาที่สบายใจ หรือจะทำเป็นมูลนิธิก็ได้ครับ ไม่มีใครว่า ) ในขณะที่เวลาจะซื้อเครื่องเสียงจะซื้อดีสุดเท่าที่ทรัพย์จะอำนวยเช่นกัน  แล้วไหนบอกว่าดวงตาสำคัญที่สุด  (แซวเรื่องจริงเล่นหน่ะครับ)

 

ปิ๊งแว๊บบบบ

และแล้วเขาก็เริ่มว่า ตาใช้มองจอ แล้วมีส่วนใหนของจอที่ดูหน้าตาคล้ายผีมากที่สุด นั่นก็คือ “แสงสีน้ำเงินนั่นเอง” แต่ครั้นจะพูดพล่อยๆออกไป คน 4.0 ไม่มีทางเชื่อ มันจะต้องมีความเป็นวิทยาศาสตร์เคลือบไว้ คนถึงจะเชื่อ 

 

จากนั้นก็เริ่มสร้างหลักฐานเสมือนจริงขึ้นโดย เอาแสงสีน้ำเงิน ไปยิงใส่จอรับภาพของสัตว์ทดลองที่ตายแล้วเข้าไปที่เนื้อเยื่อของเรตินาโดยตรง ยิงมันแช่มันไว้อย่างนั้น  โดยไม่ได้ผ่านการกรองด้วยระบบธรรมชาติ เช่นกระจกตา และเลนส์ตา แล้วพอเซลล์ปะสาทมันเกิดเสื่อมเกิดฝ่อขึ้นมา ก็บอกว่า นี่เห็นไหม แสงน้ำเงิน ส่งผลทำให้จอประสาทตาเสื่อม 

 

จากนั้นก็ประโคมข่าวออกไปสารพัดบน social ถ้าใครเกิดทันยุคตื่นเต้นกับแสงบลูได้ คงจะเห็นสารพัดฟีดว่า เล่นหน้าจอมืดๆทำให้เป็นต้อหิน  เล่นหน้าจอจนตาบอด เกิดการแชร์ไปเป็นแสน หลายแสน หูดับตับไหม้ จากนั้นก็เริ่มมีการเชิญนักวิชาการที่น่าเชื่อถือไปพูดถึงอันตรายจากแสงสีน้ำเงิน ตามรายการทีวีบ้าง ตามงานประชุมวิชาการบ้าง  ดูแล้วมีความน่าเชื่อถือ  

ตัวอย่างเหตุการณ์เมื่อ 4 ปีที่แล้ว บนเฟสบุ๊กมีการแชร์ข้อมูลมัวเกี่ยวกับแสงสีน้ำเงินที่เอาแพะชนแกะ มัวซั่วไปหมด แต่แชร์ออกไป 2.5 หมื่นครั้ง ไลค์เป็นแสน 

 

ผมก็หาหลักฐานมาแย้งเรื่องนี้ว่ามั่ว และก็เป็น comment ที่เบรคการตื่นตูมครั้งนั้นได้ แล้วเจ้าของ post ก็มาแก้ตัวอะไรไม่รู้ บอกว่าก็แค่ต้องการ engagement แค่นั้น ไม่ได้ทำร้ายใคร  ตลกดีประเทศไทย 

 

 

จากนั้นก็เริ่มมีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการตัดแสงสีน้ำเงินบนมือถือออกมาวางขาย ตั้งแต่ฟิล์มตัดแสงสีน้ำเงินแปะหน้า iphone ติดแล้วน่าจอ Retina หมดความหมายไปเลยเพราะว่า เหลืองอ๋อยยย การรับรู้ภาพเพี้ยนไปหมด นึกว่าหลอดเสีย  (ที่พูดเพราะเคยลองเล่นของเพื่อนที่ติดมา สุดท้ายเพื่อนทนไม่ไหว เห็นหลังๆไปซื้อมือถือมา ไม่เห็นมีใครซื้อฟิล์มบลูมาติดหน้าจอ)  ประหนึ่งว่า แสงบลู มัน Out ได้  

 

ส่วนเลนส์แว่นตานี่เล่นตลาดบลูชัดเจนเลย ทุ่มเม็ดเงินมหาศาลในการสร้าง “ยันต์กันผี” เลนส์ตัดแสงสีน้ำเงินออกมาแข่งกันเพียบ ตลาดบลูเกิดใหม่ ใครๆก็อยากจะกระโจนไปเล่น เพราะไม่อยากเสีย share-market  เพราะธุริจก็คือธุรกิจ  ถ้า “คนกลัวผี” ก็เปิดผลิตภัณฑ์ “ยันต์กันผี” ออกมาขายเพื่อบำบัดความกลัว มันผิดตรงไหน 

 

คำตอบคือไม่ผิด  คนกลัวผี ก็พกยันต์ พกพระเครื่องกันผี ก็ดี ไม่ผิดตรงไหน  ดีว่ายังมีเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจไม่ให้กลัวผี  คงจะทรมานน่าดูถ้าต้องดูหนังผีที่ไม่มีใครสามารถปราบได้   ดังนั้น เลนส์ตัดบลู ถ้ามองในเชิงเพื่อการพานิชย์ย่อมไม่ผิด  ความกลัวทำให้เกิดการขายประกัน  การขายประกันทำให้เกิดการจ้างงาน และเกิดการไหลเวียนของเงิน คนก็ได้มีเงินมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 

 

แต่มันจำเป็นขนาดไหนที่จะต้องทำเงินด้วยการขาย “ผ้ายันต์กันผี” แม้ว่าจะขายดีก็ตาม เพราะคนเชื่อเรื่องผีก็มีอยู่มาก แม้จะพยายามพิสูจน์แล้วก็ยังมองไม่เห็นก็ตาม 

 

ขอบคุณ อ.ฮิม 

ดังนั้น อ.ฮิม หมอเรตินา สุดหล่อกล้าออกมาทำให้  “ผ้ายันต์” ขายลำบากนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่กล้าหาญมากๆ  และผมพูดไม่ค่อยได้ พูดทีไรเป็นเรื่องทุกที  เว็บล่มก็เคยมาแล้ว  คนในบริษัทขายเลนส์โทรมาก็เคยมาแล้ว โดนรีพอร์ทเฟสบุ๊คก็เคยมาแล้ว ผมเห็นแล้วรู้สึกดีว่า เมืองไทยยังมีสิ้นคนกล้าที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง และมีบารมีพอที่พยามารไม่สามารถทำให้เกิดความระคายเคืองได้ 

 

ผมรู้สึกดีที่ทำ loft optometry มา 4 ปี ไม่เคยจ่ายเลนส์ประเภทนี้เลย  มีเพียงคนเดียวที่ทำบลูไปหลายคู่ (มีแว่นหลายอันมาก)  แต่นั่นไม่ใช่เพราะเชื่อหรือกลัวบลู แต่ชอบ reflect สำน้ำเงินเฉยๆ ก็เท่านั้นเอง 

 

ดังนั้นเมื่อมีคนไข้ถามเกี่ยวกับเลนส์ชนิดนี้ว่ามีไหม ผมจะตอบไปว่า เอาไปทำอะไร สั่งให้ได้ แต่มันไม่ได้ช่วยอะไรนะ แต่ที่แน่ๆ สีจะเพี้ยนๆ เหลืองๆ แต่ประโยชน์จริงๆนอกจากเพื่อความสบายใจแล้ว ไม่มี 

 

เพราะผมคิดมาตลอดว่า วันหนึ่งมันจะเกิดเหมือนประเทศไทยที่คอมพิวเตอร์เข้ามาใหม่ๆ เริ่มใช้จอมอนิเตอร์แบบ CRT ตูดยาวๆ (MAG) ก็กลัวคลื่นแม่เหล็ก ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์เลนส์ EMI กันรังสีคอมพิวเตอร์ขึ้นมา สุดท้ายปัจจุบันมันเป็นเพียง Gimmick Marketing โดยการขายความเสี่ยงที่ไม่เคยมีอยู่จริง แล้วเมื่อคน Educated มากขึ้น ฉลาดขึ้น เรื่องนี้ก็เลือนหายไปจากตลาด  ทิ้งความไม่ฉลาดไว้กับคนที่พยายามเชียร์ขาย EMI lens  (แต่ไม่เคยจำ)

 

ผมคิดว่าเรื่องบลู นี้ก็ไม่ต่างกัน  ผมก็เลยไม่กล้าจ่าย ไม่กล้าเชียร์ อยากได้จริงก็ทำให้ได้ เพราะบางคนต้องการยันต์กันผีจริงๆ ก็เป็นการรักษาจิตเวชชนิดหนึ่ง  เหมือนหมอจ่ายยาหลอก (plesbo drug) เพื่อรักษาโรคปอด(แหก) ให้หายเป็นปกติได้ 

 

วันนี้มีเทพเจ้าเรตินา ออกมายืนยันแล้วว่า ผีบลู นั้นเป็นเรื่องความเชื่อ ก็แล้วแต่ญาติโยม ว่าจะเชื่อต่อหรือจะไม่เชื่อต่อ ใช้ปัญญาพิจารณาโดยแยบคาย ภาษาพระเขาเรียกว่า โยนิโสมนสิการ  แล้วถ้ายังกลัวอยู่ก็ใช้ต่อไปเถอะ แต่ถ้าใช้แล้วช่วยให้สบายใจขึ้น หรือจ่ายเพื่อรักษาอาการทางจิต ก็ถือว่าสามารถจ่ายได้ 

 

แต่ถ้าขายบลู ด้วยการกล่าวอ้างให้ลูกค้ากลัว สิ่งนั้นไม่สมควรทำอย่างยิ่ง 

 

หันไปตรวจสายตาให้มันถูกต้อง  หันไปประกอบเลนส์ให้มันได้เซนเตอร์ หันไปดัดปรับแว่นให้มันเหมาะสม หันไปใช้กรอบเลนส์ที่มันมีคุณภาพและดีต่อสุขภาพ ดูจะเป็นแนวทางที่สมควรทำมากกว่าการก้มหน้าก้มตาเชียร์ขายบลูแบบขาดสติ 

ขอบคุณ อ.ฮิม อีกครั้งที่ช่วยปลุกญาติโยมที่หลับไหลลืมตื่น ฤ พี่ มานานแสนนานให้ตื่นขึ้นอีกครั้ง 

สวัสดีครับ 

ดร.ลอฟท์​


 

อ้างอิงบทความจากราชวิทยาลัยจักษุแพทย์

โพสต์ลิ้งค์ https://www.facebook.com/651515504965692/posts/2058056284311600/

หนึ่งในส่ิงที่เป็นกังวล และอาจนำมาสู่ความเข้าใจผิดพลาดในข่าวต่างๆ ในปัจจุบัน ก็คือ ความเข้าใจในเรื่อง แสงฟ้า...Blue light 

บทความต่อไปนี้ ดัดแปลงจากบทสัมภาษณ์ หัวข้อ Blue light แสงฟ้าน่ากลัวจริงหรือ ทางวิทยุ FM94.0 วันที่ 25 ตุลาคม 2561โดย พ.ท. นพ. ศีตธัช วงศ์กุลศิริ จักษุแพทย์หน่วยจอตา รพ.พระมงกุฎเกล้า ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ดังนี้
 

แสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าย่านความถี่หนึ่งที่เรามองเห็นโดยไล่เรียงเป็นเหมือนสีรุ้ง จากพลังงานต่ำสุด ก็คือสีแดง ไล่ไปถึงพลังงานสูงสุดความถี่สูงก็คือแสงฟ้า หรือ blue light นั่นเอง ซึ่งมีความยาวคลื่น 380-500 nm เป็น 1 ใน 3 ของย่านแสงที่เรามองเห็น

 

ส่วนความถี่ที่สูงกว่านี้อีกหน่อยก็คือ แสง UV ถ้าคลื่นแสงออกมาในสัดส่วนที่พอเหมาะรวมกันก็จะเป็นแสงขาว white light แสงขาวที่พบในธรรมชาติก็คือแสงอาทิตย์ เพราะฉะนั้น blue light ก็มีอยู่ทั่วไปเกือบทุกที่ที่มีแสง อะไรที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงปล่อยแสงขาว หรือมีย่านความถี่เข้าสู่สีฟ้าก็จะปล่อยแสงฟ้ามากหน่อย ที่เรามักกังวลกันก็เช่น แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอด LED แสงจากจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเบลต 

 

จากการศึกษาทั้งในห้องทดลองระดับเซลล์ และจากสัตว์ทดลองพบว่า แสงฟ้าทำให้เกิดความผิดปกติในเซลล์ประดิษฐ์เสมือนจอตา และเซลล์จอตาได้จริง เพราะฉะนั้นหากถามว่า แสงฟ้าน่ากลัวไหม ตอบสั้นๆก็น่ากลัว! อย่างไรก็ตามต้องศึกษาทุกอย่างอย่าง "ละเอียดครบถ้วน ไม่ฟังครึ่งๆ กลางๆ" เนื่องจากการทดลองไม่ได้เหมือนชีวิตจริง 

 

โดยธรรมชาติตาคนเรามีเลนส์ตาออกสีเหลือง ซึ่งกรองแสงฟ้าอยู่แล้ว ซึ่งในคนอายุ 25 ปีจะยอมให้แสงฟ้าเพียง 20 % เท่านั้นผ่านเข้าสู่จอตา และจะน้อยลงไปอีกเมื่ออายุมากขึ้น เนื่องจากความเข้มของเลนส์ตาเพิ่มขึ้นตามอายุ แต่หากคำนึงถึงเด็กก็พบว่าเลนส์ตาเด็กยังใส และแสงฟ้าอาจส่องผ่านสู่จอตาได้ถึง 65% แต่มันไม่ได้หยุด และจะคิดว่ามีแสงฟ้าแล้วจบ ที่สำคัญร่วมด้วยคือ "ความเข้มแสง" เมื่อเทียบความเข้มแสงที่ออกมาจากเครื่องมือเหล่านี้มันน้อยนิดมากเมื่อเทียบกับความเข้มแสงที่ได้จากแสงอาทิตย์ในธรรมชาติ แต่ก็ยังมีความกังวลว่าการใช้จอเหล่านั้นมักใช้ในระยะใกล้ และใช้เป็นเวลานานซึ่งอาจทำให้เกิดผลในระยะยาว

 

ต้องเน้นไว้ก่อนว่าในปัจจุบันยัง "ไม่มีหลักฐานที่เพียงพอที่จะบอกว่าแสงฟ้าจากการใช้จอต่างๆ ทำให้เกิดการทำลายจอตา และทำให้เกิดจอตาเสื่อมในคน" เพียงพบว่า จากการศึกษาในหนูทดลอง ในปลาทอง พบว่าเมื่อให้เซลล์จอตารับแสงขาวจาก LED ซึ่งมีแสงฟ้าปนอยู่สูงกว่าหลอดไฟในสมัยก่อน พบมีการตายของเซลล์จอตา และเซลล์เม็ดสีของจอตาเกิดขึ้น แต่การทดลองไม่ได้ทดลองในรูปแบบที่จะเกิดขึ้นจริงในธรรมชาติการใช้ชีวิตของคนจริงๆ คนเราคงไม่ไปลืมตาจ้องแสงจ้า 2000 ลักซ์ต่อกัน 6 ชั่วโมงตามการทดลอง เทียบง่ายๆตามกฎหมายมาตรฐานความส่องสว่าง 2561 กำหนดให้ลานจอดรถมีค่าความสว่าง 50 ลักซ์ แสงในออฟฟิต 400 ลักซ์ แต่จะมีงานที่ต้องการความละเอียดสูงมากเช่นงานเจียรไนเพชรพลอย งานผ่าตัดซึ่งกำหนดความส่องสว่างมากกว่า 2400 ลักซ์ อย่างไรก็ตามในคนก็มีกลไกป้องกันตนเองที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

 

แสงฟ้าไม่ได้มีแต่โทษ อย่างง่ายๆ หากไม่มีแสงสีฟ้า สิ่งที่เรามองเห็นก็จะออกโทนเหลือง ประโยชน์ของแสงฟ้าก็มีมหาศาล คือทำให้เกิดวงจรนาฬิกาชีวภาพ (Circadian rhythm) เพื่อให้ร่างกายรับรู้กลางวันกลางคืน มีการตื่นตัว ช่วยในการจดจำ การเรียนรู้ ทำให้มีอารมณ์เบิกบานเมื่อรับแสงฟ้าในตอนกลางวัน มีการศึกษาว่าการรับแสงไม่เพียงพออาจก่อให้เกิดปัญหาซึมเศร้า ปัญหาในการเจริญเติบโต และพัฒนาการของตา และการมองเห็น ยังมีการศึกษาพบว่าผู้ที่รับแสงฟ้าน้อย อาจนำไปสู่ภาวะสายตาสั้นได้

 

ส่วนโทษของแสงฟ้าที่เห็นได้ชัดหากเราใช้อุปกรณ์ที่มีแสงฟ้าในปริมาณมากในตอนกลางคืน เช่นหลอด LED สมาร์ทโฟน แท็บเบลต จอคอมพิวเตอร์ แสงฟ้าจะไปกดการหลั่งฮอร์โมนเมลาโตนินที่สำคัญสำหรับการนอน ทำให้เกิดอาการตาค้าง นอนไม่หลับ นำไปสู่การเหนื่อยล้าในเวลากลางวัน จึงมีคำแนะนำไม่ให้ใช้อุปกรณ์จอต่างๆในเวลากลางคืน อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงก่อนนอน

 

ในด้านของตานั้นแสงฟ้าจากจอภาพที่เข้าตาอาจทำให้เกิดอาการไม่สบายตา ล้าตา ปวดตา โฟกัสลำบากที่เรียกว่า digital eyestrain เนื่องจากแสงฟ้ามีคุณสมบัติการกระจายมากกว่าแสงอื่น ซึ่งจะไปลด contrast ของภาพ และการใช้จอทำให้การกระพริบตาลดลง ทำให้ปวดตาจากตาแห้งได้ ซึ่งก็ไม่ได้เกี่ยวกับแสงฟ้า

 

การเลี่ยงแสงฟ้าที่ออกมาจากจอภาพต่างๆ ทำได้โดยการลดการใช้งาน หรือที่เรียกว่า screen time ลง หรืออาจจะใช้การปรับสี ปรับความเข้มแสงที่จอภาพซึ่งในปัจจุบันสมาร์ทโฟนต่างๆก็ทำได้ หรือใช้ app ในการปรับก็ได้ การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น filter หรือแว่นที่ลดการสะท้อนแสง anti-reflective coat แว่นเหลืองที่กรองแสงฟ้า หรือที่เรียกกันว่าแว่นคอมพิวเตอร์ อาจลดปัญหาตาล้า digital eyestrain จากการใช้จอลงได้ด้วยการเพิ่ม contrast ของภาพ และหากมีการผ่าต้อกระจกใส่เลนส์ตาเทียมในปัจจุบันก็มีเลนส์ตาเทียมที่กั้นแสงฟ้าได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามยัง "ไม่มีคำแนะนำให้ใช้สิ่งป้องกันต่างๆ ที่กล่าวมาในแง่ของการป้องกันอันตรายต่อเซลล์จอตาจากแสงฟ้าแต่อย่างใด" เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดโดยตรงว่าแสงฟ้าส่งผลต่อจอตาในคน แต่สิ่งที่มีหลักฐานแน่นอนว่าส่งผลกระทบมากกว่าแสงฟ้าที่ทำอันตรายทั้งต่อดวงตา และผิวหนังคือแสง UV เพราะฉะนั้นในปัจจุบันเรื่องแสง กับตาคนเรา ที่แนะนำคือการใส่แว่นกันแดดที่กัน UV เท่านั้น

ขอบคุณอาจารย์อีกครั้ง ด้วยจริตที่คารวะ 

ดร.ลอฟท์