อ้างถึงบทความที่ฝรั่งที่ประเทศมีความเจริญทางด้านสาธารณสุขสายตาและมีองค์ความรู้ทางด้านทัศนมาตร (Optometry) มายาวนานกว่า 150 ปีแล้ว จนทำให้เกิดการเจริญเติบโตของเทคโนโลยีต่างๆ นวัตกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการตรวจปัญหาของระบบการมองเห็น รวมไปถึงผลิตภัณฑ์สำหรับแก้ปัญหาสายตาและระบบการมองเห็นมากมายทำให้เราได้เห็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับการตรวจวัดสายตาและเครื่องช่วยวิเคราะห์ปัญหาสายตา ออกมามากมายในตลาดสายตาในปัจจุบัน
แต่อย่างหนึ่งที่ยิ่งพัฒนาก็ยังคงเหมือนอยู่กับที่และดูจะยังไม่ไปไหน ความแม่นยำในอดีตยังไงหรือเชื่อได้แค่ไหน ปัจจุบันแม้จะเป็นยุค 4.0 มี 4G จนจะเข้า 5G อยู่แล้ว ก็ดูว่าเทคโนโลยีนี้จะไม่ค่อยมีอะไรใหม่เท่าใดนัก เชื่อได้แค่ไหนในอดีต ปัจจุบันก็มี credit ไม่ต่างจากเดิม
เทคโนโลยีที่ว่านั่นก็คือ เครื่องวัดสายตาคอมพิวเตอร์ หรือ auto-refractometer นั่นเอง เครื่องใหม่ๆที่ออกมาในปัจจุบันกับเครื่องที่ทำออกมาในสมัยหลายสิบปีที่ผ่านมา เอาเข้าจริงๆแล้ว ความน่าเชื่อถือก็ไม่ได้หนีไปจากเดิมเท่าใดนัก เพียงแต่ออกแบบกระดองใหม่ ออกแบบเปลือกใหม่ ให้ดูดีเข้ากับยุคสมัย เปลี่ยนจอจากหลอดภาพเป็นจอ LED และเปลี่ยนปุ่ม analog เป็น touch screen สั่งงานผ่าน ipad pro 2 ทำนองนั้น แต่แก่นแท้จริงๆของการตรวจสายตาก็ยังไม่สามารถเชื่อถือได้จากเครื่องเหล่านี้ ไม่ว่าจะเครื่องจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรป ล้วนแล้วแต่เชื่อไม่ค่อยได้ทั้งนั้น เพียงแต่จีนนั้นเครดิตไม่ค่อยดีเท่ากว่าเครื่องจากที่อื่นๆเท่านั้นและเป็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งว่า ประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างญี่ปุ่นนั้น ให้กำเนิดเครื่องวัดสายตาคอมพิวเตอร์ออกมาตั้งแต่ยุคแรกๆเมื่อ 30 ปีก่อนต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แต่กลับไม่มีการเรียนการสอนทัศนมาตรศาสตร์ (optometry)ในระดับอุดมศึกษา คนตรวจสายตาส่วนใหญ่ยังมีความรู้แบบช่างเทคนิคกันอยู่ทำให้การบริการทางด้านปัญหาของการมองเห็นยังคงทำกันอยู่ในระดับร้านแว่นตาเท่านั้นเอง
ด้วยเหตุนี้เอง ระบบการเรียนการสอนทัศนมาตรทั่วโลก (school of optometry) จึงไม่นับวิธีการตรวจด้วยระบบคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอน ด้วยปัญหา 2 อย่างหลักๆคือ
1.unreliability คือเชื่อไม่ได้ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ตามปัจจัยแวดล้อม แต่เครื่องเดียวกันมักทำซ้ำได้ค่าเดิมซึ่งทำให้ดูเหมือนจริงแต่ค่าที่ทำซ้ำออกมาได้ค่าเดิมนั้นกลับไม่สามารถเชื่อถือได้ ยี่ห้อเครื่องก็ส่งผลต่อมาตรฐานของการวัดสายตา โดยเฉพาะกับเด็กๆ ยิ่งไม่สามารถเชื่อถือได้ และสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นเรื่องที่ต้องห้ามในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ตรวจสายตาในเด็ก
2.unobtainable คือหาค่าไม่ได้ในบางเคส เช่น บางคนที่มีความผิดปกติของกายภาพดวงตา หรือมีพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในลูกตา เช่น คนที่สายตามากๆ คนที่รูม่านตาเล็กเกินไป คนไข้ที่มี opacity ที่ตัวกลางของทางเดินแสงในลูกตา เช่น เลนส์ตา วุ้นในตา กระจกตา หรือคนที่เปลี่ยนเลนส์ตาเทียมมาแล้วเป็นต้น
เอาเข้าจริงๆแล้ว ข้อเสียของการวัดสายตาด้วยระบบคอมพิวเตอร์นั้นมีอยู่มาก และทำให้เรา miss อะไรไปมากมาย แต่ความดีที่พอจะมองเห็นบ้างก็คือ “ใครก็สามารถกดปุ่มให้เครื่องวัดสายตาคอมพิวเตอร์ทำงานได้” ทำให้เราสามารถใช้งาน staff คือใครก็ได้ที่อยู่แถวนั้น ฝึกให้เขาใช้งาน และช่วยให้เราได้ค่าสายตาคร่าวๆได้ แต่คงไม่สามารถจะเอาค่านั้นนำไปจ่ายเลนส์จริงให้คนไข้ได้ (ใช้งานง่าย ขายแว่นคล่อง ไม่ต้องมีความรู้อะไรเลยก็สามารถขายแว่นได้)
แต่ก็ต้องยอมรับว่าถ้าย้อนอดีตไปเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ประเทศไทยยังไม่มีศาสตร์ทางทัศนมาตร ดังนั้นใครจะมาใช้เรติโนสโคปคงจะหากันยากสักหน่อย การตรวจวัดสายตาในอดีตจึงทำได้ยาก จนกระทั่งมีคอมพิวเตอร์วัดสายตาเข้ามาในประเทศไทย กลายเป็น Machine of God ที่ช่วยส่งเสริมการขายและเป็น the must item ที่ร้านแว่นทุกร้านจำเป็นต้องมี อะไรก็ได้ แบรนด์ไหนก็ได้ ทำที่ไหนก็ได้ อย่างน้อยขอให้มันเป็นคอมพิวเตอร์วัดสายตา เกิดเป็น Gimmick ว่า ที่นี่ บริการตรวจวัดสายตาด้วยระบบคอมพิวเตอร์พรึบทั่วประเทศไทย จนทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดว่า การวัดสายตาด้วยระบบคอมพิวเตอร์คือมาตรฐานหรือ standard ในการตรวจสายตา
ความหลงใน machine นั้นมีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และปัจจุบันก็ใช้คอมพิวเตอร์มา bluff กันว่าใครจะมีรุ่นใหม่กว่า แต่เรื่องจริงก็คือ เครื่องที่ทันสมัยที่สุดก็ไม่ได้ตอบโจทก์ว่าจะสามารถแก้ปัญหาการมองเห็นได้ดีกว่าเรื่องที่ใช้มากว่า 20 ปี ทำให้การวัดสายตาด้วยระบบคอมพิวเตอร์กลายเป็น “วาทกรรมทางการตลาด” ไป
พูดเหมือนผมนี่ Anti เครื่อง autorefractor แต่จริงๆ ผมไม่ได้ anti หรืออะไร ซึ่งผมก็มีและมีหลายตัวด้วย ตั้งแต่ canon RF-10 auto tracking ที่ไม่ได้เสียบไฟมาเป็นปีแล้วและ DNEye Scan PRO 2 กับ ImpressionIST 4 ที่ยอมลงทุนเพิ่มร่วมสองล้านกับเครื่อง 2 ตัวนี้ เพื่อหาตัวช่วยในการวิเคราะห์ทางคลินิกทัศนมาตร มันก็ช่วยได้ในเรื่องดูลักษณะทางกายภาพ แต่เรื่องสายตานั้น "เชื่อไม่ได้"
เจตนาของการซื้อเข้ามานั้น ผมต้องการ function บางอย่างของมัน เพื่อนำมาช่วยให้การวิเคราะห์ค่าสายตาของผมนั้นทำได้ละเอียดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะค่า HOA ที่ไม่สามารถตรวจได้ด้วยวิธี subjective ปกติทั่วไป และมีฟังก์ชั่น topography ที่ใช้ในการ mapping ผิวของกระจกตา เพื่อประเมินลักษณะกระจกตา รวมถึงความหนากระจกตา มุมระบายน้ำตา และความยาวของกระบอกตา ขนาดรูม่านตา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่ผมต้องการจาก DNEye Scan ไม่ใช่ค่าสายตา สั้น ยาว เอียง จากเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะส่วนตัวไม่เคยเชื่อค่าจากคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว ไม่ว่าเครื่องจะยิ่งค่าสายตาออกมาเป็นอะไรก็ตาม ถ้าผมยังไม่ prove ผมก็ไม่เชื่อเครื่อง หรือต่อให้มันถูกต้อง ก็ต้องผ่านการ prove จากผมด้วย retinoscope และ subjective ให้เรียบร้อยก่อนผมจึงค่อยเชื่อว่ามันถูก
ลงทุนตั้งเยอะ หวังนิดเดียว แบบนี้เรียกว่า "ขี่ช้างจับตั๊กแตนไหม"
บางคนอาจมองว่า "ขี่ช้างจับตั๊กแตน" แต่ผมมองว่าเป็นเป็นการทำร้าน "เจียรนัยเพชร" ที่อาจต้องใช้เครื่องมือราคาแพง ลงทุนสูงแต่ทำงานชิ้นเล็กนิดเดียว แต่คุณค่าของมันไม่ได้อยู่ที่ขนาด แต่อยู่ที่คุณภาพของน้ำเพชร โดยเฉพาะคุณค่าที่ทำให้ผมเกิดความสบายใจที่ผมไม่ได้ miss อะไรไปแม้ว่ามันเป็นสิ่งที่น้อยที่สุดหรือเล็กที่สุด เพราะมีดทัศนมาตรนั้นเล็กกว่ามีดผ่าตัดมาก
ผมเชื่อใน เรติโนสโคป เพราะการทำ retinoscope นั้นผมเป็นคนเห็นเองทั้งหมด ไม่ใช่รอฟังว่าคนไข้จะตอบว่าอะไร และสิ่งที่ผมได้จาก retinoscope นั้นผมเชื่อว่ามีความถูกต้องมากกว่า 90% อยู่แล้ว มี fine tuning เล็กๆจาก subjective test อีก 8% และอีก 2% คือสิ่งที่ผมไม่สามารถหาได้ด้วยวิธีการปกติ เช่นการหา Higher order aberration ,HOA และการลงทุนเพื่อความสบายใจ สำหรับ Precision บางคนมันก็เป็นเรื่องที่จำเป็น
ถ้าผมจะพูดขนาดนี้ หมายความว่าเรติโนสโคป ดีว่า DNEye Scan ใช่หรือไม่ จริงๆแล้วมันอยู่คนละบริบท นำมาอ้างอิงกันไม่ได้ แต่อยากพูดให้คิดว่า ถ้าเราเก่ง retinoscope เราไม่ต้องมี DNEye เราก็สามารถแก้ปัญหาสายตาให้คนไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบันได้ แต่ถ้าเรามีแต่ DNEye แต่ไม่เข้าใจการทำ retinoscope เลย ก็ไม่อาจแน่ใจว่า เราจะสามารถแก้ปัญหาได้ทุกเคสหรือเปล่า แต่ก็มีหลายฟังก์ชั่นที่ retinscope เองก็ทำไม่ได้ เช่น วัดความดันตาด้วยระบบลม วัดมุมระบายน้ำในช่องลูกตา วัดความหนาของกระจกตา ทำแผนผังของดวงตาของแต่ละคน ด้วยฟังก์ชั่นเหล่านี้ ไม่สามารถทำได้ด้วย retinoscope ดังนั้นผมจึงจำเป็นต้องหาผู้ช่วยมาช่วยผมวินิจฉัยและวิเคราะห์ปัญหาของการมองเห็น คือของมันต้องมีทั้งคู่ และหลังจากที่ได้ใช้งานมาสักระยะหนึ่ง พูดสั้นๆได้ว่า แม้จะใช้เครื่องมือที่ไฮเทคอย่าง DNEye Scan 2 แต่ถ้าคุณไม่มี Skill Retinoscope แล้วหล่ะก็ลำบากครับ เพราะคุณสามารถทำงานได้ดีโดยไม่มีเครื่องตัวนี้ได้ แต่คุณจะทำงานได้ถูกต้องและมั่นใจได้ยากถ้าคุณไม่มีทักษะของเรติโนสโคปเลย ดังนั้นในการใช้เครื่องตัวนี้ในคลินิกนั้น ผมใช้เป็นขั้นตอนสุดท้าย หลังจากได้ค่าจากการทำ retinoscope และ subjective แล้ว เพื่อลด bias ที่มักจะเกิดขึ้นจากเครื่องราคาแพง
การตรวจสายตาให้ได้ค่าเพื่อทำ(หรือไม่ทำ)แว่นนั้น มี 2 วิธี คือ
1.Objective Test คือการหาค่าสายตาโดยที่คนไข้ไม่ต้องมีส่วนร่วมกับค่าที่ได้ เช่น Retinoscope และ Auto-refractoer
2.Subjective test คือการหาค่าสายตา โดยค่าที่ได้นั้นต้องได้รับความร่วมมือจากคนไข้ เช่นการทำ JCC เพื่อหาสายตาเอียง หรือการทำ Clock Dial เพื่อตรวจสายตาเอียง การทำ Duochrome test เพื่อหา best sphere หรือด้วยการทำ fog/unfog เป็นต้น
Retinoscopy คือการตรวจวัดสายตาด้วยวิธี Objective test ที่สามารถให้ค่าแม่นยำ (ขึ้นอยู่กับทักษะของผู้ตรวจ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับยี่ห้อของเครื่องเรติโนสโคป) โดยผลที่ได้จากการตรวจนั้นไม่ต้องการ การตอบสนองในการถามตอบจากคนไข้ ดังนั้น Retinoscope เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ทัศนมาตรทุกคนต้องฝึกฝนและทำจนมีความชำนาญ และเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่คลินิกทัศนมาตรทุกที่ต้องมี (ไม่มีไม่ได้ ถ้าไม่มีแสดงว่า ไม่เข้าใจ role ที่แท้จริงของทัศนมาตร เพราะมันเป็นของจำเป็นต้องมี) และในกาทำ Retinoscope นั้นยังมีประโยชน์หลายๆอย่างที่เหนือการวัดด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น เป็น Purity Objective technique คือเป็นเครื่องมือในการตรวจหาค่าสายตาด้วยวิธี Objective test แท้ๆ ที่สามารถให้ค่าที่แม่นยำ (ขึ้นอยู่กับทักษะของผู้ส่ง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ) โดยค่าสายตาที่ได้มานั้น ไม่ต้องการการตอบสนองในการถามตอบจากคนไข้ และเป็นวิธีการตรวจเดียวที่สามารถหาค่าสายตา ในคนไข้ที่ไม่สามารถสื่อสารได้ดี ไม่ว่าจะด้วยวัย หรือด้วยความผิดปกติทางร่างกายที่ไม่สามารถตอบสนองได้ เช่นตรวจผู้ที่มีปัญหาเรื่องการได้ยิน คนไข้ down syndrome หรือเด็กเล็กๆ หรือคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องภาษาเช่น เราจะตรวจสายตาคนพม่า แต่เราพูดพม่าไม่ได้ และพม่าก็พูดไทยไม่ได้ หรือแม้แต่คนไข้ที่มีความผิดปกติทางดวงตาเช่น เป็นตาขี้เกียจรุนแรง หรือ เป็นสายตาเลือนราง ปัญหาเหล่านี้จบลงง่ายๆเพียงแค่ฝึกทักษะทำ retinoscopy ให้คล่อง
ในการทำงาน Optometry routine ปกติของทัศนมาตรนั้น เราจะตรวจ objective test ด้วยวิธี retinoscopy เพื่อหาค่าสายตาเบื้องต้นก่อน จากนั้นเราจะใช้ subjective test เพื่อทำการ re-finement อีกที
ในบางแห่ง อาจไม่ได้ทำ retinoscope ก็จะใช้ auto-refracter แทน เพราะว่าเครื่องวัดสายตาคอมพิวเตอร์นั้นสามารถใช้ใครก็ได้ที่อยู่แถวๆนั้นทำงานแทนได้ (เรียกวินมาช่วยกดเครื่องก็ได้) แล้วหมอก็ทำ subjective test เอา ซึ่งก็ทำได้นะ เพียงแต่เราอาจจะ miss อะไรไปมากมายจากการไม่ทำ retinoscope
ปัญหาของการใช้การวัดด้วยระบบคอมพิวเตอร์มี 2 เรื่องใหญ่ๆที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นคือ
1.unreliability คือเชื่อไม่ได้ ทำซ้ำได้ไม่ดี เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ตามปัจจัย ตามยี่ห้อเครื่อง เครื่องจีนก็ค่าหนึ่ง เครื่องญี่ปุ่นก็ค่าหนึ่ง เครื่องเยอรมันก็ค่าหนึ่ง หรือเครื่องเดียวกันกลับได้หลายค่าโดยเฉพาะกับเด็กๆ ว่ากันว่า เด็กอายุต่ำกว่า 7 ขวบ ความน่าเชื่อถือนั้นน้อยกว่า 20 % (เสี่ยงไหม...คิดเอา) ในขณะที่ retinoscope นั้นความน่าเชื่อถือมากกว่า 90% แม้ในเด็กแรกเกิด (**สำหรับผู้ที่มีทักษะดีๆ)
2.unobtainable คือในบางคนที่มีความผิดปกติของกายภาพดวงตา หรือมีพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในลูกตา เช่น คนที่สายตามากๆ คนที่รูม่านตาเล็กเก็นไป คนไข้ที่มี opacity ที่ตัวกลางทางเดินแสงในลูกตา เช่น เลนส์ตา วุ้นในตา กระจกตา หรือคนที่เปลี่ยนเลนส์ตาเทียมมาแล้ว และปัญหาใหญ่สำหรับเครื่อง Auto ก็คือ คนไข้ที่มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร เช่นเด็กตัวเล็กๆ คนไข้ Alzeimer หรือเด็ก downsyndrome เป็นต้น เล่านี้ ล้วนแต่ไม่สามารถใช้เครื่องวัดสายตาคอมพิวเตอร์วัดได้ทั้งสิ้น ถ้าใครจะใช้คอมพิวเตอร์วัดคนไข้เหล่านี้ ก็ต้องเตรียมวัดใจไว้ด้วยก็ดี
เครื่อง retinoscope นั้นจะมีแหล่งกำเนิดแสงอยู่ภายในส่องออกมาจากเครื่องที่มีด้ามจับสะท้อนกับกระจกวิ่งเข้าไปในรูม่านตา และเมื่อแสงเดินทางไปถึงจอประสาทตาก็จะสะท้อนออกมาทางรูม่านตา กลับเข้ามาที่ตัวเรติโนสโคป ทำให้เราสามารถสังเกตลักษณะหรือรูปแบบของการเคลื่อนที่ของแสงได้ ในแต่ละปัญหาสายตา ไม่ว่าจะสั้น ยาว หรือสายตาเอียง จะมีรูปแบบของการวิ่ง เช่น ขนาดความแคบ/กว้างของลำไฟ ความืด/สว่างของลำไฟ การเคลื่อนที่ทวน/ตามของลำไฟ จะมีลักษณะไม่เหมือนกัน และจะมีเลนส์สำหรับ nutralized ไฟสะท้อนให้กลายเป็นไฟ nutral ให้ได้ด้วยเลนส์จาก trial lens set หรือ phoropter ซึ่งผู้ตรวจต้องทำการฝึกดูไฟบ่อยๆจนชำนาญ ก็จะสามารถทำงานได้ดี เร็ว แม่นยำ และเร็วกว่าคอมพิวเตอร์ตรวจตาเสียด้วยซ้ำ (เวลาเฉลี่ยในการทำโรติโนสโคปของผมในคลินิกประมาณ 1 นาทีหรือน้อยกว่า ต่อตาทั้งสองข้าง)
การทำ retinoscope นั้นมีอยู่ 2 แบบคือ
1.static retinoscope คือการทำ retinoscope ขณะที่ accommodation ของคนไข้ถูกควบคุม หรือ กด หรือ ยับยังไว้ไห้เพ่ง ด้วยการมองไปไกลๆที่ระยะอนันต์ หรือตรวจขณะที่เลนส์ตานั้น relax accommodation (ถ้าห้องตรวจลึกไม่ถึง 6 เมตร ก็เชื่อถือได้ยากเช่นกัน)
2.Dynamic retinoscope คือการทำ retinoscopy ขณะที่เลนส์ตานั้นถูกระตุ้นที่ระยะต่างๆ เพื่อดูว่า เมื่อให้เลนส์ตาเพ่งดูที่ระยะใกล้นั้น เลนส์ตาสามารถฟังก์ชั่นได้ดีมากน้อยแค่ไหน มีค่า lag of accommodation หรือไม่ เป็นต้น
ที่สำคัญ retinoscope นั้นยังสามารถหาค่าที่ คอมพิวเตอร์มักจะหาไม่ได้นั่นก็คือ คนที่เป็นสายตายาวแบบ latent hyperopia ซึ่งคอมพิวเตอร์มักตรวจไม่พบ หรือแม้แต่การทำ subjective test ก็ยังตรวจไม่เจอ มีแต่ retinoscope ที่สามารถหาเจอได้ โดยเฉพาะกับในเด็กเล็ก
นอกจากนี้ reflect จากเรติโนสโคปนั้นเป็นแสง retro-illumination ทำให้เราสามาถ observe ดู condition ต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่ media ของลูกตาได้ เช่น เลนส์แก้วตา ม่านตา กระจกตา โดยถ้าบริเวณ midia มีความผิดปกติเกิดขึ้นเช่นมี oplaque เกิดขึ้นแสงก็จะผ่านมาไม่ได้ ทำให้เราเห็นเป็นเงาดำบนพื้น background สีส้มแดง ซึ่งถ้าเห็น ก็สามารถใช้ direct ophthalmoscope ส่องเข้าไปที่ระยะ 30-40 ซม. ก็จะเห็น oplaque ได้ชัดเจนขึ้น
ในคนไข้ที่กระจกตาโป่ง หรือ keratoconus reflect ที่เกิดขึ้นจะมีการเคลื่อนที่แบบ swirling เบี้ยวไปเบี้ยวมา คนไข้ที่มี retinal detachment จะเห็น reflect เป็นสีเทาๆ ซึ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์วัดสายตาไม่สามารถทำได้
ดังนั้น เรื่องที่เล่าให้ฟังวันนี้ คือ ต้องการปลุกให้ทุกท่านที่มีหน้าที่ หรือมีอาชีพ ในการดูแลสายตาประชาชนคนไทย ท่านทั้งหลายควรหาโอกาสเรียนรู้และฝึกฝนวิธีการตรวจสายตาโดยใช้เรติโนสโคป เมื่อให้การทำงานของท่านนั้น มีความแม่นยำมากขึ้น ทำซ้ำได้ดีขึ้น เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนต่อไป
และทิ้งท้ายด้วยคำพูดจาก ด๊อกเตอร์ท่านหนึ่ง ที่ได้พูดเกี่ยวกับการทำเรติโนสโคปว่า
"Retinoscopy is The Skill for Life"
" No one needs an optometrist to use, or dispense from, an auto-refractor "
"ไม่มีใครหรอกที่ต้องการให้หมอทัศนมาตรใช้ค่า หรือจ่ายค่าสายตาจากเครื่องวัดสายตาคอมพิวเตอร์ "
" Retinoscopy, on the other hand, is a vital clinical skill which must be learned and practiced constantly"
"การตรวจด้วย Retinoscop เป็นทักษะที่เป็นหัวใจสำคัญในการทำงานด้านคลินิก ที่ต้องถูกเรียนรู้และฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง"
" If you are not confident in your ret or if you don’t use retinoscopy with every patient you see in practice…please don’t refract children because you will not have the skill to do it!’
"ถ้าคุณไม่มีความมั่นใจในการทำ Retinoscope ของคุณหรือคุณไม่ได้ใช้ retinoscope กับคนไข้ทุกคนที่เข้ามาให้คุณตรวจในคลินิก คุ ณ จ ง อ ย่ า ต ร ว จ ส า ย ต า ใ ห้ กั บ เ ด็ ก เพราะคุณ.. ไ ม่ มี ทั ก ษ ะ พ อ ที่ จ ะ ทำ มั น"
refer : https://bit.ly/2CywwDp
ฝรั่งที่อยู่ในประเทศที่มีความเจริญทางการแพทย์แล้ว และเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาเขาคิดอะไร ทำไมเขาถึงไม่สามารถมีชีวิตในวิถีทัศนมาตรถ้าไม่มีตัวเรติโนสโคป ในขณะที่บ้านเราส่วนใหญ่น้อยคนนักจะมี retinoscope และส่วนมากที่มีก็ฝากไว้บนหิ้ง เหมือนเป็นเครื่องรางของขลังประจำห้องตรวจ (#ห้องตรวจgooมี)
ก็ได้แต่หวังว่า หลังจากบทความนี้ออกไป ใครที่มี retinoscope ที่ไม่เคยเสียบชาร์จไฟเลย ก็ได้เวลาเสียบปลั๊กกันได้แล้ว ทิ้งไว้นานระวังแบตจะเสื่อม
ท่านไหนที่ไม่ค่อยได้จับก็ได้ฤกษ์หยิบมาปัดฝุ่นเสียที
เด็กๆนักศึกษาทัศนมาตรที่กำลังเรียนอยู่ ก็จะได้ขยันฝึกมากขึ้น เพราะ retinoscope นั้นเป็นเรื่องของ ทักษะล้วนๆ ไม่ใช่เรื่องของการอ่าน ต่อให้อ่านเป็นพันรอบก็ทำไม่ได้
ใครที่มีทักษะเรติโนสโคปดีอยู่แล้ว ก็เอาเครื่อง Auto-refracter ไว้ให้ห่างมือ ถอดสายตาออก คลุมผ้าให้ดี สักพักพอเริ่มมั่นในใจทักษะเรติโนสโคปของตัวเอง จะเริ่มไม่สนใจคอมพิวเตอร์วัดสายตาอีกต่อไป แล้วขายทิ้งซะหรือไม่ก็บริจาคให้คนที่ไม่มีความรู้แต่อยากขายแว่น
แต่ทั้งหมดทั้งมวลผมไม่ได้ห้ามไม่ให้ซื้อ Auto-refracter นะ เดี๋ยว supplier จะหาว่าผมเสี้ยมไม่ให้ใช้ ก็ใช้คู่กันนั่นหล่ะ แต่ให้ใช้ด้วยวิจารณญาณ เวลาค่าออกมาแล้วต่างจากค่าเรติโนสโคปมากๆ ก็จะได้ระวัง เพราะถ้าฟังความจาก auto-ref ข้างเดียวแล้วไปเชื่อ เดี๋ยวมันจะยุ่งเและผมก็มีเครื่องพวกนี้ตั้งแต่ Canon RF10 ไปจนถึง DNEye Scan2 แต่เอามาช่วยเรื่องอื่นไม่ใช่เอามาหาค่าสายตา
เอาหล่ะก่อนจะยอมลุกขึ้นไปหยิบเรติโนสโคปมาส่องเล่น ลองอ่านบทความดูว่า ทำไมประเทศที่ทัศนมาตรเขาเจริญแล้วเขาถึงขาด retinoscope ไม่ได้ และจะได้คิดต่อว่าคุ้มที่จะลุกหยิบเรติโนไปเสียบไฟ
ตามลิ้งเข้าไปอ่านเลยครับ https://bit.ly/2CywwDp
ขอบคุณแฟนเพจทุกท่านสำหรับการติดตาม มีหลายปุ่ม ถูกใจ ไม่ถูกใจ หัวเราะ ร้องไห้ กดได้ตามอารมณ์ ไม่มีผิด ไม่มีถูก ได้หมดถ้าสดชื่น
โทร 090-553-6554
line : loftoptometry