What’s new in Technology
18 June 2019
ในการปฏิบัติงานด้านการแพทย์นั้น การทำงานของแพทย์ในหลายส่วนนั้นยิ่งใช้เทคโนโลยีสูงก็ยิ่งดี ที่พี่ตูนวิ่งปัจจุบันนี้ก็เพื่อซื้อเครื่องมือที่ high technology ให้กับโรงพยาบาลที่ยังขาดแคลน แต่เทคโนโลยีการแพทย์ในบางเรื่องแม้มีเทคโนโลยีใหม่เข้ามาแทนที่ก็ไม่สามารถแทน Gold standard ที่เป็นการตรวจแบบ basic ได้ ตัวอย่างเช่น เครื่องวัดความดันตา ซึ่งปัจจุบันมีแบบลมเป่าเข้ามาช่วยเรียกว่า air puff tonometer ทำให้ผู้ที่ไม่ใช่แพทย์สามารถวัดความดันตาได้ เพื่อสกรีนคนไข้ที่เสี่ยงกับการเป็นต้อหิน ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะโอกาสของคนทั่วไปที่จะเข้าไปพบแพทย์ต้อหินนั้นยากมาก ถ้าจะไปพบแพทย์ด้วยต้อหินนั้น โรคมักจะดำเนินมาไกลแล้ว ดังนั้นถ้าตรวจด้วย air puff tonometer พบว่าความดันตาสูง ก็ต้อง refer ให้จักษุแพทย์เพื่อทำการตรวจความดันตาด้วยวิธีพื้นฐานอย่าง Goldman tonometer ซึ่งเป็น Gold Standard ในการประเมินความดันตาว่าปกติหรือไม่ ทำให้ค่าความดันตาที่ได้จากลมเป่านั้น ยังไม่สามารถเข้ามาแทน Gold standard อย่าง Goldman tonometer ได้ การตรวจวัดสายตาและการตรวจระบบการทำงานต่างๆของกล้ามเนื้อตา การทำงานของเลนส์ตา รวมถึงการตรวจต่างๆที่เป็นงานทางทัศนมาตร ดูๆไปแล้ว เหมือนยิ่งใช้เทคโนโลยีสูงมากยิ่งลงคลอง และเป็นที่ประจักษ์ว่า ไม่ว่าจะให้เครื่องคอมพิวเตอร์ตรวจสายตากี่แสนหรือล้านบาทก็ไม่สามารถแทนที่การทำงานของ retinoscope ซึ่งเป็น Gold Standard ได้ ดังนั้นในการปฏิบัติงานทางด้านการแพทย์นั้น เราไม่เคยสนใจค่าที่วัดได้และปริ้นออกมาจากเครื่องวัดสายตาระบบคอมพิวเตอร์ แต่เราจะสนใจในเรื่อง VA ของคนไข้และเชื่อค่าที่ได้จากการทำ retinoscope ในการประเมินหรือติดตามการเปลี่ยนแปลงของสายตา ทำไมเวลาหลายทศวรรตที่ผ่านมา คอมพิวเตอร์วัดสายตาไปไกลมาก แต่เหมือนว่าเครื่องรุ่นใหม่ล่าสุดกับเครื่องเมื่อหลายสิบปีที่แล้วก็ยังหนีกันไม่ขาดคือความน่าเชื่อถือก็ไม่ได้สูงกว่าเครื่องแบรนด์ดีๆ ที่มีอายุมากกว่า 20 ปี
ย้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ที่ศาสตร์ในการตรวจสายตาและระบบการมองเห็นยังไม่ได้มีช่องทางให้เรียนรู้ได้มากมายอย่างเช่นปัจจุบันนี้ ก็จะใช้ประสบการณ์ที่ถ่ายทอดต่อๆกันมา จากรุ่นสู่รุ่น แต่ก็ยังถ่ายทอดกันในกลุ่มแคบๆ เช่นลูกหลาน หรือ ช่างที่ช่วยงานเถ้าแก่ร้านแว่นกันมาหลายปี
เมื่อเริ่มมีเครื่องวัดสายตาคอมพิวเตอร์เครื่องแรกเกิดขึ้น (ย้อนไป 30 ปีที่แล้ว) จึงเป็นเรื่องใหม่ของวงการแว่นตา เกิดเป็นความเชื่อขึ้นมาว่า Computer is God หรืออย่างน้อยที่สุดก็ดีกว่าการเสียบเลนส์เข้าไปเรื่อยๆอย่างไร้จุดหมาย เพราะศาสตร์เรติโนสโคป คงจะต้องไปเรียนที่อเมริกาอย่างเดียว ทำให้มีการแข่งขันกันที่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์วัดสายตา เกิดเป็นจุดขาย “วัดสายตาด้วยระบบคอมพิวเตอร์” เกิดขึ้นมา
วันเวลาผ่านไป 30 ปี เราได้ prove แล้วว่า “เป็นความคิดที่ผิดว่ามีเครื่องแล้วไม่ต้องมีหมอ” และเมื่อก่อนหมอทัศนมาตรยังไม่มี ดังนั้นเครื่องวัดสายตาก็ยังเป็น machine ที่ยังพอเป็นจุดแข็งได้อยู่ แม้บางทีเครื่องยิงค่าออกมาก็แม่น บางครั้งก็มั่ว บางครั้งลงคลอง ยิง hyperope เป็น myope ซึ่งแม้มันจะยิ่งออกมาได้ค่าเดิมซ้ำๆก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าค่าที่ยิงออกมาซ้ำๆนั้นจะเป็นค่าที่ถูกต้อง เครื่องต่างแบรนด์กันยิงค่าสายตาคนเดียวกันก็ยิงออกมาได้ค่าที่ต่างกัน หรือแม้แต่รุ่นเดียวกัน แบรนด์เดียวกัน ยิงคนเดียวกันก็ยังได้ค่าต่างกัน ทำให้หลังๆเราเริ่มจะยอมรับว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นไม่ใช่ God อีกต่อไป ปอกรกับมีศาสตร์ของทัศนมาตรเกิดขึ้นในประเทศไทย จึงเกิดการรับรู้ใหม่ว่าที่พึ่งเราไม่ใช่คอมพิวเตอร์แต่คือเรติโนสโคป แต่อย่างไรก็ตาม เรติโนสโคปเป็นการทำงานที่ต้องฝึกทักษะ ไม่สามารถใช้เงินซื้อแล้วจะทำได้ แต่ต้องเกิดการเรียนรู้และฝึกฝนอย่างมากเพื่อให้ได้ความรู้และทักษะนี้มา ทำให้คอมพิวเตอร์วัดสายตาก็ยังสามารถเป็นตัวช่วยหรือ guideline ในการเริ่มต้นหาค่าสายตา แต่บางทีก็ทำให้เขวได้ เช่นคนไข้สายตายาว แต่กลับยิงออกมาเป็นสายตาสั้นเป็นต้น เช่นเคสที่ได้ยกมาเป็นตัวอย่างในวันนี้ ที่จะพูดถึงต่อไป
แม้ยุคหลังๆ เริ่มมีความพยายามที่จะสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ แต่ผลลัพธ์ก็ไม่ได้มีความแม่นยำหรือน่าเชื่อถือหรือมีสิ่งที่จะบอกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์วัดสายตารุ่นใหม่จะทำได้ดีกว่าคอมพ์วัดสายตารุ่นเดิมสักเท่าไหร่ เพราะหลักการทำงานของเครื่องคอมพ์วัดสายตาก็ยังใชัหลักการที่คล้ายกันคือ ใช้แสง infrared ยิ่งเข้าไป ส่วนหลังๆเทคโนโลยีสูงขึ้นก็ใช้เป็นคลื่น wavefront ยิ่งเข้าไป ซึ่งสามารถเก็บรายละเอียดของ aberration ในแต่ละจุดได้ละเอียดขึ้น และสามารถนำคลื่นนั้นไปวิเคราะห์แล้วสร้างเป็นภาพออกมาให้เราเห็นความผิดปกติทางกายภาพได้ดีกว่าเครื่องที่แบบที่ใช้ infrared แต่ถ้าจะเอาแค่ค่าสายตาสุดท้ายที่ออกมา ซึ่งเป็น total refractive error ที่เกิดขึ้นจากการคำนวณ ผลรวม aberration ที่เกิดที่กระจกตาและเกิดที่เลนส์ตาแและจากความยาวของกระบอกตาแล้วออกมาเป็นสายตาสุทธิว่ามีเท่าไรนั้น ก็ยังมีความน่าเชื่อถือที่ต่ำ (low reliability) และโอกาสที่สายตาจริงที่จะจ่ายให้คนไข้ที่จะเท่ากับค่าที่ได้จากคอมพิวเตอร์นั้น จากการทำงานของผมมา 5 ปี พบว่าเป็น 0 ในขณะที่ค่าสายตาสุดท้ายที่ได้จาก retinoscope นั้นเป็นเดียวกันหรือใกล้เคียงในระดับ 0.25 นั้นมีมากกว่า 90% มีองศาที่ shift ไปบ้าง แต่ก็ไม่ถึงกับกลับหัวกลับหางจากแกน 90 ไปแกน 180 อย่างที่เกิดขึ้นกับเครื่อง auto-refraction
คอมพิวเตอร์สายตานั้น ทำงานได้ถูกต้อง เที่ยงตรง แม่นยำ แต่แม่นยำในบริบทของมัน เพราะคอมพิวเตอร์มันเห็นอย่างไรมันก็อ่านออกมาอย่างนั้น มันไม่มีจริตจะก้าน หรือมีอคติหรืออะไรเข้าไปเกี่ยวข้อง แต่ปัญหาของมันก็คือ บริบทของมันที่จะนำมาคำนวณนั้นเป็นปัญหาสำคัญของมัน เพราะเมื่อบริบทเปลี่ยนมันก็เห็นเปลี่ยน ทำให้การยิงค่าออกมาแต่ละครั้งจึงเกิดการคลาดเคลื่อนตลอดเวลา หรือถ้าพูดในภาษาคอมพิวเตอร์หน่อยคือ มันจะวิเคราะห์ค่าตาม algorithm ที่มันมี ณ moment หนึ่งๆ ค่าที่ได้มาจึงเป็นค่าที่เกิดขึ้นที่ moment ที่มันเลือกจะมอง แต่ปัญหาของมันคือ ค่าสายตาที่มนุษย์ต้องการนั้นจะเอาที่ moment ให้ accommodation คลายตัว แต่มันไม่รู้ว่า moment นั้นอยู่ตรงไหน เนื่องจากตามนุษย์นั้นทำงานเป็นระบบไดนามิคที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ด้วยเลนส์แก้วตาที่มีการเพ่งตัวหรือคลายตัวอยู่ตลอดเวลา สามารถเกิด rage ของช่วงค่าสายตาที่เกิดขึ้นจากการ accommodate สุดพลัง จนถึงการ relax accomodate จนสุดตัว ทำให้เกิดภาพชัดตั้งแต่ใกล้สุดไปจนถึงระยะอนันต์ เกิดเป็น moment เล็กๆต่อเนื่องกันแบบไร้รอยต่อ เป็น smooth accmmodation เมื่อเลนส์ตามีการเพ่ง ดังนั้นค่าที่คอมพิวเตอร์ยิงออกมานั้นก็อยู่ที่มันยึดเอา algorithm ของ moment ไหนมาคำนวณให้เรา
และคอมพิวเตอร์ไม่สามารถจะรู้ว่าค่าที่มันวัดออกมานั้น คำนวณจาก algorithm ขณะไหน อาจจะเกิดขณะที่ full relax accommodation ก็ได้ หรือ accommodate บางส่วน หรือ full accommodate ก็ได้ ทำให้ค่าของมันที่ได้นั้น ถูกต้องเฉพาะ moment นั้นๆ จึงทำให้ค่าที่ได้นั้น บางทีก็ถูกต้อง บางทีก็ผิดมาก บางทีก็ผิดน้อย บางทีไม่เกี่ยวข้องกับสายตาของคนไข้เลย แม้จะพยายามใช้รูปหลอกให้เลนส์ตาคลายตัวว่าวัตถุอยู่ไกลก็ตาม สรุปว่า reliability ของ เครื่องคอมพิวเตอร์วัดสายตานั้นต่ำมาก ต่ำกว่า retinoscope แบบเทียบกันไม่ได้เลย
แต่ในคู่มือของเครื่องก็เขียนไว้ชัดเจนว่า
USer
Users of the DNEye Scan 2 should possess kowledge of the optical industry ,optometry ,or ophthalmology e.g. Optometrist or Ophthalmologist . Federal (U.S.) Law restricts this device to sale by or on the order of a physician in US.
Disclaimer
Warnings for certain limit values serve only as an indicator and must be used in conjunction with other examinations results for diagnostic purpose. Only a qualified doctor fo a qualified optician are allowed to perform screening for cataract or glaucoma .Aqualified doctor is responsible for diagnostic ,treatment decisions and recommendetion.
ซึ่งเครื่องมือเขาออกตัวชัดเจนว่า เป็นเพียงตัว indicater หรือค่าบ่งชี้ ซึ่งต้องใช้ร่วมกับการตรวจและวินิจฉัยอื่นๆ โดยหมอตา หมอทัศนมาตร และผู้ที่ผ่าน Qualified ว่ามีความรู้พอที่จะใช้งานมัน เขาไม่ได้บอกว่าเครื่องเขาละเอียดที่สุดในโลก หรือสามารถวัดสายตาได้ละเอียดแม่นยำสูงสุดถึง 0.01 D การไปยกยออะไรที่มันเกินเหตุไป มันจะทำให้ผิดเจตนารมณ์ของ Rodenstock ที่คิดค้นซอฟท์แวร์เพื่อ detect HOA เพื่อนำมาคำนวณบนโครงสร้างเลนส์เพื่อลด higher order aberration ที่เกิดขึ้นกับดวงตา
อย่างเคสวันนี้ที่ผมยังคงไม่อยากพูดถึงในรายละเอียด เนื่องจากเลนส์อยู่ในระหว่างการผลิตและคนไข้ยังไม่ได้รับแว่นจริง แต่คิดว่าไม่มีปัญหาอะไร เพราะ trial บน trial lens แล้วทุกอย่างปกติดี แต่อยากจะมาเล่าให้ฟังก่อน เพื่อให้เกิดความคิดบางอย่างเกิดขึ้นมาว่า อะไรที่เราสามารถพึ่งได้เต็มที่ อะไรพึ่งได้บ้าง หรืออะไรที่พึ่งไม่ได้เลย
คนไข้หญิง วัย 27 ปี มาด้วยอาการภาพซ้อน เป็นมา 5 ปี เริ่มใส่แว่นตอนอายุ 17 ปี แว่นปัจจุบันทำมาจากร้านแว่น นำไปเช็คค่าบน lensometer ได้ค่ามา
R -2.50 VA 20/40
L -2.50 VA 20/25
Version : SAFE ;
Alt.CT : large Esophoria both far & Near
R -4.00 -0.50 x 141
L -5.12 -0.38 x 176
R -0.50 - 0.50 x 90 VA 20/20
L -2.75 -0.25 x 90 VA 20/20
Mono Subjective
R -1.00 -0.62 x 105 VA 20/20
L -3.00 -0.50 x 90 VA 20/20
Binocular Diplopia
R -0.50 -0.62 x 105 VA 20/15
L -2.50 -0.50 x 90 VA 20/15
BCVA ( w/ 3.5BO OD + 3.5BO OS +1.5 BU OS) w/ Over refraction w/ Retinoscope
R -0.25 -0.75 x 105 VA 20/15
L -2.50 -0.50 x 90 VA 20/15
Horz.Phoria ; 11.5 prism base out esophoria w/ Von Graefe’s technique
BI -vergence : Double vision (diplopia) Recovery @ 7 prism base out and start brake again @ 6 base out
Vertical Phoria : 1.5 BUOS (Right Hyperphoria)
Worth 4 dot : Diplopia and Fusion @ 12 BO + 1.5BUOS
Maddox Rod : 12 BO / 1.5 BUOS
Horz.phoria : 7 prism base out esohphoria
AC/A ratio ; 2:1
Vert. Phoria : 2 BUOS
BCC +0.25
NRA/PRA : +2.50 /-2.00
1.compound myopic astigmatism
2.Divergence Insufficiency
3.Hyperphoria (Right-hyper)
OD -0.25 -0.75 x 105
OS -2.50 -0.50 x 90
7 prism base out ( 3.5BOOD/3.5BOOS)
1.5 prism (0.75 BDOD/ 0.75 BUOS)
Point ที่ผมต้องการจะชี้คือ สำหรับท่านที่คิด หรือ กำลังคิดว่า มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานอยู่ ไม่ว่าจะรุ่นเทพหรือรุ่นมาตรฐาน และอยากจะซื้ออาวุธที่ไฮเทคเพิ่มมาใช้งาน คงต้องคิดให้มากขึ้นว่า ท่านต้องการอะไรจากมัน ถ้าท่านเชื่อว่ามันจะให้ค่าสายตาที่ถูกต้องแม่นยำ หรือว่าวัดสายตาได้ละเอียดที่สุดในโลกระดับ 0.01D แล้วหล่ะก็ อยากบอกว่าท่านกำลังหลงทาง เพราะมันให้ท่านไม่ได้ขนาดนั้น ส่วนท่านที่เป็นผู้บริโภคที่คิดว่าร้านไหนมีคอมพิวเตอร์วัดสายตาระดับไฮเทคอยู่ในร้าน จะช่วยแก้ปัญหาการมองเห็นให้กับท่านได้ทุกปัญหา ก็อยากบอกท่านว่า ท่านกำลังหลงทางอยู่อีกเช่นกัน
แต่ถ้าท่านบอกว่า ท่านเป็นคนที่สามารถตรวจ วัด วิเคราะห์สายตาได้ดีอยู่แล้ว มีความรู้ ความสามารถพอที่จะหาค่าสายตาที่ best corrected ได้โดยไม่ต้องพึ่งคอมพิวเตอร์วัดสายตา แต่อยากได้ข้อมูลมาใช้ในการ analysis หรือ investigate ระบบต่างๆเพื่อให้ได้ data ที่มากขึ้นในการวิเคราะห์ความผิดปกติ เพื่อให้ท่านสามารถทำงานได้ละเอียดมากขึ้น ท่านมีความคิดน่าเลื่อมใส และเป็นความคิดที่น่าชื่นชม ที่อยากจะยกระดับวิชาชีพให้ดียิ่งขึ้น
สำหรับท่านที่มีเครื่องมือพื้นฐานในการทำงาน เช่น มี phoropter ที่ได้มาตรฐาน มีห้องตรวจมาตรฐาน 6 เมตร มี retinoscope ดีๆ มี trial lens set มี trial frame ดีๆ เพียงเท่านี้ ท่านก็สามารถใช้แก้ปัญหาการมองเห็นไม่ว่าด้วยปัญหาสายตา ปัญหากล้ามเนื้อตา และปัญหาการเพ่งของเลนส์ตาได้ทั้งหมดแล้ว เพราะนอกนี้แล้วคงต้องส่งต่อจักษุแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป
แต่ถ้าท่านมีคอมพิวเตอร์วัดสายตาระดับเทพ แต่ไม่สามารถใช้งานเครื่องมือพื้นฐานได้ ก็มีความน่าเป็นห่วงว่าความยั่งยืนในการประกอบสัมมาอาชีพว่าจะยั่งยืนได้แค่ไหนเมื่อผู้บริโภคมีข้อมูลข่าวสารมากขึ้น และท่านที่มีเครื่องเหล่านี้อยู่แล้ว ก็อย่าไปอวดอ้างสรรพคุณจนเกินงาม ยกความวิเศษวิโสให้เครื่องด้วยความรู้ไม่ถึงการณ์ ซึ่งผิดเจตนารมณ์ของผู้ที่ออกแบบเครื่องมือ และทำให้เครดิตของเครื่องมือนั้นดูจะมีปัญหา เดี๋ยวคอมพิวเตอร์วัดสายตาวิเศษจะกลายเป็นเหมือนคดีแว่นวิเศษ ปรับชัดได้เอง คมชัดทุกสายตา สุดท้ายโดนตำรวจจับ ซึ่งเห็นแล้วก็อดห่วงไม่ได้ เพราะมีคนหลงเชื่อมากมายหลงซื้อมา เจ็บใจ โดนหลอก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เห็นแล้วก็อดคิดไม่ได้ว่าทำไม educate คนในบ้านเราถึงได้น้อยขนาดนี้ ไม่มีความสามรถในการแยกแยะว่าอย่างไหนที่เป็นไปได้ อย่างไหนที่เป็นไปไม่ได้
น้องๆ ที่อยากจะทำคลินิก อยากทำร้าน ขอให้จำวิชาของอาจารย์แมว ปี3 สมัยเรียนรามเอาไว้ เรื่องการ set priority ว่าอย่างไรควรมาก่อน อย่างไรควรมาทีหลัง อย่างไรเป็น need อย่างไรเป็น want อย่างไรจำเป็นมากสุด อย่างไหนจำเป็นรอง แต่ถ้ามีเงินเหลือเฟือก็ไม่ต้องลำดับก็ได้ แต่ถ้าไม่ได้มีเงินถังก็ set priority ให้ดี ตัวอย่างเช่น ถ้าให้เลือกระหว่างเครื่องมือกับทำเล เครื่องมือดีๆเพื่อได้ทำงานดีๆมีมาตรฐาน ย่อมสำคัญต่องานทัศนมาตรมากกว่าทำเลในการทำงานเพื่อให้ขายดี
ความตั้งใจของเรื่องนี้ ก็เพื่ออยากให้ท่านทั้งหลาย ได้หยุดคิด ไตร่ตรอง ถ้าอยากขายดีก็ hard sale หนัก ๆ ทำโปรเยอะๆ เดี๋ยวได้ขายดีเอง แต่จะยั่งยืนหรือเปล่าก็อีกเรื่องหนึ่ง อันนี้ไม่มั่นใจ แต่ถ้าอยากยั่งยืน อยู่ยาวๆ ต้องค่อยๆทำดี ทำดีๆ ทีละเคสๆ เรียนรู้เก็บประสบการณ์ในแต่ละเคส ค่อยๆขยับตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตามกำลัง จะขี้ตามใครก็ดูกำลังขี้ของตัวเองด้วย จะได้ไม่ทุกข์ไม่เดือดร้อน และสามารถดำรงตนให้สวยงามอยู่ในวิชีพต่อไป
ผมไม่ทราบว่า หลังบทความนี้ออกไป หรือจะเกิดคลื่นอะไรตามมาบ้าง แต่ไม่พูดไม่ได้ เพราะเห็นหลายคนกำลังหลงทาง และ พาคนไข้หลงทางไปด้วย โดยเฉพาะเมื่อเรากำลังแข่งขันกันว่าใครจะมีคอมพิวเตอร์วัดสายตาที่เชื่อว่าดีที่สุดมาแข่งกัน ซึ่งผมว่าถ้าแข่งกันแบบนี้ สุดท้ายก็คงจะแพ้กันหมด เพราะไม่ได้มีใครดีกว่าใครแบบมีนัยสำคัญ
เรื่องนี้ผมตั้งใจเขียนขึ้นมาให้กับท่านที่กำลังมองหาเครื่องมืออะไรสักอย่างที่จะทำให้การทำงานของตัวเองนั้นถูกต้อง เที่ยงตรง และ แม่นยำ ซึ่งจริงๆ ผมสรุปให้เลยก็ได้ครับว่า ปัจจุบันไม่มีเครื่องมือใดที่ให้ค่า Objective Refraction ได้ดี แม่นยำ ทำซ้ำได้ดีได้เท่ากับการใช้ skill ในการทำ retinoscope ดังนั้นท่านที่มีฝีมือในการทำงานที่ดีมากอยู่แล้ว การมีหรือไม่มีเครื่องมือแพงๆเหล่านี้ ก็ไม่ได้ไปกระทบอะไรกับการทำงานของเราอยู่แล้ว ถ้าอยากซื้อมาเป็นผู้ช่วยก็ไม่ได้แปลกอะไร
บางคนอาจคิดแย้งว่า ทำไมเวลาเครื่องมือผ่าตัด หรือเครื่องมือเลสิก มันดีหล่ะ แล้วทำไมเครื่องวัดสายตาคอมพิวเตอร์มันทำให้ดีไม่ได้ คำตอบคือเพราะว่าเครื่องมือผ่าตัดทำกับกายภาพ (anatomy) ทำแผลเล็กๆ สวยๆ ได้ แต่เรื่องการตรวจสายตานั้นเป็นเรื่องการ Preception ของสมองที่สร้างภาพให้เราเห็น ซึ่งเกี่ยวข้องกับ Ophthalmic Optic + physic + Physiology + psycology ซึ่งเครื่อง algorithim ที่เครื่องคอมพิวเตอร์วัดสายตาไม่ได้ใส่ตัวแปรมากมายขนาดนั้น ทำให้ค่าที่ได้นั้น เป็นค่าที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ
ก็หวังว่าสารที่ท่านได้รับวันนี้ น่าจะทำให้วงการแว่นตาหรือสาธารณสุขด้านสายตาในประเทศไทยนั้น เดินไปในทางที่ถูกต้องกว่าที่มีอยู่เดิม แน่นอนว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมเกิดความอึดอัด ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ เกิดขึ้นก็เป็นของธรรมดา แต่โลกทุกวันนี้มันหมุนเร็วมาก ถ้าเรายังหลงอยู่กับคอมพิวเตอร์วัดสายตาเหมือนเมื่อ 30 ปีที่แล้ว แสดงว่า 30 ปีที่ผ่านมานั้นเสียเปล่า เพาะเรายังพึ่งพาสิ่งที่พึ่งพาไม่ได้นี้ว่าเป็นสรณะเหมือนเดิม
DR. SOMYOT O.D.
(ดร.ลอฟท์)