วันนี้พักฟังเสียง “วิชาการ” มาฟังเสียง “จิตวิญญาณ” กันดูบ้าง
.
“กายที่ปราศจากใจ” คงไม่ต่างอะไรจาก “ซอมบี้” ที่มีแต่ความ “หิวโหยและเกลียดชัง”
.
เรื่องที่จะมาพูดในวันนี้ก็คือ "ความภูมิใจในวิชาชีพทัศนมาตร"
.
เพื่อให้บางคนที่ยังไม่มีความภูมิใจ ได้ภูมิใจบ้าง และคนที่ภูมิใจอยู่แล้ว ขอให้รู้ว่ามีเพื่อนร่วมวิชาชีพของเขาอย่างน้อยหนึ่งคนที่รู้สึกเหมือนกัน
.
เพราะความ ภูมิใจจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม และ แสดงออกให้เห็นถึงความภาคภูมิใจนั้นผ่านการกระทำ เช่น ขยันเรียน ขยันทำงานอย่างซื้อสัตย์ต่อวิชาชีพ อย่างตรงไปตรงมา
.
หากไม่มีความภูมิใจ กันก็จะแสดงออกเช่นกัน เช่น ขี้เกียจเรียน ไม่ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ ชอบทางลัด เอาง่ายว่า มองเฉพาะที่เป็นประโยชน์ส่วนตน นำไปสู่พฤติกรรม cheating ต่อไป
.
ช่างซ่อมรถที่ไม่ภูมิในใจอาชีพ ก็จำยำรถของลูกค้าที่มาใช้บริการ แอบเปลี่ยนอะไหล่เทียมใส่ ใช้ของคุณภาพต่ำกว่าตกลง วางยา นั่นคือการ cheating
.
แท๊กซี่ ที่ไม่ภูมิใจในอาชีพ ก็จะคิดมิเตอร์เกินจริง โมดิไฟมิเตอร์ให้ขึ้นเร็วๆ โกงลูกค้าต่างชาติ ไม่รับลูกค้าหน้าไทยๆ อ้างว่าส่งรถ อ้างว่าเติมแก๊ซ เหล่านี้คือการ cheating
.
แม้ค้าขายอาหารที่ไม่ภูมิใจในอาชีพ ก็จะใช้อาหารเก่า ที่ขายเหลือจากเมื่อวาน หรือหลายวันก่อน มาขายซ้ำ ใช้วัตถุดิบที่ไม่สะอาด ไม่ปลอดภัย ในการปรุงขาย นี่ก็ cheating
.
ช่างรับเหมาที่ไม่ภูมิใจในอาชีพ รับเงินแล้วทิ้งงาน เห็นบ่อย นี่ก็ cheating
.
ส่วน Mega cheating นั่นก็ดูได้จาก ข่าวการคอรัปชั่น ของนักการเมืองบางคนในบ้านเรา
.
การ Cheating จึงมีอยู่ทุกอาชีพ และ ทั่วโลก ซึ่งมักเกิดขึ้นกับคนที่ไม่รัก และ ไม่ภูมิใจในอาชีพที่ทำ
.
ดังนั้นความภูมิใจจึงมีความสำคัญในการเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม ว่าจะทำเรื่องดีๆ หรือ เรื่องไม่ดี
.
“ภูมิใจ” มาจากคำว่า “ภูมิ” คือ "ที่อยู่" และคำว่า “ใจ” ก็คือ “จิตใจ”
.
“ภูมิใจ” จึงแปลตรงตัวได้ว่า “ที่อยู่ของใจ” ซึ่งที่ที่ใจของแต่ละคนชอบอยู่ย่อมไม่เหมือนกันเพราะการให้ค่าในแต่ละสิ่งที่ไม่เหมือนกัน
.
คนชอบฟังเพลง เครื่องเสียงแพงเท่าไหร่ก็ซื้อ และสามารถนั่งฟังได้ทั้งวัน เพราะใจชอบไปวางอยู่ในเสียงเพลง
.
คนชอบกิน แพงเท่าไหร่ก็กิน ได้กินทุกวัน เพราะใจไปวางอยู่ในของกิน
.
คนชอบรถ แต่งหมดเท่าไหร่ก็ยอม ขอให้ได้ขับรถในฝัน เพราะใจชอบไปวางอยู่ในรถ
.
คนชอบพนัน หมดไร่หมดนา ก็ยอมให้หมด เพราะเอาใจไปวางใว้ในการพนัน
.
คนๆหนึ่งจึงมีมากมายหลายสิ่งในชีวิต “ที่อยากเอาใจไปวาง” เหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้าง อยู่ที่การให้ราคาในแต่ละสิ่ง ซึ่งมีทั้งที่ดีและที่ไม่ดี
.
เมื่อจิตเกิด กายก็จะสร้างสภาพแวดล้อมให้จิตอยู่สบาย ด้วยการสร้างกรรมขึ้นมา ทั้งทาง กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
.
ถ้า “ภูมิของจิต” เป็นบวก ก็จะคิด ทำ พูด ในเรื่องดีๆ
.
ถ้า “ภูมิของจิต” เป็นลบ ก็จะ คิด ทำ พูด ในเรื่องชั่วๆ
.
“ใจ”จึงเป็น “นาย” “กาย” จึงเป็น“บ่าว” โบราณว่า
.
สำหรับผม สิ่งที่เป็น “ภูมิ” ของใจอยู่หลายเรื่อง แต่เรื่องที่ผมภูมิใจมากที่สุด ก็คงจะเป็น การได้เดินทางชีวิตในวิชาชีพทัศนมาตร
.
วันนี้ผมจึงอยากจะเขียนเรื่อง “ความภูมใจในวิชาชีพทัศนมาตร”
.
งานเขียนนี้ ให้ถือว่าเป็นงานเขียนเชิง “วรรณศิลป์” ที่เป็นมุมมองส่วนตัวของผม ที่มองโลกแล้วรู้สึกเกิดขึ้นในจิต แล้วอยากเล่าผ่านตัวหนังสือ ให้กับแฟนคอลัมน์ได้ฟัง
.
ถ้าต้องผู้อ่านต้องการเนื้อหาวิชาการ แนะนำให้หยุดแค่นี้ จะได้ไม่เสียเวลา
.
ถ้าอยากได้ inspire บางอย่าง อยากให้คุณอ่านต่อให้จบ (ซึ่งอาจจะได้..หรือไม่ได้..ผมไม่การันตี)
.
.
ผมเป็นคนหนึ่งในหลายๆคน เช่น ดร.แจ๊ค ดร.เดียร์ เป็นต้น ที่ภาคภูมิใจในวิชาชีพที่ทำอยู่คือ “วิชาชีพทัศนมาตร”
ผมภูมิใจโดยสดุดี โดยไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยในวิชาชีพที่ทำอยู่
.
ผมแสดงออกถึงความภาคภูมิใจ ด้วยการทำงานอย่างเต็มความสามารถอย่างที่ทัศนมาตรควรทำ อ่านศึกษาตำราเพิ่มเติมเมื่อมีเวลา และ เขียนบทความให้ความรู้เมื่อมีอารมณ์ และผมเป็นอย่างนี้ตั้งแต่สมัยเรียน Optometry จนทำงานเป็น lens consultant ให้ Rodenstock และ ออกมาทำ Loft Optometry
.
ทุกย่างก้าวของการทำงานล้วนทำไปด้วยในความรักและอยากทนุถนอมวิชาชีพให้เติบโตแข็งแรงและสวยงามยิ่งๆขึ้นไป
.
ส่วนใครจะมองว่าวิชาชีพนี้เป็น "เหมืองทอง" ก็สุดแท้แต่เขา คงห้ามกันไม่ได้เพราะหลายคนยังแยกไม่ออกระหว่าง “คุณค่า” กับ “ราคา” หรือ “Value” กับ “Price” และไปเข้าใจว่าเป็นสิ่งเดียวกัน
.
เกิด mindset ขึ้นมาว่า "ขายดีแปลว่าดี" "ขายดีแปลว่าประสบความสำเร็จ" แล้วยึด Price ว่าเป็น goal ของตัวเอง ว่าต้องขายให้ได้มากๆ จึงนำไปสู่การทำทุกวิถีทางโดยไม่สนใจสภาพแวดล้อม คนรอบข้าง หรือ ผู้มารับบริการว่าจะได้รับผลกระทบอย่างไร
.
สนเพียงว่า “ยอดขาย” จาก Volum เพื่อจะนำไปสู่ price เอามาโถมเพื่อเติมเต็มความพร่องของใจ ซึ่งโถมเท่าไหร่ก็ไม่มีทางเต็ม เพราะความหิวโหยที่เกิดจากกิเลสคือความโลภนั้นกินเท่าไหร่ก็ไม่เคยอิ่ม
.
แต่กลับมี "มิจฉาทิฎฐิ" มองว่า “คุณค่า” หรือ “value” ว่าเป็นของที่กินไม่ได้และเป็นเพียงมายาอุดมคติซึ่งไม่มีอยู่จริง แล้วเหน็บแนมว่า “Value กินไม่ได้ แต่ Money สิกินได้”
.
ซึ่งก็จริงในมุมของคนที่มีเงินเป็นที่อยู่ของใจ หรือ “ภูมิใจในเงิน”
.
บางครั้ง price กับ value ก็คล้ายกันมาก เช่น ทองคำ ซึ่งคนอาจทั้งมองว่ามันมีทั้ง price และ value
.
แต่ถ้าจะให้เข้าใจเรื่องนี้ คงต้อง "เอาทองคำไปทำดอกไม้" เกิดเป็น "ดอกไม้ทองคำ" พอเรียกชื่อย่อให้สั้นลง กลายเป็นคำด่า เพราะหมายถึง เป็นคนที่มีแต่คนอยากจะได้ อยากจะเอา เพราะมีราคา แต่ไม่มีคุณค่าอะไร นี่คือคำด่าที่แยบยลของคนโบราณที่เข้าใจเรื่อง price กับ value มาตั้งแต่โบราณกาลนานมาแล้ว
.
ต่างจากดอกไม้จริง แม้ไม่ได้มีราคาเท่ากับดอกไม้ทองคำ แต่ก็มีคุณค่าต่อจิตใจ
.
ดอกบัวไหว้พระ
.
ดอกมะลิสดร้อยพวงมาลัยกราบแม่หรือไหว้ผู้ใหญ่
.
ดอกกุหลาบช่อโตสดๆให้คนรักในวันวาเลนไทน์
.
ดอกไม้สดๆสวยๆหอมๆ ให้คนป่วยในโรงพยาบาลเป็นกำลังใจให้สดชื่นหายป่วย
.
หรือแม้แต่ดอกหญ้าดอกเดียว ก็ยังทำให้ คู่รักที่กำลังโกรธกันอยู่นั้น หายโกรธได้ในพริบตา
.
นี่คือของบางสิ่ง มี value มาก แต่ price อาจะไม่สูงมากก็ได้
.
เรื่องนี้ไม่มีใครถูกหรือใครผิด เพราะ ถูกผิดนั้นอยู่ที่บริบทของผู้มอง ซึ่งเป็น “ภูมิของใจ”
.
ถ้ามองในมุมนักธุรกิจ ก็คงจะสนใจเพียง ตัวเลข อะไรก็ได้ที่ทำให้ตัวเลขเป็นบวกเยอะๆแปลว่าดี ติดลบแปลว่าไม่ดี ขนาดติดลบกำไรยังไม่ดีเลย
.
ถ้ามองในมุมของศิลปิน ก็คงจะสนใจเพียง อารมณ์และความรู้สึก ติดลบก็ไม่ได้สนใจว่าจะขายได้หรือไม่ได้ ขายถูกหรือขายแพง ขอเพียงให้ได้ทำงานศิลปะที่ชอบ
.
ถ้ามองในมุมของนักเดินทาง ก็คงจะสนใจเพียงแค่ ประสบการณ์ใหม่ที่ได้จากการเดินทางค้นหาโลกกว้าง ก็ดีมากพอ
.
ผมมีเพื่อนนักเดินทาง ที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ ในการหาประสบการณ์จากการเดินป่า ทั้งผืนแผ่นดินไทยและทำงานเพื่อนำไปเป็นปัจจัยในการเดินทาง
.
ผมเชื่อว่าเขาเป็นคนมีกำไรชีวิตเยอะกว่าเศรษฐีหลายคนรวมถึงผม(ซึ่งไม่ใช่เศรษฐี)ด้วย
.
เรื่องป่าลึกๆ ทุกแห่งในประเทศไทย ผมเชื่อว่าเพื่อนคนนี้ ไปมาน่าจะเกือบหมดแล้ว
.
ใช้ชีวิตคุ้มขนาดนี้ ตายไปก็ไม่เสียดาย
เขาคือ “ปัณณวิช คิดว่อง” (หม่อม ถนัดดอย) เพื่อนผมสมัยเรียน มัธยมต้น ที่ ร.ร.บางบัวทอง นั่นเอง ลองไปส่องชีวิตเขาดู ผมก็ไม่รู้ว่าเพื่อนคนนี้เขามีความทุกข์บ้างหรือเปล่า (ขออนุญาตเพื่อนด้วย)
.
และผมไม่มั่นใจว่า ถ้าจะเอาเงินไปกองให้เพื่อนคนนี้อยู่ในห้องสี่เหลี่ยม ตนโต๊ะแคบๆ เขาจะยอมแลกกับชีวิตเขาหรือเปล่า
.
ดังนั้นศิลปินกับนักเดินทาง จึงอาจเข้าใจกันและกันได้ แต่อาจไม่เข้าใจนักธุรกิจว่าทำไปทำไมให้ทุกข์ ทำไปทำไมให้เหนื่อย เพราะสลึงเดียวตายก็เอาไปไม่ได้
.
ทำงานทั้งชีวิต กะแก่แล้วสบาย แต่ได้ไปสบายก่อนแก่ เพราะคนเมาขับรถชนตาย อย่างนี้ก็มี เส้นเลือดในสมองแตกก็มี หัวใจล้มเหลวก็มี ไม่มีใครรู้
.
แล้วทำไมไม่สุขเสียตั้งแต่วันนี้
.
นักธุรกิจ ก็คงมองว่า ศิลปิน กับ นักเดินทาง เป็นพวกบ้า ใช้เวลาไร้สาระ ไร้ประโยชน์
.
การเดินในแต่ละเส้นทางจึงเป็นการมองโลกหรือการให้คุณค่าในบริบทของตน หรือ ที่ตั้งของความภูมิใจของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทำให้พฤติกรรม หรือ การกระทำของแต่ละคนนั้นไม่ต่างกัน
.
แต่นั่นเป็นเรื่องของ นักธุรกิจ นักเดินทาง และ ศิลปิน
.
.
เป็นนักธุรกิจ ที่ไม่สนใจอะไรมากไปกว่า ตัวเลขของผลประกอบการ ขังตัวเองอยู่ในห้องสี่เหลี่ยม ทำงาน 24 ชม. สัปดาห์ละ 7 วัน และมองศิลปินเป็นพวกเพ้อฝัน มองนักเดินทางเป็นพวกไร้สาระ เสียเวลาสิ้นดี
.
เป็นนักเดินทาง ที่พอมี พอกิน พอใช้ ให้เวลาส่วนใหญ่กับการหาประสบการณ์ใหม่ๆของโลกกว้าง แล้ว enjoy กับชีวิตที่พ่อแม่ให้มาซะ ชีวิตมีอะไรให้เรียนรู้เยอะแยะ
.
เป็นศิลปิน ที่ดื่มด่ำอยู่กับการประกอบโรคศิลปะของศาสตร์ทัศนมาตร เสพสุขที่เกิดขึ้นจากคำขอบคุณของคนไข้ที่ชื่นชมผลงานศิลปะจากการแก้ไขปัญหาสายตาให้กับเขา แล้วนำความสุขไปเป็น passion ในการสร้างงานศิลปะชิ้นต่อไป
.
เมื่อนักธุรกิจมองเห็นป่าดงดิบ เขาจะคิดว่า จะถากถางอย่างไร เพื่อการเพาะปลูก แล้วขายให้ได้ราคา โดยไม่ต้องไปสนว่า ธรรมชาติจะอยู่กันอย่างไร เอาแค่ฉันกับครอบครัวฉันอิ่มเป็นพอ ครอบครัวลิง ค่าง บ่าง ชะนี ก็ช่างมัน
เหมือนในหนังเรื่อง Avatar เพราะเขาเชื่อว่า ทรัพยากรจักรวาลต้องเป็นของมนุษย์ ทุกสิ่งต้องเป็นของเขาและต้องยึดทรัพยากรจักรวาลมาเป็นของตน
.
เพราะนักธุรกิจสนใจแค่แร่ Unobtainium กิโลกรัมละ 20 ล้านเหรียญ/กิโลกรัม โดยไม่สนว่า วิถีของชนเผ่านาวี บนดาว แพนโดรา จะมีวิถีความสัมพันธ์ของธรรมชาติอย่างลึกซึ้งอย่างไร
.
แต่เมื่อศิลปิน มองเห็นป่า เขาคิดว่าจะคงรักษาผื่นป่าให้เป็นที่อยู่ของสิงสาราสัตว์ต่อไปให้นานเท่านานได้อย่างไร เพราะเขาเชื่อในความหลักหลายของชีวภาพแบบ Diversity เหมือน ดร.เกรซ ในหนัง Avatar
.
ซึ่งทุกคนมีสิทธิ์เลือกที่จะเป็นอะไรก็ได้
.
.
เพราะภูมิซึ่งเป็นที่พักของใจของผมนั้นอยู่ที่การสร้างคุณค่า สร้างศิลปะให้กับงานทัศนมาตร ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อคนไข้ต่อตัวเองและแก่วิชาชีพโดยรวม และความสุขผมก็อยู่ที่นี่
.
ที่ลอฟท์ ออพโตเมทรี
.
เพื่อจรรโลกโลกของวิชาชีพที่ถูกทำร้ายจนเศร้าหมอง ให้กลับมามีชีวิต สดใสขึ้นมาอีกครั้ง
.
เกินไหมหรือเปล่าที่ว่าวิชาชีพถูกทำจนเศร้ามอง
.
เรื่องนี้ผมคงไม่ตอบ แต่จะขอถามกลับว่า ท่านเองรู้สึกอย่างไร หรือ คิดว่า คนไทยส่วนใหญ่ รู้สึกอย่างไรกับคำว่า
.
.
ผมเชื่อว่า คนส่วนใหญ่รู้สึก Negative
.
.
ทั้งๆที่ทุกคนมีปัญหาสายตา
.
ทั้งๆที่ทุกคนต้องการแว่นตา (เมื่อถึงวัยหนึ่ง) ทั้งๆที่ทุกคนอยากได้แว่นตา เพื่อใส่ให้ชัด มองโลกสวย ใส่กันแดด หรือแม้แต่ใส่เอาเท่
.
แต่เราก็ “อคติ” กับคำว่า "แว่นตา" หรือรู้สึกว่าเป็นคำที่ negative ทำไม ???
.
เพราะมันมีคนทำมันจนเสีย ทำจนไม่มีคุณค่า ทำจนมันไม่เหลือราคาให้ภาคภูมิใจ คำนั้นคือ
.
.
และเป็นการลดแบบ “อะกาลิโก” คือ ลดได้ไม่จำกัดกาล หรือ จำกัดเทศกาล
.
ลดวันพ่อ ลดวันแม่ ลดวันพระ ลดวันเข้าพรรษา ลดวันโกน
.
ลด(แม่ม)ทุกวัน !
.
ประหนึ่งว่าเป็นคนจิตใจดี แต่ทุกคนก็รู้ว่าจุดประสงค์แท้จริงนั้นคือสิ่งใด
.
เพราะเท็จจริงแล้วจะ ซื้อเมื่อไหร่ก็ได้ราคานี้แหล่ะ
.
กลายเป็นธุรกิจแว่น เป็นธุรกิจที่ไม่มีความจริงใจ โกหกพกลม
.
กลายเป็นธุรกิจเกษตรกรรม คือ “ธุรกิจเลี้ยงแกะ”
.
นี่คือเหตุของ negative feeling ที่เกิดขึ้นกับคำว่า “ธุรกิจแว่นตา”
.
จึงไม่แปลกใจที่ พ่อแม่ผู้ปกครองญาติพี่น้องรวมถึงเพื่อนๆผมทุกคน ไม่มีใครเห็นด้วยกับการที่ผมเข้ามาเรียนทัศนมาตร เพราะเขาไม่เข้าใจว่าทัศนมาตรคืออะไร เข้าใจผิดไปว่า ทัศนมาตร เรียนจบออกมาขายแว่น
.
สรุปว่ามันพังจาก “นักธุรกิจ” ที่ไม่สนใจอะไรมากไปกว่า ตัวเลข และ ยอมพังทุกอย่างเพื่อให้ตัวเลขให้ตัวเองมียอดเข้าเป้า
.
ขวางทุกเรื่อง แม้แต่เรื่องดีงาม เช่นการมีกฎหมายที่จะให้ประชนได้รับบริการที่ดี โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสายตาจริงๆ
.
ด้วยเหตุนี้ ผมถึงเลือกทางของศิลปิน
.
แม้รู้ว่าทางนี้นั้นไส้แห้งเพราะใครๆก็รู้ว่า "ศิลปิน...(ส่วนใหญ่) ไส้แห้ง"
.
แต่ความสุขใจ...ไม่มีใครเกินศิลปิน
.
เพราะสุขจากการมองโลกเชิงสร้างสรรค์และอยากจะช่วยแต่งเติมสีสันให้กับโลกให้สวยงามกว่าที่เป็น
.
แม้ว่า งานของทัศนมาตร จะต้องมีเรื่องบางส่วนที่ไปเกี่ยวข้องกับคำว่า “แว่น” ซึ่งเป็นคำที่เสียไปแล้ว
.
แต่เนื้อแท้นั้นไม่เหมือนกัน เพราะการขายแว่น กับ การจ่ายค่าสายตานั้นไม่เหมือนกัน
.
แว่นก็คือวัตุถุชิ้นหนึ่ง แต่การจ่ายค่าสายตาเป็นงานศิลปะ คุณค่ามันจึงต่างกัน เห็นโลกสวยงามต่างกัน แม้จะเรียกว่า “แว่น” เหมือนกันก็ตาม
.
ผมจึงมีความภาคภูมิใจในงานทัศนมาตรที่ทำนี้อยู่ทุกวัน แม้คนส่วนใหญ่จะยังไม่เข้าใจก็ตาม
.
ผมคิดเสมอว่า “Loft Optometry,Not Just place for shopping eyewear, but visual problem discovering place to treat any visual problem with best solution and reasonable with out cheating promotion”
.
.
เมื่องานประชุมวิชาการสามัญทัศนมาตรประจำปี 2018 มีกวีชุดหนึ่ง ที่ดอกเตอร์ท่านหนึ่งซึ่งมาเป็นวิทยาการ ฉายขึ้นไปบนสไลด์
.
เป็นประโยคสั้นๆ แต่ทำให้ผมมองเห็นตัวเองได้ชัดเจนมากขึ้น
.
แม้ความจริงเราก็เข้าใจสิ่งที่ตัวเองทำอยู่แล้ว แต่ไม่รู้จะขมวดหรือสรุปให้คนทั่วไปฟังได้อย่างไร ว่าวิชาชีพทัศนมาตรต่างจากวิชาชีพหมอทั่วไปอย่างไร
.
เขาเขียนว่า
แปลความได้ว่า
.
เหตุผลเพียงพอที่ทำให้ฉันภูมิใจ (ในวิชาชีพทัศนมาตร)
.
ผู้เชี่ยวชาญด้านสายตาคือ Optometrist ขณะที่ Ophthalmologist คือหมอรักษาตา (eye MDs)
.
ในบางครั้ง เมื่อคนๆหนึ่งต้องการรักษาพยาธิที่เกิดขึ้นที่ดวงตาจะปรารถนา Ophthalmologist แต่จะปรารถนา Optometrist เพื่อแก้ปัญหาสายตาและระบบการมองเห็น
.
Ophthalmologist รักษาด้วยยาและการผ่าตัด เพื่อให้การมองเห็นนั้นกลับมา (to restore vision) ขณะที่ Optometrist รักษาและแก้ปัญหาสายตาให้ถูกต้องเพื่อให้เกิดความคมชัดและเค้นประสิทธิภาพการมองเห็นให้ทำงานสมบูรณ์สูงสุด (to Enhance vision)
.
ฉันคือ Optometrist ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการมองเห็น และด้วยเหตุเหล่านี้ ก็เพียงพอที่ฉันจะภาคภูมิใจในทัศนมาตร"
.
ผู้ประพันธ์ -Dr.Charlie
.
ผมอ่านเสร็จ..ถึงกับขนลุก มันเหมือนคนที่กำลังหานิยามให้ตัวเองอยู่ ว่าจะสื่อสารอย่างไรให้คนเข้าใจทัศนมาตร อย่างสั้น กระชับ และครอบคลุม
.
กวี..นี้เขียนออกมาได้ชัด สรุปได้ดี สั้น เข้าใจได้ง่าย เข้าใจถึงความจำเป็นในการที่จะต้องมี Optometrist และ Ophthalmologist ในการทำงานร่วมกัน ในการช่วยกันดูแลสุขภาพตาของประชาชนนั้นดีทั้งในเรื่องของสุขภาพและระบบการมองเห็น
.
มีบทความโดย David A. Goss, O.D., Ph.D. ที่เขียนเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างหน้าที่การทำงานของ Optometrist และ Ophthalmologist ซึ่งสรุปได้ดีเช่นกัน คร่าวๆว่า
.
จุดเริ่มต้นของวิชาชีพ ทั้งหมอทัศนมาตร และ หมอทั่วไปนั้น มีพื้นฐานของการเริ่มต้นและมีวิวัฒนาการของวิชาชีพบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ที่ต่างกัน
.
ทัศนมาตร (optometry) เริ่มจาก วิทยาศาสตร์เชิงแสง (optical science) ,สันนิษฐานว่าเริ่มจากคนที่ทำงานเกี่ยวกับ Jewery เนื่องจากช่างเจียร์เครื่องประดับมีอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำแว่นตา
.
แพทย์ (medicine) เริ่มจาก วิทยาศาสตร์เชิงชีวภาพ ( Biological Science) สันนิษฐานว่าเริ่มต้นวิชาชีพจาก ช่างตัดผม เนื่องจากมีอุปกรณ์พื้นฐานเบื้องต้นที่สามารถผ่าตัดได้
.
ทัศนมาตร เชี่ยวชาญเรื่องฟิสิกส์เกี่ยวกับแสง (optical science) ,การหักเหของแสง(refraction) ,วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น(vision science),ปัญหาการทำงานร่วมกันของสองตาที่ไม่ใช่ตาเหล่(non-strabismus binocular anomalies) และปัญหาการทำงานของระบบการเพ่งของเลนส์ตา(accommodation system)
.
มีปริญญาสูงสุดเป็นของตัวเองคือ Doctor of Optometry,ODs
.
แพทย์ เชี่ยวชาญเรื่องกายภาพ(anatomy) การผ่าตัด(surgery) ระบบการทำงานของร่างกาย(physiology) ยา(drug) พยาธิสภาพ(Disease)
.
มีปริญญาสูงสุดเป็นของตัวเองคือ Doctor of Medicine ,MDs
.
กฎหมายทัศนมาตรในอเมริกานั้นมีมานานกว่า150ปี
ปัจจุบัน Optometrist ในอเมริกา จึงมีกฎหมายรองรับและสามารถจ่ายยารักษาโรคตาเบื้องต้นได้
.
อเมริกานั้นเป็นประเทศที่มีเนื้อที่ใหญ่มีประชากรมาก และกระจายอยู่ตามรัฐต่างๆ แต่ละรัฐนั้นก็กว้าง ในการเดินทางระหว่างรัฐกับรัฐนั้นต้องใช้เวลานานมาก
.
ในการกระจายตัวของ Optometrist ไปตามเมืองเล็กๆนั้นทำได้ง่ายกว่า Ophthalmologist เนื่องจากอุปกรณ์ในการทำงานของ Optometrist นั้นเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่สามารถหามาได้ง่ายกว่า
.
ในขณะที่ Ophthalmologist ต้องการห้องผ่าตัด ต้องการเครื่องมือที่มีขนาดใหญ่ ทำให้การกระจายนั้นตกหดอยู่เฉพาะในตัวเมือง ในขณะที่เคสผ่าตัดใหญ่ๆกับมาไม่มากเท่ากับเคสโรคง่ายๆพื้นฐาน
.
ดังนั้นในการส่งต่อคนไข้ที่มีโรคตาเล็กน้อย ไปเมืองใหญ่ๆนั้นเป็นเรื่องที่ต้องเสียเวลา และเสียทรัพยากรมาก และบางครั้งก็ดูแลไม่ทัน หรือดูละเอียดไม่ได้ เนื่องจากจำนวนคนไข้ที่เป็นโรคตาแดง หรือติดเชื้อเล็กน้อยนั้น มีผสมอยู่มาก ทำให้คนที่เป็นโรคหนักๆนั้น บางครั้งหลุดจากการวินิจฉัย หรือต้องไปซ้ำบ่อยๆ กว่าจะเจอความผิดปกติที่แท้จริง และบางครั้งก็รักษาไม่ทัน เพราะการเดินทางที่ลำบาก ทำให้ประชาชนเพิกเฉยที่จะรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ
.
Optometrist นั้นใช้เวลา 6 ปี ตั้งแต่เรียน basic science ในช่วงปีแรก pre-optometry ในปีที่ 2 และ optometry science ในปีที่ 3-5 และ intern/extern clinic ในปีที่ 5-6 ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกายภาพของดวงตาและพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นกับดวงตา สามารถใช้เครื่องมือพื้นฐานในการตรวจวินิจฉัยโรคตาได้อย่าง Slitlamp , ,Ophthalmoscope ได้ดีกว่าหมอ General Practice ,GP MDs ทำให้ Optometrist เริ่มสนใจที่จะรักษาโรคเกี่ยวกับดวงตาด้วยยา และนำไปสู่การพัฒนาวิชาชีพจนมีกฎหมายรองรับในการจ่ายยาเพื่อรักษาโรคตาได้ในปัจจุบัน
.
นั่นคือเรื่องราว Optometrist ที่เกิดขึ้นในอเมริกา ซึ่งสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากลิ้งที่แนบมา เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทัศนมาตรในอเมริกา http://www.opt.indiana.edu/people/faculty/graphics/goss/opthx.pdf
.
แต่ละอาชีพนั้น expert เฉพาะเรื่องที่แตกต่างกันไป ไม่เหมือนกัน คล้ายกับนักดนตรีที่เชี่ยวชาญเครื่องดนตรีไม่เหมือนกัน ต้องมาเล่นพร้อมๆกัน เสียงเพลงที่ออกมาจึงจะมีความไพเราะและมีพลัง
.
เราจะทนฟังเฉพาะเสียงกลองอย่างเดียว เฉพาะเสียงกีตาร์อย่างเดียว หรือเฉพาะเสียงนักร้องเพียงอย่างเดียว ได้นานแค่ไหนเชียว
.
ตรงกันข้าม เรารู้สึกว่าเวลาช่างผ่านไปเร็วเหลือเกินเมื่อได้ฟังดนตรีคุณภาพที่เล่นพร้อมกันทั้งวง และคงทิ้งไว้ซึ่งความสุขและความบันเทิงใจให้กับผู้ที่มาฟัง
.
เชื่อเถิดว่า เป็ดนั้น แม้จะทำได้ทุกอย่าง แต่ ไม่สามารถบินได้อย่างนก ว่ายน้ำได้อย่างปลา หรือวิ่งได้เหมือนม้า คนเราจะ prefect ทุกเรื่องนั้น เป็นไปได้ยาก
.
ปิดท้ายด้วยกฎหมายทัศนมาตร ในประเทศไทย ที่ไม่รู้จะออกมาอย่างไร แต่ผมมีความคิดเห็นว่า
.
ดาบอายาสิทธิ์ ก็คงอยู่ที่ผู้ใช้ดาบว่าจะนำไปใช้ได้ถูกต้องแค่ไหน เพราะถ้าใช้ไม่เป็นก็อาจเป็นภัยกับตัวได้หรือได้อานุภาพเพียงแค่ดาบไม้ไผ่
.
วันนี้ optometrist ยังไม่ได้ดาบอายาสิทธิ์อันนั้น ก็ใช้ดาบที่ได้มาจากโรงเรียน ให้ฉลาด หลักแหลม สงบ มีสมาธิ เหมือนซามูไร มูซาชิ แค่นี้ก็ดีมากพอ ดาบพื้นฐานก็อาจจะมีอิทธิฤทธิ์ไม่แพ้ดาบอายาสิทธิ์ก็ได้
.
ท้ายสุด
.
ชีวิตเป็นของทุกคน มีอิสระเสรีในทางที่จะเลือกเดิน ก็ขึ้นอยู่กับจริตนั้นชอบแนวไหน
.
คุณค่า หรือ ราคา
.
คุณภาพ หรือ ปริมาณ
.
ดื่มด่ำกับสุนทรียะ ในการสร้าง value ให้กับตน สังคม และเพื่อนร่วมโลก
.
หรือเพลิดเพลินกับกลเกมส์ทางการตลาด เพื่อตัวเลขผลประกอบการ
.
กระเพาะที่อิ่มแน่นจนจุกท้อง ก็ไม่มีค่าอะไรถ้าไม่อร่อยในรสอาหาร บางครั้งยังรู้สึกเสียดายความหิว
.
อาหารอร่อยเพียงเล็กน้อย แม้ไม่อาจอิ่มท้อง แต่อาจอิ่มอกอิ่มใจไปนานแสนนาน
.
ปริมาณไม่ได้บอกอะไร คุณภาพต่างหากที่เป็นตัวบอก
.
จำนวนประชาการไม่ได้บอกอะไร คุณภาพประชากรต่างหากที่บอก
.
ไม่ว่าเธอจะเลือกเดินในทางใด ก็ขอให้สิ่งหนึ่งมีในหัวใจคือ วิชาชีพ และ เพื่อนร่วมวิชาชีพ
.
หากไม่มีวิชาชีพ เธอย่อมไม่มีตัวตนเช่นกัน
.
การทำลายวิชาชีพก็เหมือนกับการทำลายบ้านตัวเอง
.
แต่ถ้าเธอไม่รักวิชาชีพ ไม่ใช่ว่าเธอมีสิทธิ์จะทำลายมัน
.
เพราะวิชาชีพ ไม่ใชของเธอคนเดียว
.
ช่วยกัน
.
.
หากคำพูดใดฟังแล้วระคายเคืองหู ก็ขอให้คิดว่า เป็นเพียงมุมความคิดหนึ่งเล็กๆเท่านั้นพอ
.
แต่หากว่ามุมความคิดนี้ สามารถเข้าไปกระตุกหัวใจของใครบางคนได้ ผมก็รู้สึกดีใจ