ก่อนอื่นต้องขออภัยสำหรับท่านที่คาดว่าจะได้ยินผมพูดถึงสรรพคุณของเลนส์ blue cut หรือ blue control สำหรับตัดหรือกรองแสงสีน้ำเงินในหน้าจอของอุปกรณ์ดิจิทัลเพราะข้อมูลเหล่านี้คงหาได้ไม่ยากในสื่อโซเชียลหรือโฆษณาต่างๆบนหน้าต่าง Facebook ซึ่งก็เป็นเรื่องดี เพราะอย่างน้อยผลิตภัณฑ์ตัดแสงสีน้ำเงินเหล่านี้อาจทำให้ผู้ใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัลเหล่านี้ได้ตระหนักถึงสิ่งที่อาจเป็นภัยจากหน้าจอมือถือบ้าง ซึ่งอาจจะจริงหรือไม่จริง ก็ยังไม่มีรายงานที่ชัดเจน แต่อย่างน้อยก็ทำให้มีความคิดที่จะละสายตาจากหน้าจอไปทำอย่างอื่นบ้าง ผู้ใหญ่ก็สนทนาปราศัยกับเพื่อนข้างๆกันบ้าง หรือ เด็กๆก็มีกิจกรรมกลางแจ้งกับเพื่อนบ้าง มีความระแวดระวังภัยจากสิ่งรอบตัวบ้าง อย่างน้อยที่สุดให้ได้ concern ถึงผลของมันบ้างก็ยังดี
การเกิดขึ้นมาของ digital devices ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์บำรุงดวงตาตามมากันเป็นขโยง จริงบ้างไม่จริงบ้าง มโนบ้าง อุปทานบ้าง เพราความกลัวนั้นสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งของบางอย่างแม้จะดูไม่น่าจะมีค่าได้เสมอเช่นเครื่องรางของขลังเป็นต้น ดังเราจะเห็นมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับ “การทำนุบำรุงดวงตา” เกิดขึ้นมากมายใน “ตลาดเฟสบุ๊ค” และตลาดเลนส์ blue cut ก็เป็นหนึ่งในนั้นที่ได้ “อานิสงค์” ไปเต็มๆจาก ditigal disruption ที่ทุกคนต่างมีโลกอีกใบอยู่บนมือคือ digital device ไม่ว่าจะเป็น ไอโฟน ไอแพด ไอแมค แอปเปิ้ลวอช หัวเหว่ย เสี่ยวมี่ อื่นๆ และชีวิตส่วนใหญ่ของบางคนนอกจากเวลานอนแล้ว ก็ดำรงและเลี้ยงชีพอยู่ในนั้นอีกวันละมากกว่า10 ชั่วโมงต่อวัน บางคนนั้นใช้ชีวิตบนโลกดิจิทัลมากกว่าชีวิตจริงเสียอีก
ทีนี้ เมื่อจะใช้ตาดูหน้าจอมือถือกันขนาดนี้ ก็ต้องมีความเป็นห่วงว่าจะกระทบอะไรกับดวงตาบ้างไหมแล้วงานศึกษาวิจัยปัจจุบันเขาเห็นอะไรบ้างนอกจาก blue light และเรื่องนี้เป็นเรื่องระดับโลกเพราะเป็นกันทั้งโลก รวมถึงองค์การอนามัยโลกก็ออกมาแสดงความกังวลกับเรื่องนี้ โดยเฉพาะกับเด็กๆที่ติดมือถือกันเหลือเกิน ว่าจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเรียนรู้ของดวงตาและสมองอย่างไร
ระหว่างที่ผมกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับ digital device ที่ส่งผลกระทบกับดวงตาที่ไม่เกี่ยวกับแสงสีน้ำเงินนั้น ผมก็ได้เป็นเห็นบทความหนึ่งที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้และเขียนในมุมที่ผมต้องการจะนำเสนอพอดี ซึ่งไม่ได้พูดถึงแสงสีน้ำเงินเลย และผมก็อยากเห็นปัญหาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือจอมือถือในมุมอื่นบ้าง พอได้เจอบทความเรื่องนี้ก็เลยนำมาเขียนแปลให้แฟนเพจได้ฟังว่า ว่าในประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นเขาก็ concern ถึงผลกระทบ digital device ต่อสายตาเช่นเดียวกัน แต่ในมุมที่มีความเป็นคลินิกมากว่าที่จะนำมาเล่น gimmick marketing กับแสงสีนำ้เงินอย่างในบ้านเรา(ซึ่งกำลังพัฒนาอยู่)
รายงานนี้ เป็นงานรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของ digital device ต่อสุขภาพตาและปัญหาของระบบการมองเห็น ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Experimental Optometry, Wiley Publishing, 2019, Early Print.13 © 2019 Optometry Australia
ที่มาของเรื่องการศึกษานี้เกิดจากพ่อแม่ผู้ปกครอง(ในประเทศออสเตรเลีย) เมื่อเข้าไปรับบริการกับทัศนมาตร (optometrist) ก็มักจะถามทัศนมาตรบ่อยๆเกี่ยวกับ ระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะให้เด็กวัยก่อนเข้าเรียน (pre-school) นั้นเล่น iPad หรือการใช้งาน smart phone ที่เด็กวัยรุ่นนั้นติดกันมาก เพราะผู้ปกครองเกรงว่าจะส่งผลกระทบหรือสร้างอันตรายกับดวงตาหรือแม้แต่ผู้ใหญ่เองก็มักจะถามมาบ่อยๆเหมือนกันว่า ทำไมถึงรู้สึกเจ็บตา (sore eye) ตาแดง(red eye) หรือ ปวดศีรษะ (Headace) หลังจากทำงานหน้าจอมคอมพิวเตอร์ 8-10 ชม.
ดังนั้นวันนี้เราจะมาดูถึงผลกระทบจากการใช้งานหน้าจอดิจิทัลท้ังหลายว่าจะส่งผลกระทบต่อดวงตาและระบบการมองเห็นอย่างในไรในมุมของวิชาการทัศนมาตรของประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง Australia
สำหรับเนื้อหาผมจะพยายามแปลโดยคงเนื้อหาเดิมไว้เป็นสำคัญ ขยายความเพิ่มเติมบ้างเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลดิบเดิมไว้แล้วนำไปพิจารณาต่อ และได้คิดต่อว่า เราจะดูแลสุขภาพตัวเองต่ออย่างไรดี หรือ ถ้าเกิดมีปัญหาขึ้นมาแล้ว ใครที่สามารถดูแลดวงตาของเราได้ดีที่สุดต่อไป
การรู้และเข้าใจแท้จริงว่า smartphone ,tablet และ computer ส่งผลกระทบต่อระบบการมองเห็น (visual system) และ ผิวของกระจกตา (ocular surface) อย่างไรนั้นเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อประโยชน์ในการวางแผนป้องกันและรักษาได้อย่างถูกต้องจริงๆ
Smartphone ,tablet และ computer นั้นได้เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบันอย่างกว้างขวาง เฉพาะในประเทศ Australia นั้นมีประชากร 89% ที่มี smart phoe เป็นของตัวเอง และคาดว่าปี 2023 การใช้งานผ่านมือถือจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในแต่ละวันเราจะใช้โทรศัพท์เฉลี่ย 65 ครั้ง และเมื่อเร็วๆนี้ พบว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่ใช้ smartphone เริ่มรู้ตัวแล้วว่า ตนนั้นใช้มือถือมากเกินไปและพยายามจะลดมันลง
ในการสำรวจผู้ที่มีอายุ 18-24 ปี พบว่า 2 ใน 3 ของผู้ที่ใช้ smartphone นั้นอยู่ในกลุ่มที่ใช้งานมากเกินไป แต่อย่างไรก็ตาม มีเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น ที่พยายามจะเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานให้น้อยลง
และยังพบอีกว่าผู้ที่มีอายุ 19-25 ปี นั้นใช้ smartphoe มากกว่าผู้ที่อายุมากกว่า 76 ปี ถึง 4 เท่า เฉลี่ยมากกว่า 3 ชม./วัน
เมื่อเร็วๆนี้ องค์การอนามัยโลกได้ออกเอกสารแพร่กระจายออกไป เกี่ยวกับการกำหนดแนวทางสำหรับการลดกิจกรรมหน้าจอของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ โดยมีคอนเซปต์ว่า เด็กนั้นควรเติบโตไปพร้อมกับสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง จำเป็นต้อง “sit less and play more” ซึ่งการประกาศลักษณะนี้แสดงให้เห็นว่า คนทั่วไปจำเป็นต้องมีความเข้าใจว่า การใช้กิจกรรมหน้าจอที่มากเกินไปนั้นไม่ปลอดภัย บางที่ WHO ออกมาส่งสารแบบนี้ อาจเกิดขึ้นมาจาก ภาวะการติดมือถือที่ระบาดไปทั่วโลกก็ได้
ท่านที่ต้องการทราบ guideline โดยละเอียดลองไปอ่านได้จากลิ้งขององค์การอนามัยโลก ตามที่แนบมา https://www.who.int/news-room/detail/24-04-2019-to-grow-up-healthy-children-need-to-sit-less-and-play-more (มีเวลาจะแปลให้อ่านกันครับ)
ดังนั้นปัจจุบันจึงเป็นที่เข้าใจกันอย่างกว้างขวางแล้วว่า การใช้อุปกรณ์มือถือมากเกินไปนั้น จะก่อให้เกิดปัญหากับดวงตาและระบบการมองเห็น
รัฐบาลของออสเตเลีย แนะนำว่า การใช้หน้าจอมือถือเพื่อความบันเทิงนั้น สำหรับเด็กวัยเรียนที่มีอายุ 5-17 ปี ไม่ควรใช้งานเกิน 2 ชม./วัน และเด็กที่อายุ 2-5 ปี นั้นไม่ควรอยู่หน้าจอเกิน 1 ชม./วัน และเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ขวบนั้น ไม่ควรให้เด็กเล่นหน้าจอดิจิทัล
WHO ก็ได้ให้คำแนะนำเช่นเดียวกันว่า ไม่ควรให้เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ขวบเล่นหน้าจอดิจิทัล และสำหรับเด็ก 2-4 ขวบ ไม่ควรใช้งานเกิน 60 นาที/ วัน
WHO ให้เป็น guideline นี้มาเพื่อให้เด็กนั้นเพิ่มเวลาให้กับกิจกรรมที่ต้องการความ active มากขึ้น เพื่อให้เด็กได้พัฒนาระบบกล้ามเนื้อต่างๆได้ดีขึ้นและได้ใช้กิจกรรมปฏิสันถารสร้างความสัมพันธ์กันในครอบครัว ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการที่เด็กจะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีและสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตในภายภาคหน้า
ปัจจุบันเป็นที่รู้กันอย่างแพร่หลายว่า การใช้ digital device นั้นเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เกิดปัญหาทั้งกับดวงตาและระบบการมองเห็น เช่น อาการที่เกิดจากตาแห้ง เช่น เจ็บตา น้ำตาไหล ระคายเคืองตา รู้สึกแสบร้อนที่ดวงตาหลังจากใช้งานอุปกรณ์จอดิจิทัลมาสักระยะเวลาหนึ่ง
ตาล้า ไม่สบายตา และตามัว อาการเหล่านี้สามารถคาดหวังว่าจะเกิดได้หลังจากใช้งาน smartphone ต่อเนื่องกันมากกว่า 1 ชม.และอาการเหล่านี้จะเป็นหนักขึ้นเมื่อดู smartphone ใกล้มากขึ้น เช่นเดียวกันกับอาการไม่สบายตาเมื่อใช้สายตาทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานๆ
อาการปวดเครียดที่ดวงตานั้น เกิดขึ้นกับผู้ที่ใช้หน้าจอในการดูเอกสารมากกว่าการดูผ่านกระดาษปริ้นถึง 5 เท่า
การใช้ iPad เมื่อเทียบกับ computer หรือการใช้ kindle อ่านหนังสือแทนกระดาษ มีแนวโน้มว่าจะเป็นสาเหตุของอาการตาล้า ปวดศีรษะ ภาพมัวที่ระยะใกล้ และ กลับไปโฟกัสภาพลำบาก
อาการไม่สบายดวงตาหรือปัญหาการมองเห็น มีความเกี่ยวข้องกับ smartphone ,tablet และ computer ซึ่งในบทความจากงานวิจัยที่จะเขียนต่อไปนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ “อะไรที่เราทำและรู้แล้ว และอะไรที่ทำแล้วยังไม่รู้” โดยมีเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของระบบการมองเห็นสองตา (binocular vision) เช่นระบบ accommodation กับระบบ vergence หรือระบบการกะพริบตา(blinking) ฟิล์มน้ำตา(tear filim) การเปลี่ยนแปลงผิวกระจกตา(ocular surface change) ที่เกี่ยวข้องกับอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ใช้งาน digital deviece
อาการล้าของระบบการเพ่ง (amplitude lag) และความสามารถของการเหลือบเข้า (convergecne ability) นั้นได้รับผลกระทบจากการใช้ digital device เช่นเดียวกับความเสถียรภาพของชั้นน้ำตา tear stability ก็ลดลงจากการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลด้วยเช่นกัน
แต่อย่างไรก็ตาม นี่ก็ยังเป็นหลักฐานที่ไม่มีน้ำหนักพอที่จะรวมไปถึงผลกระทบที่เกิดกับปริมาณของน้ำตา (tear volume) การเปลี่ยนแปลงของผิวกระจกตา (ocular surface) หรือ เกิดการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบของฟิล์มน้ำตา (tear film composition) เนื่องจากในการใช้งาน digital device ของแต่ละคนนั้นมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก เช่น ระยะห่างของการใช้งาน ความสว่าง และขนาดของหน้าจอ ซึ่งการศึกษาต่อไปจึงต้องศึกษาเพื่อดูต่อว่า ปัจจัยที่หลากหลายเหล่านั้นอาจส่งผลต่อ ระบบการเพ่งของเลนส์ตา (accommodation) กระทบการเหลือบของกล้ามเนื้อตา (convergence) ระบบการกะพริบ (blinking) และ ชั้นน้ำตา (tear film ) อย่างไร
การหาค่าความล้าของระบบการเพ่งของเลนส์ตา หรือการหาค่าของ lag of accommodation นั้น เป็นการทดสอบกำลังเพ่งที่ทำได้ทั่วไปในการตรวจทางคลินิกทัศนมาตร (เช่น BCC - binocular cross cylinder testing-ผู้แปล)
การใช้ smartphone และ tablet ทำให้อาการ lag เพิ่มขึ้นหลังจากการใช้งานตั้งแต่ระดับการใช้งานเล็กน้อยตั้งแต่ 12 นาที และหลังจากการใช้งานยาวนานกว่า 30 นาที ซึ่งไม่พบความแตกต่างระหว่าง smartphone และ tablet
accommodation facility เป็นค่าที่บอกถึง ความเร็วในการเพ่งและคลายของเลนส์ตาในการโฟกัสวัตถุที่ระยะต่างๆได้ชัดว่าสามารถเพ่งและคลายตัวได้ดีแต่ไหน ซึ่งจากการศึกษาผลกระทบจากดิจิทัลนั้นยังเป็นเรื่องที่ยังไม่เข้าใจดีนัก แม้ว่าการใช้งาน smartphone 60 นาที หรือว่า การอ่านเอกสารบน tablet เป็นเวลา 30 นาทีทำให้ binocuar facility ลดลงก็ตาม แต่การใช้ smartphone ในการดูภาพยนต์เป็นเวลา 30 นาที กลับไม่พบว่า facility มีการเปลี่ยนแปลง
Amplitude of accommodation หรือ กำลังเพ่งของเลนส์ตานั้นลดลงหลังจากการใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัล ซึ่งพบว่า การใช้งานคอมพิวเตอร์หรือ iPad เป็นเวลา 20 นาทีนั้น ทำให้ monocular amplitude of acccommodation ลดลง เฉลี่ย 3.00D และ การใช้งาน 30 นาที ทำให้ binocular amplitude of accommodation ลดลง 1.14D
ซึ่งการทดลองนี้พบว่า การลดลงของ monocular amplitude of accommodation นั้นลดลงอย่างมากเมื่อใช้อุปกรณ์ดิจิทัลในการอ่านเมื่อเทียบกับการอ่านผ่านกระดาษหนังสือ
ส่วนผลจากการลดลงของ amplitude มากขนาดนี้ ยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างแท้จริงว่า การใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัลทำให้เกิดการลดลงของกำลังเพ่งได้อย่างไร มากกว่านั้น เรายังไม่รู้ต่อไปอีกว่า amplitude จะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไปอย่าไรหลังจากมีการใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัลในระยะยาว
Vergence System หรือ ระบบการเหลือบตาของกล้ามเนื้อตา เป็นหนึ่งใน 3 ระบบที่ต้องตอบสนองของดวงตาต่อการใช้สายตาเพื่อดูใกล้ เช่นเดียวกับอีก 2 ระบบที่ทำงานพร้อมกัน คือ การหดของรูม่านตา (pupil constriction) และ การเพ่งของเลนส์ตา (accommodation) เนื่องจากเป็นระบบที่ถูกเลี้ยงด้วยเส้นประสาทอัติโนมัติชุดเดียวกันจาก cranial nerve 3
การเหลือบเข้าของตา (convergence) และการเหลือบออกของตา(divergence) เป็นกริยาของกล้ามเนื้อตาในการดึงตาเข้าหากันเพื่อดูวัตถุที่อยู่ใกล้และดึงตาออกจากกันเพื่อมองวัตถุที่อยู่ไกลกว่า ซึ่งทำงานสัมพันธ์กัน ถ้า convergece ถูกกระตุ้น divergence ก็จะต้องคลาย เพื่อให้ภาพของแต่ละตานั้นไปตกบนจุดคู่สมบนจอประสาทตาเพื่อให้เกิดการรวมภาพเป็นภาพเดียวกัน
การลดลงของแรง vergence เมื่อดูใกล้นี้ทำให้เกิดอาการ asthenopia ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา เมื่อยตา ล้าตา ปวดเครียดตึงบริเวณลูกตา คลื่นไส้เหมือนอยากอาเจียน
ความสามารถของการเหลือ[ตาเข้า (convergence ability) นั้นลดลงหลังจากใช้งาน iPad ไป 20 นาที ในคนไข้ที่ไม่ได้เป็นสายตาคนแก่ (non-presbyopic) ซึ่งอาการดังกล่าวนี้ยังพบได้เช่นเดียวกันกับคนไข้ที่ใช้ monitor บนคอมพิวเตอร์ และ ค่ากำลัง divergence ก็ลดลงเช่นเดียวกัน ทั้งในคนไข้ที่เป็น presbyopic และ non-presbyopic
NPC เป็นการตรวจเพื่อดูว่าความสามารถของระบบ convergece ว่าสามารถเหลือบตาเข้าเมื่อวัตถุเคลื่อนเข้ามาได้ใกล้สุดแค่ไหนที่ภาพยังคงสามารถรวมเป็นหนึ่งโดยไม่แยกเป็นสองภาพได้ และพบว่าหลังจากใช้ smartphone เป็นเวลา 20 นาทีนั้น ค่า NPC ลดลงในผู้ที่ใช้ smartphone มากกว่าการใช้ computer และหลังจากพักสายตาไป 10 นาที พบกว่า NPC สามารถกลับมาสู่ค่าปกติก่อนการใช้งาน smartphone
หลักฐานที่ว่าการใช้ smartphone ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของมุมเหล่ซ่อนเร้น (phoria change) ยังดูไม่ชัดเจน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนั้นพบว่ามีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงไปในทาง exophoria หลังจากใช้งาน smartphone เป็นเวลา 20 นาที ซึ่งกลุ่มที่ทำการศึกษานั้นมีอายุ 20-30 ปี และ phoria change นี้พบได้ในผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน และหลังจากให้พักสายตาเป็นเวลา 10 นาทีนั้น พบว่า phoria กลับลงมาอยู่ในระดับ phoria ที่เกิดขึ้นหลังจากใช้ smartphone เป็นเวลา 5 นาที ส่วนผู้ที่อายุ 30-50 ปี กลับดูเหมือนว่าไม่พบว่าการใช้ smartphone เป็นเวลา 30 นาทีนั้นจะทำให้ phoria มีการเปลี่ยนแปลง
การกะพริบตาที่เพียงพอ เป็นสิ่งสำคัญในการที่จะ “ผสมและกระจาย” น้ำตา และ ชะล้างสิ่งสกปรกออกจากลูกตาและทำหน้าที่สำคัญในการกระจายชั้นน้ำตาที่เป็นสารไขมันที่ผลิตจาก meibum ซึ่งเป็นต่อมไข้มันที่อยู่ตามเปลือกตาให้กระจายไปคลุมผิวของชั้นน้ำตา ซึ่งถ้าปราศจากกระบวนการนี้แล้ว จะทำให้น้ำตานั้นระเหยได้ง่าย ส่งผลให้เกิดปัญหาตาแห้งตามมา ตามมาด้วยอาการไม่สบายตาจาก ฟิล์มน้ำตาที่บางลง และ การสะสมของสิ่งสกปรก
การลดลงของอัตราการกะพริบมักเกิดขึ้นกับผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลมีความขัดแย้งกับสิ่งที่พบได้ในผู้ที่ใช้ smartphone
จากการศึกษาจากกลุ่มหนึ่งกับผู้ที่ใช้ smartphone เป็นเวลา 60 นาทีพบว่า ผู้ใช้ smartphone นั้นมีอัตราการกะพริบตาที่ลดลง ในขณะที่งานศึกษาอีกกลุ่มหนึ่งกลับพบว่าอัตราการกะพริบตากลับมากขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างการอ่านจากกระดาษปริ้นกับจาก LCD พบว่าการอ่านจาก LCD นั้นทำให้อัตราการกะพริบนั้นช้าลง
แต่อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาอื่นกับพบว่า การอ่านบน tablet นั้นทำให้ blink rate นั้นมากกว่าการอ่านจากหนังสือ
ประเด็นที่น่าสนใจกับเรื่องนี้คือ blink rate นั้นมีอิทธิพลของ อุปกรณ์ในการอ่าน และ ความยากง่ายของเอกสารที่อ่าน เข้ามามีส่วนร่วมด้วย
การเปลี่ยนแปลงของความมืดสว่างทำให้อัตราการกะพริบมากกว่าการใช้งานบนคอมพิวเตอร์ ซึ่งพบว่า ถ้าให้อ่านเอกสารบนกระดาษปริ้นด้วยแสงที่คมชัด และ ให้อ่านเอกสารเดียวกันบนคอมพิวเตอร์ พบว่าอัตราการกะพริบตานั้นไม่แตกต่าง จากนั้นจึงมีการไปศึกษาเพิ่มเติมกับผู้ที่ใช้ smartphone และ tablet เพื่อทำการยืนยัน
พบว่า ในการใช้งาน ditital device นั้นมีรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย ตั้งแต่ลักษณะแสงมืดสว่างที่ต่างกัน จากการเลื่อนอ่านข้อมูลต่างๆบน social media หรือการอ่านข้อความ หรือการเล่นเกมส์ที่มีความซับซ้อนของความมืดสว่าง แสงสี และการเคลื่อนไหว ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้อัตราการกะพริบนั้นเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้น ระบบการสร้าง tear supply ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สายตานั้น มีความหลากหลายตามแต่ละชนิดอุปกรณ์ที่ใช้
“ความแรงของการกะพริบ” (amplitude of blink) เป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการกะพริบตาเพื่อให้ tear film นั้นมีความเป็นเนื้อเดียวกันและกระจายได้ดีทั่วผิวดวงตา
การกะพริบแค่บางส่วน หรือ กะพริบไม่เต็มตานั้น ทำให้กระจกตานั้นได้รับการเคลือบไม่ทั่วทั้งแผ่น ซึ่งการกระพริบที่ไม่เต็มตานั้น พบในผู้ที่อ่านตัวหนังสือผ่าน tablet มากกว่าผู้ที่อ่านผ่านกระดาษที่ปริ้นออกมาอ่าน
มีงานศึกษาเกี่ยวกับ blink rate ที่เกี่ยวข้องกับมุมที่มองเช่นกัน เช่นการมองในมุมเหลือบขึ้นสูงกว่าจะมีอัตราการกะพริบที่สูงกว่า เนื่องจากการมองขึ้นบนทำให้ตาและผิวกระจกตานั้นสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่ไม่ทราบเหตุผลว่าทำไม blink rate จึงเปลี่ยนแปลงด้วยเหตุนี้ ดังนั้นถ้าเป็นเหตุนั้นจริง การมองส่ิงที่อยู่ต่ำกว่าที่ตาต้องเหลือบลง ย่อมทำให้ blink rate นั้นลดลง ซึ่งในการใช้ smartphone นั้นเป็นมุมที่ตาต้องเหลือบต่ำอยู่แล้ว ซึ่ง blink rate อาจลดลงจากการเหลือบมุมต่ำแทนที่จะเกิดจาก smartphone ก็ได้ ซึ่งต้องศึกษากันต่อไป
การวัดปริมาณ (volum) และความเสถียรภาพ (stabablity)ของชั้นน้ำตา วัดจากการสร้างน้ำตาและความเสถียรภาพบนผิวกระจกตาว่าเพียงพอหรือไม่ ซึ่งลดลงของปริมาณและความเสถียรภาพนั้นจะนำไปสู่อาการของโรคตาแห้ง
จากการศึกษาพบว่า ปริมาณของน้ำตานั้นดูเหมือนว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงกับการใช้ smartphone เป็นเวลา 60 นาที ในทางกลับกันกลับพบว่าปริมาณน้ำตาลดลงในผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ โดยการทดสอบด้วย Schimer score หลังจาการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเวลา 2 ชั่วโมง
แต่อย่างไรก็ตาม การเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์เพียง 20 นาที สามารถทำให้เกิดการลดลงของการสร้างน้ำตาอย่างมาก แต่กลับพบว่าในผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์และมีประวัติตาแห้งอยู่แล้ว กลับไม่ได้ส่งผลกระทบกับปริมาณการผลิตของน้ำตา
ด้วยผลการศึกษาที่ขัดแย้งกันนี้ จึงไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ถ้าความเสถียรภาพของชั้นน้ำตาที่วัดได้จาก TBUT ,tear break up time ลดลงหรือคงที่กับผู้ที่ใช้ smartphone เป็นเวลา 60 นาที จึงมีการศึกษาต่อ และที่น่าสนใจนอกจากเรื่องนี้คือค่า TBUT score ในเด็กอายุ 9-10 ปี ดีขึ้นหลังจากหยุดใช้ smartphone เป็นเวลา 1 เดือน
จากการศึกษาเชิงวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่คิดว่าเป็นสาเหตุของความผิดปกติ (cohort study) ในเด็กเพื่อในเด็กพบว่า TBUT score น้อยกว่า 10 วินาที เป็นเด็กที่ใช้ smartphone มากกว่า 3 ชม/วัน เมื่อเทียบกับเด็กอื่นๆที่ใช้งานงานน้อยกว่า 1 ชม./วัน
การลดลงของ TBUT เริ่มแสดงอาการตั้งแต่เร่ิมใช้งานคอมพิวเตอร์ 20 นาที และยิ่งใช้งานเป็นชั่วโมงยาวนานขึ้นก็จะยิ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการสร้างน้ำตาของ meibum และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนชั่วโมงและจำนวนปีที่ใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องกันกับผลของ TBUT
การเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบของชั้นน้ำตา เช่น การลดลงของการสร้างชั้นเมือกของชั้นน้ำตา (mucin production) การเพิ่มขึ้นตัวบ่งชี้ถึงการอักเสบ(inflamatory marker) และ การเพิ่มขึ้นของค่าความเข้มข้นของชั้นน้ำตา (hyper-osmolarity) ซึ่งพบในผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ยังพบในผู้ที่ใช้ smartphone ด้วยเช่นกัน
note : Fluorescien เป็นสารสีส้ม แต่จะกลายเป็นสีเขียวเมื่อส่องดูด้วยแสง cobalt blue ใช้ร่วมในการตรวจสุขภาพของกระจกตา ดูชั้นน้ำตา ดูแผลหรือรอยถลอกของกระจกตา
คำจำกัดความที่ใช้กับโรค Computer Vision Syndrome ,CVS นั้นเร่ิมใช้มาตั้งแต่ 20 ปีก่อน จากงานศึกษาวิจัยให้คำจำกัดความนี้ว่า เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยมีอาการแสดงคือมีอาการ Asthenopia ร่วมกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีการลดลงของกำลังเพ่งของเลนส์ตา (reduced amplitude of accommodation) การลดลงของ TBUT score ซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงอาการตาแห้ง และ การลดลงของปริมาณน้ำตาร่วมกับการใช้งานคอมพิวเตอร์
มีรายงานพบว่า การเพิ่มขึ้นของอาการโรคตาแห้ง ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของผิวกระจกตามีการเปลี่ยนแปลงกับผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องกันหลายชั่วโมง
ปัจจุบันงานศึกษาวิจัยหรืองานเขียนเกี่ยวกับผลกระทบของ smartphone ,tablet ต่อดวงตา ต่อการมองสองตา ต่อการเปลี่ยนแปลงของชั้นน้ำตา และ การเปลี่ยนแปลงขอผิวชั้นกระจกตานั้นค่อนข้างมีอยู่น้อยดังนั้น ในรายงานที่ได้นำมารวบรวมนี้น่าจะเป็นบทความที่ทันต่อเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของคนในสังคมดิจิทัลที่มีความหลากหลายทางอุปกรณ์ดิจิทัลเพิ่มขึ้นทุกวัน
ความหลากหลายของกิจกรรมดิจิทัลที่ว่าเช่น ระยะห่างในการใช้งาน การใช้เวลาบนหน้าจออุปกรณ์ ซึ่งทั้งสองปัจจัยนั้นมีอิทธิพลต่อความสามารถของระบบการเพ่ง (accommodation) และระบบการเหลือบตา (vergence) ในการที่จะทำให้เกิดความชัดในแต่ละยะ ( ยิ่งดูใกล้เท่าไหร่ convergence และ accommodation ยิ่งต้องทำงานหนักมากเท่านั้น ในทางตรงข้าม ยิ่งดูไกล convergnce และ accommodation จะทำงานน้อยลง -ผู้แปล)
ซึ่งระยะใช้งานก็ขึ้นอยู่กับขนาดของหน้าจออุปกรณ์ด้วยเช่นกัน ยิ่งจอเล็กเท่าไหร่เราก็ยิ่งต้องดูใกล้ เนื่องจากหน้าจอเล็กจะต้องทำตัวหนังสือให้เล็กลง เช่นตัวหนังสือบนหน้าจอ apple watch ในขณะที่เราดูหน้าจอ iphone ก็จะห่างออกไปเล็กน้อย ipad ก็จะห่างไปอีกเล็กน้อย imac ก็จะห่างไปอีกหน่อย หรือจะดูทีวีผ่าน apple tv ก็จะห่างออกไปเช่นกัน และในชีวิตประจำวันของคนในยุคปัจจุบันก็จะมีอุปกรณ์ดิจิทัลอยู่หลายๆแบบในหลายกิจกรรมทั้งในบ้านเพื่อความบันเทิงและในที่ทำงาน
ซึ่งการการเปลี่ยนระยะโฟกัสเพื่อให้เกิดความคมชัดในระหว่างการมองอุปกรณ์ดิจิทัลแต่ละชนิดนั้น จะต้องอาศัยความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของเลนส์แก้วตาและ แต่ละคนนั้นใช้อุปกรณ์มือถือแตกต่างกันไป บางครั้งเราใช้มือถือเพื่อตอบไลนส์ไม่กี่วินาที แต่บางครั้งก็อ่านบทความเป็นชั่วโมง
เมื่อชีวิตไม่สามารถเลี่ยงพฤติกรรมดิจิทับได้ คำถามต่อไปก็คือ ถ้าเราหยุดใช้งานหน้าจอจากอุปกรณ์ดิจิทัลแล้ว ระบบการทำงานของสองตา ชั้นน้ำตา จะกลับเหมือนเดิม หรือไม่ ? หรือผลกระทบของมันนั้นเป็นการรวมสะสมจากการใช้สายตาดูหน้าจอจากหลายอุปกรณ์ หรือ ดูหน้าจอชนิดเดียวอย่างต่อเนื่องกัน หรือการดูซ้ำสะสมในระหว่างวันหรือไม่ ? ปัญหาเกี่ยวกับ accommodation หรือ vergence หรือ ความผิดปกติของ ocular surface ที่เดิมก็มีความผิดปกติอยู่แล้ว จะเป็นมากขึ้นหลังจากใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้หรือไม่ ? และสุดท้าย เด็กที่ได้รับผละกระทบจากหน้าจอนี้ที่แตกต่างกับผู้ใหญ่ เกิดเนื่องจากพฤติกรรมการใช้งานอุปกรณ์นั้นแตกต่างกันหรือไม่?
ซึ่งในแต่ละวันนั้น ทัศนมาตร จะต้องเจอกับคนไข้ที่มีปัญหา asthenopia หลังจากทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์มาเป็นชั่วโมง อาจจะด้วยต้องเป็นลูกจ้างที่ต้องการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หรือ แม้แต่ใช้งานหน้าจอเพื่ออ่านหรือดูข้อมูลต่างๆจากหน้าจอ
นอกจากนี้แล้วเราพบว่า เด็กเล็ก เด็กทารก กำลังมองว่าอุปกรณ์มือถือนั้นเป็นของเล่น
เมื่อเรามีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้กระจ่างชัดขึ้น ก็หวังว่าหลักฐานการศึกษานี้จะเป็นพื้นฐานหอืแนวทางที่เราจะสามารถนำไปบริหารจัดการเวลาในการใช้อุปกรณ์ smartphone tablet และ อุปกรณ์ดิจิทัลที่จะเกิดขึ้นอนาคตได้ดีขึ้น
ท่านสามารถศึกษาต้นฉบับภาษาอังกฤกของงานศึกษานี้ได้ที่ล้ิง https://www.mivision.com.au/2019/07/the-great-unknown-digital-devices-impact-on-eyes/
จบไปสำหรับงานจัยผลกระทบดิจิทัลต่อดวงตาและการมองเห็น ซึ่งเป็นเปเปอร์ที่ผมมองว่ามีสาระและเกี่ยวข้องกับการทำงานด้านทัศนมาตร ในส่วนของเลนส์ตัดหรือกรองแสงสีน้ำเงินจาก digital device นั้น ส่วนตัวผมไม่ค่อยอยากเข้าไปยุ่งมากนัก (เพราะจริงๆยุ่งมามากพอแล้ว คิดว่าน่าจะพองาม )
บางท่านอาจเห็นผมเข้าข้างแสงสีน้ำเงินมาก จริงๆเราไม่ได้สนิทกันที่จะต้องปกป้องกันขนาดนั้น แต่ผมทนเห็น blue light ตกเป็นจำเลยของสังคมในหลายต่อหลายเรื่อง ที่ไม่ว่าอะไรโยนใส่หน้าจอมือถือไว้ก่อนเลย ซึ่งก็คงจะทำได้เพราะมือถือไม่มีปากที่จะมาเถียง
แต่ผู้ที่ทำหน้าที่ให้บริการซึ่งอยู่ในฐานะผู้ทำหน้าที่แก้ปัญหาสายตาและระบบการมองเห็น มีความรับผิดชอบต่องานที่ทำมากน้อยแค่ไหน การจ่าย prescription ที่ยังถูกๆผิดๆ แล้วทำให้ผู้มารับบริการมีปัญหาการมองเห็น ไม่ว่าปวดหัว ปวดตา ภาพซ้อน ภาพบิดเบี้ยว เกิดเป็นตาเหล่ซ่อนเร้นขึ้นมา ต้องรู้สึกรับผิดชอบบ้างหรือไม่ หรือจะต้องโยนความผิดใส่อุปกรณ์มือถืออย่างเดียวว่า ใช้งานมากไป พักตาบ้าง เล่นให้มันน้อยๆหน่อย แต่เชื่อว่าท่านที่พูดอย่างนั้น เราเองก็เล่นหนักใช่ย่อย จริงหรือไม่เรารู้เราดี
สิ่งที่ผมมองเห็นในตัว blue light ก็คือ เขาเป็นคลื่นแสงสีหนึ่งที่ช่วยให้เราเห็นสีที่ปกติ ไม่ทำให้เราเห็นสีขาวเป็นสีเหลือง ได้เห็นโลกสวยงามอย่างที่ควรจะเป็นโดยไม่มีการไปบิดเบือนให้มันกลายเป็นสีอื่น เขาเป็นคลื่นสีที่น่าสงสาร และมักจะตกเป็นจำเลยสังคมอยู่เสมอๆ มีปัญหาตาอะไรขึ้นมาก็โยนอุจราระใส่เขา ทั้งที่เขาก็มีประโยชน์อยู่มากหลาย สิ่งที่ถูกกล่าวหานั้นทุกเรื่องที่กล่าวหาก็ยังไม่แน่ชัด แม้ผ่านมาเรื่องนี้มา 20 ปีแล้วก็ตาม มันก็ยังไม่ชัดอยู่ดี ดังนั้นการจะด่วนสรุปว่าอย่างไหนดี อย่างไหนเลว นั้นส่วนตัวคิดว่าเร็วเกินไปที่จะด่วนสรุปอย่างนั้น
แต่ที่ไม่ดีแน่นอนคือผู้ที่ทำหน้าที่ให้บริการด้านสายตา (บางคน) ที่มีหน้าที่ในการแก้ปัญหาให้คนไข้แต่กลับไม่เคยใส่ใจในมาตรฐานการทำงานด้านการบริการด้านด้านสายตา การตรวจวัดสายตาด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ถึงผลกระทบจาก correction ว่าจะถูกหรือจะผิดแล้วส่งผลกระทบต่อดวงตาและเกิดปัญหาต่อระบบการมองเห็น การไม่คำนึงหรือสนใจถึงมาตรฐานของเครื่องมือและกระบวนการทำงาน การไม่ให้ความสำคัญถึงคุณภาพของสินค้าและบริการ การ cheating ผู้บริโภคโดยการเล่นตลาดอย่างขาดความรับผิดชอบ อย่างนี้ต่างหากที่แย่กว่าแสงสีน้ำเงิน (***บางคน/บางกลุ่ม ) ส่วนที่ทำดีอยู่แล้วก็ขอชื่นชมจากใจจริง
ดังนั้นก่อนที่จะมุ่งกำจัดแสงสีน้ำเงินที่ยังไม่ชัวร์ว่าเป็นผู้ดีหรือผู้ร้ายที่ศาลยังไม่ตัดสิน แต่ส่ิงหนึ่งที่เราทำได้เลยคือ พัฒนาการคุณภาพการบริการให้มันได้มาตรฐาน ให้ผู้มารับบริการได้รับมาตรฐานของการบริการที่ดีอย่างที่เขาควรจะได้รับ ได้ครบทุกบาททุกสตางค์ที่เขาจ่ายรวมถึงค่าเสียเวลาได้ เพราะเขาไม่ได้ทำผิดอะไรที่จะต้องรับกรรมจาก correction ที่ผิดๆ หรือ ผู้รับบริการบางคนอาจจะคิดตื้นไป เห็นของ(ดูเหมือน)ราคาถูกแล้วใจสั่น สุดท้ายก็ตกเป็นเหยื่อของการ cheating ด้วยวิธีอะไรก็แล้วแต่ แต่เรื่องนี้ไม่ควรเกิดขึ้นกับผู้มารับบริการ
จะเห็นด้วยหรือไม่ ผมก็ไม่อาจทำให้ถูกใจทุกคนได้ แต่นี่คือส่ิงที่ควรเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เกิดมาตรฐานขึ้นในประเทศไทย ก่อนที่จะขายเลนส์ตัดแสงน้ำเงินโดยชวนให้ลูกค้าหรือคนไข้ซื้อโดยอ้างว่า มันจะช่วยลด eyestrain ช่วยป้องกันจอประสาทตาเสื่อม มันยังไม่แน่ แต่ที่แน่ๆเราไปเรียนรู้ที่จะตรวจสายตาให้ถูกต้องก่อนดีไหม หรือทำอะไรที่มากกว่าการเสียบเลนส์แล้วตั้งคำถามว่า “ชัดไหม” ๆ ๆ ๆ อันไหนชัดกว่าดีกว่าไหม เอาค่านี้ดีไหม เลนส์ในสต๊อกไม่มีเอาค่านี้แทนไหม ตัดเอียงทิ้ง เพิ่มสั้นให้ ถ้าเอาสายตาเอียงราคาหนึ่ง ถ้าตัดสายตาเอียงทิ้งได้อีกราคาหนึ่ง และรอรับได้เลย แต่เคยฉุกคิดหรือไม่ว่า ถ้าทำอย่างนั้นจะตรวจสายตากันทำไม ค่าที่ไม่เหมาะสมที่เราจ่ายไปนั้น จะสร้างปัญหาให้กับระบบของกล้ามเนื้อตาและการทำงานร่วมกันของสองตาอย่างไรบ้าง
การ cheating ผู้มารับบริการด้วยโปรโมชั่นเย้ายวนใจนั้น นอกจากไม่ช่วยอะไรในโลกปัจจุบันแล้ว ผลเกิดทันทีคือภาพลักษณ์ของการบริการนั้นๆหรือแม้แต่วิชาชีพนั้นพังทันที เพราะคนในยุคดิจิทัล ฉลาดมากแล้ว ผู้รับบริการส่วนใหญ่รู้ว่าอะไรจริง อะไร cheating คนปัจจุบันส่วนใหญ่เขาไม่ได้ตื่นเต้นกับป้ายลด 70% แล้ว เพราะดิจิทัลทำให้เขาฉลาดขึ้น เขารู้ว่ามีแต่สินค้าใกล้บูดเท่านั้นที่จะทำเรื่องแบบนั้น
ขอบคุณทุกท่านที่เข้าใจเจตนารมณ์ของผม ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงมุมมอง วิธีคิด เพื่อแก้ไขปัญหาบริการด้านสายตาที่ไม่เคยได้รับการยกระดับมาตรฐานให้เป็นวิชาชีพเสียที แต่ผมเชื่ออย่างหนึ่งว่า อีกไม่นาน ประชาชนจะเป็นคน Disrupt เรื่องนี้เองโดยไม่ต้องรอกฎหมาย ของไม่จริงจะถูก fade ออกไปเองด้วยวิธีการคัดสรรตามธรรมชาติ
ดังนั้น ทุกสาขาอาชีพ ต้องเป็นคนจริง รู้จริง ทำจริง อะไรก็ได้ สักเรื่องหนึ่งที่ชอบ ที่ถนัด แล้วลงไปทั้งตัวและหัวใจ ทำให้นานพอ ทำให้แคบแต่ลึก เราถึงจะสามารถมีตัวตนอยู่ในสังคมยุคดิจิทัล ไดโนเสาร์ก็จำเป็นต้องสูญพันธ์เพราะไม่ยอมปรับตัวตามสภาพแวดล้อม ผู้ที่ไม่พัฒนาและไม่ยอมปรับตัวก็คงไม่ต่างกัน
ขอบคุณทุกท่านสำหรับกำลังใจในการติดตาม หวังว่าคอนเทนท์ในวันนี้ น่าจะเกิดประโยชน์กับท่านที่สนใจได้บ้าง ไม่มากก็น้อย
สวัสดีครับ
ดร.ลอฟท์
578 Wacharapol rd. Bangkhen ,BKK 10220
mobile : 090 553 6554
line id : loftoptometry
fb : www.facebook.com/loftoptometry