“อย่าชัดเกินไป...เดี๋ยวปวดหัว” คำนี้ว่า ผมเชื่อว่าคนที่ใช้แว่นส่วนใหญ่น่าจะเกือบทั้งหมด คงเคยได้ยินได้ฟังกันมาบ้าง ซึ่งผมก็เคยได้ยินเพราะใส่แว่นตั้งแต่เด็กและคนส่วนใหญ่ก็เชื่อกัน แต่น้อยคนที่จะสงสัยในข้อเท็จจริงนี้ว่ามีมูลมากน้อยหรือไม่อย่างไร
ความเชื่อที่ฝังหัวกันมานาน ถ้าไม่มีวิทยาศาสตร์มาอธิบายก็คงจะกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต้องห้าม คือห้ามยุ่ง ห้ามแตะ ตัวอย่างในเรื่องนี้เช่น “จอมปลวก”
“จอมปลวก” นั้นเป็นภัยคุกความบ้านอย่างแท้จริง โดยเฉพาะท่านที่มีบ้านไม้เป็นองค์ประกอบ มันเหมือนกับเนื้อมะเร็งร้ายที่กินข้างในเรียบแต่ภายนอกนั้นดูดี รู้อีกทีก็พังจนหมดบ้าน
แต่ปลวกก็มีประโยชน์สำหรับธรรมชาติในเชิงย่อยสลายอินทรีย์สู่ดินเพื่อสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ แต่ไม่ใช่กับบ้านคน ปลวกจึงทำให้เกิดอาชีพใหม่ขึ้นมาคือ อาชีพกำจัดปลวก หรือ ยาเคมีกำจัดปลวกเป็นต้น แต่ประโยชน์ของปลวกต่อมนุษย์โทษมากกว่าคุณ
แต่พอปลวกไปอยู่ในป่าหรือปีนศาลพระภูมิ (ซึ่งมักจะทำกันด้วยไม้) ไม่มีใครรบกวนมัน มันก็สร้างอาณาจักรปลวกขึ้นมายิ่งใหญ่ จนมนุษย์ที่รังเกียจปลวกมาตั้งแต่ต้นนั้น ต้องไปเคารพสักการะ ด้วยความเชื่อเป็นจริงเป็นจังว่า มีเจ้าที่อาศัยอยู่ จะรื้อจะถอนต้องไปทำพิธี แม้จะมีสารคดีมากมายเกี่ยวกับชีวิตปลวก แต่บางคนก็ยังคงเชื่อ จนกระทั่งมีหมอคนหนึ่งเกิดขึ้นมา ทำให้ความเชื่อนี้ถูกเขย่าอย่างรุนแรง นั่นคือ “หมอปลา” นั่นเอง
เรื่องนี้ก็เช่นกัน “อย่างชัดเกินไป...เดี๋ยวปวดหัว” ถูกส่งต่อกันมานานเสียจนเรื่องไม่จริงกลายเป็นดูเหมือนจริง จนกลายเป็นความเชื่อ แม้แต่ผมเองยังเคยถูกถามว่า “คุณหมอครับมันชัดขนาดนี้แล้วมันจะปวดหัวไหม” ผมก็ถามว่า “แล้วปวดไหมล่ะ” คนไข้ก็ตอบว่า “ไม่ปวด แต่กลัวใส่นานๆแล้วมันจะปวด เพราะเคยได้ยินเขาว่า ชัดเกินไปเดี๋ยวมันปวดหัว แล้วเคยใส่แว่นที่มันชัดๆก็ปวดหัวจริง ก็เลยใส่แว่นที่มันไม่ชัดมาตลอด ก็เลยนึกว่ามันจริง” ผมก็ตอบไปว่า “ไม่มีหรอกคำว่าชัดเกินไป...เดี๋ยวปวดหัว มีแต่คำว่า over minus ที่ทำให้ปวดหัว”
ดังนั้นวันนี้ก็จะขอทำหน้าที่เป็นศิษย์หมอปลาในการล้างความเชื่อนั้น ซึ่งจะพาไปดูทั้งเหตุและผล ว่าทำไมเรื่องที่ว่านี้จึงไม่มีมูลและควรเลิกงมงายกันได้แล้วและเลิกสอนต่อกันผิดๆ จริงๆผมชอบหมอปลานะ แต่ก็ไม่ค่อยชอบตอนเรื่องลุงพลนี่แหล่ะ (ฮา)
#ความชัด ในความรู้สึกของคนทั่วไปมักจะนึกถึงคำว่า #sharp กันเสียมากกว่า แต่ในทางวิทยาศาสตร์ของระบบการมองเห็น หรือ visual science จะหมายความถึง resolution หรือ ความสามารถในการจำแนกแยกแยะว่าต่างกันได้ละเอียดมากน้อยแค่ไหน และ สามารถตรวจวัดออกมาได้ ค่าที่ตรวจวัดออกมาได้นั้นเรียกว่า visual acuity หรือ VA
VA คือ ระบบการตรวจวัดความสามารถของระบบการมองเห็นของตามนุษย์ว่า ขีดความสามารถในการแยกแยะรายละเอียดนั้น สามารถทำได้เต็มศักยภาพของระบบประสาทตาหรือไม่
ดังนั้น #ออกแบบตัวหนังสือก็จะต้องออกแบบให้ถึงขีดจำกัดของระบบประสาทการมองเห็น จึงจะสามารถเปรียบเทียบได้ว่าแต่ละคนนั้น เห็นได้แค่ไหนเมื่อเปรียบเทียบกับคนปกติ
มนุษย์นั้นมีขีดจำกัดของการมองเห็น หรือ ไม่สามารถเห็นได้ละเอียดไปกว่านั้นแล้ว นึกง่ายๆว่า เราไม่สามารถมองเห็นเซลล์ ไม่ว่าจะเซลล์ของอะไร คน สัตว์ พืช แบคทีเรีย ไวรัส เพราะมันตัวเล็กเกินไป เกินกว่าประสาทตาจะแยกแยะได้
ถ้าเล็กเกินขีดจำกัด เราจะต้องใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ถ้าไม่เล็กเกินไป เราก็เอาแว่นขยายมาส่องเหมือนดูลายมือ หรือไม่ก็เอามือถือถ่ายรูปแล้วเอามาขยายรูปที่หน้าจอ หรือ ถ้าเล็กมากเราก็จะใช้กล้องจุลทัศน์ช่วยดูเช่น เซลล์มนุษย์หรือแบคทีเรีย แต่ถ้าเล็กมากๆอย่างไวรัส ก็จะต้องใช้ electron microscope นั่นก็เพราะระบบการแยกแยะรายละเอียดของเรานั้นมีขีดจำกัดอยู่
ขีดจำกัดในการมองเห็นของมนุษย์นั้นมีอยู่ 2 สาเหตุ
1. optic limiting factor
2. Neural limitation factor
หมายถึงการกระจายของแสงออกทางด้านข้างเมื่อเกิดการเดินทางผ่านช่องแคบๆ เรียกกว่า diffraction ยิ่งช่องสองช่องนั้นใกล้กันมากเท่าไหร่ก็จะเกิด diffraction มาขึ้นเท่านั้น จนใกล้ถึงค่าหนึ่งเราก็จะแยกไม่ออกว่าแหล่งกำเนิดแสงของทั้งสองนั้นมาจากคนละที่กัน เหมือนที่เราขับรถกลางคืน เวลาเห็นรถวิ่งมาแต่ไกลๆ เราไม่รู้ว่าเป็นรถยนต์หรือมอเตอร์ไซ จนกระทั่งมันใกล้เข้ามาในระยะหนึ่งจึงได้รู้ว่ารถอะไร
หมายถึง ขีดจำกัดของระบบเซลล์ประสาทรับภาพของเรานี้เอง โดยจอประสาทตาในดวงตาของเราจะมีเซลล์รับภาพสีที่มีรายละเอียดสูงคือ cone cell ซึ่งทำหน้าที่ในการรับสัญญาณภาพเพื่อส่งต่อไปยังสมองเพื่อทำการตีความ
การที่เราจะแยกว่ามีจุดสองจุดได้นั้น แสดงว่า ต้องมี cone cell หนึ่งเซลล์ที่อยู่ระห่างสองจุดนั้นที่ยังว่างอยู่ เช่นตัว E (ดูรูปที่แนบมาประกอบ) เล็กสุดที่เราสามารถยังรู้ว่าเป็นตัว E นั้น จะต้องไม่เล็กไปกว่า cone cell 5 เซลล์ คือ ดำ..ขาว..ดำ..ขาว..ดำ ซึ่งตกลงบนแต่ละเซลล์ แต่ถ้าตัว E เล็กกว่านั้น จะทำให้ทั้งแถบขาวดำ ตกลงบนเซลล์เดียวกัน และทำให้ไม่สามารถแยกแยะรายละเอียดของตัว E ได้
ด้วยเหตุที่มนุษย์มีขีดจำกัดของการมองเห็นนี้เอง การออกแบบตัวหนังสือสำหรับทดสอบระบบประสาทการมองเห็นจึงประดิษฐ์ขึ้นจากพื้นฐานขีดจำกัดนี้ และ มุมที่เล็กที่สุดที่มนุษย์จะสามารถแยกแยะได้เรียกว่า minimum angle of resolution
การใช้หลักนี้ นำไปสู่การประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นมาเรียกว่า Snellen Acuity Chart หรือ VA chart ซึ่งเป็นชาร์ตที่ใช้ตรวจวัดสายตาที่ใช้กันเป็นมาตรฐานทั่วโลกโลกนั่นเอง
การออกแบบ VA chart จะมีตัวหนังสือใหญ่ไปเล็ก เพื่อจะให้ดูในแต่ละระยะ วางเรียงกันอยู่บนกระดาษหรือแผ่นรับชาร์จโปรเจ็คเตอร์ และ ตัวเล็กไปตัวใหญ่นั้นก็เป็นตัวหนังสือที่ออกแบบมาโดยมีขีดจำกัดเดียวกันคือที่ minimum algle of resolution นั่นก็คือ 5 ลิปดา นั่นเอง
เมื่อเรา project ตัวหนังสือขนาด 5 ลิปดา ออกไปไกลๆ เราก็จะเห็นว่า ยิ่งไกลออกไปเท่าไหร่ มุมก็บานออกไปเท่านั้น ยิ่งใกล้มาเท่าไหร่มุมก็จะบีบเข้ามากเท่านั้น ดังนั้นถ้าเป็นระยะไกลตัวหนังสือก็จะใหญ่ ถ้าเป็นระยะใกล้ตัวหนังสือจะเล็ก แต่ทั้งหมดรองรับมุมเดียวกันคือ 5 ลิปดา ทำให้เราสามารถออกแบบตัวหนังสือในแต่ละระยะให้มันวางอยู่ตรงที่เดียวกันที่ระยะ 6 เมตรได้
ดังนั้น แต่ละตัวที่อยู่บน snellen chart คือ visual limitation ของคนสายตาปกติเมื่อมองวัตถุในแต่ละระยะและที่เราเอามาตรวจให้คนไข้ดู ก็เพื่อจะรู้ว่า คนไข้ของเราเห็นได้ดีขนาดไหนเมื่อเทียบกับคนปกติ
ทีนี้ก็มีกลุ่มหัวหมอ (ไม่ใช่หมอจริง แต่เป็นการเปรียบเทียบว่าฉลาดแกมโกง) ว่า เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ถ้าอย่างนั้นฉันจะทำกล่องไฟวัด VA ไม่ต้องที่ 6 เมตรหรอก เปลืองห้องตรวจ เอาที่ 2 เมตรก็พอเพราะรองรับมุม visual angle เดียวกัน แล้วบอกว่า ก็ใช้ได้เหมือนกัน เพราะรองรับมุมเดียวกัน ซึ่งถูกอยู่เรื่องเดียวคือเรื่องที่เขาอ้างว่ามัน 5 ลิปดา เหมือนกัน
แต่ที่ผิดทั้งหมดคือ สภาวะตาที่ไม่ได้มองที่ระยะอนันต์นั้นทำให้เกิดการกระตุ้น vergence และ accommodation ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญของระบบ binocular function แล้วทั้งสองระบบนี้ก็เชื่อมโยงกันด้วยระบบ Acommodative convergence /Accommodation หรือ AC/A เราจึงไม่สามารถคลาย accommodation ได้ทั้งหมดถ้าหากว่า Convergence ยังถูกกระตุ้นอยู่ และถ้า accommodation ยังถูกกระตุ้นอยู่ refractive error ก็ใช้ไม่ได้อีกเช่นกัน วนๆไปเหมือนงูกินหาง
อีกปัญหาหนึ่งคือ การตรวจ binocular function ในห้องตรวจที่ไม่ได้ระยะ 6 เมตร ค่าที่ตรวจได้นั้นใช้งานไม่ได้ เนื่องเป็นการตรวจขณะที่คนไข้มี vergence และ accommodation อยู่ เว้นแต่เราจะไม่ทำ ไม่ตรวจ binocular function
แต่ก็นั่นแหละ ถ้า refraction อยู่ภายใต้ภาวะที่ระบบ accommodation ถูกกระตุ้นอยู่ก็มีแนวโน้มที่จะเกิด over minus หรือ under plus คือได้ค่าสายตาสั้นที่สั้นเกินจริง หรือ ได้ค่าสายตายาวที่ยาวน้อยกว่าความเป็นจริงและสิ่งเหล่านี้แหล่ะที่เขาเรียกว่าชัดเกินไป และทำให้ปวดหัว ซึ่งแท้จริงแล้วมันคือ “over minus”
“ชัด..เกินไปทำให้ปวดหัว” ไม่มี มีแต่คำว่า “over minus / under plus ....ทำให้ปวดหัว” และการ over minus / under plus ไม่ได้ทำให้ภาพชัดขึ้นแต่อย่างไร หรือไม่ได้ช่วยให้อ่านได้มากขึ้นแต่อย่างใด เพราะมนุย์มีขีดจำกัดของการมองเห็นอยู่
เมื่อจ่าย over minus คนไข้จึงไม่ได้ชัดขึ้น เพียงแต่รู้สึกว่า ดำขึ้นและเล็กลง แต่นั่นไม่ใช่ resolution ที่มากขึ้น เป็นเพียงแต่ contrast จากความเคร่งเครียดของระบบกระแสประสาทตาที่ทำงานหนักก็เท่านั้นเอง ทำให้ใช้สายตาไปสักพักแล้วปวดหัว ปวดเบ้าตา ปวดหัวคิ้ว รวมไปถึงขมับและท้ายทอย
แต่การเลี่ยงการ over minus ด้วยการจ่าย under minus นั่นมันก็เกินเหตุไป เพราะการมัวขนาดนั้นยังห่าง visual limit ของคนไข้อยู่มากและคนไข้ควรจะมีประสิทธิภาพการมองเห็นและ enjoy they life มากกว่าจะกำหนดหรือขีดชีวิตด้วยวาทะกรรมว่า “เอาชัดแค่นี้พอ เดี๋ยวปวดหัว”
เราจึงควรทำงานเพื่อ enhance vision ให้คนไข้สามารถมองเห็นรายละเอียดสูงสุดเต็มศักยภาพ หรือไปให้ถึง visual limit โดยไม่ไป over minus คนไข้ก็จะชัดและไม่ปวดหัว
578 Wacharapol rd, Tharang ,Bankhen ,BKK 10220
Mobile : 090-553-6554
LineID : loftoptometry (ไม่มี @)