B.I.G. Vision Technology

The A PARADIGM SHIFT IN INDIVIDUAL PROGRESSIVE LENS

Dr.Loft ,แปลและเรียบเรียง 

 

Introduction

 

B.I.G. Technology นั้นถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตเลนส์สายตา ซึ่งเราต้องเข้าใจกันอย่างนี้ก่อนว่า เมื่อเราพูดถึงเลนส์ เรากำลังพูดถึงคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในตัวเลนส์คือ การเปลี่ยนทางเดินของแสง ให้ลู่แสงเข้า (converg ray) หรือ ถ่างแสงออก (diverge ray) ทำให้เกิดสิ่งหนึ่งที่เราเรียกว่า focus ขึ้นมา 

 

เมื่อเราพูดถึงจุดโฟกัส สิ่งหนึ่งที่ตามมาคือ ความยาวโฟกัส หรือ focal length และแน่นอนว่า เลนส์ที่ดีคือเลนส์ที่สามารถให้กำลังหักเหที่สามารถสร้างจุดโฟกัสที่มีความยาวโฟกัสตามที่เราต้องการ นั่นคือ จุดรับภาพที่อยู่บนเรตินาที่เราเรียกว่า fovea ซึ่งเป็นจุดเล็กๆ ที่อยู่ด้านหลังของจอประสาทตา

 

ปัญหาก็คือว่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า fovea อยู่ที่ไหน เพื่อจะได้รู้ว่าจะต้องสร้างกำลังหักเหของเลนส์ให้มีความยาวโฟกัสที่พอดี ไม่ขาดและไม่เกิน เพื่อให้เกิดโฟกัสเป็นจุด และ ตกลงพอดีที่ fovea โดยที่เราไม่ต้องใช้กำลังเพ่งในการพยายาม effort เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด 

 

แล้ววิศวกรออกแบบเลนส์ในอดีต (จนถึงปัจจุบัน) จะรู้ได้อย่างไรว่าจะออกแบบเลนส์ให้มีความยาวโฟกัสเท่าไหร่ แล้วในอดีตตอนที่ยังไม่รู้ความยาวของกระบอกตานั้น เขาคำนวณความยาวโฟกัสอย่างไร แต่ที่แน่ๆ เขาไม่รู้แน่นอน และถ้าไม่รู้ ก็ไม่รู้จะคำนวณอย่างไร 

 

ด้วยปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดค่ากลางขึ้นมาค่าหนึ่งสำหรับใช้กับคน 7,000 ล้านคน (ทั้งโลก) และแน่นอนที่สุดก็คือ พี่น้องท้องเดียวกัน ยังหน้าตา ส่วนสูง ลักษณะทางกายภาพไม่เหมือนกัน แล้วลักษณะกระบอกตาจะมีความยาว ความโค้ง กำลังหักเห เท่ากันได้อย่างไร  แต่ก็ช่วยไม่ได้ เพราะถ้าไม่มีค่ากลาง วิศวกรออกแบบเลนส์ก็ไม่สามารถพัฒนาเลนส์ต่อได้เช่นกัน 

 

เราเคยคิดกันไหม ว่าทำไมเลนส์กล้องแต่ละรุ่น ใช้แทนกันไม่ได้ ซึ่งสาเหตุสำคัญคือ ระยะของตำแหน่ง เซนเซอร์รับภาพ มันได้ได้อยู่ที่เดียวกัน หรือ ความยาวโฟกัสมันไม่เหมือนกัน ของใครก็ของมัน ใช้ข้ามค่ายไม่ได้  และ การพัฒนาเลนส์ค่ายอิสระที่ทำให้ค่ายของกล้อง เช่น Tamron หรือ Sigma ก็จะต้องออกแบบว่าเลนส์จะไปใช้กับใคร canon หรือ nikon ส่วนหนึ่งก็เรื่องของตำแหน่งของ เซนเซอร์ระยะมันไม่เท่ากัน  ซึ่งมันคงไม่ใช่แค่เรื่อง จุดล๊อกเลนส์หรอก การวางตำแหน่งเลนส์ก็จะต้องคำนวณแยกจากกัน เพื่อให้มัน matching กับกล้องแต่ละรุ่น 

 

แต่แม้ว่าเลนส์กล้องมันจะดูซับซ้อนเพราะมันมีระบบอิเลคโทรนิคเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่มันก็ง่ายกว่าเลนส์สายตามากๆ เนื่องจากว่า เลนส์ทุกอย่างถูกวางในตำแหน่งที่ชัดเจน จะกี่ชิ้นก็ช่าง แต่ตำแหน่งการวางนั้นถูกคำนวณวางไว้ที่ใดที่หนึ่งอย่างชัดเจน และ เลนส์นั้นวางในลักษณะที่ฉากกับ CCD รับภาพอย่างจริงแท้แน่นอน  และไม่ต้องห่วงว่า แสงผ่านเลนส์จะไม่ตั้งฉากกับ CCD เนื่องจากเวลาเราต้องการถ่ายภาพมุมอื่นเราไม่สามารถกลอกแต่เลนส์ได้  เพราะเราต้อง pan กล้องไปหา object  ซึ่งตรงกันข้ามกับเลนส์สายตา ที่เราไม่ได้ pan ตาไปหา object แต่เราใช้การกลอกตาไปยังตำแหน่งต่างๆ เพื่อมองวัตุถุ หรือ เหลือบตาลงต่ำเมื่อต้องอ่านหนังสือหรือดูใกล้  และ ลักษณะแว่นที่อยู่บนหน้าเราก็ไม่ได้ตั้งฉากทื่อๆเหมือนเลนส์กล้อง แต่แว่นตานั้นมีความโค้ง มีมุมเทหน้าแว่น และ ยังไม่รู้ว่า fovea อยู่ที่ไหน (เหมือนไม่รู้ว่า CCD รับภาพของกล้องนั้นอยู่ที่ไหน )

 

ดังนั้นการออกแบบเลนส์สายตานั้นมีความซับซ้อนกว่าเลนส์กล้องค่อนข้างมาก ยิ่งเลนส์มีความซับซ้อนของโครงสร้างมากๆ เช่น เลนส์โปรเกรสซีฟยิ่งมีเรื่องที่ต้องคำนวนชดเชยมากมาย  ราคาเลนส์สายตาที่ดูภายนอกเหมือนไม่มีอะไร จึงมี cost ของเทคโนโลยีที่ซ่อนอยู่ในความซับซ้อนของโครงสร้างสูงกว่าเลนส์กล้อง 

 

ต่อกันเรื่องของเลนส์กล้อง ที่มีราคาถูกแพงนั้น สาระแก่นสารหลักๆที่ทำให้เลนส์ถูก หรือ เลนส์แถมมากับกล้อง นั้นมีราคาถูกกว่าเลนส์ดีๆ หลายหมื่น หรือ หลายแสนนั้น ไม่ใช่แค่เรื่องความคมชัด เพราะเลนส์ถูกๆก็ถ่ายชัดเหมือนกัน (ถ้าโฟกัส) เช่น เลนส์จากกล้องมือถือราคาถูกถ่ายก็ชัด แต่ทำไมราคาช่างต่างกับเลนส์ Leiga ที่ราคาหลายแสนจนถึงเกือบๆล้าน  

 

จุดก็คือว่า ไม่ใช่แค่ความคมชัด เพราะเลนส์กล้องถูกแพงก็ชัดเหมือนกัน  แต่เลนส์กล้องถูกๆไม่สามารถสู้เลนส์กล้องดีๆได้ก็คือ ภาพบิดเบี้ยวด้านข้างของภาพ  เช่นกล้อง wide angle ของ iphone เมื่อถ่ายตึกสูงๆ ย่อมเห็นตึกเบี้ยว ขณะที่เลนส์ดีๆนั้น ได้ทั้งความคมชัดและตึกเบี้ยวน้อยมาก และ สีสันนั้นมีความสด สมจริง มี dynamic ของแสงมากกว่าเลนส์ถูกๆ นั่นหมายความว่าคุณสมบัติการยอมให้เลนส์ผ่านทั้งจากบริเวณเซนเตอร์และด้านข้างนั้น สามารถบริหารจัดการได้ดีกว่า เฉดสีที่เข้ามาจึงสามารถเก็บได้ทั้งหมด และ แสงที่เข้าทางด้านข้างๆเลนส์ (off-axis ray) นั้นก็มีการชดเชย จนให้ภาพที่ลดการบิดเบี้ยว จนรู้สึกเหมือนภาพธรรมชาติเหมือนการเห็นด้วยตาเปล่า 

 

เลนส์สายตาก็เช่นกัน และยากยิ่งกว่าหลายขุม  เนื่องจากลักษณะการใช้สายตาเมื่อมองผ่านแว่นตานั้น เกิดการมองแบบ off-axis ตลอดเวลา ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และจะต้องทำให้ แสงไม่ว่าจะวิ่งผ่านมาทางตำแหน่งใด เกิดองศาเท่าไหร่ ก็ต้องสามารถให้โฟกัสที่คมชัดเหมือนการมองตรงผ่านเลนส์แบบตั้งฉากและนั่นคือความยากและนั่นคือ cost ที่เกิดขึ้นว่าทำไมเลนส์สายตาดีๆจึงมีค่าตัวที่สูง

 

แต่ส่ิงที่คนไม่รู้(เรื่อง)มองเห็นคือ เลนส์ใสๆเหมือนกัน มันจะมีอะไรให้แพง ก็คงใช้ได้เหมือนๆกัน  แต่พอใส่แล้ว ปรับตัวไม่ได้ ใส่ไม่ได้ ปวดหัว เครียดเบ้าตา ทำงานไม่ทน ก็ไปกินยา แล้วก็คิดไปเองว่าไม่ได้เป็นที่เลนส์ ซึ่งฟังแล้วก็น่าเห็นใจที่ไม่รู้ทุกข์  ไม่รู้เหตุแห่งทุกข์ การปฎิบัติเพื่อพ้นทุกข์จึงผิดวิถี ทุกข์จึงไม่หาย 

 

ดังนั้น วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ เทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยให้การมองเห็นของเรานั้นดีขึ้น กับ Biologic Intelligence Glasses หรือ B.I.G. technology ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อกำเนิดแว่นสำหรับดวงตาแต่ละคนจริงๆ ซึ่งเนื้อหาแม้อาจดู comercial ไปบ้าง  แต่ด้วยความที่ผมคลุกคลีอยู่กับ rodenstock มาตั้งแต่ปี 2010 และ รู้ซึ้งถึง concept technolgy และ เห็นการพัฒนาการมาตั้งแต่ต้น และจากประสบการณ์การจ่ายเลนส์ Rodenstock มาตั้งแต่ต้นจนถึงวันนี้ก็กว่า 10 ปีแล้ว ก็พบอย่างหนึ่งว่า...

 

พื้นฐานเทคโนโลยีของโรเด้นสต๊อกนั้นดีโดยตัวมันเองอยู่แล้ว แม้จะไม่มี B.I.G. technology ก็ยากที่เลนส์ค่ายอื่นๆจะตามทัน แต่กระนั้นก็ตาม ความเจริญนั้นเกิดจากการพัฒนา และ โรเด้นสต๊อกก็ไม่เคยหยุดพัฒนาเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมเลนส์สายตาให้สูงขึ้นอีกระดับ และ ผมก็ proud ใน way ที่เขาทำ จึงอยากจะเขียนขึ้นมาเพื่อให้ fanpage นั้นได้รู้จัก ได้ทำความเข้าใจ และ นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง จึงเกิดเป็นการเขียนเรื่องนี้ขึ้นมา และผมไม่ได้ประโยชน์ส่วนตัวอะไรกับการเขียนเรื่องนี้ เพราะเขาไม่ได้จ่ายอะไรให้ผม แต่ผมพอใจที่จะเขียนเพื่อให้คนได้เข้าใจถึงเลนส์ที่ตัวเองกำลังตัดสินใจจะทำขึ้นมาเพื่อดวงตาของตน หรือ เป็นข้อมูลให้กับร้านค้าแว่นที่สามารถคำความรู้นี้ไปถ่ายทอดให้ลูกค้าของตัวเองได้ 

 

ในรูปนั้น ผมดึงขึ้นมาจาก brochure แต่ผมนำมาขยายให้แฟนคอลัมน์ได้เข้าใจความหมายมากขึ้น และ เลือกใช้ เลือกจ่าย ได้ถูกต้องและเหมาะสม และเมื่อมีปัญหาก็รู้แนวทางในการแก้ไข เพื่อทำให้คนไข้ของท่านทั้งหลายนั้น ได้พ้นทุกข์จากปัญหาการมองเห็นเสียที 

 

 

B.I.G. Vision : A Paradigm Shift In Individual Progressiv Lens

 

B.I.G. Vision ถือเป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการออกแบบเลนส์โปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคลแบบใหม่ทั้งหมด ซึ่งถ้าเราจำความกันได้น้ัน โรเด้นสต๊อกได้เดินหน้าพัฒนาเลนส์เฉพาะบุคคลมาตั้งแต่ต้นก่อนเลนส์ค่ายอื่นทั้งหมด เช่น

 

ปี 2000 เปิดตัว Impression® ILT ซึ่งเป็นเลนส์โปรเกรสซีฟที่ออกแบบโครงสร้างจากการคำนวณค่าพารามิเตอร์ของกรอบแว่นจริงขณะสวมใส่อยู่บนใบหน้าของแต่ละคน ทำให้เราสามารถได้โครงสร้างโปรเกรสซีฟที่สมบูรณ์แบบแม้จะอยู่บนแว่นกรอบโค้งมากๆก็ตาม  

 

ปี 2007 เปิดตัว Impression® FreeSign ซึ่งนอกจากเลนส์จะถูกคำนวณจากพารามิเตอร์กรอบแว่นขณะสวมใส่แล้ว เลนส์รุ่นนี้ ยังใช้ personal visual demand ในการเปิดอิสระให้ผู้ใช้งานนั้นสามารถเลือกโครงสร้างได้อิสระตามลักษณะการใช้งาน (ขณะที่เลนส์ตลาดยังถูกกำหนดโครงสร้างด้วย คอริดอร์เพียง 2 คอริดอร์)

 

ปี 2010 เปิดตัว Impression® EyeLT ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่าง  ILT + Eye Model  ซึ่งแสดงถึงการพัฒนาเลนส์จากพารามิเตอร์กรอบแว่นไปสู่พารามิเตอร์ของดวงตา ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เลนส์นั้นสามารถชดเชยสายตาเอียงที่เปลี่ยนไปขณะมองไปยังตำแหน่งต่างๆของตัวเลนส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับองศาเอียงที่เปลี่ยนไปขณะมองไปยังขอบๆเลนส์ ตามกฎของ Listing's Law และ สายตาเอียงทั้งกำลังและองศาที่เปลี่ยนขณะดูใกล้  ทำให้เราสามารถสั่งค่าสายตาตา (สั้น/ยาว เอียง สำหรับค่ามองไกล และ สำหรับค่าดูใกล้ ได้อย่างอิสระ โดยไม่หยาบอยู่แค่ addition อีกต่อไป)

 

แต่เทคโนโลยีนี้ แม้จะดูล้ำหน้าไปมาก แต่มาตรฐานการตรวจสายตาในบ้านเรา ก็อย่างที่เห็นๆกันอยู่ จากการจัดสายตาเอาสบาย (ซึ่งเป็นเรื่องที่คิดเอาเองเพียงเพราะหาค่าจริงไม่เจอ) ดังนั้น การลงในรายละเอียดระดับนี้ ผู้ให้บริการส่วนใหญ่ยังทักษะไม่ถึง จึงคล้ายกับ "ลิงได้แก้วหรือกิ้งก่าได้ทอง"  แต่ก็เป็นเรื่องที่พอเข้าใจได้  เพราะ บ้านเรายังมองเรื่องปัญหาสายตา เรื่องแว่นตาเป็นร้านแว่นตาพาณิชย์ ซื้อมาขายไปกันอยู่ การจะมองลึกถึงสาธารณสุขสายตานั้น ก็ดูจะฝันกลางวันเกินไป 

 

ด้วยปัญหาดังกล่าว โรเด้นสต๊อกจึงพยายามพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยในการเก็บข้อมูลทางกายภาพดวงตาเพิ่มเติม ที่เรารู้จักกันในชื่อว่า DNEye® Scanner ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการ screening ค่าสายตามองไกล  และ ค่าสายตามองใกล้ ในเครื่องเดียว เพื่อใช้เป็นค่าตั้งต้น ให้ผู้ตรวจนั้นเกิดความตระหนักเมื่อพบว่าคนไข้ของเรานั้น มีค่าสายตาเอียงมองไกลและใกล้นั้นไม่เหมือนกัน และ ให้ค่าข้อมูลทางกายภาพอื่นๆที่สามารถนำไปใช้ในการ input เพื่อคำนวณออกแบบเลนส์ให้เหมาะสมกับกายภาพของดวงตาของแต่ละคน เกิดเป็นเลนส์รุ่นใหม่คือ  DNEye® technology ซึ่งมีเฉพาะรุ่นท๊อปสุดอย่าง Impression® FreeSign 2 + DNEye® technology  ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เลนส์นั้นถูกคำนวณจากสายตาที่ตรวจได้ทางคลินิก บนแว่นตาจริงขณะสวมใส่ และ เลือกโครงสร้างตามไลฟ์สไตล์ ตามแต่ละลักษณะทางกายภาพของดวงตาแต่ละคนได้  ซึ่งแน่นอนว่า ต้องใช้เครื่องมือพิเศษจาก DNEye® Scanner ซึ่งมีราคาสูงพอสมควร 

 

DNEye® Scanner นั้นมีค่าตัวที่ค่อนข้างสูงขนาดที่สามารถเปิดร้านแว่นตาเอื้ออาทรได้หลายสาขาเลยทีเดียว คนส่วนใหญจึงไม่ get ว่าจะซื้อมาทำอะไร  แต่กระนั้นก็ตาม โรเด้นสต๊อกก็มีแผนที่จะ launch เครื่องตัวนี้เข้าสู่ตลาดโลก เนื่องจากโรเด้นสต๊อกสามารถเก็บข้อมูลทางกายภาพของดวงตาแต่ละคนได้ทั้งโลก เกิดเป็น Big Data ขนาดใหญ่ ตลอดช่วงระยะเวลากว่าสิบกว่าปีที่ผ่านมา

 

โดยในช่วงเร่ิมต้นนั้น ข้อมูลจาก DNEye Data ถูกนำไปใช้ในการออกแบบเลนส์สำหรับดวงตาเฉพาะบุคคลในกลุ่มเลนส์ FreeSign อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ซึ่งเป็น option ซึ่งมี cost ที่ต้องจ่ายเพิ่ม ขณะที่รุ่นอื่นๆถ้าไม่เลือกใช้ DNEye ก็จะใช้ EyeModel ของ GullStrand (ศึกษาเพิ่มเติม https://www.loftoptometry.com/Gullstrand’s schematic eyes )

 

 

Introduce

BIOMETRIC INTELLIGENT GLASSESTM

 

ในปี 2022 โรเด้นสต๊อกได้เปิดตัวเลนส์โปรเกรสซีฟรุ่นใหม่ที่มีความแม่นยำในการำคำนวณสูงสุดเท่าที่เคยมีมา ด้วยการใช้ข้อมูลเฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยเฉพาะข้อมูลทางกายภาพของดวงตา (biometric eye model)ทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ค่าความยาวของกระบอกตาแต่ละคน (axial length) ค่าความโค้งของกระจกตา ค่าความหนากระจกตา  ความลึกของน้ำในช่องลูก ขนาดจริงของรูม่านตาในแต่ละสภาวะแสง  รวมถึงค่าอื่นๆอีกหลายพันข้อมูล นำไปใช้ในการคำนวณแบบจุดต่อจุดบนตัวเลนส์​เพื่อให้ได้ความแม่นยำสูงสุดทั่วทั้งแผ่นเลนส์ 

 

ด้วยผลการคำนวณที่แม่นยำจากข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณที่ละเอียดครบถ้วน ทำให้เราสามารถได้เลนส์ที่มีความคมชัดสูงสุดในทุกสภาวะดวงตา ซึ่งความคมชัดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่ central vision แต่ยังให้ความคมชัดที่สุดในทุกๆแนวของการมองในทุกระยะ เช่นการเหลือบมองอ่านหนังสือที่ต้องเหลือบตาลงต่ำหรือการเหลือบมองด้านข้าง ที่เกิดการมองผ่านเลนส์แบบทำมุม  ซึ่งโรเด้นสต๊อกตั้งชื่อเลนส์เทคโนโลยีนีว่า B.I.G. technology ( Biometric Intelligent Glasses)

 

 

WHY BIOMETRIC INTELLIGENT GLASSES ? 

 

ในการทำความเข้าใจว่าเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดนี้ที่ต้องใช้ข้อมูลทางกายภาพของดวงแต่ละคนไปคำนวณเพื่อออกแบบเลนส์นั้น ก่อนอื่นต้องไปทำความเข้าใจเรื่อง Dynamic Demand ของระบบการมองเห็นกันเสียก่อน 

 

อย่างที่ได้กล่าวเอาไว้ข้างต้นว่า  ดวงตามนุษย์แม้จะมีระบบคล้ายๆกับกล้องถ่ายภาพ แต่สิ่งหนึ่งที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงคือ ระบบ Dynamic ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อตาทั้งหกมัด ที่สอดประสานการทำงานเพื่อให้ดวงตานั้นสามารถเคลื่อนที่ไปยังมุมต่างๆที่สนใจได้รวดเร็วและทันที ซึ่งเราเรียกระบบนี้ว่าระบบ motor system ซึ่งรูปแบบการเคลื่อนที่ก็มีอยู่หลายอย่างเช่น การมองแบบกระชากไปมอง เช่นการมองไปเร็วๆ เช่นมีเสียงตูม ตาเราก็เหลือบไปมองอย่างราวเร็ว เรียกว่า Saccade movement  หรือ เวลาอ่านหนังสือขณะนี้เราก็จะกวาดสายตาไล่ตามตัวหนังสืออย่างราบเรียบและต่อเนื่อง เรียกว่า smooth pursuit  เมื่อสุดบันทัดเราก็จะกวาดตาอย่างรวดเร็วเพื่อมาจับบรรทัดใหม่ ซึ่งก็เป็นการเคลื่อนที่แบบ saccade อีกครั้ง  หรือ ขณะที่เราขับรถ หรือ ปั่นจักรยาน  ดวงตาเราจะมีการเคลื่อนที่เพื่อดูสิ่งต่างๆโดยรอบอยู่ตลอดเวลาเป็นหน่วยวินาที ว่ากันว่า ในหนึ่งวันนั้นตาเรามีการเคลื่อนที่มากกว่า 200,000 ครั้งต่อวัน 

 

เมื่อตามีการเคลื่อนที่เพื่อไปจับภาพของวัตถุ  สัญญาณของข้อมูล(ในรูปแบบของคลื่นไฟฟ้าเคมี) จากดวงตาก็จะถูกส่งยังสมองเพื่อทำการแปรผล ดังนั้นในทุกๆ วินาทีนั้น มีข้อมูลใหม่เข้ามาที่สมองตลอดเวลา ทำให้ต้องตีความแปรผลตลอดเวลา ดังนั้นคลื่นไฟฟ้าที่ถูกส่งมาจากดวงตา จึงจำเป็นต้องเป็นคลื่นที่มีความคมชัด สีสันชัดเจน ไม่ขาดตอน ไม่มี visual noise สมองจึงจะสามารถตีความหรือประมวลผลได้เร็ว สมองจึงฉลาดขึ้น ทำงานน้อยลง ประหยัดพลังงานได้มากขึ้น เหนื่อยน้อยลงแต่ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เรียนรู้ได้เร็วขึ้น 

 

visual noise ถ้าอุปมาก็เหมือนกับการที่เราหมุนวิทยุไม่ตรงคลื่น ซึ่งเสียง noise เหล่านั้น แม้จะมีเสียงของเป้าหมายการฟังอยู่ แต่ noise ก็จะรบกวนทำให้สมองในการแปลสัญญาณเสียงนั้นต้องทำงานหนักในการตีความ เมื่อเราฟังนานๆเราก็จะรำคาญหรือเหน็ดเหนื่อย หรือ เหมือนเราพยายามฟังใครสักคนพูดอยู่ในที่ที่มีเสียงรบกวนมาก เช่นเสียงดังจากรถยนต์ หรือเสียงจากการก่อสร้าง เราย่อมจะต้องพยายามมากกว่าปกติในการรับข่าวสารและตีความ ดวงตาก็เช่นเดียวกัน 

 

ด้วยเหตุนี้  การมองเห็นของเราจึงขึ้นอยู่กับการตีความของสมอง  ส่วนดวงตามีหน้าที่ในกรเก็บภาพที่ปลอด visual noise และ biometric intelligent glasses มีหน้าที่ทำให้ดวงตาสามารถได้ภาพที่มีความคมชัด สีสันสดใส สมจริง ในทุกลักษณะของการมอง บนแว่นทุกแบบขณะที่สวมใส่ 

 

 

Human vision consists of subsystems : focus vision and peripheral vision

 

ระบบการมองเห็นของมนุษย์นั้น แบ่งเป็นสองส่วนคือ ส่วนของ central vision หรือ focus vision คือส่วนของภาพที่คมชัดที่สุด ซึ่งจะเกิดขึ้นบนจุดเล็กๆที่อยู่บนเรตินาของเรา ที่เราเรียกว่า macula หรือ fovea ซึ่งเป็นจุดที่มีเซลล์รับภาพชนิด cone cell อยู่หนาแน่นทำให้รับภาพสีได้ละเอียดที่สุด และเมื่อเราจะมองอะไรให้ชัด เช่นแม้แต่เราอ่านหนังสือก็ต้องกลอกตาอ่านหนังสือไล่ตามตัวอักษร ก็เพื่อให้ตัวหนังสือนั้นมาตกบน fovea นี่เอง เช่นเดียวกัน เวลาเราขับรถ จะต้องเหลือบตาไปมองกระจกหลัง กระจกข้าง มองไกล ก็เพื่อให้ภาพมาตกบน central vision นี้เอง 

 

อีกส่วนหนึ่งคือ peripheral vision หรือการมองเห็นด้านข้าง ภาษาไทยเรียกว่า ลานสายตา ซึ่งเป็นภาพที่ตกบนเรตินาส่วนด้านข้าง รอบๆ macula ไปจนถึงสุดขอบของจอประสาทตา ซึ่งเซลล์ประสาทบริเวณนี้จะเป็นที่อยู่ของ rod cell ซึ่งมีคุณสมบัติสำคัญคือ มีความไวต่อแสงสูงมาก ทำให้เรามองเห็นในกลางคืนหรือที่ที่มีแสงน้อยได้ เช่นขณะที่เราเดินเข้าไปในโรงหนัง จังหวะแรกเราจะรู้สึกว่ามันมืดมาก แต่สักพัก เราจะเริ่มเห็นรายละเอียดในที่มืด และ เราก็จะรู้สึกว่า ก็ไม่มืดเท่าไหร่  นอกจากนี้แล้ว เซลล์ประสาทเหล่านี้ยังมีความไวต่อสิ่งที่มีการเคลื่อนไหวเล็กๆน้อยๆ เช่นการกระพริบของหลอดไฟเบาๆ หรือ การขยับอะไรเล็กๆน้อยๆ เราก็จะรู้สึกได้ 

 

การมองเห็นของสมอง จำเป็นต้องได้รับภาพที่สมบูรณ์จากทั้ง  central vision และ peripheral vision ในการสอดประสานการทำงานส่งข้อมูลมาให้สมองตีความ โดย peripheral vision จะส่งภาพเคลื่อนไหวหรือสิ่งต่างๆที่อาจจะสนใจหรือไม่สนใจ และ สมองมีหน้าที่ว่าจะสนใจแล้วกลอกตาเอา central vision เข้าไปจับ แต่ถ้าไม่สนใจก็ปล่อยไป  

 

ดังนั้นเลนส์ B.I.G. ทำหน้าที่สำคัญคือ ให้ภาพที่สมองตัดสินใจง่ายว่าจะภาพที่เกิดขึ้นรอบๆตัวเป็นภาพอะไร จะต้องกลอกตาไปรับภาพหรือไม่ ทำให้การมองเห็นนั้นสมบูรณ์  สมองไม่ต้องเหนื่อยมากในการตีความ 

 

 

YOUR EYES MOVE 250,000 TIMES A DAY

 

slide ที่ผ่านมาเราได้ไปทำความรู้จักกับระบบการมองเห็นและรูปแบบการเคลื่อนที่ของลูกตา ซึ่งสไลด์นี้แสดงให้เห็นถึงในแต่ละวันนั้นดวงตาของเรามีการเคลื่อนที่กว่า 250,000 ครั้งต่อวัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องเล็กเลยที่ตาจะต้องวิ่งไปวิ่งมาเพื่อจับภาพไปส่งให้สมองประมวลผล ตีความ และ ตอบสนองต่อสิ่งที่สนใจ หรือ ถ้าไม่เห็นก็ไม่สนใจ เช่นเห็นโจรวิ่งมาทำท่าจะมาราวกระเป๋า ถ้าเราเห็นตั้งแต่ peripheral vision แล้วสมองสนใจสั่งให้ central vision เข้าจับภาพให้ชัด สมองรู้ได้ในเสียววินาทีว่าเป็นโจรแน่ๆ ก็จะเกิดการสั่งการให้เราหนีหรือสู้ในฉับพลันทันที  ในทางตรงกันข้ามคือมองไม่เห็น ไม่รู้ว่าคนปกติหรือโจร การตอบสนองไม่มี ก็อาจทำให้การปองร้ายของผู้ร้ายนั้นบรรลุผล และ ผู้เสียหายคือเราอย่างนี้เป็นต้น 

 

ดังนั้นในการโฟกัสภาพนั้น ไม่ว่าจะมองไกล กลาง หรือ ใกล้ จะต้องมี dynamic vision โดยมี peripheral vision เข้ามา support อยู่ตลอดเวลา และ นี่คือเหตุผลว่า เลนส์โปรเกรสซีฟที่ว่าสามารถใช้งานได้ทุกระยะนั้น จะมาสนใจจุดชัดเพียงแต่ตำแหน่ง reference point  (far point ,near point) ไม่ได้ แต่ต้องสนใจ peripheral vision ที่เกิดด้านข้างและทุกจุดบนตัวเลนส์ด้วย 

 

การพูดดูง่าย แต่การทำนั้นไม่ได้ง่าย เพราะการที่จะรู้ว่า เมื่อตามีการกลอกหลังเลนส์โปรเกรสซีฟอยู่นั้น ขณะที่มองไปยังตำแหน่งต่างๆนั้น ตากระทำมุมอยู่กับเลนส์เกิดองศาอย่างไร เพราะว่าการมองผ่านเลนส์แบบทำมุมนั้น ทำให้แสงวิ่งผ่านเลนส์แบบไม่ตั้งฉาก หรือ off axis ray เป็นผลให้เกิด aberration ที่เราเรียกว่า oblique astigmatism เป็นผลให้โฟกัสเคลื่อน เกิดสายตาสั้น/ยาว/เอียงแถมเข้ามา เกิดปริซึมทำให้ภาพย้ายตำแหน่ง เกิดภาพเบี้ยวจาก distortion เกิดภาพมัวจาก refractive error 

 

ซึ่งทั้งหมดจะต้องเริ่มจาก การตรวจวัดสายตาที่ถูกต้องแม่นยำ ซึ่งขณะตรวจสายตานั้นเป็นการตรวจที่ตามองผ่านเลนส์แบบตั้งฉาก ไม่ว่าจะบน phoropter หรือ trial frame ล้วนตั้งฉากทั้งสิ้น แต่ในความเป็นจริง แว่นตาที่สวมใส่ไม่มีแว่นตัวไหนที่ไม่มีความโค้งหรือมุมเท (เว้นแต่แว่นตาที่ไม่ได้มาตรฐาน) ทำให้แว่นมาตรฐานมีความโค้งอยู่ค่าหนึ่ง เกิดมุมเทอยู่ค่าหนึ่ง และ ห่างจากกระจกตาอยู่ค่าหนึ่ง ซึ่งค่าเหล่านี้เราสามารถหาค่าที่แน่นอนได้ด้วยการวัดพารามิเตอร์​ 

 

เมื่อเรารู้สายตาที่แน่นอน รู้พารามิเตอร์ที่แน่นอน รู้ตำแหน่งฟิตติ้งขณะสวมใส่แว่นที่แน่นอน เราก็จะสามารถรู้ต่อไปว่า ขณะมองตรงที่ primary gaze นั้นตากระทำมุมกับเลนส์เกิดองศาเท่าไหร่ แล้วจะเกิด aberration เช่น oblique astigmatism เท่าไหร่ และ ยังรู้ต่อไปว่า เมื่อเหลือบตาลงต่ำเพื่ออ่านหนังสือ ตามีการบิดตัวและเหลือบเข้าทำให้เกิดมุมเปลี่ยนไปเท่าไหร่ และ องศาสายตาเอียงเปลี่ยนจากตามีการบิดตัวขณะเหลือบดูใกล้เท่าไหร่ (จาก listing's law) นอกจากนี้ยังรู้ต่ออีกว่า เมื่อมองหลุด reference point ไปยังตำแหน่งอื่นๆ ในแต่ละองศารอบๆเลนส์นั้นจะเกิดการบิดตัวลูกตาเท่าไหร่ (listing's law) และเกิดแสงที่ off axis เท่าไหร่ เหล่านี้ทำให้เราสามารถรู้ aberration ที่จะถูก induce ได้ทั้งหมด และ ทำการชดชยให้จุดข้างๆของเลนส์นั้นสามารถให้ค่าความคมชัดเช่นเดียวกับตำแหน่ง reference point 

 

แต่ก็ยังไม่พออยู่ดี เนื่องจากดวงตามีการเคลื่อนที่รอบจุดหมุนเป็นแนวการเคลื่อนที่แบบวงกลม ดังนั้นการคำนวณให้แสงเดินทางผ่านเลนส์แล้ววิ่งผ่านจุดหมุนเพื่อให้ตกบนจุดรับภาพนั้น จำเป็นจะต้องรู้ center of rotation ของลูกตาของแต่ละคนที่แน่นอน จึงจะสามารถคำนวณได้แม่นยำ ซึ่งการจะรู้ center of rotation ได้จะต้องรู้ความยาวของกระบอกตา หรือ axial length ที่แน่นอน จึงจะสามารถทำได้ 

 

ขยายความอีกสักเล็กน้อยว่า เหตุใด แว่นตาจึงต้องมีความโค้ง และ มีมุมเท  ซึ่งเห็นผลก็เพราะ ดวงตามีการเคลื่อนที่รอบจุดหมุนนี่เอง และ การออกแบบเลนส์ไม่ว่าจะเลนส์อะไรก็ตาม จะต้องทำให้ แสงที่ผ่านเลนส์เข้ารูม่านตา (line of sight) ออกไปแล้วจะต้องวิ่งไปผ่านจุดหมุน ก่อนที่จะตกบนจุดรับภาพ จึงจะทำให้การมองเห็นนั้นสมบูรณ์  สิ่งนี้เป็นเหตุให้เราต้องปรับ optical center ให้ต่ำลงมาจากตำแหน่งฟิ้ตติงให้สอดคล้องกับมุม panto ของแว่น (ในอัตราส่วน 2 : 1) และ ในการออกแบบเลนส์โปรเกรสซีฟจะต้องมีการนำเรื่องนี้ไปคำนวณด้วย เราจึงมักเห็นว่า ตำแหน่ง fitting cross นั้นอยู่ต่ำกว่าตำแหน่งของ DF,Design point at far หรือตำแหน่งมองไกลประมาณ 4 มม. ขณะที่ Rodenstock น่าจะเป็นเลนส์ค่ายเดียวที่ใช้ fitting cross ไว้ที่เดียวกันกับตำแหน่ง DF เนื่องจากโรเด้นสต๊อกมีเทคโนโลยีชดเชยพารามิเตอร์กรอบแว่นขณะสวมใส่ตั้งแต่ปี 2000 แล้ว จึงไม่ต้องมาเผื่อมุม panto เหมือนเลนส์ค่ายอื่นๆ 

 

 

EVERY EYE IS DIFFERENCT 

 

ในการออกแบบเลนส์​ที่แม่นยำ เราจะต้องรู้ความยาวโฟกัสที่แน่นอน จึงจะได้ภาพที่คมชัดได้ ซึ่งระยะห่างระหว่างผิวหลังของเลนส์ถึงผิวกระจกตานั้นเรารู้ได้จากการวัดด้วยเครื่องมือวัด CVD แต่หลังจากกระจกตาไปถึงจอประสาทตานั้นเราไม่รู้ได้เลย แล้วจะต้องคำนวณกำลังเลนส์เท่าไหร่ เพื่อให้ไปตกที่ไหน ซึ่งไม่มีทางรู้ได้เลย จึงจำเป็นจะต้องใช้ค่ากลางของ Gullstrand eye model ที่กำหนดว่า axial lenght ของคนนั้นยาว 24 มม. ซึ่งมันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ค่าตายตัวค่าเดียวจะไป matching กับคนทั้งโลก แต่จะทำยังไงได้ก็เราไม่รู้ มันก็จำเป็น  และ เลนส์ทุกค่ายในตลาดเลนส์ขณะนี้ ก็ใช้ค่ากลางนี้ทั้งหมด 

 

ในเมื่อแต่ละคนนั้นมีลักษณะทางกายภาพของดวงตาที่ไม่เหมือนกัน หรือ ตาขวาตาซ้ายของแต่ละคนยังไม่เหมือนกัน ก็เป็นไปได้ยากที่จะคำนวณเลนส์ที่มีความแม่นยำสูง แต่ปัญหาดังกล่าวก็หมดไปหลังจาก โรเด้นสต๊อกสามารถพัฒนาเครื่องมือที่สามารถตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ต่างๆของกายภาพดวงตา (DNEye® Scan) แล้วใส่ค่าเหล่านี้ไปร่วมคำนวณออกแบบโครงสร้าง ผลที่ได้คือการคำนวณแต่ละจุดทั่วทั้งผิวเลนส์ได้แม่นยำขึ้น ผู้ใช้จึงสามารถได้รับคุณภาพของการมองเห็นที่ดีกว่าเดิม 

 

 

98% of the world's progressive lens don't fit the user's eye 

 

ความท้าทายคือ ความคับแคบของ mind set ในโลกของโปรเกรสซีฟนั้นถูกควบคุมด้วยค่ากลางของ GullStand eye model (ตาปลอม) ที่กำหนดค่ากลางที่ประมาณขึ้นมาอย่างหยาบๆ แคบๆ เพียงไม่กี่ค่า และ เราต้องวิ่งตามนั้น โดยไม่เคยได้รู้เลยว่า โฟกัสที่เกิดขึ้นบนจุดรับภาพอีกฝั่งของเลนส์นั้นดีมากน้อยแค่ไหน ก็ได้แต่คาดเดาว่ามันจะดี จริงไม่จริงก็อีกเรื่องหนึ่ง 

 

อีกส่วนหนึ่งคือเราเข้าใจกระบวนการทำงานของสมองเกี่ยวกับการมองเห็นนั้นน้อยมาก เรารู้แต่ว่าจะทำยังไงให้โฟกัส (นึกว่าจะเหมือนกับเลนส์กล้อง) แต่เราไม่รู้ว่าสมองคิดอย่างไรกับสัญญาณที่ได้รับ เกิด visual processing และ visual perception รับรู้และตีความอย่างไร และ เลนส์ส่วนใหญ่ก็ยังคิดค้นออกแบบโครงสร้างเลนส์บนพื้นฐานของตาปลอมๆอยู่ ทำให้อุตสาหกรรมเลนส์ยังไม่ได้เดินหน้าเท่าที่ควรจะเป็น และนี่เองที่เป็นเหตุให้อย่างน้อยกว่า 98% ของผู้ที่ใช้งานเลนส์โปรเกรสซีฟนั้น ไม่ได้ใส่แว่นที่พอดีกับดวงตาของตัวเองจริงๆ 

 

 

TODAY, Progressive lens are made using a static reduced eye model that doesn't match the individual eye.

 

ปัจจุบันเลนส์โปรเกรสซีฟ(เกือบ)ทุกค่ายยังคงออกแบบเลนส์โดยใช้ค่าคงที่ ซึ่งเป็นค่า reduced eye (ตาปลอม) ซึ่งเป็นโมเดลลูกตาที่กำหนดค่าพารามิเตอร์ทางกายภาพไว้เรียบร้อย ซึ่งเป็นค่าที่ตรงหรือถูกต้องกับตาคนจริงๆเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และ เมื่อทำอย่างนั้นเราพบว่า  ความยาวกระบอกตา (eye lenght) นั้นใกล้เคียงตามนุษย์เพียง 14%  กำลังหักเหของสายตาสเฟียร์(sphere cornea power )ของผิวกระจกตาเพียง 27%  กำลังหักเหของสายตาเอียง (astigmatism cornea power) ของผิวกระจกตาเพียง 16%  และ ความลึกของช่องน้ำในลูกตา (anterior chamber depth) เพียง 25%  และ เมื่อเราเอาทุกค่ามาเฉลี่ยดูกับคนส่วนใหญ่ เราพบว่า มีเพียง 2% เท่านั้นที่จะมีค่าพารามิเตอร์ใกล้เคียงกับค่ากลาง และนี่เป็นเหตุผลที่มากพอ ที่โรเด้นสต๊อกเลือกจะทิ้ง old eye model ที่ใช้กันมาร่วม 200 ปี ทิ้งให้เป็นเรื่องของกาลครั้งหนึ่งเราเคยถูกบังคับให้เดินตามเส้นทางนั้น แต่เมื่อมีเส้นทางใหม่ที่ดีกว่า เพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้คนได้ดีกว่า ก็คงไม่จำเป็นต้องทนเดินบนเส้นทางเดิมอีกต่อไป ( แต่สำหรับค่ายอื่นๆ ที่ยังไม่มีเส้นทางของตัวเองที่ดีกว่า ก็คงจำเป็นต้องใช้เส้นทางของบรรพบุรุษต่อไป เดินตามผู้ใหญ่สุนัขไม่กัดแน่นอน )

 

 

WE SIMPLY NEED TO THINK BIGGER 

 

การที่จะก้าวข้ามความคิดที่ถูกจำกัดให้คิดแคบๆ ง่ายที่สุดก็คือคิดให้ใหญ่ขึ้น นั่นคือเหตุผลว่าทำไมโรเด้นสต๊อกจึงต้องการข้อมูลนับพันๆจุดจากการตรวจวัดพารามิเตอร์ของดวงตาแต่ละคน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้ไม่เพียงแค่จะเอาค่าความยาวของกระบอกตาเท่านั้น แต่ต้องการค่า biometric data อื่นๆ เช่น ค่า lower order aberration และ higher order aberration ขนาดรูม่านตาในแต่ละสภาวะแสง เพื่อดูลักษณะการหักเหของแสงในแต่ละสภาวะแสงเมื่อมีการวิ่งผ่านของแสงเข้าสู่ดวงตา ตลอดจนไปถึงลักษณะพื้นผิวของกระจกตา (corneal topograph) และ ความลึกของช่องน้ำในลูกตา เหล่านี้ก็เพื่อจะทำการชดเชยความคลาดเคลื่อนของแสงเมื่อเดินทางผ่านตัวกลางต่างๆภายในดวงตา  และ การคิดใหญ่นี้ก็เพื่อจะออกแบบเลน์โปรเกรสซีฟให้มีความแม่นยำสูงสุด 

 

 

CONSTRUCTING A COMPLETE INDIVIDUAL BIOMETRIC EYE MODEL 

 

ด้วยการผสมผสานข้อมูล biometric data จาก DNEye® Scanner และ เทคโนโลยีที่เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของโรเด้นสต๊อก ทำให้โรเด้นสต๊อกสามารถพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ทั้งหมด เพื่อนำไปคำนวณออกแบบเลนส์ได้อย่างแม่นยำ 

 

ข้อมูลที่ได้เหล่านี้ถูกนำไปใช้ในการสร้าง biometric eye model ที่มีความจำเพาะในแต่ละบุคคล และ ด้วยการใช้ eye model เหล่านี้ทำให้โรเด้นสต๊อกสามารถที่จะสร้างเลนส์ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลในความละเอียดระดับไมครอน  ซึ่งโรเด้นสต๊อกเรียกเทคโนโลยีลิขสิทธิ์เฉพาะนี้ว่า DNEye® PRO Technology และ โรเด้นสต๊อกถือเป็นผู้ผลิตรายเดียวที่สามารถส่งข้อมูลทั้งหมดเข้าร่วมการออกแบบเลนส์ได้โดยตรง โดยไม่ต้องมีค่ากลางใดๆมาเป็นอุปสรรคหรือสร้างขีดจำกัดของการคำนวณ

 

หมายความว่า โรเด้นสต๊อกสามารถจำลองดวงตาในแต่ละข้างของแต่ละคนขึ้นมา และ สามารถส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องทุกอย่างเข้าไปสู่โครงสร้างเลนส์ได้โดยตรง  ดังนั้นในการสั่งเลนส์แบบใหม่นั้นไม่สามารถโทรสั่งด้วยข้อมูลไม่กี่ค่าได้อีกต่อไป แต่จะต้องใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องทุกอย่างเช่น DNEye® scan ในการเก็บข้อมูลดวงตา  ImpressionIST® ในการเก็บพารามิเตอร์กรอบแว่นขณะสวมใส่ จากนั้นก็ใส่ค่าสายตาสั้น ยาว เอียง ปริซึม แอดดิชั่น ที่ตรวจได้ในห้องตรวจ สั่งผ่านโปรแกรม winfit®  ที่ลิ้งกับ server ของทางผู้ผลิตที่เยอรมัน  จากนั้นก็ดึงข้อมูลทุกอย่างเข้ามาไว้ใน winfit® แล้ว encript เป็น bundle data ก่อนจะส่งทางผู้ผลิตเพื่อทำการคำนวณออกแบบโครงสร้างเลนส์ต่อไป 

 

 

How Rodenstock measures and calculates individual eye

 

DNEye® Scanner เป็นเครื่องมือที่โรเด้นสต๊อกใช้ในการเก็บข้อมูลทางกายภาพของดวงตา (biometric data) ซึ่งข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการนำไปออกแบบจำลองดวงตาแต่ละคนได้แก่ ความยาวของกระบอกตา(eye length)  กำลังหักเหของกระจกตาและความหนา (cornea power ,cornea thickness) ความลึกของน้ำในช่องลูกตา (anterior chamber depth)  ขนาดของรูม่านตาใหญ่สุดและเล็กสุดในแต่ละสภาวะแสง (pupil size)  กำลังหักเหของเลนส์แก้วตา (crystalline lens power) และ ความลึกของชั้นวุ้นในตา (vitreous chamber depth)

 

ด้วยเหตุนี้ โรเด้นสต๊อกจึงต้องการข้อมูลจากดวงตาเป็นพันๆจุดด้วย DNEye® Scanner เหล่านี้ก็เพื่อนำไปคำนวณโครงสร้างร่วมกับค่าสายตาที่ตรวจวัดได้จากทางคลินิก เพื่อให้ได้โครงสร้างเลนส์ที่แม่นยำ ความบิดเบือนต่ำ นั่นเอง 

 

 

FROM PRECISE EYE MEASUREMENTS TO TRUE PRECISION VISION WITH BIOMETRIC INTELLIGENT.

หลังจาก Rodenstock ได้รับข้อมูลของกายภาพของดวงตาแต่ละข้างในแต่ละคนแล้ว กระบวนการออกแบบเลนส์เฉพาะบุคคลจึงจะเริ่มขึ้น โดยมีขั้นตอนดังนี้ 

1.เก็บข้อมูลทางกายภาพดวงตาด้วย  DNEye® Scanner

ในการเก็บข้อมูลทางกายภาพดวงตานั้น ทำได้โดยง่ายเพียงมีเครื่องมือที่เรียกว่า DNEye® Scanner ในการแสกนเก็บข้อมูล และ ด้วยการทำงานที่เป็น full-autonomic ทั้งหมด ทำให้ใช้งานได้ง่าย ซึ่ง optician ทั่วไปสามารถทำได้เพียงกดปุ่ม 

 

แต่สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักคือ DNEye® Scanner มีเอาไว้สำหรับหาค่า biometric data ไม่ใช่เครื่องมือที่ใช้เพื่อหาค่าสายตาที่ถูกต้องแม่นยำ แม้ว่ามันจะสามารถทำหน้าที่เหมือน auto-refraction แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ค่าที่วัดได้ด้วยเครื่องจะเป็นค่าที่ถูกต้องหรือแม่นยำ ความเป็นจริงมันยังห่างไกลความแม่นยำอยู่มาก เพราะดวงตาเราจะตอบสนองเป็นธรรมชาติกับแสงที่เราสามารถมองเห็นได้ หรือ visible light  

 

แต่เครื่องวัดสายตาคอมพิวเตอร์นั้นใช้ infrared หรือ electomagnetic wave front ซึ่งไม่ใช่ visuble light  ประกอบกับ target ที่ให้มองก็เป็นเพียง visual dept ไม่ใช่ target จริงที่วางอยู่ในระยะไกล ทำให้การตอบสนองของตานั้นไม่เป็นธรรมชาติ ผลก็คือ เครื่องพวกนี้ จะยิงค่าสายตาได้ over minus ในคนสายตาสั้น  หรือ ให้ค่าสายตาสั้นในคนสายตาปกติ  และ ให้ค่า under plus ในคนสายตายาว (hyperopia)  ดังนั้น การใช้เครื่อง DNEye® Scanner ทำได้เพียงเป็นค่าเริ่มต้นในการทำ subjective refraction และไม่สามารถใช้เป็นค่าดิบๆ หรือจ่ายแบบทื่อๆตรงๆได้  การตรวจวัดสายตาจึงต้องเป็นเรื่องที่ต้องโดยผู้มีความรู้ความเข้าใจจริงๆ 

 

2.ส่งต่อข้อมูลให้ Rodenstock

ความจริงอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ไม่ใช่แค่ Rodenstock ที่มีเครื่องหน้าตาแบบนี้ แต่ยังมีของอีกหลายค่ายที่มีเครื่องมือหน้าตาแบบนี้ ต่างกันที่สีของกระดอง และ หน้าจอ interface ที่ให้การแสดงผลที่คล้ายๆกัน และ มีฟังก์ชั่นในการทำงานเหมือนๆกัน ซึ่งผู้ที่ผลิตเครื่องตัวนี้ให้แบรนด์อื่นๆคือ Visionix  แต่กระนั้นก็ตาม เครื่องมือดังกล่าวที่มีใช้เลนส์อยู่ในค่ายอื่นๆนั้น ไม่มีระบบหรือเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมต่อ biometric data ที่สามารถเก็บข้อมูลแล้วส่งต่อเข้าสู่การคำนวณเลนส์ได้โดยตรง และยังคงทำหน้าที่ได้เพียงเครื่องมือ stand alone ในการ investigate ทั่วไปเท่านั้น ไม่สามารถนำค่าเหล่านั้นไปร่วมในการคำนวณเลนส์ได้ ผลลัพธิ์ของเลนส์ที่ได้จึงไม่เหมือนกัน 

 

3.คำนวณโครงสร้างเลนส์จากชุดข้อมูลที่ได้รับ 

หลังจากได้รับข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องในการออกแบบเลนส์ โรเด้นสต๊อกมีซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ที่ทรงพลังในการคำนวณข้อมูลที่ได้รับเพื่อคำนวณ personal eye model ต่อไป 

 

4.สร้างแบบจำลอง  biometric eye model

หลังจากคำนวณแล้ว ต่อมาซอฟท์แวร์จะทำการสร้างแบบจำลองดวงตาแต่ละขึ้นขึ้นมาอย่างแม่นยำ 

 

5.ส่งต่อข้อมูลดิจิทัลสู่การผลิตเลนส์

หลังจากได้ข้อมูล biometric ครบถ้วนแล้ว ขั้นตอนต่อไป ก็จะเป็นการส่งต่อข้อมูลดิจิทัล สู่ 3D-free form technolgy ในการทำการขัดโครงสร้างที่มีความละเอียดและแม่นยำสูงสุดกับดวงตาแต่ละคน เลนส์ที่ได้ก็จะเป็นเลนส์ที่เกิดจาก biometric data ที่จำเพาะ 

 

6. Biometric Intelligent GlassesTM

สุดท้ายเราก็จะได้เลนส์โปรเกรสซีฟ ที่เกิดการผสมผสานของค่าสายตา และ ข้อมูลทางกายภาพ ได้เป็นเลนส์ที่มีความจำเพาะบุคคลสูงสุด ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้ ใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน 

 

 

 

APPLYING BIOMETRIC INTELLIGENCE IS WHAT MAKES THE BIG DIFFERENCE

 

Biometric Intelligent Glasses ทำให้เราได้รับประสบการณ์ใหม่ในการใช้สายตาได้ดีเยี่ยมในทุกกิจกรรม ที่ต้องมีการกลอกตาอยู่ตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะมองไกล มองคอมพิวเตอร์ หรือดูใกล้ หรือต้องขับรถ หันซ้าย หันขวา เปลี่ยนระยะการมองเร็วๆ ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการมองเห็นอีกต่อไป ด้วย Rodenstock B.I.G.TM Vision with DNEye® Technology 

 

ดังนั้นสิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการศึกษาของ Source: Jeremias, K., Urech, D. (2013). Von der Wissenschaft zur Praxis –und zurück. DOZ 2013(2) 58 ให้ผลดังนี้ 

ความคมชัดในทุกระยะ ทั้งไกล กลาง และ ใกล้ ดีขึ้น 40% 

สนามภาพมองใกล้กว้างขึ้น 8.5 องศา 

สมองทำงานเบาขึ้น จากความคมชัดที่ได้รับ ไม่ต้องใช้พลังงานในการประมวลผลมากเกินจำเป็น 

 

 

B.I.G. VISIONTM GIVES PEOPLE BIG BENEFITS

จากการศึกษาในประเทศ สวิตเซอร์แลนส์ ในกลุ่มผู้ใช้งาน 283 คน ซึ่งทุกคนล้วนมีประสบการณ์การใช้แว่นตามาอยู่แล้ว ได้รับผลการศึกษาที่น่าพอใจ และ เป็นเครื่องการันตีถึงความก้าวหน้าและความสำเร็จของ B.I.G. vision ได้เป็นอย่างดี โดย 

  • 92% รู้สึกได้ถึงภาพที่คมชัดขึ้น *
  • 88% รู้สึกสวมใส่สบายกว่าเลนส์เดิมที่ไม่มี DNEye
  • 87% รู้สึกว่าปรับตัวง่ายกว่า**
  • 84% รู้สึกถึง contrast vision ที่ดีขึ้น 
  • 80% รู้สึกถึงความคมชัดขึ้นในเวลาโพล้เพล้ หรือแสงน้อย ๆ

 

เหล่านี้เป็นผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา B.I.G. Vision ที่สามารถออกแบบเลนส์จำเพาะบุคคลลงไปถึงระบบ biometeric และช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้สวมใส่ดีขึ้น เพิ่มศักภาพการทำงานของสมอง ปรับตัวง่าย มุมมองกว้างขึ้น dynamic vision ดีขึ้น 

 

reference * DNEye® customer survey (2018), Zurich. , ** Muschielok, A. (2017). Personalisierte Gleitsichtgläser nach Kundenwunsch – Ergebnisse einer wissenschaftlichen Studie. Presentation at the Opti-Forum, Munich.

 

 

IT ALL STARTS WITH THE DNEye® SCANNER

 

อย่างที่ได้พูดไว้ตอนต้นว่า ไม่ใช่เพียง Rodenstock ที่มีเครื่องมือหน้าตาแบบนี้ แต่ feature ภายในนั้นไม่เหมือนกันซะทีเดียว และ Rodenstock เป็นผู้ผลิตเดียวที่สามารถส่งต่อข้อมูล biometric data นี้เข้าสู่เลนส์เพื่อคำนวณออกแบบเลนส์ให้ถูกต้องแม่นยำกับดวงตาแต่ละดวงได้ ซึ่งจากตารางด้านบน คือสิ่งที่เครื่องนั้นสามารถเก็บข้อมูลได้ เมื่อเทียบกับเครื่องหน้าตาคล้ายกันที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบัน 

 

ซึ่งค่าหลักๆที่สำคัญที่เป็นข้อมูลในการการออกแบบเลนส์ได้แก่ 

1.ตรวจหาความคลาดเคลื่อนของสายตาทั้ง ขณะมองไกล และ ขณะดูใกล้ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของกายภาพที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสายตา 

2.ตรวจหา high-order aberrations ,HOA ทั้งขณะมองไกล และ ดูใกล้  รวมไปถึงขณะรูม่านตาขยายและหด เมื่อสภาวะแสงเปลี่ยน เพื่อนำค่าไปคำนวณเลนส์ให้ได้ optic ที่คมชัดในทุกสภาวะแสงโดยเฉพาะในเวลาแสงน้อย เช่น พลบค่ำ เป็นต้น 

3.ค่าอื่นๆ เช่น  corneal power, anterior chamber depth, vitreous chamber depth, axial eye length and crystalline lens power เพื่อให้สามารถออกแบบเลนส์ที่ให้ภาพที่คมชัดในทุกแนวของการมอง และ ทุกระยะของการมอง ทำให้ผู้สวมใส่นั้นสามารถโฟกัสภาพได้ชัดและรวดเร็วเมื่อต้องเปลี่ยนระยะของการมอง และ ลดระยะเวลาของการปรับตัวลง 

 

ทิ้งท้าย 

คุณงามความดีทั้งหมดนี้ จะกลายเป็นโมฆะทันทีถ้าตรวจวัดสายตาออกมาผิด และ ถ้ายังจัดสายตากันอยู่ นั่นก็หมายความว่า มันผิดมาตั้งแต่ต้น ดังนั้น ในการเปรียบเทียบคุณสมบัติของเลนส์แต่ละค่ายว่าใครดีกว่าใครนั้น มันต้องเริ่มจากพื้นฐานการตรวจวัดสายตาให้แม่นยำเสียก่อน จากนั้นค่อยมาดูเรื่องเทคโนโลยีเลนส์ 

 

การมีเทคโนโลยีมาช่วย ก็ดีในแง่ที่เพิ่มความสะดวกในการทำงานของเรา แต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะทำหน้าที่แทนเรา และ ไม่ใช่ว่า "มีเครื่องแล้วไม่ต้องมีหมอ"  ถ้าอย่างนั้น นักรังสีเทคนิคที่สามารถถ่าย MRI ,CT-scan ได้ ก็ไม่ต้องมีหมอรังสี กระมัง   

 

ดังนั้น ปรับทัศนคติกันใหม่  ทำดีๆ ทำให้ถูกต้อง แล้วใช้เลนส์เทคโนโลยีดีๆ ในการแก้ไขปัญหาให้กับคนไข้ให้ถูกจุด ตรงกับปัญหาที่เป็น แค่นี้โลกก็น่าอยู่ขึ้น 

 

ขอบคุณทุกท่านสำหรับการติดตาม 

ดร.ลอฟท์