B.I.G. FOR ALL ; PROGRESSIVE LENSES, POWERED BY ARTIFICIAL INTELLIGENCE,AI.

Dr.Loft ,แปลและเรียบเรียง 

เผยแพร่ 19 July 2023

 

Introduction 

 

ในตอนที่แล้วของ B.I.G. Vision Technology เป็นเรื่องราวการเริ่มต้นของการใช้ Biometric Data ซึ่งเป็นข้อมูลทางกายภาพของดวงตาและ aberration ต่างๆที่เกิดขึ้นกับดวงตาของผู้ใช้งานจริงไปใช้ในการออกแบบเลนส์ ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ จะต้องใช้เครื่องมือพิเศษที่มีชื่อว่า DNEye® Scanner เป็นตัวเก็บข้อมูล ก่อนส่งเข้าหาผู้ผลิตเพื่อทำการคำนวณ personal Biometric Eye Model ขึ้นมาสำหรับใช้ร่วมกับสายตาที่ตรวจวัดได้ ก่อนจะนำไปผลิตเลนส์จริง 

 

การพัฒนาต่อมาก็เริ่มคิดต่อว่า จะทำอย่างไรให้ทุกคนได้เข้าถึง B.I.G. technolgy แม้ว่าจะไม่ได้ใช้ (หรือ ไม่มี) DNEye® Scanner ก็ตาม แต่ผู้ใช้งานก็ยังสามารถได้รับประโยชน์จาก B.I.G. Technolgy ดังนั้น B.I.G. NormTM จึงเป็นการต่อยอดเทคโนโลยีขึ้นมาจากพื้นฐานเดิม (B.I.G.ExactTM) แต่เอาปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligent) ทำหน้าที่ประเมิน biometric data ของดวงตาคน จากข้อมูลเพียงค่าสายตาสั้น/ยาว เอียง และ addition เพียงเท่านี้ แล้วปล่อยให้ขั้นตอนต่อไปเป็นหน้าที่ของ AI ในการหา eye model จาก big data ที่มี นี่คือ concept ของ B.I.G. Vision For All

 

AI ไปได้ Big Data มาตั้งแต่เมื่อไหร่ ?

 

จริงๆแล้วการเริ่มเก็บ Biometric Data นั้นเริ่มตั้งแต่ Rodenstock เปิดตัว DNEye® Technology ซึ่งต้องใช้เครื่อง DNEye® Scanner ในการเก็บข้อมูลดวงตาตั้งแต่ปี 2012 ซึ่งขณะนั้น option นี้ถูกนำไปใช้ในเลนส์รุ่นท๊อปสุดอย่าง Impression FreeSign® 3 Pro แต่กระนั้นก็ตาม แม้ว่าในการตรวจด้วย DNEye® Scanner  แต่ไม่สั่ง Option นี้เข้าไปในเลนส์ แต่ผู้ที่มีเครื่องมือตัวนี้ก็จะใช้เครื่องในการ investigate คนไข้อยู่ดี ซึ่งเครื่องมือตัวนี้จะ link กับ server ของ rodenstock อยู่ตลอดเวลา

 

ดังนั้นทุกครั้งที่มีการใช้งาน มันจึงเป็นการเก็บข้อมูลโดยอัตโนมัติ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากที่ Rodenstock จะสามารถเก็บข้อมูลดวงตาของคนทั้งโลกที่ผ่านการใช้เครื่อง DNEye® Scanner เพื่อให้ได้ Big Data ขนาดใหญ่มา  

 

เมื่อเทคโนโลยี AI มาถึง โรเด้นสต๊อกจึงสามารถใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีแล้วให้ AI เรียนรู้ (machine lerning) และ สอนให้ AI เรียนรู้ว่า จะคำนวณหา biometic eye model จากข้อมูลเพียงแค่สายตา สั้น ยาว เอียง แอดดิชั่นที่มีอยู่นั้น ได้อย่างไร จึงไม่แปลกอะไรที่โรเด้นสต๊อกจะพัฒนาเลนส์ที่สามารถตอบโจทก์ต่อลักษณะทางกายภาพของดวงตาของผู้สวมใส่แต่ละคนได้  ทำให้ปัจจุบันเลนส์​โรเด้นสต๊อกทุกคู่นั้นถูกออกแบบมาบนพื้นฐานของ biometric ได้ทั้งหมดแล้วตั้งแต่ปี 2020

 

ทำให้ปัจจุบัน ผู้สวมใส่สามารถเลือกได้เอง ว่าต้องการใช้งานเลนส์ biometric data ของเราจริงๆ แบบตรงไปตรงมา แบบ Exactly (B.I.G. EXACTTM) หรือ จะให้ AI เลือกให้จาก  new norm biometric data (จาก big data ที่มี) แม้จะเป็นค่าประมาณการจาก AI และไม่ precise เท่าแบบ ExactTM แต่ก็ดีกว่าเลนส์รุ่นเดิม หรือ เลนส์ในท้องตลาดอยู่มาก เพราะเลนส์ค่ายอื่นๆยังใช้ standard eye model ของตาปลอมกันอยู่ 

 

รู้ biometric eye model แล้วมันไปช่วยการออกแบบเลนส์ได้อย่างไร 

 

เรื่องนี้เข้าใจได้ไม่ยาก เพราะเป็นพื้นฐานฟิสิกส์เชิงแสงที่เด็กมัธยมต้น คงจะรู้จักกันมาบ้างของแสง เกี่ยวกับเลนส์และโฟกัสของแสงที่วิ่งผ่านเลนส์ นั่นก็คือความยาวโฟกัส ดังนั้น ถ้าเราจะคำนวณกำลังหักเหของเลนส์ เราจะต้องรู้ว่าจะออกแบบเลนส์ให้มีกำลังเท่าไหร่ เพื่อให้โฟกัสนั้นไปตกบนฉากรับที่เราวางเอาไว้ในตำแหน่งที่แน่นอน ซึ่งตำแหน่งของฉากรับนั่นก็คือ "ความยาวโฟกัส" และ ความยาวของโฟกัสที่ว่านั้น เมื่อยู่ในดวงตามนุษย์ก็คือ "ความยาวของกระบอกตา" หรือ  "Axial lenght" นั่นเอง 

 

เมื่อเราไม่รู้ความยาวของกระบอกตา (ไม่รู้ความยาวของโฟกัส) แล้วเราจะออกแบบกำลังหักเหเลนส์ที่ให้โฟกัสได้ถูกต้องแม่นยำได้อย่างไร และ แม้แต่เราเองก็ยังรู้เลยว่า ระยะห่างระหว่างเลนส์ถึงกระจกตาที่เปลี่ยนไป (CVD) นั้นทำให้เกิดกำลังหักเหที่เปลี่ยนไปได้เช่นกัน  เวลาคำนวณจากเลนส์แว่นตาเพื่อเป็นคอนแทคเลนส์จึงต้องมีการชดเชยค่าสายตาใหม่  

 

ดังนั้น การออกแบบเลนส์จึงต้องมีการกำหนดความยาวโฟกัส (ความยาวของกระบอกตา) ซึ่ง Gullstrand's eye model ที่ใช้กันมาร่วม 200 ปีนั้น กำหนดไว้ที่ 24.00 มม. แต่ไม่มีใครที่มีความยาวดวงตาที่เป๊ะขนาดนั้น แต่มันจำเป็น เพราะไม่มีอะไรที่ดีกว่านี้ จึงต้องทนใช้กันมาเป็นร้อยปี และ เลนส์หลายๆค่ายเกือบทั้งหมด ก็ยังทนใช้ค่านี้กันอยู่  และ ถ้าถามว่า ความยาวกระบอกตาที่ต่างกันนั้น มันสร้างกำลังหักเหต่างกันได้ขนาดนั้นเชียวหรือ ?  ตัวเลขคร่าวๆคือ ทุก ๆ 1 มม. นั้นสามารถให้กำลังหักเหต่างกันได้สูงถึง 3.00D โดยเฉลี่ย ดังนั้น ไม่ต้องพูดถึง 1 มม. เพราะ 0.01 มม. นั้นก็สร้างปัญหาได้มากแล้ว 

 

ยิ่งไปกว่านั้นคือ ตาคนเราไม่ได้มองตรงผ่านเลนส์แบบตั้งฉากอยู่ตลอดเวลา แต่มีการกลอกไปมาผ่านแต่ละจุดของตัวเลนส์ในรูปแบบการเคลื่อนที่รอบจุดหมุนแบบวงกลม ผ่านแว่นที่มีความโค้ง มีมุมเท และมีระยะห่างอยู่ค่าหนึ่ง และ การออกแบบเลนส์ที่จะทำให้ optic ดีได้นั้น จะต้องทำให้แต่ละจุดบนเลนส์ที่ตามองผ่านนั้น ต้องทำให้โฟกัสนั้นวิ่งผ่านจุดหมุนในทุกๆจุดบนเลนส์ และ ถ้าไม่รู้ความยาวของกระบอกตาที่แน่นอน แล้วจะหาจุดหมุนได้อย่างไร  และ ถ้าหาจุดหมุนไม่เจอ แล้วคำนวณอะไร ผลคืออะไร นั่นแหล่ะคือความสำคัญของ Biometic Data 

 

 

We call these lens :

B.I.G.NORMTM

ในการใช้ปัญญาประดิษฐ์​ (artificial intelligent) ทำให้โรเด้นสต๊อกสามารถปลดปล่อยศักยภาพการออกแบบเลนส์ที่ประสิทธิภาพสูงด้วยข้อมูลที่สำคัญเพียง 4 อย่างคือ ค่าสายตาสั้น / ยาว สายตาเอียง องศาเอียง และ แอดดิชั่น และ นี่คือเรื่องใหม่ของการคำนวณออกแบบโครงสร้างเลนส์โปรเกรสซีฟที่มีความแม่นยำสูงด้วยความสามารถของเทคโนโลยีที่สามารถใช้ค่า NORM ใหม่ของ biometric data ในการออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะไม่มีข้อมูลกายภาพของดวงตาของแต่ละคนอย่างเฉพาะเจาะจงก็ตาม 

 

Providing A..

B.I.G. VISIONTM FOR ALL WITH RODENSTOCK NEW TECHNOLOGY

 

ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence technology) ทำให้โรเด้นสต๊อกสามารถสร้างเลนส์โปรเกรสซีฟที่ออกแบบขึ้นมาตามลักษณะทางกายภาพของดวงตาได้ ซึ่งความสำเร็จทั้งหมดนี้ ต้องขอบคุณ​ AI technology ที่ทำให้โรเด้นสต๊อกกระหายที่จะเปิดตัวปรัชญาการออกแบบเลนส์ใหม่ให้โลกได้รู้จัก All new phylosophy คือ B.I.G. VISIONTM FOR ALL โดยให้ความหมายว่า ทุกคนต้องสามารถใช้ของดีได้ แม้จะมีขีดจำกัดเรื่องเครื่องมือในการเก็บข้อมูลอย่าง DNEye® Scanner  หรือ อาจจะมี แต่ไม่ต้องการใช้ค่า Exact เนื่องจากเป็น option ที่มี cost ต้องจ่ายเพิ่มสูงพอสมควร  แต่ถ้าใครสามารถ effort กับ ExactTM ได้ ก็จะได้รับประสบการณ์ใหม่ในการมองเห็นแบบยิ่งยวดกว่าที่โรเด้นสต๊อกเคยมีมา

 

 

 

THE OLD NORM 

 

ก่อนที่เราจะมี B.I.G. VISIONTM โรเด้นสต๊อกเริ่มต้นด้วยการทำวิจัยว่า เดิมก่อนที่จะมีการใช้ biometric data เราใช้อะไรในการนำไปออกแบบโครงสร้างเลนส์โปรเกรสซีฟ ซึ่งก็พบว่า ที่วิศวกรออกแบบโครงสร้างเลนส์ใช้อยู่เดิมนั้น เป็นค่ากลางเก่า (OLD NORM) หรือ ที่เรารู้จักกันในตำราเรียน ophthalmic optic ก็คือ Gullstrand's eye model ซึ่งเป็นค่าพารามิเตอร์ของดวงตาที่ใช้กันมากว่า 200 ปี ซึ่งผมขอเรียกว่า "ตาปลอม" เพื่อให้เห็นภาพ ซึ่งเป็นลักษณะตาที่ใช้ในการศึกษา ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งก็ต้องขอขอบคุณ Gullstrand ที่ทำให้เรามีพื้นฐานของดวงตากลางเพราะถ้าไม่มี เราก็คงไม่สามารถเริ่มสร้างมาตรฐาน เพื่อที่จะนำไปพัฒนาเลนส์สายตาต่อได้

 

ดังนั้นในช่วงเวลาหนึ่ง ค่า old norm นี้ก็มีความจำเป็นอยู่  แต่เราก็รู้อยู่ว่า คนๆเดียวกัน ยังมีลักษณะของตาแต่ข้างไม่เหมือนกัน นับประสาอะไรกับคนทั้งโลก ดังนั้น ค่ากลางเก่าค่าเดียวจะใช้กับคนทั้งโลกแบบ one fit all ดูจะไม่เข้าท่า โรเด้นสต๊อกมองว่านี่เป็นสิ่งที่มี compromise และ เขาน่าจะสามารถทำได้ดีกว่านี้ ด้วยการสร้างค่า norm ใหม่ที่ใกล้เคียงกับลักษณะกายภาพของแต่ละคนมากขึ้น นำไปสู่  New Norm ในคอนเซปต์ B.I.G. VISIONTM FOR ALL  ในขณะที่เลนส์ทั้งโลกที่ทำกันอยู่นี้ก็ยังคงใช้ Old Norm กันอยู่ 

 

 

THE OLD NORM LACKS BIOMETRIC PRECISION

 

การใช้ค่าสายตาที่ตรวจได้ทางคลินิก เช่น สั้น/ยาว เอียง องศาเอียง และ แอดดิชั่น  ทั้งหมดนี้ เราตรวจให้กับคนไข้ที่เฉพาะเจาะจง แล้วผู้ผลิตก็เอาค่าสายตาจากคนที่เฉพาะเจาะจงนั้นไปคำนวณออกแบบโครงสร้างเลนส์โดยใช้ค่าพารามิเตอร์จากดวงตาของตาปลอม (OLD NORM) ซึ่งมันไม่ควรจะต้องหยาบขนาดนั้น และ การตั้งใจออกแบบโครงสร้างเลนส์ที่ละเอียดบนตัวแปรของค่ามาตรฐาน แล้วต้องการสิ่งที่ดีกว่า มันก็คงจะเป็นไปได้ยาก เพราะมันฝืนหลักความจริงว่า ตาแต่ละดวงของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ทั้งในเรื่องของรูปทรงและรูปแบบของการหักเหแสง 

 

ด้วยเหตุนี้เป็นสิ่งที่โรเด้นสต๊อกรู้สึกว่าต้องหนี old norm และมันจะต้องมีสิ่งที่ดีกว่าด้วยการใช้ค่า new norm เพื่อให้สามารถออกแบบเลนส์ที่มีความถูกต้อง แม่นยำ เที่ยงตรง มากขึ้น เพื่อเพิ่มความคมชัดของเลนส์โปรเกรสซีฟ ด้วยการเพิ่มข้อมูลทาง biometric data เข้าไปในการคำนวณออกแบบเลนส์ 

 

 

AN OUTDATED ASSUMPTION

FOR EYE LENGTH, MOST LENS MANUFACTURERS ASSUME THAT ALL EYES ARE APPROXIMATELY 24 MM LONG

 

มันเป็นเรื่องตลกขบขันพอสมควร ที่เลนส์โปรเกรสซีฟทุกวันนี้ ออกแบบขึ้นมาบนพื้นฐานว่า ทุกคนบนโลกจะต้องมีความยาวของกระบอกตา 24 มม. แต่ก็นะ ถ้าไม่ใช่ค่านี้ ก็ไม่รู้ว่าต้องใช้ค่าเท่าไหร่ เพราะ Gullstrand ก็ระบุบนตาปลอมมาเท่านี้ ทั้งๆที่เราก็รู้ว่า axial length ของแต่ละคนนั้นสามารถ varies จากค่ากลางนี้ได้ถึง +/-10.00 มม. และ เราต้องเข้าใจว่า axial length ที่เปลี่ยนไป 1.00 มม นั้นสามารถทำให้ค่าสายตาเปลี่ยนไปได้สูงถึง +/-3.00D 

 

ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้เลนส์ที่แม้ว่าเราจะ fit ให้พอดีกับค่า old norm แล้ว ทำให้โฟกัสของเลนส์นั้นไม่ได้ตกลงบนจุดรับภาพจริง อาจจะตกก่อน หรือ ตกหลัง แต่เขาก็อาจจะเห็นได้ด้วยการเพ่ง หรือ depth of focus แต่เมื่อแรงเพ่งไม่ค่อยดี ภาพก็ไม่ค่อยชัด หรือ พอสภาวะแสงเปลี่ยน เลนส์ก็ไม่คมชัด เป็นต้น  มันจึงต้องถึงเวลาที่จะทิ้ง old norm ไปหา new norm ด้วยพลังของ AI

 

 

ONE OF THE INDUSTRY’S BIGGEST BIOMETRIC DATA SETS

 

ด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ใน  DNEye® Scanner ทำให้โรเด้นสต๊อกนั้นสามารถตรวจวัดหาค่า  biometric parameters ของดวงตาแต่ละดวงเป็นพันๆจุด เพื่อสร้าง biometric intelligent glasses ขึ้นมาและนี่คือ ข้อมูลทางกายภาพดวงตาที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ที่เคยบันทึกมา (เพราะไม่มีใครเคยคิดที่จะเก็บ และ อาจยังไม่มีเครื่องมือที่จะเก็บ) แต่โรเด้นสต๊อกคิดได้เร็ว และ ทำได้เร็วกว่าคนอื่นกว่าสิบปี  และ สามารถเก็บ biometric data ได้เป็นจำนวนมาก  เมื่อมี data เป็นจำนวนที่มากพอซึ่งโรเด้นสต๊อกเก็บข้อมูลดวงตานี้มามากกว่า 500,000 คู่ จึงสามารถสร้างปัญญาประดิษฐ์ให้เกิดการเรียนรู้ และ สร้างแบบจำลองดวงตาของแต่ละคน (จากการประมาณการ) โดยไม่ต้องใช้ค่าดวงตาจริงๆก็ได้ 

 

 

 

A NEW, MORE PRECISE STANDARD CALCULATION TO DETERMINE EYE LENGTH

 

จากการใช้เครื่องแสกนดูความยาวลองดวงตาเมื่อเทียบกับสายตา ก็พบว่ามีความ varies จากค่า old norm ที่กำหนดไว้ที่ 24 มม.อยู่มาก ซึ่งจากแนวโน้มเขาพบว่า ยิ่งสายตามีความเป็นบวกมากเท่าไหร่ ความยาวของกระบอกตาก็จะสั้นมากเท่านั้น (สั้นกว่า 24 มม.) ในทางตรงกันข้าม ยิ่งสายตาสั้นมากเท่าไหร่ กระบอกตาก็ยาวตามมากเท่านั้น (มากกว่า 24 มม)  ดังนั้น การที่จะออกแบบเลนส์โปรเกรสซีฟบนพื้นฐานความยาวกระบอกตาจากตาปลอม 24 มม. นั้น ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้มาก 

 

จากข้อมูลที่เก็บมาเหล่านี้ ทำให้โรเด้นสต๊อกสามารถให้ AI เลือก eye new norm model ใหม่ สำหรับในแต่ละค่าสายตาได้ โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือแสกนหาความยาวกระบอกตา แม้ไม่ precise แบบ exactly แต่ก็มีความใกล้เคียงกว่า old norm อยู่มาก 

 

A NEW NORM IN LENS CALCULATION

 

จากข้อมูลที่มี ทำให้โรเด้นสต๊อกสามารถคำนวณเลนส์ที่มีความจำเพาะของดวงตาแต่ละดวงโดยใช้ค่าความยาวของกระบอกตาจากข้อมูลที่มีได้อย่างแม่นยำ (เท่าที่จะเป็นไปได้) เกิดเป็น new norm ที่มีความแม่นยำมากกว่าค่ามาตรฐานของตาปลอม เพื่อนำไปร่วมคำนวณในการออกแบบเลนส์โปรเกรสซีฟที่มีความแม่นยำสูงกว่าที่เคยมีมา 

 

 

 

CREATING NEW LENS CALCULATION NORMS FOR ALL KEY BIOMETRIC EYE PARAMETERS

 

จากข้อมูลทางสถิติ ทำให้โรเด้นสต๊อกสามารถพิจารณาถึงลักษณะทางกายภาพใหม่(แทนตาปลอม) เพื่อให้สามารถคำนวณออกแบบเลนส์ให้มีความแม่นยำมากขึ้นโดยอาศัยข้อมูลทางกายภาพของดวงตาจริง (biometic parameter) ได้แก่ ความยาวของกระบอกตา (eye lenght)  กำลังหักเหของกระจกตา(cornea power) ทั้งในส่วนของ sphere power และ cylinder power  ความกว้างของรูม่านตาในแต่ละสภาวะแสง(pupil size in any light condition)  ความหนาของเลนส์แก้วตา (lens thickness) และ อื่นๆ 

 

ด้วยค่ากลางใหม่ (new norm) ทำให้โรเด้นสต๊อกซึ่งมีข้อมูลทางกายภาพดวงตาของดวงจริงแต่ละคนมากกว่า 500,000 คู่ที่ได้จากการแสกนด้วย DNEye Scan มากว่า 10 ปี นั้นสามารถสร้างค่ากลางของดวงตาใหม่ขึ้นมา  และ สามารถนำค่ากลางใหม่นี้ในร่วมในการคำนวณเพื่อออกแบบโครงสร้างเลนส์โปรเกรสซีฟใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เลนส์ที่ผู้ใช้สวมใส่นั้นเกิดความคมชัดมากขึ้น (จากค่าความคลาดเคลื่อนที่ลดลง) แม้ว่าไม่มีข้อมูลแบบ exactly จาก DNEye® Scanner ก็ตาม 

 

จากข้อมูลทางสถิติ ในรูปด้านบน เราจะเห็นได้ชัดเจนว่า model ของตาปลอมนั้น ยังห่างไกลความเป็นจริงอยู่มาก และ ค่าทางสถิตินี้เองที่โรเด้นสต๊อกรู้ และ สร้างปัญญาประดิษฐ์ให้เลือก biometric data ที่ใกล้เคียงค่าจริงมากที่สุด  พูดอีกนัยหนึ่งคือ  ถ้าตรวจวัดสายตาผิด  AI ก็คำนวณผิดเช่นกัน  ดังนั้น พวกจัดสายตาทั้งหลาย ยังไม่เหมาะกับเลนส์ไฮเทคเช่นนี้ 

 

 

 

CREATING AN APPROXIMATE BIOMETRIC EYE MODEL

 

อัลกอริทึมของ AI ทำให้โรเด้นสต๊อกสามารถใช้งานให้ AI ทำหน้าที่หาความสัมพันธ์ของค่าสายตาที่ได้รับกับลักษณะทางกายภาพของดวงตาที่ควรจะเป็น โดยดึงข้อมูลจาก big data ที่มี ทำให้โรเด้นสต๊อกสามารถทิ้ง ole norm ได้ทั้งหมด และ มีอิสระในการออกแบบมากขึ้นอย่างไม่ต้องมีขีดจำกัดอยู่กับตาปลอม 

 

ดังนั้นในปัจจุบัน โรเด้นสต๊อกสามารถสร้างค่ากลางใหม่ (new norm) ซึ่งเป็นค่าประมาณการของ biometric eye model ด้วยการใช้ค่าสายตาธรรมดาที่เราสั่งเลนส์ตามปกติ แต่ก็สามารถทำให้ผู้สวมใส่นั้นสามารถได้รับประสิทธิภาพของการมองเห็นเหนือกว่าเลนส์โปรเกรสซีฟมาตรฐานเดิม ซึ่งคอนเซปต์นี้ เป็นผลสัมฤทธิ์ของความอยากของโรเด้นสต๊อกที่จะทำให้ทุกคนนั้นได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีตัวนี้ ตรงกับคอนเซปต์ B.I.G. VISONTM FOR ALL.

 

 

 

A STANDARD VISION TEST GAVE NORA ACCESS TO B.I.G. VISIONTM

 

หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนา AI ขึ้นมาได้แล้ว ต่อไปก็จะเป็นการนำเลนส์เทคโนโลยีใหม่นี้ไปใช้กับคนไข้จริง ซึ่งหนึ่งในผู้เข้าร่วมการทดสอบ B.I.G. Norm technology ครั้งนี้ก็คือ Nora (Nora เป็นผู้เข้าร่วมทดสอบ ซึ่งถูกเลือกโดยทีมศึกษาของมหาวิทยาลัย Applied Science ในเยอรมนี) ซึ่งเลนส์โปรเกรสซีฟที่ใช้นั้น ใช้ค่าสายตาที่ตรวจได้จากทางคลินิกเท่านั้น โดยไม่ต้องใช้ค่าจริงที่ต้องอาศัย DNEye Scan ในการตรวจวัด

 

 

 

NORA’S EXPERIENCE WITH B.I.G. NORMTM LENSES

 

จากประสบการณ์ที่ Nora ได้รับจากเลนส์เทคโนโลยีใหม่ที่ใช้พลังของ AI ในการคำนวณออกแบบนั้น  Nora พบว่าเลนส์เทคโนโลยีใหม่นี้ สามารถช่วยให้ Nora สามารถมองผ่านเลนส์ในมุมต่างๆทั่วทั้งแผ่นเลนส์ได้ดีขึ้น

 

พื้นฐานก็คือว่าเมื่อเธอกำลังเดินทางไปทำงาน เธอจะต้องใช้สายตาของเธอในการมองสิ่งรอบๆตัวและสมองของเธอจะต้องจับโฟกัสภาพของสิ่งต่างๆรอบตัวเพื่อโฟกัสอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกระบวนการดังกล่าว ดวงตาของเธอจะต้องกลอกตาเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งการมองไปมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในแนวการมองตรงและมองวัตถุจากด้านข้าง

 

ดังนั้นเลนส์จะต้องสามารถช่วยให้การมองเห็นแบบ Dynamic Vision แบบนี้ เพื่อให้การโฟกัสภาพที่คมชัดนั้นเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง และ เป็นธรรมชาติ และ นี่คือประโยชน์ที่ B.I.G. technology สามารถมอบให้ได้ ด้วยพลังการประมวลผลของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

 

คอมเมนท์ของ Nora

“ทันทีที่ฉันสวมแว่นตัวใหม่นี้ สิ่งที่ทำให้ฉันประหลาดใจคือ ความเร็วที่ฉันใช้ในการปรับตัว ซึ่งฉันทำได้เร็วมาก และ เมื่อฉันสวมแว่นตามเดินฉันรู้สึกได้ถึงความคมชัดเจนของโฟกัส ซึ่งมีความเป็นจริงตามธรรมชาติ ยิ่งเมื่อต้องเดินทางช่วงเช้าๆที่ค่อนข้างพลุกพล่านนั้น ฉันรู้สึกได้อย่างชัดเจนถึงความต่าง”

 

SEE BETTER WITH THE POWER OF AI

เมื่อ Rodenstock ได้ทำการเปรียบเทียบเลนส์โปรเกรสซีฟที่ใช้พื้นฐานของ AI-base technology ที่มีอยู่ใน B.I.G. Norm จำนวน 2,600 คู่ กับเลนส์มาตรฐานเดิมจำนวนเท่ากันคือ 2600 คู่ ด้วยการใช้ข้อมูลพื้นฐานเพียงค่าสายตาธรรมดา ก็พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ว่า

95% ของเคสพบว่า ภาพบิดเบือนด้านข้างดีขึ้น

96% ของเคสพบว่า “มุมมองของโปรเกรสซีฟกว้างขึ้น”

97% ของเคสพบว่า “ภาพวูบวาบของโปรเกรสซีฟลดลง”

89% ของเคสพบว่า “มองไกลชัดขึ้น”

 

RODENSTOCK IS RAISING THE BAR FOR PROGRESSIVE LENSES

การ craft lens ด้วยการใช้ biometric eye model จากพลังการคำนวณของ AI technology  ทำให้โรเด้นสต๊อกสามารถออกแบบโครงสร้างเลนส์แต่ละชิ้นได้แม่นยำมากขึ้นกว่าเลนส์แบบเดิมที่ใช้ค่ากลางของ GullStand’s eye model และจากกลุ่มผู้ร่วมทดลองใส่เลนส์รุ่นใหม่นี้ เราก็พบผลประโยชน์ที่ได้จาก AI technology ว่าสามารถให้ประโยชน์ในการมองเห็นที่คมชัดขึ้นได้เป็นอย่างดี

 

AI: A GIANT STEP TOWARDS BRINGING B.I.G. VISIONTM TO ALL

ดังนั้นในปี 2020 โรเด้นสต๊อกจึงได้เปิดตัว ปรัชญาการออกแบบเลนส์ใหม่ทังหมดด้วยคอนเซปต์ B.I.G. VISIONTM เพื่อให้ทุกคนนั้นได้เข้าถึงและได้รับประโชน์จาก Biologic Intelligent Glass โดยเลนส์นั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ 

 

B.I.G. EXACTTM lenses ซึ่งเป็นเลนส์ที่ออกแบบบนพื้นฐานทางกายภาพของดวงตาแต่ละคนจริงๆ ซึ่งต้องใช้เครื่อง DNEye® Scanner ในการแสกนโครงสร้างของดวงตาร่วมกับสายตาที่ตรวจได้ทางคลินิก และ 

 

new B.I.G. NORMTM lenses ซึ่งใช้เพียงค่าสายตาที่ตรวจได้ทางคลินิก และ ใช้ AI-Power ในการคำนวณหาโครงสร้างดวงตาจาก BIG DATA ที่มี และทั้งหมดนี้เพื่อให้ B.I.G. technology นี้สามารถเข้าถึงได้กับทุกคน

 

ทิ้งท้าย

ทั้งหมดนี้ ก็คือเรื่องราวของ B.I.G. Technology ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ของการออกแบบเลนส์ของโรเด้นสต๊อก ซึ่งผมก็พยายามที่จะแปลและสอดแทรกเนื้อหาเข้าไปบางส่วนเพื่อให้ท่านได้เข้าใจมากขึ้น เนื้อหาอาจจะมีความ Commercial อยู่บ้าง แต่ก็อยู่บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ที่มีความ make sense และพอจะคิดตามตามตรรกะได้ และอย่างน้อยที่สุดก็เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจ concept ของ Rodenstock ว่าเขากำลังทำอะไร เพื่ออะไร แก้ไขอะไร และ ช่วยให้ผู้ใช้งานนั้นมีการมองเห็นที่ดีขึ้นอย่างไร  ผมจะได้ประหยัดเวลาในการอธิบายที่คลินิกได้อีกด้วย เพราะถ้าไม่มีพื้นฐานมาเลย น่าจะต้องคุยกันยาว แต่ผมก็ไม่ได้มีปัญหาเรื่องการ educate ให้คนไข้ที่คลินิก แต่ถ้าท่านรู้มาบ้าง เราก็จะทำความเข้าใจได้เร็วขึ้น และ สามารถลงในรายละเอียดได้ดีขึ้น

 

และท้ายสุด ขอขอบคุณทุกท่านสำหรับกำลังในใจการติดตาม และ หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ เหล่านี้จะทำให้ท่านสามารถนำไปใช้ในการจ่ายเลนส์ หรือ ให้ความรู้กับคนไข้ที่ท่านดูแลได้ดีขึ้น อนึ่ง ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ ผมไม่ได้อะไรจากโรเด้นสต๊อกนอกจากเลนส์ที่ผมเชื่อมั่นว่าเขาทำเลนส์ดีมาให้ผมใช้ในการแก้ไขปัญหาให้กับคนไข้ จึงเขียนเพื่อส่งต่อความรู้หรือข้อมูลกับท่านที่สนใจเท่านั้น 

 

สวัสดีครับ 

ดร.ลอฟท์ 

 

นัดหมายเพื่อเข้ารับบริการทางทัศนมาตรคลินิก

578 ถ.วัชรพล ท่าแร้ง บางเขน กทม 10220

Mobile : 090-553-6554

Line id : loftoptometry

maps : LOFT OPTOMETRY MAPs