RODENSTOCK 101

Part 2 : WORK BETTER WITH ERGO

THE RODENSTOCK NEAR VISION LENSES.

Dr.Loft O.D.

 

Introduction

บทความเรื่องนี้ผมตั้งใจทำมันขึ้นมาให้เป็น manual book หรือเป็นหนังสือคู่มือเกี่ยวกับ technical ต่างๆของเลนส์เฉพาะทางกลางใกล้หรือเลนส์ออฟฟิต ( near vision comfort lens) ซึ่งเป็นเรื่องที่อยากจะ public มานานแต่ก็เขียนไม่เสร็จสักที หลังๆมานี้มีน้องๆถามมาหลายคนว่าอยากให้ทำเรื่องนี้ ก็เลยถือโอกาสนี้ในการเก็บเรื่อง Near Vision Comfort Lens ให้เสร็จ ซึ่งคิดว่าน่าจะใช้เนื้อที่ 2-3 ตอนก็น่าจะสำเร็จ  

 

Near Vision Comfort lens หรือ บางทีเราก็เรียกว่า office lens เพราะเป็นเลนส์ที่ออกแบบโครงสร้างมาสำหรับการทำงานในระยะกลางใกล้ ซึ่งถ้าจะว่ากันไปแล้ว งานที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันนี้ที่สร้างรายได้ในการเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง(หรือไม่ก็บันเทิงเริงใจ) นั้น เป็นงานที่ต้องใช้สายตาในการมองกลางและใกล้เป็นสำคัญ ดังนั้นการทำความเข้าใจเลนส์ประเภทนี้ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่รู้ไว้ เพราะความเข้าใจจะนำไปสู่การเลือกใช้ได้ถูกต้องและเหมาะสม และ สามารถสร้างผลสัมฤทธิ์ให้กับงานหลักหรืองานอดิเรกได้ดียิ่งขึ้น และเลนส์ประเภทนี้ก็มีกันอยู่ในทุกค่าย แต่คุณภาพโครงสร้างก็แตกต่างกันไปตามคุณภาพ  

 

คำถามที่เกิดขึ้นสำหรับเรื่องนี้(กับบางคน) ก็คือว่า “ในเมื่อเรามีเลนส์โปรเกรสซีฟที่ใช้งานได้อเนกประสงค์ ทั้งมองไกล กลาง และ ใกล้ ด้วยเลนส์เพียงคู่เดียวแล้ว เหตุใดเรายังจะต้องมีเลนส์เฉพาะทางระยะกลางใกล้อีก” คำถามถัดมาคือ “ถ้าอยากจะได้เลนส์ดูใกล้ ทำไมไม่ใช้เลนส์ระยะเดียว หรือ single vision lens ไปเลย ซึ่งราคาถูกกว่าเลนส์เพาะทางมาก” คำถามถัดมาคือ “มันคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ที่จะต้องจ่ายเลนส์ที่มีราคาเท่ากับหรือมากกว่าเลนส์โปรเกรสซีฟ เพียงเพื่อจะใช้ในระยะกลางใกล้ แต่ใส่ขับรถไม่ได้”

 

ดังนั้น สิ่งที่ผมหวังกับคอนเทนท์เรื่องนี้ก็คือ  ให้ผู้บริโภคนั้นประเมินได้เองว่า คุ้มหรือไม่ที่จะลงทุนกับเลนส์ประเภทนี้ และ รู้จักขีดจำกัดต่างๆของเลนส์ รวมไปถึงข้อบ่งใช้ต่างๆเกี่ยวกับเลนส์ประเภทนี้ เพื่อให้คนไข้สามารถเลือก หรือ หมอทัศนมาตรสามารถสั่งจ่ายได้เหมาะสม

 

The Architecture

 

พื้นฐานทางสถาปัตยกรรมโครงสร้างระหว่างเลนส์โปรเกรสซีฟแบบ universal กับเลนส์ Near vision comfort lens นั้น จะเรียกว่า ก่อกำเนิดมาจากเรื่องเดียวกันก็ว่าได้ นั่นก็คือ พื้นฐานการออกแบบเลนส์โปรเกรสซีฟ ดังรูปล่างที่ยกตัวอย่างมานี้ 

โครงสร้าง A  พบได้เป็นปกติในเลนส์โปรเกรสซีฟ ซึ่งออกแบบโดยให้ความสำคัญกับการมองไกลและอ่านหนังสือเป็นสำคัญ และ ให้ความสำคัญกับระยะกลางน้อยกว่าระยะอื่นๆ ทำให้หน้าตาโครงสร้างเลนส์นั้นคล้ายๆกับนาฬิกาทราย ที่มีคอคอดบริเวณระยะกลาง 

 

โครงสร้าง B ,C ,D เป็นโครงสร้างที่พบได้บ่อยในเลนส์เฉพาะทางกลางใกล้ หรือ เลนส์ near vision comfort lens ที่ออกแบบโครงสร้างโดยให้ความสำคัญกับระยะกลางและระยะใกล้เป็นสำคัญ 

โครงสร้าง B  เป็นการออกแบบโครงสร้างที่ให้ความสำคัญกับระยะ Room และ ระยะ PC เป็นสำคัญ  ซึ่งโครงสร้างลักษณะนี้เช่นเลนส์​ Room เป็นต้น 

โครงสร้าง C เป็นการออกแบบโครงสร้างที่เน้นการใช้งานในระยะกลาง (PC) เป็นสำคัญ 

โครงสร้าง D เป็นการออกแบบโครงสร้างที่เน้นการใช้งานในระยะใกล้ (BOOK) เป็นสำคัญ 

 

 

ดังนั้น จากรูปตัวอย่างการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานออกมาเป็นเป็นลักษณะต่างๆนั้น ก็เพื่อให้เลนส์ที่ออกมานั้น เหมาะสมกับงานหรือไลฟ์สไตล์ในแต่ละประเภท  ซึ่งเลนส์เฉพาะทางที่ออกแบบมาก็มีพื้นฐานมาจากเลนส์โปรเกรสซีฟ ที่มี key สำคัญ คือเป็นเลนส์ multi-focal ที่เกิดจากการสร้างพื้นผิวเลนส์ที่ทำให้เกิดการไล่ค่าความโค้งเพื่อสร้างกำลังหักเหแตกต่างกัน ทำให้สามารถสร้างความยาวโฟกัสของเลนส์หลายๆโฟกัสในเลนส์เดียวแล้วใช้เทคนิคการสมานรอยต่อด้วยวิธีการขัดผิว cylinder ในแนว oblique (เกิดเป็น unwanted oblique astigmatism) เข้าไปสมานรอยต่อเหล่านั้น  ผลที่ได้คือ เลนส์หลายระยะไร้รอยแต่ แต่มีภาพบิดเบือนด้านข้าง ท่านที่มาทีหลังก็เข้าไปอ่านบทความที่ผมเขียนเรื่องนี้ไว้แล้วได้ที่ลิ้งที่แนบมา  https://www.loftoptometry.com/whatnew/view/60

 

แต่ความแตกต่างที่สำคัญคือ  progressive lens นั้น สนใจแค่จุดมองไกล (design point at far ,DF) และ จุดอ่านหนังสือ (Design Point at Near ,DN) แล้วก็ progress Power จาก DF ไป DN  ตามความความของ Corridor (umbilic line)  ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นกับเลนส์โปรเกรสซีฟก็คือ มองตรงไปไกลๆ ผ่าน DF ชัด  และ เหลือบตาลงต่ำไปที่ DN ชัด  แต่ระยะชัดในแต่ละจุดบนผิวเลนส์ระหว่างนั้น(DF-DN) ผู้สวมใส่ ต้องปรับสรีระและเรียนรู้ที่จะขยับหาตำแหน่งเอาเอง ซึ่งตำแหน่งที่ว่านั้นอาจไม่ใช่ตำแหน่งธรรมชาติของผู้สวมใส่ ทำให้เกิดอาการล้าเมื่อต้องใช้สายตาดูใกล้นานๆ 

 

ตรงกันข้าม near vision comfort lens จะคิดอีกอย่าง คือ จะทำอย่างไร ให้ optic ในแต่ละจุดบนผิวเลนส์นั้นมีสนามภาพชัดที่กว้างและเหมาะกับสรีระศาสตร์ในการทำงาน โดยตัดสนามภาพสำหรับมองไกลทิ้ง เพื่อให้ง่ายต่อการ vaires power ให้เหมาะกับงานเฉพาะทางในระยะกลางและใกล้

 

ดังนั้น near comfort vision lens จึงไม่ได้มีระยะมองไกลที่ชัดเพียงพอกับการขับรถ แต่จะมีระยะกลางและใกล้ที่ดีที่สุด (กว่าเลนส์โปรเกรสซีฟแบบอเนกประสงค์) ดังนั้นเลนส์ประเภทนี้จึงไม่ได้สนใจออกแบบสำหรับมองไกล (ไม่มีจุดมองสำหรับสนามภาพมองไกล) มีแต่จุดอ้างอิงมองใกล้ (full addition) แล้วก็ถดถอยกำลังค่าสายตาลงไปเพื่อให้ได้ระยะชัดลึกและตำแหน่งการใช้งานบนผิวเลนส์นั้นเหมาะสมกับสรีระในการใช้สายตาทำงาน

 

ทำไมต้องเป็น Near Vision Comfort lens

 

ปัญหาสายตาของคนไข้สูงอายุ ( presbyopia) คือความยืดหยุ่นของเลนส์แก้วตาในการเพ่งเพื่อเปลี่ยนโฟกัสในระยะต่างๆนั้นลดลง (elasticity ของ crystalline lens ลดลง)  จนกระทั่งเหลือแรงไม่พอเพื่อเพ่ง (accommodation) ทำให้ต้องอาศัยแว่นตาเข้ามาช่วย ซึ่ง

 

แว่นอ่านหนังสือ ซึ่งเป็นเลนส์ชั้นเดียวนั้นใช้อ่านหนังสือได้ แต่มีข้อเสียคือชัดเพียงระยะเดียว ระยะชัดลึกไม่ค่อยมี ครั้นจะละสายตาไปมองอะไรอย่างอื่นที่ไกลออกไปจากหนังสือนั้นก็จะมองไม่เห็น ทำให้ไม่สะดวก เพราะต้องถอดแว่นเข้าแว่นออกอยู่ตลอดเวลา

 

เลนส์โปรเกสซีฟ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนระยะโฟกัส ทำให้เลนส์ประเภทนี้นั้น สามารถใส่ติดตาได้ ไม่ต้องคอยถอดเข้าถอดออก ทำให้สะดวกในการใช้ชีวิตมากกว่า แต่ก็มีข้อเสียที่คนกลัวคือ ภาพบิดเบือนหรือบิดเบี้ยวด้านข้าง ซึ่งเป็น aberration ที่เกิดขึ้นเสมอกับการเลนส์ประเภทนี้ และ เลนส์ที่มีคุณภาพสูงยังมีราคาแพงและแม้กระนั้นก็ตาม เลนส์ประเภทนี้ ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจและความชำนาญของผู้ที่ทำการตรวจวัด ฟิตติ้ง และ ประกอบอย่างมาก ถ้าไม่อย่างนั้นแล้ว อาจจะต้องทิ้งเลนส์คู่นั้นไปเลยเพราะไม่สามารถปรับตัวกับเลนส์ได้ 

 

ดังนั้นเลนส์โปรเกรสซีฟอเนกประสงค์มีขีดจำกัดเรื่อง ภาพบิดเบือนที่ค่อนข้างมาก และ ตำแหน่งใช้งานบนตัวเลนส์นั้นไม่ได้เหมาะสมกับการใช้สายตาเพื่อทำงานดูใกล้ หรือ เรียกได้ว่า egonomic in work place นั้นให้ไม่ได้ เช่น เวลาจะดูคอมพิวเตอร์ก็ต้องแหงนหน้ามอง หรือ จะอ่านหนังสือก็ต้องทิ้งตาลงตำ ซึ่งก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร หากการใช้สายตาเพื่อดูใกล้นั้น ทำงานไม่นาน แต่หากจะต้องดูทั้งวันแล้ว ก็อาจเมื่อยคอ ปวดหลัง ปวดเอว เมื่อยตาได้ง่าย

 

ด้วยปัญหาดังกล่าว ที่คนสมัยนี้นั้น ใช้ชีวิตส่วนใหญ่หรือมีงานส่วนใหญ่อยู่หน้าคอมพิวเตอร์หรืองานเอกสาร ไกลหน่อยก็เป็นประชุมที่ต้องดูโปรเจคเตอร์ ทำให้เกิดการพัฒนาเลนส์ขึ้นมาอีกประเภทหนึ่ง ที่เราเรียกว่าเป็น Near vision comfort lens หรือที่เราเรียกติดปากกันว่า เลนส์ออฟฟิต หรือเลนส์เฉพาะทางกลาง/ใกล้

 

เลนส์เหล่านี้ ก็มีพื้นฐานการออกแบบคล้ายๆกับเลนส์โปรเกรสซีฟ คือมีการ varies curve เพื่อให้เกิดการ varies power เพื่อให้เกิดโฟกัสที่หลากหลาย (multi-focal) และ ทำให้ไม่เกิดรอยต่อด้วยการขัดกลบรอยต่อด้วยการใส่โครงสร้าง obliqe astigmatism เข้าไป ทำให้เลนส์เหล่านี้ ยังคงมีภาพบิดเบือนเช่นเดียวกันกับเลนส์โปรเกรสซีฟ แต่น้อยกว่าเลนส์โปรเกรสซีฟมาก ด้วยเหตุว่าค่า addition ที่ใส่เข้าไปนั้น ใส่เพื่อให้เข้ากับ life style ในการทำงาน เช่น book /pc / room ก็จะมีการไล่ค่าสายตาที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่เป็นจุดขายจริงสำหรับเลนส์ประเภทนี้คือ “ระยะชัด และ ตำแหน่งชัด บนตัวเลนส์นั้น ถูกต้องตามหลักสรีระในการทำงาน” ทำให้สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ลดอาการปวดล้า หรือ เมื่อยล้า เมื่อต้องทำงานเป็นเวลานาน ๆ

 

Visual Field of Differnce kind of lens 

credit : รูปภาพจาก Rodenstock : tip and technology manual book 

รูปบนแสดงถึงข้อดีข้อด้อยของเลนส์อ่านหนังสือระยะเดียวและเลนส์โปรเกรสซีฟ และ เห็นความจำเป็นต่อการมีเลนส์เฉพาะทางกลางใกล้ขึ้นมา ซึ่งเราจะเห็นว่า reading glasses นั้นให้ visual field ที่ระยะอ่านหนังสือที่กว้าง แต่ความชัดลึกนั้นไม่มี คงจะสามารถเห็นได้เฉพาะหนังสือที่อยู่ใกล้ ๆ   ส่วนเลนส์โปรเกรสซีฟก็มีความอเนกประสงค์ในการใช้งาน เพราะมองเห็นได้ทุกระยะ แต่ปัญหาก็คือ ความแคบในระยะคอมพิวเตอร์ และ ระยะดูใกล้ และตำแหน่งชัดนั้นไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกับสรีระขณะทำงาน  ส่วน near vision comfort นั้น เน้นความคมชัด ความกว้าง ของสนามภาพให้เหมาะสมกับการทำงานดูใกล้ๆ 

 

PORTFOLIO AND FEATURES

ในปัจจุบันที่คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆได้เข้ามามีบทบาท อย่างมากในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน หรือ การใช้ชีวิตทั่วๆไป ก็เป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ซึ่งจากการวิจัยพบว่า คนที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นั้น เป็นผู้ที่ต้องสวมใส่แว่นถึง 89% และมีเพียง 1 ใน 10 คนที่ใส่แว่นเหล่านั้นที่มีแว่นตาเฉพาะทางสำหรับทำงานหน้าคอมพิวเตอร์

 

ถ้าพูดให้เห็นภาพ สมมติว่ามีหมู่บ้านๆหนึ่งซึ่งเตะบอลเลี้ยงชีพ (เล่นบอลเก่งกันทั้งหมู่บ้าน) แต่กลับมีเพียง 1 ใน 10 คนเท่านั้น ที่ใส่รองเท้าเฉพาะทางสำหรับเตะบอล (รองเท้าสตัตท์)

 

งานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์มากๆ เช่น วิศวกร สถาปนิก โปรแกรมเมอร์ ดีไซเนอร์ นักบัญชี นักกฎหมาย แพทย์ (จริงๆก็เกือบทั้งเหมด) เช่นหมอผ่าตัดที่ต้องทำหัตการซึ่งบางครั้งก็ใช้เวลาครึ่งค่อนวัน ทำให้งานหรือกิจกรรมที่ต้องดูใกล้เหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างมากกับการทำงานของดวงตา

 

เลนส์ near vision comfort lens (Rodenstock’s Ergo®) จึงเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ที่โปรเกรสซีฟอเนกประสงค์ไม่สามารถให้ได้ และ สิ่งได้ได้ก็คือ ความสบายในระหว่างการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ซึ่งคลอบคลุมไปถึงระยะใกล้และกลาง ซึ่งความสบายนี้ก็หมายถึง ความคมชัดในตำแหน่งที่สบายสรีระของศีรษะและลำคอ ทำให้ลดอาการเมื่อยล้า ลดความตึงเครียดของลำคอ และเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน

 

เลนส์ประเภทนี้ก็มีอยู่ในเลนส์ทุกแบรนด์ แต่ที่ Rodenstock เหนือกว่าคือ “ความคมชัดในตำแหน่งที่ถูกต้องตามหลักสรีระศาสตร์ในการทำงาน หรือ ergonomic in work place ด้วยการ varies degression ตามแต่ค่าค่าสายตา ทำให้ระยะชัดลึกและตำแหน่งใช้งานนั้น คงที่ไม่ว่าค่าสายตาหรือแอดดิชั่นจะเปลี่ยนไปยังไง ในขณะที่เลนส์ค่ายอื่นๆนั้น ยังคงใช้การ fixed degression ทำให้ตำแหน่งชัดนั้นเกิดการย้ายตำแหน่งเมื่อค่าแอดดิชั่นเปลี่ยนไป ซึ่งเราจะได้ทำความเข้าใจกันอย่างละเอียดในลำดับต่อไป

 

ตาราง portfolio สำหรับ Rodenstock Near Vision Comfort lens

สำหรับ portfolio ของเลนส์กลุ่ม Near vision comfort lens ของโรเด้นสต๊อกนั้น ถ้าแบ่งกลุ่มใหญ่ๆ ก็มีอยู่ 2 แบบ คือ กลุ่มที่ใช้เทคโนโลยี B.I.G. EXACTTM และ กลุ่มที่ใช้เทคโนโลยี AI คือ B.I.G.NORMTM   ซึ่งทั้งสองกลุ่มนั้นแบ่งออกเป็น 3 ผลิตภัณฑ์ย่อยๆคือ Impression B.I.G. (EXACTTM/NORMTM) ,MultigressivB.I.G. (EXACTTM/NORMTM) และ ProgressivB.I.G. (EXACTTM/NORMTM) ซึ่งแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ก็จะมีดีไซน์ให้เลือกอยู่ผลิตภัณฑ์ละ 3 ดีไซน์คือ Book ,PC ,Room แต่พิเศษที่กลุ่ม Impression B.I.G. (EXACTTM/NORMTM) จะมี design type แบบ Individual ด้วย ตาม portfolio รูปล่าง

 

กลุ่มที่ใช้เทคโนโลยี B.I.G. EXACTTM

 

กลุ่มที่ใช้เทคโนโลยี AI คือ B.I.G.NORMTM

 

B.I.G. Vision -Technology 

ตารางด้านล่างนี้ ฝั่งซ้ายมือเป็นเทคโนโลยีต่างๆที่เลนส์แต่ละรุ่นใช้  ส่วนแต่ละเทคโนโลยีใช้นั้นช่วยในเรื่องอะไรบ้างในส่วนรายละเอียดผมจะขอแยกเขียนไว้อีกบทความเพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาและหาไ้ด้ง่าย เพราะเป็นเรื่องที่มีความเป็นวิทยาศาสตร์และภาษาเทคนิคอยู่มาก หากจับมาอยู่ด้วยกัน เดี๋ยวจะเครียดกันเกินไป 

 

 

THE THREE DESIGN TYPES OF THE Ergo® FAMILY

ผลิตภัณฑ์เลนส์ของ Rodenstock จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่ม EXACTTM ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้ค่าชีภาพของดวงตาในแต่ละข้างของแต่ละคนมาร่วมคำนวณออกแบบเลนส์เพื่อหา personal eye model  ซึ่งต้องอาศัยเครื่อง DNEye Scan ในการเก็บข้อมูลดวงตาของผู้ใช้  อีกแบบคือกลุ่ม B.I.G. NORMTM กลุ่มนี้จะใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ในการประเมินลักษณะทางกายภาพดวงตาของแต่ละค่าสายตาที่สั่งออเดอร์เข้าไป ซึ่งข้อมูลที่ AI ใช้นั้นเป็นข้อมูลจาก Big data จากชุดข้อมูลค่าสายตาและดวงตาที่เก็บไว้กว่า 500,000 ดวง เพื่อใช้ในการจำลอง eye model (ขึ้นมา ตามรูปกราฟิกด้านบน)

ซึ่งเลนส์กลุ่ม Near Vision Comfort lens นี้ จะมี option ให้เลือกอยู่ 3 แบบ ตามลักษณะการใช้งานหลักของแต่ละคน คือ  Book ,PC , Room และ Individual สำหรับผู้ที่ต้องการดีไซน์เลนส์แบบเน้นระใดระยะหนึ่งพิเศษที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม book /pc / room 

 

Design Type : Book

การออกแบบโครงสร้างของ Book Design นั้นถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับผู้ที่ต้องการประสบการณ์ที่ดี (เยี่ยม) ในการใช้สายตาที่เน้นระยะใกล้เป็นสำคัญ (ต้องการสนามภาพสำหรับดูใกล้ที่กว้างมากๆ)​ เช่น การอ่าน การเขียน งานอดิเรก และ งานฝีมือ โดยโครงสร้างเลนส์นั้นจะออกแบบให้สนามภาพในระยะดังกล่าวนั้นกว้างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้บนตัวเลนส์ ซึ่งระยะที่ให้ความสำคัญสูงสุดสำหรับเลนส์รุ่นนี้จะอยู่ในช่วง 40-60 ซม. และมีกำลังเลนส์ที่สอดคล้องกับสรีระขณะทำงานจริง  ซึ่งระยะชัดและกว้างดังกล่าวนั้นสามารถมองได้ไกลได้ถึง 100 ซม. โดยไม่ขึ้นอยู่กับค่า addition และไกลกว่านั้นสำหรับคนที่ค่า addition ยังไม่มาก นอกจากนี้แล้วในส่วนของสถาปัตยกรรมโครงสร้างเลนส์ที่เน้นระยะดังกล่าวที่กว้างเป็นพิเศษแล้ว ขอบเขตความชัดเหล่านั้นยังถูกจัดเรียงตำแหน่งชัดให้ถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์ ทำให้ผู้สวมใส่นั้นสามารถเหลือบตาไปยังจุดชัดต่างๆได้อย่างสบาย

 

credit : รูปภาพจาก Rodenstock : tip and technology manual book 

 

ซึ่งจากรูปภาพตัวอย่างด้านบน สนามภาพของ Book design นั้นจะเห็นได้ว่า ผู้สวมใส่นั้นสามารถเพลิดเพลินกับความคมชัดบนตัวเลนส์ได้ลึกถึง 90 ซม.(เป็นอย่างน้อย) ซึ่งระยะดังกล่าวนั้นครอบคลุมได้ถึงคอมพิวเตอร์อีกด้วย ซึ่งมักจะอยู่ห่างออกไปประมาณ 60-80 ซม. ซึ่งสนามภาพดังกล่าวในรูปที่นำมาแสดงนั้นออกแบบจากค่า addition +2.00 D ในความหมายก็คือผู้สวมใส่จะสามารถมองได้ไกลขึ้นกว่าในรูปถ้าค่า add นั้นน้อยกว่า +2.00D  (ขอบเขตของสีเทาฟ้านั้นคือระยะยืดที่ห่างออกไปและผู้สวมใส่ยังเห็นได้ดีอยู่ด้วยระบบเพ่งที่ยังหลงเหลืออยู่)

 

Design Type : PC

การออกแบบโครงสร้างของ PC นั้น เลนส์ในอุดมคติที่ที่สามารถให้ประสบการณ์ที่ดีเยี่ยม ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงงานต่างๆที่อยู่บริเวณโต๊ะทำงาน โดยเลนส์นั้นจะถูกออกแบบโดยเน้นประสบการณ์บนหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นสำคัญในระยะที่อยู่ระหว่าง 60-80 ซม. ทั้งในส่วนของความชัดของสนามภาพที่เต็มเจอและแนวการเหลือบตาขึ้นลงขณะใช้งานจอมอนิเตอร์ที่ไม่ฝืนธรรมชาติ ซึ่งต่างจากเลนส์โปรเกรสซีฟทั่วไปที่ต้องเงยหน้าขึ้นมองและสนามภาพที่แคบทำให้ต้องหันศีรษะซ้ายขวาอยู่ตลอดเวลาขณะทำงาน ทำให้เกิดความล้าหรือความเครียดขณะทำงาน และ อาจเกิดการเจ็บป่วยของกระดูกและกล้ามเนื้อต้นคอได้

 

ดังนั้น PC Design จะทำให้ผู้ที่สวมใส่นั้นรู้สึกเพลิดเพลินใจในขณะทำงานไม่ว่าจะคอมพิวเตอร์หรือเอกสารต่างๆบนโต๊ะทำงาน สบายคอ สบายกระดูกสันหลังบริเวณคอ จากดีไซน์ที่เน้นหลักสรีระศาสตร์ในขณะทำงาน

credit : รูปภาพจาก Rodenstock : tip and technology manual book 

จากรูปตัวอย่างสนามภาพจะเห้นว่า ผู้สวมใส่ PC desing นั้นสามารถมองชัดไกลได้ถึงระยะ 120 ซม. เป็นอย่างน้อย (สีฟ้าเข้ม) และ สามารถมองไได้ไกลกว่านั้นในคนที่ยังมีค่า add ที่ต่ำกว่า 2.00D ซึ่งระชัดดังกล่าวนั้นผู้สวมใส่สามารถมองได้ไกลถึงเพื่อนร่วมงานที่นั่งอยู่เก้าอี้ฝั่งตรงข้ามได้อย่างชัดเจน

 

Design Type : Room

 

Room Design เป็นเลนส์ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องการเลนส์ในอุดมคติที่สามารถให้ประสบการณ์การมองเห็นที่ดีเยี่ยมในการทำงานหรือใช้ชีวิตแบบ indoor ซึ่งเน้นระยะใช้งานอยู่ที่ 1.2 เมตร - 2.5 เมตร  โดยโครงสร้างนั้นถูกเลือกให้สนามภาพที่ชัดนั้นกว้างสุดที่ระยะที่ไกลออกไปจากหน้าจอมอนิเตอร์ โดยผู้สวมใส่นั้นสามารถมองเห็นระยะไกลที่ชัดเจนได้ถึง 2 เมตร เป็นอย่างน้อย และ ไกลกว่านั้นในผู้ที่ค่า add น้อย

 

ดังนั้นเลนส์ Room นั้นสามารถให้ระยะชัดลึกที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับ book และมองระยะกลางได้สบายกว่าเลนส์โปรเกรสซีฟแบบอเนกประสงค์ ทำให้ผู้สวมใส่รู้สึกสบาย ลดความเมื่อยล้า ลดความเครียดในขณะใช้สายตาเมื่ออยู่ใน indoor

 

ผู้ที่จะเหมาะสมกับ room เช่น ผู้ที่ต้องเข้าห้องประชุม ดูหน้าจอ laptop แล้วไปดู projector แล้วลงมือจดโน้ต หรือ เซ็นเอกสาร หรือ แพทย์ผ่าตัดที่ต้องผ่าตัดด้วยและดูหน้จอมอนิเตอร์ในระหว่างการผ่าตัดด้วย หรือ แม้แต่ผู้ที่ชื่นชอบในการเล่นไลน์ เขี่ยเฟส และ ดู netflix ไปด้วยก็ได้เช่นกัน

 

credit : รูปภาพจาก Rodenstock : tip and technology manual book 

จากรูปสนามภาพ จะเห็นได้ว่า ผู้ที่สวมใส่เลนส์ Room นั้นสามารถเพลิดเพลินไปกับระยะชัดลึกถึง 2 เมตรได้เป็นอย่างน้อย (และไกลกว่าในผู้ที่มีค่าแอดดิชั่นน้อยกว่า) ซึ่งรูปมุมสูงเราจะเห็นว่าขณะทำงานนั้น เราสามารถเห็นตั้งแต่ระยะใกล้สุดไปจนถึงผู้ที่กำลังเปิดประตูเดินเข้ามา

 

Design Type : Individual 

 

นอกจากดีไซน์ทั้ง 3 คือ Book ,PC และ Room แล้ว สำหรับกลุ่ม Impression B.I.G. EXACTTM Ergo and Impression B.I.G. NORMTM  ยังมีดีไซน์ให้เลือกอีกแบบคือ Individual ซึ่งเป็นดีไซน์ที่สามารถให้ผู้สวมใส่นั้นสามารถสั่งให้ทางโรเด้นสต๊อกออกแบบเลนส์ที่มีความเฉพาะตัวกับขงานของตัวเองจริงๆ หรือ ง่ายๆก็คือ ในเมื่อเลนส์ประเภทนี้มีสนามภาพใช้งานที่จำกัด ดังนั้นจะทำอย่างไรให้ supply ที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้นเกิดประโยชน์สูงสุดกับตัวเอง 

 

ดังนั้นเลนส์กลุ่ม Individual นั้นจะให้ความสำคัญตั้งแต่ข้อมูลทางชีวภาพของดวงตา กรอบแว่นตาขณะสวมใส่อยู่บนใบหน้า ลักษณะของทรงเลนส์ ค่าสายตา ค่าแอดดิชั่น ค่าพีดีแยกซ้ายขวา ตรวจจนค่าการออกแบบเลนส์ เพื่อนำค่าต่างๆเหล่านี้มาคำนวณออกแบบเลนส์เฉพาะบุคคลสำหรับทำงานในระกลางใกล้  ทำให้การคำนวณต่างๆนั้นเกิดความแม่นยำสูงสุด ส่งผลต่อขั้นตอนการผลิตเลนส์ที่มีความแม่นยำ เลนส์ที่ได้จึงเป็นเลนส์ที่มีความบิดเบือนต่ำสุด สนามภาพกว้างสบายในตำแหน่งธรรมชาติกับแต่ละบุคคลจริงๆ ซึ่งในการออกแบบนี้จะเป็นการออกแบบผ่านโปรเแกรมที่คำนวณขึ้นมาแบบ real-time  ด้วย Rodenstock CNXT® Select  (Ergo® Consulting program)

 

Impression B.I.G. (NORMTM/EXACTTM)  Ergo : Individual Design

 

อย่างที่ได้พูดถึงข้างต้นว่า Near Comfort Vision lens นั้น เป็นเลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานที่เฉพาะของแต่ละบุคคล ซึ่งถ้าเราจัดกลุ่มใหญ่ๆ ก็จะแบ่งได้เป็น 3 แบบคือ ผู้ที่เน้นใช้งานแบบ Book PC และ Room (คล้ายๆกับร้านขายเสื้อที่แบ่งกลุ่มของไซต์เสื้อเป็น xs,m,l แต่กระนั้นก็ตาม ถ้าเราจะความพิเศษหรือความเฉพาะของงานลงลึกไปจริงๆ เพียง 3 แบบนั้น ก็คงยังไม่พอ เพราะมันน่าจะมีงานอะไรบางอย่างที่ไม่ใช่ book ,pc หรือ room แต่จะสุดโต่งไปในทางด้านในด้านหนึ่งหรือระหว่างทั้ง 3 โซนนั้น  จึงเกิดเป็นดีโซน์แบบ individual ขึ้นมา (เหมือนกับเราต้องการเสื้อไซน์พิเศษที่ฟิตกับร่างกายเราจริงๆ ก็คงจะต้องไปร้านตัดเสื้อ)

 

The design triangle

Design triangle เป็นโปรแกรมที่โรเด้นสต๊อกพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยการออกแบบโครงสร้างเลนส์สำหรับผู้ใช้นั้นเป็นไปโดยง่าย ซึ่งต้องเข้าใจอย่างนี้ก่อนว่า เลนส์อื่นๆ(ทุกค่าย) นั้นไม่ได้มีความยืดหยุ่นในการออกแบบ เขาจะมีโครงสร้างที่ล๊อคสเปคเอาไว้แล้วเราทำหน้าที่เพียงเลือกสิ่งที่เขามี เหมือนเข้าไปซื้อเสื้อผ้าในห้าง ฉันไดก็ฉันนั้น คือเลือกได้เท่าที่มี จะจุกจิกเรื่องไซต์เรื่องสี ก็คงจะทำไม่ได้ ต่างจากการที่เราเดินเข้าร้าน Taylor ตัดสูท เราสามารถกำหนด ขนาด สี ทรง ของแต่ง อะไรก็ได้ ตามจินตนาการของเรา และ มันคงไม่ง่ายถ้าเราไม่มีเครื่องมือเหล่านี้มาช่วย นั่นคือที่มาของโปรแกรมออกแบบเลนส์นี้  ซึ่งเดิมตัวแรกๆเขาชื่อว่า Impression Consulting Tool หลังๆ พัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ แล้วรวมทุกอย่างอยู่ในโปรแกรมเดียวคือ CNXT®  Select 

 

ซึ่งขั้นตอนการออกแบบนี้ ผมดึงตัวอย่างมาจากโปรแกรม เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เห็นภาพ ว่าในการสั่งทำเลนส์เฉพาะทางแบบ individual นั้นมีกระบวนการเป็นอย่างไร เริ่มจากการเข้าโปรแกรม CNXT® Select ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับเก็บ data base ของลูกค้าไว้บน cloud ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเลนส์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลค่าสายตาที่ได้จากการตรวจวัดของเราเอง ข้อมูลเซนเตอร์และพารามิเตอร์ของกรอบแว่นที่ได้จากเรื่อง ImpressionIST และ ค่าชีวภาพของดวงตาที่ได้จากเครื่อง DNEye® Scan และเชื่อมต่อกับโปรแกรมสำหรับสั่งเลนส์ออนไลน์ (Rodenstock Winfit® Reference) 

 

Design triangle  จะถูกออกแบบหน้าตา interface ให้มีหน้าตาเป็นรูป 3 เหลี่ยม ซึ่งแต่ละมุมนั้นคือจุดที่มีความต้องการสูงสุดในระยะใช้งานนั้นๆของผู้ใช้งาน ซึ่งก็จะสร้างมุมเป็น  Book ,PC และ Room และในการออกแบบเลนส์นั้น  ผู้ออกแบบจะลากความต้องการ

 

เริ่มต้นในการสั่งทำ  Impression B.I.G. Ergo Individual คือการเลือกชนิดเลนส์ Customise your desing 

 

เมื่อเลือก customise your design เข้ามาแล้ว ก็จะเป็นการออกแบบอย่างหยาบก่อน ด้วยการให้ผู้ใช้นั้นเลือกให้คะแนนว่าเน้นการใช้งานที่ระยะใดบ้างเป็นหลัก และให้น้ำหนักในแต่ละระยะ ตั้งแต่ 0 ถึง 5 

 

The design characteristic (Ergo® Consulting)

เมื่อเสร็จจากขั้นตอนการให้คะแนนระยะที่จะใช้งานหลักแล้ว เมื่อเรากด design characteristic โปรแกรมจะทำการเลือก design ที่ผู้ใช้งานต้องการคร่าวๆออกมาด้วยการกดที่ design characteristic ซึ่งด้านข้างๆ จะมีช่องให้เราใส่เป็นเปอร์เซ็นอยู่ 3 ช่องสำหรับช่องมอง Room ,PC , BOOK และมีสามเหลี่ยม design triangle ซึ่งเราสามารถใช้เมาส์จิ้มแล้วลากไปยังตำแหน่งต่างๆที่เราต้องการได้เลย  ขณะที่เราลากเมาส์ไปนั้น โครงสร้างก็จะมีการขยับ ระยะกว้างและความชัดลึกก็จะเปลี่ยนไปด้วย

 

ลักษณะเฉพาะของการออกแบบ Individual Design นั้นคือสนามภาพใช้งานหลักที่มีความจำเพาะเจาะจงกับความต้องการแต่ละบุคคลสูงสุด  ซึ่งในการออกแบบนั้นโปรแกรมจะแสดงถึงการจัดเรียงและขนาดของขอบเขตของการมองเห็นภายในเลนส์ นอกจากนี้ ซึ่งลักษณะเฉพาะของการออกแบบยังส่งผลต่อระยะทางของแต่ละโซนและความลึกเชิงพื้นที่ที่เกี่ยวข้องด้วย พูดอีกนัยหนึ่งคือ การไปเน้นจุดในจุดหนึ่งมากเป็นพิเศษก็ย่อมจะเกิด compromise กับพื้นที่ที่เราไม่ให้คะแนนด้วยเช่นกัน

ช่องใส่คะแนนตัวเลขด้านซ้ายหมายถึงโซนระยะไกล(room) ช่องตัวเลขตรงกลางหมายถึงโซนระยะกลาง(pc) และช่องตัวเลขด้านขวาหมายถึงโซนระยะใกล้(book)ของเลนส์ ค่าต่ำสุดของคะแนนตัวเลขการออกแบบสำหรับแต่ละโซนระยะทางคือ 0 และค่าสูงสุดคือ 99 ผลรวมของหมายเลขการออกแบบทั้งสามตำแหน่งจะเท่ากับ 99 เสมอ ยิ่งตัวเลขการออกแบบของแต่ละโซนมีค่าสูงเท่าไร ก็ยิ่งหมายความว่ามีการเน้นน้ำหนักไปที่โซนการมองเห็นนั้นมากขึ้นเท่านั้น

 

สำหรับการออกแบบที่เน้นความสมดุลโดยไม่มีพื้นที่ใช้งานหลักใดเป็นพิเศษ ตัวเลขการออกแบบทั้งสามตำแหน่งจะมีค่าเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน เช่น 33/33/33 แต่หากมีพื้นที่ใช้งานหลักที่ชัดเจน ลักษณะเฉพาะของการออกแบบจะออกมาเป็นตัวเลขเช่น 99/00/00 การออกแบบลักษณะนี้จะอยู่ในมุม "ระยะไกล" ของสามเหลี่ยมการออกแบบ การออกแบบที่ "สุดขั้ว" เช่นนี้ เหมาะสำหรับการใช้งานเฉพาะทาง ดังนั้นจึงพบได้น้อย

 

หลังจากเราป้อนคะแนนเปอร์เซ็นใจแต่ละช่องแล้ว เราก็จะเห็นรูปร่างหน้าตาของสนามภาพที่จะเกิดขึ้นในเลนส์แว่นตาของเรา ทั้งในส่วนของความกว้างความลึกตามคะแนนที่เราป้อนเข้าไป และ ถ้ายังไม่ถูกใจเราก็ยังสามารถใช้ปุ่มสามเหลี่ยมในการลากเพื่อเน้นระยะใดระยะหนึ่งมากเป็นพิเศษได้อีกด้วย จากนั้นก็ขยับจนกว่าจะพอใจ 

 

The main viewing distant

ลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของเลนส์โรเด้นสต๊อกที่ไม่พบในเลนส์ค่ายอื่นคือ การเปิดออพชั่นให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกระยะใช้งานหลักได้ แล้วเลนส์ก็จะออกแบบมาให้ตรงกับความต้องการของผู้สวมใส่

 

โดยปรกติ ค่าแอดดิชั่นที่ได้จากตรวจทางทัศนมาตรคลินิก จะตรวจออกมาจากระยะ 40 ซม. ซึ่งเป็นค่าแอดดิชั่นจากระยะมาตรฐานสากล  และ ผู้ผลิตเลนส์จะต้องออกแบบโครสร้างสร้างบนพื้นฐานมาตรฐานเดียวกันนี้

 

ระยะที่ต่างกัน ทำให้เกิด 2 สิ่งที่ต่างกันคือ  มุมเหลือบเข้าของตา (convergence) และ การเพ่งของเลนส์แก้วตา (accommodation)  ยิ่งดูใกล้มากจะต้องยิ่งเพ่งมาและตาจะต้องเหลือบเข้ามาก ในทางตรงกันข้าม ถ้าดูห่างการเพ่งจะลดลงและการเหลือบตาเข้าจะน้อยลงด้วยเช่นกัน

 

ดังนั้นในส่วนของฝั่งผู้ผลิตเลนส์ ก็จะต้องออกแบบการเยื้องของ inset ของเลนส์ ให้สอดคล้องกับการเหลือบเข้าของตา และ สร้างกำลังของ addition ให้สอดคล้องกับระยะที่กำลังอ่านอยู่  และ ด้วยสรีระของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทำให้ระยะถนัดในการดูใกล้ของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ซึ่งเลนส์โรเด้นสต๊อกเข้าใจปัญหาเหล่านี้ และ พัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อรองรับปัญหาดังกล่าว

 

ดังนั้น main viewing distant คือระยะใช้งานหลักที่เราต้องการใช้สายตาดูใกล้ ถ้าไม่ทราบหรือไม่กรอกค่าลงไป ทางผู้ผลิตจะตีความว่าผู้ใช้งานถนัดที่จะใช้งานที่ 40 ซม. ตามมาตรฐาน

เหล่านี้คือช่วงหรือขอบเขตของ main viewing distant ที่เราจะต้องระบุ

Main viewing distance, Near:     20 - 60 cm

Main viewing distance, Middle:  40 - 150 cm

Main viewing distance, Room:  60 - 300 cm

 

Main viewing distant ในกรณีนี้ก็คือตำแหน่งของ DM และ DN ซึ่งเป็นจุดที่กำลังเลนส์นั้นเหมาะสมที่จะใช้งานที่ระยะดังกล่าว  โดย main viewing distant สำหรับเลนส์​ room นั้นอยู่เหนือจุด DM ขึ้นไป 8 มม.

 

The Design Point

 

ในการออกแบบเลนส์เรายังสามารถขยับหรือปรับโครงสร้างได้ด้วยการเปลี่ยนค่า DM (middle design) และ DN (Near Design) ด้วยการเพิ่มค่าหรือลดค่า(ในขอบเขตที่กำหนด) เพื่อให้ตำแหน่งการใช้งานนั้นเหมาะสมกับผู้ใช้งาน เรียกว่าใช้ในการปรับความยาวของ progressive zone lenght ก็ได้เช่นกัน แต่ในเเลนส์ near vision comfort lens จะไม่มีจุดมองไกล เราจึงเรียกว่าเป็นการ ยืดหรือหดค่า degression มากกว่า

Design point middle,DM

 

การปรับแต่งค่า DM จะส่งผลต่อจุดบนตัวเลนส์ที่ใช้งานหลักสำหรับระยะกลาง เช่น หน้าจอมอนิเตอร์ ซึ่งจุดนี้จะเป็นจุดที่อุดมคติหรือดีที่สุดสำหรับการมองระยะกลาง โดยเราสามารถปรับแต่งค่า DM ได้ในช่วง +4.00 mm ถึง -4.00 mm ในความละเอียดที่ 0.01 mm โดยอ้างอิงจากตำแหน่ง fitting cross

 

DM ที่เป็น + หมายถึง จุด DM นั้นอยู่สูงกว่าตำแหน่งฟิตติ้ง  ถ้า DM เป็น 0 หมายความว่า DMกับตำแหน่งฟิ้ตติ้งอยู่ตำแหน่งเดียวกัน และถ้าDM เป็น - นั่นหมายความว่าตำแหน่ง DM อยู่ต่ำกว่าตำแหน่งฟิตติ้ง

 

ส่วน DN คือจุดดูใกล้ ดังนั้นจะต้องอยู่ต่ำกว่าตำแหน่ง fitting cross เสมอ ดังนั้นค่า DN จึงเป็น - เสมอ อีกนัยหนึ่งก็คือ ค่า DN จะบอกว่า จำแหน่ง full add หรือ reading zone นั้น จะออกแบบให้อยู่ต่ำกว่าตำแหน่ง fitting กี่มม. หรือ ผู้ใช้งานจะต้องเหลือบตาลงมากี่มม. ถึงจะเจอ reading zone

 

โดยการปรับตำแหน่ของ DM/DN นั้นจะส่งผลต่อขนาดและตำแหน่งของขอบเขตการมองเห็นของผู้สวมใส่ด้วย โดยตัวเลขที่แทนระยะดังกล่าวนั้นอ้างอิงจากจุด fitting cross โดยการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของจุดออกแบบกลาง (DM) และจุดออกแบบระยะใกล้ (DN) จะส่งผลต่อการยืดให้ยาวขึ้นหรือหดให้สั้นลงของการลดกำลังเลนส์ (degression) คล้ายๆกับการปรับแต่งคอริดอร์ในเลนส์โปรเกรสซีฟ

 

ซึ่งการปรับค่าดังกล่าวจะส่งผลต่อขนาดของขอบเขตการมองเห็นและการเปลี่ยนผ่านระหว่างโซนการมองเห็นของโซนกลางเลนส์และด้านข้างของเลนส์ด้วย ตัวอย่างเช่น หากคนไข้ต้องการโซนระยะกลางที่กว้างเป็นพิเศษ เราสามารถเลื่อนจุด DM ขึ้นด้านบน และจุด DN เลื่อนลงด้านล่าง

 

ระยะทางระหว่าง DM และ DN นั้นเป็นช่วงที่เลนส์มีการเปลี่ยนแปลงค่าสายตา ซึ่งจะทำให้มันยืดยาวขึ้นเพื่อให้มันค่อยๆเปลี่ยนค่า หรือจะหดให้มันสั้นลงเพื่อให้มันเร่งกรเปลี่ยนแปลงค่า เพื่อให้ได้เลนส์ที่เหมาะสมกับการใช้งานหลักของคนไข้จริงๆ

 

ฟังดูอาจจะงงๆ  แต่ถ้าเราทำบน program เราจะไม่งง เพราะว่ามันมีรูปให้เห็นซึ่งซอฟท์แวร์จะทำงาน generate ภาพขึ้นมาให้เราเห็นทั้งความกว้างและความลึกของสนามภาพ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงแบบ real time ขณะที่เราทำการปรับค่า DM/DN

 

Design point near DN

การปรับแต่งค่า DN เป็นการปรับแต่งจุดชัดสำหรับดูใกล้ให้กับคนไข้ ซึ่งจุดดังกล่าวนี้เป็นจุดที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานดูใกล้ ซึ่งเป็นการปรับว่าผู้สวมใส่จะต้องเเหลือบลึกลงมาเท่าไหร่ เพื่อที่จะสามารถเห็นใกล้ได้ชัด ซึ่งการปรับระยะ DN นั้นทำได้ในช่วง -12.00 mm ถึง -20.00 mm โอยอ้างอิงจากตำแหน่ง fitting cross.

 

​Note on the design point

ช่วงในการปรับสเกลออกแบบเลนส์ (โดยอิงจากตำแหน่ง fitting cross) ต้องอยู่ในขอบเขตต่อไปนี้ Middle design point DM: +4.0 mm to –4.0 mm
Near design point DN: –12.0 mm to –20.0 mm

และจะต้องอยู่ในเงื่อนไข

DN ต้องอยู่เหนือขอบล่างของเลนส์ 2.00 มม. เป็นอย่างน้อย (เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอในการใช้สายตาที่ระยะใกล้)

ระยะห่างจาก DM ถึง DN ต้องห่างกันมากกว่า 13 มม. เป็นอย่างน้อย

ตำแหน่ง DM ต้องอยู่ใต้ขอบบนของเลนส์ลงมาไม่ต่ำกว่า 6 มม. และ ถ้าให้ดีที่สุด ควรมีพื้นที่อย่างน้อย 10 มม. (เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอในการใช้สายตาที่ระยะกลาง)

 

แต่ในความเป็นจริง เราไม่ต้องจำข้อมูลเหล่านี้ก็ได้ เพราะโปรแกรม Ergo Consulting มันจะคำนวณโครงสร้างจากข้อมูลจาก design characteristic และ design poin ซึ่งเป็นการประมวลข้อมูลจากรายละเอียดเฉพาะบุคคลต่าง ไม่วาจะเป็นในส่วนของสายตา ค่าแอดดิชั่น ตำแหน่งเซนเตอร์ ข้อมูลกรอบแว่น รวมไปถึงข้อมูลทางกายภาพของดวงตาจาก DNEye Scan (ในกรณีที่เป็น BIG exact technology ) รวมไปถึงการแสดงขีดจำกัดต่างๆของเลนส์ให้เราเอง ถ้ามันทำไม่ได้ หรือเกิดขีดจำกัด มันก็จะเตือนเราเอง สำหรับการปรับค่า DM/DN แต่ที่ต้องจำก็คือ เนื้อที่ใช้งานสำหรับ DM ต้องมีไม่น้อยกว่า 10 มม. และ โซนอ่านหนังสือก็ไม่ควรถูกตัดทิ้ง จากขนาดของเลนส์ที่เล็กเกินไป

 

Distance Zone of the Ergo

เลนส์ Ergo แต่ละแบบนั้น ถูกออกแบบให้มีความจำเพาะเจาะจงในแต่ละรูปแบบการใช้งาน โดยเน้นสิ่งสำคัญก็คือ ระยะชัดลึกและตำแหน่งหรือจุดชัดบนตัวเลนส์นั้นต้องถูกต้องตามหลักสรีระศาสตร์ในการทำงานและด้วยความที่เลนส์เหล่านี้มีพื้นฐานการออกแบบเช่นเดียวกันกับเลนส์โปรเกรสซีฟแบบอเนกประสงค์ ต่างกันที่สถาปัตยการมด้านโครงสร้างเลนส์นั้นต่างกัน ดังนั้นการที่ไปเน้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ย่อม compromise กับบางส่วน เช่น ถ้าไปเน้นระยะหนังสือมากก็ต้องแลกกับระยะชัดลึกที่หดลงไป  หรือ การไปเน้นระยะ room มากก็จะต้องยอม compromise กับระยะดูหนังสือที่จำเป้นต้องแคบลง และอีกตัวแปรสำคัญก็คือค่ากำลังของค่า addition ที่ถ้ายิ่งมากความชัดลึกก็จะน้อยลง แต่ตำแหน่งใช้งานบนเลนส์นั้นยังถูกต้องตามหลักสรีระศาสตร์ในการทำงานเฉพาะทางนั้นๆเสมอ

 

ดังนั้นตัวแปรหลักที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ที่จะต้อง optimise ให้ถูกต้องกับลักษณะเลนส์ก็คือ  ลักษณะท่าทางที่ถูกต้องขณะทำงาน ( ergonomic posture in work place)  ค่าแอดดิชั่น และ ค่า degression  และ ตารางด้านล่างหรือตารางที่แสดงค่าการ degression ของแต่ละ design ในแต่ละ addition  ทำให้เกิดความชัดลึกในแต่ละดีไซน์ในแต่ละแอดดิชั่นซึ่งแสดงดูในตารางถัดไป  

 

Varies Degression in Ergo 


ไดอะแกรมต่อไปนี้เป็นการ plot ระยะชัดลึกของดีไซน์แบบต่างๆของ Ergo ตามตัวแปรของค่า addition

 


Comfort Distant and Extened Distant 

The Distant Comfort zone

Distant Comfort zone คือระยะชัดลึกที่สบายในระยะการใช้สายตาเพื่อดูระยะกลางและใกล้ในเลนส์แต่ละดีไซน์ ซึ่งจะนับตั้งแต่ระยะดูใกล้หลัก MVDN (main viewing distant at near) ไปจนถึงระยะห้อง (MVDR, main viewing distant at Room) โดยเลนส์ Near vision comfort นี้จะให้ความสบายและเพลิดเพลินในการใช้สายตาในระยะดังกล่าว ได้อย่างถูกต้องตามหลักสรีระศาสตร์และรู้สึกผ่อนคลายขณะที่ต้องใช้สายตา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณของค่าแอดดิชั่นของผู้สวมใส่ ซึ่งผู้สวมใส่สามารถเลือกใช้ได้ตามไลฟ์สไตล์ของตนเอง

 

The Extended Distant

ระยะยืดหรือระยะเหยียดออกไปนี้ ไม่ใช่ระยะหลักในการสายตา หรือ จะเรียกได้กว่าไม่ใช่ระยะหรือบริเวณที่ผู้สวมใส่ใช้งานเป็นหลัก ซึ่งสนามภาพและระยะที่ยืดออกไปนี้จะขึ้นอยู่กับค่า addition และ ค่ากำลังของ accommodation ของคนไข้ที่ยังเหลืออยู่ (ปัจจุบัน accommodation ซึ่งเป็นศัพท์ของทาง optometrist และยังไม่มีคำใช้ในภาษาไทย แต่ก็อนุโนมให้ใช้คำว่า เพ่ง หรือกำลังเพ่งแทนไปก่อนได้) ซึ่งบริเวณนี้เป็นบริเวณที่ใกล้สุดเท่าที่เลนส์ตาจะเพ่งได้ (ด้วยแรงเพ่งทีมี) และ บริเวณของระยะไกลสุดที่สามารถเห็นได้เมื่อระบบเพ่งนั้นคลายตัวจนหมด (full relax accommodation) ซึ่งระยะดังกล่าวนี้ขึ้นอยู่กับค่า addition ของแต่ละคนตามแต่ละอายุ ซึ่งจากไดอะแกรมเราจะเห็นได้ว่า ระยะยืดนี้ในแต่ละ add จะมีระยะลึกไม่เหมือนกัน

 

Trick

วิธีที่ง่ายที่สุด ในการที่จะดูว่า near vision comfort lens ในแต่ละรุ่น (Book/PC/Room) นั้น แต่ละค่าสายตา (addition) ด้วยการใส่เลนส์ทดสอบ (trial lens ) ด้วยการใส่ค่ากำลังลบ ตามค่า degression ของเลนส์แต่ละรุ่นตามแต่ละแอดดิชั่น ตามตารางที่ได้แนบมา 

จากนั้นก็เลือก Viewing Distant ว่าเราเน้นระยะใช้งานของ DR DM และ DN ที่ระยะเท่าไหร่  ก็เลือกเอาเลย ว่าจะเอาเน้นชัดที่ระยะเท่าไหร่เป็นสำคัญ​ ซึ่งโครงสร้างเลนส์ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย 

 

สรุป 

ในส่วนแรกนี้ อยากผู้อ่านไ้ด้เข้าในถึง base technology ว่ามันมีที่มาที่ไปอย่างไร และ มีข้อมูลเชิง technical อย่างไร มีประโยชน์หรือช่วยให้ผู้สวมใส่นั้นมีชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไรกับเลนส์กลุ่ม Near vision Comfort นี้ ซึ่งบทความต่อไป ผมจะลงลึกในผลิตภัณฑ์เลนส์แต่ละรุ่น ว่าจะเลือกใช้อย่างไร มีข้อบ่งใช้อย่างไร ข้อดี ข้อเด่น คุ้มไม่คุ้ม เดียวเรามาว่ากันที่บทความเรื่องนี้ในตอนที่สอง  

 

สำหรับตอนนี้ขอกราบลากันไปเพียงเท่านี้ หวังว่าจะมีประโยชน์กับท่านที่สนใจไม่มากก็น้อย 

ดร.ลอฟท์ O.D.

Contact 

Loft Optometry 

578 Wacharapol Rd, Tharang ,Bangkhen ,BKK 10220 

mobile : 090-553-6554

lineID : loftoptometry 

maps : https://maps.app.goo.gl/loftoptometry

 

Recomend Optometry Clinic 

See Contact :  https://www.loftoptometry.com/contact/