Event :  Optometric Conference :  5-6 June 2024  (Faculty of Optometry ,Naresurn University) 

Story by ,Dr.Loft ,O.D.

Public : 9 June 2024

 

เมื่อต้นสัปดาห์ 5-6 พ.ค.67 ผมได้มีโอกาสเข้าไปร่วมสัมนนาวิชาการทางทัศนมาตรศาสตร์ ที่จัดขึ้นโดยคณะสหเวชศาสตร์ (ภาควิชาทัศนมาตรศาสตร์) ม.นเรศวร จัดขึ้นเมื่อวันที่ 5-6 พ.ค.67 ที่ผ่านมา

 

ซึ่งก็เป็นโอกาสที่ดีที่เหล่า 3  มหา มหาแจ๊ค (สุธน การแว่น)  มหาเดียร์ (คุณยาย ออปโตเมทรี) และ มหาลอฟท์ ( ลอฟท์ ออปโตเมทรี) ได้พบกัน หลังจากที่ไม่ค่อยมีโอกาสได้เจอกันสักเท่าไหร่ นอกจากนี้เรายังได้สมาชิกน้องใหม่มาร่วมอุดมการณ์คือ น้องหมอขิง (วรดา ออปโตเมทรี ) และ น้องหมอทอย ที่กำลังเซตอัพคลินิกตัวเองขึ้นมา ได้มีโอกาสมาสวนเส กันสักครั้งหนึ่ง 

 

ผลพลอยได้สำหรับงานนี้ก็คือคะแนน CE สำหรับนำไปต่อหนังสืออนุญาตประกอบโรคศิลปะ ส่วนความรู้ทางวิชาการนี้ ไม่ได้คาดหวังมากนัก เพราะถ้าพูดในหลักความจริงแล้ว ความรู้ที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์นั้นเร็วและอัพเดตกว่ามาก

 

แต่ความไม่คาดหวังมักจะนำมาซึ่งความ surprise และ ผมจับใจความสำคัญได้อยู่ 2-3 เรื่อง ที่เรียกได้ว่าเป็นการ “หงายกะลา” ให้กับแวดวงที่เกี่ยวข้องกับการดูแลปัญหาสายตาให้กับประชาชน

 

เรื่องแรก “เรื่อง emmetropization” ซึ่ง อาจารย์ นายแพทย์ลั่นหล้า อุดมเวช ได้นำงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการของสายตาเพื่อปรับให้เป็นปกตินั้นมีปัจจัยอะไรบ้าง และ มีตัวแปรอะไรบ้างในทางวิจัยที่จะเป็นตัวเร่งให้เกิดสายตาสั้นเพิ่มขึ้น  ซึ่งท่านก็ได้ยกงานวิจัยที่มีมาอย่างต่อเนื่องมาหลายสิบปี จนถึงงานวิจัยล่าสุดในปัจจุบัน ทำให้เราเกิดความเข้าใจใหม่ และ ความเชื่อเก่าก็ถูกปัดตกไปตัวอย่างเช่น

 

ความเชื่อที่ว่า “Under correction myopia สามารถช่วยลดการเพิ่มขึ้นของสายตาได้” หรือ ถ้าจะให้อธิบายความเชื่อนี้ก็คือว่า  ถ้าเด็กมีสายตาสั้น ให้เราจ่ายสายตาสั้นให้น้อยกว่าความเป็นจริง จะช่วยลดการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นในเด็กได้

 

แนวความเชื่อนี้ นำไปสู่ การไม่ให้เด็กที่สายตาสั้น ใส่แว่นตา เพราะเขาเชื่อว่า “มันจะกินแว่น” คือยิ่งใส่ยิ่งสั้นเพิ่มขึ้น หรือ ใส่แว่นทำให้ตาเสีย  ดังนั้นก็เลี่ยงการใส่แว่นติดตา มันจะได้ไม่สั้นเพิ่มขึ้นหรือ ถ้าจะใส่ก็ใส่แต่น้อย อย่าไปใส่เต็ม อย่าไปจ่าย full correction เดี๋ยวสายตาสั้นจะเพิ่ม และความเชื่อเหล่านี้ ฮิตกันมากในหมู่ลัทธิจัดสายตา แต่ผลการวิจัยกลับพบว่า การทำอย่างนั้น คือจ่ายสายตาอ่อนกว่าค่าจริง ยิ่งเป็นตัวเร่งปฎิกิริยาให้เกิดการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้น ดังนั้นความเชื่อข้างต้นจึงไม่ใช่ความจริงแต่อย่างได แต่กลับให้ผลตรงกันข้าม 

 

ความเชื่อถัดมา “accommodation ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้น” แต่ผลการวิจัยกลับให้ผลที่ขัดแย้งว่า accommodation ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสายตาสั้นเมื่อเทียบกับกลุ่มทดลอง

 

ความเชื่อดังกล่าว นำไปสู่การแก้สายตาสั้นที่อ่อนกว่าความจริง (ดังที่กล่าวมาข้างต้น) หรือให้ถอดแว่นอ่านหนังสือในกลุ่มคนสายตาสั้น เพื่อพยายามจะลดการ accommodation บางทีก็ให้จ่ายเป็นเลนส์​ plus add เพื่อหวังว่าจะช่วยลดการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้น หรือ ให้คนสายตาสั้นถอดแว่นเมื่ออ่านหนังสือ แต่ผลจากการวิจัยกลับพบว่า การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสายตาสั้นนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการ accommodation ประเด็นนี้จึงต้องถูกปัดตกลงไป

 

พันธุกรรมเกี่ยวข้องกับปัญหาสายตา เช่น คนที่ยีนเดียวกัน สายตาก็จะเหมือนๆกัน  ซึ่งจะว่าไป ก็ดูมีเหตุมีผลอยู่ แต่ผลการวิจัยจากการนำเอา เด็กฝาแฝดใข่ใบเดียวกันมาศึกษาดู กลับไม่พบความเกี่ยวข้องดังกล่าวโดยตรง

 

ต่อไปมาดูปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นโดยตรง ตามงานวิจัย

 

แสงของแสงแดดช่วยลดการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้น  ซึ่งจากการวิจัยพบกว่า เด็กที่มีกิจกรรมกลางแจ้งมากกว่า (สัมผัสยูวี) จะมีสายสั้นน้อยกว่า แต่มันต้องเป็นการสัมผัสกับแสงแดดธรรมชาติ ไม่ใช่แสงสว่างจากหลอดไฟภายในอาคาร  ดังนั้นผู้ปกครองควรให้เวลาเด็กเล่นกลางแจ้งบ้าง

 

Periphery retina  แสงที่เข้าทางด้านข้างซึ่งไปตกที่ขอบๆของ retina  (เกิด defocus บริเวณ periphery retina) นั้นพบว่าส่งผลโดยตรงต่อการยืดของกระบอกตา (ทำให้สายตาสั้นเพิ่มขึ้น)  ซึ่งงานวิจัยนี้กลับพบว่ามีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง ปัจจุบันก็มีเลนส์ประะเภทนี้ออกมากันอยู่หลายค่าย ตัวอย่างเลนส์ที่แก้ไขปัญหาเรื่องนี้ก็คือ Mycon ของ Rodenstock ศึกษาเพิ่มเติมได้จากลิ้งที่แนบมา

 

การ full correction ช่วยลดการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้น ( ซึ่งเรื่องนี้อาจจะขัดใจกลุ่มแนวคิดจัดสายตาอยู่บ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งมีอยู่มากในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา) แต่งานวิจัยก็ proove ออกมาว่าเป็นเรื่องจริง ดังนั้นพ่อแม่เอง หากไปเจอกลุ่มแนวคิดจัดสายตาที่ยังไม่ได้อัพเดตความรู้ อาจจะต้องขอผู้ให้บริการจ่าย full correction ให้กับบุตรหลานของตัวเอง ไม่อย่างนั้น ท่านจะได้ under correction และกลายเป็นตัวเริ่งปฎิกิริยาให้บุตรหลานท่านสายตาสั้นเพิ่มขึ้นโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

 

Blue Control ช่วยถนอมสายตา 

ความเชื่อนี้ ถูกหลอกโดยนักการตลาด ที่จะทำให้คนที่ไม่ได้มีปัญหาสายตาเกิดความกลัวและอยากจะซื้อแว่นตาเพื่อจะได้ถนอมสายตา โดยสร้างผี Blue light ที่เกิดจากจอ monitor ของ smart-phone หรือ tablet จากนั้นก็สร้างผลกระทบที่จะตามมา เกิดตลาดเลนส์​ blue block หรือ blue control สารพัดออกมา  สร้างภาระค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น  ซึ่งเรื่องนี้ผมแย้งมาตั้งแต่ 10 ปีก่อน  แต่ก็เสียงไม่ได้ดังมากนัก เพราะใครๆ ก็ต่างไปออกรายการ ออกสื่อ พูดเกี่ยวกับอันตรายของแสงสีน้ำเงิน ไม่ว่าจะหมอ หรือ ทัศนมาตร หรือ นักวิชาการ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ผลการวิจัยกับไม่พบว่า blue light จะสัมพันธ์กับปัญหาของการมองเห็นหรือสุขภาพตาแต่อย่างใด  ซึ่งเรื่องนี้ผมเคยเตือนทัศนมาตรทั้งหลาย ว่าอย่าออกตัวเชียร์ blue control ตามเซลล์ขายเลนส์ พอผลวิจัยออกมาว่าไม่เกี่ยวข้องเดี๋ยวมันจะหน้าแหก แต่ด้วยฤทธิ์การตลาด อดใจไม่ได้ อยากขายของ ก็เลยกลายเป็นว่า หมออยากขายของ ก็เลยลงมาเล่นตลาด  มันก็เหมือนกับวัดขายวัตถุมงคลกันผี หรือ เป็นเครื่องรางนั่นหล่ะ ถามว่า ห้อยเครื่องรางผิดไหม ก็คงไม่ผิด แต่ถามว่าจะได้เจอแก่นพุทธศาสตร์ไหม  ก็คงบอกว่า ยังห่างไกล ฉันไดก็ฉันนั้น 

 

สรุปว่า  อยากใส่ก็ใส่  ก็ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร  ถ้าไม่ใส่ก็ไม่ต้องกลัวอะไร เพราะ blue ไม่ได้ทำอะไรกับตาเรา แต่ที่แน่ๆ สีเพี้ยนแน่นอน  แต่ที่แน่ๆ refractive error ที่ไม่ได้แก้ไข หรือ แก้ไขไม่ถูกต้อง หรือ ปัญหา binocular function หรือ accommodation ที่ไม่ได้แก้ไขนั้น ส่งผลกับดวงตาแน่นอน คำถามคือ "ทำกันหรือยัง"

 

มาเรื่องสุดท้าย ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมฟังแล้วก็มีความย้อนแย้งกัน ก็คือเรื่องเกี่ยวกับ วัตรปฎิบัติของผู้ที่อยู่ในสาขาวิชาชีพทัศนมาตร

 

มีอยู่ตอนหนึ่งวิทยาการ ได้พูดถึงว่า “มาตรฐานในการทำงานทางด้านทัศนมาตรที่ต่างกันนั้นเป็นเรื่องปกติ เพราะบริบทของเราแต่ละคนนั้นต่างกัน และ เราไม่มีสิทธิ์ไป bully ว่าใครทำถูกหรือทำผิด” ซึ่งผมฟังแล้วก็รู้สึกขัดๆในใจขึ้นมา ราวกับว่า วิทยากรมองว่า มาตรฐานการทำงานที่ varies แบบสุดขีดนั้นเป็นเรื่องที่ยอมรับกันได้

 

แต่ผมก็มีมุมมองอย่างนี้ว่า  ถ้ามองว่าเราเองก็คือ “พระภิกษุ” ไม่ว่าจะนิกายไหนก็คือศีล 227 กันทั้งสิ้น อยู่ที่ว่าใครจะรักษาได้มากน้อยแค่ไหน สิ่งที่วิทยากรพูดนั้น เป็นไปได้ไหมว่าท่านกำลังหมายถึง พระองค์ไหนจะรักษาศีลกี่ข้อ ก็ย่อมทำได้ด้วยสิทธิของท่าน  โดยที่พระรูปอื่นไม่มีสิทธิ์ที่จะไปตำหนิพระที่กำลังทำอาบัติ เพราะว่า บริบทของพระแต่ละรูปนั้นไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว พระที่ฉันมาม่าตอนเย็นจะอ้างได้ไหมว่า บริบทของท่านคือความหิว  ท่านจึงฉันมาม่าในเวลาวิกาล  แล้วพระที่รักษาศีลเขาไม่หิวหรือยังไง ซึ่งเขาก็หิว แต่เขาต้องอดทน เพราะเขาเป็นพระ เขาไม่ใช่คนธรรมดา เขาบวชเพื่อต้องการละกิเลส ไม่ใช่สนองตามกิเลส และ ท่านคงลืมไปว่า เวลาปลาเน่าตัวเดียว มันจะเน่าทั้งคอก  พระเสียรูปเดียวมันก็พังทั้งวัด หรือ ทัศนมาตรพังคนเดียว เขาก็เหมาะกันเอาทั้งวิชาชีพ  

 

ดังนั้น ว่าด้วยเรื่องบริบทแต่ละคน ทำให้ทัศนมาตรทำงานได้อย่างไม่ต้องมีกฎเกณฑ์กติกาอะไร  ผมว่ามันไม่น่าจะใช่  เพราะมาตรฐานวิชาชีพมันก็ต้องมี ไม่อย่างนั้น หนังสืออนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตร เขาจะมีขึ้นมาทำไม  กฎหมายการประกอบโรคศิลปะเขาจะต้องมีขึ้นทำไม ก็เพราะเขาต้องการให้สิทธิและหน้าที่ในการปฎิบัติวิชาชีพ และ มีโทษหากประมาท เลินเล่อ หรือ ละเลย จนเกิดปัญหาต่อสุขภาพของประชาชน 

 

ถ้าเอาจริงๆเลยก็คือว่า  ที่ดิ้นๆอยากได้กฎหมายทัศนมาตรกันอยู่นี้  ความจริงคืออยากได้เพื่อจะได้ทำงานอย่างเต็มศักยภาพหรือเพียงเพื่อยากได้มาส่งเสริมการขาย ด้วยการตัดสิทธิ์ไม่ให้คนอื่นทำ ตัวเองจะได้มีเคสเยอะๆ ขายแว่นดีๆ และ ร่ำรวย  เพราะถ้าอยากทำงาน ทำได้เลย กฎหมายไม่ได้ห้ามทำความดี แต่ทำให้มันอยู่ในขอบเขตที่หนังสืออนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรให้ทำ และไม่ต้องไปอ้างว่าเราไม่ได้อยู่ในสถานพยาบาลจังไม่สามารถทำได้  เพราะอย่างที่กล่าวไปข้างต้น  กฎหมายไม่ได้ห้ามให้ทำดี  แต่ทำไม่ดีต่างหากที่ทำให้เกิดผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ หรือ ผิดศีล  เพราะการรักษาศีล มันต้องรักษาตลอดเวลา ไม่ใช่รักษาเฉพาะเวลาอยู่ในวัด  จะอยู่นอกวัดหรืออยู่ที่ไหน ศีลมันก็ต้องมีประจำใจ เขาจึงจะเรียกว่า พระดี 

 

ดังนั้นในทัศนคติของผม ถูกหรือผิด เป็นเรื่อง common sense โดยเฉพาะคนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปที่บรรลุนิติภาวะแล้ว และไม่ใช่เป็นเรื่องข้ออ้างด้วยบริบทในการกระทำความผิด เช่น การไม่ยอมทำ retinoscopy ด้วยอ้างเรื่องทักษะหรืออะไรก็ตาม  การอ้างว่าไม่สามารถมีห้องตรวจ 6 เมตร ด้วยเหตุอะไรก็ตาม (แต่มีชั้นโชว์แว่นเต็มร้านไปหมด) การอ้างไม่ทำ binocular function จะด้วยเหตุบริบทเวลาอะไรก็ตาม  แต่กลับมีเวลาว่างมานั่งทำ แว่นตาโปรโมชั่นกรอบพร้อมเลนส์  cheating ผู้บริโภคไปวันๆ อ้างความเป็นทัศนมาตรว่าตรวจละเอียดอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ในความเป็นจริงกลับไม่ได้ทำจริง อย่างนี้เป็นต้น เหล่านี้จะอ้างบริบทอะในในการทำงานที่ไม่ได้มาตรฐาน ในมุมของผมคือ มันไม่น่าจะเป็นเรื่องที่จะยอมรับความแตกต่างของมาตรฐานได้

 

แต่ก็อีกนัยหนึ่ง ด้วยเหตุนี้เอง พระภิษุในบ้านเราเองจึงแบ่งออกเป็น พระบ้าน​​(คามวาสี) กับพระป่า (อรัญญวาสี) ซึ่งระรูปไหนจะถนัดแบบไหน ก็เลือกอยู่ตามความถนัดของตัวเอง แบ่งนิกายกันชัดเจนว่า  เป็นธรรมยุติ หรือ มหานิกาย ซึ่งก็ถูกต้องในบริบทของตน

 

ถ้าเทียบเรื่อง นิกายของพระกับทัศนมาตร  ก็คงแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มเช่นกัน คือ กลุ่ม commercial กับกลุ่ม professional

 

กลุ่ม commercial จะเชื่อในเรื่องของ success in business คือทำยังไงก็ได้ให้ธุรกิจนั้นเจริญรุ่งเรือง ขยายสาขาให้ได้มากที่สุด โดยไม่ได้สนใจวิธิการหรือหน้าตาของวิชาชีพ และ มักใช้วิชาชีพเป็นเครื่องมือในการ support business มากกว่า กลุ่มแรกนี้จึงมุ่งไปที่ ทำยังไงให้ได้เคสมากๆ ทำยังไงที่จะประหยัดเวลาในการตรวจ เพื่อรับเคสให้ได้มากๆ ตัดขั้นตอนไหนได้ก็จะตัด ดังนั้นกลุ่มแรกนี้มักไม่ทำ binocular funciton มักจะทำแค่ วัดแว่นเพื่อขายแว่นตา  แต่เมื่อทำการ promote จะใช้ markeing wording ที่ commercial ขีดสุด เช่นคำว่า ดีที่สุด แม่นยำที่สุด ทันสมัยที่สุด เจ้าแรกของโลก บลาๆ อย่างนี้เป็นต้น แต่ทุกคนรู้ว่า "โลกนี้ไม่มีคำว่าที่สุด" เพราะคุณอ้างอิงจากใคร  ดังนั้นคำเหล่านี้ เกิดขึ้นที่ไหน ให้รู้ไว้ว่า เป็นคำ cheating 

 

อีกลุ่มคือ กลุ่ม professional แนวทางที่สองที่สองนี้จะเชื่อในเรื่องของ ideal ของความเป็น professional ว่าการที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญนั้น ต้องการอะไรบ้าง  ตั้งแต่ในเรื่องความรู้ ก็ต้องศึกษาค้นคว้าอยู่ตลอดเวลา  เพื่อให้เกิดความรู้ความเชี่ยวชาญ และ ที่สำคัญที่สุดคือความเชื่อมั่นในการประกอบวิชาชีพของตัวเอง (professional trust) จากนั้นก็ต้องไปศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลของการตรวจว่าจะทำงานอย่างไรให้เราสามารถเชื่อผลของการตรวจได้ ไม่ว่าจะเป็น  มาตรฐานของห้องตรวจ  มาตรฐานของเครื่องมือในการทำงาน และ มาตรฐานของเลนส์ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาให้กับคนไข้ และ ระยะเวลาในการทำงานต่อหนึ่งเคสนั้นต้องมีมากพอ

 

กลุ่มหลังจึงให้ priority ในผลการตรวจของตัวเองมาก เพื่อสร้าง trust ให้เกิดขึ้น ทำให้การที่จะเอาค่าที่ตรวจได้ในคลินิกไปจัดเป็นค่าสายตาอย่างอื่นที่ไม่ได้เกิดจากการตรวจนั้น เขาจะรู้สึกกระอักกระอ่วนในใจ และไม่อยากจัดสายตา เพราะเขารู้ว่า ปัญหา binocular funciton ปัญหา accommodation มักเร่ิมต้นที่ปัญหาสายตาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข  ถ้าสายตาผิด อย่างอื่นก็จะผิดตามๆกันไป  ซึ่งตรงกันข้ามกลับกลุ่มแรกที่ไม่ได้เน้นความถูกต้องตั้งแต่ทีแรก และก็ไม่ trust ใน result ที่ตรวจได้  เพราะมีแนวคิดว่า ตรวจไปก็เอามาจัดสายตาอยู่ดี และ ก็ไปมองหาแนวร่วมที่ทำงานหยาบๆด้วยกัน จะได้ไม่รู้สึกว่าตัวเองแปลกเมื่อทำตัวไม่ค่อยดี  

 

ดังนั้น ผู้บริโภคคงต้องทำการบ้านเอง ว่าท่านชอบใช้บริการแบบไหน  แบบแรกที่เร็ว สะดวก ไม่ได้ซีเรียสกับเรื่องถูกผิด ไม่ต้องเตรียมตัวนัด เดินดุ่มๆเข้าไปในร้าน รอตรวจได้ ตรวจเสร็จ ดีไม่ดีก็รับแว่นกลับบ้านได้เลย ราคาก็ตกลงต่อรองกันเอา  ขณะที่แบบหลังนั้น ต้องทำนัด ต้องเตรียมตัว พักผ่อนให้เพียงพอ งดใช้สายตาหนักก่อนเข้ารับการตรวจ  งดแอลกอฮอลล์ 2 วันเป็นอย่างน้อย  ไม่รับตรวจหลังบ่าย 4-5 โมงเย็น เหล่านี้เป็นต้น  ก็พิจารณากันเอา ค่าใช้จ่ายกลุ่มแรกจะถูกแพงด้วย gimmick markeing ขณะที่แบบที่สองนั้น ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ value ในการทำงาน

 

ด้วยแนวคิดของผมและเพื่อนๆกลุ่มเล็กๆ ที่เชื่อในเรื่อง ideal จึงมักจะถูกกล่าวหาว่า พยายามสร้างลัทธิใหม่ ซึ่งก็อาจจะใช่ เพราะผมไม่เชื่อเรื่องศาสตร์จัดสายตา และ ได้พิสูจน์ด้วยตัวเองกว่า 10 ปี ว่าเราสามารถจ่าย full correction ให้กับคนไข้ โดยที่คนไข้ไม่มีคนไหนที่ reject กับ prescription เหล่านี้เลย เพียงแต่ต้องมั่นใจว่า นั่นคือ full Rx จริงๆ ไม่ใช่ มโนว่าเป็น full correction ทั้งๆที่ยังทำงานหยาบๆอยู่  ดังนั้นผมก็ไม่ได้มีปัญหาถ้าจะถูกหาว่าสร้างลัทธิ แต่ถ้าเลือกได้ ผมขอใช้คำว่า นิกายใหม่จะน่าฟังกว่า  นิกายใหม่นี้ เชื่อในความถูกต้อง ตรงไปตรงมา  เน้นการปฎิบัติเพื่อช่วยให้คนไข้พ้นทุกข์เป็นสำคัญ  เน้นความสง่างามของวิชาชีพเป็นหลัก แม้สมาชิกในตอนนี้ยังมีไม่มาก  แต่ผมก็เชื่อว่าวันหนึ่ง คนที่มองโลกแบบ empathy น่าจะอยากเข้ามาอยู่กับเรามากขึ้น และวันหนึ่ง มันจะใหญ่พอที่จะให้คนรู้ว่า หมอที่ดี มีหน้าตาเป็นอย่างไร 

 

ท้ายสุด ที่อยากจะฝากไว้ให้คิดก็คือว่า พระภิกษุ กับ ฆารวาส  ส่ิงที่ทำให้เกิดความแตกต่างอย่างเป็นรูปธรรมนั้นคือวัตรปฎิบัติตลอดจนถึง uniform ที่มีเอกลักษณ์ชัดเจน ไม่มีความคลุมเครือ ตลอดไปจนถึงพิธีสังฆกรรมต่างๆ ทำให้เราเห็นเป็นรูปธรรมว่า อันไหนพระ อันไหนโยม ดังนั้น direction ในการปฎิบัติงานมันต้องชัดเจน จะไปทำเป็นหยวนๆ จนเกิดมาตรฐานที่ต่างกันอย่างสุดขีดทั้งๆที่เป็นวิชาชีพเดียวกันแบบนี้จะสร้างความสับสนให้กับผู้คนทั่วไปว่าตกลงแล้ว ทัศนมาตรมันเป็นใครกันแน่ มันคือหมอหรือช่างแว่นอัพเกรดกันแน่

 

ท้ายสุด ผมคิดถึงเพื่อนร่วมวิชาชีพผมคนหนึ่ง เคยบอกกับผมไว้ว่า “ยศโลกมันก็เป็นแบบนี้แหล่ะ ไม่ว่ายศจะเกิดขึ้นมาหรือไม่เกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้ก็ตาม โลกมันก็เป็นแบบนี้แหล่ะ เราชักดิ้นชักงอไป โลกมันก็เป็นแบบนี้ อยู่กับมันให้ได้ และ อย่าได้พยายามทำให้โลกที่อุดมไปด้วยกิเลสกลายเป็นโลกในโลกในอุดมคติ เพราะมันไม่มีทางเกิดขึ้นจะพบแต่ความทุกข์เพราะเราแก้ไขอะไรไม่ได้ ให้มองถึงภพภูมิหลายมิติของคนที่มาอยู่ร่วมกัน ย่อมมีความหลากหลายแตกต่างกัน  คนที่เกิดบนโลกมนุษย์ มีทั้งพวกที่มาจากสุขติภูมิ มนุษย์ เทวดา พรหม และอบายภูมิ สัตว์นรก ผีเปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วย่อมมีชีวิตและสติปัญญาที่ต่างกัน โลกมันก็เลยเป็นแบบนี้ ”  ซึ่งผมดูๆไปแล้วก็เหมือนจะจริง ย่ิงมองเข้าไปในสภายิ่งชัดเจน แต่ผมทำไม่ได้ เพราะผมเกิดขึ้นมาแล้ว อย่างน้อยก็ทำหน้าที่ชี้ทางว่าอะไรดี อะไรไม่ดี ต่อให้เป็นทุกข์แต่ก็โอเคที่ได้ทำอะไรลงไปบ้าง

 

ก็ไม่มีอะไรมาก แวะเอาความคิดที่เกิดขึ้นมาเล่าให้แฟนเพจได้ฟัง

 

ลากันไปเพียงเท่านี้ พบกันใหม่โอกาสหน้า และ ขอบคุณทุกท่านสำหรับการรับฟัง  

 

ปล. ผมไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะว่าหรือตำหนิคนใดคนหนึ่งเป็นสำคัญ เพียงแต่แสดงจุดยืนและมุมมองของผมต่อวิชาชีพที่ทำอยู่เท่านั้น  

 

สวัสดีครับ 

ดร.ลอฟท์​