Story : โครงภาพวาด vs โครงสร้างโปรเกรสซีฟ ความเหมือนที่แตกต่าง

by dr.loft ,O.D.

public 16 June 2024

 

พอดีเมื่อสองสัปดาห์ก่อน เห็นแฟนเขาสั่งของ shopee มา ซึ่งข้างในเป็น ผ้า canvas ขึ้นโครงไม้มาให้แล้ว ที่พื้นผ้าใบนั้นมีรอยเส้นเล็กๆเหมือนแผนที่ภูมิภาพแบบแผนที่ทหารและมีเลขกำกัด มีพู่กันมาให้ และ มีกระปุกสีที่มีเลขกำกับ ซึ่งผมดูแล้วนี่มันงานภาพวาดสีน้ำมันชัดๆ ซึ่งสำหรับแฟนผมที่ไม่เอาอ่าวอะไรเลยกับงานศิลปะ และ ได้ dog วิชาศิลปะมาโดยตลอด แต่ก็เป็นคนที่ชอบรูปงานศิลปะ และ อยากจะมีงานศิลปะของตัวเอง ก็เลยไปสั่ง รูปวาดระบายสีตามตัวเลข ใน shopee มาในราคา 150 บาทรวมส่ง

รูปตัวอย่างมาจากร้านค้าออนไลนส์ หาซื้อได้ตาม shopee ทั่วไป

 

ผมเองก็อยากรู้ว่า คนตกวิชาศิลปะจะทำงานศิลปะออกมาได้อย่างไร ก็รอดู​ผลงานของเขา ซึ่งเขาก็ใช้เวลาว่างในการวาดรูปด้วยการลงสีในพื้นที่ของผ้า canvas ที่มีตัวเลขกำกับ ให้ตรงกับเบอร์สีในกระปุกสี ซึ่งใช้เวลา 3 วัน ก็เสร็จออกมาเป็นรูปการ์ตูนเด็กผู้หญิง ซึ่งผมว่ามันก็สวยดีนะ ผมก็บอกว่า ทำไมเธอไม่ใส่ลายเซ็นไปด้วยหล่ะ จะได้โชว์ว่านี่ผลงานของเรา เขาก็บอกว่า คนซื้อเป็นพันๆ ใครลงสีตามตัวเลขได้ ก็ออกมาเหมือนกันหมดแหล่ะ มันจะไปต่างกันตรงไหน และ นี่คือภาพที่สำเร็จลงจากสร้างงานศิลปะลงสีตามตัวเลขแล้ว 

 

ภาพวาดระบายสีน้ำมันตามตัวเลข  ซื้อ kit ได้ตาม shopee ราคา 147 บาท รวมใส่ ลงสีโดย Aommy 

 

ภาพวาด อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์  ภาพพิมพ์ผ้าใบ จากรูปวาดจริง  ตัวจริงไม่มีขาย แต่หาชมไ้ดที่วัดร่องขุ่น ถ้าชอบซื้อกลับบ้าน 4,500 บาท  ถ้าโชคดีได้เจออาจารย์ ก็ขอให้ท่านเขียนลายเซ็นให้ด้วย ขอผม Dr.Jack ไปรอครึ่งวัน เพื่อให้ได้ลายเซ็นสดมา 

 

งานพิมพ์สีลงบนไม้แกะสลัก สร้างสรรค์โดยน้องบี สมัยเรียนช่างศิลป์  ให้เป็นของขวัญเมื่อหลายปีก่อน   ปัจจุบันจบป.โท ศิลปากร ปัจจุบันเป็นครูบาอาจารย์ไปแล้ว

 

ผมมานั่งคิดๆดูแล้ว ก็เลยได้วิธีอธิบายเลนส์โปรเกรสซีฟในฉบับภาพวาดระบายสีนี้ ซึ่งก็น่าจะสามารถคิดตามและเข้าใจได้ง่ายๆ ซึ่งที่บ้านผมจะมีภาพสำคัญๆคือ ภาพเด็กดอย ซึ่งเป็นภาพพิมพ์ที่น้องสาวผมทำสมัยเรียนและมอบเป็นของขวัญเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งเป็นงานที่ unique และ ผมก็ชอบมาก และ มีรูปวาดของอ.เฉลิมชัย ซึ่งเป็นภาพพิมพ์จากรูปจริงเป็นงานผ้า canvas (ส่วนของจริงน่าจะเป็นล้าน หรือ ตีมูลค่าไม่ได้ และผมไม่มีปัญญาซื้อแน่นอน) ซึ่ง dr.jack ซื้อมาฝากจากวัดร่องขุ่นซึ่งผมก็ชอบมากเช่นกัน

 

Point ของเรื่องนี้มันเกี่ยวกับการผลิตเลนส์อย่างไร ?

 

การร่างโครงของรูปวาดกับการร่างโครงของโครงสร้างโปรเกรสซีฟก็ไม่ได้หนีกันในเชิงคอนเซปต์ คนเราแต่ละคนชอบสไตล์ของภาพวาดที่ไม่เหมือนกัน (ชอบผลงานศิลปะไม่เหมือนกัน) เมื่อต้องใช้สายตา แต่ละคนก็มีพฤติกรรมการใช้สายตาที่ไม่เหมือนกัน จึงต้องการโครงสร้างโปรเกรสซีฟที่ต่างกัน

 

Artist จึงควรที่จะสามารถสร้างรูปวาดที่ตรงกับความชอบของคนซื้อภาพวาด (พูดในเชิง commercial) หรือ บริษัทผู้ผลิตเลนส์เองก็ควรจะสามารถออกแบบโครงสร้างเลนส์ที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการใช้งานได้

 

แล้วเลนส์ทุกค่าย ตอบสนองไม่ได้หรือ นั่นคือประเด็นที่ต้องคิดต่อ

 

การผลิตเลนส์ก็มีอยู่ 2 แบบคือ แบบที่ทำแม่พิมพ์สำเร็จรูป กับ แบบที่สร้างขึ้นใหม่แบบชิ้นคู่ต่อคู่

 

แบบที่ทำเป็นพิมพ์สำเร็จนั้น พิมพ์ก็อาจจะเป็นลักษณะของ hardware คือ ทำเป็นโมลขึ้นมาก็สามารถนำไปหล่ะขึ้นรูปได้เลย กับ พิมพ์ดิจิทัลที่อยู่ในรูปแบบของ software คือเป็นโปรแกรมสำหรับสั่ง cnc-free form ขัดโครงสร้างเลนส์ขึ้นมาด้วยการ fixed ตัวแปร ซึ่งพิมพ์ดิจิทัลดังกล่าว ก็จะทำซ้ำๆได้โครงสร้างแบบเดิมๆ และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ แม้ว่าตัวแปรจะเปลี่ยน เช่นเดียวกับรูปวาดตามตัวเลข ที่สวยแต่เปลี่ยนแปลงภาพนอกตัวเลขไม่ได้ ถ้าอยากได้ภาพอื่นก็ไปหาดูว่า แนวรูปที่ตัวเองต้องการคือแนวไหน ก็ไปหาซื้อมาลงสี

 

โครงสร้างที่พูดถึงข้างต้นนั้น เราเรียกว่าโครงสร้างประเภทนั้นว่าเป็นการผลิตแบบ conventional ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการทำเลนส์โปรเกรสซีฟในช่วงก่อนปี 2000 ดังนั้น เลนส์ในอดีตก็ใช้ได้เท่าที่บริบทเทคโนโลยีในเวลานั้นจะทำได้ ถ้าคนรุ่นเก๋า ก็พอจะจำได้ว่าเขาแข่งกันว่า เลนส์แต่ละรุ่นของเขานั้นมีกี่โครงสร้ง ใครมีโครงสร้างมากกว่า...ชนะ (โครงสร้างที่ว่าก็คือ stock ของ base curve semi-finished lens)

 

แต่ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา โครงสร้างเลนส์ก็ถูกย้ายจากการหล่อแม่พิมพ์ มาเป็นการคำนวณคู่ต่อคู่ และ ขัดสดขึ้นมาใหม่แบบคู่ต่อคู่ เนื่องจาก software สมัยใหม่นั้นมีความยืดหยุ่นขีดสุดและสามารถเปิดช่อง option-factor ให้ใส่ตัวแปรต่างๆลงไปได้ เช่น กรอบแว่นตาที่มีลักษณะโค้งมากๆ ตัวซอฟท์แวร์ก็สามารถจัดการแก้ไขความคลาดเคลื่อนเชิงออพติกให้กลับมาเหมือนเดิมได้ และ การที่จะมีอิสระเต็มที่ในการออกแบบ ก็ต้องเป็นโครงสร้างแบบ back-side progressive เช่นเดียวกันกับความอิสระในการวาดเขียนเต็มที่ต้องเริ่มต้นที่กระดาษเปล่า ไม่ใช่กระดาษที่กำหนดไว้แล้วว่าจะต้องลงสีเบอร์อะไร

 

ส่วนเลนส์ค่ายไหนที่ยังไม่พร้อมเรื่องเทคโนโลยีการคำนวณแบบ real-time เพื่อขึ้นโครงใหม่แบบคู่ต่อคู่ ก็จะใช้โครงสร้างโปรเกรสซีฟจากแม่พิมพ์ ซึ่งมีทั้งอยู่ในรูปแบบของ hardware (ในรูปแบบของ semi-finished lens ) และ software (สำหรับขัดโครงสร้างแม่พิมพ์) เช่นเดียวกันกับ ภาพวาดลงสีตามตัวเลข ซึ่งสวย และ เหมือนกัน ทำซ้ำได้ดี

 

แต่ปัญหาก็คือ พอเป็นเรื่องปัญหาสายตา แต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน หรือคนๆเดียกัน สายตาก็ต่างกัน ทำให้เลนส์เหล่านี้เริ่มมีปัญหาว่า บางคนใช้งานดี บางคนใช้งานไม่ดี บางคนชอบบางคนไม่ชอบ ดังนั้นเลนส์ระบายสีตามตัวเลขเหล่านี้ จำเป็นต้องเป็นโครงสร้างแบบ front -side progressive เนื่องจากต้องหล่อโครงสร้างผ่านแม่พิมพ​์ หน้าตาแม่พิมพ์เป็นอย่างไร ลูกพิมพ์ก็เป็นอย่างนั้น จะแก้ไขก็ทำได้ยาก

 

พูดอีกนัยหนึ่งถ้าจะไว่าไป เลนส์โปรเกรสซีฟที่ใช้โครงสร้างจากแม่พิมพ์ก็เหมือนกับการ renovate อาคารพาณิชย์หลังเก่าให้ดูทันสมัยจะได้ขายได้ราคาแพงขึ้น ขณะที่เลนส์ unique customize ที่คำนวณขึ้นแบบคู่ต่อต่อ ก็เหมือนกับ สถาปนิกออกแบบโครงสร้างบ้านขึ้นมาใหม่ ตามความต้องการของผู้อยู่อาศัย ทั้งเรื่องของขนาด รูปทรง ฟังก์ชั่น สีภายนอก ภายใน เพื่อให้เกิดความพึงพอใจต่อผู้อยู่อาศัยสูงสุด

 

แต่มาถึงตอนนี้ ก็อย่าพึ่งเหมาว่า back-side progressive นั้นดีสุด เพราะมันจะดีสุดได้ก็ต้องอยู่ที่ knowhow ของ software ว่าฉลาดในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างตามตัวแปรมากน้อยแค่ไหน ถ้า software ไม่ดี ก็เหมือนคนวาดรูปไม่เป็น ให้กระดาษเปล่าไป ให้สีไป มีแต่จะเสียของเปล่าๆ รูปออกมาก็ไร้ค่าเหมือนกัน

 

บางทีสำหรับคนหรือ(แบรนด์) ที่ความรู้ไม่ถึง การใช้เลนส์ลงสีตามตัวเลข อาจจะให้โครงสร้างที่ดีกว่าลงมือทำเองทั้งหมด เลนส์ knowhow ต่ำจึงมัก ใช้ back-side progressive ในเลนส์รุ่นต่ำๆ พอขัดโครงสร้างขึ้นมาก็ใช้ไม่ได้ เพื่อทำให้เลนส์ back-side progressive มันดูแย่ ขณะที่ front-progressive ซึ่งหล่อจากพิมพ์ เหมือนรูปลงสีตามตัวเลข จะดูมุมไหนก็สวย เสียอย่างเดียว หน้าตามันเหมือนกัน แล้วก็ไม่ยืดหยุ่นตามตัวแปร ขีดจำกัดเยอะแยะเต็มไปหมด ทำบนกรอบโค้งไม่ได้ เลือก base curve ไม่ได้เหล่านี้เป็นต้น ก็เพราะเรื่องนี้...แล

 

ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อยกตัวอย่าง เรื่องการวางโครงสร้างเลนส์​ front-side progressive กับ back-side progressive ว่ามีแนวคิดต่างกันอย่างไร ดีเสียอย่าไงไร แต่เดี๋ยวจะมีคนถามว่า แล้ว double-side progressive หล่ะเป็นอย่างไร

 

ก่อนที่จะเข้าไปสู่คำตอบ ก็ต้องตั้งคำถามก่อนว่า ขณะที่มีการขัดเลนส์ด้วย cnc-freeform มันจะต้องมีการใช้แขนจับงานฝั่งหนึ่ง (ฝั่งผิวหน้าเลนส์) แล้วให้ หัวเข็ม cnc กัดเลนส์เข้าอีกฝั่งหนึ่ง คำถามคือ ถ้าการขัดสองด้าน คือพอกัดผิวหลังเสร็จ จากนั้นก็แกะเลนส์ออกมา แล้วจับฝั่งผิวหลัง แล้วให้ cnc กัดโครงสร้างทางผิวหน้า อย่างนั้นหรือเปล่า ดูมันจะรกและวุ่นวายไปหน่อยไหม ซึ่งก็ไม่เคยเห็นคลิปในโรงงานที่เขาทำกันอย่างนั้น เหลือทางเดียวที่พอจะเป็นไปได้คือ ขัดโครงสร้างทางผิวหน้าผ่านแม่พิมพ์แล้วหล่ออกมา และ ถ้าเป็นอย่างนั้น เลนส์ก็น่าจะไม่มีความยืดหยุ่นของตัวแปรเช่นเดียวกับ front-progressive แต่มันก็อาจจะมีข้อดีตามคอนเซปต์ของนักออกแบบ ซึ่งผมเองก็ติดที่กระบวนการขัดเลนส์ เมื่อคิดไม่ออก ก็เลยไม่รู้ว่า การทำ double surface แบบ real-time โดยที่ไม่ต้องมีการหล่อโครงสร้างบางส่วนผ่านโมล มันเป็นไปได้จริงๆไหม และมันจะดีได้อย่างไร

 

แต่ที่แน่ๆมันไม่ใช่เรื่องการเล่นตลาดว่า การขัดสองด้าน มันจะต้องดีกว่าการขัดเพียงด้านเดียว ซึ่งมันดูไม่สมเหตุสมผลและไร้สติไปหน่อย และ ถ้าสังเกตุดีๆ เลนส์อะไรก็ตามที่ยังใช้เทคโนโลยีเก่าคือจะจำกัดตัวแปรเยอะเยอะไปหมด เช่น สั่งเลนส์สำหรับกรอบโค้งไม่ได้ สั่ง base curve ไม่ได้ ถ้ามีขีดจำกัดเหล่นี้ ให้อนุมานไว้ก่อนว่า โครงสร้างแม่พิมพ์แน่ๆ ซึ่งรูป(อาจ)สวยแต่ไม่ยืดหยุ่น

 

ก็หวังว่า ท่านจะได้เห็นภาพและเหตุผลของการสร้างโครงสร้างโปรเกรสซีฟ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันได้ และ เข้าใจว่า ทำไมบางค่ายยังใช้โครงสร้างตั้งแต่ยุดอดีตในปัจจุบัน เพราะรูประบายสีตามตัวเลขที่ ฮิตๆ มันยังขายได้อยู่ แม้หน้าตามันจะเมือนกันก็ตาม

 

สรุป

แม้จะตกวิชาศิลปะก็สามารถมีงานศิลปะสวยๆออกมาได้ แม้จะไม่มีความรู้หรือ knowhow ที่ดีมากนักในการออกแบบโครงสร้างเลนส์ แต่ก็สามารถใช้การตลาดสร้างจินตนาการโครงสร้างเลนส์(กึ่งสำเร็จ)และประสบความสำเร็จในการขายและทำยอดได้เช่นกัน แต่ทั้งคู่นั้นไม่สามารถสร้าง value ให้สูงได้มาเท่าของจริง พูดง่ายก็คือว่า แม้ไม่มีความรู้เรื่องการวาดรูปก็สามารถสร้างรูปสวยๆออกมาได้ หรือไม่ต้องมีความรู้เรื่องการออกแบบโครงสร้างเลนส์ก็สามารถทำเลนส์ออกมาขายสร้างแบรนด์ได้ เพียงแค่มี tools คือ แม่พิมพ์ (mold)  อาจจะเป็น physical mold หรือ digital mold ก็ได้  หลังๆ คำว่า ฟรีฟอร์มมันขายได้ เลยมีการเอา digital mold ไปขัดด้วยฟรีฟอร์ม แล้วตั้งชื่อใหม่ทำให้คนหลงเข้าใจว่า ฟรีฟอร์มมันก็เหมือนๆกันหมด ซึ่งแท้จริงแล้วนั้น ต่างกันโดยสิ้นเชิง 

 

ดังนั้น pricing ที่ตั้งเอาไว้ จริงไม่สามารถนำมา compare ความเท่าเทียมของ positiong ได้ เช่นอยู่ดีๆ หยิบดินมาปั้นเป็นพระเครื่อง แล้วตั้งขาย 25 ล้าน แล้วบอกว่าพุทธิคุณเทียบเท่ากับพระสมเด็จวัดระฆัง เพราะราคามันเท่ากัน แบบนี้มันก็ไม่น่าจะได้

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฟรีฟอร์มเทคโนโลยี ดีกว่าเทคโนโลยีเก่าอย่างไร

https://www.loftoptometry.com/whatnew/view/91

https://www.loftoptometry.com/whatnew/page/lens-technology

 

 

สวัสดีครับ

ดร.ลอฟท์​ ,O.D.

 

 

Contact : 

Loft Optometry ,578 Wacharapol Rd ,Tharang ,Bangkhen ,BKK 10220

maps : Loft Optometry Location

mobile : 090-553-6554

lineID : loftoptometry 

fb : www.facebook.com/lofoptometry