Case Story

topic : เรื่องแว่นๆ ของวัยรุ่น 90s

 

Intro

เคสเล่าสู่กันฟังวันนี้ไม่ได้ยาก ดังนั้นก่อนที่จะเข้าไปสู่ในส่วนของเคส ขอเล่าเรื่องวัยเด็กกันสักหน่อย เผื่อมีบางท่านสงสัยว่าผมเอารูป รถคุณปู่ขึ้น dyno-test ขึ้นมาทำไม แล้วมันเกี่ยวยังไงกับเรื่องเคสที่กำลังพูดถึงอยู่ในตอนนี้

 

ย้อนกลับไปเมื่อสัก 20 กว่าปีก่อน (วัยรุ่น90) ซึ่งขณะนั้นผมกำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยม ซึ่งตามประสาเด็กวัยรุ่นก็จะมีความชอบรถซิ่งเป็นธรรมดา ถ้าเป็นหนังก็ต้อง the fast and the furious ภาคแรกซึ่งดูไม่ต่ำกว่า 10 รอบจนจำบทได้ทุกตอน และ ยังจำ short ที่ไบรอันท์เอาซากรถ Supra มาคืน ดอมมินิค โทเรตโต้ ซึ่งไบรอันท์ก็ให้ดอมเปิดผากะโปรงดูซึ่งเป็นเครื่องยนต์ 2-JZ GE แล้วเจสซี่ก็อุทานว่า “Ohh...2JZ” และ ซับไทยก็แปลว่า “โอ้...เครื่องเจซี 2 ตัว” ซึ่งในเวลานั้นก็รู้สึกขำๆดี ยิ่งไปกว่านั้น ตอนที่เขาไปซื้ออะไหล่รถกัน เขาก็ซื้อ parts เป็น 2JZ-GTE (แต่เครื่องยนต์เป็น GE หรือว่ามันใส่กันได้ อันนี้ผมไม่ทราบ) ซึ่งถ้าไม่รู้ก็ดูผ่านๆไป แต่ถ้ารู้มันก็ดูไปจับผิดไป สนุกไปอีกแบบ

 

สมัยนั้น youtube ยังไม่เกิด ขนาด internet ยังเป็นเนท 52kbps กันอยู่ ไม่ใ่ช่เนทกิ๊กอย่างปัจจุบัน เว็บไซต์สืบข้อมูลก็น้อยเพราะ google ยังไม่เกิด ถ้าเว็บรถก็ต้อง racingweb.net ถ้าจะอ่านหนังสือรถก็ต้อง XO-Autosport ซึ่งเป็นวารสารรถซิ่งที่พูดถึงเครื่องยนต์กลไล ความรู้ทางเทคนิคเครื่องยนต์และการโมดิฟายว่าชุดแต่งแต่ละชิ้นแต่ละแบนรด์นั้นมันช่วยเรื่องอะไร ด้วยเหตุและผลมากกว่าหนังสือแต่งรถทั่วไปและไม่พูดเรื่องราคาแต่ผู้อ่านจะรู้อัตโนมัติว่ารถที่ถูกเลือกมาลงหนังสือนั้นล้วนแต่สุดในสาย ไม่ใช่แค่ทำสีเปลี่ยนแม๊กแล้วโหลดเตี้ยแล้วได้ลง และรถคันนั้นก็จะเป็น legend จนถึงปัจจุบัน

 

 

 

สมัยนั้นการได้เห็นห้องเครื่องรถซิ่งนั้นเป็นอะไรที่มีความสุขสุดๆ ถ้าพูดถึงเครื่องฮิตๆยุคนั้นถ้าเป็น Nissan ก็ RB26DETT, โตต้าก็ 2JZ-GTE ,3S-GTE, ซูบารุก็ EJ20 คอแดง , อีโวก็ 4G63T , เซเว่น ก็13B-Rotary ส่วน Honda ก็ B18C ซึ่งราคาเครื่องรถในยุคนั้น ถ้าเป็นราคาปัจจุบันแทบจะซื้อรถไฟฟ้ารุ่นเล็กๆได้ทั้งคัน ดังนั้นการได้ไปงาน soup-up thailand ซึ่งเป็นงานแข่ง DRAG ประจำปี ที่จัดโดย XO-Autosport เพื่อหารถที่ทำเวลาวิ่งดีที่สุดในประเทศจึงเป็นงานที่ไม่เคยพลาด

 

สำนักแต่งยุคแรกๆนั้น ถ้าดีเซลล์ก็ต้องสิงห์คะนองนาบางปูอะไหล่ยนต์ วิ่ง 9 วิ ก็กรี๊ดแล้ว ส่วนฝั่งเบนซินสมัยนั้น ถ้าแบนด์ๆญี่ปุ่นหน่อยก็มี JUN Automachanics , HKS ถ้าเป็นอู่บ้านเราก็ต้องพี่ญา ญา เซอร์วิส , พี่อ๋อ Ram77 , พี่ใหม่ Rotary P&C Garage ซึ่งในอดีตการทำเวลาควอเตอร์ไมล์ 402 เมตร ในเวลา 9 วิ นี้เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก แต่เดี๋ยวนี้ช่างบ้านเราสามารถลงไปยัน 6 วิ กันได้แล้ว ซึ่งเรียกได้กว่า ความสามารถช่างไทยนั้นไม่แพ้ชาติใดในโลกจริงๆ และ สมัยดีอู่บ้านเราส่งรถไปแข่งต่างประเทศกันแล้วและการเป็นรถแข่งก็ต้องมีการ wrap sticker เป็น Artwork งานศิลปะบนตัวถังรถแข่งในยุคนั้น ไม่มีใครที่จะโดดเด่นเท่ากับ ป๋าแดง แห่ง DangSticker

 

สิงห์คะนองนา เฮียอ๊อด บางปูอะไหล่ยนต์  

HKS Japan ,เคยวิ่งโชว์เมืองไทย 

 

JUN Auto Mechanic ,Japan ของคุณป๊อปปิ 

มารชมพู ของช่างญา เซอร์วิส 

 

ด้วยความชอบเรื่องเครื่องยนต์มาก ทำให้ช่วงเวลาหนึ่งผมอยากจะเรียนช่างอยากทำอู่ ซ่อมรถ ทำรถแข่ง และ มีรถซิ่งเป็นของตัวเอง แต่ความฝันก็คือความฝัน เพราะมันมีความฝันอีกอันหนึ่งคือการได้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข ซึ่งก็รู้สึกว่ามันเป็นกลไลเช่นเดียวกัน แต่เป็นกลไกทางชีวภาพซึ่งซับซ้อนและมหัศจรรย์กว่า ก็เลยตัดสินใจเรียนอย่างหลังดีกว่า แต่ความฝันในวัยเด็กก็ไม่เคยละทิ้ง

 

เมื่อ 3 ปีก่อนผมจึงไปเสาะหาของเล่นที่อยากได้ตอนเป็นวัยรุ่น ไปได้คุณปู่มาอยู่ด้วย คือ Baby Benz 190E วาง 1 JZ-GTE vvti Auto เดิมๆ 280 ม้า มาขับเล่น พอสนุก ซึ่งก็ชอบมากๆ ออกขับเล่นทุกวันจันทร์ ซึ่งเป็นวันหยุดของผม ซึ่งเสียงมันก็เร้าใจดี แต่ขับไปสักพักก็เบื่อเพราะเป็นเกียร์ออโต้ เครื่องก็เดิม อยากมีบทบาทในการควบคุมเครื่องยนต์ได้ด้วยตัวเอง โดยเฉพาะการเล่นกับรอบเครื่องที่แรงม้าสูงๆ

เมื่อเริ่มเบื่อที่จะขับเดิมๆ ความซนก็บังเกิด และได้ The First ช่วยบรรเลงความฝันให้หน่อย เริ่มจาก เปลี่ยนเป็นเกียร์ธรรมดา JZ 5 Speed , เปลี่ยนคลัชทองแดงซิ่ง OS-Giken twinplate ซึ่งจะมีเสียงกรุ้งกริ๊งเวลาเหยียบคลัช, โบล์หมก โมดิฟายใบพัดโข่งหน้าให้รอบมาเร็วขึ้นและอัดลมได้แรงขึ้น แต่ไม่ได้ขึ้นเฮดเดอร์ใหม่ (เพราะต้องการหมก) ,เดินท่อ 3 นิ้วตลอดเส้นใหม่ พักปลายเป็น HKS , Wastgate บางมด ,Blow-Off HK , กล่อง ECU LINK FURY, แพล่าง Skyline , break Willwood , ล้อ Wolk-Challenge 17 นิ้ว รัดยาง Pilotsport ซึ่งขึ้นไดโนได้แรงม้าลงพื้นมา 375 HP และ Torque 49.55 N.M. แรงม้าไม่มากแต่แรงบิดขับสนุกเพราะรอบติดตั้งแต่ 2500 รอบ ซึ่ง low boost ตั้งไว้ที่ 0.8 บาร์ ส่วน Hi-boost ตั้งไว้ที่ 1.5 บาร์ เหล่านี้ก็เพื่อให้ได้พออยากจากความฝันในวัยเด็กบ้าง แต่ถ้าจะเอาแรงม้าแรงบิดสูงๆสมัยนี้ รถไฟฟ้าเกิดมาก็แรงแล้ว แต่มันก็แทนกันไม่ได้ เพราะสิ่งที่ต้องการคือ “เวลาของวันวาน” แต่ด้วยราคาน้ำมันปัจจุบัน ส่วนใหญ่จึงให้ปู่จำศีลเป็นหลัก หายใจเบาๆไปพลางๆ ( step ต่อไปกำลังอัพเกรดหัวฉีด FIC 1,650 cc เก็บงาน รอจูนไดโน )

 

 

เวลาก็ผ่านมาเนิ่นนาน....

 

วันหนึ่งก็มีคนไข้ท่านหนึ่ง ทำนัดเข้ามาตรวจเพื่อทำแว่น ซึ่งซักประวัติทั่วไปก็ได้ความว่าเป็น Graphic Design ที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เกือบตลอดเวลา เรียกว่าใช้งานคอมพิวเตอร์เยอะว่าอย่างงั้นเถอะ ซึ่งสายตาก็ตาม case study ที่เล่าให้ฟัง แต่ในส่วนของกรอบแว่นนั้นก็เป็น rim titanium ,Robin แต่คนไข้สลักชื่อว่า Art_DangSticker จึงได้ถามไปถามมา จึงได้รู้ว่า พี่อาร์ทคือลูกชายป๋าแดง DangSticker ในตำนานที่ยังคงอยู่และแข็งแรงดีมากๆ และปัจจุบันถ้าในวงการ Motorsport งานกราฟิกตัวถังรถเบอร์ต้นๆก็ต้องเป็น DangSticker นี่แหล่ะ เรื่องนี้จึงเป็นเรื่อง miracle ที่ Surprise มากสำหรับวัยรุ่น 90s อย่างผม และก็นี่หล่ะฮะ ที่อยากจะเล่าให้ฟัง

xo-autosprot ; DangSticker lancer rally

 

เอาหล่ะมาดูในส่วนของเคสกัน....

Case History

พี่อาร์ต คนไข้ชาย อายุ 43 ปี มาด้วยอาการดูใกล้ไม่ชัด เป็นมา 1-2 ปี แต่มองไกลยังชัดอยู่ ไม่มีปวดหัวหรือภาพซ้อน สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวหรือยาที่ต้องทานประจำ

ใช้สายตาทำงานกราฟิกบนคอมพิวเตอร์และดูระยะใกล้เป็นหลัก

 

Preliminary eye exam

PD 32.5/32

VAsc : OD 20/20 ,OS 20/20

 

Keratometry

OD 43.04@167/44.05@77 …. Cyl -1.00 DC (WTR)

OS 43.27@10/44.75@100 …. Cyl -1.48 DC (WTR)

 

Retinoscopy

OD +0.25-0.50x180 ,VA20/20

OS +0.75-1.00x180 ,VA20/20

 

Monocular Subjective

OD +0.50-0.75x3 ,VA20/20

OS +0.50-0.75x177 ,VA20/20

 

BVA (on phoropter)

OD +0.50 -0.75x3 ,VA20/15

OS +0.75 -0.75x177 ,VA20/15

 

BCVA (fine tuning on trial frame)

OD +0.50 -0.50x180 ,VA20/15

OS +0.75 -0.50x5 ,VA20/15

 

Binocular Function : at Distant 6 m.

Horz.Phoria : 3 BI ,(mild exophoria)

Vertical Phoria : Ortho

 

Functional at Near 40 cm

BCC +1.50

NRA/PRA +1.00/-1.00 (rely BCC)

 

Assessment

1.mixed hyperopic astigmatism ,OD and OS

2.Presbyopia

3.Normal Binocular Function

 

Plan

1.Full Rx

OD +0.50-0.50x180

OS +0.75-0.50x5

2. Progressive lens Rx : Add +1.50D

3. N/A

 

Product

Lens : Multigressiv B.I.G. Exact 1.6 +Lay-R x-clean

Frame : Lindberg Rim Titanium Robin ,Black Matt U9 (custom spec)

 

Analysis

Distant Clear but Near Blur

อาการมองไกลชัดแต่อ่านหนังสือมัว เป็นอาการสำคัญของคนไข้สายตาแก่ (presbyopia) ซึ่งเป็นธรรมชาติของทุกคนเมื่อวัยเลย 40 ปี อันมีสาเหตุมาจากความยืดหยุ่นของเลนส์แก้วตาในการเปลี่ยนความโค้งของผิวเลนส์เพื่อให้เกิดความสามารถในการโฟกัสได้หลายระยะนั้นทำได้น้อยลง โดยอาการจะเริ่มจากระยะดูใกล้ก่อน เนื่องจากเป็นระยะที่ต้องอาศัยแรงปริมาณมากในการเพ่งเพื่อให้เกิดความชัด ขณะที่มองอะไรที่ไกลออกไปนั้นใช้แรงน้อยกว่าทำให้ปัญหาระยะกลางและไกลมัวนั้นจึงเกิดขึ้นทีหลัง

 

ดังนั้นคนไข้มองเห็นไกลชัดและเห็น VA ระดับ 20/20 ด้วยตาเปล่าได้นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าคนไข้ไม่มีปัญหาสายตาหรือไม่ต้องตรวจหรือไม่ต้องแก้ปัญหาสายตา เพราะจุดมุ่งหมายสูงสุดของการรักษาด้วยเลนส์ (optical treatment) คือการทำให้คนไข้กลับมามีสายตาและฟังก์ชั่นการทำงานของดวงตาเหมือนคนปกติ

 

ในเคสนี้ คนไข้มี hyperopia +0.50 และมีสายตาเอียงอยู่ -0.75DC x 180 ซึ่งถ้าเราไม่แก้สายตายาวแต่กำเนิด เลนส์ตาจะเพ่ง ซึ่งถ้าคำนวณค่า Spherical equilvalent (S.E.) = (+0.5) + (-0.375) =+0.125D จะเห็นว่า ถ้าเราไม่แก้ไขสายตายาวแต่กำเนิดให้คนไข้ การเพ่งของเลนส์จะกลืนค่าสายตาเอียงไปทั้งหมด เช่นเดียวกันกับการใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่มีค่าสายตาเอียง ซึ่งมันก็อาจทำได้สำหรับคอนแทคเลนส์ แต่ไม่ใช่กับเลนส์โปรเกรสซีฟ

 

Adaptation

ในส่วนของการปรับตัวนั้น คนไข้สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ครั้งแรกที่ใส่ เพียงแค่ดัดแว่นให้ได้มุมองศาที่ถูกต้อง ไม่บีบไม่รัด เลนส์ Multigressiv B.I.G. Exact 1.6 คู่นี้ก็สามารถแสดงศักยภาพออกมาได้ค่อนข้างดี คือเห็นชัดได้ทุกระยะ และ ในส่วนของภาพบิดเบี้ยวนั้นก็มีอยู่เล็กน้อย ซึ่งถ้าไม่ตั้งใจมองก็ไม่เห็นว่าบิดเบี้ยว เพียงแต่เห็นว่าด้านข้างนั้นมัวกว่าในตำแหน่งหลักๆก็เท่านั้นเอง แต่ไม่ถึงกับที่จะสร้างปัญหากับการใช้ชีวิตให้กับคนไข้

 

สรุป

ในการแก้ไขปัญหาสายตาให้กับคนไข้ hyperopia ซึ่งมีสายตายาวมาแต่กำเนิดนั้น สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการรีดหาค่าสายตายาวออกมาให้หมด เมื่อเรารีดค่าสายตายาวออกมาได้หมดแล้ว เราจะเห็นสายตาเอียงที่ซ่อนอยู่ มันเหมือนกันการที่จะเห็นว่ามีขยะอยู่ใต้พรม ก็ต้องยกพรมขึ้นมาดู แล้วเอาออกไป หรือการจะเห็นตอที่อยู่ในน้ำ ก็ต้องวิดน้ำออกไป สายตาเอียงก็เช่นกัน ถ้าไม่แก้สายตายาวให้หมด เราก็จะหาสายตาเอียงไม่เจอ หรือ ถ้าเราจ่ายค่าเลนส์แก้สายตาสั้นเกินค่าสายตาจริง เราก็จะหาค่าสายตาเอียงไม่เจอเช่นกัน

 

เมื่อมีสายตาเอียงที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข พอกลายเป็นเลนส์โปรเกรสซีฟ ซึ่งมีพื้นฐานโครงสร้างคือสายตาเอียงอยู่แล้ว (unwanted oblique astigmatism) และ เมื่อมี residual astigmatism เหลืออยู่ มันก็จะเกิดการ combind กันระหว่าง unwanted oblique astigmatism กับ residual astigmatism ทำให้ total นั้นเพี้ยนไปหมด

 

ผลคือ aberration ของโปรเกรสซีฟแต่ละข้างนั้นมี form ที่ไม่เป็นระเบียบ และเมื่อรวมภาพกันจะทำ overlab กันไม่สนิท ผลคือ visual field แคบ ภาพวูบวาบ ใส่ยาก ปรับตัวลำบาก หรือ ใส่ไม่ได้เลย นั่นเหล่ะคือเหตุว่าทำไม คนที่ชอบจ่าย 0.00 + Addition ให้กับคนไข้ที่เป็น hyperopia + presbopia ที่มองไกลชัดด้วยตาเปล่า เมื่อแว่นออกมาแล้วคนไข้ใส่ไม่ได้ แต่ต่อให้ใส่ได้ ก็ใส่ได้ไม่นาน สายตาก็จะเปลี่ยนอีก มุมมองแคบกว่าที่ควรจะเป็น ภาพวูบวาบสูง เนื่องจาก under corrected hyperopia ทำให้เกิด Over addition ส่งผลให้ distortion เพิ่มขึ้น มุมมองจึงแคบลง ทำให้ต้องขยับศีรษะ ก้มๆเงยๆ เพื่อหาจุดชัด และ นั่นแหล่ะคือโปรเกรสซีฟที่ไม่ดี

 

ซึ่งปัญหาข้างต้น พบบ่อยในกลุ่มคนที่เชื่อในแนวคิดจัดสายตาที่มีสโลแกนประจำใจว่า “if it don’t broke ,don’t fix it” ไม่พังก็อย่าไปซ่อม เขาไม่บ่นก็อย่าไปแก้ เขายังอยู่ได้ก็อย่าไปเปลี่ยนเขา อย่าจ่ายบวกเต็มเดี๋ยวเขาไม่ชัด ถ้าเขาใส่เบอร์สั้นเกินมาก็ค่อยๆลดเดี๋ยวเขาไม่ชิน ถ้าเขาใส่เบอร์บวกขาดๆมาก็อย่าพึ่งไปจ่ายเต็มเดี๋ยวเขาไม่ชิน อย่าชัดเกินไปเดี๋ยวปวดหัว

 

...wording ข้างต้นเหล่านี้เป็นเรื่องมโนศาสตร์ทั้งสิ้น เพราะคำว่าชัดเกินไป (over sharp , over clear) นั้นไม่มีศัพท์ในทางสากล มีแต่คำว่า over minus (จ่ายเกินเบอร์) ซึ่งทำให้ตัวหนังสือดำและเล็กลง แต่ไม่ได้ชัดขึ้น ถ้าการชัดทำให้ปวดหัวจริง คนที่สายตาปกติแบบ emmetropia คงปวดหัวกันทั้งโลกไปแล้ว หรือใครใช้จอ 4K ,8K ,OLED ก็คงจะปวดหัวเพราะมันชัดเกินไป หรือใครจะผลิตหน้าจอออกมาก็ต้องโฆษณาว่า "จอของฉันไม่ชัดเกินไป" อย่างงั้นหรือเปล่า ซึ่งมันไม่จริงอยู่แล้ว

 

ดังนั้นงานทัศนมาตรคลินิกจึงควรเป็นงานที่ทำให้คนไข้เสมือนคนปกติทั้งเรื่องการมองเห็นและการทำงานร่วมกันของสองตา เพียงแต่ต้องใส่อุปกรณ์เพิ่มเข้าไปคือแว่นตา และ จะไม่มีใครที่จะปวดหัวกับความปกติ เว้นเสียแต่ว่ามันไม่ปกติ ก็ต้องหาเหตุกันให้เจอว่าตรงไหนที่มันยังไม่ปกติ มนุษย์เราไม่ปฎิเสธเบอร์รองเท้าของตัวเองฉันได มนุษย์ก็ไม่ปฎิเสธเบอร์สายตาของตัวเองฉันนั้น เว้นแต่มันไม่ใช่ค่าของเขา ทีนี้ก็อยู่ที่ปัญญาของผู้ตรวจว่าจะถึงปัญหาที่คนไข้เป็นอยู่หรือไม่

 

ท้ายนี้ก็ขอขอบคุณ พี่อาร์ต DangSticker by Art ที่มั่นใจในงานบริการทางทัศนมาตรคลินิกกับ loft optometry และขอบคุณแฟนเพจสำหรับกำลังใจในการติดตาม แล้วพบกันใหม่ตอนหน้า

สวัสดีครับ

ดร.ลอฟท์ ,O.D.

 

Loft Optometry ,

578 Wacharapol Rd, Tharang ,Bangkhen 10220

Mobile : 090-553-6554

lineID : lot optometry

Web : www.loftoptometry.com

 

Product 

 

Additional Data