Keywords : progressive lens , Hard Design , Soft Design , Perfect Balance Design , Sensitivity index - varies transition from hard to soft design , distortion , aberration , oblique astigmatism , Biometric .,
Intro
เมื่อวันจันทร์ที่ 3 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา rodenstock ได้เปิดผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดที่มีชื่อว่า B.I.G. Exact Sensitive โดยมีหัวใจสำคัญในการออกแบบคือ เป็นเลนส์ที่ออกแบบโครงสร้างขึ้นมาให้เหมาะกับความไวต่อประสาทตาในการรับภาพในแต่ละบุคคล (individual sensitivity) เพื่อให้โครงสร้างที่ออกมานั้นมีความจำเพราะต่อความไวต่อความคมชัดของประสาทรับภาพของแต่ละคน
มาถึงจุดนี้ หลายคนน่าจะเกิดความสงสัยในหลายๆประการเช่น “การรับรู้ประสาทตาเป็นของแต่ละคนและการรับรู้ของประสาทสัมผัส น่าจะเป็นประสบการณ์ส่วนบุคคล หรือ มันเป็นเรื่อง subjective แล้วทางโรเด้นสต๊อกจะเก็บข้อมูลอย่างไร” คำถามต่อมาคือ “ เมื่อได้ข้อมูล sensitivity ออกมาแล้ว เขาจะเอาค่าเหล่านี้ไปทำอะไรกับเลนส์ แล้วประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับน่าจะเป็นอย่างไร”
เรื่องนี้ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า เวลาเล่าเรื่องเทคโนโลยีเลนส์ของโรเด้นสต๊อกนั้น มันราวกับเป็นเรื่องราวของหนังวิทยาศาสตร์ sci-fi และต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีและพื้นฐานเชิงออพติกพอสมควร
ดังนั้นวันนี้ ผมจะมาสรุปให้ฟังว่า ที่ผมไปฟังบรรยายมาน้ัน ผมเข้าใจและสรุปได้ว่าอย่างไร แต่ก่อนอื่นก็ต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่งที่ไม่ค่อยได้อัพเดตเพจเท่าไหร่ ทำให้หลายๆท่านเองก็ห่วงว่ายังทำงานอยู่ไหม ซึ่งจริงๆผมทำงานอยู่ทุกวัน (เว้นวันจันทร์) เพียงแต่ผมเองก็มีเรื่องที่ตัวเองกำลังสนใจและศึกษาอยู่ ทำให้เพลินไปหน่อย จึงไม่ค่อยได้อัพเดตเพจมากนัก แต่สำหรับเว็บไซต์ www.loftoptometry.com ผมก็เขียนอยู่เรื่อยๆ เพียงแต่ไม่ค่อยได้แชร์เช่าเพจเฉยๆ อีกสาเหตุหนึ่งก็คือ รู้สึกว่าเขียนไปสักพักหนึ่งแล้ว เคสก็เริ่มซ้ำๆ ต่างเพียงรายละเอียด ครั้นจะโพสต์เรื่องที่มี pattern เดิมๆ ก็พลอยให้ไม่อยากจะขยับ แต่วันนี้มีเรื่องใหม่ที่ challenge ผมพอสมควร ก็เลยอยากจะหยิบมาเล่าให้ฟังว่า เลนส์ B.I.G. EXACT™ Sensitive นั้นมีอะไรที่น่าสนใจ แต่ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาของเลนส์ EXACT™ Sensitive เราจะต้องมี keyword พื้นฐานที่ต้องเข้าใจ เพื่อให้การอ่านเรื่อง EXACT™ Sensitive นั้นเข้าใจได้ง่ายขึ้น
Progressive Structure
ลักษณะสำคัญของโครงสร้างเลนส์โปรเกรสซีฟคือ “มีชั้น power อยู่หลายเพื่อให้เกิดโฟกัสหลายระยะต่อเนื่องกันโดยไม่มีรอยต่อ โดยการใช้เทคนิคการขัดโครงสร้างสายตาเอียงเข้าไปเพื่อผสานรอยต่อระหว่างชั้น ทำให้เลนส์โปรเกรสซีฟนั้นจำเป็นต้องมีภาพบิดเบือนด้านข้างที่เกิดจากการขัดสายตาเอียง (ที่ไม่ใช่สายตาของเรา ซึ่งมีชื่อ aberration ทางเทคนิคนี้ว่า unwanted oblique astigmatism) เข้าไป ทำให้เลนส์โปรเกรสซีฟไม่สามารถหนีพ้นจาก aberration (distortion) ได้เลย แต่ก็ถือว่าเป็นเลนส์ที่มีความอเนกประสงค์คือใช้งานไกล กลาง ใกล้ ได้ทุกระยะ และยังได้ในเรื่อง cosmetic จากการที่เลนส์ไม่มีรอยต่ออีกด้วย (ศึกษาการสมานรอยต่อได้จากบทความพื้นฐานการออกแบบเลนส์โปรเกรสซีฟเพิ่มเติม.. https://www.loftoptometry.com/หลักพื้นฐานในการออกแบบเลนส์โปรเกรสซีฟ )
โครงสร้างหลักของโปรเกรสซีฟในยุคแรกนั้นเริ่มจาก soft/hard design ไปสู่ perfect balance และ เป็น Sensitive Design อย่าง B.I.G. EXACT™ Sensitive ในปัจจุบัน หรือถ้าจะสรุปห้วนๆเลยมันก็คือการกลับไปพัฒนาที่จุดเร่ิมต้นของเลนส์โปรเกรสซีฟเลยนั่นก็คือการเข้าไปจัดการกับโครงสร้างโปรเกรสซีฟจากเดิมที่เป็นแบบ fixed hard/soft design มาเป็นการหาค่าความ soft/hard design จาก Personal Sensitivity Index ซึ่งถ้าเราทำความเข้าใจเลนส์ยุคเดิม soft/hard design ได้เราก็จะเข้าใจ B.I.G. EXACT™ ได้ไม่ยาก ดังนั้นขอกลับไปทำความเข้าใจกับเลนส์ยุคเก่าก่อน
Hard/Soft Design (ยุคเริ่มของโครงสร้างเลนส์โปรเกรสซีฟ)
เลนส์โปรเกรสซีฟมีปัญหาใหญ่คือ “ภาพบิดเบือนด้านข้าง” หรือ peripheral distortion ซึ่งมันจะเป็นต้องมีตามที่กล่าวไปข้างต้น และ ตัวแปรที่สำคัญต่อมาก็คือ “ภาพบิดเบือนด้านข้างนั้นแปรตามค่าแอดดิชั่น” ยิ่ง add มากเท่าไหร่ disortion ก็เพิ่มเป็นทวีคูณ หรือ “ยิ่งช่วงของการไล่โค้งโปรเกรสซีฟสั้นมากเท่าไหร่ distortion ก็ยิ่งพุ่งเร็วมากขึ้นเท่านั้น” ซึ่งพอจะสรุปสั้นๆ ณ จุดนี้ได้ว่า distortion แปรผันตรงกับค่าแอดดิชั่น และ แปรผกผันกับความยาวของระยะที่มีการไล่ค่ากำลังแอดดิชั่น
จำเป็นสูตร distortion ∞ add / corridor
ลองนึกภาพตาม ถ้าการเพิ่มขึ้นของค่ากำลัง addition เหมือนกับขั้นของบันได ดังนั้น ถ้าเราจะทำบันไดขึ้นชั้นสองที่มีความสูง 3 เมตร เราจะคำนวณขั้นบันไดออกมา ซึ่งถ้าแอดดิชั่นน้อยๆ ขั้นบันไดก็จะไม่ถี่ แต่ถ้าแอดดิชั่นสูงมากๆ เราก็จะต้องทำบันไดที่ถี่มากขึ้น การเหลือบตาขึ้นลงผ่านชั้น power ต่างๆ ก็จะต้องถี่มากขึ้นตามเช่นกัน (และแน่นอนว่า มันวูบวาบแน่ๆ)
หรือ อีกตัวอย่างหนึ่ง เราจะทำขั้นบันไดจำนวนเท่ากัน ให้กับบ้านสองหลัง หลังแรกสูง 2.5 เมตร อีกหลังสูง 3 เมตร แน่นอนว่า หลังที่สูงกว่า ย่อมสามารถทำขั้นบันไดให้ห่างมากกว่า หรือ เวลาเราเหลือบตาผ่านโซนโปรกรสซีฟ เราก็จะเจอช่องมองที่ชัดและกว้างกว่า
ดังนั้นสรุปได้ว่า ถ้าแอดดิชั่นน้อยๆและใช้คอริดอร์ที่ยาวๆ ก็จะใส่ง่ายกว่า หรือ ปรับตัวได้ง่ายกว่า แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า ถ้าทำบันไดสูงเกินไป แม้ขั้นบันไดจะห่าง แต่มันก็ต้องเดินไกลอยู่ดี ด้วยเหตุนี้ การเลือกจ่ายคอริดอร์ให้กับคนไข้จึงเป็นศิลปะอย่างหนึ่งของผู้ที่ทำงานในวิชาชีพนี้
ดังนั้นในอดีต เขาจะกำหนดคอริดอร์ (ความสูงบ้าน) ไว้เสร็จสรรพ ว่ามีให้เลือกแค่ 2 แบบ คือ 11 มม. กับ 14 มม. เราเรียกระยะเหล่านี้ว่า “คอริดอร์” ซึ่งท่านที่สนใจเรื่องนี้ ก็สามารถไปหาอ่านเพิ่มเติมได้จากลิ้ง https://www.loftoptometry.com/whatnew/view/145 แต่ในส่วนของค่า addition เราเลือกเองไม่ได้ เพราะร่างกายมันบังคับให้เราเลือก ย่ิงเราอายุมาก เลนส์ตาเราแก่มาก เราก็ยิ่งต้องการ แอดดิชั่นมากๆ เพื่อให้พอกับระยะที่จะอ่านหนังสือ สรุปก็คือ เราเลือกได้อย่างเดียวก็คือ “คอริดอร์” ซึ่งคอริดอร์นี่แหล่ะที่จะเป็นอีกหนึ่งตัวบ่งบอกเป็นนัยๆว่า เป็น soft design หรือ hard design และ ถ้าจะให้เดาก็ไม่ได้ยาก hard design คอร์สั้นแน่ๆ ภาพบิดเบือนด้านข้างมากแน่ๆ แต่สนามภาพระยะไกลกับใกล้น่าจะชัดและกว้างแต่ระยะกลางน่าจะแคบ ขณะที่ soft design คอร์น่าจะต้องยาวกว่า ภาพบิดเบือนด้านข้างต่ำกว่า ระยะกลางกว้างกว่า ใส่ครั้งแรกได้ง่ายกว่า ปรับตัวง่ายกว่า แต่สนามภาพไกลใกล้น่าจะแคบกว่าและไม่คมชัดมากนัก
ปัญหาตามมาคือ แล้วใครที่เหมาะกับ soft design และ ใครที่เหมาะกับ hard design ซึ่งในอดีตนั้น ไม่มีใครรู้ ส่วนใหญ่ก็นั่งเทียนเอา แล้วก็จำเอาไว้ว่าถ้าใครเคยใช้ soft มาเพลามาทำใหม่ก็จะจ่าย soft เหมือนเดิม หรือใครจะชินกับ hard มา เพลามาทำเลนส์ใหม่ ก็เอาแบบเดิมๆ จะได้ไม่ต้องปรับตัวเยอะ ก็ชินแบบไหนก็ใช้แบบนั้น
ปัญหาตามาอีกก็คือว่า เลนส์แต่ละค่าย มีแนวคิดการออกแบบไม่เหมือนกัน หรือ แม้แต่เลนส์ต่างรุ่นในค่ายเดียวกันเองก็มีพื้นฐานไม่เหมือนกัน ทำให้การจ่ายเลนส์ข้ามรุ่นนั้นเป็นเรื่องที่คนสมัยก่อนนั้นเขาจะกังวลมาก และ หลักๆ ก็จะใช้การจำๆเอาว่า จ่ายรุ่นไหนแล้วรอด รุ่นไหนจ่ายแล้วไม่ค่อยรอด
ด้วยปัญหาดังกล่าว ทำให้ผู้ผลิตเลนส์หลายๆค่ายนั้น มุ่งหน้าพัฒนา soft design ด้วยเหตุผลเรื่องความนุ่มสบายของการปรับตัว มี distortion น้อย ระยะกลางที่กว้าง ซึ่งก็ให้เหตุผลว่า คนยุคปัจจุบันใช้งานระยะกลางใกล้เยอะขึ้น ดังนั้น เรามายอม compromise ของ visual field โดยรวม กล่าวคือไม่ต้องให้ชัดมาก ให้มี aberration กระจายตัวอยู่บ้าง เพื่อให้ distortion ไม่มากองรวมกันอยู่ที่เดียวแบบที่ hard design ทำ
Perfect balance principle
Rodenstock ในยุคนั้นก็เคยมีปัญหาเดียวกันและก็พยายามจะหนีออกมา ด้วยการวางแนวคิดใหม่ว่า การสุดโต่งในด้านใดด้านหนึ่งนั้นล้วนไม่ดี เอาอย่างนี้ดีกว่า เรามาเดินสายกลาง ไม่เอาทั้ง soft จ๋า หรือ hard จ๋า แต่เราจะเอาตรงกลางๆนั้นแหล่ะเป็นหลัก ซึ่งหลักคิดนี้โรเด้นสต๊อกเรียกว่า Perfect balance principe โดยมีหลักการของเรื่องนี้อยู่ 3 เรื่องคือ visual field , dynamic vision , binocular function. อธิบายสั้นๆได้ว่า
สนามภาพสำหรับมองไกล กลาง ใกล้ ต้องกว้างมากพอและสามารถใช้งานได้จริง
การมองแบบ dynamic vision คือการมองที่ดวงตามีการเคลื่อนที่ซ้าย ขวา บน ล่าง ทั่วทั้งแผ่นเลนส์ตลอดเวลา ดังนั้น การ optimize lens จะต้องทำให้แต่ละจุดบนผิวเลนส์นั้น ให้ภาพที่หน้าตาคล้ายๆกัน เพื่อให้การรวมภาพ นั้นเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และลดอาการมึนงง (ก็คือทำให้มันยังมีความ soft ๆ นั้นหล่ะ)
คนเรามีตาสองข้าง และ สมองรับสัญญาภาพจากตาทั้งสองมาตีความเป็นภาพเดียว ดังนั้น ลักษณะของรูปแบบสนามภาพที่ตาแต่ละข้างได้รับมานั้น เมื่อนำมารวมกันต้องสามารถซ้อนทับกันได้พอดี (overlap กันได้พอดี) ซึ่งก็คือการออกแบบในเรื่องของ individual inset ให้สามารถรองรับกับตัวแปรต่างๆให้ได้ครบถ้วน และ คุมลักษณะ aberration ให้มี pattern ที่คล้ายๆกัน
ดังนั้นเลนส์เดิมทุกตัวของ Rodensock ที่พัฒนาต่อเนื่องมาตั้งแต่เริ่มต้นนั้น มีการพัฒนาต่อยอดมาจากตัวแปรเหล่านี้ทั้งสิ้น และ เขาก็เคลมเลนส์ทุกตัวของเขาว่า ไม่ใช่ soft ไม่ใช่ advance soft และ ก็ไม่ใช่ hard แต่ฉันเป็นตรงกลางคือ perfect balance หรือเรียกได้ว่า ฉันจะหาจุดที่บาลานซ์ที่สมบูรณ์แบบให้นั่นเอง
แล้ว soft / hard design มันคืออะไร ดีเสีย อย่างไร ทำไมต้องไปแก้ไขหรือพัฒนาต่อยอด
มาไล่ดูเป็นเรื่องๆตั้งแต่ยุคการผลิตเลนส์โปรเกรสซีฟนั้นยังเป็นแบบ traditional (conventional) กันอยู่ ซึ่งการออกแบบโครงสร้างสมัยก่อนนั้นคือการออกแบบ “แม่พิมพ์” แล้วเอาไปหล่อเป็น semifinished lens ซึ่งก็จะมีค่า addition ,index , L/R ,corridor, position of ware เอาไว้เสร็จสรรพอยู่ในเลนส์นั้น พอได้ค่าสายตามาก็จะเอาหัวเหล็ก (tools) ที่มีความโค้งของค่าสายตาต่างๆ มาขัดให้ได้ค่าสายตามตามที่ตรวจวัดมาได้ (หรือบางคนก็จัดสายตามาก็ได้) เรียกได้ว่า เป็นมาม่าปรุงสำเร็จ รอเทน้ำร้อนก็กินได้เลย ซึ่งการผลิตอย่างนี้เรียกว่า conventional lens
หลังๆมานี้ คอมพิวเตอร์เจริญขึ้น เกิด cnc-freeform ขึ้นมา ก็มีการย้ายการพัฒนาแม่พิมพ์ มาเป็นพัฒนาซอฟท์แวร์แทน เพราะถ้าซอฟท์แวร์มันฉลาด ให้มันทำอะไรมันก็ทำได้ตามคำสั่ง แต่ถ้าโปรแกรมไม่ฉลาด ลำพังบวก ลบ คูณ หาร ก็ยังผิดๆ ถูกๆ ดังนั้น freeform ก็เรื่องหนึ่ง โปรแกรมก็เรื่องหนึ่ง ไม่ใช่ว่า เป็นฟรีฟอร์มแล้วมันจะดีกันไปทั้งหมด (เพราะเคยมีอยู่ช่วงเวลาหนึ่งที่ freeform เข้ามาใหม่ๆ คนส่วนใหญ่ก็ยังไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร หรือทำงานอย่างไร ก็ไปเหมารวมว่า ถ้าฟรีฟอร์มแล้วมันจะต้องดีทั้งหมด แต่ก็ผิดหวังตามๆกัน เพราะเลนส์ฟรีฟอร์มแท้ๆบางค่ายไปไม่รอด และ ยังคงพึ่งพาการหล่อโครงสร้างผ่านแม่พิมพ์อยู่ ) ไม่อย่างนั้นจะมีเลนส์บางค่ายที่ยังใช้โมล์หล่อแม่พิมพ์แล้วเอามาขัดสายตาด้วยฟรีฟอร์มกันทำไม แสดงว่ามันยังไม่ฉลาดขนาดที่เป็นศิลปินวาดภาพขึ้นมาใหม่ จะทำได้ก็เพียงระบายสีลงในสมุดหัดวาดภาพระบายสี แค่ระบายไม่ล้นขอบนั่นก็ถือว่าได้ 5 ดาว แล้วสำหรับทักษะอนุบาล (ศึกษาฟรีฟอร์มเทคโนโลยีเพิ่มเติม https://www.loftoptometry.com/ฟรีฟอร์มดีกว่าเทคโนโลยีเก่าอย่างไร )
ดังนั้น การเป็นแม่พิมพ์นั้น จะมีมากเกินไปก็ไม่ไหว (เปลืองต้นทุน) ดังนั้นจะต้องมีการกำหนดค่ามาตรฐานต่างๆ เพื่อให้คุ้มทุนที่จะทำการผลิต ก็อย่างที่เราทราบๆกันว่า สินค้าทั้งหลายนั้น แพงที่โมล์ พอผลิตโมล์ได้ ก็ปั๊มสินค้าที่ทำด้วยต้นทุนที่ถูกลงมาได้ ยิ่งปั๊มออกมามาก ก็ยิ่งทำให้ต้นทุนสินค้าลดลง ฉันไดก็ฉันนั้น ทำให้โครงสร้างหลักจึงจำเป็นที่สุดสำหรับการทำแม่พิมพ์ นั่นก็คือ soft / hard design ที่เรากำลังจะกล่าวถึงต่อไปนี้
Hard Design
สนามภาพสำหรับระยะกลาง-ใกล้จะแคบ แต่สนามภาพมองไกลจะชัดและเปิดกว้าง
ความวูบวาบสูง เนื่องจากเลนส์มีการเพิ่มขึ้นของค่ากำลังแอดดิชั่นอย่างรวดเร็ว ทำให้ช่องมองในแต่ละช่องค่าสายตานั้นแคบและเปลี่ยนแปลงเร็ว การกลอกตาขึ้นลงแนวดิ่งเพียงเล็กน้อยนั้นก็ไปเจอค่าสายตาอื่นแล้ว ยิ่งที่คนที่มีรูม่านตาขนาดใหญ่ อาจจะต้องเจอกับหลายค่าสายตาวิ่งเข้ารูม่านตาพร้อมๆกัน นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของ aberration จะไม่ได้ค่อยๆเป็นค่อยๆไป แต่จะเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน และ มีความชันของภาพบิดเบือนมาก ดังนั้นผู้สวมใส่ครั้งแรก จะต้องปรับตัวมากหน่อย กับภาพที่บิดเบือน วูบวาบ และ โคลงเคลง แต่ข้อดีก็มีเช่นกัน คือความคมชัดในสนามภาพที่ชัดกว่าแบบ soft ซึ่งก็เหมาะกับสายชัดเป๊ะๆ แต่มีความทนทานต่อภาพบิดเบี้ยวได้ดี และอยู่ๆไปก็จะชินไปเอง
Soft design
Soft design ถูกออกแบบมาให้การเกลี่ยภาพบิดเบือนด้านข้างนั้น ค่อยๆเป็นค่อยๆไป ทำให้ภาพบิดเบือนนั้นดูไม่มาก มีความต่อเนื่องและลื่นไหลในการกวดตา ซึ่งให้สนามภาพในระยะกลางและระยะใกล้ที่กว้างกว่า (แต่แคบกว่าระยะไกลอยู่ดี) ซึ่งการค่อยไล่ค่าบิดเบือนเช่นนี้ ทำให้ง่ายต่อการปรับตัว แต่ก็ต้องแลกมากับความชัดที่ไม่ชัดเป๊ะ คือมันจะมีความ noisy ของภาพอยู่บ้าง ซึ่งเหมาะกับคนที่เน้นสบาย ใส่ง่าย ไม่ซีเรียสกับความชัดมาก คือพวกที่ เลนส์ไม่เคยล้าง หรือ เอาเสื้อเช็ดเลนส์จนเป็นรอยแล้วก็ยังใส่ได้โดยไม่รู้สึกอะไร ซึ่งคนแนวๆนี้จะเหมาะกับ soft design
แต่ทั้งสองอย่างไม่ว่าจะ soft / hard design ที่ถูกออกแบบมานี้ เขาตามใจนักพัฒนาเลนส์ เขาไม่ได้มาเอาข้อมูลจากผู้สวมใส่จริงว่าจะชอบแบบไหน หรือ ร่างกายที่ไวต่อความคมชัดมากน้อยแค่ไหน แต่ใช้ค่าเฉลี่ยๆของคนโดยรวมเอา ดังนั้นการเลือกจ่ายจึงต้องใช้การนั่งเทียนเอง คือวัดใจกันเอา พอทนใส่ได้ ไม่ว่าจะแบบไหน เดี๋ยวก็ได้มันเอง แต่อย่าเผลอไปย้ายข้ามโครงสร้างเชียว เพราะคนที่ชินกับ hard มาก็จะบอกว่า soft ไม่ชัด และ เขาก็ไม่ได้สนใจว่ามันจะ soft ยังไง เพราะหนักกว่านี้ก็เจอมาแล้ว ในทางตรงกันข้ามคนที่ชินกับ soft มา ก็จะรู้สึกเมาแว่นเวลาเจอโครงสร้างแบบ hard design และ เขาก็ไม่ไปสนใจว่ามองไกลมันจะกว้างกว่าหรือมันจะชัดกว่า แต่เขาใส่ไม่ได้เพราะว่าเมากับภาพบิดเบือนด้านข้าง
ผลิตภัณฑ์เลนส์ soft / hard design
ถ้าพูดถึงเลนส์กลุ่ม Hard / Soft Design ระดับตำนานในอดีตนั้น สำหรับคนยุคเริ่มต้น progressive คงไม่มีใครไม่รู้จัก Hoyalux GP ซึ่งเป็น hard design เปิดตัวในปี 2002 และ ถัดมาปี 2005 ก็ได้เปิดตัว GP Wide ซึ่งเป็น Soft Design แต่ช่วงเวลานั้น Rodenstock ยังไม่ได้เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยแบบจริงๆจังๆ แต่ทำผ่านตัวแทน ทำให้ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ไม่ได้ถูกนำเอาเข้ามาจำหน่ายในประเทศ ซึ่งเขานำแต่รุ่นทอปอย่าง ImpressionILT เข้ามา (ซึ่งเป็นเลนส์ที่ราคาสูงที่สุดในโลกขณะนั้น เลนส์รุ่นเริ่มต้นราคาครึ่งแสน ขณะที่ทองคำบาทละ 7,000 บาทขณะนั้น ) ทำให้คนไทยก็ยังพลาดที่จะรู้ว่า Rodenstock ในอดีตเองก็เคยมี Soft / Hard Disign ซึ่งเป็นเลนส์ที่ผลิตแบบเทคโนโลยีเก่ากับเขาด้วยเช่นกัน แต่ก็ต้องนับถอยหลังจากปี 2000 ลึกเข้าไปอีกถึง 20 ปี (1981) จึงจะถึงจุดเริ่มต้นของการเริ่มต้น Hard Design
ย้อนไปปี 1981 , โรเด้นสต๊อกเริ่มผลิตเลนส์โปรเกรสซีฟแบบ traditional รุ่นแรกออกมาคือ Progressiv SI ซึ่งมีโครงสร้างแบบ Hard Disign ถัดมาปี 1982 ก็ปล่อย Progressiv Classic Life ออกมาซึ่งมีโครงสร้างแบบ Perfect Balance Principle ซึ่งมีความแข็งนุ่มอยู่ระหว่าง soft และ hard design โดยออกแบบให้มีการไล่โครงสร้างให้นุ่มขึ้น เปิดระยะกลางใกล้ให้กว้างกว่า SI ซึ่งรุ่นนี้เป็นยอดนิยมตัวหนึ่ง ด้วยราคาค่าตัวที่น่ารัก และใส่ง่ายปรับตัวง่ายกว่า SI
ถัดมาปี 1984 โรเด้นสต๊อกเริ่มนำวิธีการคำนวณเลนส์แบบ wave front เข้ามาคำนวณ ทำให้สามารถเริ่มใส่ตัวแปรต่างๆได้ละเอียดมากขึ้นเช่น position of wear ที่คำนึงถึงตำแหน่งแว่นมาตรฐานขณะใส่อยู่บนใบหน้า มุมเหลือบลงตำที่เกิดขึ้นขณะอ่านหนังสือ ทำให้คุม aberration ได้ดีขึ้น ปรับตัวง่ายขึ้น และ ถือเป็นเลนส์แบบ traditional รุ่นที่ดีทีสุดและเป็นรุ่นสุดท้าย ก่อนจะทิ้งเทคโนโลยีการผลิตแบบเก่าทั้งหมดในปี 2000 เพื่อเข้าสู่ยุคใหม่ของเลนส์ไฮเทคซึ่งเป็นการผลิตแบบ 3D-Freeform นั่นก็คือ ImpressionILT ซึ่งเป็นเลนส์โปรเกรสซีฟเฉพาะบุคคลคู่แรกของโลก ที่ใช้ค่าพารามิเตอร์จริงขณะสวมใส่อยู่บนใบหน้า และ โครงสร้างของเลนส์แต่ละคู่นั้นถูกคำนวณหลังจากได้รับค่าตัวแปรต่างๆหลังออเดอร์แล้วเท่านั้น จากนั้นก็เริ่มปล่อยรุ่นรองออกมาอย่าง Multigressiv MyLife และ Progressiv PureLfe Free โดยตัด option บางอย่างลง เพื่อทำให้ราคาเลนส์นั้นจับต้องได้ง่ายขึ้น (เลนส์โรเด้นสต๊อกจึงเริ่มจากผลิตภัณฑ์รุ่นท๊อปเรือธงก่อนแล้วค่อยแตกรุ่นลูกออกมา ด้วยการหั่นเทคโนโลยีบางตัวออก เพื่อทำราคาให้ประหยัดลงมา)
มาถึงตรงนี้ต้องบอกว่า Rodenstock ไม่ได้มี Soft / Hard Design ตั้งแต่ปี 1982 แต่พัฒานาบนพื้นฐานของ perfect balance เป็นสำคัญ ผ่านมาสามสิบกว่าปี Balance Design ถูกจัดกระบวนการคิดใหม่เป็นออกแบบโครงสร้างตามความ Senstive ของแต่ละบุคลและเป็นที่มาของเรื่องที่ผมจะพูดถึงในวันนี้
เมื่อเข้าใจทั้ง soft / hard design แล้ว ต่อมาก็จะได้เข้าเรื่องที่อยากจะพูดถึงนี้เสียที นั่นก็คือ Rodenstock B.I.G. Exact Sensitive นั่นเอง
ปัญหาของ Soft / Hard/ Balance
ปัญหาเดิมคือ เลนส์มี soft กับ hard และก็มี perfect balance ที่อยู่ตรงกลาง แต่เราก็รู้อยู่ว่ามันมีคนที่ซ้ายจัด ขวาจัด คนสายกลางส่วนใหญ่ก็อยู่ในวัด ทีนี้จะทำยังไงให้สามารถออกแบบโครงสร้างเลนส์ให้มันเหมาะกับคนแต่ละคน ซึ่งโจท์ก็คือว่า จะรู้อย่างไรว่าใครเหมาะกับ soft ใครเหมาะกับ hard ใครเหมาะกับ balance หรือใครเหมาะกับกึ่งๆ ครึ่งๆ กลางๆ ระหว่างเขาทั้งหลายเหล่านั้น
พอปัญหาที่ว่านั้นเกิดขึ้นมา ครานี้ก็มาคราของปัญญาที่ต้องแก้ไข นั่นก็คือเอาคำว่า “Sensitive ของประสาทรับรู้ภาพของแต่ละคนต่อความคมชัดเป็นที่ตั้ง” ว่าคนแบบไหนที่ Sensitive ต่อความคมชัดมาก คนแบบไหนที่จะ Sensitive ต่อความชัดน้อย แต่เขาไม่ได้ไปนั่งถามเหมือนซักประวัติ เพราะคนไข้เองก็ไม่รู้ว่าตัวเองจะ Sensitive ดีหรือไม่ Sensitive ดี ต่อให้ถามไป คำตอบที่ได้มาก็จะเชื่อได้หรือเปล่าก็ไม่รู้ เดี๋ยวตอบผิดได้เลนส์ผิดมาเดี๋ยวจะยุ่งไปกันใหญ่
B.I.G. EXACT™ Sensitive
นิยามการจำแนกคนตามความ Sensitive
คือคนที่ไวต่อความคมชัดมากๆ ชนิดที่ว่าแว่นไม่ชัดนิดเดียวนี่เรื่องใหญ่ ขนาดว่า VA 20/15 อ่านครบทุกแล้วแล้วก็ยังบอกว่าไม่ชัด แว่นเลอะนิดเดียวก็ไม่ได้ โค้ตเสียนิดๆหน่อยๆ แล้วรู้สึกไม่สบายตาหรือเหลือบตาไปที่มุมแว่นแล้วไปเจอภาพมัวๆแล้วทนไม่ได้ แบบนี้เรียกว่า High Sensitive
กลุ่มนี้ก็ตรงกันข้ามกับกลุ่มแรก คือ ง่ายๆ อะไรก็ได้ แว่นเลอะๆเอาเสื้อเช็ดก็อยู่ได้ เลนส์ใส่มาสิบปี โค้ตลอกหมดแล้วก็ยังใส่แบบไม่รู้สึกรู้สา ขับรถมัวจนมองไม่เห็นรถคันหน้าว่ารถยนต์หรือมอไซต์ ก็ยังขับต่อไปได้ (อันนี้ก็อันตรายเกินไป) สายตาเปลี่ยนไปไกลแล้วก็ยังใช้อันเก่าๆได้อยู่ หนักๆ แว่นตลาดนัด แว่นสำเร็จ ผิดๆถูกๆ ก็ทนใส่ได้ แบบนี้เรียกว่าไม่เซนสิทีฟ
เมื่อรู้ว่าใครเป็นใครแล้ว จะได้รู้ต่อว่าจะทำเลนส์ให้ใครจะต้องทำยังไง
สำหรับคนที่ High Sensitive อยากชัดๆ ไม่ต้องการเห็น aberration ใดๆในสนามภาพใช้งาน แต่ทนได้กับภาพบิดเบือนด้านข้าง ดังนั้นเลนส์ที่จะออกแบบมาให้ต้องจัดการกับ aberration ให้ไปกรองรวมกันอยู่ที่ที่ไม่มาระเกะระกะช่องมองของสนามภาพเพื่อไม่ให้ aberration ลงมากวนสนามภาพใช้งานหลัก ต่อมาคือการเน้นที่สนามภาพใช้งานหลักให้คมชัดนั่นก็คือแนวการเปลี่ยนกำลังสายตาจากไกลมาใกล้นั้นต้องเปลี่ยนให้เร็ว (เหมือนๆกับคอร์สั้น) จากนั้นก็จัดการลดภาพบิดเบือน ลดอาการวูบวาบ จากเหตุปัจจัยต่างๆ ให้การมองเห็นโดยรวมนั้นดีขึ้น ซึ่งโครงสร้างลักษณะนี้เหมาะกับคนที่ไม่ได้ซีกับภาพบิดเบือนด้านข้างมากนัก คือมีก็มีไป ทำใจเฉยได้ แต่สนามภาพใช้งานหลัก อย่าได้มีอะไรมากวนใจ
ส่วนคนที่ไม่ค่อย Sensitive แบบว่าเป็นคนง่ายๆ ไม่ได้ซีอะไรกับความคมชัดมาก แต่ทนไม่ได้ถ้าเห็นอะไรแล้วมันบิดเบี้ยว บิดเบือน โคลงเคลง วูบๆ วาบๆ การออกแบบสำหรับคนกลุ่มนี้ก็ต้องอาศัยการไล่โค้งตามกำลังแอดดิชั่นแบบค่อยเป็นค่อยไป เรียบๆ ลื่นๆ นุ่มๆ และ ต่อเนื่อง ดังนั้นคอร์ริดอร์คงต้องยอมให้ยาวเพิ่มสักหน่อย ส่วนการกระจายตัวของ aberration นั้นก็กระจ่ายทั่วไปทั้งแผ่นนั่นแหล่ะ เพียงแต่ว่าตรงไหนหนาหน่อย ตรงใหนบางหน่อย ซึ่งพอเป็นอย่างนี้ คนไข้ก็ไม่รู้สึกถึงภาพบิดเบือนของเลนส์โปรเกรสซีฟ ซึ่งดีไซน์แบบนี้เหมาะกับผู้สวมใส่ที่สามารถทนทานต่อ aberration ได้บ้าง และ ทนต่อความมัวเล็กๆน้อยๆ ได้บ้าง โดยไม่รู้สึกอะไร ก็จะได้เลนส์ที่เสมือนประหนึ่งว่าไม่มีภาพบิดเบี้ยว ใส่ง่าย ปรับตัวง่าย เป็นต้น
สรุปก็คือ
Less Sensitive : ดีไซน์จะมีความค่อนไปทาง Soft Design การ gradient power จะค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่อง โครงสร้างจะเน้นความนุ่มสบายเป็นสำคัญ
Highly Sensitive : ดีไซน์จะมีความค่อนไปทาง Hard Design เน้นความคมชัดของพื้นที่ใช้งานเป็นสำคำคัญ
จะจำแนกแยกแยะอย่างไรว่าใคร Sensitive มากหรือน้อยแค่ไหน ?
B.I.G. EXACT™ Sensitive เขาไม่ได้ใช้ค่าที่ได้จาก subjective มาคิดว่าใครจะ sensitive มากหรือน้อย เช่นไปถามคนไข้ว่าไวมากไวน้อย แบบนี้ไม่ใช่ แต่เขาใช้เทคนิคทางการตรวจวัดข้อมูลทางชีวภาพด้วยเครื่องมือที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อส่งต่อข้อมูลให้ AI เป็นตัววิเคราะห์หาค่า Sensitivity Index ของแต่ละคน แล้วนำดัชนีวัดดังกล่าวส่งต่อสู่กระบวนการผลิตต่อไป โดยมี factor ที่สำคัญๆ หลายตัวต่อไปนี้
DNEye Scanner
DNEye Scanner เป็นเทคโนโลยีที่โรเด้นสต๊อกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเก็บข้อมูลทางกายภาพของดวงตาและพารามิเตอร์ต่างๆของดวงตา (biometric data and eye parameter) ซึ่งข้อมูลที่สำคัญที่จำเป็นต้องเก็บเพื่อนำไปคำนวณเลนส์ได้แก่
1.Pupil Behavior and Size in Different Light Conditions
ตัว DNEye Scanner จะทำหน้าที่ตรวจสอบการตอบสองขอรูม่านตาเมื่อกระตุ้นด้วยแสงมืดสว่างต่างๆ เพื่อดูว่าการหดการขยายตัวของรูม่านตานั้นมีมากหรือน้อยแค่ไหน โดยคนที่มีขนาดรูม่านตาที่ใหญ่กว่าจะเป็นผู้ที่มี Sinsitivity ต่อแสงที่มากกว่า
2.corneal topography and irregularities
Topography เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างแผนผังขอผิวกระจกตาว่าแต่ละจุดนั้นมีความโค้งเท่าไหร่ โค้งแบบปกติหรือผิดปกติ ซึ่งผิวกระจกตาถ้ามีผิวโค้งที่ไม่สม่ำเสมอ (irreglar) แสงที่ตกกระทบผิวกระจกตาก็ย่อมที่จะมีการกระเจิงของแสงได้ นำไปสู่การเห็นแสงฟุ้งและไม่สบายตา ที่เรามักเรียกติดปากว่าแพ้แสงนั่นเอง ซึ่งจริงๆ คนเราไม่ได้แพ้แสง แต่แพ้แสงที่ไม่เป็นระเบียบมากกว่า
3.Aberration Detection
DNEye Scan เป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อตรวจหาความผิดปกติของระบบหักเหแสงทั้งระดับหยาบ (lower order aberration,LOA) และ ระดับละเอียด (higher order aberraton ,HOA) ด้วยการยิงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านชั้นผิวต่างๆของระบบหักเหแสงของดวงตา ตั้งแต่ชั้นน้ำตา ชั้นกระจกตา เลนส์แก้วตา เพื่อดูการ deformation ของคลื่นหลังจากวิ่งผ่านชั้นต่างๆแล้วสะท้อนกลับมาที่ตัวเครื่องว่ามีการเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างไร ดังนั้นถ้ามีส่วนใหนก็ตามเกิดการหักเหที่ไม่สมบูรณ์แบบมันก็จะฟ้องเข้ามาในเครื่อง DNEye และ demonstration ออกมาให้เห็นว่า แสง glare ,halo ที่คนไข้เห็นนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร
4.Axial length
ความยาวกระบอกตา (Axial lenght) เป็นตัวบอกตำแหน่งของฉากรับภาพ (retina) ว่าอยู่ที่ไหน คนที่กระบอกตายาว ฉากรับอยู่ไกล โฟกัสไปไม่ถึง มักจะเป็นสายตาสั้น (myopia) ส่วนคนที่กระบอกตาสั้น ฉากรับอยู่ใกล้ไป โฟกัสตกเลยไป มักเกิดเป็นสายยาว (hyperopia) ซึ่งความยาวกระบอกตาของคนปกติเฉลี่ยจะอยู่ที่ 22 มม. ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานที่ใช้กันอยู่ในเลนส์หลายๆค่าย (ยกเว้นโรเด้นสต๊อก)
5. Biometrical and visual fatigue
DNEye ยังสามารถประเมินระบบเพ่งแบบคร่าวๆได้ เพื่อดูความล้าของระบบเพ่งของเล่นส์แก้วตา และ ยังดูค่าสายตาสั้น/ยาว เอียง หรือ องศาเอียงที่เปลี่ยนไปเมื่อเลนส์ตามีการเพ่ง ซึ่งค่าเหล่านี้จะส่งต่อให้ AI เพื่อประเมินค่าดัชนีความไวของประสาทรับรู้ภาพของแต่ละคน ก่อนที่จะนำไปสู่การออกแบบโครงสร้างต่อไป
AI Analysis
โรเด้นสต๊อกมีการเก็บข้อมูลทาง Biometric ครั้งแรกตั้งแต่ปี 2010 (DNEye Technology) ทำให้มี big data มหาศาล จากนั้นก็พัฒนา AI เพื่อจะใช้ประโยชน์จาก big data ที่มี โดยพัฒนาให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ จาก personal biometric เพื่อประเมินพฤติกรรมของแสงเมื่อวิ่งผ่าน optical system ของดวงตา เพื่อนำไปแก้ aberration ต่อไป โด AI จะทำการหาอัตลักษณ์จากข้อมูล biometric ที่จำเพาะและความไวของประสาทตาของแต่ละคน เพื่อจำไปสร้างชุดข้อมูลซึ่งโรเด้นสต๊อกให้ชื่อว่า “ visual Sensitivity index”
Visual Sensitivity index
Visual sensitivity index เป็นดัชนีที่บ่งบอกถึง ระดับความไวของประสาทต่อการรับรู้ภาพ (level of visual sensitivity) ซึ่งช่วยในการประเมินว่าแต่ละคนนั้นไวต่อคุณภาพของภาพ (visual quality) มากน้อยแค่ไหน โดยคนที่มี high sensitivity index มีแนวโน้มที่จะรู้สึกว่าการมองเห็นถูกรบกวนแม้มี aberration แม้เพียงเล็กน้อย
Key Concept
คอนเซปต์การออกแบบของเรื่องนี้ก็คือ AI จะทำการบูรณาการระหว่าง foccus vision ซึ่งเป็นภาพที่คมชัดที่เกิดขึ้นที่จุดรับภาพและ peripheral vision ซึ่งเป็นภาพที่เกิดขึ้นที่ลานสายตา เพื่อทำการบาลานซ์หรือให้น้ำหนักตามความไวของประสาทตาของแต่ละคน (sensitiviry index) จากนั้นกระจะประเมินว่า ในการไล่ค่ากำลังหักเหของเลนส์นั้นจะทำให้เน้น smooth (soft) หรือว่า จะเน้นความคมชัดของพื้นที่ใช้งาน (hard)
Personal lens calculation
ข้อมูลที่ได้รับจาก DNEye® Scanner จะถูกนำไปคำนวณกับ visual sensitivity index เพื่อสร้างโครงสร้างเลนส์ที่มีความจะเพาะกับคนนั้นๆ ด้วยเหตุนี้โรเด้นสต๊อกจึงสามารถจะสร้างเลนส์ที่มีความจำเพาะต่อการมองเห็นของแต่ละคนได้
ดัชนีความไวของประสาทต่อการรับรู้ภาพนั้น โรเด้นสต๊อกใช้คำว่า “sensitivity index” ซึ่งดัชนีนี้ เป็นหน้าที่ของ AI ที่จะประมวลผลข้อมูลที่ได้จากเครื่อง DNEye Scanner ซึ่งข้อมูลที่ถูก AI นำมาประมวลผลได้แก่
ในการสั่งเลนส์ B.I.G. Exact Sensitivity ไม่สามารถสั่งได้แบบเดิมที่ใช้เพียงค่าสายตา สั้นยาวเอียง ค่าพีดี ค่าฟิตติ้ง ที่เขียนใส่กระดาษ ส่งแฟกซ์หรือส่งไลนส์ได้ เพราะข้อมูล biometric เป็นข้อมูลท่างดิจิทัลที่ต้องส่งผ่าน network โดยอาศัยโปรเแกรมที่โรเด้นสต๊อกพัฒนาจำเพาะออกมาคือ Rodenstock Winfit Referece ซึ่งในโปรแกรมนั้น เราสามารถจะป้อนค่าต่างๆที่เกี่ยวข้องในการคำนวณเลนส์ได้ทุกอย่างครบตาม option ในเลนส์แต่ละรุ่น แล้วข้อมูลจะถูกเข้ารหัส (encript) แล้วส่งผ่าน network เข้าโรงงานเพื่อทำการผลิตต่อไป
Key difference : (older model vs B.I.G. EXACT™ Sensitive)
จริงๆแล้วความแตกต่างจริงๆ ระหว่าง conventional soft/hard progressive lens design สมัยโบราณกับ Rodenstock B.I.G. Exact Sensitive Design มีหัวใจสำคัญของความความแตกต่างสำหรับเรื่องนี้คือ “ การทำ design ให้เกิดความจำเพาะเจาะจงในผู้สวมใส่แต่ละคน โดยอาศัยข้อมูลทางกายภาพของดวงตาแต่ละดวงพร้อมทั้งข้อมูลความ sensitive แต่ละคน ส่งให้ AI เป็นตัวคำนวณต่อว่าจะหา best solution สำหรับดวงตาแต่ละดวงในแต่ละเคสอย่างไร โดย B.I.G. EXACT™ Sensitive ใช้ข้อมูลทางกายภาพดวงตาที่เก็บมาโดย DNEye® Scanner แล้วส่งต่อให้ AI เพื่อคำนวณหาค่า visual sensitivity index แล้วสร้างเลนส์ที่มีความจำเพาะแต่ละบุคคลจริงๆ
B.I.G. Norm ใช้ข้อมูลเพียงค่าสายตาที่ตรวจได้ โดยอัลกอริทึมของ AI จะทำการหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าสายตากับค่าทาง biometic ที่ควรจะเป็นในแต่ละค่าสายตา จากนั้นก็จะได้ค่า Norm Biometic (by AI ) แต่ bugs คือ ถ้าคนไข้เคยทำ เลสิกมาก่อน หรือเคยทำ IOL มาก่อน ซึ่งทำให้สายตาปัจจุบันนั้นต่างไปจากเดิมมาก จำทำให้การคำนวณของ AI นั้นผิดพลาดได้เช่นกัน ซึ่งกรณีนี้ ควรแนะนำคนไข้ให้ B.I.G. Exact จะดีกว่า
B.I.G. Exact นั้นใช้ข้อมูล Prefosonal Biometric จริงจากดวงตาของแต่ละคน ไม่ใช้ AI ในการประเมิน แต่เลือกที่จะใช้ค่าที่ตรงไปตรงมาสำหรับตาแต่ละดวง ค่าที่ได้จึงมีความแม่นยำมากกว่าแบบ B.I.G. Norm แต่โครงสร้างพื้นฐานนั้นยัง base on Perfect Balance principle อยู่
B.I.G. Exact Sensitive : เป็นเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งหลังจากได้รับข้อมูลจากการแสกนชีวภาพด้วย DNEye Scan แล้ว AI จะสร้างอัลกอริทึมขึ้นมาว่า ลักษณะโครงสร้างทางชีวภาพเช่นนี้ จะมี visual sensitivity มากน้อยแค่ไหน จากนั้นก็จะได้ค่าดัชนีความไวต่อประสาทการมองเห็น (Visual Sensitivity index) ก่อนจะส่งขอมูลต่อเพื่อทำการผลิตต่อไป
แล้วที่ต่างกันจริงๆคือ..
1.ไม่มีเรื่องของ “ one-size-fits-all” สำหรับคนแต่ละคน ดังนั้นการออกแบบเลนส์สำหรับดวงตาแต่ละคนนั้นต้องใช้ข้องมูล biometric เพื่อใช้ในการคำนวณ ดังนั้น B.I.G. EXACT™ Sensitive คือการ optimium ความ soft-hard ว่าจะให้น้ำหนักไปทางไหน ไม่ใช่บังคับอยู่ 2 สเปค ขวาจัดหรือซ้ายจัดหรือเอาตรงกลางเป๊ะๆ แต่มันอาจจะเป็นอะไรที่อยู่ระหว่างนั้นก็ได้
2.คุมภาพบิดเบือนด้านข้างได้ดีกว่า : ยิ่งได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำและมากเท่าไหร่ การคำนวณก็จะแม่นๆมากขึ้นเท่านั้น ความผิดพลาดก็น้อยลง aberration ก็ลดลง สนามภาพที่ชัดก็กว้างขึ้น ใช้งานก็สะดวกขึ้น ตรงไปตรงมา ต่างจากเดิมที่ใช้ข้อเป็นค่าเฉลี่ยกลางทั้งหมดแล้วนำมาใช้กับทุกคน ความผิดพลาดจริงมีมากเป็นเงาตามตัว
3.Visual Sensitivity factor : เป็น factor ที่เติมเข้าไปเพื่อออกแบบให้ตรงกับจริต เพราะจริตแต่ละคนต่างกัน การออกแบบที่ต่างกันให้ตรงกับจริต ย่อมให้ผู้ใช้งานนั้นถูกใจได้ง่าย ตรงจุดประสงค์ของการใช้ชีวิตทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องงาน
แล้วก่อนที่จะเป็น B.I.G. EXACT™ Sensitive โรเด้นสต๊อกทำอะไร
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า ก่อนที่จะมาเป็น B.I.G. EXACT™ Sensitive, นั้นโรเด้นสต๊อกจะไปโฟกัสในส่วนของ Biometric Custimization และ individual parameter คือจะทำเลนส์อย่างไรให้เหมาะสมกับ position of wear หรือ สรีระแว่นขณะสวมใส่อยู่บนใบหน้าแต่ละคนว่าแว่นที่ใส่อยู่นั้น โค้งเท่าไหร่ มุมเทเท่าไหร่ ห่างลูกตากี่มม. พีดี ฟิตติ้ง และ สนใจว่าข้อมูลทางกายภาพเป็นอย่างไรและจะทำอย่างไรให้แสงที่วิ่งเข้ามานั้นเกิดโฟกัสที่คมชัดบนจุดรับภาพ แต่ในส่วนของโครงสร้างนั้นมุ่งไปที่ perfect balance เป็นสำคัญและเพิ่มเติมก็ในส่วนของ personal visual demand ที่ผู้ใช้สามารถให้นำ้หนักว่าจะต้องการสนามภาพมองไกล กลาง ใกล้ อย่างละเท่าไหร่ แต่ไม่ได้นึกว่าจะเน้นการออกแบบไปที่ความ sensitive ในแต่ละบุคคล เพื่อให้ง่ายต่อการปรับตัว ซึ่งสรุปอีกนัยก็คือ การพัฒนา B.I.G. EXACT™ Sensitive ก็เพื่อเพิ่มในส่วนของความไวของประสาทตาต่อการรับรู้ภาพ เพื่อออกแบบโครงสร้างความ soft / hard ให้ตรงจริตผู้สวมใส่นั่นเอง
เลนส์ถูกออกแบบมาบนค่าพื้นฐานของ biometric ที่แม่นยำจากดวงตาของแต่ละคน ทำให้ความสามารถในำการประเมิน aberration ที่จะเกิดขึ้นเพื่อนำไปสู่การแก้ไขนั้นทำได้ดีกว่าเลนส์เทคโนโลยีเก่าที่ยังคงใช้ schematic eye แบบเก่าของ Gullstrand eyes’s model และด้วย Sensitivisy Visual Index ยิ่งทำให้การ customized ในแต่ละคนนั้นทำได้ดีขึ้น
ด้วยข้อมูลที่แม่นยำ การคำนวณที่แม่นยำ ให้ให้ความคลาดเคลื่อนในการผลิตเลนส์นั้นน้อยลง ผลที่ได้รับก็คือ ความคมชัดที่มากขึ้น contrast ดีขึ้นในทุกสภาวะแสงน้อยและแสงมาก เมื่อ aberration น้อยลง ทำให้ภาพนั้นเป็นธรรมชาติผลก็คือเริ่มต้นใช้งานนั้นปรับตัวได้ง่ายขึ้นและการที่เลนส์นั้นมีการ optimize ทั้ง central vision และ peripheral vision ทำให้ความลื่นไหลในการกวาดสายตานั้นลื่นไหลขึ้นทั้งตำแหน่งมองหลักและตำแหน่งเหลือบไปยังตำแหน่งต่างๆบนเลนส์
DNEye® Scanner และ อัลกอริทึมของ AI เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่เข้ามาช่วยให้การคำนวณออกแบบเลนส์นั้นมีความแม่นยำทั้งตำแหน่งมองหลักและการมองผ่านเลนส์ยังตำแหน่งด้านข้าง
การออกแบบที่ทำให้ส่งรบกวนการมองเห็นนั้นน้อยลง ทำให้การมองเห็นผ่านเลนส์นั้นดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น โดยคนที่ High Sensitive จะได้ความคมชัดของสนามภาพหลักที่คมชัดและกว้าง ขณะที่คน less sensitive จะได้เลนส์ที่ aberration ต่ำ มีความนุ่มและต่อเนื่องของโครงสร้าง เหมาะสำหรับแต่ละบุคคล
เป็นเรื่องปกติที่เลนส์ที่ใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและมีการคัสตอมที่มีความจำเพาะคนมากๆ ย่อมมีราคาที่สูงกว่าเลนส์พื้นฐานทั่วไป
การสั่งเลนส์ B.I.G. Exact Sensitivity ต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษ DNEye® Scanner ทำให้ไม่สามารถมีได้ทั่วไป
เลนส์ไฮเทคเหล่านี้ มีการสั่งเลนส์ที่มีความซับซ้อน ต้องการเก็บข้อมูลที่แม่นยำ ดังนั้น นักจัดสายยตาทั้งหลายไม่อยู่ในเงื่อนไขของคำค่า B.I.G. Exact และ คงต้องรอเทคโนโลยี B.I.G. Compromise เผื่อว่าอนาคตโรเด้นสต๊อกจะพัฒนาเลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับค่าสายตาที่กะๆ ถัวๆ ผิดๆ ถูกๆ แล้วยังสามารถใช้งานได้ ซึ่งถ้าจะรอให้เกิดเรื่องนั้น ผมว่าพัฒนาทำให้มันถูกต้องและ full correction กันดีกว่า กลับมาใช้ retinoscope กันเถอะครับ คอมพิเตอร์วัดสายตามันไม่เคยทำงานได้ดี และ ไม่ใช่เรื่องที่จะเอามาวัดใจให้กับคนไช้ของเรา เพราะผมไม่เชื่อว่าจะมีผู้ผลิตรายไหน จะเอา compromise มาเป็นจุดขายทางการตลาด
สุดท้ายนี้
ก็หวังว่าบทความนี้ จะมีประโยชน์กับท่านที่สนใจในการอัพเดตความรู้ใหม่ๆ และ หวังว่าท่านจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวท่านเองและคนไข้ของท่านได้ ขอบคุณทุกท่านสำหรับการติดตาม และต้องขออภัยที่ไม่ค่อยได้เล่น social มากนัก ดังนั้นท่านที่สนใจอ่านบทความ แนะนำให้เข้ามาอ่านในเว็บไซต์มากกว่า เพราะส่วนใหญ่ผมทำในเว็บไซต์แต่ไม่ได้แชร์เข้า facebook ก็ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน หรือว่าเริ่มแก่ เลยชอบที่จะอยู่เงียบมั้ง แต่ก็ต้องขอบคุณหลายๆท่านที่ทักเข้ามาทั้น online และ offline ว่าหายหน้าาหายตาไป ยังเปิดร้านอยู่หรือเปล่า ก็ต้องบอกว่า อยู่ตลอดครับ หยุดทุกวันจันทร์เหมือนเดิมครับ
ทำนัดเพื่อเข้ารับบริการหรือปรึกษาปัญหาการมองเห็นได้ทางหมายเลข 090-553-6554 หรือ ทาง lineID : loftoptometry หรือ ทาง inbox facebook fanpage : www.facebook.com/loftoptometry
DR.LOFT ,O.D.
578 Wacharapol rd ,Tharang ,Bangkhen ,BKK 10220
Mobile : 090-553-6554
lineID : loftoptometry
fb : www.facebook.com/loftoptometry