Case Study : สายตาสั้นลดลง ในคนไข้สูงอายุ มีสาเหตุมาจากอะไร

By Dr.Loft ,O.D.

public 20 March 2025

 

Intro

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีหลายๆเคสที่พบว่า “สายตาสั้นนั้นลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น” อย่างมีนัยสำคัญ เคสนี้เป็นหนึ่งตัวอย่างที่ผมมีโอกาสดูแลเรื่องแว่นมาตั้งแต่ต้นปี 2019 จนถึงปัจจุบัน (2025) ซึ่งสายตามองไกลนั้นมีค่าสั้นที่ลดลงกว่า 1.00D  ขณะที่ค่า Addition นั้นกลับใกล้เคียงเดิม และ ก็พบว่ามีคนไข้ไม่น้อยที่มีการเปลี่ยนแปลงของสายตาสั้นในทิศทางที่ลดลงเช่นเดียวกับเคสตัวอย่างนี้ ทำให้ผมต้องกลับไปศึกษาตำราว่า มีปัจจัยหรือเหตุอะไรบ้างที่ทำให้สายตาสั้นนั้นลดลงเมื่ออายุเพิ่มากขึ้น  (ซึ่งตรงข้ามกับเด็กที่สายตาสั้นมากขึ้นเมื่อโตขึ้น) และ หาข้อสรุปมาเล่าให้ฟังใน content วันนี้

 

เคสนี้ผมมีโอกาสได้ดูแลตั้งแต่ต้นปี 2019 ซึ่งขณะนั้นคนไข้ อายุ 57 ปี ซึ่งก่อนที่จะเข้ามาที่ลอฟท์ คนไข้ให้ข้อมูลมาว่า "ปัจจุบันใส่เลนส์ single vision อยู่ มองไกลชัด แต่อ่านหนังสือไม่เห็น จึงได้รับคำแนะนำจากเพื่อนว่าให้ทำเลนส์โปรเกรสซีฟ ซึ่งก็ได้เข้าไปทำเลนส์โปรเกรสซีฟจากร้านมีชื่อแห่งหนึ่ง แต่มีปัญหาหลังจากได้ใส่โปรเกรสซีฟครั้งแรกคือ รู้สึกว่าไม่สบายตาข้างซ้าย มีอาการปวดร้าวจากหัวตาเฉียงลงมาทางแก้ม และรู้สึกว่าตาซ้ายนั้นทำงานหนักๆผิดปกติ  ร้านให้ปรับตัวต่ออีก 1 สัปดาห์

 

1 สัปดาห์ผ่านไป อาการก็ยังคงอยู่  ร้านจึงเคลมเลนส์ให้ด้วยการลดค่าสายตามองไกลลงมา 1 step (ตามคำให้การของคนไข้)  อาการปวดร้าวตาข้างซ้ายลดลง แต่ยังคงอาการไม่สบายตาซ้ายเหมือนเดิม เหมือนต้องกะพริบตาบ่อย และตาซ้ายต้องทำงานหนักและร้านให้ลองปรับตาต่ออีก 2 อาทิตย์

 

ในระหว่างที่รอการปรับตา 2 อาทิตย์ ก็ได้หาข้อมูลบนอินเตอร์เนท และได้เจอเพจ loft optometry และถามเข้ามาใน inbox เรื่องขอให้ช่วยวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงให้หน่อยว่า ปัญหาที่ว่านี้เกิดจากอะไร  ตกลงมีปัญหาสุขภาพตามีปัญหาหรือว่าร้านค้าออกสายตาให้ไม่ตรง จึงได้ทำนัดคนไข้เพื่อเข้ามาเช็คหาสาเหตุของปัญหา

 

Preliminary eye exam (2019)

PD 34/34

Habitual Rx ( แว่นเดิมที่ทำมา ซึ่งเป็นค่าที่ร้านได้แก้ไขเป็นครั้งที่สองด้วยการลดค่าสายตามองไกลลง นั่นหมายความว่าครั้งแรกค่าน่าจะสูงกว่านี้ )

OD -4.50   VA 20/20
OS -4.50   VA 20/25
Add +2.50

 

ทำการตวจใหม่ได้ผลดังนี้

Refraction

Retinoscopy   

OD -4.00-0.50x30  ,VA 20/20

OS -3.25-0.50x180 ,VA 20/20

 

BVA (final rx)

OD -3.75 -0.62 x 65   VA20/15+2

OS -3.00 -0.62 x 5     VA20/15+2

 

Binocular Function Test @  6 m.

Horz.Phoria : 6 BI Exophoria (Vongrafe Techniqe)

BI-reserve   : x/4/0

BO-reserve : 6/10/0

Vertical Phoria : 1 BDOD ,Right-hyperphoria  (Maddox Rod)

 

Functional Test @ 40 cm 

Horz.phoria : 15 BI 

BCC            : +2.00 D

NRA/PRA   : +0.75/-0.75 (rely BCC)

 

Assessment 

1.compound myopic astigmatism  ; มองไกลเป็นสายตาสั้น + เอียง โดย focal line ทั้งสองตกก่อนจอรับภาพทั้งคู่ 

2.convergecne insufficiency : แรงของกล้ามเนื้อตาในการเหลือบเข้านั้นไม่พอ

3.right hyperopia : มีเหล่ซ่อนเร้นในแนวดิ่ง 

4.presbyopia : มีสายตาชรา (ยาวในผู้สูงอายุ) 

 

Plan 

1.Full Rx  :

OD -3.75 -0.62 x 65  

OS -3.00 -0.62 x 5    

(สายตาจริงลดลงจากแว่นเดิม -0.75 สำหรับตาขวา และลดลง -1.50 สำหรับตาซ้าย)


2.จ่ายปริซึม 3 BI เมื่อลด demand บางส่วนของมุมเหล่จากเหล่ออกซ่อนเร้น เพื่อให้พอเพียงกับ convergence strenght supply ที่มีอยู่   โดย split prism 1.5 Base @ 0 /1.5 pd base @180

 

3.Prism Rx : จ่ายปริซึม 1 pd  เพื่อแก้มุมเหล่ในแนวดิ่งจาก right-hyperphoria โดยการ Split 0.5 BDOD /0.5BUOS

 

4. Progressive additional lens ;  Add +2.00D

 

mention 

ผมได้สั่งจ่ายค่าสายตาตามที่ตรวจได้และให้นำไปเคลมกับร้านที่ทำมาผลคืออาการปวดร้าวของตาซ้ายหายไป ทุกระยะใช้งานดีขึ้น  ไกลดี  แต่กลางใกล้นั้นรู้สึกว่ายังไม่แจ่มเท่าที่ต้องการ ผมดัดเข้ามา recheck ซ้ำและสงสัยเป็นที่โครงสร้างเลนส์โปรเกรสซีฟที่ทำมา (สี่หมื่น) ไม่ดีพอ ซึ่งเป็นแบรนด์ที่ผมไม่ค่อยไม่ค่อยมั่นใจในคุณภาพเท่าไหร่และคนไข้ไม่ยอมกลับไปแก้ และ ให้ผมช่วยทำให้ใหม่

http://www.loftoptometry.com/assets/filemanager/userfiles/A_Lecture/yoo.jpg

หลังจากได้เลนส์ใหม่ (Rodenstock Multigressiv MyView 1.6) ปัญหาจบทั้งระยะไกล กลางใกล้ กลับมาชัดเป็นปกติ  อาการปวดเมื่อยกระบอกตาหายไป ทำงานใกล้ได้เต็มที่

 

2 ปีถัดมา (24.4.2021)

คนไข้กลับมาอีกครั้ง เพื่อทำเลนส์กันแดด ซึ่งผมได้ทำการตรวจวัดค่าสายตาใหม่ ได้ค่าดังนี้

Refraction

Retinoscopy

OD -4.25-0.50x20    ,VA 20/20

OS -3.25-0.50x180  ,VA 20/20

 

Monocular Subjective

OD -3.75-0.50x43    ,VA 20/20

OS -3.00-1.00x170  ,VA 20/20

 

BVA

OD-3.75-0.50x43      ,VA 20/20

OS-2.75-1.00x170   ,VA 20/20

 

BCVA

OD-3.75-0.37x47

OS-2.75-0.75x175

 

Functional @ 6 m.

Horz.phoria    : 1 BI ,exophoria (norm)

Vert.phoria     : 1 BUOS , Right-Hyperphoria

BU-vergence : 2/0 (LE)

BD-vergence : 4/2 (LE)

 

Functional at near 40 cm

BCC +2.25

NRA/PRA +0.75/-0.75 (rely BCC)

 

Assessment

1.compound myopic astigmatism OD and OS

2.Presbyopia

3.Hyperphoria

 

Plan

1.Full RX

OD-3.75-0.37x47

OS-2.75-0.75x175

2.progressiv additional lens Rx  : Add +2.25

3.prism Rx : 0.5BDOD /0.5BUOS

4.ตัด BI prism ออก เพราะ Horizontal phoria ของคนไข้กลับมามี ฟังก์ชั่นปกติแล้ว 

ระหว่าง 2-3 ปี นี้คนไข้มีแวะมาทำแว่นสำรองบ้าง แต่ค่าสายตาค่อนข้างจะนิ่ง แกว่งเล็กๆน้อยๆ แต่ไม่ได้ต่างจากค่าเดิม

 

ถัดมา 4 ปี  ( 25/02/2025 )

คนไข้เข้ามาอีกครั้ง ด้วยอาการ มองไกลชัด แต่อ่านหนังสือเริ่มไม่ค่อยดี (ซึ่งเป็นเรื่องไม่ปกติ ที่คนที่อายุเกิน 55 ปีไปแล้ว จะมีค่า add ที่เพิ่มขึ้น เว้นเสียแต่ว่า ค่าสายตามองไกลลดลง จึงทำให้เลนส์ตาต้องออกแรงชดเชยมองไกลเพื่อให้ยังคมชัดอยู่ ก็เลยมีแรงไม่พอที่จะเพ่งเพื่อดูใกล้ อาการจึงออกมาคลายกับค่า add ที่บางเกินไป

 

ผมได้ทำนัดคนไข้เพื่อมาตรวจใหม่ ได้ค่าใหม่ดังนี้

 

Habitual Rx. : ค่าเดิมที่ใช้อยู่ (2019-2021)

OD -3.75-0.37x47

OS -2.75-0.75x175

Add +2.00D

 

ค่าปัจจุบันที่ตรวจพบ

Refraction

Retinoscopy

OD -3.50   ,VA 20/20

OS -2.25   ,VA 20/20

 

Monocular Subjective

OD -3.00-0.50x60   ,VA 20/20

OS -2.25-0.25x120   ,VA 20/20

 

BVA

OD -3.00-.50x60   ,VA 20/20

OS -2.12-0.37x130   ,VA 20/20

 

BCVA

OD -3.00 -0.37x60   ,VA 20/20

OS -2.12 -0.37x130   ,VA 20/20

 

Functional @ 6 m

Horz. Phoria : 1 BI

Vert. Phoria  : 1 BDOD ( right hyperphoria)

 

Functional at near 40 cm

BCC +2.25D

NRA/PRA 0.75/0.75 ( rely BCC)

 

Assessment

1.compound myopic astigmatism OD and OS

2.Presbyopia

3.Hyperphoria

 

Plan

1.Full RX

2.progressiv additional lens Rx  : Add +2.25

3.prism Rx : 0.5BDOD /0.5BUOS

 

Discussion

 

Full Rx  improve Binocular Function.

การ full correction ทำให้ binocular function กับมาทำงานปกติได้ ซึ่งสำหรับเคสนี้ ถ้าเราย้อนดูตั้งแต่แรกที่คนไข้มา พบว่าคนไข้มีเหล่ออกซ่อนเร้นสูงมากคือ 6 BI (exophoria) แต่หลังจาก  full correction + 3 BI ไปสักระยะ พบว่า exophoria ลดลงจนกลายเป็นค่าเฉลี่ยคนปกติคือ 1BI (exophorai) นั่นแสดงว่า การที่เราไม่สร้างภาระด้วยการ over/under ให้ accommodation สามารถทำให้ตาทั้งสองข้างนั้นหาสมดุลใหม่เจอ แต่สำหรับ vertical phoria นั้นเราจะพบว่าคนไข้มีมุมเหล่ตาขวาเหล่ลอยแบบซ่อนเร้นที่คงที่ เนื่องจาก hyperphoria ไม่ได้เกี่ยวกับการทำงานของ accommodation

 

Refraction Change With Age

เคสที่ยกตัวอย่างนี้เป็นเคสที่ผมมีโอกาสดูแลอย่างต่อเนื่อง ก็พบการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจคือ สายตาสั้นลดลงมาเรื่อยๆ จาก -4.00DS ลดลงมาเหลือ -3.00DS สำหรับข้างขวา และ จาก -2.75DS ลดลงมาเหลือ -2.12DS  ซึ่งการลดลงมาในรอบ 6-7 ปีนี้นั้นมากว่า 1.00DS (แต่คงไม่นับค่ายตาเก่า -4.50DS ซึ่งอันนั้นเกิดจากการตรวจวัดที่ผิดพลาด มิอย่างนั้นแล้วเราจะเห็นว่าสายตาลดลงมากว่า 2.50DS)

 

ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดคำถามว่า “มีสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้สายตาสั้นในผู้สูงอายุสามารถลดลงมาได้” ซึ่งก่อนที่จะเข้าไปถึงตรงนั้น ผมจะขอพูดถึงในส่วนว่า มีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสายตา

1.ความโค้งของกระจากตา ( cornea curvature)

2.ความยาวของกระบอกตา (axial lenght)

3.เลนส์แก้วตา (crystalline lens)

 

(1-2) นั้นมักจะเกิดขึ้นในเด็กที่กำลังเติบโต ดังนั้นเมื่อเด็กโตขึ้น ตัวใหญ่ขึ้น กระบอกตาก็สามารถยาวขึ้น จนทำให้สายตาสั้นเพ่ิมขึ้นได้นั้นเอง แต่เมื่อเด็กโตเต็มวัยไปแล้ว (20-25 ปี) ความโค้งของกระจกตาและความยาวของกระบอกตาจะเปลี่ยนแปลงน้อยลง ทำให้สายตาผู้ใหญ่นั้นค่อนข้างจะคงที่

 

แต่เลนส์แก้วตา (3) นั้น มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ ในเนื้อเลนส์นั้น จะมีเซลล์ที่สร้าง lens fiber เกิดใหม่อยู่ตลอดเวลา จนทำให้เลนส์นั้นอัดแน่นไปด้วย lens fiber ผลก็คือ “เลนส์แข็งตัว ความยืดหยุ่นน้อยลง ทำให้ไม่สามารถที่จะป่องตัวหรือคลายตัวได้เหมือนตอนเป็นเด็ก และ เมื่อขยับตัวไม่ค่อยได้ การที่จะเปลี่ยนโฟกัสเพื่อปรับระยะต่างๆให้ชัดนั้น ก็ทำได้น้อยลง ทำให้อ่านหนังสือหรือดูใกล้ไม่ชัด ซึ่งเราเรียกว่า “สายตาแก่” หรือ “presbyopia”

 

เลนส์ตานอกจากมีหน้าที่สำคัญคือ “ สามารถ varies focus ได้แล้ว”ความสำคัญอีกอย่างคือ “ดูดซับรังสียูวีไม่ให้เข้าไปทำลายจอประสาทตา” ดังนั้นเมื่อดูดซับทุกวันๆ ก็กลายสภาพจากโปรตีนใสๆ กลายเป็นตกตะกอนขึ้นมา ก็เหมือนโปรตีนไข่ขาวแล้วเอาไปเจียว ก็จะกลายไปไข่ขาวสุก และ จะไม่สามารถกลับไปใสได้อีก เลนส์แก้วตาก็เช่นกัน ถ้าโปรตีนเสียสภาพแล้วก็จะเป็นตะกอนขุ่นและไม่สามารถกลับไปใสได้อีก เราเรียกว่า “ต้อกระจก”​ หรือ “cataract” ซึ่งการก่อตัวของต้อกระจกนี้ก็กินเวลาหลายปีหรือเป็นสิบปี อยู่ที่ว่าใครจะมีความเสี่ยงต่อตัวเร้ามากกว่ากัน เช่น คนต้องใช้ยาสเตียรอยด์ก็ย่อมเสี่ยงเป็นต้อกระจกได้ง่ายกว่า  คนสูบบุหรี่ก็เป็นต้อกระจกง่ายกว่าคนไม่สูบ  คนที่ออกแดดประจำแล้วไม่ใส่แว่นก็เสี่ยงเป็นต้อกระจกได้ง่ายกว่า เป็นต้น และ การก่อตัวของต้อกระจกนี้เอง เป็นเหตุให้สายตาเปลี่ยนในผู้สูงอายุ

 

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสายตาในคนไข้ที่ต้อกระจกกำลังก่อตัวนั้น ก็มีทั้งในทิศทาง hyperopic shift คือ สายตายาวเพิ่มขึ้น หรือ สายตาสั้นน้อยลง และ myopic shift ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปในทิศที่ สั้นมากขึ้น (หรือยาวน้อยลง) ขึ้นอยู่กับว่า ต้อกระจกกำลังก่อตัวที่จุดไหนของเลนส์​ ซึ่งเราแบ่งประเภทของต้อกระจกตามตำแหน่งการเกิดบนตัวเลนส์

 

Nuclear Cataract

Neclear Cataract เป็นต้อกระจกที่เกิดขึ้นที่ใจกลางของเลนส์แก้วตา ส่งผลให้ lens index นั้นเพิ่มขึ้นด้วยเหตุว่า โปรตีนในเลนส์จะเริ่มเข้ามาอัดตัวกันแน่นและน้ำที่อยู่ในเลนส์โปรตีนจะน้อยลงทำให้โปรตีนของเลนส์นั้นอัดตัวกันแน่น  ผลคือ lens index เพิ่มขึ้น และ สายตาจะเปลี่ยนไปในทิศทาง Myopic Shift คือสายตาสั้นมากขึ้น (หรือยาวน้อยลง)

Nuclear cataract seen with A, diffuse illumination, and B, optic section. (From Kanski JJ, Nischal KK: Ophthalmology: clinical signs and differential diagnosis, St Louis, 2000, Mosby.)

 

Cortical Cataract 

Cortical Cataract เป็นต้อกระจกที่มีการก่อตัวขึ้นที่ชั้น cortex ซึ่งเป็นชั้นที่หุ้ม lens nucleus อยู่ ซึ่งเมื่อเริ่มเป็นต้อกระจก ก็จะมีลักษณะการขุ่นแบบ แง่งหินแหลมๆ ชี้เช้าไปที่ชั้นนิวเคลียส (spoke-like) ซึ่งในช่วงแรกของการก่อตัวเราอาจจะยังมองไม่เห็นเนื่องจากมันอยู่ใต้รูม่านตา ซึ่งอาจจะต้องขยายรูม่านตาดูจึงจะสามารถมองเห็นได้ เว้นเสียตาว่าเป็นมากๆแล้ว ก็จะสามารถเห็นง่ายๆด้วยการแสง retro-illuminate เราก็จะเห็นเงาดำๆ เป็นแง่งๆแหลมๆขึ้นมา

Spokes of a cortical cataract visible against the red reflex.(cr. https://entokey.com/clinical-evaluation-of-cataracts/)

เมื่อเกิด cortical cataract สิ่งที่ตามมาคือ lens fiber จะเกิดการบวมน้ำ ทำให้โค้งเลนส์มีการเปลี่ยนแปลง (เลนส์บวมโค้งน้อยลง) ผลก็คือค่ากำลังเลนส์บวกลดลง  สายตาสั้นจึงน้อยลง หรือ สายตายาวเพิ่มขึ้น  เรียกรวมๆว่า hyperopic shift

 

Posterior Subcapsular Cataracts (PSC)

PSC เป็นต้อกระจกที่เกิดขึ้นที่ชั้นเซลล์ผิวชั้นนอกของถุงหุ้มเลนส์ (lens capsule) และ มักจะอยู่ในตำแหน่งของแนวที่แสงวิ่งผ่าน (visual axis) โดยมีสาเหตุสำคัญคือเซลล์ชั้นนอก (epithelial cell)  นั้น มีการอพยพหรือเคลื่อนย้ายที่ (migration) ผิดปกติ แล้วไปกองรวมกันอยู่ที่ผิวของถุงหุ้มเลนส์ด้านหลัง  (ซึ่งโดยปกติมันจะถูกสร้างขึ้นมาแล้วก็จะอพยบไปทางขอบๆแนวเส้นศูนย์สูตรของเลนส์ (lens equator) จากนั้นมันก็จะกลายสภาพเป็นเส้นใสๆ เรียกว่า lens fiber) แต่พอมันย้ายผิดที่ไปที่ผิวหลังของ capsule มันก็เลยไม่กลายสภาพเป็นเส้นใสๆ แต่กลายเป็นกองๆของกลุ่มเซลล์กันอยู่ มันก็เลยทึบแสง และ เมื่อแสงสิ่งผ่านรูม่านตามาจอกองเซลล์นี้อยู่ก็เลยเกิดการฟุ้งกระจายขึ้นมา

Posterior subcapsular cataract. (From Kanski JJ, Nischal KK: Ophthalmology: clinical signs and differential diagnosis, St Louis, 2000, Mosby.)

ซึ่งภาวะดังกล่าวนั้นเกี่ยวข้องกับบางโรคหรือการใช้ยาบางชนิดเช่น โรคเบาหวาน การใช้สเตียรอยด์ เป็นต้น  ซึ่งอาการของเขาจะแปลกกว่าคนปกติ คือกลางวันที่แสงแรงๆจะมองไม่เห็น แต่กลางคืนจะเห็นดีกว่า  สาเหตุก็คือ แสงแรง รูม่านตาหด แล้ว PSC ก็มาอยู่กลางรูม่านตาพอดี แสงเข้าไม่ได้ คนไข้จึงมองไม่ชัดในกลางวัน ในทางตรงข้าม กลางคืนจะเห็นดีกว่า เนื่องจากรูม่านตาใหญ่ แสงสามารถเข้าส่วนอื่นๆที่ยังไม่เป็นต้อกระจกได้ จึงสามารถเห็นได้ดีกว่า แต่ต้อกระจกแบบ PSC ไม่ได้ไปทำให้สายตาโดยรวมเปลี่ยน

 

Axial length ?

แต่การเปลี่ยนแปลงของความยาวกระบอกตา (axial lenght) ในผู้ใหญ่นั้นเกิดขึ้นได้น้อยและไม่ common และ ควรจะหยุดตั้งแต่อายุ 20-25 ปี ดังนั้น เราจะสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ถ้าคนไข้สูงอายุ มีการเปลี่ยนแปลงของสายตาอย่างรวดเร็วนั้น มีสาเหตุจากต้อกระจกเป็นสำคัญ ถ้าจะมีก็จะมีเหตุมาจากโรคหรือผลของการผ่าตัดบางอย่างมากกว่า เช่นคนไข้จอประสาทตาลอก แล้วต้องใช้ยางรัดลูกตา ( scleral buckle) ก็ทำให้กระบอกตายืดยาวขึ้นได้เช่นกัน

 

สรุปคือ

สายตาเปลี่ยนในผู้สูงอายุนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ และ การเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นไปอย่างรวดเร็วในคนไข้ที่เริ่มเป็นต้อกระจก ส่วนจะเปลี่ยนไปในทิศทางที่สั้นมากขึ้น (myopic shift)  หรือ สั้นน้อยลง (hyperopic shift) ก็ขึ้นอยู่กับว่า “ตำแหน่งของต้อกระจกนั้นเกิดขึ้นที่ไหน”

 

ถ้าต้อกระจกเกิดขึ้นที่ศูนย์กลางเลนส์ (nuclear cataract) สายตามักจะเปลี่ยนในทิศทางที่สั้นมากขึ้น (myopic shift)

 

ถ้าต้อกระจกเกิดขึ้นที่เนื้อเลนส์ชั้น cortex (cortical cataract) สายตามักจะเปลี่ยนในทิศทางที่สั้นน้อยลง (Hyperopic shift)

 

ส่วน PSC นั้นไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนสายตามากนัก แต่น่าจะเกี่ยวกับการแข็งตัวของ  lens capsule ทำให้ความสามารถในการ accommodation นั้นทำได้ไม่ดี

 

แก้ binoc เริ่มต้นที่ refraction 

อนึ่ง หัวใจของการแก้ไขระบบ binocular function คือการแก้ไขปัญหาสายให้ถูกต้องเสียก่อน เพื่อให้การกระตุ้น accommodation นั้น เป็นการกระตุ้นที่บาลานซ์ในปริมาณที่เท่าๆกัน  เมื่อเลนส์ responds ได้ถูกต้อง  Binocular Funciton ก็จะเริ่มเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกันใหม่ ซึ่งเรื่องนี้เคยเขียนไว้แล้วใน AC/A ratio ว่าเราไม่สามารถแยกการทำงานของลูกตาทั้งสองออกจากกันได้ ( https://www.loftoptometry.com/AC/A ratio

 

เมื่อกระตุ้นข้างหนึ่ง อีกข้างจะตอบสนองด้วย และ เพื่อมีการเพ่ง การเหลือบจะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และ มีอัตราส่วนที่จำเพาะอีกด้วย ดังนั้น ศาสตร์จัดสายตาจึงเป็นศาสตร์ที่อันตรายและสร้างปัญหาให้กับระบบการทำงานของสองตาอย่างมาก เว้นเสียแต่ว่า ไม่รู้ว่า binocular function คืออะไร ทำงานยังไง เกี่ยวกันยังไง ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ก็ไม่น่ากลัว เหมือนเด็กทารกไม่เคยกลัวปลั๊กไฟนั่นหล่ะ แต่เราโตๆกันแล้ว ย่ิงมีหน้าที่ในการดูแลสุขภาพคนอื่น ถ้าไม่รู้ก็ควรจะหาความรู้  ไม่ควรเอาความไม่รู้มาส่งต่อให้คนรุ่นหลัง โดยเฉพาะผู้ที่มีหน้าที่โดยตรงในการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา เพราะนั่นคือการทำลายวิชาชีพทางอ้อมโดยรู้เท่าไม่ถึงการ

 

ขอบคุณสำหรับการติดตาม พบกันใหม่ตอนหน้า 

สวัสดีครับ

 

ดร.ลอฟท์ O.D.

 

 

Contact

Loft Optometry : 578 Wacharapol Rd. ,Tharang , Bangkhen ,BKK 10220

Mobile : 090-553-6554

lineID : loftoptometry

Web : www.loftoptometry.com

Fb : www.facebook.com/loftoptometry

 

product 
1.Lindberg Spirt 

2.Rodenstock Multiressiv B.I.G. Exact 1.6 CMX-Gray 

.