เรียบหรูสไตล์เดนิช ในแบบของลินด์เบิร์ก 

DANISH, BUT SPECIAL

lindberg_header
CEO Henrik Lindberg in his private office, Mats Theselius’ ‘Hermit’s Cabin’, on his factory’s open-plan first floor
image sorce : www.wallpaper.com

เยี่ยมชมบริษัทไปกับ HENRIK LINDBERG 

LINDBERG นับว่าเป็นหนึ่งในแบรนด์ของแว่นระดับโลกที่มีชื่อเสียงที่สุดอยู่ในขณะนี้ อย่างน้อยก็เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีในวงการแว่นตาหรู นับว่าเป็นโอกาสดีที่ทางนิตยสารแว่นตาของเรามีโอกาสได้มาเยี่ยมเยียนบริษัทแห่งนี้ถึงเดนมาร์ก อีกทั้งเรามีโอกาสได้เยี่ยมชมเมือง Aarhus

source image : http://www.travelandleisure.com

การมาเยี่ยมเยือนในครั้งนี้เราสัมผัสได้ถึงกลิ่นอายความเป็นเดนิชที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีความแปลกไม่เหมือนใคร  ย้อนกลับไปยังภูมิหลังของบริษัทแห่งนี้สักเล็กน้อย เจ้าของเพียงคนเดียวคือคุณ Henrik ผู้ที่มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความมานะบากบั่น หัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจของ LINDBERG นั้นคือ "ความใส่ใจในทุกรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของกระบวนการผลิต การตลาด ทรัพยากรบุคคล เหล่านี้ล้วนทำให้บริษัทดำเนินไปได้ด้วยความราบรื่น บรรยากาศรอบๆให้ความรู้สึกถึงความเป็นครอบครัวอย่างมาก สำหรับในการสัมภาษณ์ในครั้งนี้ คุณ Henrik ได้พูดคุยกันแบบเปิดใจเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจในบรรยากาศสบายๆเป็นกันเอง ได้เห็นถึงแนวคิดอันชาญฉลาด มุมมองอันกว้างไกลและทัศนคติที่ดี   หลายๆเรื่องราวที่คุณ Henrik ได้กล่าวถึงถูกถ่ายทอดออกมาให้ฟังด้วยน้ำเสียงที่สุขุมแต่เต็มด้วยความสนุกสนาน เฮฮา เมื่อถามถึงงานที่สำคัญที่สุด ณ บริษัทแห่งนี้ คุณ Henrik ได้ให้คำตอบว่า คือการเดินไปเดินมารอบๆบริษัท ซึ่งก่อนที่จะเริ่มการพูดคุยนั้น ทางเรามีโอกาสได้เดินชมรอบๆในชั่วโมงการทำงานของ Henrik ด้วยเช่นกัน 

อะไรที่สร้างแรงบันดาลใจให้คุณ​ Henrik ในหลายๆสัปดาห์ที่ผ่านมา ?

ผมคิดว่าแนวทางของการ LINDBERG ดำเนินไปด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร เรามีความภูมใจ ถึงแม้ว่า LINDBERG เป็นเพียงแค่บริษัทเล็กๆ แต่เราก็สามารถดำเนินธุุรกิจได้ในร้อยกว่าประเทศทั่วโลก หลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเดินทางไปในหลายที่ เข้าร่วมงานแว่นตาแฟร์ในหลายประเทศ เช่นที่ SILMO ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่ IOFT เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น งานแว่นตาแฟร์ที่ฮ่องกงและที่ CIOF กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน  ซึ่งงานเหล่านี้นับว่าเป็นโอกาสที่ดียิ่งในการพบปะพูดคุยและได้รับทราบถึงความต้องการและความคิดเห็นของลูกค้าในมุมมองที่ต่างออกไป มีหลายๆสิ่งซึ่งสร้างแรงบันดาจใจให้ผม ซึ่งผมก็พยายามที่จะทำให้ทุกอย่างเกิดขึ้นและประสบผลสำเร็จไปด้วยกันกับทีมงานของผม  

หากพูดถึง LINDBERG จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่  อย่างไร ?

Poul-Jørn Lindberg (cr. luxebeatmag.)

บริษัทของผมเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ 28 ปีที่แล้ว ซึ่งได้ไอเดียมาจากแว่นตาอันแรกของเราคือ Air Titanium โดยคุณพ่อของผม ซึ่งท่านเป็นนักทัศนมาตร์ (optometrist) ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก ท่านเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์​และมีไอเดียเป็นเลิศ ท่านใส่ใจในทุกรายละเอียดไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการคัดสรรวัสดุที่ใช้ในการทำแว่น การประกอบแว่น ซึ่งเหล่านี้ต้องอาศัยฝีมือทั้งสิ้น แรงบันดาลใจบางอย่างก็มาจากการใส่แว่น

ตัวผมเองเป็นสถาปนิก ทำงานที่เกี่ยวกับสายงานของผมเองโดยตรง จนวันหนึ่งผมและคุณพ่อได้ปรึกษากันเกี่ยวกับการแก้ปัญหาในกระบวนการผลิต หลังจากที่เราได้ร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์แล้วนั้น เราก็ได้ตระหนักถึงปัญหาในการผลิตแว่นตาของเราคือการลงทุนทั้งในเรื่องของเวลาและเงินทุนรวมไปถึงแรงงานด้วยเช่นกัน  ท้ายที่สุดผมได้เข้ามาเริ่มทำธุรกิจนี้แบบเต็มตัว 

หลังจากก่อตั้งบริษัท อะไรที่เป็นเหตุการณ์ที่คุณคิดว่าสำคัญที่สุด ?

อย่างแรกเลยก็คือการสร้างแบรนด์สินค้าให้มีเอกลัษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร ทั้งรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน  ลูกค้าจะชอบในสินค้าของเรา แต่ช่างแว่นไม่เคยชอบในการที่จะทำแว่นตาพวกนี้มากนัก เพราะมีขั้นตอนยุ่งยากหลายๆอย่าง ซึ่งค่อนข้างยุ่งยากและสลับซับซ้อนกว่าแว่นทั่วๆไปที่เคยทำ  ระยะเวลาช่วงแรกนั้น อุปกรณ์ที่เราได้จัดสรรมาสำหรับช่างแว่นเรียกได้ว่าต้องเป็นช่างที่มีความชำนาญสูงถึงสามารถจะใช้งานได้  ในการที่จะใส่เลนส์เข้าไปในกรอบไม่ใช่ว่าช่างแว่นทุกคนจะสามารถทำได้  ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญจริงๆ ลูกค้าส่วนมากจะชอบรุ่นไทเทเนียมตรงที่น้ำหนักเบา ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ระคายเคืองผิวหนัง และที่สำคัญอีกอย่างคือไม่มีสกรู ทั้งนี้ช่างแว่นสามารถทำแว่นให้เข้ากับผู้สวมใส่แต่ละคนได้ตามความต้องการอีกด้วย 

Production manager Lars Grejsmark quality checking precious frames with team member Ha Hong Nguyen (cr. Wallpaper.com)

เหตุการณ์ที่สองนั้น ก็คือการขยายตลาดสินค้าตัวแรก เนื่องจากสินค้าเรามีความเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร ทำให้เราไม่สามารถที่จะดำเนินธุรกิจแบบธรรมดาได้ หลังจากได้เข้าร่วมกับประเทศต่างๆในยุโรป  ไม่ว่าจะเป็นร้านแว่นตาที่อยู่ที่กรุงโรม ฮัมบูร์ก หรือ โคเปนเฮเกน และในเรื่องการขนส่งก็เป็นไปได้อย่างราบรื่นมาโดยตลอด 

คุณสามารถอธิบายหลักการของ LINDBERG จากเมื่อก่อนจนถึงปัจจุบันได้อย่างไรบ้าง ?

จริงๆหลักการของเรายังคงเหมือนกันกับเมื่อก่อน คือเราไม่เคยใช้สกรูไม่ว่ากับแว่นรุ่นไหนก็ตาม อย่างที่บอก การเลือกสรรวัสดุนั้น เป็นสิ่งที่เราใส่ใจและตระหนักถึง LINDBERG ถูกออกแบบมาให้เลือกมากมาย ช่างแว่นสามารถตัดแว่นให้เข้ากับรูปหน้าของลูกค้าแต่ละคนได้ และลูกค้ามีโอกาสที่จะเลือกแว่นตาได้ในหลากหลายแบบหลายสไตล์หลายสีที่ชอบ 

ครั้งหนึ่งคู่แข่งของคุณเคยกล่าวว่า LINDBERG เป็นเสมือน Apple แห่งวงการแว่นตา สำหรับคำกล่าวนี้ถือเป็นคำชมหรือเป็นคำกล่าวที่ไม่น่ายินดีเท่าไหร่

เมื่อเราได้้ยินคำกล่าวเช่นนั้น แน่นอนว่าเป็นคำเยินยอ เราอาจมีบางสิ่งที่อาจคล้ายกันเป็นธรรมดา สิ่งหนึ่งที่คล้ายกันมากที่สุดเห็นจะเป็นในเรื่องของคู่แข่งทางธุรกิจที่มีเยอะเหมือนกัน และมักถูกจับตามองว่าสินค้าตัวไหนของ LINDBERG ที่ออกมาสู่ตลาดและเราทำอย่างไร มีการดำเนินธุรกิจไปในทิศทางไหน สำหรับผมเองทำได้แค่ยิ้มรับก็เท่านั้น เหมือนอย่างสินค้าตัวใหม่ของ Apple ที่ออกสู่ตลาด สินค้าตัวล่าสุด ณ ตอนนี้คือ iPhone 5 ในเรื่องฟังก์ชั่นมีเดียที่ครอบคลุมมากขึ้น มาพร้อมกับสุดยอดดีไซน์เหมือนอย่างเคยซึ่งคล้ายกันกับรุ่นเดิมมาก ต่างกันเพียงขนาดที่ใหญ่ขึ้นกว่ารุ่นเดิม และคงมีให้เลือกเพียงสองสีคือ ดำกับขาวเหมือนเดิม 

แต่สำหรับ LINDBERG เราให้ความสำคัญในแต่ละรุ่นให้มีหลากหลายดีไซน์ที่ต่างกันและมีหลากหลายสี นี่ก็เป็นข้อแตกต่างที่เราเปรียบเทียบกันไม่ได้ เพราะสินค้าเราไม่เหมือนกัน การตระหนักมากน้อยต่างกันก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง 

ยังมีบริษัทอื่นๆอีกหรือไม่ที่คล้ายคลึงกับ LINDBERG ?

ในหลายๆบริษัทของเดนมาร์ก ผมยกให้ Bang&Olufsen ซึ่งเป็นบริษัทเก่าแก่ เริ่มดำเนินธุรกิจแบบครอบครัวซึ่งเป็นหลักการคล้ายๆกับ LINDBERG  บริษัท Bang&Olufsen รู้ว่าต้องใช้กลยุทธ์ไหนที่ทำให้อยู่เหนือคู่แข่งทั้งในเรื่อง ดีไซน์และคุณภาพ เค้ารักษามาตรฐานสินค้าอย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าคู่แข่งของเค้าจะพยายามที่จะขายสินค้าให้ถูกกว่าก็ตาม  อีกบริษัทของเดนมาร์กอีกแห่งที่มีความคล้ายกันกับ LINDBERG ก็คือ Ortofon ซึ่งผลิตเกี่ยวกับเครื่องเสียง เป็นบริษัทที่มีเครือข่ายธุรกิจครอบคลุมทั่วโลก เป็นผู้นำเรื่องเครื่องเสียง บริษัทนี้มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพสินค้าให้มีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมชื่นชมเป็นอย่างมาก และอีกแห่งหนึ่งเป็นบริษัทเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือนั้นก็คือ Aston Martin ผมยอมรับว่าสินค้าของเค้าสุดยอดทั้งในด้านคุณภาพและดีไซน์ 

bang&olufsen (cr.whiteboardmag.com)

พูดถึงหัวข้อที่คุณชอบบ้าง  สิ่งทีคุณสนใจเป็นพิเศษคือความเร็วใช่ไหม ?

ใช่ครับ เมื่อหลายปีที่แล้วเวลาว่างของผมมักจะไปแล่นเรือใบ เป็นสิ่งที่ผมชอบและสนใจมาก ผมพยายามที่จะฝึกฝนเสมือนว่าผมเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมก็ชื่นชอบความเร็วด้วยเช่นกันและหากคุณต้องการที่จะแล่นเรือใบให้เร็วและชนะ มันก็ขึ้นอยู่กับทีมของคุณด้วยเช่นกันเปรียบเสมือนกับการทำธุรกิจ คุณไม่สามารถที่จะตัดสินใจเพียงคนเดียวได้ ผมมีลูกเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ผมเริ่มมีทัศคติที่เปลี่ยนไป การแล่นเรือใบสำหรับผมกลายเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ดังนั้นผมจึงหันมาสนใจเกี่ยวกับการแข่งรถประลองความเร็ว ถ้าพูดถึงเรื่องความเร็วผมว่ามันขึ้นอยู่กับตัวคุณเอง คุณต้องมีการตัดสินใจที่ดีแน่วแน่และมั่นใจว่าคุณจะเร็วพอที่จะเอาชนะคู่แข่งได้ ผมรักที่จะเอาความเร็วผสานควบคุมที่ดีมาใช้ในการเอาชนะคู่แข่ง 

เราได้สนทนาเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวมามากแล้ว กลับมาคุยกันในเรื่องของธุรกิจกันบ้าง งานหลักๆของคุณที่ LINDBERG คืออะไร ?

ก็เดินไปเดินมารอบๆครับ 

นับว่าเป็นอะไรที่ง่ายมากๆ ?

ใช่ครับ ดูเหมือนว่าผมไม่ได้ทำอะไรเลย  จริงๆผมเป็นเหมือนคนงานคนแรกในบริษัทแห่งนี้ ผมรู้ในทุกๆรายละเอียดตั้งแต่เรื่องพื้นๆจนถึงเรื่องใหญ่ แต่ผมไม่ใช่คนประเภทที่ชอบนั่งอยู่แต่ในออฟฟิศ 

คุณมีกระท่อมเล็กๆ ตั้งอยู่กลางบริษัทระหว่างฝ่ายผลิตและฝ่ายการตลาด มีแค่โต๊ะทำงานเล็กๆและเตียงสไตล์เรียบๆ ภรรยาคุณไล่ออกจากบ้านหรือเป็นเรื่องแซวกันเล่นๆ 

ก็ไม่ทั้งสองอย่างครับ ห้องทำงานเก่าของผมเต็มไปด้วยกระดาษจำนวนมหาศาล กระดาษใหม่ๆจะมากเพ่ิมขึ้นทุกๆสัปดาห์ บางครั้งผมเก็บกระดาษเหล่านั้นใส่กล่องทุกๆวันคริสมาสต์และวันปีใหม่ และเก็บทั้งหมดไว้ที่โกดัง แต่ผมก็ได้สังเกตว่าตลอดระยะเวลา 15 ปี ผมไม่เคยหันไปมองกล่องพวกนั้นแม้แต่ครั้งเดียว ณ จนวันหนึ่ง  ผมมาถึงที่ทำงาน เหมือนที่ผมได้เคยพูดไว้ว่า มันเต็มไปด้วยกระดาษ ผมพูดกับตัวเองว่าผมจะสร้างที่ทำงานใหม่ สองอาทิตย์หลังจากนั้นผมได้ล๊อกห้องทำงานของผมแล้วย้ายมาบ้านหลังใหม่ของผม มันเป็นกระท่อมสไตล์สวีดิชและการตกแต่งค่อนข้างเรียบง่ายเป็นเหมือนหลักการของ LINDBERG ผมขออนุญาตถอดแจ๊คเก็ตนะครับ 

ตามสบายครับ คุณใช้เวลาในแต่ละวันในการออกแบบนานแค่ไหน ?

ผมใช้เวลาทั้ง 24 ชม.​ในแต่ละวันในการออกแบบ การออกแบบไม่ใช่แค่สร้างแบบแว่นตาขึ้นมา แต่มันหมายถึงการคิดว่าจะทำอย่างไรให้ธุรกิจดำเนินไปข้างหน้าได้ ทุกๆอย่างล้วนต้องดำเนินควบคู่กันไปจนกว่าจะถึงเป้าหมาย อย่างไรก็ตามแต่ สินค้าที่ดีไม่ใช่เพียงแค่ดีไซน์ที่ดีเท่านั้น หากต้องบริหารจัดการที่ดี มีการวางกลยุทธ์ซึ่งเชื่อมโยงกันหรือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปด้วย สำหรับผมทุกๆอย่างคือการดีไซน์ ซึ่งนี่ก็เป็นอีกอย่างซึ่งมีความสำคัญในการพัฒนาต่อไปในอนาคต 

ในเรื่องของการตลาด เพราะเหตุใด LINDBERG ถึงให้ความสำคัญกับการตกแต่งร้านมากเป็นพิเศษ ?

เนื่องจากเราอยากให้ลูกค้าสนใจในสินค้าเราและประทับใจกับร้านดีไซน์ LINDBERG สร้างแรงดึงดูดใจไม่ใช่แค่กับตัวสินค้าเพีงอย่างเดียว โดยร้านทุกร้านของ LINDBERG  จะมีการตกแต่งที่เป็นเอกลักษณ์ มีเครื่องมืออุปกรณ์พร้อมที่จะให้บริการลูกค้าอย่างครบครัน พร้อทั้งเรายังทำ POP toolkit ในหลายๆแบบ ซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งในการนำเสนอสินค้าที่มีดีไซน์ รวมไปถึงทำเลที่ดีและเหมาะสมกับแบรนด์ของเรา 

สำหรับเรื่องดีไซน์ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นคอนเซปหลักของคุณเนื่องจากเดนมาร์กเป็นที่ทราบกันดีว่ามีจุดเด่นในเรื่องของดีไซน์ อะไรที่คุณคิดว่านี่แหล่ะเป็นลักษณะเด่นของเดนนิชดีไซน์ ​?

เดนนิชดีไซน์หรือสแกนดิเนเวียดีไซน์นั้นมีความเป็นเอกลักษณ์ ถูกขนานนามว่า "เรียบแต่หรู" ซึ่งตอบทุกโจทย์ได้เป็นอย่างดี มีคำถามเสมอๆว่า อะไรเป็นพื้นฐานสำคัญซึ่งอยู่เบื้องหลังสินค้า  หัวใจสำคัญนั้นคือ หากคุณสังเกตแว่นตารุ่น Air Titanium สิ่งแรกที่ทำให้คุณ จำได้อย่างแม่นยำก็คือตรงส่วนของบานพับ แทนที่จะซ่อนไว้ด้านใน เราก็ทำให้เห็นได้ชัดเจน ซึ่งจุดนี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสินค้าของเรา ซึ่งแปลกตาไม่ซ้ำใคร 

คุณสามารถพูดได้หรือไม่ว่า. LINDBERG นั้น เป็นต้นแบบของเดนิชดีไซน์ ?

ในหลายๆอย่างผมสามารถพูดได้เลยว่าใช่  แต่ในหลายๆปีที่ผ่านมานั้น ดีไซน์ของเรามีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ในหลายๆประเทศสไตล์เรียบหรูไม่ได้เป็นที่ต้องการมากนัก ลูกค้าบางส่วนอาจให้ความสนใจสินค้าที่ดูโดเด่นด้านดีไซน์มากกว่าเรียบหรู 

อะไรที่ทำให้ดีไซน์ของ LINDBERG นั้นเป็นที่รู้จัก ?

คงจะเป็นเรื่องของน้ำหนักที่เบามาก มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ 

อะไรที่เป็นส่วนที่ทำให้เห็นความแตกต่างระหว่าง LINDBERG กับ แว่นตาแบรนด์อื่นๆ ?

สิ่งแรกก็คือทางเรามีการพัฒนาในด้านดีไซน์อย่างต่อเนื่อง มีไอเดียใหม่ๆและเทคนิคเฉพาะตัว สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับเราให้เราดำเนินธุรกิจไปได้ เรามีศักยภาพมากพอที่จะบริหารจัดการเองได้หมดทั้งระบบ  ทั้งนี้เราให้การสนับสนุนอะไหล่ต่างๆ ให้กับลูกค้าอีกด้วย 

source image : www.wallpaper.com

แว่นรุ่นไหนที่นับว่าประสบความสำเร็จสูงสุดจนถึงทุกวันนี้ ?

รุ่น spirit ซึ่งเป็น rimless ไม่มีกรอบ ในดีไซน์ที่แตกต่างกันเป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมสูงสุด 

แล้วรุ่นไหนที่มีความล้มเหลวสูงสุด ?

เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เราได้ทำแว่นตาแนวสปอร์ต เราอยากให้ลูกค้าได้ใส่ LINDBERG แม้แต่ตอนเล่นสกี  แต่ในความเป็นจริงกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น ซึ่งปกติแล้วลูกค้าไม่ได้ต้องการที่จะซื้อแว่นประเภทนี้จากเรา  ผมไม่คิดว่าเป็นเพราะดีไซน์ของแว่น แต่เป็นเพราะ LINDBERG ไม่ได้เป็นที่รู้จักในแนวแว่นสปอร์ต  ลูกค้าให้ความสนใจแว่นประเภทนี้ในแบรนด์ของ Oakley หรือ Adidas มากกว่า  เราตัดสินใจหยุดการผลิตแว่นตาแนวนี้ สำหรับตอนนี้คงต้องรอดูกันต่อไป ไม่แน่ในอนาคตเราอาจจะมีอยู๋ในร้านค้าก็อาจเป็ได้ เพราะเรายังเชื่อมั่นในเราจนกระทั่งทุกวันนี้ 

LINDBERG มีหลักการในการดำเนินธุรกิจที่ไม่เหมือนบริษัทอื่นอย่างๆไร ?

เราพยายามทำให้ช่องว่างระหว่างเรา ช่างแว่นตา และลูกค้า มีน้อยที่สุด  ลูกค้าสามารถดำเนินธุรกิจกับบริษัทเราได้โดยตรง สั่งสินค้าจากเราได้โดยไม่จำกัดจำนวนขั้นต่ำว่าจะต้องสั่งเท่าไหร่  ประมาณร้อยละ 80 ของออเดอร์ทั้งหมดล้วนสั่งทำเฉพาะแต่ละเฟรม ไม่จำเป็นต้องสั่งทีละมาก ๆ ซึ่งตรงนี้นับว่าการดำเนินธุรกิจที่มีความพิเศษของลินด์เบิร์ก ลูกค้าสามารถที่จะเลือกแว่นตาที่เข้ากับใบหน้า เลือกความยาวของขาแว่น ขนาดของความกว้างของสะพานจมูก สามารถปรับได้ให้เหมาะกับหน้า ทั้งนี้เราพยายามที่จะส่งสินค้าให้เร็วที่สุด ในบางกรณีเราสามารถที่จะผลิตและจัดส่งให้ได้ในระยะเวลาเพียงสัปดาห์เดียวซึ่งคิดเป็นกว่าร้อยละ 95 

คุณให้ความสำคัญกับช่างแว่นตาประกอบเลนส์มากแค่ไหน ?

แน่นอนครับ เพราะช่างแว่นตาต้งอมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการของ LINDBERG เป็นอย่างดี และสามารถที่จะผลิตแว่นด้วยมือของเขาเอง แว่นของเราต้องเรียบและหรู แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องอาศัยเทคนิคและฝีมือในการผลิตให้ได้คุณภาพ ตัวอย่างเช่น การประกอบเลนส์​

ตลาดหลักที่สำคัญคือที่ไหน ?

ตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเราคือ เยอรมันและอเมริกา 

สำหรับตลาดในเอเชียมีแนวโน้มไปในทิศทางไหน ?

สำหรับตลาดเอเชียเป็นตลาดที่กำลังเติบโต และแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับเรา เรามาเปิดตลาดครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ 22 ปีก่อน  ที่ฮ่องกงเมื่อ 20 ปีที่แล้ว และที่ประเทศจีนประมาณ 11 ปีที่แล้ว 

คุณคิดว่าลูกค้าของคุณมีลักษณะเด่นอย่างไรบ้าง ?

ลูกค้าส่วนใหญ่นั้น เป็นผู้ที่ให้ความสำคัญกับการใส่แว่น ต้องการเลือกแว่นให้เข้ากับตัวเองให้มากที่สุด ใส่แล้วต้องดูดี คนที่ซื้อแว่นของเราต่างก็มองหาแว่นที่ใส่แล้วสบาย มีดีไซน์ที่น่าสนใจ แต่ก็ไม่แน่เหมือนกัน บางคนเค้าอาจไม่ได้คิดแบบนี้  รุ่นที่เราประสบความสำเร็จมากที่สุดคือรุ่นที่ไม่มีกรอบ ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นแล้วว่าดีไซน์ลักษณะนี้พิชิตใจลูกค้าได้อย่างสูงสุด

แม้จะมีแว่นตาแบรนด์ดังมากมายในอุตสาหกรรมแว่นตาในปัจจุบันนี้ เรากำลังจับตามองแนวโน้มของบริษัทอิสระจะจับมือร่วมทุนกันกับบริษัทใหญ่ในอนาคตหรือไม่ หนึ่งในแบรนด์ดังอย่าง Alain Miki ผลิตโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตแว่นตาหรูอย่าง Luxottica สำหรับ LINDBERG เองนั้นเมื่อไหร่จะมีแนวโน้มให้บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งวงการแว่นตามาดำเนินธุรกิจแทน บ้างหรือไม่อย่างไร ?

เป็นคำถามที่น่าสนใจเลยทีเดียว และคุณก็ไม่ใช่คนแรกที่ถามคำถามนี้ ณ ปัจจุบันนี้เราก็ยังไม่เคยมีความคิดเช่นนี้ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะขัั้นตอนการผลิตของเราค่อนข้างจะซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงการดำเนินธุรกิจก็ซับซ้อนและนั่นไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะรวบรวมให้ไปอยู่ในโครงสร้างอื่น  สำหรับตอนนี้ผมพูดได้เลยว่า LINDBEG ไม่มีนโยบายและยังไม่มีแผนที่จะดำเนินธุรกิจในลักษณะนี้ แต่ในทางกลับกันเราต่างตระหนักดีว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญและดีที่สุดสำหรับบริษัทของเราให้สามารถดำเนินธุรกิจให้อยู่ได้ยาวนานที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้  ณ ปัจจุบันนี้หลายๆส่ิงเปลี่ยนไป และพวกเรากำลังมองดูอยู่ว่า ธุรกิจจะดำเนินต่อไปในทิศทางใดต่อไป 

คุณมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างในการที่บริษัทใหญ่ๆ เข้ามาดำเนินกิจการ และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ซึ่งถูกดำเนินกิจการแทนอย่างไรบ้าง ?

เราเห็นได้จากหลายๆตัวอย่างที่ผ่านมา หากสินค้าแบรนด์นั้นถูกผลิตโดยบริษัทอื่น ต่อไปอาจมีดีไซน์หรือรูปแบบคล้ายๆกันผลิตออกมา ตรงจุดนี้จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจในภายหลัง สำหรับกรณีแบบนี้ลูกค้าแทบจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงเสียด้วยซ้ำไป 

สำหรับบริษัท LINDBERG  ในขณะนี้สามารถกล่าวได้ว่าเป็นบริษัทอิสระที่ใหญ่ที่สุดในวงการแว่นตาได้หรือไม่ ?

ผมไม่ได้คิดว่าเป็นอย่างนั้นครับ 

อาจจะเป็นอันดับสองหรือเปล่า ?

ค่าข้างที่จะเป็นไปได้ครับ 

คุณคิดว่าธุรกิจของคุณในปัจจุบันนี้  คุณกำลังแข่งขันกับบริษัทยักษ์ใหญ่ของวงการแว่นตาหรือแข่งขันกับบริษัทอื่นๆ อยู่หรือเปล่า ?

ถ้าหากลูกค้าไม่ได้ให้ความสนใจในแบรนด์อ่ืนมากนัก แต่สนใจในแว่นที่มีลักษณะเด่นในเรื่องของดีไซน์ที่เรียบและหรูและวัสดุคุณภาพเยี่ยม ผมยินดีที่จะนำเสนอแว่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและไม่เหมือนใครอย่างสินค้าของเรา เราพร้อมที่จะสนับสนุนและให้บริการท่านอย่างดีเยี่ยม. 

สุดท้ายนี้ อะไรที่เป็นสิ่งที่นับว่ายอดเยี่ยมที่สุดของ LINDBERG ?

หลักการและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของเราครับ

ขอขอบพระคุณ คุณ​ Henrik ที่ให้โอกาสเรามาชมบริษัท ณ โอกาสนี้ครับ 

comment : บทสัมภาษณ์จากนิตยสาร E Y E W E A R 

original link : http://old.eyewear-magazine.com/2013/01/16/danish-special/

มุมมองส่วนตัวดร.ลอฟท์ ต่อแบรนด์ LINDBERG (ถามเองตอบเอง)

ดร.ลอฟท์รู้จักแบรนด์นี้ตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ ?

สำหรับผม ส่วนตัวรู้สึกหลงไหลในแบรนด์นี้มานานแล้ว  ตอนนั้นชอบในการดีไซน์ของกรอบ rimless แว่นไร้ขอบ ที่ไม่มีน๊อต ไม่มีสกรู ดูเรียบง่าย แต่มีความหรูหรา  ดูเฉยๆเวลานอนอยู่นิ่งๆ แต่ดูแพงขึ้นมาทันทีเวลาอยู่บนหน้า  ครั้งแรกที่เห็นนั้น ก็แค่รู้สึกว่าทำไมคนนี้(คนใส่แว่นลินด์เบิร์กอยู่) มันดูดีจังวะ คือดูรวมๆแล้วดูดี แล้วก็เห็นแว่นที่เป็นขดๆลวดๆ  และศึกษาดูจนรู้ว่านี่คือแบรนด์ของลินด์เบิร์ก  

แล้ว ดร.ลอฟท์ เริ่มเข้ามาศึกษากรอบแว่นตา LINDBRG จริงๆตั้งแต่เมื่อไหร่ ?

ตอนนนั้นผมทำงานให้กับ  Rodenstock  Asia ในตำแหน่งที่ปรึกษาวิชาการด้านเลนส์ งานของผมก็คือ อ่าน white paper ที่ R&D ของ Rodenstock Germany ส่งมาให้แล้วทำความเข้าใจ ย่อยเนื้อหา ทำสไลด์ นำไปสอนร้านแว่นตา ให้เข้าใจผลิตภัณฑ์ รู้วิธีใช้ และแก้ไขปัญหาเองได้ ผมทำอยู่ 4 ปี โดยเริ่มทำตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ จนกระทั่งลาออกในปี 2013 เพื่อไป join-venture สร้างคลินิกทัศนมาตรขึ้นที่ จ.ลำปาง ผมก็เลยคุยกันหุ้นส่วนว่าจะทดลองลงแบรนด์ลินด์เบิร์กในจังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นจังหวัดเล็กๆในภาคเหนือ  และก็เป็นจังหวัดเดียวของภาคเหนือที่มีลินด์เบิร์กขาย เพราะว่าราคาสูงมาก  ร้านทั่วไปไม่เชื่อว่าจะขายของราคาสูงขนาดนี้ได้ในตลาดต่างจังหวัด แต่ผิดคาด ขายดีมาก พอจำได้ว่าผมสั่ง 2 เดือน/1 set  เซตละ 35 ตัว  จำได้ว่าผมอยู่ 6 เดือนนั้นหมดไปเกือบ 3 เซต 

บอกชื่อร้านได้ไหม ว่าร้านที่คุณไปทำที่ลำปางชื่อร้านอะไร 

อ่อได้ครับ  ร้านชื่อ จุ้ยโต บ้านแว่นตา  เดิมทีร้านนี้ก็มีชื่อระดับจังหวัดอยู่แล้ว แต่คุณสม เจ้าของร้านในขณะนั้น ชวนผมไปทำในตัวเมือง เพราะปกติแกทำอยู่ในบ้าน ก็เลยย้ายกันไปอยู่ในเมือง ออกแบบใหม่ ดีไซน์ร้านใหม่ ตั้งอยู่หน้า รพ.เขลางนครราม  ปัจจุบันน้องผม (น้องหนุ่ม) ลูกชายแก ซึ่งเป็นนักทัศนมาตรรุ่นน้องผม พึ่งจบเมื่อปีที่แล้ว เข้าไปรับกิจกิจการของคุณพ่อต่อ  ส่วนผมคิดถึงบ้าน อยากอยู่ใกล้บ้าน เลยขอถอนออกมาทำโปรเจ็ค ลอฟท์ ออพโตเมทรี ที่กรุงเทพ 

สั่งเป็นเซตคืออะไร  ไม่รู้หรือว่าสามารถสั่ง customize เป็นตัวๆได้ ?

ต้องบอกว่าขณะนั้นเราไม่เคยรู้เลยว่า ลินด์เบิร์กนั้นสามารถสั่งทำเฉพาะคนได้ เพราะ Distributor เก่าไม่เคยบอกเรื่องนี้กับร้านค้าเลย เข้าใจอยู่ว่ามันเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ต่อ distributor ประกอบกับสมัยนั้น Lindberg ยังไม่ได้ทำตลาดเองในประเทศไทย ดังนั้นการทำบัญชี การส่งของ อาจจะดูวุ่นวายไปหน่อยมั้ง เขาก็เลยไม่บอกเราว่าสามารถสั่งทำเฉพาะคนได้  แต่ก็เคยได้ยินอยู่นะว่ามีบางร้านสามารถสั่งทำเฉพาะคนได้ แต่ต้องเป็นร้านใหญ่จริงๆ แต่เล็กๆอย่างเราหมดสิทธิ์

ได้ยินมาว่าในตอนนั้น ลินด์เบิร์กในประเทศไทยราคาสูงมาก ทำไมคิดว่าขายได้ ?

ผมจำได้ว่าตอนนั้นราคาส่งลินด์เบิร์กนั้นสูงมาก สูงจนร้านแว่นทั่วไปไม่กล้าซื้อมาลง และการลงกรอบแว่นแต่ละครั้งนั้นต้องลงเป็นเซต เซตละ 35 ตัว ซึ่งโดยปกติถ้าไม่คลั่งแบรนด์จริงคงไม่กล้า  และเนื่องจากราคาส่งก็สูงมาก ทำให้ราคา retail นั้นสูงเกินสามหมื่น บางรุ่นสามหมื่นหก บางรุ่นสี่หมื่นกว่า แต่ที่ผมเชื่อว่ามันขายได้ เพราะผมเชื่อว่ามันดี แต่ความรู้ในสมัยนั้นไม่ได้มากนัก แต่เห็นดีไซน์แล้วรู้เลยว่า นี่แหล่ะของดี แต่แอบรู้สึกเหมือนกันว่าราคามันเวอร์มากจริงๆ แต่เราก็ชอบ ก็เลยขายได้  แต่ทุกความเสี่ยงมีโอกาส เพราะมีกลุ่มคนที่อยากได้ของดี โดยไม่เกี่ยงราคา แต่หาซื้อไม่ได้มั้ง ก็เลยมาหาเราทั้งหมด 

ลูกค้าส่วนใหญ่ในตอนนั้นเป็นใคร ?

คนที่จะซื้อแว่นระดับนี้ได้(ในตอนนั้น) ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารหรือข้าราชการระดับสูง ซึ่งจริงแล้วเป็นคนกลุ่มน้อยๆ แต่เนื่องจากคนเหล่านี้ต้องการของคุณภาพสูงและพอที่จะจ่ายได้ แต่หาซื้อไม่ได้เพราะภาคเหนือมีที่ลำปางที่เดียว (ปัจจุบันรู้สึกยังเป็นที่เดียวอยู่) เลยทำให้ลูกค้านั้นเดินทางจากจังหวัดต่างๆ มาทำลินด์เบิร์กที่ลำปาง 

แล้วตอนนี้ คุณคิดว่าราคาลินด์เบิร์กเป็นอย่างไร ?

ตอนนี้ราคาดูมีเหตุมีผลมากขึ้น ผมว่ากำลังดีนะ เพราะถ้าถูกกว่านี้ ก็คงต้องมีการลดต้นทุนแหล่ะ ซึ่งคงได้ของไม่ดีแน่นอน ซึ่งเรื่องนี้เริ่มตอนที่ LINDBERG เข้ามาทำตลาดเองเมื่อห้าหกปีก่อน ดิวตรงกับบริษัทแม่ที่เดนมาร์ก ราคาก็มีมาตรฐานมากขึ้น และสามารถ customized เฉพาะคนได้ และราคาก็ไม่ได้แพงเหมือนแต่ก่อน  อยู่ในช่วง 19,000-25,000 ขึ้นอยู่กับสีและออพชั่นของการสั่งทำ เช่นบางสีที่ทำยาก และสั่งทำลวดลาย ก็จะแพงกว่าแบบเส้นลวดสีไทเทเนียมเป็นต้น  ซึ่งผมมองว่าแว่น  customized ราคานี้ถือว่า makse sense และเป็น resonable price นะ 

ถ้าถามว่าอยากให้ลินด์เบิร์กราคาถูกลงกว่านี้ไหม ?

เอาเข้าจริงๆแล้ว ถูกแล้วดี ไม่มี ไม่มีเรื่องนั้น ถ้าสินค้าถูก แสดงว่าต้องมีการลด cost ยิ่งถูกมากก็ต้องยิ่งลด cost ให้ได้มากที่สุด  พอลด cost แน่นอนว่า Quality จะต้องลดลง  เอาง่ายๆว่า Rayban (made in USA) ในอดีตนั้นราคาหมื่นอัพ ดีขนาดไหน  แล้วปัจจุบัน made in china ราคา สองพัน คุณภาพเป็นอย่างไร  ดังนั้นถ้าจะริใช้ของถูก ก็ต้องยอมรับสภาพให้ได้ว่า มันจะพังในไม่ช้า  ซึ่งผมไม่ต้องการให้แบรนด์ลินด์เบิร์กเป็นแบบนั้น เพราะปัจจุบันนั้นไม่เหลือแบรนด์หล่อๆให้ใส่แล้ว มีแต่แบรนด์ลด cost ย้ายฐานลงจีนหมด 

กลับมาเรื่องคุณดีกว่า   ลอฟท์ ออพโตเมทรี ก่อตั้งขึ้นเมื่อไหร่ หรือมีแนวคิดอย่างไรในการทำร้านนี้ขึ้นมา 

จริงๆ ส่วนตัวผมไม่ใช่ลูกหลานร้านแว่นตา และไม่มีความรู้อะไรเลยเกี่ยวกับธุรกิจนี้  แต่ต้องขอบคุณคุณสม จุ้ยโต ที่ให้โอกาสผมไป  join business ที่จังหวัดลำปาง โดยแกให้ผมทำ business model ทั้งหมด ตั้งแต่การเซ็ตคอนเซปต์ การวาง brand positioning เขียนแบบ ออกแบบ เลือกสี เลือกโทน เลือกเฟอร์นิเจอร์ รวมถึงแบรนด์กรอบแว่นและแบรนด์เลนส์ทั้งหมด ซึ่งมันเป็นโรงเรียนปฏิบัติที่ผมคิดว่าเป็นประสบการณ์ที่สุดยอด เพราะผมทำมันสำเร็จ   

แต่ความคิดที่อยากจะสร้างลอฟท์ ออพโตเมทรีขึ้นมา ก็เพราะอยากจะทำร้านแว่นดีๆ  มีเครื่องมือที่ได้มาตรฐานและทำงานที่นักทัศนมาตรควรจะทำ เพราะในช่วงทำงานให้โรเด้นสต๊อกผมมีโอกาสได้ไปในที่ต่างๆขณะที่ยังทำงานให้โรเด้นสต๊อกอยู่นั้น  เห็นแล้วก็อยากจะเปลี่ยนหรือทำแบบอย่างให้เขาดู ว่าจริงๆ อย่างน้อยทำให้ standard นั้นไม่ใช่เรื่องยาก ส่วน over standard นั้นยังไม่ต้องก็ได้  แต่มากกว่าร้อยละ 80% ยัง understandard อยู่ คือมุ่ง hard sale อย่างเดียวเลย มีแว่นเต็มร้าน จนไม่มีพื้นที่สำหรับห้องวัดตาที่ได้ระยะ 6 เมตร ลงทุนกรอบแว่นเป็นพันเป็นหมื่นตัว แต่กลับไม่มีทุนซื้อเครื่องมือดีๆที่ได้มาตรฐาน  ซึ่งผมมองว่าเรามีปัญหาเรื่องการ set priority มากกว่าการไม่มีทุนหรือบางทีเราก็ลืมไปว่า "เราเปิดร้านแว่นตาขึ้นมาทำไม" เปิดมาเพื่อขายแว่นให้ได้เยอะ ๆ หรือเปิดเพื่อทำแว่นให้ดี ซึ่งสองคำนี้ ส่งผลให้การกระทำนั้นต่างกันอยู่มาก  ซึ่งผมอยากทำเป็น model  แต่จะทำได้แค่ไหนนั้น ไม่รู้เหมือนกัน แต่ลองดูก่อนละกัน

ลอฟท์ มีแผนจะทำ chain store หรือไม่ 

ยังไม่มีเรื่องนี้ในหัวนะ เพราะว่า การวัดตาไม่ได้ง่ายอย่างที่เราคิด เลยยังไม่คิดเรื่องนี้ ขออยู่เงียบๆ ค่อยๆทำทีละอันๆ ให้ดีดูจะดีกว่า มีความสุขกว่า 

ลอฟท์ ออพโตเมทรี ทำไมถึงขายแต่ลินด์เบิร์กแบรนด์เดียว 

จริงๆแล้ว Loft Optometry ไม่ได้มีแต่ LINDBERG แบรนด์เดียว แบรนด์อื่นๆก็มีขาย แต่ราคาขายของแบรนด์อื่นๆนั้น ถ้าเอาแค่คุณภาพที่ใกล้เคียงกับลินด์เบิร์กก็ยากพออยู่แล้ว แต่ราคากลับไม่หนีกัน  และถ้าราคาถูกกว่าลินด์เบิร์ก 4-5,000 บาท ลูกค้าก็กระโดดไปใช้ LINDBERG กันหมด เพราะประกันดีกว่า นานกว่า อะไหล่ฟรีตลอดอายุการใช้งานก็เลยดูเหมือนขายได้อยู่แบรนด์เดียว 

อยากฝากอะไรกับคนที่กำลังอ่านเรื่องนี้อยู่ ?

อยากฝากถึง ทั้งแฟนลินด์เบิร์กและร้านค้า แต่คนละ massage กัน  สำหรับแฟนลินด์เบิร์ก ก็อยากให้เขาภูมิใจกับแว่นที่เขาใส่อยู่ว่า โลกนี้ ทำดีได้แค่นี้  เบาสุดแล้ว ทนสุดแล้ว สะอาดสุดแล้ว เรียบหรูสุดแล้ว  คือ Hi End  สูงสุด และจบแล้ว 

ส่วนสาร ที่อยากฝั่งถึง Authorized Dealer อยากให้รักแบรนด์นี้เหมือนที่ผมรัก อย่าไปทำลายมัน ไม่ว่าด้วยทางตรงหรือทางอ้อม  อยากให้เข้าใจเจตนารมณ์ของลินเบิร์กว่า เขาสร้างขึ้นมาเพื่อให้สามารถ customized ได้ แต่ก็ไม่ว่ากันถ้าจะขายสต๊อก เพราะในการทำธุรกิจ ของ Death Stock ถือว่าไม่ค่อยดีต่อธุรกิจเท่าไหร่ แต่ผมทำใจยอมรับกับเรื่องนี้ได้ เพื่อให้ลูกค้าได้หัวใจของลินด์เบิร์กจริงๆ 

มีอะไรจะฝากอีกไหม ?

ก็คงจะมีเท่านี้  ถ้าคิดอะไรก็จะมา เขียนเพ่ิมอีกในนี้ก็แล้วกัน 

ขอบพระคุณสำหรับการติดตามครับ

ดร.ลอฟท์ 



Original English Version 

16 JAN DANISH, BUT SPECIAL

Posted at 14:07h in Alain MikliDesignersLINDBERGOakley by admin Share

Lindberg has been known as one of the biggest names in the eyewear business for some time now – at least to insiders. Quite naturally, we here at EYEWEAR magazine jumped at the chance to visit the company at home in Denmark. During a day’s visit in Aarhus, we gained some deep insights into a brand that is typically Danish, and totally unique at the same time. Just look at the folks behind the company; only one of the managers holds a position he actually went to school for, while everyone else just did what came naturally. The company also covers the entire value chain all the way into retail, including production, marketing and distribution. Mostly directed by owner Henrik Lindberg, the brand cultivates a family atmosphere with a knack for unconventional initiatives. Henrik (“too old to love fruits”) approaches every new task with vigor and a love for details. In our interview, he revealed that he is keeping an open mind while directing the company. We made the acquaintance of a well-traveled cosmopolitan with multifarious interests; funny and quick-witted, culturally literate and with an artistic attitude. Asked about his most important task, he said it consists of walking the halls at company headquarters. And since we like to keep things moving, we went and joined him on one of his tours.

lindberg_1

Henrik, what has been inspiring you over the past few weeks?
Hmmm… the way we at Lindberg go about our business is rather unconventional. We still consider ourselves a small company, but are active all around the world – in more than 100 countries. Over the past few weeks I’ve been doing lots of traveling, visiting many eyewear tradeshows; including Silmo in Paris, IOFT in Tokyo, Hong Kong Optical Fair Show and CIOF in Beijing. These shows are always a great opportunity to learn about the needs of our customers and the business in general. I can soak up lots of inspiration, which I then attempt to implement together with the Lindberg design team. 

Speaking of “Lindberg” – when and where did it all get started?
Our workshop was founded 28 years ago. The idea for our first glasses, the Air Titanium, came to my dad while working as an optician. He was very creative when it came to choosing materials to craft eyewear from. Maybe his motivation was that he himself depended on wearing glasses at the time, and simply was not satisfied with what was out on the market. I’m an architect and had my start working in that field. One day, my dad consulted me about solving some manufacturing problems. After analyzing the situation, we realized that the production of our eyewear required investments of time and money, as well as more manpower. That’s how I ended up coming onboard full-time.

What were some of the most important milestones after founding the company?
The first milestone surely consisted of creating a unique product that had not been available before in this shape and form. Customer simply loved our product, but opticians practically hated working with these glasses, because their construction was much more complex than anything seen before. The tools we provided to opticians during our first generation required a high level of craftsmanship on their part to fit lenses into the frames. Not every optician was able to do it. But consumers loved the light weight of these first-ever titanium glasses. They were anti-allergenic, the hinges constructed without screws, and so on. With our building block system, opticians could individually tailor glasses to their customers‘ needs. That was a remarkable step in our history.
Another milestone was really an extension of our first one. Due to the complex nature of our product concepts, we found ourselves unable to work with conventional distribution structures and partners. For us, keeping in close contact with opticians was paradigm. After joining the European Union, we were able to ship our glasses to other European countries without extensive formalities. No matter if an optician was based in Rome, Hamburg or Copenhagen, deliveries required the same level of effort.

How would you describe the Lindberg philosophy back then and today?
Our philosophy is the same as in the early days. For instance, we have never used a single screw in any of our glasses, and never made any compromises in choosing the materials. Lindberg is synonymous with design that people can wear. Opticians are able to tailor the glasses to the individual wearer’s facial shape. And customers have a chance to choose from a variety of styles and colors.

One of your competitors once called Lindberg the Apple of the eyewear business. Is that a compliment or gross misjudgment?
Well, when we hear something like that, we are of course flattered. There are some parallels, naturally. One similarity is that many competitors in our business will keep an eye on what kind of products Lindberg launches and how we act. I always can’t help but grin when Apple comes out with a new product, like currently the iPhone 5. It seems that all media in the world can’t cover any other topic for some time – it’s an incredible amount of media attention for a product that, with a similar design, is only two centimeters longer than its predecessor and only available in two colors. No question, the product has great design, but in our business, the requirements regarding the range of models and colorways are entirely different. 

lindberg_2

Are there companies in other industries that are similar to Lindberg?
Among Danish companies I would point to Bang & Olufsen. It’s an old, established family business with a similar philosophy to ours. Bang & Olufsen also knows how to stand out from the competition in terms of design and quality. They don’t make any compromises in their work, despite the fact that many of their competitors are offering much cheaper goods.
Another Danish company with similarities to our business is Ortofon, an audio equipment supplier. The company is a global market leader for magnetic sound pick-ups in record players. Ortofon is striving to make lasting improvements on their products and I respect that a lot. And a company in the automobile business that is doing a great job in terms of design and quality is Aston Martin.

This brings us to your favorite subject… It’s no secret that you have a great interest in racing. How come?
Well, up until a few years ago I liked to spend my free time on my sailing boat. I was practically born into that sport. But I also happen to love speed, and if you want to go fast on a sailboat, you need to rely on teamwork, much like here at the company. So you can’t make your own decisions anymore. When we had children 15 years ago, the team aspect of sailing became too complex for me. So then I started kart racing. By now, I’ve moved on from a kart to a historic racecar. With racing, it’s all about you – you make all the decisions for yourself racing against others, not with them. I love the combination of speed and control in direct competition against other drivers. That’s it.

We’ve covered a lot of private ground, back to business. What exactly is your job at Lindberg?
My job at Lindberg is… walking around.

OK, that’s easy.
Yes, it’s almost as if I was doing nothing. Well, I was the first employee at the company, so I know every detail from the ground up. But I was never the type of person who likes sitting in an office. 

That’s plain to see. You have your own, sparsely furnished little hut right in the middle of the company, between production and marketing. There’s a small desk and a simple bed in there. Did your wife banish you from your own home or is that an absurd kind of quirk?
Neither. My old office was just this kind of room full of paper. And every week, more paper kept coming in. At some point, I would pack all the paper stuff into a box every year between Christmas and New Year’s and store it at our warehouse. And then I noticed that in all of 15 years, I never looked into one of these boxes even once. So one day I arrived at my workplace – like I said, full of paper – and asked myself if there was a different way to set up my workspace. And two months ago I locked the door to my office and moved into my new “home.” It’s a small Swedish hut, furnished quite minimalistic. Kind of fitting to our philosophy at Lindberg. Shall I take off my jacket? 

lindberg_3

If you like. How much of your workday is spent on design?
Well, I’d say I spend 24 hours every day with design. To me, design is not only about creating a certain style of eyewear. Design is also about how you run a company, for instance. Everything has to work together somehow. A good product design is not enough, if the design of distribution networks or human resource development is not working. For me, everything is design in a way. Currently we are putting strong emphasis on the topic of retail interiors, certainly another milestone in our development. 

Why is POP-marketing, meaning a characteristic Lindberg shop interior, so important?
We want to have control over how our products are affecting consumers. And if you want your products to be featured at high-value locations at the optical store such as shop windows, you need to give the optician some tools for presentation. We have created a flexible POP toolkit, allowing optical stores of all different sizes to present Lindberg eyewear in an adequate way.

OK, so design seems to be an overarching concept for you. Hardly surprising, since Denmark is known for its strength in designs. What is typically Danish in terms of design? 
Usually we’ll say that Danish or Scandinavian design is always about the functionality of the product. The catchword is “simplicity.” It’s all about clean solutions. We always ask, What is the fundamental need behind a product? Functionality is a relevant design element to us. If you take a look at the Air Titanium… the first thing you will probably remember are the hinges. Instead of hiding the hinges inside the frame, we are obviously showcasing their functionality.

Would you say that Lindberg is a typical Danish company in terms of designs?
In many regards, I would say yes. But over the past few years, our designs have also gotten more complex. In many regions of the world, simple design is not that much in demand. Customers there are looking for something more than just a clean, toned-down style.

Is there a certain design element Lindberg is known for?
Well, it’s probably the light weight, flexibility and the customization options of our glasses.

lindberg_4

What separates Lindberg from other eyewear manufacturers? 
First of all, we can claim that we are constantly implementing our very own design ideas and techniques. That is very important to us. The fact that we are handling everything ourselves is a great advantage and gives us flexibility. We are also able to still supply spare parts for glasses that have not been part of our range for years now.

Which model has been the most successful so far?
Generally speaking the frameless glasses across different categories.

And which glasses were the greatest plunder?
Ten years ago we launched some sports glasses, since we felt the need for wearing Lindberg even when we’re out skiing. But reality caught up with us quite fast, and people simply did not want to buy these glasses. I don’t think it was because of the design of the glasses, but more due to the fact that Lindberg is just not known for sports. People will rather want sports eyewear by Oakley or adidas. So we decided to exit that segment. For now! Let’s see what the future has in store. We still believe in the product, even today.

Walking the halls at your company, we instantly felt the family-like atmosphere. Is there a special philosophy behind your Human Resources?
Well, at first we always thought we had to be at the company 24 hours a day. Those who were first to leave for home at the end of the day somehow seemed… weak. That was pretty shortsighted on our part, because people would almost be falling asleep at their desks. So one day we flipped the switch. Since then, overtime is only allowed on business trips. We also try to include our employees in many processes, and many of them have been with the company for more than ten years now. Our hierarchies are rather flat and we take great care of our employees, which makes them feel great about being here. But we do not have a designated Human Resources department. For us, leading and developing our staff is up to all our managers. 

Is there a specialized distribution philosophy behind Lindberg?
Yes. We’re aiming to keep the distance between ourselves, the opticians and the customers as short as possible. We’re offering a great number of individualized solutions, so customers need to be able to reach us directly. About 70 to 80% of our orders consist of only one piece. Customers can have their glasses fitted at the optical store for the length of the temples, the width of the bridge… it’s all entirely customizable. We then try to deliver the individualized frames as quickly as possible, while the lenses supplier gets to work on the lenses. In 95% of all cases we can make it happen within a single week.

Are you focusing on a certain type of optician?
Yes. Opticians that sell our glasses need to understand the Lindberg philosophy and be able to process glasses with their hands. Our glasses tend to look rather clean and minimalistic, but they still require certain technical abilities when it comes to processing them, for instance fitting the lenses.

What are your strongest markets?
Our largest markets are Germany and the US.

And how about Asia?
Well, Asia is a growth market, of course and also very important for us. We have been active in Japan for 22 years, in Hong Kong for 20 years and in China for eleven years now.

How would you characterize the typical Lindberg customers? 
Most of all, these are people who care about the way they look. People buying our glasses are looking for comfort, and usually have an interest in design. But not always. Like I said, our most successful glasses are the ones without frames, which also means that their design elements take a rather subjugated role.

Although there are more independent companies in the eyewear industry than in any other market, we’re noticing a trend towards consolidation. One of the most recent acquisitions is that of Alain Mikli by Luxottica. When will Lindberg be up for sale?
You’re certainly not the first to ask that question. But interestingly enough, there have not been that many actual requests to date. This is probably because our processes are highly complex. And complex businesses like ours are not that easy to integrate into other structures. So right now I can definitely say that Lindberg is not up for sale. But on the other hand, we always need to keep in mind what is best for our company in the long run. Lots of things are changing at the moment. The big guys are constantly getting stronger and opening their own stores. We’ll have to see where the journey will take us.

What’s your take on these acquisitions and how do they affect the image of a formerly independent label?
We’ve seen many instances when the collections of a label were split up and styles would also be offered by the other labels of a manufacturer. This, of course, leads to a strong degree of watering down. But there are also examples where labels can stay the way they’ve always been. In those cases, customers will hardly notice a change.

Is Lindberg by now the largest independent eyewear label?
No, I don’t think so.

Number two, maybe?
Quite possibly, yes.

Do you see yourself competing against the major players or against other independent labels?
In my opinion, the customers are not focused that strongly on our brand. They’re much rather looking at the style and functionality of a product. I think it’s very important to offer customers a unique product – backed up by great support.

And finally, what is Lindberg’s greatest asset?
Our philosophy.

Henrik, thanks for showing us around.

TAGS: